ความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายนโยบายรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : กรณีตัวอย่าง
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายนโยบายรัฐบาล
ของนายสมัคร สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,404 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 ติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายรัฐบาลบ้าง ในขณะที่ ร้อยละ 6.7 ติดตามอย่าง
ละเอียดและร้อยละ 16.9 ไม่ได้ติดตามเลย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในยุคนี้เกินครึ่งกลับไม่มีความคิดเห็นเมื่อถูกถามถึงแนวคิดการชำระประวัติ
ศาสตร์เหตุการณ์นองเลือดเดือนตุลาคม 2519 และยิ่งไปกว่านั้นประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุไม่เห็นด้วย มีผู้เห็นด้วยเพียงร้อยละ 14.3
เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า ผู้ตอบแบบสอบถามอาจตอบประเด็นนี้เพราะยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องการชำระประวัติศาสตร์หรือ
เพราะไม่สนใจต่อแนวคิดเรื่องนี้ หรืออาจเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวพวกเขาในเวลานี้ที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งเข้ามาแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและ
ปัญหาการเมืองในเวลาปัจจุบัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ก็น่าเป็นห่วงที่ประชาชนให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์น้อยเกินไปหรือไม่ สังคมคงต้องช่วยกันพิจารณา
เรื่องนี้เช่นกัน
เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อกลุ่มผู้มีส่วนอภิปรายนโยบายรัฐบาลสามฝ่ายได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และฝ่าย สนช.
โดยคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อกลุ่มบุคคลทั้งสามฝ่ายได้ไม่ถึงครึ่ง คือ รัฐบาลได้ 4.83
คะแนน ฝ่ายค้านได้ 4.25 คะแนน และฝ่าย สนช. ได้ 4.43 คะแนน สำหรับเหตุผลที่พอใจ พบว่า ร้อยละ 35.2 ระบุมีการวางแผนการทำงาน มี
แนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุเป็นนโยบายที่ดี ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นการเตือนให้รัฐบาลทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ร้อย
ละ 10.0 ระบุแต่ละฝ่ายตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน ร้อยละ 9.5 ระบุพอใจเพราะเห็นความจริงใจ ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ
38.8 ระบุไม่พอใจเพราะเห็นว่าเป็นการอภิปรายที่ผิดเวทีทำให้คิดว่าเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และเห็นว่ามัวแต่ทะเลาะกัน ในขณะที่ร้อย
ละ 37.9 ระบุไม่พอใจเพราะไม่ชอบพรรคการเมืองบางพรรค ร้อยละ 9.6 ระบุผู้อภิปรายนึกถึงแต่เรื่องส่วนตัวไม่คิดแก้ปัญหาบ้านเมือง และร้อยละ
8.0 ระบุเห็นว่าไม่สร้างสรรค์ และน่าเบื่อ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนที่ถูกศึกษามีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้น่าจะมาจากบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา เพราะ
บรรยากาศทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองภายนอกนั้น ประชาชนกำลังอยู่ในสภาวะที่ต้องการเห็นรัฐบาลเริ่มทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดย
เร็ว ในขณะที่บรรยากาศภายในรัฐสภาที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนเต็มไปด้วยวิวาทะระห่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ดุเดือดในประเด็นที่ห่างไกลตัว
ประชาชนในห้วงเวลาปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากก็ได้มีโอกาสเรียนรู้แง่มุมต่างๆ ของการอภิปรายในรัฐสภาครั้งนี้ทั้งเหตุการณ์สำคัญ
ในประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและบุคลิกภาพของนักการเมืองแต่ละคนที่ดูเหมือนเป็นการฉายหนังเก่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีตของการ
อภิปรายในรัฐสภาไทย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กับ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลการวิเคราะห์พบว่า ด้านการควบคุมอารมณ์ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.19 นายกรัฐมนตรี
ได้ 4.47 ด้านความน่าเชื่อถือในข้อมูล ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.02 นายกรัฐมนตรีได้ 4.98 ด้านการตั้งประเด็นได้ตรงเป้าและตอบได้ตรงประเด็น ผู้นำ
