ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ทักษิณ สมัคร และอภิสิทธิ์ กับความเป็นไปของสังคมไทยใน
สายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,248 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยดำเนินโครงการควบคู่ไปกับงานวิจัยอื่นที่กำลังทำอยู่ทั่วประเทศขณะนี้ประเด็นสำคัญ
ที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.0 ติดตามข่าวสารเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา สำหรับ
ความรู้สึกต่อความเป็นไปของสังคมไทยในขณะนี้เปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา นั้นพบว่าประชาชนที่
ถูกศึกษามากกว่า 2 ใน 3 ระบุความรู้สึกของตนเองต่อความเป็นไปของสังคมไทยว่า “แย่เหมือนเดิมแย่ลงกว่าเดิม” เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการ
เลือกตั้ง ส.ส. โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 82.0) สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด (ร้อย
ละ 80.2) สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ (ร้อยละ 74.8) พฤติกรรมของนักการเมือง (ร้อยละ 74.7) การจัดการกับกลุ่มคนที่ทุจริต
คอรัปชั่น (ร้อยละ 71.3) และ ความรักความสามัคคีของคนในชาติกำลังอยู่ในสภาวะที่แย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง (ร้อยละ 68.8) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อสังคมไทยภายหลัง พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมาประเทศไทยนั้น พบว่า ร้อยละ
85.5 ระบุอยากเห็นสังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 78.8 ระบุอยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่ทำให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน ร้อยละ 77.8 เชื่อว่าความสงบ
สุขทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤต ร้อยละ 60.9 ระบุวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ และร้อยละ 56.4 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
ดร.นพดล ได้กล่าวถึงความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของรัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 10.7 ขออยู่ตรง
กลาง นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงบางตำแหน่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ไม่มีความ
เห็นกับการโยกย้ายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 19.2 ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 21.0
ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และร้อยละ 20.9 ระบุไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายแพทย์
ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนั้นพบว่า ตัวอย่าง
มากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 69.3 ต้องการให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อน การโยกย้ายข้าราชการประจำ
สำหรับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและพลังงานนั้น พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 63.5 ยังไม่พอใจในการดำเนินงานดังกล่าวของรัฐบาล ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 33.7 ระบุพอใจ และร้อยละ 2.8 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ที่น่าสนใจคือ ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมืองทั้งสาม ได้แก่พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายก
รัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี “ตัวจริง” และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี “เงา” (เมื่อตอบได้มากกว่า 1 คน) ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 42.8 นิยมศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุนิยมศรัทธานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ
28.5 ระบุนิยมศรัทธานายสมัคร สุนทรเวช ตาม ลำดับ และเมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับ
ความนิยมศรัทธาในกลุ่มคนที่เคยเลือก ส.ส.พรรคพลังประชาชนสูงถึงร้อยละ 83.3 นายสมัคร สุนทรเวชได้ร้อยละ 63.3 อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนก
ตามระดับการศึกษาในกลุ่มคนทั่วไป พบว่า ยิ่งการศึกษาสูงขึ้นในกลุ่มประชาชน ยิ่งพบคนที่นิยมศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และนายสมัคร สุนทรเวช ลด
ลง แต่ตรงกันข้ามกับความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้รับความนิยมศรัทธามากกว่าในกลุ่มคนที่จบปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สูงขึ้นและสูงกว่าบุคคลนัยสำคัญทางการ
เมืองทั้งสองคนที่เหลือในภาพรวม แต่ยังไม่สูงมากถึงขั้นจะได้ใจคนไทยทั้งประเทศ เพราะค่าสถิติวิจัยที่พบถือว่าอยู่ในโซนสอง (ต่ำกว่าร้อยละ 50)
หมายความว่าจะพูดอะไรจะทำอะไร แม้แต่ก้มกราบพื้นดินยังคงมีแรงเสียดทานจากสังคมถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และที่น่าเป็นห่วงคือ ผลวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็น
ว่าสังคมไทยกำลังมีตัวบ่งชี้สัญญาณเตือนภัยบางอย่างถึงความขัดแย้งแตกแยกในหมู่ประชาชนที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ถ้าหากปล่อยไว้เช่นนี้ก็จะไม่แตกต่าง
ไปจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เพราะไฟรักไฟเกลียดของประชาชนต่อนักการเมืองสองขั้วก่อตัวเกิดขึ้นมานานมากพอที่จะกลายเป็นเครือ
ข่ายสังคม (social network) ที่ขัดแย้งอย่างถาวร นอกจากนี้ ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อผู้นำรัฐบาลขณะนี้ขาดพลังที่มากพอในการขับเคลื่อนให้
ประชาชนหลอมกลายเป็นเนื้อเดียวกัน การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม กำลังจะกลายเป็นตัวเร่ง
ทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล
