ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยโครงการสำรวจ อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อการกลับมาของอดีต
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
3,553 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยกล่าวถึงที่มาของการเลือกศึกษาเด็กและ
เยาวชนร่วมกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย เพราะต้องการดูการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยว่าเป็นอย่างไรในอีก
4 ปีข้างหน้า เพราะเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะมีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 4 ล้านคนหรือเกือบร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด การเฝ้าดูกระแส
แนวคิดของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จึงน่าพิจารณาถึงทิศทางการเมืองในอนาคตได้อีกด้วย
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อถามถึงอารมณ์
ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 ระบุว่าการ
เมืองเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 กำลังวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองขณะนี้มากเช่นกัน นอกจากนี้ ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 88.0 เห็นว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญมากต่อประเทศและร้อยละ 77.5 เลยทีเดียวที่กำลังวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ขณะนี้ แต่เมื่อจำแนกระหว่างกลุ่มเด็กเยาวชนกับกลุ่มผู้ใหญ่พบว่า มีเด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญและวิตกกังวลต่อเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจน้อย
กว่ากลุ่มผู้ใหญ่
เมื่อสอบถามว่า เคยพูดคุยกันถึงเรื่องอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มากน้อยเพียงไร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานี้ พบว่า ร้อยละ
45.9 ระบุว่าเคยพูดถึงกันมาก และร้อยละ 45.8 ระบุว่าคิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรีท่านนี้มาก ในขณะที่ร้อยละ 12.6 คิดถึงปานกลาง และร้อยละ
41.6 คิดถึงน้อย และเมื่อจำแนกกลุ่มเด็กเยาวชนกับกลุ่มผู้ใหญ่กลับพบว่า มีเด็กเยาวชน “พูดถึง” “คิดถึง” และ “นิยมชื่นชม” อดีตนายกรัฐมนตรีในสัด
ส่วนที่มากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่
ที่น่าเป็นห่วงคือ มีประชาชนร้อยละ 12.9 และร้อยละ 17.7 ที่มีความขัดแย้งกัน “มาก” ภายในครอบครัวและคนอื่น นอกครอบครัวเวลา
พูดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.8 มีความต้องการมากที่จะไปต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีในวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 มีความต้องการอยากไปต้อนรับเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 8.3 มีความต้องการอยากไปต้อนรับระดับ
ปานกลาง
ที่น่าพิจารณาคือ คะแนนความนิยมชื่นชมอดีต นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่สำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อย
ละ 55.0 รู้สึกนิยมชื่นชมมาก ร้อยละ 11.5 ระบุระดับปานกลาง แต่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.5 รู้สึกชื่นชมเพียงเล็กน้อยถึงไม่ชื่นชมเลย
เมื่อสอบถามว่า เวลาคิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คิดถึงอะไรมากกว่ากันระหว่างความดีกับคดีความที่ถูกกล่าวหา
ในความผิดต่างๆ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนทั้งสองกลุ่มคือเด็กเยาวชนและกลุ่มผู้ใหญ่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 กับ ร้อยละ 66.5 ต่างคิดถึงความดี
ของอดีตนายกรัฐมนตรีมากกว่าคดีความต่างๆ ที่ถูกล่าวหา อย่างไรก็ตามประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กเยาวชนและประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มผู้ใหญ่ที่คิด
ถึงคดีความที่ถูกกล่าวหาในความผิดต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรี และที่เหลือไม่มีความเห็น ร้อยละ 34.0 ในกลุ่มเยาวชนและร้อยละ 39.5 ในกลุ่ม
ผู้ใหญ่ระบุควรกลับทันทีเพราะอยากให้กลับมาสู้คดี และคิดว่ากลับมาแล้วเศรษฐกิจจะดีขึ้น รวมไปถึงอยากให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 50.5 ในกลุ่มเด็กเยาวชนและร้อยละ 38.4 ในกลุ่มผู้ใหญ่ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่ที่น่าพิจารณาเพราะเป็นตัวเลขที่มีนัย
สำคัญพอสมควรคือ ร้อยละ 15.5 ในกลุ่มเด็กเยาวชนและร้อยละ 22.1 ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยากให้รอไปอีกระยะหนึ่งก่อน เพราะกลับมาก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
และเห็นว่าบ้านเมืองกำลังจะสงบน่าจะรอดูเหตุการณ์ไปก่อน เป็นต้น
