ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและ
สังคมไทยขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,148 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 24 — 29 มีนาคม 2551 ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุก
สัปดาห์
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.8 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 4.1 อยากเห็น
ระดับปานกลาง และที่น่าพิจารณาคือมีประชาชนร้อยละ 7.1 ที่อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขน้อยถึงน้อยที่สุด
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 80.3 คิดว่า
ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ร้อยละ 62.4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 58.2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
ร้อยละ 57.1 คิดว่า การแบ่งขั้วทางการเมืองจะทำให้สังคมไทยแตกแยก และร้อยละ 53.9 คิดว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเข้า
ไปทุกทีแล้ว
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังมีทุกข์มากถึงมากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ภาคเหนือ
ร้อยละ 71.1 ทุกข์เพราะมลพิษทางอากาศ (หมอกควัน) สภาวะเศรษฐกิจ สุขภาพใจ ปัญหาการเมือง เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ
70.5 ทุกข์เพราะ ปัญหาภัยแล้ง สภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ภาคใต้ร้อยละ 65.6 ทุกข์เพราะ ความไม่เป็นธรรม
สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ภาคกลางร้อยละ 53.5 ทุกข์เพราะสภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด สุขภาพใจ และปัญหาครอบครัว คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 39.0 ทุกข์เพราะปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า อาจสรุปสองสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความทุกข์ของประชาชนแต่ละพื้นที่ได้ว่า คนภาคเหนือกำลังทุกข์เพราะมลพิษทาง
อากาศ-เศรษฐกิจ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกข์เพราะ ภัยแล้ง-เศรษฐกิจ คนภาคใต้ทุกข์เพราะความไม่เป็นธรรม-เศรษฐกิจ คนภาคกลางทุกข์
เพราะ เศรษฐกิจ-ความไม่ปลอดภัย ส่วนคนกรุงเทพฯ ทุกข์เพราะ การเมือง-เศรษฐกิจ เป็นหลัก และที่น่าพิจารณาคือ คนภาคเหนือและภาคตะวันออก
เฉียงเหนือกลับมีสัดส่วนของคนที่มีความทุกข์มากกว่าคนภาคใต้ แตกต่างไปจากที่หลายคนอาจเข้าใจว่าคนภาคใต้กำลังเป็นทุกข์จากสถานการณ์ความไม่
สงบในภาคใต้ ดังนั้นหลายหน่วยงานน่าจะลองนำข้อมูลที่ค้นพบไปพิจารณาแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.8 เห็นด้วยกับแนวทางการจัดการกับปัญหาการบุกรุกป่าในภูมิภาค
ต่างๆ ของประเทศขณะนี้ เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จะได้ลดการบุกรุกป่าแบบถาวร เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
และลดปัญหาคอรัปชั่น กำจัดผู้มีอิทธิพล ในขณะที่ร้อยละ 11.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.9 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความกังวลของประชาชนต่อฝ่ายการเมืองในการเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.5 กังวล ร้อยละ 24.6 ไม่กังวล และร้อยละ 37.9 ไม่มีความเห็น โดยคนที่กังวลมากสุดหรือร้อย
ละ 66.1 เป็นคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่คนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเองเกือบ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.2 กังวล และคนที่เคยเลือก
พรรคอื่นๆ ร้อยละ 32.0 กังวลเช่นกัน และเมื่อจำแนกตามภาค พบ คนภาคใต้กังวลมากสุดหรือร้อยละ 50.9 รองลงมาคือ คนกรุงเทพมหานครร้อย
ละ 39.6 และคนภาคกลางร้อยละ 36.0
เมื่อถามถึงความพร้อมสนับสนุน ถ้ามีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ พบว่า ประชาชน 1 ใน
3 หรือร้อยละ 33.7 พร้อมสนับสนุนการชุมนุมเพื่อต่อต้านการแทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ไม่พร้อมสนับสนุน และร้อยละ 46.7 ไม่มีความเห็น
โดยพบด้วยว่า คนเคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.0 พร้อมสนับสนุน และแม้แต่คนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเองเกินกว่า 1 ใน
4 หรือร้อยละ 26.4 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 27.5 พร้อมสนับสนุนเช่นกัน และเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า สัดส่วนของคนภาคใต้ที่พร้อมสนับสนุน
มากกว่าทุกภาคคือร้อยละ 42.6 รองลงมาคือคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 35.0 และภาคกลางร้อยละ 33.3 ตามลำดับ แต่ที่น่าสังเกตคนส่วนใหญ่ในแต่
ละภูมิภาคยังไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.8 ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา เพราะอยากให้รัฐบาลทำงานพิสูจน์ตนเองก่อน เห็นว่า
จะสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินถ้าเลือกตั้งใหม่ ทำให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น สถานการณ์อาจแย่ลงไปอีก และการทำงานช่วยประชาชนจะไม่ต่อ
