ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน
เรื่อง ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 — 9
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อย
ละ 21.4 ยอมรับอาจจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ออกตามระดับของแนวคิดรักนวลสงวนตัว พบ
ว่า ในกลุ่มเด็กที่มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องสิทธิส่วนตัวร้อยละ 48.9 ยอมรับอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ขณะที่ในกลุ่มเด็ก
และเยาวชนที่มองว่าต้องรักนวลสงวนตัวส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.1 ปฏิเสธมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด และผลการทดสอบค่าสถิติวิจัยด้วย
ค่า Odd Ratio พบว่ามีค่าเท่ากับ 5.924 และค่าสูงสุดอยู่ที่ 8.324 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า เด็กและเยาวชนที่มองว่าการมีเพศ
สัมพันธ์เป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องสิทธิส่วนตัวมีโอกาสยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์มากสุดประมาณ 8 เท่าของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีทัศนคติว่า
ต้องรักนวลสงวนตัวและรอจนกว่าจะถึงวันแต่งงานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วง คือ ผลประมาณการเด็กและเยาวชนที่เอนเอียงยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ พบว่า ในกลุ่มเด็ก
และเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คนที่กำลังพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีผู้ที่เอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไท
น์จำนวน 283,990 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 21.4 ของทั้งหมด
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ข้อมูลที่สะท้อนภาพเชิงบวกคือเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
ในขณะที่ร้อยละ 15.4 เคยมี แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่กำลังเสี่ยงต่อการมีโรคติดต่อทางเพศ
สัมพันธ์เพราะผลวิจัยพบว่า มีเพียงร้อยละ 21.1 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ใช้บางครั้ง และประมาณ 1
ใน 5 หรือร้อยละ 20.1 ไม่เคยใช้เลย
นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 ระบุว่า การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็ก
และเยาวชนได้ รองลงมาคือ ร้อยละ 32.3 ระบุการเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมของผู้ใหญ่ในสังคมเป็นทางออก ร้อยละ 30.5 ระบุการมีแบบอย่างที่ดี
ในสถาบันการศึกษา ร้อยละ 28.4 ระบุสื่อมวลชนเสนอบุคคลที่ดีเป็นตัวอย่างคือทางแก้ปัญหา ในขณะที่ร้อยละ 24.3 ระบุการขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งในและรอบ
สถาบันการศึกษา และร้อยละ 23.5 ระบุการเพิ่มพื้นที่และสิ่งที่ดีๆ ทั้งในและรอบสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนได้
ดร.นพดล ยังกล่าวถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อ การเมืองของประเทศไทย พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศ ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง ร้อยละ
10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน ร้อยละ 9.6 ระบุการเมืองไทยไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ร้อยละ 6.1 รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็น
ประชาธิปไตย และร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ผลสำรวจ 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ซึ่งพบว่า ร้อยละ 28.3 ระบุ
เป็นเรื่องความฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก ของบรรดานักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 16.9 ระบุการทำตัวดี บุคลิกดี ร้อยละ 13.1 ระบุความ
เป็นผู้นำ ร้อยละ 12.8 ระบุพูดจาดี คุยดี ร้อยละ 11.8 ระบุความรับผิดชอบ ร้อยละ 9.8 ระบุความซื่อสัตย์ ร้อยละ 8.5 ระบุการทำงานหนัก ร้อย
ละ 7.0 ระบุการโต้เถียง ร้อยละ 5.9 ระบุความสามารถ และร้อยละ 5.2 ระบุการใช้อำนาจ
ที่น่าสนใจคือ ถามว่าพอจะหานักการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อย
ละ 47.5 ระบุว่า หายาก แต่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.5 ระบุว่าพอหาได้ จากนั้นสอบถามชื่อนักการเมืองที่ชื่นชอบในเรื่องความดี คุณธรรม ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 45.2 ของกลุ่มนี้ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือร้อยละ 23.2 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.4 ระบุ
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ร้อยละ 15.7 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.9 ระบุนายชวน หลีกภัย และร้อยละ 8.3 ระบุนายอภิรักษ์ โก