แต่ถ้ากลับมา ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่อยากให้อดีตนายกรัฐมนตรีทำมากที่สุด คือ ร้อยละ 28.1 ระบุอยากให้อยู่เฉยๆ /อยู่กับครอบครัวไม่
ต้องยุ่งกับการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุให้ต่อสู้คดีความ/ชี้แจงเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ร้อยละ 22.5 ระบุพัฒนาด้านเศรษฐกิจ/พัฒนาปรับปรุง
ประเทศ/แก้ไขปัญหาต่างๆ ร้อยละ 6.2 ระบุให้ทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 8.4 ระบุให้ลงเล่นการเมือง/เป็นนายกรัฐมนตรี
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยภาพรวมของสังคมประเทศไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 2550
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 มองว่าบรรยากาศการเมืองยังคงแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 38.0 มองว่าดี
เหมือนเดิมถึงดีขึ้น และที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 28.9 มองว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 มองว่าแย่
เหมือนเดิมถึงแย่ลง เช่นเดียวกับปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 มองว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง มีร้อยละ 26.1 มองว่าดี
เหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับเรื่องความรักความสามัคคี สมานฉันท์ของคนในชาติ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.3 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ร้อยละ
37.1 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 55.2 เห็นว่าการดำเนินการกับกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่นแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 26.6 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น และที่เหลือไม่มีความเห็น เช่นเดียวกับเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบว่า ร้อยละ
52.8 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง มีร้อยละ 37.4 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่เหลือไม่มีความเห็น ในขณะที่เรื่องการส่งเสริมขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรมประเพณีไทย พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.9 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น แต่ร้อยละ 33.6 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง และที่เหลือไม่มี
ความเห็น ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้น
ไปภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่
นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,553
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.9 ระบุอายุระหว่าง 12-19 ปี
ร้อยละ 17.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 19.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 16.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.7 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.2 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 23.7 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.1 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.5 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 10.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 11.6 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.1
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 21.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 6.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุอารมณ์ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองและอดีตนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมือง มากถึงมากที่สุด ปานกลาง น้อยถึงไม่มีเลย
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 83.9 7.2 8.9
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 65.0 13.7 21.3
3 เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 88.0 4.8 7.2
4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 77.5 8.5 14.0
5 พูดคุยเรื่องของอดีตนายกทักษิณ ในครอบครัว 45.9 13.9 40.2
6 คิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 45.8 12.6 41.6
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเวลาพูดถึงพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 12.9 6.1 81.0
8 ขัดแย้งกับคนอื่นนอกครอบครัวเวลาพูดถึงอดีตนายกพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 17.7 9.2 73.1
