เนื่องในวันน้ำโลก (World Water Day) 22 มีนาคม ของทุกปี นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง ความตื่นตัวของประชาชนต่อปัญหามลพิษทางน้ำ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 — 60 ปีในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่รอบเขตนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 1,967 ตัวอย่าง ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่าง 15 มกราคม — 7 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 เคยรับรู้ปัญหามลพิษทางน้ำในช่วง 30 วันก่อนการสำรวจ ขณะที่ร้อยละ 19.1 ไม่เคยรับรู้ โดยส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไปของกลุ่มตัวอย่างนี้เห็นว่า มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน ต่อจังหวัด และต่อประเทศ โดยเห็นด้วยว่า ถ้าวันนี้ไม่เร่งรีบแก้ไข ประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแก้ไขมลพิษทางน้ำในอนาคต นอกจากนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมอันตรายที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ และมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ก่อมลพิษ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.3 เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการจัดการกำจัดขยะ และร้อยละ 74.8 เห็นว่าประเทศไทยไม่ควรนำเข้าขยะอันตรายหรือกากสารพิษจากต่างประเทศ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 65 ขึ้นไป กังวลมากต่อการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสู่แหล่งน้ำ การปนเปื้อนสารเคมีจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ปัญหาขยะในแหล่งน้ำ น้ำเน่าเสีย โรคร้ายแรงจากแหล่งน้ำที่มีสารปนเปื้อน การขาดแคลนแหล่งน้ำกินน้ำใช้ในอนาคต และน้ำจะมีราคาแพงขึ้น เป็นต้น
“ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุมีแหล่งน้ำเน่าเสียในบริเวณประมาณ 1 กิโลเมตรจากที่พักอาศัย ในขณะที่เพียงร้อยละ 20.1 ระบุไม่มี และที่เหลือไม่ทราบ โดยพบว่า คนที่อยู่ในชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมีสัดส่วนของคนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเน่าเสียมากกว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเสียอีก” ดร.นพดล กล่าว
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 60 ประสบปัญหาด้วยตนเอง เช่น มีกลิ่นเหม็นเข้ามาในที่พักอาศัย จำนวนสัตว์น้ำและพืชผักที่ใช้บริโภคได้ลดลง และมีแมลงพาหะมีพิษเข้ามาในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น และร้อยละ 54.4 ระบุแหล่งน้ำที่เคยพึ่งพาในการดำรงชีวิตหรือพักผ่อนหย่อนใจถูกทำลายจนไม่สามารถใช้ได้ และจำนวนมากหรือร้อยละ 41.8 ระบุมีน้ำเสียซึมเข้ามาที่พักอาศัย
ที่น่าสนใจคือ เกินกว่าร้อยละ 60 เรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ว่าราชการจังหวัด เข้ามามีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง และร้อยละ 57.8 เรียกร้ององค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 55.4 เรียกร้องรัฐบาลชุดปัจจุบัน และร้อยละ 50.1 เรียกร้ององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตามลำดับ
“เมื่อสอบถามถึงระดับความตื่นตัวต่อการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้ตอบให้คะแนนตัวเองด้านความตื่นตัวเฉลี่ย 7.01 คะแนน ให้คะแนนคนรอบข้าง 5.76 คะแนน ให้คะแนนรัฐบาล 5.43 คะแนน ในขณะที่ประชาชนให้คะแนนความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลเพียง 5.25 เท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว
นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ผลสำรวจนี้จะทำให้รัฐบาลหันมาบูรณาการการจัดการปัญหามลพิษทางน้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เข้ารวมไปกับการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม คนจำนวนไม่น้อยมองว่าปัญหามลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญและจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน แต่รัฐบาลยังไม่ตื่นตัวในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำตามที่ประชาชนได้คาดหวังไว้
ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวต่อว่า กรีนพีซได้เฝ้าติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่รายงานเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากปัญหามลพิษทางน้ำตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 42 กรณีหรือเฉลี่ยประมาณ 2 กรณีต่อเดือน ใน 26 จังหวัดจากทุกภาค โดยร้อยละ 81 ของกรณีศึกษาทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ปลาตายจากมลพิษ และร้อยละ 62 มีการระบุว่าเป็นมลพิษที่มีต้นกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการ ระยองและปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหามลพิษทางน้ำบ่อยที่สุด
“ปริมาณแหล่งน้ำสะอาดของคนไทยมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังพบกับปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี ดังนั้นการปกป้องแหล่งน้ำที่มีอยู่จำกัดให้ปลอดจากมลพิษจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ขณะนี้ ปัญหาจากมลพิษทางน้ำได้เกิดอย่างเป็นประจำต่อเนื่องในเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะวิกฤตของคุณภาพน้ำ นอกเหนือจากวิกฤตภัยแล้งที่ภาครัฐให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้” นายพลายกล่าว
**** รายงานผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำที่จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน และข่าวสรุปกรณีศึกษาสถานการณ์มลพิษทางน้ำที่สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.greenpeace.or.th
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความตื่นตัวต่อปัญหามลพิษทางน้ำและสภาวะโลกร้อน
2. เพื่อสำรวจประสบการณ์ของประชาชนที่ประสบปัญหามลพิษทางน้ำ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุระหว่าง 18 — 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และชุมชนรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมบางพลี โดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,967 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 10.0 อายุไม่เกิน 20 ปี ร้อยละ 32.6 อายุ 21 — 30 ปี ร้อยละ 27.5 อายุ 31 — 40 ปี ร้อยละ 18.9 อายุ 41 — 50 ปี และร้อยละ 11.0 อายุกว่า 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.7 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.0 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 44.0 ระบุมีอาชีพค้าขาย รองลงมาคือร้อยละ 24.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.6 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.7 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน อิสระ เป็นต้น
รายละเอียดข้อมูลที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ปัญหามลพิษทางน้ำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกระหว่างคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับ คนในชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อปัญหามลพิษทางน้ำ กทม. / ปริมณฑล นิคมอุตฯ ภาพรวม
1 เคยรับรู้ 79.3 83.5 80.9
2 ไม่เคย 20.7 16.5 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ ทัศนคติต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางน้ำ
ลำดับที่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางน้ำ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ 97.6 2.1 0.3 100.0
2 มลพิษทางน้ำคุกคามการพัฒนาคุณภาพชีวิต 95.8 3.5 0.7 100.0
3 น้ำเน่าเสียเป็นปัญหาสำคัญในชุมชนของท่าน 93.3 5.5 1.2 100.0
4 น้ำเน่าเสียเป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดของท่าน 92.4 5.9 1.7 100.0
5 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม 97.8 1.8 0.4 100.0
6 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 93.3 5.3 1.4 100.0
7 ถ้าวันนี้ไม่รีบแก้ไขมลพิษทางน้ำ ประเทศไทย
ต้องจ่ายเงินมหาศาลแก้ไขมลพิษทางน้ำในอนาคต 97.0 2.1 0.9 100.0
8 กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมอันตราย
ที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ 92.6 5.4 2.0 100.0
9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หย่อนยานในการบังคับใช้
กฎหมายต่อผู้ก่อมลพิษ 90.6 6.7 2.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อเรื่องขยะอันตราย
ลำดับที่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับขยะอันตราย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการจัดการกำจัดขยะ 94.3 4.5 1.2 100.0