เนื่อง ในขณะที่เพียงร้อยละ 13.0 เห็นด้วย และร้อยละ 37.2 ไม่มีความเห็น โดยคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เห็นด้วยมากที่สุดหรือร้อยละ
65.3 รองลงมาคือคนภาคกลางร้อยละ 54.9 และคนภาคเหนือร้อยละ 47.5 ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงทางออกของประชาชนเองในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ พบว่าอันดับแรก ร้อยละ 39.1 ระบุต้องพึ่งพาตน
เองให้มากขึ้น ไม่หวังพึ่งรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 19.9 ระบุประชาชนควรรักสามัคคีกัน สมานฉันท์ ช่วยกันแก้ปัญหา อันดับสามร้อยละ 17.0 ระบุ
ให้อดทน อยู่ในความสงบ วางเฉย ไม่ก่อความวุ่นวาย ร้อยละ 12.6 ช่วยกันดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 8.9 ทำตามนโยบายรัฐบาล เป็น
พลเมืองที่ดีของประเทศ ร้อยละ 6.3 ระบุให้เป็นกลาง มีใจเป็นธรรม มองปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแง่ดี และร้อยละ 5.1 ระบุให้ใช้วิจารณญาณ
ในการรับข่าวสาร มีสติอยู่ตลอดเวลา ติดตามข่าวสารเป็นระยะ และดูแลความปลอดภัยของตนเอง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ และรัฐบาล ในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิด
ของประชาชนคนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข และเชื่อว่าความสงบสุขของประเทศไทยจะทำให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ผลวิจัยที่ค้น
พบที่รัฐบาลและฝ่ายการเมืองน่าจะนำไปพิจารณาคือความทุกข์ของประชาชนในแต่ละภูมิภาคและสาเหตุของความทุกข์ความเดือดร้อนของประชาชน ที่
รัฐบาลสามารถนำผลวิจัยไปประกอบการพิจารณาออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความทุกข์ของประชาชนมากกว่าเรื่องปัญหาการเมืองที่ไกลตัว
ประชาชนและเป็นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเฉพาะตัวบุคคล นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากเริ่มรู้สึกกังวลถึงการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและพร้อม
สนับสนุนเพื่อต่อต้านการแทรกแซงทุกรูปแบบ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ประกาศจุดยืนทางการเมืองว่าไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาลและไม่ใช่
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและสังคมไทยขณะ
นี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,148 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 24 — 29 มีนาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนา
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ตราด นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุดรธานี
เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
3,148 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของ
แบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 16.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 31.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.8 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 33.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 12.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.8 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 10.5 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 24.2
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 3.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ มาก-มากที่สุด ปานกลาง น้อย-น้อยที่สุด
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 88.8 4.1 7.1
2 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 81.7 7.8 10.5
3 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤต 80.3 7.3 12.4
4 วิตกกังวลต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ 62.4 12.2 25.4
5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.2 13.2 28.6
6 การแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 57.1 13.8 29.1
7 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน 53.9 13.8 32.3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความทุกข์ที่กำลังประสบในขณะนี้
ลำดับที่ ระดับความทุกข์ของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ทุกข์ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 71.1 53.5 70.5 65.6 39.0 51.3
2 ปานกลาง 27.6 39.1 28.1 31.9 49.1 40.8
3 ค่อนข้างน้อย ถึง น้อยที่สุด 1.3 7.4 1.4 2.5 11.9 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ - ประชาชน “ภาคเหนือ” มีความทุกข์ เพราะ สภาพแวดล้อม มลพิษทางอากาศ สภาวะเศรษฐกิจ สุขภาพใจ ปัญหา
การเมือง ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมกลุ่มแก๊งอันธพาล ปัญหายาเสพติด และความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคกลาง” มีความทุกข์ เพราะ สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด
สุขภาพใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเมือง ความไม่เป็นธรรม และสุขภาพกาย เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีทุกข์ เพราะ สภาพแวดล้อมปัญหาภัยแล้ง สภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง
ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว และความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
- ประชาชน “กรุงเทพมหานคร” มีความทุกข์ เพราะ ปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม ปัญหาครอบครัว
สุขภาพกาย ปัญหาสังคมยาเสพติด และสุขภาพใจ เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคใต้” มีทุกข์ เพราะ ความไม่เป็นธรรม สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหา
ยาเสพติด ปัญหาการเมือง ปัญหาครอบครัว และสุขภาพใจ เป็นต้น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดการกับปัญหาการบุกรุกป่าในเวลานี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ... เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน/จะได้ลดการบุกรุกป่าแบบถาวร/เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย/
เพื่อการคุ้มครองสัตว์ป่า/อนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศไว้/ลดการคอรัปชั่น/เป็นการกำจัดผู้มีอิทธิพล 54.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... เป็นเกมการเมือง / รุนแรงเกินไปอาจเกิดความวุ่นวายมากขึ้น /
อยากให้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนอย่างอื่นก่อน /ไม่อยากให้ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา 11.3
3 ไม่มีความเห็น 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อฝ่ายการเมืองในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ
ยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความกังวลต่อฝ่ายการเมือง คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ ภาพรวม
1 กังวล 66.1 19.2 32.0 37.5
2 ไม่กังวล 11.3 42.3 21.6 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.6 38.5 46.4 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อฝ่ายการเมืองในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ
ยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความกังวลต่อฝ่ายการเมือง เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
1 กังวล 27.4 36.0 25.9 50.9 39.6 37.5
2 ไม่กังวล 28.6 26.8 34.7 9.1 23.1 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.0 37.2 39.4 40.0 37.3 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมถ้าพบการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ กรสนับสนุนการชุมชนเพื่อต่อต้าน คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ ภาพรวม
1 พร้อมสนับสนุน 52.0 26.4 27.5 33.7
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 13.9 29.3 17.0 19.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.1 44.3 55.5 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมถ้าพบการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ กรสนับสนุนการชุมชน เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
เพื่อต่อต้าน
1 พร้อมสนับสนุน 24.1 33.3 26.7 42.6 35.0 33.7
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 16.9 21.0 25.4 11.1 18.9 19.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 59.0 45.7 47.9 46.3 46.1 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ... ไม่มีอะไรดีขึ้น/มีการทุจริตคอรัปชั่น/นักการเมืองเห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตน/รัฐบาลมีวาระซ่อนเร้น/เศรษฐกิจตกต่ำ 13.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...อยากให้รัฐบาลทำงานพิสูจน์ตนเอง/สิ้นเปลืองงบประมาณ
แผ่นดินถ้าต้องเลือกตั้งใหม่/ทำให้ต่างประเทศไม่เชื่อมั่น/
สถานการณ์อาจจะแย่ลงกว่าเดิม/การทำงานแก้ไขปํญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนจะไม่ต่อเนื่อง 49.8
3 ไม่มีความเห็น 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้ เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม.
1 เห็นด้วย 12.0 14.0 10.8 27.9 11.3
2 ไม่เห็นด้วย 47.5 54.9 65.3 43.5 43.3
3 ไม่มีความเห็น 40.5 31.1 23.9 28.6 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของประชาชนในสถานการณ์เช่นปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของประชาชนในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น / ไม่หวังพึ่งรัฐบาล 39.1
2 ประชาชนควรสามัคคีกันไว้/สมานฉันท์/รวมตัวกันช่วยกันแก้ปัญหา 19.9
3 อดทน/อยู่ในความสงบ/วางเฉย/รอดูสถานการณ์/ไม่ก่อความวุ่นวาย 17.0
4 ช่วยกันดูแลเศรษฐกิจของประเทศ 12.6
5 ทำตามนโยบายรัฐบาล /ทำตามกฎระเบียบ/เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ 8.9
6 เป็นกลาง/มีใจเป็นธรรม/มองปํญหาต่างๆทางการเมือง ในแง่ดี 6.3
7 ต้องใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสาร/ มีสติอยู่ตลอดเวลาและ
