ดร.รักษ์ พรหมปาลิต รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้
อำนวยการ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม
การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกันทำเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ และวางแผนทำ
โพลล์เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปีนี้
ดร.รักษ์ กล่าวว่า จากความร่วมมือวิชาการกับศูนย์วิจัยเอแบคในการทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมาพบว่า การเคร่งครัดต่อ
ระเบียบวิธีวิจัยทำให้การทำนายได้แม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพจึงมีการสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ และวางแผนจะส่งบุคลากรทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยพายัพเข้าร่วมทำงานกับศูนย์วิจัยเอแบคฯ ในการทำโพลล์เลือกตั้ง ผู้
ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปีนี้ด้วย
ขณะที่ ดร.นพดล กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำเอ็กซิทโพลล์ในประเทศไทยกว่า 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีความแม่นยำในเกือบทุกครั้งถ้ามี
ความเป็นอิสระทำงานได้ตามระเบียบวิธีวิจัยที่วางแผนไว้ เช่น เลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. ปี 39 เลือกตั้ง ส.ส. ปี 44 เลือกตั้ง ส.ว. และเลือกตั้ง ผู้
ว่า กทม. สมัยนายสมัคร สุนทรเวช แต่ในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา ทีมวิจัยถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่นอกเขตเทศบาล พื้นที่ตะวันออก
เฉียง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้คาดว่าจะสามารถทำงานได้ตามหลักวิขาการที่วางแผนไว้ และจะได้ความแม่ยำสูง
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ ยังได้เปิดเผยผลสำรวจบทบาทของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 2,775 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ผลการศึกษาว่าพบว่าแกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 95.0 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเมื่อสอบ
ถามต่อไปถึงการรับรู้รับทราบต่อวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ปี 2551 นั้นพบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาเกือบทั้งหมดร้อยละ 99.1 สามารถระบุได้อย่าง
ถูกต้องว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 2 มีนาคมที่กำลังจะมาถึงนี้
ดร.นพดล ได้กล่าวถึงรายละเอียดในผลสำรวจกรณีการรับทราบของแกนนำชุมชนต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าแกนนำชุมชนที่ถูก
ศึกษาร้อยละ 78.0 ระบุทราบว่า ส.ว.มีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้ ร้อยละ 46.8 ระบุส.ว.มีหน้าที่
ตรวจสอบการทำงานของ ส.ส./รัฐบาล/ฝ่ายบริหาร ร้อยละ 19.0 ระบุการทำหน้าที่ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง/ถอดถอนรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อย
ละ 2.2 ระบุหน้าที่อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ /เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล/ให้ความเห็นชองในการดำรงตำแหน่งของ
บุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของแกนนำชุมชนในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของสมาชิกวุฒิสภานั้นพบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษา
ร้อยละ 24.6 ระบุเชื่อมั่นต่อ ส.ว.ในเรื่องดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามประมาณ 1 ใน 3 ของแกนนำชุมชนที่
ถูกศึกษาคือร้อยละ 31.3 ระบุไม่ค่อนเชื่อมั่นและร้อยละ 13.7 ระบุไม่เชื่อมั่นตามลำดับ
สำหรับการรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)นั้น พบว่าแกนนำชุมชนมากกว่าร้อยละ 90 ระบุรับทราบว่า
จะต้องเสียสิทธิอะไรบ้างหากไม่ไปเลือกตั้งในครั้งนี้ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบเรื่องการเสียสิทธิดังกล่าว
ดร.นพดลได้กล่าวถึงผลสำรวจต่อไป ถึงผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความรู้สึกของแกนนำชุมชนกับประชาชนในเรื่องการเสียสิทธิหากไม่
ไปเลือกตั้ง ส.ว.ที่พบว่าในกลุ่มแกนนำชุมชนมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุรู้สึกเสียดายสูงกว่ากลุ่มประชนทั่วไปกว่าร้อยละ 30 โดยแกนนำชุมชนร้อยละ 94.1
ระบุรู้สึกเสียดาย ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนนั้นมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63.7
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 92.5 ระบุมีบทบาทในการ
ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือร้อยละ 65.0 ระบุช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ร้อย
ละ 56.0 ระบุเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 29.8 ระบุจัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ตามลำดับ ในขณะที่
แกนนำชุมชนบางส่วนระบุได้พบปะกับ ผู้สมัคร ส.ว.ในพื้นที่ รวมทั้งได้มีการช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัคร ส.ว.บางคน และได้รับการ
ติดต่อจากผู้สมัคร ส.ว.หรือตัวแทนให้ช่วยเหลือในการหาเสียงให้
สำหรับความตั้งใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.เมื่อเปรียบเทียบแกนนำชุมชนกับประชาชนทั่วไปนั้นพบว่า แกนนำชุมชนกว่าร้อยละ 90
ระบุตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นมีอยู่ร้อยละ 60.3 ที่ระบุตั้งใจจะไปใช้สิทธิ ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่าเหตุผลหลักของ
การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งนี้นั้น เนื่องจากคิดว่าไม่มีผลต่อชีวิตประจำวัน/เบื่อและไม่ชอบการเมือง/คิดว่าไม่ไปคนเดียวคงไม่มีผลอะไร และ
ที่น่าสนใจคือมีบางส่วนคิดว่าอาจมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็ววัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการการติดตามข่าวการเมืองของแกนนำชุมชน
2. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
3. เพื่อสำรวจเชื่อมั่นของแกนนำชุมชนในความเป็นกลางของสมาชิกวุฒิสภา
4. เพื่อสำรวจบทบาทหน้าที่ของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา: กรณีศึกษา
ตัวอย่างแกนนำชุมชน/อบต./อบจ. ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชน/อบต./อบ
จ. ทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใช้เทคนิค
Proportional Allocation ในการกำหนดขนาดตัวอย่างแกนนำชุมชนที่จะศึกษาในแต่ละจังหวัด
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,775 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.4 เป็นผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ร้อยละ 13.3 เป็นปลัด อบต.
ร้อยละ 11.5 เป็นกำนัน
ร้อยละ 9.4 เป็นนายก อบต./นายกเทศมนตรี
ร้อยละ 5.4 ระบุอื่นๆ อาทิ กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการชมุชน /ประธานชุมชน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 77.3
2 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.4
3 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ 5.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 1.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการรับทราบวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว.
ลำดับที่ การรับทราบวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว. ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 2 มีนาคม 2551 99.1
2 ไม่ทราบ 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุหน้าที่ของของสมาชิกวุฒิสภาที่รับทราบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ที่รับทราบ ค่าร้อยละ
1 พิจารณากลั่นกรองกฎหมายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้ 78.0
2 ตรวจสอบการทำงานของ ส.ส./รัฐบาล/ฝ่ายบริหาร 46.8
3 ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง/ถอดถอนรัฐมนตรี 19.0
4 อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ /เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล/
ให้ความเห็นชองในการดำรงตำแหน่งของบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุความเชื่อมั่นในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของ ส.ว.
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในความเป็นกลางของ ส.ว. ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.6
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 30.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.3
4 ไม่เชื่อมั่น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการรับทราบต่อการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้
ลำดับที่ การรับทราบต่อการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าต้องเสียสิทธิ 96.1
2 ไม่ทราบ 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการความรู้สึกต่อสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ได้ไปเลือกตั้ง ส.ว.
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ได้ไปเลือกตั้ง ส.ว. แกนนำค่าร้อยละ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ
1 ไม่เสียดายอะไรเลย 5.9 36.3
2 รู้สึกเสียดาย 94.1 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุบทบาทของตนเองในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง 92.5
2 ช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 65.0
3 เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 56.0
4 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง 29.8
5 พบปะกับผู้สมัคร ส.ว. ในพื้นที่ 9.7
6 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัคร ส.ว.บางคน 4.5
7 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัคร ส.ว.หรือตัวแทนให้ช่วยเหลือในการหาเสียงให้ 4.4
8 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัคร ส.ว. กับประชาชนในพื้นที่ 3.7
9 ได้รับการติดต่อจากพรรคการเมืองให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัคร ส.ว.บางคน 0.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้ที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศครั้งนี้เปรียบเทียบผู้ที่เป็นแกนนำชุมชน
กับประชาชนทั่วไป
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ
1 ไป 92.1 60.3
2 ไม่ไป 7.9 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้ไม่ไปใช้สิทธิคือ :
- ไม่มีผลกับชีวิตประจำวัน
- คิดว่าน่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็วๆ นี้
- เสียงเดียว / คิดว่าไม่ไปคนเดียวไม่มีผล
- เบื่อ / ไม่ชอบการเมือง
- มีธุระสำคัญ/ติดงาน/อยู่ต่างจังหวัด
--เอแบคโพลล์--
-พห-
อำนวยการ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยพายัพ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม
การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกันทำเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ และวางแผนทำ
โพลล์เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปีนี้
ดร.รักษ์ กล่าวว่า จากความร่วมมือวิชาการกับศูนย์วิจัยเอแบคในการทำนายผลการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมาพบว่า การเคร่งครัดต่อ
ระเบียบวิธีวิจัยทำให้การทำนายได้แม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพายัพจึงมีการสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ และวางแผนจะส่งบุคลากรทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยพายัพเข้าร่วมทำงานกับศูนย์วิจัยเอแบคฯ ในการทำโพลล์เลือกตั้ง ผู้
ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปีนี้ด้วย
ขณะที่ ดร.นพดล กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำเอ็กซิทโพลล์ในประเทศไทยกว่า 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีความแม่นยำในเกือบทุกครั้งถ้ามี
ความเป็นอิสระทำงานได้ตามระเบียบวิธีวิจัยที่วางแผนไว้ เช่น เลือกตั้ง ผู้ว่า กทม. ปี 39 เลือกตั้ง ส.ส. ปี 44 เลือกตั้ง ส.ว. และเลือกตั้ง ผู้
ว่า กทม. สมัยนายสมัคร สุนทรเวช แต่ในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา ทีมวิจัยถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่นอกเขตเทศบาล พื้นที่ตะวันออก
เฉียง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้คาดว่าจะสามารถทำงานได้ตามหลักวิขาการที่วางแผนไว้ และจะได้ความแม่ยำสูง
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ ยังได้เปิดเผยผลสำรวจบทบาทของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 2,775 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ผลการศึกษาว่าพบว่าแกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 95.0 ระบุติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเมื่อสอบ
ถามต่อไปถึงการรับรู้รับทราบต่อวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ปี 2551 นั้นพบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษาเกือบทั้งหมดร้อยละ 99.1 สามารถระบุได้อย่าง
ถูกต้องว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 2 มีนาคมที่กำลังจะมาถึงนี้
ดร.นพดล ได้กล่าวถึงรายละเอียดในผลสำรวจกรณีการรับทราบของแกนนำชุมชนต่อหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าแกนนำชุมชนที่ถูก
ศึกษาร้อยละ 78.0 ระบุทราบว่า ส.ว.มีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้ ร้อยละ 46.8 ระบุส.ว.มีหน้าที่
ตรวจสอบการทำงานของ ส.ส./รัฐบาล/ฝ่ายบริหาร ร้อยละ 19.0 ระบุการทำหน้าที่ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง/ถอดถอนรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อย
ละ 2.2 ระบุหน้าที่อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ /เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล/ให้ความเห็นชองในการดำรงตำแหน่งของ
บุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของแกนนำชุมชนในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของสมาชิกวุฒิสภานั้นพบว่า แกนนำชุมชนที่ถูกศึกษา
ร้อยละ 24.6 ระบุเชื่อมั่นต่อ ส.ว.ในเรื่องดังกล่าวในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น อย่างไรก็ตามประมาณ 1 ใน 3 ของแกนนำชุมชนที่
ถูกศึกษาคือร้อยละ 31.3 ระบุไม่ค่อนเชื่อมั่นและร้อยละ 13.7 ระบุไม่เชื่อมั่นตามลำดับ
สำหรับการรับทราบกรณีการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)นั้น พบว่าแกนนำชุมชนมากกว่าร้อยละ 90 ระบุรับทราบว่า
จะต้องเสียสิทธิอะไรบ้างหากไม่ไปเลือกตั้งในครั้งนี้ ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 3.9 เท่านั้นที่ระบุไม่ทราบเรื่องการเสียสิทธิดังกล่าว
ดร.นพดลได้กล่าวถึงผลสำรวจต่อไป ถึงผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความรู้สึกของแกนนำชุมชนกับประชาชนในเรื่องการเสียสิทธิหากไม่
ไปเลือกตั้ง ส.ว.ที่พบว่าในกลุ่มแกนนำชุมชนมีสัดส่วนของผู้ที่ระบุรู้สึกเสียดายสูงกว่ากลุ่มประชนทั่วไปกว่าร้อยละ 30 โดยแกนนำชุมชนร้อยละ 94.1
ระบุรู้สึกเสียดาย ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนนั้นมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63.7
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 92.5 ระบุมีบทบาทในการ
ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือร้อยละ 65.0 ระบุช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ร้อย
ละ 56.0 ระบุเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 29.8 ระบุจัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง ตามลำดับ ในขณะที่
แกนนำชุมชนบางส่วนระบุได้พบปะกับ ผู้สมัคร ส.ว.ในพื้นที่ รวมทั้งได้มีการช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัคร ส.ว.บางคน และได้รับการ
ติดต่อจากผู้สมัคร ส.ว.หรือตัวแทนให้ช่วยเหลือในการหาเสียงให้
สำหรับความตั้งใจในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.เมื่อเปรียบเทียบแกนนำชุมชนกับประชาชนทั่วไปนั้นพบว่า แกนนำชุมชนกว่าร้อยละ 90
ระบุตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นมีอยู่ร้อยละ 60.3 ที่ระบุตั้งใจจะไปใช้สิทธิ ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่าเหตุผลหลักของ
การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งนี้นั้น เนื่องจากคิดว่าไม่มีผลต่อชีวิตประจำวัน/เบื่อและไม่ชอบการเมือง/คิดว่าไม่ไปคนเดียวคงไม่มีผลอะไร และ
ที่น่าสนใจคือมีบางส่วนคิดว่าอาจมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็ววัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจการการติดตามข่าวการเมืองของแกนนำชุมชน
2. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
3. เพื่อสำรวจเชื่อมั่นของแกนนำชุมชนในความเป็นกลางของสมาชิกวุฒิสภา
4. เพื่อสำรวจบทบาทหน้าที่ของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา: กรณีศึกษา
ตัวอย่างแกนนำชุมชน/อบต./อบจ. ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ แกนนำชุมชน/อบต./อบ
จ. ทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใช้เทคนิค
Proportional Allocation ในการกำหนดขนาดตัวอย่างแกนนำชุมชนที่จะศึกษาในแต่ละจังหวัด
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,775 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ
กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.4 เป็นผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ร้อยละ 13.3 เป็นปลัด อบต.
ร้อยละ 11.5 เป็นกำนัน
ร้อยละ 9.4 เป็นนายก อบต./นายกเทศมนตรี
ร้อยละ 5.4 ระบุอื่นๆ อาทิ กรรมการหมู่บ้าน/กรรมการชมุชน /ประธานชุมชน
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 77.3
2 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ 15.4
3 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ 5.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 1.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 0.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการรับทราบวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว.
ลำดับที่ การรับทราบวันที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ว. ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 2 มีนาคม 2551 99.1
2 ไม่ทราบ 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุหน้าที่ของของสมาชิกวุฒิสภาที่รับทราบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ที่รับทราบ ค่าร้อยละ
1 พิจารณากลั่นกรองกฎหมายก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้ 78.0
2 ตรวจสอบการทำงานของ ส.ส./รัฐบาล/ฝ่ายบริหาร 46.8
3 ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง/ถอดถอนรัฐมนตรี 19.0
4 อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ /เป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาล/
ให้ความเห็นชองในการดำรงตำแหน่งของบุคคลในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุความเชื่อมั่นในความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของ ส.ว.
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในความเป็นกลางของ ส.ว. ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.6
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 30.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 31.3
4 ไม่เชื่อมั่น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการรับทราบต่อการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้
ลำดับที่ การรับทราบต่อการเสียสิทธิหากไม่ไปเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าต้องเสียสิทธิ 96.1
2 ไม่ทราบ 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุการความรู้สึกต่อสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ได้ไปเลือกตั้ง ส.ว.
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสิทธิที่จะเสียไปหากไม่ได้ไปเลือกตั้ง ส.ว. แกนนำค่าร้อยละ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ
1 ไม่เสียดายอะไรเลย 5.9 36.3
2 รู้สึกเสียดาย 94.1 63.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุบทบาทของตนเองในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง 92.5
2 ช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 65.0
3 เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 56.0
4 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง 29.8
5 พบปะกับผู้สมัคร ส.ว. ในพื้นที่ 9.7
6 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัคร ส.ว.บางคน 4.5
7 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัคร ส.ว.หรือตัวแทนให้ช่วยเหลือในการหาเสียงให้ 4.4
8 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัคร ส.ว. กับประชาชนในพื้นที่ 3.7
9 ได้รับการติดต่อจากพรรคการเมืองให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัคร ส.ว.บางคน 0.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้ที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศครั้งนี้เปรียบเทียบผู้ที่เป็นแกนนำชุมชน
กับประชาชนทั่วไป
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ แกนนำชุมชนค่าร้อยละ ประชาชนทั่วไปค่าร้อยละ
1 ไป 92.1 60.3
2 ไม่ไป 7.9 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้ไม่ไปใช้สิทธิคือ :
- ไม่มีผลกับชีวิตประจำวัน
- คิดว่าน่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็วๆ นี้
- เสียงเดียว / คิดว่าไม่ไปคนเดียวไม่มีผล
- เบื่อ / ไม่ชอบการเมือง
- มีธุระสำคัญ/ติดงาน/อยู่ต่างจังหวัด
--เอแบคโพลล์--
-พห-