2 ประเทศไทยไม่ควรนำเข้าขยะอันตรายหรือกากสารพิษจากต่างประเทศ 74.8 16.2 9.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลต่อเรื่องที่เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ
ประเด็น ระดับความรู้สึกกังวล
กังวลมาก ปานกลาง น้อย/ไม่กังวลเลย
1) การปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสู่แหล่งน้ำ 85.5 10.9 3.6
2) คุณภาพของโรงบำบัดน้ำเสียต่ำกว่ามาตรฐานและไม่มีประสิทธิภาพ 66.4 26.3 7.3
3) การขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในอนาคต 77.7 16.4 5.9
4) การขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ 74.5 18.7 6.8
5) การขาดแคลนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับประกอบอาชีพ
เช่น เลี้ยงปลา และการเกษตร เป็นต้น 73.9 19.2 6.9
6) การปนเปื้อนสารเคมีจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมในแหล่งน้ำดิบสำหรับ
ผลิตน้ำอุปโภคบริโภค 84.1 12.1 3.8
7) การปนเปื้อนสารพิษในน้ำประปา 70.5 19.4 10.1
8) การปนเปื้อนสารพิษจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมในห่วงโซ่อาหาร
หรือสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว 78.8 16.0 5.2
9) โรคร้ายแรงที่เกิดจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษหรือเชื้อโรคสู่คนและสัตว์ 79.7 15.2 5.1
10) ปัญหาขยะในแหล่งน้ำ 87.1 9.7 3.2
11) ปัญหาน้ำเน่าเสียตามคูคลอง และแม่น้ำ 87.0 10.0 3.0
12) การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองของคนไทย 81.3 15.3 3.4
13) ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและพืชนานาชนิดลดลง 79.5 15.9 4.6
14) น้ำอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น 82.5 14.5 3.0
15) อื่นๆ เจ้าหน้าที่ขาดความรับผิดชอบ คนขาดจิตสำนึกการใช้น้ำ เป็นต้น 65.0 18.7 16.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับรู้แหล่งน้ำเสียระยะรอบบริเวณประมาณ 1 ก.ม. ต่อที่อาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม
ความคิดเห็นต่อการรับรู้แหล่งน้ำเสีย ภาพรวม กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล นิคมอุตสาหกรรม
ระยะรอบบริเวณประมาณ 1 ก.ม. ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน
ต่อที่อาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม
มีแหล่งน้ำเน่าเสีย 66.3 1,279 64.1 767 69.8 512
ไม่มีแหล่งน้ำเน่าเสีย 20.1 387 23.3 278 14.9 109
ไม่ทราบ 13.6 263 12.6 151 15.3 112
รวมทั้งสิ้น 100.0 1,929 100.0 1,196 100.0 733
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ภาพรวมที่ระบุประสบเหตุการณ์จากมลพิษทางน้ำ
จำแนกตามพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรม
เหตุการณ์ที่ประสบ กทม.ร้อยละ นิคมอุตฯร้อยละ
1.มีแมลงพาหะและ มีพิษ เข้ามาในสถานที่พักอาศัย 72.4 74.7
2.มีกลิ่นเหม็นเข้ามาในสถานที่พักอาศัย 67.9 72.5
3.สัตว์น้ำและพืชผักในแหล่งน้ำที่มีตามธรรมชาติที่สามารถนำมาบริโภคมีจำนวนลดลง 65.6 74.4
4.แหล่งน้ำที่เคยพึ่งพาในการดำรงชีวิต หรือพักผ่อนหย่อนใจ ถูกทำลายจนไม่สามารถใช้ได้ 54.4 59.0
5.รู้สึกเป็นไข้ ไม่สบาย เมื่อได้อยูใกล้แหล่งน้ำเสีย 48.5 56.5
6.น้ำเสียซึมเข้าสถานที่พักอาศัย 41.8 43.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยที่ตัวอย่างประชาชนระบุเรื่องการตื่นตัวและจริงจังในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำในกลุ่มคน
และหน่วยงานต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
กลุ่มคน / หน่วยงานต่างๆ กทม. / ปริมณฑล นิคมอุตฯ ภาพรวม
1. ความตื่นตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม 7.07 6.92 7.01
2. ความตื่นตัวของคนรอบข้าง 5.82 5.65 5.76
3. ความตื่นตัวของรัฐบาล / ผู้เกี่ยวข้อง 5.38 5.50 5.43
4. ความจริงจังของรัฐบาล / ผู้เกี่ยวข้อง 5.20 5.33 5.25
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อบุคคล/องค์กรใดควรเข้ามามีบทบาทต่อการ
แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความคิดเห็นต่อบุคคล/องค์กรใดควรเข้ามามีบทบาท ภาพรวม กรุงเทพมหานคร นิคมอุตสาหกรรม
ต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง ร้อยละ และ ปริมณฑลร้อยละ ร้อยละ
ประชาชนทั่วไป 64.7 64.8 64.7
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 64.7 64.6 64.9
โรงงานอุตสาหกรรม 61.8 61.5 62.2
ผู้ว่า ฯ จังหวัด / ผู้ว่า กทม. 61.5 65.0 55.6