9 อยากไปต้อนรับอดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวันเดินทางกลับเมืองไทย 34.8 8.3 56.9
10 คะแนนความนิยมชื่นชม อดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 55.0 11.5 33.5
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างอายุ 12 — 19 ปี กับอายุ 20 ปีขึ้นไปที่ระบุอารมณ์ความรู้สึกระดับ “มาก”
ต่อ สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมือง อายุ 12—19 ปีร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 81.0 85.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.6 67.1
3 เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 84.0 89.4
4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 69.4 80.4
5 พูดคุยเรื่องของอดีตนายกทักษิณ ในครอบครัว 50.7 44.3
6 คิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 46.3 45.7
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเวลาพูดถึงพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 15.4 12.0
8 ขัดแย้งกับคนอื่นนอกครอบครัวเวลาพูดถึงอดีตนายกพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 21.1 16.5
9 อยากไปต้อนรับอดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวันเดินทางกลับเมืองไทย 40.0 33.1
10 คะแนนความนิยมชื่นชม อดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 57.1 54.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 12-19 ปีค่าร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 คิดถึงความดีมากกว่าด้านที่ด้านคดีความที่ถูกกล่าวหา 64.7 66.5 66.1
2 คิดถึงในด้านคดีความที่ถูกกล่าวหาในความผิดต่างๆ มากกว่า 22.3 25.9 24.9
3 ไม่มีความเห็น 13.0 7.6 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการกลับมาของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 12-19 ปีค่าร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ควรกลับทันที 34.0 39.5 38.0
2 ควรรออีกสักระยะหนึ่ง 15.5 22.1 20.4
3 ไม่มีความเห็น 50.5 38.4 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุควรกลับทันที ได้ให้เหตุผลดังต่อไปนี้
1. อยากให้กลับมาสู้คดีความ
2. ถ้ากลับมาเศรษฐกิจจะดีขึ้น
3. อยากให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศต่อไป
4. เป็นคนทำงานเก่ง
5. การเมืองไทยจะได้ดีขึ้น
6. คิดถึง/ชอบ/อยากเจอ
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุควรรออีกสักระยะหนึ่ง ได้ให้เหตุผลดังต่อไปนี้
1. กลับมาก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น
2. บ้านเมืองกำลังจะสงบน่าจะรอดูเหตุการณ์ไปก่อน
3. ควรเคลียร์ปัญหาให้เรียบร้อยก่อน
4. ไม่อยากให้กลับมาอีกแล้ว
5. มีผลเสียมากกว่าผลดี
6. เศรษฐกิจกำลังจะดีขึ้น
7. เกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำมากที่สุดหลังกลับมาประเทศไทย
ลำดับที่ สิ่งที่อยากให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 อยู่เฉยๆ / อยู่กับครอบครัว ไม่ต้องยุ่งกับการเมือง 28.1
2 ต่อสู้คดีความ /ชี้แจงสิ่งเรื่องที่เกิดขึ้น 23.6
3 พัฒนาด้านเศรษฐกิจ/พัฒนาปรับปรุงประเทศ/แก้ไขปัญหาต่างๆ 22.5
4 ลงเล่นการเมือง /เป็นนายกรัฐมนตรี 8.4
5 ทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน 6.2
6 ให้เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรี 3.4
7 ทำงานตามโครงการที่ตั้งใจไว้ เช่น ตั้งมูลนิธิเด็ก/ สอนหนังสือ /
แก้ไขปัญหายาเสพติด/ประกอบธุรกิจส่วนตัว/แก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศขณะนี้เปรียบเทียบกับช่วง
ก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม 2550
ลำดับที่ สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศขณะนี้ ดีเหมือนเดิมถึง ดีขึ้นค่าร้อยละ แย่เหมือนเดิมถึง แย่ลงค่าร้อยละ ไม่มีความเห็นค่าร้อยละ
1 บรรยากาศทางการเมือง 38.0 49.9 12.1
2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ 28.9 62.7 8.4
3 ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม 26.1 63.2 10.7
4 ความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 37.1 52.3 10.6
5 การดำเนินการกับกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่น 26.6 55.2 18.2
6 การส่งเสริมขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีไทย 54.9 33.6 11.5
7 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน 37.4 52.8 9.8
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยโครงการสำรวจ อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อการกลับมาของอดีต
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
3,553 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยกล่าวถึงที่มาของการเลือกศึกษาเด็กและ
