ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนก่อนและหลังการอภิปรายนโยบาย
รัฐบาลและความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,732
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ของสิ่ง
ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับแรกจากความคิดเห็น
ของประชาชนคือ ประชาชนมองว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะทำให้รัฐบาลได้เสียงสนับสนุนจากสาธารณชนโดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.47
อย่างไรก็ตาม ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลที่ผลสำรวจพบว่าได้เป็นอันดับที่สอง ด้วยค่า
คะแนนเฉลี่ย 5.35 ได้แก่ การที่ประชาชนมองว่า นโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งปัญหา
บางอย่างที่เกินขอบเขตความสามารถของประชาชนและชุมชนจะจัดการด้วยตนเองได้ ก็จำเป็นต้องรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น ปัญหายาเสพ
ติด ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม การบุกรุกผืนป่าและที่ทำกินของชาวบ้าน ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบว่า การที่ประชาชนมองว่านโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนกลับได้คะแนนไม่ถึง
ครึ่งคือได้เพียง 4.88 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมองว่านโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยคะแนนเพียง 4.84 คะแนนจากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน และที่เหลือก็ได้ไม่ถึงครึ่งเช่นกัน ได้แก่ นโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนขยันทำงานหนักได้ 4.84 การบรรลุความสำเร็จตามที่
รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ ได้ 4.68 ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศได้ 4.67 นโยบายเหล่านี้ช่วยลดภาระการใช้จ่ายของรัฐบาลได้ 4.38
และความสมานฉันท์ไม่แตกแยกในสังคมได้ 4.21
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในอีก 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบช่วงก่อนและหลังการ
อภิปรายนโยบายรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลที่จะสามารถแก้ปัญหา
ยาเสพติดได้อย่างแท้จริง เพิ่มขึ้นจาก 4.26 มาอยู่ที่ 5.42 อย่างไรก็ตาม ค่าความเชื่อมั่นในประเด็นอื่นยังคงต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแต่ก็สูงขึ้นเล็กน้อยในทุก
ตัว ได้แก่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 4.31 มาอยู่ที่ 4.54 ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยก
ภายในพรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 3.76 มาอยู่ที่ 3.96 แต่ที่น่าเป็นห่วง ถึงแม้ความเชื่อมั่นสูงขึ้นแต่ถือว่ามีความเชื่อมั่นที่ค่อนข้างน้อยมาก คือความ
เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น เพิ่มจาก 3.62 เป็น 3.81 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ที่น่าสนใจคือ การอภิปรายนโยบายรัฐบาลไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแรงสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเทียบ
ช่วงเวลาระหว่างก่อนและหลังการอภิปราย โดยก่อนอภิปรายได้ 45.4 และหลังอภิปรายได้ 45.3 ในขณะที่ กลุ่มไม่สนับสนุนยังคงเท่าเดิมคือ ก่อน
อภิปรายมีร้อยละ 36.8 หลังอภิปรายมีร้อยละ 36.7 ตามลำดับ และที่เหลือไม่ขอฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง)
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลอาจกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพราะถึงแม้จะพยายามนำนโยบายประชานิยม
ของพรรคไทยรักไทยในอดีตมาปรับใช้ แต่ประชาชนยังคงสงวนท่าทีในการแสดงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในผลสำรวจล่า
สุดนี้ ตรงกันข้ามกลับแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลต่อประชาชนและสังคมโดยรวม รัฐบาลจึงต้องคิดต่อว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญทำให้
อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเป็นเช่นนี้ในจุดตั้งต้นการทำงานของรัฐบาล