องค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม 57.8 57.0 59.2
รัฐบาลชุดปัจจุบัน 55.4 56.5 53.7
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 50.1 50.0 50.4
กระทรวงอุตสาหกรรม 49.7 49.7 49.7
กระทรวงพลังงาน 31.0 32.7 28.1
การไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 24.2 25.8 21.5
องค์กรภาคธุรกิจ 23.2 24.7 20.7
อื่นๆ อาทิ ทุกหน่วยงานของรัฐ /ตำรวจ องค์กรภาคเอกชน (NGO) เป็นต้น 7.7 8.2 6.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการในการช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
ลำดับที่ คิดเห็นต่อวิธีการในการช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ค่าร้อยละ
1 ไม่ปล่อยน้ำเสีย /ไม่ทิ้งขยะ /รักษาสภาพแวดล้อม /ควรแยกขยะเปียกแห้ง 65.3
2 ต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาด /เข้มงวดกับกฎหมาย /ต่อต้านการปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน 8.2
3 ติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำให้ได้มาตรฐาน /พักน้ำในที่บำบัดน้ำเสีย /ควบคุมการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงน้ำ 8.1
4 ปลูกจิตสำนึกและแนวคิดให้กับเยาวชน /ให้ความรู้แก่ประชาชน/ฝึกอบรม 7.7
5 ผู้นำควรเอาจริงเอาจังในการแก้ไข /รัฐบาลต้องเข้าถึงประชาชน /มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง 3.3
6 มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ /รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบดูแล /ช่วยกันเป็นหูเป็นตาตรวจสอบดูแล 3.1
7 ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด /ใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า 1.5
8 แก้ไขที่ต้นเหตุของมลพิษทางน้ำ 1.0
9 ไม่ควรนำเข้าสารพิษจากต่างประเทศ /ไม่สร้างโรงงานใกล้แม่น้ำ 1.0
10 ไม่ใช้สารเคมีในการจับสัตว์น้ำ 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
แสดงค่าเฉลี่ยระดับปัญหามลพิษทางน้ำของประเทศไทย (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ค่าเฉลี่ยของภาพรวมคือ 6.77 คะแนน กทม. / ปริมณฑล 6.80 คะแนน
และนิคมอุตสาหกรรม ได้ 6.73 คะแนน
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ดร.นพดล กล่าวว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 เคยรับรู้ปัญหามลพิษทางน้ำในช่วง 30 วันก่อนการสำรวจ ขณะที่ร้อยละ 19.1 ไม่เคยรับรู้ โดยส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไปของกลุ่มตัวอย่างนี้เห็นว่า มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อชุมชน ต่อจังหวัด และต่อประเทศ โดยเห็นด้วยว่า ถ้าวันนี้ไม่เร่งรีบแก้ไข ประเทศไทยจะต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อแก้ไขมลพิษทางน้ำในอนาคต นอกจากนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมอันตรายที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ และมองว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ก่อมลพิษ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.3 เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการจัดการกำจัดขยะ และร้อยละ 74.8 เห็นว่าประเทศไทยไม่ควรนำเข้าขยะอันตรายหรือกากสารพิษจากต่างประเทศ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 65 ขึ้นไป กังวลมากต่อการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสู่แหล่งน้ำ การปนเปื้อนสารเคมีจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ปัญหาขยะในแหล่งน้ำ น้ำเน่าเสีย โรคร้ายแรงจากแหล่งน้ำที่มีสารปนเปื้อน การขาดแคลนแหล่งน้ำกินน้ำใช้ในอนาคต และน้ำจะมีราคาแพงขึ้น เป็นต้น
“ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 ระบุมีแหล่งน้ำเน่าเสียในบริเวณประมาณ 1 กิโลเมตรจากที่พักอาศัย ในขณะที่เพียงร้อยละ 20.1 ระบุไม่มี และที่เหลือไม่ทราบ โดยพบว่า คนที่อยู่ในชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมมีสัดส่วนของคนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเน่าเสียมากกว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเสียอีก” ดร.นพดล กล่าว
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 60 ประสบปัญหาด้วยตนเอง เช่น มีกลิ่นเหม็นเข้ามาในที่พักอาศัย จำนวนสัตว์น้ำและพืชผักที่ใช้บริโภคได้ลดลง และมีแมลงพาหะมีพิษเข้ามาในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น และร้อยละ 54.4 ระบุแหล่งน้ำที่เคยพึ่งพาในการดำรงชีวิตหรือพักผ่อนหย่อนใจถูกทำลายจนไม่สามารถใช้ได้ และจำนวนมากหรือร้อยละ 41.8 ระบุมีน้ำเสียซึมเข้ามาที่พักอาศัย
