ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อิทธิพลของภาพลักษณ์รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต่อ
การสนับสนุนของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,459 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยผลสำรวจพบว่า
ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 ยังคงรับรู้ในระดับ”น้อย”ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชว่า กำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชน กำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง ปัญหายาเสพติด อย่างไรก็ตาม ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.4 กำลังรับรู้ใน
ระดับที่มากว่า นายสมัคร สุนทรเวชกำลังเปลี่ยนแปลงไปที่ไม่ตอบโต้กับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 36.2 รับรู้ระดับมาก
ว่า มีความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องตำแหน่งทางการเมือง และประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.9 รับรู้ระดับมากว่า รัฐบาลกำลังแทรก
แซงการทำงานของสื่อมวลชน
ต่อกรณีแนวคิดที่จะให้อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยบางคนใน 111 คน เข้ามาช่วยทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ ผลสำรวจ
พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.6 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 45.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 0.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่ค้นพบในประเด็นอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยออกมาเช่นนี้ ถ้ารัฐบาลตัดสินใจนำมาช่วยทำงานในหน่วยงาน
ของรัฐ อาจพบกับแรงเสียดทานจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ถึงแม้ผลสำรวจพบว่ามีคนสนับสนุนแนวคิดนี้เกินครึ่งหนึ่งก็ตาม
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 ระบุว่ารัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อนการเร่ง
ช่วยแก้ปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีเพียงร้อยละ 4.6 เท่านั้นที่ระบุว่าควรเร่งแก้ปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก่อน และร้อยละ
17.7 ระบุควรเร่งแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อการแก้ปัญหาโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า
เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลที่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้มีเพียง 4.31 คะแนน การแก้ปัญหา
ยาเสพติดได้เพียง 4.26 คะแนน ปัญหาแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาลได้เพียง 3.76 คะแนน และการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้เพียง
3.62 คะแนน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังคงพบว่า ประชาชนยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช มากกว่ากลุ่มที่ไม่สนับสนุน โดยพบว่า ร้อย
ละ 45.4 สนับสนุน ร้อยละ 36.8 ไม่สนับสนุน และที่เหลือร้อยละ 17.8 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือขออยู่ตรงกลาง
ดร.นพดล ได้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและการสนับสนุน นาย
สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชาชนที่รับรู้ว่ารัฐบาลกำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในระดับที่มาก
จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชประมาณ 7 — 8 เท่าเปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนที่รับรู้น้อยเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล
และในกลุ่มประชาชนที่รับรู้มากเกี่ยวกับว่ารัฐบาลกำลังแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงให้ประชาชน จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ประมาณ 5
เท่า เปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนที่รับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อย เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์เรื่องการรับรู้ของประชาชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติดโดย
รัฐบาล
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่รับรู้ว่า นายกรัฐมนตรีลดการตอบโต้กับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในระดับมาก จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทร
เวช เกือบ 2 เท่า เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับรู้เรื่องนี้น้อย
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่รับรู้ว่ารัฐบาลกำลังแทรกแซงสื่อมวลชนในระดับปานกลางจะสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช กว่า 2 เท่า
เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับรู้ว่ามีการแทรกแซงสื่อมวลชนมาก
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมฯ กล่าวว่า ค่าสถิติวิจัยออกมาเช่นนี้เป็นการยืนยันได้อย่างชัดเจนให้สาธารณชนทั่วไป
ทราบว่า สิ่งที่จะทำให้ประชาชนสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างยั่งยืนได้ ก็คือการเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่าปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และการแทรกแซงสื่อมวลชนอาจกลายเป็นปัจจัยบั่นทอนเสถียรภาพของ
รัฐบาลได้ ในขณะที่ การลดการโต้ตอบของนายกรัฐมนตรีต่อกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกำลังได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนต่อข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลชุดที่มีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้บริหารและรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชน
3. เพื่อสำรวจการสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง อิทธิพลของภาพลักษณ์รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต่อการสนับสนุนของ
สาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-16
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,459 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 26.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.2 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.4 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 2.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.8 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 48.8 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.8 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 10.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา พบว่าร้อยละ51.9 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่