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สังคมน่าจะช่วยกันพิจารณาคือ เป็นไปได้หรือไม่ว่า เรื่องราวทางการเมืองในอดีตยังคงอยู่
ในความทรงจำไม่ได้จางหายไปในหมู่ประชาชนจำนวนมากอย่างน้อยประมาณ 1 ใน 3 เช่น ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ความเคลือบแคลงสงสัยในตัวอดีต
นายกรัฐมนตรี ความแตกแยกแบ่งขั้วของคนในสังคม ปฏิกิริยาต่อต้านรัฐประหาร และความผิดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดก่อน เป็นต้น จึงทำให้
เสียงสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่หวือหวาเด่นชัดนัก ประชาชนอาจกำลังเก็บรายละเอียดและความไม่ชอบอะไรบางอย่างอยู่ใน
ใจ แต่ปล่อยให้รัฐบาลทำงานไปสักระยะหนึ่งก่อน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลน่าจะคำนึงถึงคือ เมื่อมีอำนาจรัฐในมือแล้ว ต้องเร่งทำงานหนักและต้องคำนึงถึง
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร และไม่ใช่ว่าสังคมไม่โต้ตอบอะไร แต่สังคมอาจกำลังรอวันเวลาที่เหมาะสมในการแสดงสาธารณมติให้
กับรัฐบาลรับรู้ในทางสนับสนุนหรือต่อต้านอย่างสมน้ำสมเนื้อ
สำหรับผลสำรวจเกี่ยวกับความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ทราบวันเลือกตั้ง
ส.ว. แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ยังไม่ทราบ ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 ยังไม่ทราบหน้าที่ของ ส.ว. และส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อย
ละ 72.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของ ส.ว. ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ค่อนข้างเชื่อมั่นและมีเพียงร้อยละ 7.7
เท่านั้นที่เชื่อมั่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 63.9 บอกว่าจะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 36.1
บอกว่าจะไม่ไป ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ไม่ทราบเรื่องการเสียสิทธิ หากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ในขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุว่าทราบ
เมื่อถามว่า รู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหรือไม่หากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ผลสำรวจพบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.3 ระบุ
ว่าไม่รู้สึกเสียดาย เพราะไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน และเห็นว่าเดี๋ยวก็มีการเลือกตั้งอีก และไม่เคยใช้สิทธิอะไรทำนองนี้อยู่แล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ38.5 ระบุสิ่งที่จะช่วยให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. คือ ความสำนึกในสิทธิและความรับผิดชอบของ
ตนเองต่อประเทศ ร้อยละ 26.0 ระบุเป็น คุณสมบัติเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร เรื่องความเป็นกลาง ไม่เห็นแก่ตัว ร้อยละ 17.3 ระบุความหวังว่าจะทำให้
ประเทศดีขึ้น ร้อยละ 10.8 ระบุไปเพื่อรักษาสิทธิและไม่ต้องการให้คนอื่นมาใช้สิทธิของตน ร้อยละ 9.0 ระบุไม่อยากเสียสิทธิ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ
9.3 ระบุอื่นๆ เช่น ถ้าได้รับเงิน ค่าตอบแทน ค่าเดินทางก็จะไป และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเวลานี้น่าจะพิจารณาคือ เคยวิจัยพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 12 — 19 ปีว่า เด็ก
เยาวชนส่วนใหญ่บอกกับคณะผู้วิจัยว่า ถึงแม้ประเทศชาติจะวิกฤตเพียงไร การปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น
ผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะคำนึงถึงกระแสแนวคิดของเด็กเยาวชนเหล่านี้เพื่อช่วยกันรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยและออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.
ว. ในวันที่ 2 มีนาคม นี้ เพื่อให้ได้ ส.ว.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงในการกลั่นกรองกฎหมายและทำให้เกิดความสมดุลในการบริหาร
จัดการแก้ไขปัญหาของประเทศระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล
นอกจากนี้ ทางศูนย์วิจัยเอแบคฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการทำ Exit Poll เลือกตั้ง ส.ว.