ทางออกที่พอมีอยู่อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก การเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนก่อน ประการที่สอง การสร้าง
บรรยากาศของสังคมโดยเน้นไปที่จุดศูนย์รวมของจิตใจประชาชนในชาติให้เกิดความรักความสามัคคีกัน ลดความขัดแย้งแตกแยกกันในหมู่ประชาชน และ
ประการที่สาม กลไกต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมต้องสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อิสระ บริสุทธิ์ และเที่ยงธรรม โดยกระตุ้นจิตสำนึกคนไทยใน
สังคมให้ยึดมั่นเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม
แต่ถ้าจะปล่อยให้ “การเมืองแก้ด้วยการเมือง” ด้วยการต่อสู้กันบนเส้นทางการเมืองอย่างสันติต่อไป ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้อาจมีประโยชน์ต่อ
พรรคการเมืองใหญ่ในการปรับกลยุทธทางการเมืองเพื่อครองใจคนในสังคมตรงที่ นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี “เงา” ครองใจคนการศึกษาสูงกว่า
ปริญญาตรีมากกว่า และดูเหมือนว่า ถ้าต่อสู้กันทางการเมือง โอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะชนะพลิกสถานการณ์ทางการเมืองได้ต้องรักษาฐานคนการ
ศึกษาสูงเอาไว้และเสริมด้วยการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะเน้นที่กลุ่มอายุของประชาชน ประชาธิปัตย์อาจพลิกชนะได้
ยากเพราะพลังประชาชนโดยนายสมัคร ครองใจคนสูงอายุ ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ได้ใจจากคนอายุน้อยมากกว่า อย่างไรก็ตาม พรรคพลัง
ประชาชนจะประสบความสำเร็จในการทำงานทางการเมืองได้ถ้าลดการแตะต้องปมขัดแย้งทางสังคมที่ห่างไกลตัวประชาชนในช่วงเวลานี้ แต่เพิ่มการรับ
รู้ของสาธารณชนในผลงานแก้ปัญหาปากท้องและแก้ปัญหาสังคมอื่นๆ ให้เห็นผลทันตา
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อความเป็นไปของสังคมไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม 2550
3. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนตอสังคมไทยภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเดินทางกลับมาประเทศไทย
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการโยกย้ายข้าราชการตำแหน่งต่างๆ
5. เพื่อสำรวจความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ทักษิณ สมัคร และอภิสิทธิ์กับความเป็นไปของสังคมไทยในสายตาของ
ประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28
กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนด
ลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,248 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่
ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 48.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 28.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.0 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.6 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.5
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 14.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อความเป็นไปของสังคมไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. (23 ธันวาคม 2550)
ลำดับที่ ความเป็นไปของสังคมไทย ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1 บรรยากาศทางการเมือง 16.0 9.5 41.0 23.4 10.1
2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 9.3 8.7 42.8 32.0 7.1
3 ความรัก ความสามัคคี ของคนในชาติ 8.7 12.9 41.6 27.2 9.6
4 พฤติกรรมของนักการเมือง 5.0 7.5 40.5 34.2 12.8
5 การจัดการกับกลุ่มคนที่ทุจริต คอรัปชั่น 6.2 8.3 42.8 28.5 14.2
6 คุณภาพเด็กและเยาวชนไทย 6.6 13.2 38.4 31.9 9.9
7 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4.6 12.4 42.1 31.7 9.2
8 สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.6 4.2 45.9 36.1 9.2
9 สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด 6.2 5.5 37.9 42.3 8.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสังคมไทย ภายหลัง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาประเทศไทย
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสังคมไทยหลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมา มากถึง มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึงไม่มีเลย
1 การแบ่งขั้วการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 55.7 13.9 30.4
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 56.4 14.7 28.9
3 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 60.9 13.5 25.6
4 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนไปทุกทีแล้ว 53.4 13.6 33.0
5 อยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่ทำให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 78.8 8.2 13.0
6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 85.5 5.4 9.1
7 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤต 77.8 7.7 14.5
8 เชื่อว่า ทักษิณ ทำให้สังคมไทยสงบสุขได้ 39.5 13.6 46.9
9 รับรู้ว่า ทักษิณ ก้มตัวกราบพื้น เมื่อเดินทางกลับไทย 57.3 13.6 29.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะเข้ามามีบทบาทการ
ทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 40.2
2 ขออยู่ตรงกลาง 10.7
3 ไม่เห็นด้วย 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดา/ เพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 8.9
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ คนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 19.2
3 ไม่มีความเห็น 71.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวน
คดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดาเพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 8.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะคนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 21.0