ฝ่ายค้านได้ 4.94 นายกรัฐมนตรีได้ 5.13 ด้านความชัดเจนในการพูด ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.69 นายกรัฐมนตรีได้ 5.47 ในขณะที่ด้านความเห็นใจ
ความเข้าใจ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.47 แต่นายกรัฐมนตรีได้ 5.60 โดยคะแนนความพอใจภาพรวม พบว่า ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.30 ซึ่งน้อยกว่า นายก
รัฐมนตรีที่ได้ 5.41 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวว่า ดูเหมือนว่า ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจะยังคงมีจุดอ่อนในการควบคุมอารมณ์ แต่จุดแข็งที่ได้ใจจากสาธารณชนคือ
ความเห็นใจและความเข้าใจต่อนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบประเด็นที่น่าพิจารณาหลายประการ
คือ ผู้ที่พอใจต่อนายกรัฐมนตรีเป็นชายมากกว่าหญิง ในขณะที่ผู้ที่พอใจต่อผู้นำฝ่ายค้านเป็นหญิงมากกว่าชาย และที่น่าพิจารณาคือ นายกรัฐมนตรีมีกลุ่มผู้สูง
อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นเป็นฐานเสียงสำคัญมากกว่าผู้นำฝ่ายค้าน ด้วยค่าคะแนน 5.97 ต่อ 5.18 คะแนน ในขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านได้จากกลุ่มวัยรุ่นอายุไม่ถึง
20 ปี และผู้นำฝ่ายค้านมีจุดอ่อนในกลุ่มประชาชนที่อายุระหว่าง 40 — 49 ปีและ 50 ปีขึ้นไป ในขณะที่นายกรัฐมนตรีจะได้กำลังใจจากกลุ่มผู้มีรายได้ไม่
เกิน 10,000 บาทต่อเดือนและการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี มากกว่าผู้นำฝ่ายค้าน ด้วยค่าคะแนน 5.70 ต่อ 5.19 คะแนน แต่ผู้นำฝ่ายค้านได้รับ
ความพึงพอใจจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไปมากกว่านายกรัฐมนตรี ด้วยค่าคะแนน 5.85 ต่อ 4.20 คะแนน
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า การแข่งขันทางการเมืองดูจะยังไม่จบลงได้โดยง่ายแม้จะผ่านการเลือกตั้ง
มาแล้ว เพราะการสนับสนุนของสาธารณชนในการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสบชัยชนะอย่างแท้จริง และปมเงื่อนไขทางการ
เมือง สังคมและเศรษฐกิจในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งยังคงมีอยู่ เพราะ โอกาสที่จะมีการเลือกตั้งใหม่หากมีพรรคการเมืองบางพรรคถูกยุบ ปัญหา
สังคมและความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของประชาชนยังไม่เห็นเค้ารางว่าจะได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็วฉับไว ความหวังของฝ่ายการเมืองที่ไม่
สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ยังคงมีอยู่ในการพลิกกลับมาครอบครองอำนาจรัฐ บรรยากาศทางการเมืองจึงร้อนแรงเช่นนี้จึงทำให้รัฐบาลมีอาการแกว่งตัว
ตั้งแต่แรก สิ่งเดียวตอนนี้ที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพได้คือเร่งทำงานแบบติดจรวดแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีผลงานเป็นรูปธรรมจับต้อง
ได้ ควบคู่ไปกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แทรกแซงสื่อมวลชนและปล่อยให้คดีความทางการเมืองเป็นไปตามวิถีทางโดยอิสระในกระบวนการยุติธรรม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนในการติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายนโยบายรัฐบาลของนายสมัคร
สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวม
ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือก
ตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 29.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 11.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.2 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 37.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.8 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.9 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.9 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 46.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา
พบว่าร้อยละ 52.5 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันต่อรัฐสภา
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างละเอียด 6.7
2 ติดตามบ้าง 76.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์นองเลือดเดือนตุลาคม 2519
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 14.3
2 ไม่เห็นด้วย 33.1
3 ไม่มีความเห็น 52.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการอภิปรายของกลุ่มคนฝ่ายต่างๆ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ กลุ่มคนที่อภิปรายในสภา คะแนนเฉลี่ยจาก 10 คะแนน