2551 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะกรรมการการเลือกตั้งตอบข้อหารือให้สามารถจัดทำ Exit Poll ครั้งนี้ได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทำให้ได้รับ
ความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และถือเป็นการเตรียมการทำ Exit Poll ในการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา
นครที่จะเกิดขึ้นในปีนี้เช่นกัน โดยจะแถลงข่าวเปิดศูนย์ปฏิบัติบัติการดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 11.00 น. ณ สำนักวิจัย
เอแบคโพลล์ มหาวิทยลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในด้านต่างๆ และผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลต่อประชาชนและสังคมโดยรวม
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนก่อนและหลังการอภิปราย
นโยบายรัฐบาลและความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,732 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,732 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29
ร้อยละ 26.3 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 15.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ตัวอย่าง
ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.2 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.9 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 4.9 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงานไม่มีงานทำ
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.9 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 40.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 22.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา
พบว่าร้อยละ 53.4 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 46.6 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 47.3
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 23.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.4
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 6.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดสิ่งต่างๆ จากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ สิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดจากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม10 คะแนน
1 ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ 4.67
2 การบรรลุความสำเร็จตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ 4.68
3 รัฐบาลได้เสียงสนับสนุนจากสาธารณะชน 5.47
4 ทำให้ประชาชนรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล 5.35
5 ทำให้ประชาชนขยันทำงานหนักมากขึ้น 4.84
6 นโยบายเหล่านี้ช่วยลดภาระการใช้จ่ายของรัฐบาล 4.38
7 ทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 4.88
8 นโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับหลักเศราฐกิจพอเพียง 4.84
9 ความสมานฉันท์ไม่แตกแยกในสังคม 4.21
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน) เปรียบเทียบ คะแนนความเชื่อมั่นระหว่าง ก่อน และ หลังการอภิปราย นโยบายรัฐบาล
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล ก่อนอภิปราย(10 คะแนน) หลังอภิปราย(10 คะแนน)
1 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.31 4.54
2 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง 4.26 5.42
3 รัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยกทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาล 3.76 3.96
4 รัฐบาลจะมีผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 3.62 3.81
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบ ก่อน และ หลัง อภิปราย
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนอภิปราย(ร้อยละ) หลังอภิปราย(ร้อยละ)
1 สนับสนุน 45.4 45.3
2 ไม่สนับสนุน 36.8 36.7
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบต่อวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ลำดับที่ การรับทราบต่อวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทราบ 84.6
2 ไม่ทราบ 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ การรับทราบต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทราบ 39.1
2 ไม่ทราบ 60.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของ ส.ว.
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 7.7
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 20.1
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 55.8
4 ไม่เชื่อมั่น 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ค่าร้อยละ
1 ไป 63.9
2 ไม่ไป 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ การรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ค่าร้อยละ
