ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,425 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-
25 มีนาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 ทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และเมื่อถามถึงจุดด้อยของรัฐ
ธรรมนูญที่ต้องแก้ไข พบว่า ร้อยละ 34.7 ระบุกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมือง บทลงโทษพรรคการเมืองที่กระทำ
ผิด ร้อยละ 25.4 เกี่ยวกับการได้มาของ ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ 22.2 ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้ ร้อยละ 9.0 เกี่ยวกับผล
ประโยชน์ของนักการเมือง ร้อยละ 12.4 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กฎระเบียบข้อบังคับของสังคม การมีส่วนร่วมของคนใน
สังคม สิทธิมนุษยชน และความเป็นกลางของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ระบุไม่มีจุดอ่อนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
เมื่อถามถึงจุดดีของรัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.1 ระบุเป็น
รัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติ ร้อยละ 15.4 ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ร้อยละ 14.6 เห็นว่าทำให้ประเทศชาติเปลี่ยนแปลงดีขึ้น
ร้อยละ 14.4 ระบุเรื่องความเข้มงวดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 11.9 ระบุเป็นเรื่องความยุติธรรมและความเป็นธรรมต่อ
ประชาชน ร้อยละ 9.2 เห็นว่ามีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และสามารถควบคุมพรรคการเมืองได้ดี ในขณะที่ร้อยละ 29.6 ระบุว่าไม่มีจุดดีใน
มาตราที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
เมื่อประเมินจุดดีและจุดด้อยของรัฐธรรมนูญโดยภาพรวม พบว่า เกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.2 ระบุว่า พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 24.3
ระบุมีจุดด้อยมากกว่า และร้อยละ 26.5 ระบุมีจุดดีมากกว่า
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ อยากให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้
ประเทศไทยเกิดความสงบสุข และการเมืองเข้มแข็งขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย เพราะ มีการเบี่ยงเบนสาเหตุที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น
การแก้ไขเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และเกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
และในกลุ่มประชาชนที่ต้องการให้แก้ไขประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ต้องการให้แก้ไขทุกมาตรายกเว้นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหา
กษัตริย์ ในขณะที่ร้อยละ 40.4 ต้องการให้แก้ไขที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนเกินครึ่ง
หรือร้อยละ 55.2 ต้องการให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน ในขณะที่ร้อยละ 37.6 เห็นควรแก้ไขไปพร้อมๆ กัน มีเพียงร้อยละ 5.9 เห็นควรให้แก้ไขรัฐ
ธรรมนูญก่อน และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.7 เห็นว่ารัฐบาลควรมีแนวทางให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111
คน ได้มาช่วยงานรัฐบาลในขณะนี้ เพราะมีความสามารถ มีศักยภาพในการทำงาน บ้านเมืองกำลังประสบปัญหาต้องช่วยกัน มีประสบการณ์การทำงาน
และอยากให้พิสูจน์ตัวเองอีกครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 41.6 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการละเมิดกติกา เกรงว่าจะเข้ามาทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและ
พวกพ้อง เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายตามมา และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 คิดว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคม
ประชาธิปไตย ในขณะที่ร้อยละ 41.1 คิดว่าไม่ปกติ และร้อยละ 1.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.7 ยังเชื่อ
ด้วยว่า สำหรับสังคมไทยแล้ว ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะไม่ลุกลามบานปลาย ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 46.0 คิดว่าจะลุกลามบานปลาย
และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น
ที่สำคัญคือ ข้อความที่ประชาชนอยากสื่อถึงกลุ่มคนที่กำลังขัดแย้งทางการเมืองอยู่ขณะนี้ พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.0 อยากพูดว่า พวก
เราต้องการความสงบปกติสุข และความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน ร้อยละ 21.2 อยากพูดว่า ควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานพิสูจน์ความสามารถ
สักระยะหนึ่งก่อน ร้อยละ 16.4 อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 9.9 อยากให้วางตัวเป็นกลาง มีสติ มีวิจารณญาณไตร่ตรองอย่าง
รอบคอบ ร้อยละ 8.5 อยากให้เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ เคารพเสียงส่วนใหญ่และประชาธิปไตย ร้อยละ 7.6 ไม่อยากให้เกิดการนองเลือด ไม่
อยากเห็นการใช้ความรุนแรงใดๆ
ผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ประชาชนร้อยละ 26.9 มองตัวเองว่าอยู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 8.2 มองว่าเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ไม่ขออยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) ในบรรยากาศการเมืองขณะนี้
ผ.อ. ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ช่วงเวลาอาจยังไม่