เยาวชนร่วมกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย เพราะต้องการดูการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยว่าเป็นอย่างไรในอีก
4 ปีข้างหน้า เพราะเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จะมีสิทธิเลือกตั้งประมาณ 4 ล้านคนหรือเกือบร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด การเฝ้าดูกระแส
แนวคิดของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้จึงน่าพิจารณาถึงทิศทางการเมืองในอนาคตได้อีกด้วย
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ เมื่อถามถึงอารมณ์
ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 ระบุว่าการ
เมืองเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 กำลังวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมืองขณะนี้มากเช่นกัน นอกจากนี้ ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 88.0 เห็นว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญมากต่อประเทศและร้อยละ 77.5 เลยทีเดียวที่กำลังวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ขณะนี้ แต่เมื่อจำแนกระหว่างกลุ่มเด็กเยาวชนกับกลุ่มผู้ใหญ่พบว่า มีเด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญและวิตกกังวลต่อเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจน้อย
กว่ากลุ่มผู้ใหญ่
เมื่อสอบถามว่า เคยพูดคุยกันถึงเรื่องอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มากน้อยเพียงไร ในช่วง 30 วันที่ผ่านมานี้ พบว่า ร้อยละ
45.9 ระบุว่าเคยพูดถึงกันมาก และร้อยละ 45.8 ระบุว่าคิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรีท่านนี้มาก ในขณะที่ร้อยละ 12.6 คิดถึงปานกลาง และร้อยละ
41.6 คิดถึงน้อย และเมื่อจำแนกกลุ่มเด็กเยาวชนกับกลุ่มผู้ใหญ่กลับพบว่า มีเด็กเยาวชน “พูดถึง” “คิดถึง” และ “นิยมชื่นชม” อดีตนายกรัฐมนตรีในสัด
ส่วนที่มากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่
ที่น่าเป็นห่วงคือ มีประชาชนร้อยละ 12.9 และร้อยละ 17.7 ที่มีความขัดแย้งกัน “มาก” ภายในครอบครัวและคนอื่น นอกครอบครัวเวลา
พูดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.8 มีความต้องการมากที่จะไปต้อนรับอดีตนายกรัฐมนตรีในวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.9 มีความต้องการอยากไปต้อนรับเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 8.3 มีความต้องการอยากไปต้อนรับระดับ
ปานกลาง
ที่น่าพิจารณาคือ คะแนนความนิยมชื่นชมอดีต นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่สำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อย
ละ 55.0 รู้สึกนิยมชื่นชมมาก ร้อยละ 11.5 ระบุระดับปานกลาง แต่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.5 รู้สึกชื่นชมเพียงเล็กน้อยถึงไม่ชื่นชมเลย
เมื่อสอบถามว่า เวลาคิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร คิดถึงอะไรมากกว่ากันระหว่างความดีกับคดีความที่ถูกกล่าวหา
ในความผิดต่างๆ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนทั้งสองกลุ่มคือเด็กเยาวชนและกลุ่มผู้ใหญ่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 กับ ร้อยละ 66.5 ต่างคิดถึงความดี
ของอดีตนายกรัฐมนตรีมากกว่าคดีความต่างๆ ที่ถูกล่าวหา อย่างไรก็ตามประมาณ 1 ใน 5 ของเด็กเยาวชนและประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มผู้ใหญ่ที่คิด
ถึงคดีความที่ถูกกล่าวหาในความผิดต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรี และที่เหลือไม่มีความเห็น ร้อยละ 34.0 ในกลุ่มเยาวชนและร้อยละ 39.5 ในกลุ่ม
ผู้ใหญ่ระบุควรกลับทันทีเพราะอยากให้กลับมาสู้คดี และคิดว่ากลับมาแล้วเศรษฐกิจจะดีขึ้น รวมไปถึงอยากให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 50.5 ในกลุ่มเด็กเยาวชนและร้อยละ 38.4 ในกลุ่มผู้ใหญ่ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ แต่ที่น่าพิจารณาเพราะเป็นตัวเลขที่มีนัย
สำคัญพอสมควรคือ ร้อยละ 15.5 ในกลุ่มเด็กเยาวชนและร้อยละ 22.1 ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยากให้รอไปอีกระยะหนึ่งก่อน เพราะกลับมาก็ไม่มีอะไรดีขึ้น
และเห็นว่าบ้านเมืองกำลังจะสงบน่าจะรอดูเหตุการณ์ไปก่อน เป็นต้น
แต่ถ้ากลับมา ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่อยากให้อดีตนายกรัฐมนตรีทำมากที่สุด คือ ร้อยละ 28.1 ระบุอยากให้อยู่เฉยๆ /อยู่กับครอบครัวไม่
ต้องยุ่งกับการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 23.6 ระบุให้ต่อสู้คดีความ/ชี้แจงเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ร้อยละ 22.5 ระบุพัฒนาด้านเศรษฐกิจ/พัฒนาปรับปรุง