ที่น่าสนใจคือ เกินกว่าร้อยละ 60 เรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ว่าราชการจังหวัด เข้ามามีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง และร้อยละ 57.8 เรียกร้ององค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 55.4 เรียกร้องรัฐบาลชุดปัจจุบัน และร้อยละ 50.1 เรียกร้ององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตามลำดับ
“เมื่อสอบถามถึงระดับความตื่นตัวต่อการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้ตอบให้คะแนนตัวเองด้านความตื่นตัวเฉลี่ย 7.01 คะแนน ให้คะแนนคนรอบข้าง 5.76 คะแนน ให้คะแนนรัฐบาล 5.43 คะแนน ในขณะที่ประชาชนให้คะแนนความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลเพียง 5.25 เท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว
นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ผลสำรวจนี้จะทำให้รัฐบาลหันมาบูรณาการการจัดการปัญหามลพิษทางน้ำและปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เข้ารวมไปกับการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม คนจำนวนไม่น้อยมองว่าปัญหามลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญและจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน แต่รัฐบาลยังไม่ตื่นตัวในการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำตามที่ประชาชนได้คาดหวังไว้
ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวต่อว่า กรีนพีซได้เฝ้าติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่รายงานเกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากปัญหามลพิษทางน้ำตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 พบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 42 กรณีหรือเฉลี่ยประมาณ 2 กรณีต่อเดือน ใน 26 จังหวัดจากทุกภาค โดยร้อยละ 81 ของกรณีศึกษาทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ปลาตายจากมลพิษ และร้อยละ 62 มีการระบุว่าเป็นมลพิษที่มีต้นกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจังหวัดสมุทรปราการ ระยองและปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่เกิดปัญหามลพิษทางน้ำบ่อยที่สุด
“ปริมาณแหล่งน้ำสะอาดของคนไทยมีน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังพบกับปัญหาภัยแล้งซ้ำซากทุกปี ดังนั้นการปกป้องแหล่งน้ำที่มีอยู่จำกัดให้ปลอดจากมลพิษจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ขณะนี้ ปัญหาจากมลพิษทางน้ำได้เกิดอย่างเป็นประจำต่อเนื่องในเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะวิกฤตของคุณภาพน้ำ นอกเหนือจากวิกฤตภัยแล้งที่ภาครัฐให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้” นายพลายกล่าว
**** รายงานผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำที่จัดทำโดย ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน และข่าวสรุปกรณีศึกษาสถานการณ์มลพิษทางน้ำที่สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.greenpeace.or.th
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความตื่นตัวต่อปัญหามลพิษทางน้ำและสภาวะโลกร้อน
2. เพื่อสำรวจประสบการณ์ของประชาชนที่ประสบปัญหามลพิษทางน้ำ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุระหว่าง 18 — 60 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และชุมชนรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมบางพลี โดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจจำนวนทั้งสิ้น 1,967 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 46.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 10.0 อายุไม่เกิน 20 ปี ร้อยละ 32.6 อายุ 21 — 30 ปี ร้อยละ 27.5 อายุ 31 — 40 ปี ร้อยละ 18.9 อายุ 41 — 50 ปี และร้อยละ 11.0 อายุกว่า 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 79.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 18.7 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.0 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 44.0 ระบุมีอาชีพค้าขาย รองลงมาคือร้อยละ 24.5 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.6 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.7 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 18.2 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน อิสระ เป็นต้น