3 ไม่มีความเห็น 71.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการ
คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดา/ เพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 6.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะคนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 20.9
3 ไม่มีความเห็น 72.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งทำก่อน ระหว่าง แก้ปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชน กับ การโยกย้ายข้าราชการประจำ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 โยกย้ายข้าราชการประจำ 2.9
2 แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อน 69.3
3 ทำควบคู่กันไป 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้าและ
พลังงานในขณะนี้
ลำดับที่ ความพอใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 พอใจ 33.7
2 ไม่พอใจ 63.5
3 ไม่มีความเห็น 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง นิยมศรัทธาร้อยละ ไม่นิยมศรัทธาร้อยละ ไม่มีความเห็นค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 42.8 23.5 33.7 100.0
2.นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 28.5 31.1 40.4 100.0
3.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 30.4 26.1 43.5 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ จำแนกเปรียบเทียบในกลุ่มที่เคยเลือก
พรรคประชาธิปัตย์ พลังประชาชน และพรรคอื่นๆ
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 14.3 83.3 32.5
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 8.5 63.3 15.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 55.6 15.1 25.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 46.7 30.3 26.8
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 32.0 19.3 16.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 29.7 34.0 32.7
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามช่วงอายุ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุนิยมศรัทธา)
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 49 ปี 50ปีขึ้นไป
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 44.5 39.9 43.4 45.0
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 24.4 23.4 30.6 32.9
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 25.9 31.0 30.6 31.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ทักษิณ สมัคร และอภิสิทธิ์ กับความเป็นไปของสังคมไทยใน
สายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,248 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยดำเนินโครงการควบคู่ไปกับงานวิจัยอื่นที่กำลังทำอยู่ทั่วประเทศขณะนี้ประเด็นสำคัญ
ที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.0 ติดตามข่าวสารเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา สำหรับ
ความรู้สึกต่อความเป็นไปของสังคมไทยในขณะนี้เปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา นั้นพบว่าประชาชนที่
ถูกศึกษามากกว่า 2 ใน 3 ระบุความรู้สึกของตนเองต่อความเป็นไปของสังคมไทยว่า “แย่เหมือนเดิมแย่ลงกว่าเดิม” เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการ
เลือกตั้ง ส.ส. โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 82.0) สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด (ร้อย
ละ 80.2) สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ (ร้อยละ 74.8) พฤติกรรมของนักการเมือง (ร้อยละ 74.7) การจัดการกับกลุ่มคนที่ทุจริต
คอรัปชั่น (ร้อยละ 71.3) และ ความรักความสามัคคีของคนในชาติกำลังอยู่ในสภาวะที่แย่เหมือนเดิมถึงแย่ลง (ร้อยละ 68.8) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อสังคมไทยภายหลัง พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับมาประเทศไทยนั้น พบว่า ร้อยละ
85.5 ระบุอยากเห็นสังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 78.8 ระบุอยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่ทำให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน ร้อยละ 77.8 เชื่อว่าความสงบ
สุขทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤต ร้อยละ 60.9 ระบุวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ และร้อยละ 56.4 ระบุวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
ดร.นพดล ได้กล่าวถึงความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานของรัฐบาลชุด
ปัจจุบัน พบว่าตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ระบุไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 10.7 ขออยู่ตรง
กลาง นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงบางตำแหน่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ไม่มีความ
เห็นกับการโยกย้ายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 19.2 ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 21.0
ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และร้อยละ 20.9 ระบุไม่เห็นด้วยกับการโยกย้ายนายแพทย์
ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนั้นพบว่า ตัวอย่าง
มากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 69.3 ต้องการให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อน การโยกย้ายข้าราชการประจำ
สำหรับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและพลังงานนั้น พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 63.5 ยังไม่พอใจในการดำเนินงานดังกล่าวของรัฐบาล ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 33.7 ระบุพอใจ และร้อยละ 2.8 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ที่น่าสนใจคือ ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมืองทั้งสาม ได้แก่พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายก
รัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี “ตัวจริง” และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี “เงา” (เมื่อตอบได้มากกว่า 1 คน) ผล
สำรวจพบว่า ร้อยละ 42.8 นิยมศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 30.4 ระบุนิยมศรัทธานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้อยละ
28.5 ระบุนิยมศรัทธานายสมัคร สุนทรเวช ตาม ลำดับ และเมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับ
ความนิยมศรัทธาในกลุ่มคนที่เคยเลือก ส.ส.พรรคพลังประชาชนสูงถึงร้อยละ 83.3 นายสมัคร สุนทรเวชได้ร้อยละ 63.3 อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนก
ตามระดับการศึกษาในกลุ่มคนทั่วไป พบว่า ยิ่งการศึกษาสูงขึ้นในกลุ่มประชาชน ยิ่งพบคนที่นิยมศรัทธา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และนายสมัคร สุนทรเวช ลด
ลง แต่ตรงกันข้ามกับความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ได้รับความนิยมศรัทธามากกว่าในกลุ่มคนที่จบปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ สูงขึ้นและสูงกว่าบุคคลนัยสำคัญทางการ
เมืองทั้งสองคนที่เหลือในภาพรวม แต่ยังไม่สูงมากถึงขั้นจะได้ใจคนไทยทั้งประเทศ เพราะค่าสถิติวิจัยที่พบถือว่าอยู่ในโซนสอง (ต่ำกว่าร้อยละ 50)
หมายความว่าจะพูดอะไรจะทำอะไร แม้แต่ก้มกราบพื้นดินยังคงมีแรงเสียดทานจากสังคมถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และที่น่าเป็นห่วงคือ ผลวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็น
ว่าสังคมไทยกำลังมีตัวบ่งชี้สัญญาณเตือนภัยบางอย่างถึงความขัดแย้งแตกแยกในหมู่ประชาชนที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ถ้าหากปล่อยไว้เช่นนี้ก็จะไม่แตกต่าง
ไปจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เพราะไฟรักไฟเกลียดของประชาชนต่อนักการเมืองสองขั้วก่อตัวเกิดขึ้นมานานมากพอที่จะกลายเป็นเครือ
ข่ายสังคม (social network) ที่ขัดแย้งอย่างถาวร นอกจากนี้ ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อผู้นำรัฐบาลขณะนี้ขาดพลังที่มากพอในการขับเคลื่อนให้
ประชาชนหลอมกลายเป็นเนื้อเดียวกัน การโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่มีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม กำลังจะกลายเป็นตัวเร่ง
ทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล
ทางออกที่พอมีอยู่อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก การเร่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนก่อน ประการที่สอง การสร้าง
บรรยากาศของสังคมโดยเน้นไปที่จุดศูนย์รวมของจิตใจประชาชนในชาติให้เกิดความรักความสามัคคีกัน ลดความขัดแย้งแตกแยกกันในหมู่ประชาชน และ
ประการที่สาม กลไกต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมต้องสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อิสระ บริสุทธิ์ และเที่ยงธรรม โดยกระตุ้นจิตสำนึกคนไทยใน
สังคมให้ยึดมั่นเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม
แต่ถ้าจะปล่อยให้ “การเมืองแก้ด้วยการเมือง” ด้วยการต่อสู้กันบนเส้นทางการเมืองอย่างสันติต่อไป ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้อาจมีประโยชน์ต่อ
พรรคการเมืองใหญ่ในการปรับกลยุทธทางการเมืองเพื่อครองใจคนในสังคมตรงที่ นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี “เงา” ครองใจคนการศึกษาสูงกว่า
ปริญญาตรีมากกว่า และดูเหมือนว่า ถ้าต่อสู้กันทางการเมือง โอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะชนะพลิกสถานการณ์ทางการเมืองได้ต้องรักษาฐานคนการ
ศึกษาสูงเอาไว้และเสริมด้วยการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่ถ้าจะเน้นที่กลุ่มอายุของประชาชน ประชาธิปัตย์อาจพลิกชนะได้
ยากเพราะพลังประชาชนโดยนายสมัคร ครองใจคนสูงอายุ ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ได้ใจจากคนอายุน้อยมากกว่า อย่างไรก็ตาม พรรคพลัง
ประชาชนจะประสบความสำเร็จในการทำงานทางการเมืองได้ถ้าลดการแตะต้องปมขัดแย้งทางสังคมที่ห่างไกลตัวประชาชนในช่วงเวลานี้ แต่เพิ่มการรับ
รู้ของสาธารณชนในผลงานแก้ปัญหาปากท้องและแก้ปัญหาสังคมอื่นๆ ให้เห็นผลทันตา
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อความเป็นไปของสังคมไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม 2550
3. เพื่อสำรวจความรู้สึกของประชาชนตอสังคมไทยภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเดินทางกลับมาประเทศไทย
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการโยกย้ายข้าราชการตำแหน่งต่างๆ
5. เพื่อสำรวจความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ทักษิณ สมัคร และอภิสิทธิ์กับความเป็นไปของสังคมไทยในสายตาของ
ประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 28
กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนด
ลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,248 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่
ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 48.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 28.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.0 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.6 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 29.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.7 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.3 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.4 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.5
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 14.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อความเป็นไปของสังคมไทยเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. (23 ธันวาคม 2550)