ษะโยธิน ตามลำดับ
และเมื่อถามถึงดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุว่าหายาก ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุพอ
หาได้ โดยในกลุ่มนี้ร้อยละ 15.6 ระบุ เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) ร้อยละ 9.3 ระบุอุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) ร้อยละ 8.7 ระบุนักร้องวงแค
ลช ร้อยละ 7.1 ระบุธงไชย แมคอินไตย์ และร้อยละ 6.8 ระบุวรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 เห็นว่าการปกครองประเทศไทยแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี ขณะที่ร้อยละ
24.5 ระบุค่อนข้างดี ร้อยละ 18.6 ระบุปานกลาง ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่ระบุไม่ค่อยดีและไม่ดีตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของเด็กและเยาวชนต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยยังดี
กว่าการปกครองแบบอื่น ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 45.7 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.9 เห็นด้วย
ปานกลาง ร้อยละ 4.6 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่เห็นด้วย
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 เห็นด้วยต่อการนำหลักปรัชญาและวิถีปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหา
วิกฤตของประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 17.7 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 22.5 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่ไม่ค่อย
เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนช่วงอายุนี้มีจำนวนทั้งสิ้นทั่วประเทศกว่า 7.5 ล้านคน และในอีกประมาณสี่ปีข้าง
หน้าพวกเขาจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกือบ 5 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีนัยสำคัญต่อทิศทางการ
พัฒนาประเทศ การทำวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของพวกเขาโดยมีฐานข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้น่า
จะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมไทย ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการกับสาเหตุของปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้เพราะบางอย่าง
เป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของชุมชนจะจัดการแก้ไขได้เพียงลำพัง เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เพราะมีคนใช้ยาเสพติดในชุมชน มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น มี
สถานบันเทิงในชุมชน มีสถานบริการทางเพศใกล้ชุมชน
สำหรับมุมมองทางการเมืองของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีหัวใจ
เป็นประชาธิปไตยแม้ประเทศไทยจะมีปัญหาวิกฤตใดๆ ก็ตาม และทางออกของปัญหาที่กำลังอยู่ในใจของเด็กเยาวชนเหล่านี้คือ การนำหลักเศรษฐกิจพอ
เพียงมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไปคือ ผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่เคยพบว่า เด็กและเยาวชนเกินกว่า
ครึ่งมีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้พวกเขาอยู่ดีกินดีรวมไปถึงการกินค่าหัวคิวหรือการกินตามน้ำ ถ้าหากพวกเขาเติบโตขึ้นมาในอีก
10 ปีข้างหน้าและไปอยู่ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ของประเทศ โดยบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมตามกลไกของกระบวนการยุติธรรมในขณะนี้ไม่กระทำอะไร
บางอย่างเพื่อขัดเกลาทัศนคติและพฤติกรรมของพวกเขาแล้ว สังคมไทยจะเป็นเช่นไรในเวลานั้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสำรวจทัศนคติ และการรับรู้ของเยาวชนในวันวาเลนไทน์ที่จะมาถึงนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความรู้สึกของเยาวชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของกลุ่มนักการเมืองและดารานักร้อง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนไทยต่อสถานการณ์นโยบายและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน
เรื่อง ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ที่ผ่านมา
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 ระบุอายุ 12-15 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 46.1 ระบุอายุ 16-19 ปี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามสถานภาพการศึกษาในปัจจุบันพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 95.9 ระบุมีสถานภาพเป็นนักเรียนและกำลังเรียนหนังสืออยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ระบุมีสถานภาพอื่นๆ อาทิ ไม่ได้เรียนหนังสือเลย /เคยเรียนแต่เลิกเรียนแล้ว/
