ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง รายงานดัชนี
ความสุขมวลรวมของคนไทยในช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 21 จังหวัดของประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 4,010 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 22 มีนาคม 2551 ผลวิจัยพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อย
ละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินความสุขมวลรวมของประชาชนในช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง พบความสุขของประชาชนลดลง
จาก 6.90 ในเดือนตุลาคม ปี 2550 มาอยู่ที่ 6.39 ในการสำรวจล่าสุด เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มความสุขคนไทยตั้งแต่
หลังการปฏิรูปการปกครองเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา พบว่า เดือนตุลาคมปี 49 ความสุขคนไทยอยู่ที่ 4.86 เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 5.74 และ
เดือนกันยายนปี 50 อยู่ที่ 5.94
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อค่าความสุขล่าสุดของคนไทยอยู่ที่ 6.39 ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี โดยมีปัจจัยด้านความจงรักภักดีมี
ค่าความสุขสูงสุดถึง 9.22 ในขณะที่สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพียง 2.37 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ 4.42 สภาพสังคมไทยได้
4.55 และสถานการณ์การเมืองได้ 4.63
ประเด็นที่ค้นพบอื่นๆ คือ ความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัวได้ 7.54 วัฒนธรรมประเพณีไทยได้ 6.96 สุขภาพกายได้
6.90 สุขภาพใจได้ 6.83 หน้าที่การงานได้ 6.82 การบริการทางการแพทย์-อนามัยที่ได้รับ 6.55 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.50 บรรยากาศภาย
ในชุมชนได้ 6.36 ความเป็นธรรมทางสังคมได้ 5.39 และการที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อนายสมัคร สุนทรเวชได้ 5.14
ที่น่าสนใจคือ ผลวิจัยพบว่า ประชาชนเริ่มหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากร้อยละ 46.2 ในช่วงต้นปี 2550
มาอยู่ที่ร้อยละ 54.4 ในช่วงต้นปีนี้ แต่ผู้ที่เคร่งครัดต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.1 เท่าเดิม และเมื่อวิเคราะห์ใน
ทางสถิติด้วยค่า Odds Ratio พบว่า มีค่าอยู่ที่ 4.242 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 7.403 ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.000 ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หมายความว่า ผู้ที่
ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความสุขสูงสุดประมาณ 7 เท่าของผู้ที่ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
และเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยสหสัมพันธ์แบบพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญต่อความสุขของ
ประชาชน พบด้วยว่า ความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับ “สุขภาพใจ” เป็นอันดับแรก ตามด้วยปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ สภาพสังคมไทย ครอบ
ครัว หน้าที่การงาน สถานการณ์การเมือง บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย ความเป็นธรรมทางสังคม การบริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม การ
ใช้ชีวิตแบบพอเพียง และสุขภาพกาย
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่า ถ้ามีการยุบพรรคการเมืองจะทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 69.7 ระบุระดับความสุขจะยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.4 ตอบว่าจะทำให้ความสุขของตนเองลดลง และ
ร้อยละ 10.9 จะมีความสุขเพิ่มขึ้น ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ได้ค่อนข้างดีตั้งแต่ยึดอำนาจปลายปี 49 ถึงการเลือกตั้งปี 50 และคำตอบสุดท้ายคือ ความสุขหรือความทุกข์ของประชาชนอยู่ที่สุขภาพใจและการทำใจ
ของประชาชนเป็นหลัก การปรับตัวปรับใจของประชาชนเป็นตัวช่วยให้คนไทยส่วนใหญ่ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะช่วยให้กลุ่มเคลื่อนไหว
ทางการเมืองเห็นด้วยว่า สถานการณ์การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญอันดับที่สองที่จะกระทบต่อความสุขของประชาชน ไม่ใช่เรื่องสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างที่
หลายคนเข้าใจ เพราะคนไทยเริ่มหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงทำให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันในทุกสถานการณ์ ดังนั้น การเคลื่อนไหวใดๆ น่าจะค่อยเป็น
ค่อยไปโดยให้โอกาสประชาชนเตรียมตัวเตรียมใจบ้างจะเป็นสิ่งที่ดีต่อประโยชน์สุขของประชาชนและเสถียรภาพของบ้านเมือง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วง 3 เดือนแรกหลังเลือกตั้ง
2. เพื่อสำรวจวิเคราะห์ทางสถิติหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสุขของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์)มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยใน
ช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,010 ตัวอย่าง
ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 22 มีนาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี ชลบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี สุโขทัย เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครปฐม ชุมพร สงขลา
ปัตตานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,010 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 41.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 26.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 35.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.0 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และ ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 29.3 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 28.8 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 61.7
2 3-4 วัน 17.9
3 1-2 วัน 9.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 8.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนมกราคม 2551 (คะแนนเต็ม 10)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความสุขต่อความจงรักภักดี 9.22
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.54
3 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี 6.96
4 สุขภาพกาย 6.90
5 สุขภาพใจ 6.83
6 หน้าที่การงาน 6.82
7 การบริการทางการแพทย์-อนามัยที่ได้รับ 6.55
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.50
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย 6.36
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.39
11 การมีนายกรัฐมนตรีชื่อสมัคร สุนทรเวช 5.14
12 สถานการณ์การเมือง 4.63
13 สภาพบรรยากาศในสังคม 4.55
14 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 4.42
15 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2.37
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2551 6.39
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
กุมภาพันธ์ — มีนาคม 2551 เปรียบเทียบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย. พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.-
ของคนไทยภายใน ประเทศ ธ.ค.49 50 ก.ค.50 มี.ค.51
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนมีนาคม 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัยค่าอิทธิพลของการใช้ชีวิตแบบพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของคนไทย
ลำดับที่ ความสุขมวลรวม พอเพียงอย่างเคร่งครัด ค่อนข้างพอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ไม่พอเพียง
1 มีความสุข 4.242*** 3.446*** 2.249*** ***อ้างอิง
2 ไม่มีความสุข ***อ้างอิง ***อ้างอิง ***อ้างอิง ***อ้างอิง
ด้วยความเชื่อมั่น 95% ค่าสูงสุด 7.403*** 5.906*** 4.032*** ***อ้างอิง
***ค่าความเสี่ยงหลังทดสอบทางสถิติด้วยค่า Odd Ratio = 4.242 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 7.403 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000
หมายความว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความสุขสูงสุดประมาณเจ็ดเท่าของผู้ที่ไม่ได้ใช้ ชีวิตแบบพอเพียง
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขหากมีการยุบพรรคการเมืองบางพรรค เช่น พรรคมัชฌิมาธิป
ไตย พรรคชาติไทย หรือพรรคพลังประชาชน จำแนกตามพรรคการเมืองที่ประชาชนเคยเลือก
ลำดับที่ ระดับความสุขหากมีการยุบพรรคการเมืองบางพรรค คนเคยเลือก คนเคยเลือก อื่นๆ ภาพรวม
1 เพิ่มขึ้น เพราะ ต้องการให้เป็นไปตามกฎกติกา/ ประชาธิปัตย์ พรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
ไม่ชอบพรรคที่ถูกยุบ / ปัญหาคอรัปชั่นจะได้หมดไป เป็นต้น 22 4.4 7.8 11
2 ลดลง เพราะไม่อยากเลือกตั้งใหม่ / เป็นพรรคที่ชอบ /
บ้านเมืองจะวุ่นวาย เป็นต้น 8.4 30 16 19
3 เหมือนเดิม 70 66 77 70
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100
ตารางที่ 7 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัยสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุ และค่านัยสำคัญทางสถิติ
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวม ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 สุขภาพใจ .192 0.000***
2 สภาวะเศรษฐกิจ .152 0.000***
3 สภาพสังคมไทย .143 0.000***
4 ครอบครัว .133 0.000***
5 หน้าที่การงาน .126 0.000***
6 สถานการณ์การเมือง .104 0.000***
7 บรรยากาศในชุมชน 0.59 0.000***
8 สภาพแวดล้อม .055 0.001***
9 การบริการทางการแพทย์ .054 0.000***
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 0.50 0.001***
11 สุขภาพกาย 0.34 0.040*
ค่าความสัมพันธ์โดยรวม = .621***
***คือ ค่านัยสำคัญที่ 0.000 หมายถึงมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง รายงานดัชนี
ความสุขมวลรวมของคนไทยในช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 21 จังหวัดของประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 4,010 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 22 มีนาคม 2551 ผลวิจัยพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อย