เหมาะเพราะประชาชนเกินครึ่งที่อยากให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญพร้อมๆ ไปกับการแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจ และคนไทยยังเชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะไม่ลุกลามบานปลาย รวมทั้งอยากบอกกับกลุ่มที่กำลังขัดแย้งกันทางการเมืองขณะ
นี้ว่า พวกเรากำลังต้องการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความสงบปกติสุข บางคนกล่าวกับคณะผู้วิจัยว่าทุกวันนี้มีเรื่องที่ต้องปวดหัวกลุ้มใจในการทำมาหากินมาก
พออยู่แล้ว หากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นอีก ก็ยิ่งเดือดร้อนกันไปใหญ่ และประชาชนก็อยากเห็นความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชนด้วยกัน
มากกว่าความขัดแย้งในสังคม ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาคือ การหลีกเลี่ยงที่จะพูดหรือสร้างความขัดแย้ง หันมา
พูดจาแบบสร้างสรรค์ อย่าลุแก่อำนาจบาตรใหญ่ เพราะสิ่งที่ฝ่ายการเมือง “มี” และ “เป็น” อยู่เวลานี้ล้วนแล้วแต่อนิจจัง มีขึ้นมีลง เปลี่ยนแปลงได้
ตลอดเวลา แต่รัฐบาลน่าจะมุ่งทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนเป็นธงนำ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่ยาก
เกินไปนักเพราะมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นทุนทางการเมืองอยู่ขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อจุดดี-จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาของประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่าง
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม พ.ศ.2551 ประเภท
ของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น
เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,425
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.9 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 19.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.5 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.3 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 38.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 7.0 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.3 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 42.3 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 11.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.5 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 15.5
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ การรับทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 79.9
2 ไม่ทราบข่าว 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ต้องแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ต้องแก้ไข ค่าร้อยละ
1 กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมือง/บทลงโทษพรรคการเมืองที่กระทำผิด 34.7
2 กระบวนการได้มาซึ่ง ส.ส.และส.ว./กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 25.4
3 จุดที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้ 22.2
4 จุดที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนักการเมือง 9.0
5 การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร อาทิ บทบาทของ ส.ส./ลดอำนาจของฝายบริหารลงบ้าง 6.3
6 อื่นๆ อาทิ การได้มาซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ/กฎระเบียบข้อบังคับของสังคม/การมีส่วนร่วม-
ของคนในสังคม/สิทธิมนุษยชน/สิทธิประโยชน์ของประชาชน/ความเป็นกลางของรัฐธรรมนูญ 12.4
7 ไม่มีจุดอ่อน 28.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดดีของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดดีของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 บทบัญญัติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 24.8
2 เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติ 18.1
3 สิทธิเสรีภาพของประชาชน 15.4
4 ทำให้ประเทศชาติเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น 14.6
5 ความเข้มงวดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 14.4
6 ความยุติธรรมและความเป็นธรรมต่อประชาชน 11.9
7 อื่นๆ อาทิ มีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม/มีบทบัญญัติที่ควบคุมพรรคการเมืองหรือฝ่ายการเมือง/-
เปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น 9.2
8 ไม่มีจุดดี 29.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจุดดี — จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อจุดดี-จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 มีจุดด้อยมากกว่า 24.3
2 มีจุดดีมากกว่า 26.5
3 พอๆ กัน 49.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ....อยากให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย/เพื่อให้
ประเทศไทยเกิดความสงบ/การเมืองจะเข้มแข็งขึ้น 59.3
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... มีการเบี่ยงเบนสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไข/ 32.9
เป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของคนเพียงบาง
กลุ่ม/เกรงว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมา
อีก/อยากให้แก้ปัญหาเร่งด่วนอย่างอื่น
มากกว่า
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมาตราในรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการแก้ไข (เฉพาะค่าร้อยละของคนที่ต้องการให้แก้ไข)
ลำดับที่ มาตราในรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการแก้ไข ค่าร้อยละ
1 แก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง 40.4