พิจารณาด้วยความรอบคอบ/ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นระยะ/ดูแล
ความปลอดภัยตัวเองและทรัพย์สินให้มากยิ่งขึ้น 5.1
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและ
สังคมไทยขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,148 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 24 — 29 มีนาคม 2551 ผลสำรวจพบว่าประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุก
สัปดาห์
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.8 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 4.1 อยากเห็น
ระดับปานกลาง และที่น่าพิจารณาคือมีประชาชนร้อยละ 7.1 ที่อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขน้อยถึงน้อยที่สุด
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 80.3 คิดว่า
ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ร้อยละ 62.4 วิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 58.2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง
ร้อยละ 57.1 คิดว่า การแบ่งขั้วทางการเมืองจะทำให้สังคมไทยแตกแยก และร้อยละ 53.9 คิดว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเข้า
ไปทุกทีแล้ว
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังมีทุกข์มากถึงมากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่นๆ คือ ภาคเหนือ
ร้อยละ 71.1 ทุกข์เพราะมลพิษทางอากาศ (หมอกควัน) สภาวะเศรษฐกิจ สุขภาพใจ ปัญหาการเมือง เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ
70.5 ทุกข์เพราะ ปัญหาภัยแล้ง สภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ภาคใต้ร้อยละ 65.6 ทุกข์เพราะ ความไม่เป็นธรรม
สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด เป็นต้น ภาคกลางร้อยละ 53.5 ทุกข์เพราะสภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด สุขภาพใจ และปัญหาครอบครัว คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 39.0 ทุกข์เพราะปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า อาจสรุปสองสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความทุกข์ของประชาชนแต่ละพื้นที่ได้ว่า คนภาคเหนือกำลังทุกข์เพราะมลพิษทาง
อากาศ-เศรษฐกิจ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุกข์เพราะ ภัยแล้ง-เศรษฐกิจ คนภาคใต้ทุกข์เพราะความไม่เป็นธรรม-เศรษฐกิจ คนภาคกลางทุกข์
เพราะ เศรษฐกิจ-ความไม่ปลอดภัย ส่วนคนกรุงเทพฯ ทุกข์เพราะ การเมือง-เศรษฐกิจ เป็นหลัก และที่น่าพิจารณาคือ คนภาคเหนือและภาคตะวันออก
เฉียงเหนือกลับมีสัดส่วนของคนที่มีความทุกข์มากกว่าคนภาคใต้ แตกต่างไปจากที่หลายคนอาจเข้าใจว่าคนภาคใต้กำลังเป็นทุกข์จากสถานการณ์ความไม่
สงบในภาคใต้ ดังนั้นหลายหน่วยงานน่าจะลองนำข้อมูลที่ค้นพบไปพิจารณาแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.8 เห็นด้วยกับแนวทางการจัดการกับปัญหาการบุกรุกป่าในภูมิภาค
ต่างๆ ของประเทศขณะนี้ เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังมานาน จะได้ลดการบุกรุกป่าแบบถาวร เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
และลดปัญหาคอรัปชั่น กำจัดผู้มีอิทธิพล ในขณะที่ร้อยละ 11.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 33.9 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความกังวลของประชาชนต่อฝ่ายการเมืองในการเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 37.5 กังวล ร้อยละ 24.6 ไม่กังวล และร้อยละ 37.9 ไม่มีความเห็น โดยคนที่กังวลมากสุดหรือร้อย
ละ 66.1 เป็นคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่คนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเองเกือบ 1 ใน 5 หรือร้อยละ 19.2 กังวล และคนที่เคยเลือก
พรรคอื่นๆ ร้อยละ 32.0 กังวลเช่นกัน และเมื่อจำแนกตามภาค พบ คนภาคใต้กังวลมากสุดหรือร้อยละ 50.9 รองลงมาคือ คนกรุงเทพมหานครร้อย
ละ 39.6 และคนภาคกลางร้อยละ 36.0
เมื่อถามถึงความพร้อมสนับสนุน ถ้ามีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ พบว่า ประชาชน 1 ใน
3 หรือร้อยละ 33.7 พร้อมสนับสนุนการชุมนุมเพื่อต่อต้านการแทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 19.6 ไม่พร้อมสนับสนุน และร้อยละ 46.7 ไม่มีความเห็น
โดยพบด้วยว่า คนเคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.0 พร้อมสนับสนุน และแม้แต่คนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเองเกินกว่า 1 ใน
4 หรือร้อยละ 26.4 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 27.5 พร้อมสนับสนุนเช่นกัน และเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า สัดส่วนของคนภาคใต้ที่พร้อมสนับสนุน
มากกว่าทุกภาคคือร้อยละ 42.6 รองลงมาคือคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 35.0 และภาคกลางร้อยละ 33.3 ตามลำดับ แต่ที่น่าสังเกตคนส่วนใหญ่ในแต่
ละภูมิภาคยังไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.8 ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา เพราะอยากให้รัฐบาลทำงานพิสูจน์ตนเองก่อน เห็นว่า
จะสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินถ้าเลือกตั้งใหม่ ทำให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่น สถานการณ์อาจแย่ลงไปอีก และการทำงานช่วยประชาชนจะไม่ต่อ
เนื่อง ในขณะที่เพียงร้อยละ 13.0 เห็นด้วย และร้อยละ 37.2 ไม่มีความเห็น โดยคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เห็นด้วยมากที่สุดหรือร้อยละ
65.3 รองลงมาคือคนภาคกลางร้อยละ 54.9 และคนภาคเหนือร้อยละ 47.5 ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงทางออกของประชาชนเองในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ พบว่าอันดับแรก ร้อยละ 39.1 ระบุต้องพึ่งพาตน
เองให้มากขึ้น ไม่หวังพึ่งรัฐบาล รองลงมาคือร้อยละ 19.9 ระบุประชาชนควรรักสามัคคีกัน สมานฉันท์ ช่วยกันแก้ปัญหา อันดับสามร้อยละ 17.0 ระบุ
ให้อดทน อยู่ในความสงบ วางเฉย ไม่ก่อความวุ่นวาย ร้อยละ 12.6 ช่วยกันดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 8.9 ทำตามนโยบายรัฐบาล เป็น
พลเมืองที่ดีของประเทศ ร้อยละ 6.3 ระบุให้เป็นกลาง มีใจเป็นธรรม มองปัญหาต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแง่ดี และร้อยละ 5.1 ระบุให้ใช้วิจารณญาณ
ในการรับข่าวสาร มีสติอยู่ตลอดเวลา ติดตามข่าวสารเป็นระยะ และดูแลความปลอดภัยของตนเอง ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ และรัฐบาล ในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิด
ของประชาชนคนอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข และเชื่อว่าความสงบสุขของประเทศไทยจะทำให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ผลวิจัยที่ค้น
พบที่รัฐบาลและฝ่ายการเมืองน่าจะนำไปพิจารณาคือความทุกข์ของประชาชนในแต่ละภูมิภาคและสาเหตุของความทุกข์ความเดือดร้อนของประชาชน ที่
รัฐบาลสามารถนำผลวิจัยไปประกอบการพิจารณาออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความทุกข์ของประชาชนมากกว่าเรื่องปัญหาการเมืองที่ไกลตัว
ประชาชนและเป็นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเฉพาะตัวบุคคล นอกจากนี้ประชาชนจำนวนมากเริ่มรู้สึกกังวลถึงการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและพร้อม
สนับสนุนเพื่อต่อต้านการแทรกแซงทุกรูปแบบ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ประกาศจุดยืนทางการเมืองว่าไม่อยู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือไม่ใช่ฝ่ายรัฐบาลและไม่ใช่
ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของสาธารณชนต่อสถานการณ์การเมืองและสังคมไทยขณะ
นี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,148 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 24 — 29 มีนาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนา
ใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ตราด นครนายก นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุดรธานี
เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
3,148 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของ
แบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 16.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.5 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 31.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.8 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 33.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 29.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 12.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.8 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.2 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.1 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 10.5 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 24.2
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 18.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 3.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ มาก-มากที่สุด ปานกลาง น้อย-น้อยที่สุด
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 88.8 4.1 7.1
2 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 81.7 7.8 10.5
3 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤต 80.3 7.3 12.4
4 วิตกกังวลต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ 62.4 12.2 25.4
5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.2 13.2 28.6
6 การแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 57.1 13.8 29.1
7 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน 53.9 13.8 32.3
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความทุกข์ที่กำลังประสบในขณะนี้
ลำดับที่ ระดับความทุกข์ของประชาชน เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
1 ทุกข์ค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด 71.1 53.5 70.5 65.6 39.0 51.3
2 ปานกลาง 27.6 39.1 28.1 31.9 49.1 40.8