ละ 80 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการประเมินความสุขมวลรวมของประชาชนในช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง พบความสุขของประชาชนลดลง
จาก 6.90 ในเดือนตุลาคม ปี 2550 มาอยู่ที่ 6.39 ในการสำรวจล่าสุด เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มความสุขคนไทยตั้งแต่
หลังการปฏิรูปการปกครองเดือนกันยายน 2549 เป็นต้นมา พบว่า เดือนตุลาคมปี 49 ความสุขคนไทยอยู่ที่ 4.86 เดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 5.74 และ
เดือนกันยายนปี 50 อยู่ที่ 5.94
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อค่าความสุขล่าสุดของคนไทยอยู่ที่ 6.39 ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี โดยมีปัจจัยด้านความจงรักภักดีมี
ค่าความสุขสูงสุดถึง 9.22 ในขณะที่สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพียง 2.37 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันได้ 4.42 สภาพสังคมไทยได้
4.55 และสถานการณ์การเมืองได้ 4.63
ประเด็นที่ค้นพบอื่นๆ คือ ความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศภายในครอบครัวได้ 7.54 วัฒนธรรมประเพณีไทยได้ 6.96 สุขภาพกายได้
6.90 สุขภาพใจได้ 6.83 หน้าที่การงานได้ 6.82 การบริการทางการแพทย์-อนามัยที่ได้รับ 6.55 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.50 บรรยากาศภาย
ในชุมชนได้ 6.36 ความเป็นธรรมทางสังคมได้ 5.39 และการที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อนายสมัคร สุนทรเวชได้ 5.14
ที่น่าสนใจคือ ผลวิจัยพบว่า ประชาชนเริ่มหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากร้อยละ 46.2 ในช่วงต้นปี 2550
มาอยู่ที่ร้อยละ 54.4 ในช่วงต้นปีนี้ แต่ผู้ที่เคร่งครัดต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.1 เท่าเดิม และเมื่อวิเคราะห์ใน
ทางสถิติด้วยค่า Odds Ratio พบว่า มีค่าอยู่ที่ 4.242 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 7.403 ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.000 ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หมายความว่า ผู้ที่
ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความสุขสูงสุดประมาณ 7 เท่าของผู้ที่ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
และเมื่อทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัยสหสัมพันธ์แบบพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อค้นหาปัจจัยสำคัญต่อความสุขของ
ประชาชน พบด้วยว่า ความสุขของประชาชนขึ้นอยู่กับ “สุขภาพใจ” เป็นอันดับแรก ตามด้วยปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ สภาพสังคมไทย ครอบ
ครัว หน้าที่การงาน สถานการณ์การเมือง บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย ความเป็นธรรมทางสังคม การบริการทางการแพทย์ สภาพแวดล้อม การ
ใช้ชีวิตแบบพอเพียง และสุขภาพกาย
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่า ถ้ามีการยุบพรรคการเมืองจะทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นหรือลดลง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 69.7 ระบุระดับความสุขจะยังคงเหมือนเดิม ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.4 ตอบว่าจะทำให้ความสุขของตนเองลดลง และ
ร้อยละ 10.9 จะมีความสุขเพิ่มขึ้น ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนไทยสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
ได้ค่อนข้างดีตั้งแต่ยึดอำนาจปลายปี 49 ถึงการเลือกตั้งปี 50 และคำตอบสุดท้ายคือ ความสุขหรือความทุกข์ของประชาชนอยู่ที่สุขภาพใจและการทำใจ
ของประชาชนเป็นหลัก การปรับตัวปรับใจของประชาชนเป็นตัวช่วยให้คนไทยส่วนใหญ่ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ มาได้ ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะช่วยให้กลุ่มเคลื่อนไหว
ทางการเมืองเห็นด้วยว่า สถานการณ์การเมืองเป็นปัจจัยสำคัญอันดับที่สองที่จะกระทบต่อความสุขของประชาชน ไม่ใช่เรื่องสภาวะทางเศรษฐกิจอย่างที่
หลายคนเข้าใจ เพราะคนไทยเริ่มหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงทำให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันในทุกสถานการณ์ ดังนั้น การเคลื่อนไหวใดๆ น่าจะค่อยเป็น
ค่อยไปโดยให้โอกาสประชาชนเตรียมตัวเตรียมใจบ้างจะเป็นสิ่งที่ดีต่อประโยชน์สุขของประชาชนและเสถียรภาพของบ้านเมือง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วง 3 เดือนแรกหลังเลือกตั้ง
2. เพื่อสำรวจวิเคราะห์ทางสถิติหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสุขของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์)มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยใน
ช่วง 3 เดือนแรกหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปภูมิลำเนาใน 21 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,010 ตัวอย่าง
ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 22 มีนาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา
สระบุรี ชลบุรี ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย อุดรธานี สุโขทัย เชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครปฐม ชุมพร สงขลา
ปัตตานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,010 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 41.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 26.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 79.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 22.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 35.8 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.0 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
และ ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 19.1 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 29.3 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 28.8 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 61.7
2 3-4 วัน 17.9
3 1-2 วัน 9.2
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 8.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนมกราคม 2551 (คะแนนเต็ม 10)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความสุขต่อความจงรักภักดี 9.22
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.54
3 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี 6.96
4 สุขภาพกาย 6.90
5 สุขภาพใจ 6.83
6 หน้าที่การงาน 6.82
7 การบริการทางการแพทย์-อนามัยที่ได้รับ 6.55
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.50
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พักอาศัย 6.36
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.39
11 การมีนายกรัฐมนตรีชื่อสมัคร สุนทรเวช 5.14
12 สถานการณ์การเมือง 4.63
13 สภาพบรรยากาศในสังคม 4.55
14 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 4.42
15 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2.37
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2551 6.39
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
กุมภาพันธ์ — มีนาคม 2551 เปรียบเทียบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย. พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.-
ของคนไทยภายใน ประเทศ ธ.ค.49 50 ก.ค.50 มี.ค.51
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนมีนาคม 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัยค่าอิทธิพลของการใช้ชีวิตแบบพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของคนไทย
ลำดับที่ ความสุขมวลรวม พอเพียงอย่างเคร่งครัด ค่อนข้างพอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง ไม่พอเพียง
1 มีความสุข 4.242*** 3.446*** 2.249*** ***อ้างอิง
2 ไม่มีความสุข ***อ้างอิง ***อ้างอิง ***อ้างอิง ***อ้างอิง
ด้วยความเชื่อมั่น 95% ค่าสูงสุด 7.403*** 5.906*** 4.032*** ***อ้างอิง
***ค่าความเสี่ยงหลังทดสอบทางสถิติด้วยค่า Odd Ratio = 4.242 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 7.403 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000
หมายความว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความสุขสูงสุดประมาณเจ็ดเท่าของผู้ที่ไม่ได้ใช้ ชีวิตแบบพอเพียง
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุขหากมีการยุบพรรคการเมืองบางพรรค เช่น พรรคมัชฌิมาธิป
ไตย พรรคชาติไทย หรือพรรคพลังประชาชน จำแนกตามพรรคการเมืองที่ประชาชนเคยเลือก
ลำดับที่ ระดับความสุขหากมีการยุบพรรคการเมืองบางพรรค คนเคยเลือก คนเคยเลือก อื่นๆ ภาพรวม
1 เพิ่มขึ้น เพราะ ต้องการให้เป็นไปตามกฎกติกา/ ประชาธิปัตย์ พรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ
ไม่ชอบพรรคที่ถูกยุบ / ปัญหาคอรัปชั่นจะได้หมดไป เป็นต้น 22 4.4 7.8 11
2 ลดลง เพราะไม่อยากเลือกตั้งใหม่ / เป็นพรรคที่ชอบ /
บ้านเมืองจะวุ่นวาย เป็นต้น 8.4 30 16 19
3 เหมือนเดิม 70 66 77 70
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100
ตารางที่ 7 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัยสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุ และค่านัยสำคัญทางสถิติ
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวม ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 สุขภาพใจ .192 0.000***
2 สภาวะเศรษฐกิจ .152 0.000***
3 สภาพสังคมไทย .143 0.000***
4 ครอบครัว .133 0.000***
5 หน้าที่การงาน .126 0.000***
6 สถานการณ์การเมือง .104 0.000***
7 บรรยากาศในชุมชน 0.59 0.000***
8 สภาพแวดล้อม .055 0.001***
9 การบริการทางการแพทย์ .054 0.000***
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 0.50 0.001***
11 สุขภาพกาย 0.34 0.040*
ค่าความสัมพันธ์โดยรวม = .621***
***คือ ค่านัยสำคัญที่ 0.000 หมายถึงมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
--เอแบคโพลล์--
-พห-