ร้อยละ 48.1 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 6.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลภายหลัง
นายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล รับรู้มาก ปานกลาง รับรู้น้อย
1 รัฐบาลกำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 29.3 21.2 49.5
2 รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง 31.6 18.2 50.2
3 รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหายาเสพติด 33.4 18.1 48.5
4 รัฐบาลกำลังแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน 25.9 17.5 56.6
5 พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคอาจถูกยุบพรรค 26.8 17.8 55.4
7 ความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องตำแหน่งทางการเมือง 36.2 15.9 47.9
8 นายกรัฐมนตรีลดการโต้ตอบกับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 32.4 17.7 49.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย
บางคนใน 111 คน เข้ามาช่วยทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 53.6
2 ไม่เห็นด้วย 45.6
3 ไม่มีความเห็น 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อทางเลือกของรัฐบาลระหว่าง เร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อนหรือปัญหา
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก่อน
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อน 77.8
2 เร่งแก้ปัญหาช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 4.6
3 เร่งแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล ค่าคะแนนเฉลี่ย(เต็ม 10 คะแนน)
1 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.31
2 รัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยกทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาล 3.76
3 รัฐบาลจะมีผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 3.62
4 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง 4.26
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 45.4
2 ไม่สนับสนุน 36.8
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช
ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล สนับสนุน ไม่สนับสนุน Odds Ratio ค่านัยสำคัญ
1 ทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน (%) (%) (95% CI) p-value
รับรู้มาก 33.7 8.2 7.7 0
รับรู้ปานกลาง 23.5 11.4 3.883 0
รับรู้น้อย 42.8 80.4 (อ้างอิง)
2 กำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง
รับรู้มาก 35.8 12.1 5.459 0
รับรู้ปานกลาง 20.7 7.4 5.141 0
รับรู้น้อย 43.6 80.5 (อ้างอิง)
3 กำลังเร่งแก้ปัญหายาเสพติด
รับรู้มาก 37.8 13.4 5.064 0
รับรู้ปานกลาง 19.8 10.6 3.334 0
รับรู้น้อย 42.4 76 (อ้างอิง)
4 กำลังแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน
รับรู้มาก 24.4 31.5 (อ้างอิง)
รับรู้ปานกลาง 19.5 9.4 2.667 0
รับรู้น้อย 56.1 59.1 1.225 0.193
5 นายกฯ ลดตอบโต้กับกลุ่มวิจารณ์รัฐบาล
รับรู้มาก 34 27 1.559 0.01
รับรู้ปานกลาง 19 14 1.641 0.01
รับรู้น้อย 48 59 (อ้างอิง)
หมายเหตุ ค่านัยสำคัญ p-value = .000 แปลว่า มีนัยสำคัญมากที่สุด ถ้าค่าเกิน .05 แปลว่า ไม่มีนัยสำคัญ ในวิจัยครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “อิทธิพลของภาพลักษณ์รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต่อ
การสนับสนุนของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,459 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยผลสำรวจพบว่า
ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 ยังคงรับรู้ในระดับ”น้อย”ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชว่า กำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชน กำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง ปัญหายาเสพติด อย่างไรก็ตาม ประชาชนประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.4 กำลังรับรู้ใน
ระดับที่มากว่า นายสมัคร สุนทรเวชกำลังเปลี่ยนแปลงไปที่ไม่ตอบโต้กับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 36.2 รับรู้ระดับมาก
ว่า มีความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องตำแหน่งทางการเมือง และประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.9 รับรู้ระดับมากว่า รัฐบาลกำลังแทรก
แซงการทำงานของสื่อมวลชน
ต่อกรณีแนวคิดที่จะให้อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยบางคนใน 111 คน เข้ามาช่วยทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ ผลสำรวจ
พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.6 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 45.6 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 0.8 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่ค้นพบในประเด็นอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยออกมาเช่นนี้ ถ้ารัฐบาลตัดสินใจนำมาช่วยทำงานในหน่วยงาน
ของรัฐ อาจพบกับแรงเสียดทานจากกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก ถึงแม้ผลสำรวจพบว่ามีคนสนับสนุนแนวคิดนี้เกินครึ่งหนึ่งก็ตาม
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 ระบุว่ารัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อนการเร่ง
ช่วยแก้ปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีเพียงร้อยละ 4.6 เท่านั้นที่ระบุว่าควรเร่งแก้ปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก่อน และร้อยละ
17.7 ระบุควรเร่งแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อการแก้ปัญหาโดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า
เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลที่จะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้มีเพียง 4.31 คะแนน การแก้ปัญหา
ยาเสพติดได้เพียง 4.26 คะแนน ปัญหาแตกแยกภายในพรรคร่วมรัฐบาลได้เพียง 3.76 คะแนน และการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้เพียง
3.62 คะแนน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจยังคงพบว่า ประชาชนยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช มากกว่ากลุ่มที่ไม่สนับสนุน โดยพบว่า ร้อย
ละ 45.4 สนับสนุน ร้อยละ 36.8 ไม่สนับสนุน และที่เหลือร้อยละ 17.8 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือขออยู่ตรงกลาง
ดร.นพดล ได้ทำการวิเคราะห์ค่าสถิติวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและการสนับสนุน นาย
สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชาชนที่รับรู้ว่ารัฐบาลกำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนในระดับที่มาก
จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชประมาณ 7 — 8 เท่าเปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนที่รับรู้น้อยเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล
และในกลุ่มประชาชนที่รับรู้มากเกี่ยวกับว่ารัฐบาลกำลังแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงให้ประชาชน จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ประมาณ 5
เท่า เปรียบเทียบกับกลุ่มประชาชนที่รับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อย เช่นเดียวกับผลการวิเคราะห์เรื่องการรับรู้ของประชาชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติดโดย
รัฐบาล
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่รับรู้ว่า นายกรัฐมนตรีลดการตอบโต้กับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในระดับมาก จะสนับสนุนนายสมัคร สุนทร
เวช เกือบ 2 เท่า เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับรู้เรื่องนี้น้อย
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่รับรู้ว่ารัฐบาลกำลังแทรกแซงสื่อมวลชนในระดับปานกลางจะสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช กว่า 2 เท่า
เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับรู้ว่ามีการแทรกแซงสื่อมวลชนมาก
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมฯ กล่าวว่า ค่าสถิติวิจัยออกมาเช่นนี้เป็นการยืนยันได้อย่างชัดเจนให้สาธารณชนทั่วไป
ทราบว่า สิ่งที่จะทำให้ประชาชนสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างยั่งยืนได้ ก็คือการเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มากกว่าปัญหาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และการแทรกแซงสื่อมวลชนอาจกลายเป็นปัจจัยบั่นทอนเสถียรภาพของ
รัฐบาลได้ ในขณะที่ การลดการโต้ตอบของนายกรัฐมนตรีต่อกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกำลังได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนต่อข่าวสารเกี่ยวกับรัฐบาลชุดที่มีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้บริหารและรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชน
3. เพื่อสำรวจการสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง อิทธิพลของภาพลักษณ์รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต่อการสนับสนุนของ
สาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-16
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,459 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.9 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 26.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.2 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.4 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 2.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 8.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.8 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 48.8 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.8 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 10.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา พบว่าร้อยละ51.9 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่
ร้อยละ 48.1 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 41.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 6.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลภายหลัง
นายสมัคร สุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล รับรู้มาก ปานกลาง รับรู้น้อย
1 รัฐบาลกำลังเร่งทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 29.3 21.2 49.5
2 รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง 31.6 18.2 50.2
3 รัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหายาเสพติด 33.4 18.1 48.5
4 รัฐบาลกำลังแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน 25.9 17.5 56.6
5 พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคอาจถูกยุบพรรค 26.8 17.8 55.4
7 ความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลเรื่องตำแหน่งทางการเมือง 36.2 15.9 47.9
8 นายกรัฐมนตรีลดการโต้ตอบกับกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล 32.4 17.7 49.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีรัฐบาลจะเปิดโอกาสให้อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย
บางคนใน 111 คน เข้ามาช่วยทำงานในตำแหน่งต่างๆ ของหน่วยงานของรัฐ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 53.6
2 ไม่เห็นด้วย 45.6
3 ไม่มีความเห็น 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อทางเลือกของรัฐบาลระหว่าง เร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อนหรือปัญหา
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก่อน
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เร่งแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนก่อน 77.8
2 เร่งแก้ปัญหาช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 4.6
3 เร่งแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล ค่าคะแนนเฉลี่ย(เต็ม 10 คะแนน)
1 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.31
2 รัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยกทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาล 3.76
3 รัฐบาลจะมีผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 3.62
4 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง 4.26
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 45.4
2 ไม่สนับสนุน 36.8
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช
ในฐานะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล สนับสนุน ไม่สนับสนุน Odds Ratio ค่านัยสำคัญ
1 ทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน (%) (%) (95% CI) p-value
รับรู้มาก 33.7 8.2 7.7 0
รับรู้ปานกลาง 23.5 11.4 3.883 0
รับรู้น้อย 42.8 80.4 (อ้างอิง)
2 กำลังเร่งแก้ปัญหาสินค้าราคาสูง
รับรู้มาก 35.8 12.1 5.459 0
รับรู้ปานกลาง 20.7 7.4 5.141 0
รับรู้น้อย 43.6 80.5 (อ้างอิง)
3 กำลังเร่งแก้ปัญหายาเสพติด
รับรู้มาก 37.8 13.4 5.064 0
รับรู้ปานกลาง 19.8 10.6 3.334 0
รับรู้น้อย 42.4 76 (อ้างอิง)
4 กำลังแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน
รับรู้มาก 24.4 31.5 (อ้างอิง)
รับรู้ปานกลาง 19.5 9.4 2.667 0
รับรู้น้อย 56.1 59.1 1.225 0.193
5 นายกฯ ลดตอบโต้กับกลุ่มวิจารณ์รัฐบาล
รับรู้มาก 34 27 1.559 0.01
รับรู้ปานกลาง 19 14 1.641 0.01
รับรู้น้อย 48 59 (อ้างอิง)
หมายเหตุ ค่านัยสำคัญ p-value = .000 แปลว่า มีนัยสำคัญมากที่สุด ถ้าค่าเกิน .05 แปลว่า ไม่มีนัยสำคัญ ในวิจัยครั้งนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-