รายละเอียดข้อมูลที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ปัญหามลพิษทางน้ำ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกระหว่างคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับ คนในชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อปัญหามลพิษทางน้ำ กทม. / ปริมณฑล นิคมอุตฯ ภาพรวม
1 เคยรับรู้ 79.3 83.5 80.9
2 ไม่เคย 20.7 16.5 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ ทัศนคติต่อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางน้ำ
ลำดับที่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางน้ำ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพ 97.6 2.1 0.3 100.0
2 มลพิษทางน้ำคุกคามการพัฒนาคุณภาพชีวิต 95.8 3.5 0.7 100.0
3 น้ำเน่าเสียเป็นปัญหาสำคัญในชุมชนของท่าน 93.3 5.5 1.2 100.0
4 น้ำเน่าเสียเป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดของท่าน 92.4 5.9 1.7 100.0
5 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม 97.8 1.8 0.4 100.0
6 มลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 93.3 5.3 1.4 100.0
7 ถ้าวันนี้ไม่รีบแก้ไขมลพิษทางน้ำ ประเทศไทย
ต้องจ่ายเงินมหาศาลแก้ไขมลพิษทางน้ำในอนาคต 97.0 2.1 0.9 100.0
8 กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมอันตราย
ที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ 92.6 5.4 2.0 100.0
9 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หย่อนยานในการบังคับใช้
กฎหมายต่อผู้ก่อมลพิษ 90.6 6.7 2.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อเรื่องขยะอันตราย
ลำดับที่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับขยะอันตราย เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 ประเทศไทยยังมีปัญหาด้านการจัดการกำจัดขยะ 94.3 4.5 1.2 100.0
2 ประเทศไทยไม่ควรนำเข้าขยะอันตรายหรือกากสารพิษจากต่างประเทศ 74.8 16.2 9.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลต่อเรื่องที่เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ
ประเด็น ระดับความรู้สึกกังวล
กังวลมาก ปานกลาง น้อย/ไม่กังวลเลย
1) การปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสู่แหล่งน้ำ 85.5 10.9 3.6
2) คุณภาพของโรงบำบัดน้ำเสียต่ำกว่ามาตรฐานและไม่มีประสิทธิภาพ 66.4 26.3 7.3
3) การขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในอนาคต 77.7 16.4 5.9
4) การขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาดเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ 74.5 18.7 6.8
5) การขาดแคลนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพเพียงพอสำหรับประกอบอาชีพ
เช่น เลี้ยงปลา และการเกษตร เป็นต้น 73.9 19.2 6.9
6) การปนเปื้อนสารเคมีจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมในแหล่งน้ำดิบสำหรับ
ผลิตน้ำอุปโภคบริโภค 84.1 12.1 3.8
7) การปนเปื้อนสารพิษในน้ำประปา 70.5 19.4 10.1
8) การปนเปื้อนสารพิษจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมในห่วงโซ่อาหาร
หรือสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว 78.8 16.0 5.2
9) โรคร้ายแรงที่เกิดจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษหรือเชื้อโรคสู่คนและสัตว์ 79.7 15.2 5.1
10) ปัญหาขยะในแหล่งน้ำ 87.1 9.7 3.2
11) ปัญหาน้ำเน่าเสียตามคูคลอง และแม่น้ำ 87.0 10.0 3.0
12) การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองของคนไทย 81.3 15.3 3.4
13) ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและพืชนานาชนิดลดลง 79.5 15.9 4.6
14) น้ำอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น 82.5 14.5 3.0
15) อื่นๆ เจ้าหน้าที่ขาดความรับผิดชอบ คนขาดจิตสำนึกการใช้น้ำ เป็นต้น 65.0 18.7 16.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อการรับรู้แหล่งน้ำเสียระยะรอบบริเวณประมาณ 1 ก.ม. ต่อที่อาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม
ความคิดเห็นต่อการรับรู้แหล่งน้ำเสีย ภาพรวม กรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล นิคมอุตสาหกรรม