2 แก้ไขทุกมาตรายกเว้นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 49.1
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 5.9
2 ควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน 55.2
3 ควรแก้ไขไปพร้อมๆ กัน 37.6
4 ไม่มีความเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี รัฐบาลควรจะมีแนวทางให้อดีตกรรมการบริหาร
พรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน ได้เข้ามาช่วยงานรัฐบาลในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...มีความสามารถมีศักยภาพในการทำงาน/ 51.7
บ้านเมืองกำลังประสบปัญหาต้องช่วยกัน/มี
ประสบการณ์ในการทำงาน/อยากให้พิสูจน์
ตัวเองอีกครั้ง
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...เป็นการไม่เคารพกติกา/เกรงว่าจะเข้ามาทำเพื่อ 41.6
ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง/เกรงว่าจะ
เกิดปัญหาวุ่นวายตามมา/ไม่โปร่งใส/ไม่ได้รับ
การเลือกตั้งเป็น ส.ส.ไม่ควรเข้ามายุ่ง
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของสังคมที่มี
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา 57.9
2 คิดว่าไม่ปกติธรรมดา 41.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเป็นไปได้ของการลุกลามบานปลายในความขัดแย้งทางการเมือง
ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะลุกลามบานปลาย 46.0
2 ไม่คิดว่าจะลุกลามบานปลาย 52.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับกลุ่มประชาชนที่สนับสนุน-ไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอก ค่าร้อยละ
1 พวกเราต้องการใช้ชีวิตด้วยความสงบปกติสุข / ความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน 50.0
2 ควรเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ทำงานพิสูจน์ความสามารถสักระยะก่อน 21.2
3 ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ/ผลประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 16.4
4 ควรวางตัวเป็นกลาง/มีสติ/มีวิจารญาณไตร่ตรองอย่างรอบคอบ 9.9
5 ควรเคารพกฎหมาย-เคารพกฎระเบียบ/เคารพเสียงส่วนใหญ่และประชาธิปไตย 8.5
6 อื่นๆ อาทิ ไม่อยากให้เกิดการนองเลือด/ไม่อยากให้ใช้ความรุนแรง/ให้ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ- 7.6
ของตนเอง/ให้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด/ ช่วยกันแก้ปัญหาบ้านเมืองจะดีกว่า
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 26.9
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 8.1
3 ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) 65.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,425 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-
25 มีนาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 ทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และเมื่อถามถึงจุดด้อยของรัฐ
ธรรมนูญที่ต้องแก้ไข พบว่า ร้อยละ 34.7 ระบุกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมือง บทลงโทษพรรคการเมืองที่กระทำ
ผิด ร้อยละ 25.4 เกี่ยวกับการได้มาของ ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ 22.2 ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้ ร้อยละ 9.0 เกี่ยวกับผล
ประโยชน์ของนักการเมือง ร้อยละ 12.4 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กฎระเบียบข้อบังคับของสังคม การมีส่วนร่วมของคนใน
สังคม สิทธิมนุษยชน และความเป็นกลางของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 28.4 ระบุไม่มีจุดอ่อนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
เมื่อถามถึงจุดดีของรัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.1 ระบุเป็น
รัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติ ร้อยละ 15.4 ระบุเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ร้อยละ 14.6 เห็นว่าทำให้ประเทศชาติเปลี่ยนแปลงดีขึ้น
ร้อยละ 14.4 ระบุเรื่องความเข้มงวดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 11.9 ระบุเป็นเรื่องความยุติธรรมและความเป็นธรรมต่อ
ประชาชน ร้อยละ 9.2 เห็นว่ามีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และสามารถควบคุมพรรคการเมืองได้ดี ในขณะที่ร้อยละ 29.6 ระบุว่าไม่มีจุดดีใน
มาตราที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง
เมื่อประเมินจุดดีและจุดด้อยของรัฐธรรมนูญโดยภาพรวม พบว่า เกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.2 ระบุว่า พอๆ กัน ในขณะที่ร้อยละ 24.3
ระบุมีจุดด้อยมากกว่า และร้อยละ 26.5 ระบุมีจุดดีมากกว่า
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.3 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ อยากให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้
ประเทศไทยเกิดความสงบสุข และการเมืองเข้มแข็งขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย เพราะ มีการเบี่ยงเบนสาเหตุที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น
การแก้ไขเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และเกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น และร้อยละ 7.8 ไม่มีความเห็น
และในกลุ่มประชาชนที่ต้องการให้แก้ไขประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ต้องการให้แก้ไขทุกมาตรายกเว้นที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหา
กษัตริย์ ในขณะที่ร้อยละ 40.4 ต้องการให้แก้ไขที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง และร้อยละ 10.5 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ประชาชนเกินครึ่ง