ประเทศ/แก้ไขปัญหาต่างๆ ร้อยละ 6.2 ระบุให้ทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 8.4 ระบุให้ลงเล่นการเมือง/เป็นนายกรัฐมนตรี
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยภาพรวมของสังคมประเทศไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 2550
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 มองว่าบรรยากาศการเมืองยังคงแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ในขณะที่ร้อยละ 38.0 มองว่าดี
เหมือนเดิมถึงดีขึ้น และที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 28.9 มองว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 มองว่าแย่
เหมือนเดิมถึงแย่ลง เช่นเดียวกับปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.2 มองว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง มีร้อยละ 26.1 มองว่าดี
เหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับเรื่องความรักความสามัคคี สมานฉันท์ของคนในชาติ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.3 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ร้อยละ
37.1 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 55.2 เห็นว่าการดำเนินการกับกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่นแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง ในขณะที่เพียง
ร้อยละ 26.6 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น และที่เหลือไม่มีความเห็น เช่นเดียวกับเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบว่า ร้อยละ
52.8 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง มีร้อยละ 37.4 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น ที่เหลือไม่มีความเห็น ในขณะที่เรื่องการส่งเสริมขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรมประเพณีไทย พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.9 เห็นว่าดีเหมือนเดิมถึงดีขึ้น แต่ร้อยละ 33.6 เห็นว่าแย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง และที่เหลือไม่มี
ความเห็น ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในขณะนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการกลับมาของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง อารมณ์ ความรู้สึกของสาธารณชนต่อการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 12 ปีขึ้น
ไปภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่
นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,553
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.6 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.9 ระบุอายุระหว่าง 12-19 ปี
ร้อยละ 17.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 19.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 16.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.7 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 81.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 16.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.2 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 23.7 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.1 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.5 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 10.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 11.6 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.1
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 21.7
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 6.5
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุอารมณ์ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองและอดีตนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมือง มากถึงมากที่สุด ปานกลาง น้อยถึงไม่มีเลย
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 83.9 7.2 8.9
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 65.0 13.7 21.3
3 เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 88.0 4.8 7.2
4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 77.5 8.5 14.0
5 พูดคุยเรื่องของอดีตนายกทักษิณ ในครอบครัว 45.9 13.9 40.2
6 คิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 45.8 12.6 41.6
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเวลาพูดถึงพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 12.9 6.1 81.0
8 ขัดแย้งกับคนอื่นนอกครอบครัวเวลาพูดถึงอดีตนายกพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 17.7 9.2 73.1