1 ทราบ 27.9
2 ไม่ทราบ 72.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ ความรู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ค่าร้อยละ
1 ไม่เสียดายอะไร เพราะ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน /
เพราะเดี๋ยวก็มีเลือกตั้งใหม่ก็จะได้สิทธิคืน / ไม่เคยใช้สิทธิทำอะไร เป็นต้น 36.3
2 รู้สึกเสียดาย 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ความสำนึกในสิทธิและความรับผิดของตนเองต่อประเทศชาติ 38.5
2 คุณสมบัติเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร อาทิ การวางตัวเป็นกลาง /เป็น คนดีไม่กลัวนักการเมือง/
ไม่เห็นแก่ตัว/ไม่ฝักใฝ่การเมือง 26.0
3 ความหวังว่าการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้อาจจะทำให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศดีขึ้น/คิดว่า
ส.ว.ครั้งนี้จะช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้น 17.3
4 ไปเพื่อต้องการรักษาสิทธิของตนเอง จะได้ไม่มีใครใช้สิทธิแทนเรา 10.8
5 ไม่อยากเสียสิทธิ /ไม่อยากโดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง 9.0
6 อื่นๆ อาทิ ถ้าได้รับเงินจากผู้สมัครก็จะไป / ได้รับเงินค่าเดินทางจากผู้สมัคร /การประชาสัมพันธ์และแนะนำ
ตัวผู้สมัครอย่างต่อเนื่อง/ถ้าไม่มีการประท้วงกันจะไป /ถ้าเหตุการณ์บ้านเมืองสงบก็จะไป 9.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนก่อนและหลังการอภิปรายนโยบาย
รัฐบาลและความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,732
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เมื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ของสิ่ง
ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า สิ่งที่ได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับแรกจากความคิดเห็น
ของประชาชนคือ ประชาชนมองว่า นโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะทำให้รัฐบาลได้เสียงสนับสนุนจากสาธารณชนโดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.47
อย่างไรก็ตาม ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลที่ผลสำรวจพบว่าได้เป็นอันดับที่สอง ด้วยค่า
คะแนนเฉลี่ย 5.35 ได้แก่ การที่ประชาชนมองว่า นโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งปัญหา
บางอย่างที่เกินขอบเขตความสามารถของประชาชนและชุมชนจะจัดการด้วยตนเองได้ ก็จำเป็นต้องรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล เช่น ปัญหายาเสพ
ติด ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคม การบุกรุกผืนป่าและที่ทำกินของชาวบ้าน ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบว่า การที่ประชาชนมองว่านโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนกลับได้คะแนนไม่ถึง
ครึ่งคือได้เพียง 4.88 เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมองว่านโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยคะแนนเพียง 4.84 คะแนนจากคะแนน
เต็ม 10 คะแนน และที่เหลือก็ได้ไม่ถึงครึ่งเช่นกัน ได้แก่ นโยบายรัฐบาลจะทำให้ประชาชนขยันทำงานหนักได้ 4.84 การบรรลุความสำเร็จตามที่
รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ ได้ 4.68 ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศได้ 4.67 นโยบายเหล่านี้ช่วยลดภาระการใช้จ่ายของรัฐบาลได้ 4.38
และความสมานฉันท์ไม่แตกแยกในสังคมได้ 4.21
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในอีก 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบช่วงก่อนและหลังการ
อภิปรายนโยบายรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลที่จะสามารถแก้ปัญหา
ยาเสพติดได้อย่างแท้จริง เพิ่มขึ้นจาก 4.26 มาอยู่ที่ 5.42 อย่างไรก็ตาม ค่าความเชื่อมั่นในประเด็นอื่นยังคงต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแต่ก็สูงขึ้นเล็กน้อยในทุก
ตัว ได้แก่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 4.31 มาอยู่ที่ 4.54 ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยก
ภายในพรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มขึ้นจาก 3.76 มาอยู่ที่ 3.96 แต่ที่น่าเป็นห่วง ถึงแม้ความเชื่อมั่นสูงขึ้นแต่ถือว่ามีความเชื่อมั่นที่ค่อนข้างน้อยมาก คือความ
เชื่อมั่นต่อรัฐบาลในผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น เพิ่มจาก 3.62 เป็น 3.81 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ที่น่าสนใจคือ การอภิปรายนโยบายรัฐบาลไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแรงสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเทียบ
ช่วงเวลาระหว่างก่อนและหลังการอภิปราย โดยก่อนอภิปรายได้ 45.4 และหลังอภิปรายได้ 45.3 ในขณะที่ กลุ่มไม่สนับสนุนยังคงเท่าเดิมคือ ก่อน
อภิปรายมีร้อยละ 36.8 หลังอภิปรายมีร้อยละ 36.7 ตามลำดับ และที่เหลือไม่ขอฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง)