เป็นนักเรียนที่อยู่ในระหว่างพักการเรียน/เรียนจบแล้ว นอกจากนี้
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.8 ระบุมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 51.2 ระบุมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/ เกือบทุกวัน 38.9
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 26.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 19.0
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 7.9
5 ไม่ได้ติดตาม 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด 73.2
2 ยอมรับที่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ จำแนกตามระดับของมุมมองเรื่อง รักนวลสงวนตัว
ลำดับที่ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ มีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ/ ถ้าเป็นแฟนกัน ก็อาจมี ควรจะเป็นเพื่อนกัน ต้องรักนวลสงวนตัวจนกว่า
เป็นสิทธิส่วนตัว(ร้อยละ) เพศสัมพันธ์ได้(ร้อยละ) ไปก่อนดีกว่า(ร้อยละ) จะแต่งงานกัน(ร้อยละ)
1 ปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์วันวาเลนไทน์ 51.1 56.7 69.6 86.1
2 ยอมรับที่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ 48.9 43.3 30.4 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
*** ผลทดสอบค่าวิเคราะห์สถิติวิจัยด้วยค่า Odd Ratio = 5.924 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 8.324 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000 หมายความว่า
เด็กและเยาวชนที่มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิส่วนตัว มีโอกาสยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์มากสุดประมาณ 8 เท่า
ของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีทัศนคติว่าต้องรักนวลสงวนตัวและรอจนกว่าจะถึงวันแต่งงานเท่านั้น
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนที่เอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ ความเอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ จำนวนคน ร้อยละ
1 มีความเอนเอียงที่อาจมีเพศสัมพันธ์ 283,990 21.4
2 ปฏิเสธที่จะมี 1,043,065 78.6
รวมทั้งสิ้น 1,327,055 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เคยมี 15.4
2 ยังไม่เคยมี 84.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ (เฉพาะผู้เคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ การใช้ถุงยางอนามัย ค่าร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 21.1
2 บางครั้ง 58.8
3 ไม่ใช้เลย 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 66.4
2 การเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมของผู้ใหญ่ในสังคม 32.3
3 มีแบบอย่างที่ดีในสถาบันการศึกษา 30.5
4 สื่อมวลชน เสนอบุคคลที่ดีเป็นตัวอย่าง 28.4
5 ขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งในและรอบๆ สถาบันการศึกษา 24.3
6 เพิ่มพื้นที่และสิ่งที่ดีๆ ในและรอบสถาบันการศึกษา 23.5
7 ขจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีในชุมชน 22.4
8 เพิ่มพื้นที่และสิ่งดีๆ ในชุมชน 20.8
9 การมีกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมาย 14.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อการเมืองของประเทศไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกของเด็กและเยาวชนต่อการเมืองของประเทศ ค่าร้อยละ
1 น่าเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย เซ็ง 60.9
2 ไม่สบายใจ น่าเป็นห่วง 29.1
3 คนไทยไม่รักสามัคคีกัน ทะเลาะกันประจำ 10.9
4 ไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป 9.6
5 ภูมิใจ รู้สึกเป็นประชาธิปไตย 6.1
6 มีแต่เรื่องโกงกิน 4.4
7 มีแต่แย่งอำนาจกัน หลงอำนาจ 2.8
8 อื่นๆ ระบุ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยุติธรรม เริ่มต้นกันใหม่ เป็นต้น 6.7
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ค่าร้อยละ
1 ฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก 28.3
2 ทำตัวดี บุคลิกดี 16.9
3 ความเป็นผู้นำ 13.1
4 พูดจาดี คุยดี 12.8
5 ความรับผิดชอบ 11.8
6 ความซื่อสัตย์ 9.8
7 การทำงานหนัก 8.5
8 การโต้เถียง 7.0
9 ความสามารถ 5.9
10 การใช้อำนาจ 5.2
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 หายาก 47.5
2 พอหาได้ 52.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ชื่อนักการเมืองที่พอจะเป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ตอบที่ระบุชื่อนักการเมืองและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 45.2
2 นายสมัคร สุนทรเวช 23.2
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 22.4