9 อยากไปต้อนรับอดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวันเดินทางกลับเมืองไทย 34.8 8.3 56.9
10 คะแนนความนิยมชื่นชม อดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 55.0 11.5 33.5
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างอายุ 12 — 19 ปี กับอายุ 20 ปีขึ้นไปที่ระบุอารมณ์ความรู้สึกระดับ “มาก”
ต่อ สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในขณะนี้
ลำดับที่ อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมือง อายุ 12—19 ปีร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปร้อยละ
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 81.0 85.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.6 67.1
3 เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 84.0 89.4
4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 69.4 80.4
5 พูดคุยเรื่องของอดีตนายกทักษิณ ในครอบครัว 50.7 44.3
6 คิดถึงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 46.3 45.7
7 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเวลาพูดถึงพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 15.4 12.0
8 ขัดแย้งกับคนอื่นนอกครอบครัวเวลาพูดถึงอดีตนายกพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 21.1 16.5
9 อยากไปต้อนรับอดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวันเดินทางกลับเมืองไทย 40.0 33.1
10 คะแนนความนิยมชื่นชม อดีตนายก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 57.1 54.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่ออดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 12-19 ปีค่าร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 คิดถึงความดีมากกว่าด้านที่ด้านคดีความที่ถูกกล่าวหา 64.7 66.5 66.1
2 คิดถึงในด้านคดีความที่ถูกกล่าวหาในความผิดต่างๆ มากกว่า 22.3 25.9 24.9
3 ไม่มีความเห็น 13.0 7.6 9.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการกลับมาของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อายุ 12-19 ปีค่าร้อยละ อายุ 20 ปีขึ้นไปค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ควรกลับทันที 34.0 39.5 38.0
2 ควรรออีกสักระยะหนึ่ง 15.5 22.1 20.4
3 ไม่มีความเห็น 50.5 38.4 41.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุควรกลับทันที ได้ให้เหตุผลดังต่อไปนี้
1. อยากให้กลับมาสู้คดีความ
2. ถ้ากลับมาเศรษฐกิจจะดีขึ้น
3. อยากให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศต่อไป
4. เป็นคนทำงานเก่ง
5. การเมืองไทยจะได้ดีขึ้น
6. คิดถึง/ชอบ/อยากเจอ
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่างที่ระบุควรรออีกสักระยะหนึ่ง ได้ให้เหตุผลดังต่อไปนี้
1. กลับมาก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรดีขึ้น
2. บ้านเมืองกำลังจะสงบน่าจะรอดูเหตุการณ์ไปก่อน
3. ควรเคลียร์ปัญหาให้เรียบร้อยก่อน
4. ไม่อยากให้กลับมาอีกแล้ว
5. มีผลเสียมากกว่าผลดี
6. เศรษฐกิจกำลังจะดีขึ้น
7. เกรงว่าจะไม่ได้รับความปลอดภัย
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำมากที่สุดหลังกลับมาประเทศไทย
ลำดับที่ สิ่งที่อยากให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 อยู่เฉยๆ / อยู่กับครอบครัว ไม่ต้องยุ่งกับการเมือง 28.1
2 ต่อสู้คดีความ /ชี้แจงสิ่งเรื่องที่เกิดขึ้น 23.6
3 พัฒนาด้านเศรษฐกิจ/พัฒนาปรับปรุงประเทศ/แก้ไขปัญหาต่างๆ 22.5
4 ลงเล่นการเมือง /เป็นนายกรัฐมนตรี 8.4
5 ทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน 6.2
6 ให้เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรี 3.4
7 ทำงานตามโครงการที่ตั้งใจไว้ เช่น ตั้งมูลนิธิเด็ก/ สอนหนังสือ /
แก้ไขปัญหายาเสพติด/ประกอบธุรกิจส่วนตัว/แก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศขณะนี้เปรียบเทียบกับช่วง
ก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม 2550
ลำดับที่ สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศขณะนี้ ดีเหมือนเดิมถึง ดีขึ้นค่าร้อยละ แย่เหมือนเดิมถึง แย่ลงค่าร้อยละ ไม่มีความเห็นค่าร้อยละ
1 บรรยากาศทางการเมือง 38.0 49.9 12.1
2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ 28.9 62.7 8.4
3 ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม 26.1 63.2 10.7
4 ความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 37.1 52.3 10.6
5 การดำเนินการกับกลุ่มผู้ทุจริตคอรัปชั่น 26.6 55.2 18.2
6 การส่งเสริมขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีไทย 54.9 33.6 11.5
7 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน 37.4 52.8 9.8
--เอแบคโพลล์--
-พห-