หรือร้อยละ 55.2 ต้องการให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน ในขณะที่ร้อยละ 37.6 เห็นควรแก้ไขไปพร้อมๆ กัน มีเพียงร้อยละ 5.9 เห็นควรให้แก้ไขรัฐ
ธรรมนูญก่อน และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.7 เห็นว่ารัฐบาลควรมีแนวทางให้อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้ง 111
คน ได้มาช่วยงานรัฐบาลในขณะนี้ เพราะมีความสามารถ มีศักยภาพในการทำงาน บ้านเมืองกำลังประสบปัญหาต้องช่วยกัน มีประสบการณ์การทำงาน
และอยากให้พิสูจน์ตัวเองอีกครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 41.6 ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการละเมิดกติกา เกรงว่าจะเข้ามาทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและ
พวกพ้อง เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายตามมา และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.9 คิดว่าความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคม
ประชาธิปไตย ในขณะที่ร้อยละ 41.1 คิดว่าไม่ปกติ และร้อยละ 1.0 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.7 ยังเชื่อ
ด้วยว่า สำหรับสังคมไทยแล้ว ความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะไม่ลุกลามบานปลาย ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 46.0 คิดว่าจะลุกลามบานปลาย
และร้อยละ 1.3 ไม่มีความเห็น
ที่สำคัญคือ ข้อความที่ประชาชนอยากสื่อถึงกลุ่มคนที่กำลังขัดแย้งทางการเมืองอยู่ขณะนี้ พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.0 อยากพูดว่า พวก
เราต้องการความสงบปกติสุข และความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน ร้อยละ 21.2 อยากพูดว่า ควรให้โอกาสรัฐบาลทำงานพิสูจน์ความสามารถ
สักระยะหนึ่งก่อน ร้อยละ 16.4 อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 9.9 อยากให้วางตัวเป็นกลาง มีสติ มีวิจารณญาณไตร่ตรองอย่าง
รอบคอบ ร้อยละ 8.5 อยากให้เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ เคารพเสียงส่วนใหญ่และประชาธิปไตย ร้อยละ 7.6 ไม่อยากให้เกิดการนองเลือด ไม่
อยากเห็นการใช้ความรุนแรงใดๆ
ผลสำรวจครั้งนี้ยังพบด้วยว่า ประชาชนร้อยละ 26.9 มองตัวเองว่าอยู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 8.2 มองว่าเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ไม่ขออยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) ในบรรยากาศการเมืองขณะนี้
ผ.อ. ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ช่วงเวลาอาจยังไม่
เหมาะเพราะประชาชนเกินครึ่งที่อยากให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญพร้อมๆ ไปกับการแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจ และคนไทยยังเชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้จะไม่ลุกลามบานปลาย รวมทั้งอยากบอกกับกลุ่มที่กำลังขัดแย้งกันทางการเมืองขณะ
นี้ว่า พวกเรากำลังต้องการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความสงบปกติสุข บางคนกล่าวกับคณะผู้วิจัยว่าทุกวันนี้มีเรื่องที่ต้องปวดหัวกลุ้มใจในการทำมาหากินมาก
พออยู่แล้ว หากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นอีก ก็ยิ่งเดือดร้อนกันไปใหญ่ และประชาชนก็อยากเห็นความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชนด้วยกัน
มากกว่าความขัดแย้งในสังคม ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายรัฐบาลและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาคือ การหลีกเลี่ยงที่จะพูดหรือสร้างความขัดแย้ง หันมา
พูดจาแบบสร้างสรรค์ อย่าลุแก่อำนาจบาตรใหญ่ เพราะสิ่งที่ฝ่ายการเมือง “มี” และ “เป็น” อยู่เวลานี้ล้วนแล้วแต่อนิจจัง มีขึ้นมีลง เปลี่ยนแปลงได้
ตลอดเวลา แต่รัฐบาลน่าจะมุ่งทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนเป็นธงนำ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่ยาก
เกินไปนักเพราะมีฐานสนับสนุนจากสาธารณชนส่วนใหญ่เป็นทุนทางการเมืองอยู่ขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อจุดดี-จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.2550
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาของประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่าง
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม พ.ศ.2551 ประเภท
ของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ลพบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น
เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,425
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.9 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 19.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.5 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.3 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 38.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 7.0 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.3 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 42.3 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 11.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 13.5 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 15.5
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 7.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ การรับทราบข่าวความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 79.9