4 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 15.7
6 นายชวน หลีกภัย 9.9
7 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 8.3
8 อื่นๆ 4.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
ลำดับที่ ดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 หายาก 43.2
2 พอหาได้ 56.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ชื่อดาราที่พอจะเป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ตอบที่ระบุชื่อดาราและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) 15.6
2 อุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) 9.3
3 นักร้องวงแคลช 8.7
4 ธงไชย แมคอินไตย์ 7.1
6 วรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) 6.8
7 นักร้องวงบอดี้แสลม 6.4
8 แอน ทองประสม 6.3
9 ณัฐวุฒิ สะกิดใจ (ป๋อ) 6.1
10 อื่นๆ 37.9
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 เป็นสิ่งที่ดี 52.5
2 ค่อนข้างดี 24.5
3 ปานกลาง 18.6
4 ไม่ค่อยดี 3.0
5 ไม่ดี 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยก็ยังดีกว่าการปกครองแบบอื่น
ลำดับที่ ความเห็นต่อ การปกครองแบบประชาธิปไตยดีกว่าการปกครองแบบอื่น แม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 45.7
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 21.4
3 ปานกลาง 24.9
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 4.6
5 ไม่เห็นด้วย 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการนำหลักปรัชญาและแนวปฏิบัติตามวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเห็นต่อการนำหลักเศรษฐกิจมาแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 55.9
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 17.7
3 ปานกลาง 22.5
4 ไม่ค่อนเห็นด้วย 2.4
5 ไม่เห็นด้วย 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยโครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน
เรื่อง ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 — 9
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อย
ละ 21.4 ยอมรับอาจจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ออกตามระดับของแนวคิดรักนวลสงวนตัว พบ
ว่า ในกลุ่มเด็กที่มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องสิทธิส่วนตัวร้อยละ 48.9 ยอมรับอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ขณะที่ในกลุ่มเด็ก
และเยาวชนที่มองว่าต้องรักนวลสงวนตัวส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.1 ปฏิเสธมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด และผลการทดสอบค่าสถิติวิจัยด้วย
ค่า Odd Ratio พบว่ามีค่าเท่ากับ 5.924 และค่าสูงสุดอยู่ที่ 8.324 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หมายความว่า เด็กและเยาวชนที่มองว่าการมีเพศ
สัมพันธ์เป็นเรื่องปกติเป็นเรื่องสิทธิส่วนตัวมีโอกาสยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์มากสุดประมาณ 8 เท่าของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีทัศนคติว่า
ต้องรักนวลสงวนตัวและรอจนกว่าจะถึงวันแต่งงานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วง คือ ผลประมาณการเด็กและเยาวชนที่เอนเอียงยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ พบว่า ในกลุ่มเด็ก
และเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คนที่กำลังพักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีผู้ที่เอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไท
น์จำนวน 283,990 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 21.4 ของทั้งหมด
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ข้อมูลที่สะท้อนภาพเชิงบวกคือเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์
ในขณะที่ร้อยละ 15.4 เคยมี แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่กำลังเสี่ยงต่อการมีโรคติดต่อทางเพศ
สัมพันธ์เพราะผลวิจัยพบว่า มีเพียงร้อยละ 21.1 เท่านั้นที่ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ใช้บางครั้ง และประมาณ 1
ใน 5 หรือร้อยละ 20.1 ไม่เคยใช้เลย
นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 ระบุว่า การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็ก
และเยาวชนได้ รองลงมาคือ ร้อยละ 32.3 ระบุการเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมของผู้ใหญ่ในสังคมเป็นทางออก ร้อยละ 30.5 ระบุการมีแบบอย่างที่ดี
ในสถาบันการศึกษา ร้อยละ 28.4 ระบุสื่อมวลชนเสนอบุคคลที่ดีเป็นตัวอย่างคือทางแก้ปัญหา ในขณะที่ร้อยละ 24.3 ระบุการขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งในและรอบ