ระยะรอบบริเวณประมาณ 1 ก.ม. ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน
ต่อที่อาศัยของผู้ตอบแบบสอบถาม
มีแหล่งน้ำเน่าเสีย 66.3 1,279 64.1 767 69.8 512
ไม่มีแหล่งน้ำเน่าเสีย 20.1 387 23.3 278 14.9 109
ไม่ทราบ 13.6 263 12.6 151 15.3 112
รวมทั้งสิ้น 100.0 1,929 100.0 1,196 100.0 733
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ภาพรวมที่ระบุประสบเหตุการณ์จากมลพิษทางน้ำ
จำแนกตามพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และพื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรม
เหตุการณ์ที่ประสบ กทม.ร้อยละ นิคมอุตฯร้อยละ
1.มีแมลงพาหะและ มีพิษ เข้ามาในสถานที่พักอาศัย 72.4 74.7
2.มีกลิ่นเหม็นเข้ามาในสถานที่พักอาศัย 67.9 72.5
3.สัตว์น้ำและพืชผักในแหล่งน้ำที่มีตามธรรมชาติที่สามารถนำมาบริโภคมีจำนวนลดลง 65.6 74.4
4.แหล่งน้ำที่เคยพึ่งพาในการดำรงชีวิต หรือพักผ่อนหย่อนใจ ถูกทำลายจนไม่สามารถใช้ได้ 54.4 59.0
5.รู้สึกเป็นไข้ ไม่สบาย เมื่อได้อยูใกล้แหล่งน้ำเสีย 48.5 56.5
6.น้ำเสียซึมเข้าสถานที่พักอาศัย 41.8 43.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยที่ตัวอย่างประชาชนระบุเรื่องการตื่นตัวและจริงจังในการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำในกลุ่มคน
และหน่วยงานต่างๆ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
กลุ่มคน / หน่วยงานต่างๆ กทม. / ปริมณฑล นิคมอุตฯ ภาพรวม
1. ความตื่นตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม 7.07 6.92 7.01
2. ความตื่นตัวของคนรอบข้าง 5.82 5.65 5.76
3. ความตื่นตัวของรัฐบาล / ผู้เกี่ยวข้อง 5.38 5.50 5.43
4. ความจริงจังของรัฐบาล / ผู้เกี่ยวข้อง 5.20 5.33 5.25
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อบุคคล/องค์กรใดควรเข้ามามีบทบาทต่อการ
แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความคิดเห็นต่อบุคคล/องค์กรใดควรเข้ามามีบทบาท ภาพรวม กรุงเทพมหานคร นิคมอุตสาหกรรม
ต่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง ร้อยละ และ ปริมณฑลร้อยละ ร้อยละ
ประชาชนทั่วไป 64.7 64.8 64.7
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 64.7 64.6 64.9
โรงงานอุตสาหกรรม 61.8 61.5 62.2
ผู้ว่า ฯ จังหวัด / ผู้ว่า กทม. 61.5 65.0 55.6
องค์กรเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม 57.8 57.0 59.2
รัฐบาลชุดปัจจุบัน 55.4 56.5 53.7
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 50.1 50.0 50.4
กระทรวงอุตสาหกรรม 49.7 49.7 49.7
กระทรวงพลังงาน 31.0 32.7 28.1
การไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 24.2 25.8 21.5
องค์กรภาคธุรกิจ 23.2 24.7 20.7
อื่นๆ อาทิ ทุกหน่วยงานของรัฐ /ตำรวจ องค์กรภาคเอกชน (NGO) เป็นต้น 7.7 8.2 6.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อวิธีการในการช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
ลำดับที่ คิดเห็นต่อวิธีการในการช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ ค่าร้อยละ
1 ไม่ปล่อยน้ำเสีย /ไม่ทิ้งขยะ /รักษาสภาพแวดล้อม /ควรแยกขยะเปียกแห้ง 65.3
2 ต้องใช้มาตรการที่เด็ดขาด /เข้มงวดกับกฎหมาย /ต่อต้านการปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน 8.2
3 ติดตั้งเครื่องบำบัดน้ำให้ได้มาตรฐาน /พักน้ำในที่บำบัดน้ำเสีย /ควบคุมการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงน้ำ 8.1
4 ปลูกจิตสำนึกและแนวคิดให้กับเยาวชน /ให้ความรู้แก่ประชาชน/ฝึกอบรม 7.7
5 ผู้นำควรเอาจริงเอาจังในการแก้ไข /รัฐบาลต้องเข้าถึงประชาชน /มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง 3.3
6 มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ /รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบดูแล /ช่วยกันเป็นหูเป็นตาตรวจสอบดูแล 3.1
7 ใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด /ใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า 1.5
8 แก้ไขที่ต้นเหตุของมลพิษทางน้ำ 1.0
9 ไม่ควรนำเข้าสารพิษจากต่างประเทศ /ไม่สร้างโรงงานใกล้แม่น้ำ 1.0
10 ไม่ใช้สารเคมีในการจับสัตว์น้ำ 0.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
แสดงค่าเฉลี่ยระดับปัญหามลพิษทางน้ำของประเทศไทย (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ค่าเฉลี่ยของภาพรวมคือ 6.77 คะแนน กทม. / ปริมณฑล 6.80 คะแนน
และนิคมอุตสาหกรรม ได้ 6.73 คะแนน
--เอแบคโพลล์--
-พห-