2 ไม่ทราบข่าว 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ต้องแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ที่ต้องแก้ไข ค่าร้อยละ
1 กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับพรรคการเมือง การยุบพรรคการเมือง/บทลงโทษพรรคการเมืองที่กระทำผิด 34.7
2 กระบวนการได้มาซึ่ง ส.ส.และส.ว./กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 25.4
3 จุดที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ ทำงานให้ประชาชนไม่ได้ 22.2
4 จุดที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนักการเมือง 9.0
5 การบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร อาทิ บทบาทของ ส.ส./ลดอำนาจของฝายบริหารลงบ้าง 6.3
6 อื่นๆ อาทิ การได้มาซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ/กฎระเบียบข้อบังคับของสังคม/การมีส่วนร่วม-
ของคนในสังคม/สิทธิมนุษยชน/สิทธิประโยชน์ของประชาชน/ความเป็นกลางของรัฐธรรมนูญ 12.4
7 ไม่มีจุดอ่อน 28.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดดีของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดดีของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 บทบัญญัติที่ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 24.8
2 เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติ 18.1
3 สิทธิเสรีภาพของประชาชน 15.4
4 ทำให้ประเทศชาติเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น 14.6
5 ความเข้มงวดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 14.4
6 ความยุติธรรมและความเป็นธรรมต่อประชาชน 11.9
7 อื่นๆ อาทิ มีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญฉบับเดิม/มีบทบัญญัติที่ควบคุมพรรคการเมืองหรือฝ่ายการเมือง/-
เปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น 9.2
8 ไม่มีจุดดี 29.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อจุดดี — จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อจุดดี-จุดด้อยของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 มีจุดด้อยมากกว่า 24.3
2 มีจุดดีมากกว่า 26.5
3 พอๆ กัน 49.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ....อยากให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่าย/เพื่อให้
ประเทศไทยเกิดความสงบ/การเมืองจะเข้มแข็งขึ้น 59.3
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... มีการเบี่ยงเบนสาเหตุที่ต้องมีการแก้ไข/ 32.9
เป็นการแก้เพื่อผลประโยชน์ของคนเพียงบาง
กลุ่ม/เกรงว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมา
อีก/อยากให้แก้ปัญหาเร่งด่วนอย่างอื่น
มากกว่า
3 ไม่มีความเห็น 7.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมาตราในรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการแก้ไข (เฉพาะค่าร้อยละของคนที่ต้องการให้แก้ไข)
ลำดับที่ มาตราในรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการแก้ไข ค่าร้อยละ
1 แก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง 40.4
2 แก้ไขทุกมาตรายกเว้นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 49.1
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 5.9
2 ควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน 55.2
3 ควรแก้ไขไปพร้อมๆ กัน 37.6
4 ไม่มีความเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี รัฐบาลควรจะมีแนวทางให้อดีตกรรมการบริหาร
พรรคไทยรักไทยทั้ง 111 คน ได้เข้ามาช่วยงานรัฐบาลในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ...มีความสามารถมีศักยภาพในการทำงาน/ 51.7
บ้านเมืองกำลังประสบปัญหาต้องช่วยกัน/มี
ประสบการณ์ในการทำงาน/อยากให้พิสูจน์
ตัวเองอีกครั้ง
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...เป็นการไม่เคารพกติกา/เกรงว่าจะเข้ามาทำเพื่อ 41.6
ประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง/เกรงว่าจะ
เกิดปัญหาวุ่นวายตามมา/ไม่โปร่งใส/ไม่ได้รับ
การเลือกตั้งเป็น ส.ส.ไม่ควรเข้ามายุ่ง
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของสังคมที่มี
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา 57.9
2 คิดว่าไม่ปกติธรรมดา 41.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเป็นไปได้ของการลุกลามบานปลายในความขัดแย้งทางการเมือง
ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะลุกลามบานปลาย 46.0
2 ไม่คิดว่าจะลุกลามบานปลาย 52.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับกลุ่มประชาชนที่สนับสนุน-ไม่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอก ค่าร้อยละ
1 พวกเราต้องการใช้ชีวิตด้วยความสงบปกติสุข / ความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน 50.0
2 ควรเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้ทำงานพิสูจน์ความสามารถสักระยะก่อน 21.2
3 ให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ/ผลประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 16.4
4 ควรวางตัวเป็นกลาง/มีสติ/มีวิจารญาณไตร่ตรองอย่างรอบคอบ 9.9
5 ควรเคารพกฎหมาย-เคารพกฎระเบียบ/เคารพเสียงส่วนใหญ่และประชาธิปไตย 8.5
6 อื่นๆ อาทิ ไม่อยากให้เกิดการนองเลือด/ไม่อยากให้ใช้ความรุนแรง/ให้ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ- 7.6
ของตนเอง/ให้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด/ ช่วยกันแก้ปัญหาบ้านเมืองจะดีกว่า
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนรัฐบาล 26.9
2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 8.1
3 ไม่อยู่ฝ่ายใด (พลังเงียบ) 65.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-