ลำดับที่ ความเป็นไปของสังคมไทย ดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
1 บรรยากาศทางการเมือง 16.0 9.5 41.0 23.4 10.1
2 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 9.3 8.7 42.8 32.0 7.1
3 ความรัก ความสามัคคี ของคนในชาติ 8.7 12.9 41.6 27.2 9.6
4 พฤติกรรมของนักการเมือง 5.0 7.5 40.5 34.2 12.8
5 การจัดการกับกลุ่มคนที่ทุจริต คอรัปชั่น 6.2 8.3 42.8 28.5 14.2
6 คุณภาพเด็กและเยาวชนไทย 6.6 13.2 38.4 31.9 9.9
7 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4.6 12.4 42.1 31.7 9.2
8 สถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.6 4.2 45.9 36.1 9.2
9 สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด 6.2 5.5 37.9 42.3 8.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อสังคมไทย ภายหลัง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาประเทศไทย
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสังคมไทยหลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมา มากถึง มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึงไม่มีเลย
1 การแบ่งขั้วการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 55.7 13.9 30.4
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 56.4 14.7 28.9
3 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ 60.9 13.5 25.6
4 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนไปทุกทีแล้ว 53.4 13.6 33.0
5 อยากให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวที่ทำให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 78.8 8.2 13.0
6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 85.5 5.4 9.1
7 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยพ้นวิกฤต 77.8 7.7 14.5
8 เชื่อว่า ทักษิณ ทำให้สังคมไทยสงบสุขได้ 39.5 13.6 46.9
9 รับรู้ว่า ทักษิณ ก้มตัวกราบพื้น เมื่อเดินทางกลับไทย 57.3 13.6 29.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จะเข้ามามีบทบาทการ
ทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 40.2
2 ขออยู่ตรงกลาง 10.7
3 ไม่เห็นด้วย 49.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดา/ เพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 8.9
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ คนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 19.2
3 ไม่มีความเห็น 71.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวน
คดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดาเพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 8.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะคนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 21.0
3 ไม่มีความเห็น 71.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการโยกย้าย นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการ
คณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดา/ เพื่อความเหมาะสม/ เชื่อมั่นในรัฐบาลชุดนี้ /มาจาก คมช. เป็นต้น 6.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะคนโดนย้ายเป็นคนดี / เร็วเกินไปที่ย้าย / และมองว่าไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น 20.9
3 ไม่มีความเห็น 72.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสิ่งที่อยากให้รัฐบาลเร่งทำก่อน ระหว่าง แก้ปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชน กับ การโยกย้ายข้าราชการประจำ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 โยกย้ายข้าราชการประจำ 2.9
2 แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก่อน 69.3
3 ทำควบคู่กันไป 27.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการดำเนินงานของรัฐบาลในการควบคุมราคาสินค้าและ
พลังงานในขณะนี้
ลำดับที่ ความพอใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 พอใจ 33.7
2 ไม่พอใจ 63.5
3 ไม่มีความเห็น 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง นิยมศรัทธาร้อยละ ไม่นิยมศรัทธาร้อยละ ไม่มีความเห็นค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 42.8 23.5 33.7 100.0
2.นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 28.5 31.1 40.4 100.0
3.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 30.4 26.1 43.5 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ จำแนกเปรียบเทียบในกลุ่มที่เคยเลือก
พรรคประชาธิปัตย์ พลังประชาชน และพรรคอื่นๆ
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 14.3 83.3 32.5
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 8.5 63.3 15.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 55.6 15.1 25.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 46.7 30.3 26.8
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 32.0 19.3 16.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 29.7 34.0 32.7
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาต่อบุคคลนัยสำคัญทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จำแนกตามช่วงอายุ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุนิยมศรัทธา)
ลำดับที่ บุคคลนัยสำคัญทางการเมือง ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 49 ปี 50ปีขึ้นไป
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) 44.5 39.9 43.4 45.0
2 นายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรีตัวจริง) 24.4 23.4 30.6 32.9
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรีเงา) 25.9 31.0 30.6 31.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-