1 ฝ่ายรัฐบาล 4.83
2 ฝ่ายค้าน 4.25
3 กลุ่มสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 4.43
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 มีการวางแผนการทำงาน/มีแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน 35.2
2 เป็นนโยบายที่ดี 25.5
3 เป็นการเตือนล่วงหน้าให้รัฐบาลทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 10.9
4 แต่ละฝ่ายตั้งใจทำงานจริงๆ เพื่อประชาชน 10.0
5 พูดจาจริงใจ ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือ 9.5
6 อื่นๆ อาทิ ชอบพรรคพลังประชาชน/ชอบพรรคประชาธิปัตย์/ความเป็นกลาง 11.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ไม่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ไม่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 การอภิปรายผิดเวที ทำให้คิดว่าเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล/มัวแต่เถียงกันทะเลาะกัน 38.8
2 ไม่ชอบพรรคการเมืองบางพรรค 37.9
3 มัวแต่นึกถึงเรื่องส่วนตัวและพวกพ้องไม่ได้คิดแก้ไขปัญหาบ้านเมือง 9.6
4 ไม่สร้างสรรค์/น่าเบื่อ 8.0
5 พูดนอกประเด็นนอกเรื่อง/ตอบคำถามไม่ชัดเจน/ชอบเอาแต่เรื่องเก่าๆมาพูดกัน/ 4.9
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้เกิดปัญหาในสภา/นโยบายไม่ชัดเจน/ไม่มีเหตุผล 4.3
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช กับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การอภิปรายของหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ นายอภิสิทธิ์ นายสมัคร
1 การควบคุมอารมณ์ 5.19 4.47
2 ความน่าเชื่อถือในข้อมูล 5.02 4.98
3 ตั้งประเด็นได้ตรงเป้า / ตอบได้ตรงประเด็น 4.94 5.13
4 ความชัดเจนในการพูด 5.69 5.47
5 ความเห็นใจ เข้าใจ 5.47 5.60
ความพอใจโดยภาพรวม 5.30 5.41
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย “ความพอใจโดยภาพรวม” ของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช กับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การอภิปรายของหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ นายอภิสิทธิ์ นายสมัคร
1 เพศ
ชาย 5.2 5.7
หญิง 5.4 5.1
2 อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี 5.6 5.3
20 — 29 ปี 5.5 5
30 — 39 ปี 5.3 5.3
40 — 49 ปี 4.9 5.9
50 ปีขึ้นไป 5.2 6
3 รายได้
ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน 5.3 5.6
10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน 5.5 5.2
มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป 5.2 5.3
4 ระดับการศึกษา
น้อยกว่าปริญญาตรี 5.2 5.7
ปริญญาตรี 5.6 4.6
สูงกว่าปริญญาตรี 5.9 4.2
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายนโยบายรัฐบาล
ของนายสมัคร สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรณีตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน
ทั้งสิ้น 1,404 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 ติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายรัฐบาลบ้าง ในขณะที่ ร้อยละ 6.7 ติดตามอย่าง
ละเอียดและร้อยละ 16.9 ไม่ได้ติดตามเลย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในยุคนี้เกินครึ่งกลับไม่มีความคิดเห็นเมื่อถูกถามถึงแนวคิดการชำระประวัติ
ศาสตร์เหตุการณ์นองเลือดเดือนตุลาคม 2519 และยิ่งไปกว่านั้นประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุไม่เห็นด้วย มีผู้เห็นด้วยเพียงร้อยละ 14.3
เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า ผู้ตอบแบบสอบถามอาจตอบประเด็นนี้เพราะยังไม่เห็นความชัดเจนในเรื่องการชำระประวัติศาสตร์หรือ
เพราะไม่สนใจต่อแนวคิดเรื่องนี้ หรืออาจเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัวพวกเขาในเวลานี้ที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งเข้ามาแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและ
ปัญหาการเมืองในเวลาปัจจุบัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ก็น่าเป็นห่วงที่ประชาชนให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์น้อยเกินไปหรือไม่ สังคมคงต้องช่วยกันพิจารณา
เรื่องนี้เช่นกัน
เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อกลุ่มผู้มีส่วนอภิปรายนโยบายรัฐบาลสามฝ่ายได้แก่ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และฝ่าย สนช.
โดยคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อกลุ่มบุคคลทั้งสามฝ่ายได้ไม่ถึงครึ่ง คือ รัฐบาลได้ 4.83
คะแนน ฝ่ายค้านได้ 4.25 คะแนน และฝ่าย สนช. ได้ 4.43 คะแนน สำหรับเหตุผลที่พอใจ พบว่า ร้อยละ 35.2 ระบุมีการวางแผนการทำงาน มี
แนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุเป็นนโยบายที่ดี ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นการเตือนให้รัฐบาลทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ร้อย
ละ 10.0 ระบุแต่ละฝ่ายตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน ร้อยละ 9.5 ระบุพอใจเพราะเห็นความจริงใจ ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ
38.8 ระบุไม่พอใจเพราะเห็นว่าเป็นการอภิปรายที่ผิดเวทีทำให้คิดว่าเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และเห็นว่ามัวแต่ทะเลาะกัน ในขณะที่ร้อย
ละ 37.9 ระบุไม่พอใจเพราะไม่ชอบพรรคการเมืองบางพรรค ร้อยละ 9.6 ระบุผู้อภิปรายนึกถึงแต่เรื่องส่วนตัวไม่คิดแก้ปัญหาบ้านเมือง และร้อยละ
8.0 ระบุเห็นว่าไม่สร้างสรรค์ และน่าเบื่อ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนที่ถูกศึกษามีความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้น่าจะมาจากบรรยากาศทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา เพราะ
บรรยากาศทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองภายนอกนั้น ประชาชนกำลังอยู่ในสภาวะที่ต้องการเห็นรัฐบาลเริ่มทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดย
เร็ว ในขณะที่บรรยากาศภายในรัฐสภาที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนเต็มไปด้วยวิวาทะระห่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ดุเดือดในประเด็นที่ห่างไกลตัว
ประชาชนในห้วงเวลาปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากก็ได้มีโอกาสเรียนรู้แง่มุมต่างๆ ของการอภิปรายในรัฐสภาครั้งนี้ทั้งเหตุการณ์สำคัญ
ในประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและบุคลิกภาพของนักการเมืองแต่ละคนที่ดูเหมือนเป็นการฉายหนังเก่าที่เคยเกิดขึ้นในอดีตของการ
อภิปรายในรัฐสภาไทย
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กับ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลการวิเคราะห์พบว่า ด้านการควบคุมอารมณ์ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.19 นายกรัฐมนตรี
ได้ 4.47 ด้านความน่าเชื่อถือในข้อมูล ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.02 นายกรัฐมนตรีได้ 4.98 ด้านการตั้งประเด็นได้ตรงเป้าและตอบได้ตรงประเด็น ผู้นำ
ฝ่ายค้านได้ 4.94 นายกรัฐมนตรีได้ 5.13 ด้านความชัดเจนในการพูด ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.69 นายกรัฐมนตรีได้ 5.47 ในขณะที่ด้านความเห็นใจ
ความเข้าใจ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.47 แต่นายกรัฐมนตรีได้ 5.60 โดยคะแนนความพอใจภาพรวม พบว่า ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.30 ซึ่งน้อยกว่า นายก
รัฐมนตรีที่ได้ 5.41 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวว่า ดูเหมือนว่า ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจะยังคงมีจุดอ่อนในการควบคุมอารมณ์ แต่จุดแข็งที่ได้ใจจากสาธารณชนคือ
ความเห็นใจและความเข้าใจต่อนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบประเด็นที่น่าพิจารณาหลายประการ
คือ ผู้ที่พอใจต่อนายกรัฐมนตรีเป็นชายมากกว่าหญิง ในขณะที่ผู้ที่พอใจต่อผู้นำฝ่ายค้านเป็นหญิงมากกว่าชาย และที่น่าพิจารณาคือ นายกรัฐมนตรีมีกลุ่มผู้สูง
อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นเป็นฐานเสียงสำคัญมากกว่าผู้นำฝ่ายค้าน ด้วยค่าคะแนน 5.97 ต่อ 5.18 คะแนน ในขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านได้จากกลุ่มวัยรุ่นอายุไม่ถึง
20 ปี และผู้นำฝ่ายค้านมีจุดอ่อนในกลุ่มประชาชนที่อายุระหว่าง 40 — 49 ปีและ 50 ปีขึ้นไป ในขณะที่นายกรัฐมนตรีจะได้กำลังใจจากกลุ่มผู้มีรายได้ไม่
เกิน 10,000 บาทต่อเดือนและการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี มากกว่าผู้นำฝ่ายค้าน ด้วยค่าคะแนน 5.70 ต่อ 5.19 คะแนน แต่ผู้นำฝ่ายค้านได้รับ
ความพึงพอใจจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไปมากกว่านายกรัฐมนตรี ด้วยค่าคะแนน 5.85 ต่อ 4.20 คะแนน
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า การแข่งขันทางการเมืองดูจะยังไม่จบลงได้โดยง่ายแม้จะผ่านการเลือกตั้ง
มาแล้ว เพราะการสนับสนุนของสาธารณชนในการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสบชัยชนะอย่างแท้จริง และปมเงื่อนไขทางการ
เมือง สังคมและเศรษฐกิจในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งยังคงมีอยู่ เพราะ โอกาสที่จะมีการเลือกตั้งใหม่หากมีพรรคการเมืองบางพรรคถูกยุบ ปัญหา
สังคมและความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของประชาชนยังไม่เห็นเค้ารางว่าจะได้รับการแก้ไขด้วยความรวดเร็วฉับไว ความหวังของฝ่ายการเมืองที่ไม่
สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ยังคงมีอยู่ในการพลิกกลับมาครอบครองอำนาจรัฐ บรรยากาศทางการเมืองจึงร้อนแรงเช่นนี้จึงทำให้รัฐบาลมีอาการแกว่งตัว
ตั้งแต่แรก สิ่งเดียวตอนนี้ที่จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพได้คือเร่งทำงานแบบติดจรวดแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีผลงานเป็นรูปธรรมจับต้อง
ได้ ควบคู่ไปกับความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แทรกแซงสื่อมวลชนและปล่อยให้คดีความทางการเมืองเป็นไปตามวิถีทางโดยอิสระในกระบวนการยุติธรรม
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนในการติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ในการแถลงนโยบายของรัฐบาล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายนโยบายรัฐบาลของนายสมัคร
สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวม
ข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือก
ตั้งที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 29.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 11.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.2 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 37.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.8 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.9 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.9 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 46.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา
พบว่าร้อยละ 52.5 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันต่อรัฐสภา
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างละเอียด 6.7
2 ติดตามบ้าง 76.4
3 ไม่ได้ติดตามเลย 16.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดการชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์นองเลือดเดือนตุลาคม 2519
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 14.3
2 ไม่เห็นด้วย 33.1
3 ไม่มีความเห็น 52.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของตัวอย่างต่อการอภิปรายของกลุ่มคนฝ่ายต่างๆ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ กลุ่มคนที่อภิปรายในสภา คะแนนเฉลี่ยจาก 10 คะแนน
1 ฝ่ายรัฐบาล 4.83
2 ฝ่ายค้าน 4.25
3 กลุ่มสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 4.43
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 มีการวางแผนการทำงาน/มีแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน 35.2
2 เป็นนโยบายที่ดี 25.5
3 เป็นการเตือนล่วงหน้าให้รัฐบาลทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 10.9
4 แต่ละฝ่ายตั้งใจทำงานจริงๆ เพื่อประชาชน 10.0
5 พูดจาจริงใจ ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือ 9.5
6 อื่นๆ อาทิ ชอบพรรคพลังประชาชน/ชอบพรรคประชาธิปัตย์/ความเป็นกลาง 11.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ไม่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลที่ไม่พอใจในการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ ค่าร้อยละ
1 การอภิปรายผิดเวที ทำให้คิดว่าเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล/มัวแต่เถียงกันทะเลาะกัน 38.8
2 ไม่ชอบพรรคการเมืองบางพรรค 37.9
3 มัวแต่นึกถึงเรื่องส่วนตัวและพวกพ้องไม่ได้คิดแก้ไขปัญหาบ้านเมือง 9.6
4 ไม่สร้างสรรค์/น่าเบื่อ 8.0
5 พูดนอกประเด็นนอกเรื่อง/ตอบคำถามไม่ชัดเจน/ชอบเอาแต่เรื่องเก่าๆมาพูดกัน/ 4.9
6 อื่นๆ อาทิ ทำให้เกิดปัญหาในสภา/นโยบายไม่ชัดเจน/ไม่มีเหตุผล 4.3
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช กับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การอภิปรายของหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ นายอภิสิทธิ์ นายสมัคร
1 การควบคุมอารมณ์ 5.19 4.47
2 ความน่าเชื่อถือในข้อมูล 5.02 4.98
3 ตั้งประเด็นได้ตรงเป้า / ตอบได้ตรงประเด็น 4.94 5.13
4 ความชัดเจนในการพูด 5.69 5.47
5 ความเห็นใจ เข้าใจ 5.47 5.60
ความพอใจโดยภาพรวม 5.30 5.41
ตารางที่ 7 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย “ความพอใจโดยภาพรวม” ของประชาชนต่อการอภิปรายของนายสมัคร สุนทรเวช กับ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ การอภิปรายของหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ นายอภิสิทธิ์ นายสมัคร
1 เพศ
ชาย 5.2 5.7
หญิง 5.4 5.1
2 อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี 5.6 5.3
20 — 29 ปี 5.5 5
30 — 39 ปี 5.3 5.3
40 — 49 ปี 4.9 5.9
50 ปีขึ้นไป 5.2 6
3 รายได้
ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน 5.3 5.6
10,001 — 20,000 บาทต่อเดือน 5.5 5.2
มากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป 5.2 5.3
4 ระดับการศึกษา
น้อยกว่าปริญญาตรี 5.2 5.7
ปริญญาตรี 5.6 4.6
สูงกว่าปริญญาตรี 5.9 4.2
--เอแบคโพลล์--
-พห-