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลอาจกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพราะถึงแม้จะพยายามนำนโยบายประชานิยม
ของพรรคไทยรักไทยในอดีตมาปรับใช้ แต่ประชาชนยังคงสงวนท่าทีในการแสดงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในผลสำรวจล่า
สุดนี้ ตรงกันข้ามกลับแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากนโยบายรัฐบาลต่อประชาชนและสังคมโดยรวม รัฐบาลจึงต้องคิดต่อว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญทำให้
อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเป็นเช่นนี้ในจุดตั้งต้นการทำงานของรัฐบาล
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวต่อว่า สิ่งที่สังคมน่าจะช่วยกันพิจารณาคือ เป็นไปได้หรือไม่ว่า เรื่องราวทางการเมืองในอดีตยังคงอยู่
ในความทรงจำไม่ได้จางหายไปในหมู่ประชาชนจำนวนมากอย่างน้อยประมาณ 1 ใน 3 เช่น ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ความเคลือบแคลงสงสัยในตัวอดีต
นายกรัฐมนตรี ความแตกแยกแบ่งขั้วของคนในสังคม ปฏิกิริยาต่อต้านรัฐประหาร และความผิดหวังต่อการทำงานของรัฐบาลชุดก่อน เป็นต้น จึงทำให้
เสียงสนับสนุนจากประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่หวือหวาเด่นชัดนัก ประชาชนอาจกำลังเก็บรายละเอียดและความไม่ชอบอะไรบางอย่างอยู่ใน
ใจ แต่ปล่อยให้รัฐบาลทำงานไปสักระยะหนึ่งก่อน ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลน่าจะคำนึงถึงคือ เมื่อมีอำนาจรัฐในมือแล้ว ต้องเร่งทำงานหนักและต้องคำนึงถึง
ความรู้สึกนึกคิดของประชาชน ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไร และไม่ใช่ว่าสังคมไม่โต้ตอบอะไร แต่สังคมอาจกำลังรอวันเวลาที่เหมาะสมในการแสดงสาธารณมติให้
กับรัฐบาลรับรู้ในทางสนับสนุนหรือต่อต้านอย่างสมน้ำสมเนื้อ
สำหรับผลสำรวจเกี่ยวกับความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ทราบวันเลือกตั้ง
ส.ว. แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ยังไม่ทราบ ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.9 ยังไม่ทราบหน้าที่ของ ส.ว. และส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อย
ละ 72.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของ ส.ว. ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ค่อนข้างเชื่อมั่นและมีเพียงร้อยละ 7.7
เท่านั้นที่เชื่อมั่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 63.9 บอกว่าจะไปเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 36.1
บอกว่าจะไม่ไป ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.1 ไม่ทราบเรื่องการเสียสิทธิ หากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ในขณะที่ร้อยละ 27.9 ระบุว่าทราบ
เมื่อถามว่า รู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหรือไม่หากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ผลสำรวจพบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 36.3 ระบุ
ว่าไม่รู้สึกเสียดาย เพราะไม่เห็นเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน และเห็นว่าเดี๋ยวก็มีการเลือกตั้งอีก และไม่เคยใช้สิทธิอะไรทำนองนี้อยู่แล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ38.5 ระบุสิ่งที่จะช่วยให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. คือ ความสำนึกในสิทธิและความรับผิดชอบของ
ตนเองต่อประเทศ ร้อยละ 26.0 ระบุเป็น คุณสมบัติเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร เรื่องความเป็นกลาง ไม่เห็นแก่ตัว ร้อยละ 17.3 ระบุความหวังว่าจะทำให้
ประเทศดีขึ้น ร้อยละ 10.8 ระบุไปเพื่อรักษาสิทธิและไม่ต้องการให้คนอื่นมาใช้สิทธิของตน ร้อยละ 9.0 ระบุไม่อยากเสียสิทธิ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ
9.3 ระบุอื่นๆ เช่น ถ้าได้รับเงิน ค่าตอบแทน ค่าเดินทางก็จะไป และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเวลานี้น่าจะพิจารณาคือ เคยวิจัยพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 12 — 19 ปีว่า เด็ก
เยาวชนส่วนใหญ่บอกกับคณะผู้วิจัยว่า ถึงแม้ประเทศชาติจะวิกฤตเพียงไร การปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้งจากประชาชนเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น
ผู้ใหญ่ในสังคมน่าจะคำนึงถึงกระแสแนวคิดของเด็กเยาวชนเหล่านี้เพื่อช่วยกันรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยและออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.
ว. ในวันที่ 2 มีนาคม นี้ เพื่อให้ได้ ส.ว.ที่เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริงในการกลั่นกรองกฎหมายและทำให้เกิดความสมดุลในการบริหาร
จัดการแก้ไขปัญหาของประเทศระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล
นอกจากนี้ ทางศูนย์วิจัยเอแบคฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการทำ Exit Poll เลือกตั้ง ส.ว.