สถาบันการศึกษา และร้อยละ 23.5 ระบุการเพิ่มพื้นที่และสิ่งที่ดีๆ ทั้งในและรอบสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนได้
ดร.นพดล ยังกล่าวถึงมุมมองความรู้สึกของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ต่อ การเมืองของประเทศไทย พบว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อย
ละ 60.9 รู้สึกเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย และเซ็งต่อการเมืองของประเทศ ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 29.1 ไม่สบายใจและเป็นห่วง ร้อยละ
10.9 รู้สึกว่าคนไทยไม่รักไม่สามัคคีกัน ร้อยละ 9.6 ระบุการเมืองไทยไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ร้อยละ 6.1 รู้สึกภูมิใจ รู้สึกเป็น
ประชาธิปไตย และร้อยละ 4.4 ระบุว่าการเมืองไทยมีแต่เรื่องโกงกิน
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ผลสำรวจ 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ซึ่งพบว่า ร้อยละ 28.3 ระบุ
เป็นเรื่องความฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก ของบรรดานักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 16.9 ระบุการทำตัวดี บุคลิกดี ร้อยละ 13.1 ระบุความ
เป็นผู้นำ ร้อยละ 12.8 ระบุพูดจาดี คุยดี ร้อยละ 11.8 ระบุความรับผิดชอบ ร้อยละ 9.8 ระบุความซื่อสัตย์ ร้อยละ 8.5 ระบุการทำงานหนัก ร้อย
ละ 7.0 ระบุการโต้เถียง ร้อยละ 5.9 ระบุความสามารถ และร้อยละ 5.2 ระบุการใช้อำนาจ
ที่น่าสนใจคือ ถามว่าพอจะหานักการเมืองที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมได้หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อย
ละ 47.5 ระบุว่า หายาก แต่ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 52.5 ระบุว่าพอหาได้ จากนั้นสอบถามชื่อนักการเมืองที่ชื่นชอบในเรื่องความดี คุณธรรม ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 45.2 ของกลุ่มนี้ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร รองลงมาคือร้อยละ 23.2 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 22.4 ระบุ
นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ร้อยละ 15.7 ระบุพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 9.9 ระบุนายชวน หลีกภัย และร้อยละ 8.3 ระบุนายอภิรักษ์ โก
ษะโยธิน ตามลำดับ
และเมื่อถามถึงดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม พบว่า ร้อยละ 43.2 ระบุว่าหายาก ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุพอ
หาได้ โดยในกลุ่มนี้ร้อยละ 15.6 ระบุ เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) ร้อยละ 9.3 ระบุอุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) ร้อยละ 8.7 ระบุนักร้องวงแค
ลช ร้อยละ 7.1 ระบุธงไชย แมคอินไตย์ และร้อยละ 6.8 ระบุวรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 เห็นว่าการปกครองประเทศไทยแบบประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี ขณะที่ร้อยละ
24.5 ระบุค่อนข้างดี ร้อยละ 18.6 ระบุปานกลาง ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่ระบุไม่ค่อยดีและไม่ดีตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นของเด็กและเยาวชนต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยยังดี
กว่าการปกครองแบบอื่น ผลสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 45.7 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 21.4 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.9 เห็นด้วย
ปานกลาง ร้อยละ 4.6 ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 3.4 ไม่เห็นด้วย
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.9 เห็นด้วยต่อการนำหลักปรัชญาและวิถีปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหา
วิกฤตของประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 17.7 ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 22.5 เห็นด้วยปานกลาง ร้อยละ 2.4 และร้อยละ 1.5 เท่านั้นที่ไม่ค่อย
เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า เด็กและเยาวชนช่วงอายุนี้มีจำนวนทั้งสิ้นทั่วประเทศกว่า 7.5 ล้านคน และในอีกประมาณสี่ปีข้าง
หน้าพวกเขาจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกือบ 5 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจึงเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีนัยสำคัญต่อทิศทางการ
พัฒนาประเทศ การทำวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของพวกเขาโดยมีฐานข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้น่า
จะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมไทย ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้ามาจัดการกับสาเหตุของปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้เพราะบางอย่าง
เป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของชุมชนจะจัดการแก้ไขได้เพียงลำพัง เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี เพราะมีคนใช้ยาเสพติดในชุมชน มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น มี
สถานบันเทิงในชุมชน มีสถานบริการทางเพศใกล้ชุมชน
สำหรับมุมมองทางการเมืองของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีหัวใจ
เป็นประชาธิปไตยแม้ประเทศไทยจะมีปัญหาวิกฤตใดๆ ก็ตาม และทางออกของปัญหาที่กำลังอยู่ในใจของเด็กเยาวชนเหล่านี้คือ การนำหลักเศรษฐกิจพอ
เพียงมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์กันต่อไปคือ ผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่เคยพบว่า เด็กและเยาวชนเกินกว่า
ครึ่งมีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้พวกเขาอยู่ดีกินดีรวมไปถึงการกินค่าหัวคิวหรือการกินตามน้ำ ถ้าหากพวกเขาเติบโตขึ้นมาในอีก
10 ปีข้างหน้าและไปอยู่ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ของประเทศ โดยบรรดาผู้ใหญ่ในสังคมตามกลไกของกระบวนการยุติธรรมในขณะนี้ไม่กระทำอะไร
บางอย่างเพื่อขัดเกลาทัศนคติและพฤติกรรมของพวกเขาแล้ว สังคมไทยจะเป็นเช่นไรในเวลานั้น
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสำรวจทัศนคติ และการรับรู้ของเยาวชนในวันวาเลนไทน์ที่จะมาถึงนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความรู้สึกของเยาวชนที่มีต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีของกลุ่มนักการเมืองและดารานักร้อง
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนไทยต่อสถานการณ์นโยบายและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชน
เรื่อง ความรักวันวาเลนไทน์ ดารา นักการเมืองและประชาธิปไตยในมุมมองของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ที่ผ่านมา
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 ระบุอายุ 12-15 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 46.1 ระบุอายุ 16-19 ปี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามสถานภาพการศึกษาในปัจจุบันพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 95.9 ระบุมีสถานภาพเป็นนักเรียนและกำลังเรียนหนังสืออยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ระบุมีสถานภาพอื่นๆ อาทิ ไม่ได้เรียนหนังสือเลย /เคยเรียนแต่เลิกเรียนแล้ว/
เป็นนักเรียนที่อยู่ในระหว่างพักการเรียน/เรียนจบแล้ว นอกจากนี้
ตัวอย่าง ร้อยละ 48.8 ระบุมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 51.2 ระบุมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/ เกือบทุกวัน 38.9
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 26.3
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 19.0
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 7.9
5 ไม่ได้ติดตาม 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ
1 ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์โดยเด็ดขาด 73.2
2 ยอมรับที่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ จำแนกตามระดับของมุมมองเรื่อง รักนวลสงวนตัว
ลำดับที่ การปฏิเสธหรือยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ มีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ/ ถ้าเป็นแฟนกัน ก็อาจมี ควรจะเป็นเพื่อนกัน ต้องรักนวลสงวนตัวจนกว่า
เป็นสิทธิส่วนตัว(ร้อยละ) เพศสัมพันธ์ได้(ร้อยละ) ไปก่อนดีกว่า(ร้อยละ) จะแต่งงานกัน(ร้อยละ)
1 ปฏิเสธที่จะมีเพศสัมพันธ์วันวาเลนไทน์ 51.1 56.7 69.6 86.1
2 ยอมรับที่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ 48.9 43.3 30.4 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
*** ผลทดสอบค่าวิเคราะห์สถิติวิจัยด้วยค่า Odd Ratio = 5.924 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 8.324 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000 หมายความว่า
เด็กและเยาวชนที่มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิส่วนตัว มีโอกาสยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์มากสุดประมาณ 8 เท่า
ของกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีทัศนคติว่าต้องรักนวลสงวนตัวและรอจนกว่าจะถึงวันแต่งงานเท่านั้น
ตารางที่ 4 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนที่เอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ ความเอนเอียงอาจมีเพศสัมพันธ์ในวันวาเลนไทน์ จำนวนคน ร้อยละ
1 มีความเอนเอียงที่อาจมีเพศสัมพันธ์ 283,990 21.4
2 ปฏิเสธที่จะมี 1,043,065 78.6