2551 โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะกรรมการการเลือกตั้งตอบข้อหารือให้สามารถจัดทำ Exit Poll ครั้งนี้ได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทำให้ได้รับ
ความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง และถือเป็นการเตรียมการทำ Exit Poll ในการเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา
นครที่จะเกิดขึ้นในปีนี้เช่นกัน โดยจะแถลงข่าวเปิดศูนย์ปฏิบัติบัติการดังกล่าว ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ เวลา 11.00 น. ณ สำนักวิจัย
เอแบคโพลล์ มหาวิทยลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในด้านต่างๆ และผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลต่อประชาชนและสังคมโดยรวม
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนก่อนและหลังการอภิปราย
นโยบายรัฐบาลและความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ของประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,732 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 — 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,732 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95
ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบ
ประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 27.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29
ร้อยละ 26.3 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 15.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ตัวอย่าง
ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.2 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.9 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 4.9 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงานไม่มีงานทำ
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.9 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 40.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 22.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างที่ถูกศึกษาออกตามภูมิลำเนา
พบว่าร้อยละ 53.4 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 46.6 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 47.3
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 23.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.4
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 6.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 9.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดสิ่งต่างๆ จากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ สิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดจากนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม10 คะแนน
1 ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนทั้งประเทศ 4.67
2 การบรรลุความสำเร็จตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ 4.68
3 รัฐบาลได้เสียงสนับสนุนจากสาธารณะชน 5.47
4 ทำให้ประชาชนรอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล 5.35
5 ทำให้ประชาชนขยันทำงานหนักมากขึ้น 4.84
6 นโยบายเหล่านี้ช่วยลดภาระการใช้จ่ายของรัฐบาล 4.38
7 ทำให้ประชาชนรู้จักพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 4.88
8 นโยบายของรัฐบาลสอดคล้องกับหลักเศราฐกิจพอเพียง 4.84
9 ความสมานฉันท์ไม่แตกแยกในสังคม 4.21
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยของประชาชนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน) เปรียบเทียบ คะแนนความเชื่อมั่นระหว่าง ก่อน และ หลังการอภิปราย นโยบายรัฐบาล
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล ก่อนอภิปราย(10 คะแนน) หลังอภิปราย(10 คะแนน)
1 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.31 4.54
2 รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง 4.26 5.42
3 รัฐบาลจะไม่มีปัญหาแตกแยกทางการเมืองภายในพรรคร่วมรัฐบาล 3.76 3.96
4 รัฐบาลจะมีผลงานปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น 3.62 3.81
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบ ก่อน และ หลัง อภิปราย
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนอภิปราย(ร้อยละ) หลังอภิปราย(ร้อยละ)
1 สนับสนุน 45.4 45.3
2 ไม่สนับสนุน 36.8 36.7
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบต่อวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
ลำดับที่ การรับทราบต่อวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทราบ 84.6
2 ไม่ทราบ 15.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ การรับทราบต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทราบ 39.1
2 ไม่ทราบ 60.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของ ส.ว.
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 7.7
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 20.1
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 55.8
4 ไม่เชื่อมั่น 16.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะถึงนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว. ค่าร้อยละ
1 ไป 63.9
2 ไม่ไป 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ การรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ค่าร้อยละ
1 ทราบ 27.9
2 ไม่ทราบ 72.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ลำดับที่ ความรู้สึกเสียดายในสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ค่าร้อยละ
1 ไม่เสียดายอะไร เพราะ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตประจำวัน /
เพราะเดี๋ยวก็มีเลือกตั้งใหม่ก็จะได้สิทธิคืน / ไม่เคยใช้สิทธิทำอะไร เป็นต้น 36.3
2 รู้สึกเสียดาย 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่จะช่วยทำให้ตัดสินใจไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ความสำนึกในสิทธิและความรับผิดของตนเองต่อประเทศชาติ 38.5
2 คุณสมบัติเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร อาทิ การวางตัวเป็นกลาง /เป็น คนดีไม่กลัวนักการเมือง/
ไม่เห็นแก่ตัว/ไม่ฝักใฝ่การเมือง 26.0
3 ความหวังว่าการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้อาจจะทำให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศดีขึ้น/คิดว่า
ส.ว.ครั้งนี้จะช่วยให้บ้านเมืองดีขึ้น 17.3
4 ไปเพื่อต้องการรักษาสิทธิของตนเอง จะได้ไม่มีใครใช้สิทธิแทนเรา 10.8
5 ไม่อยากเสียสิทธิ /ไม่อยากโดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง 9.0
6 อื่นๆ อาทิ ถ้าได้รับเงินจากผู้สมัครก็จะไป / ได้รับเงินค่าเดินทางจากผู้สมัคร /การประชาสัมพันธ์และแนะนำ
ตัวผู้สมัครอย่างต่อเนื่อง/ถ้าไม่มีการประท้วงกันจะไป /ถ้าเหตุการณ์บ้านเมืองสงบก็จะไป 9.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-