รวมทั้งสิ้น 1,327,055 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เคยมี 15.4
2 ยังไม่เคยมี 84.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ (เฉพาะผู้เคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ การใช้ถุงยางอนามัย ค่าร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 21.1
2 บางครั้ง 58.8
3 ไม่ใช้เลย 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 66.4
2 การเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมของผู้ใหญ่ในสังคม 32.3
3 มีแบบอย่างที่ดีในสถาบันการศึกษา 30.5
4 สื่อมวลชน เสนอบุคคลที่ดีเป็นตัวอย่าง 28.4
5 ขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งในและรอบๆ สถาบันการศึกษา 24.3
6 เพิ่มพื้นที่และสิ่งที่ดีๆ ในและรอบสถาบันการศึกษา 23.5
7 ขจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีในชุมชน 22.4
8 เพิ่มพื้นที่และสิ่งดีๆ ในชุมชน 20.8
9 การมีกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมาย 14.8
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อการเมืองของประเทศไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกของเด็กและเยาวชนต่อการเมืองของประเทศ ค่าร้อยละ
1 น่าเบื่อ น่ารำคาญ วุ่นวาย เซ็ง 60.9
2 ไม่สบายใจ น่าเป็นห่วง 29.1
3 คนไทยไม่รักสามัคคีกัน ทะเลาะกันประจำ 10.9
4 ไม่สงบ เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป 9.6
5 ภูมิใจ รู้สึกเป็นประชาธิปไตย 6.1
6 มีแต่เรื่องโกงกิน 4.4
7 มีแต่แย่งอำนาจกัน หลงอำนาจ 2.8
8 อื่นๆ ระบุ ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่ยุติธรรม เริ่มต้นกันใหม่ เป็นต้น 6.7
ตารางที่ 9 แสดง 10 อันดับภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่เด็กและเยาวชนจะเลือกทำตาม ค่าร้อยละ
1 ฉ้อฉล เห็นแก่ตัว ทุจริต โกหก 28.3
2 ทำตัวดี บุคลิกดี 16.9
3 ความเป็นผู้นำ 13.1
4 พูดจาดี คุยดี 12.8
5 ความรับผิดชอบ 11.8
6 ความซื่อสัตย์ 9.8
7 การทำงานหนัก 8.5
8 การโต้เถียง 7.0
9 ความสามารถ 5.9
10 การใช้อำนาจ 5.2
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 หายาก 47.5
2 พอหาได้ 52.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ชื่อนักการเมืองที่พอจะเป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ตอบที่ระบุชื่อนักการเมืองและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 45.2
2 นายสมัคร สุนทรเวช 23.2
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 22.4
4 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 15.7
6 นายชวน หลีกภัย 9.9
7 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 8.3
8 อื่นๆ 4.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
ลำดับที่ ดารานักร้องนักแสดงที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 หายาก 43.2
2 พอหาได้ 56.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ชื่อดาราที่พอจะเป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ตอบที่ระบุชื่อดาราและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดาราที่เป็นแบบอย่างในเรื่องความดี คุณธรรม ค่าร้อยละ
1 เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) 15.6
2 อุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) 9.3
3 นักร้องวงแคลช 8.7
4 ธงไชย แมคอินไตย์ 7.1
6 วรนุช วงศ์สวรรค์ (นุ่น) 6.8
7 นักร้องวงบอดี้แสลม 6.4
8 แอน ทองประสม 6.3
9 ณัฐวุฒิ สะกิดใจ (ป๋อ) 6.1
10 อื่นๆ 37.9
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 เป็นสิ่งที่ดี 52.5
2 ค่อนข้างดี 24.5
3 ปานกลาง 18.6
4 ไม่ค่อยดี 3.0
5 ไม่ดี 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อถ้อยคำที่ว่า ถึงแม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต แต่การปกครองแบบประชาธิปไตยก็ยังดีกว่าการปกครองแบบอื่น
ลำดับที่ ความเห็นต่อ การปกครองแบบประชาธิปไตยดีกว่าการปกครองแบบอื่น แม้ประเทศไทยมีปัญหาวิกฤต ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 45.7
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 21.4
3 ปานกลาง 24.9
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 4.6
5 ไม่เห็นด้วย 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการนำหลักปรัชญาและแนวปฏิบัติตามวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศไทย
ลำดับที่ ความเห็นต่อการนำหลักเศรษฐกิจมาแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 55.9
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 17.7
3 ปานกลาง 22.5
4 ไม่ค่อนเห็นด้วย 2.4
5 ไม่เห็นด้วย 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-