3 ค่อนข้างน้อย ถึง น้อยที่สุด 1.3 7.4 1.4 2.5 11.9 7.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ - ประชาชน “ภาคเหนือ” มีความทุกข์ เพราะ สภาพแวดล้อม มลพิษทางอากาศ สภาวะเศรษฐกิจ สุขภาพใจ ปัญหา
การเมือง ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมกลุ่มแก๊งอันธพาล ปัญหายาเสพติด และความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคกลาง” มีความทุกข์ เพราะ สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหายาเสพติด
สุขภาพใจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเมือง ความไม่เป็นธรรม และสุขภาพกาย เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีทุกข์ เพราะ สภาพแวดล้อมปัญหาภัยแล้ง สภาวะเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง
ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว และความไม่เป็นธรรม เป็นต้น
- ประชาชน “กรุงเทพมหานคร” มีความทุกข์ เพราะ ปัญหาการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม ปัญหาครอบครัว
สุขภาพกาย ปัญหาสังคมยาเสพติด และสุขภาพใจ เป็นต้น
- ประชาชน “ภาคใต้” มีทุกข์ เพราะ ความไม่เป็นธรรม สภาวะเศรษฐกิจ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหา
ยาเสพติด ปัญหาการเมือง ปัญหาครอบครัว และสุขภาพใจ เป็นต้น
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดการกับปัญหาการบุกรุกป่าในเวลานี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ... เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน/จะได้ลดการบุกรุกป่าแบบถาวร/เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย/
เพื่อการคุ้มครองสัตว์ป่า/อนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศไว้/ลดการคอรัปชั่น/เป็นการกำจัดผู้มีอิทธิพล 54.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... เป็นเกมการเมือง / รุนแรงเกินไปอาจเกิดความวุ่นวายมากขึ้น /
อยากให้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนอย่างอื่นก่อน /ไม่อยากให้ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหา 11.3
3 ไม่มีความเห็น 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อฝ่ายการเมืองในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ
ยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความกังวลต่อฝ่ายการเมือง คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ ภาพรวม
1 กังวล 66.1 19.2 32.0 37.5
2 ไม่กังวล 11.3 42.3 21.6 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.6 38.5 46.4 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อฝ่ายการเมืองในการเข้ามาแทรกแซงกระบวนการ
ยุติธรรมเพื่อช่วย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความกังวลต่อฝ่ายการเมือง เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
1 กังวล 27.4 36.0 25.9 50.9 39.6 37.5
2 ไม่กังวล 28.6 26.8 34.7 9.1 23.1 24.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 44.0 37.2 39.4 40.0 37.3 37.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมถ้าพบการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ กรสนับสนุนการชุมชนเพื่อต่อต้าน คนเคยเลือกประชาธิปัตย์ คนเคยเลือกพลังประชาชน คนเคยเลือกพรรคอื่นๆ ภาพรวม
1 พร้อมสนับสนุน 52.0 26.4 27.5 33.7
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 13.9 29.3 17.0 19.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.1 44.3 55.5 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมถ้าพบการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ กรสนับสนุนการชุมชน เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม. ภาพรวม
เพื่อต่อต้าน
1 พร้อมสนับสนุน 24.1 33.3 26.7 42.6 35.0 33.7
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 16.9 21.0 25.4 11.1 18.9 19.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 59.0 45.7 47.9 46.3 46.1 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ... ไม่มีอะไรดีขึ้น/มีการทุจริตคอรัปชั่น/นักการเมืองเห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตน/รัฐบาลมีวาระซ่อนเร้น/เศรษฐกิจตกต่ำ 13.0
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ...อยากให้รัฐบาลทำงานพิสูจน์ตนเอง/สิ้นเปลืองงบประมาณ
แผ่นดินถ้าต้องเลือกตั้งใหม่/ทำให้ต่างประเทศไม่เชื่อมั่น/
สถานการณ์อาจจะแย่ลงกว่าเดิม/การทำงานแก้ไขปํญหา
ความเดือดร้อนของประชาชนจะไม่ต่อเนื่อง 49.8
3 ไม่มีความเห็น 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวทางการยุบสภาในขณะนี้ เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กทม.
1 เห็นด้วย 12.0 14.0 10.8 27.9 11.3
2 ไม่เห็นด้วย 47.5 54.9 65.3 43.5 43.3
3 ไม่มีความเห็น 40.5 31.1 23.9 28.6 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อทางออกของประชาชนในสถานการณ์เช่นปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของประชาชนในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น / ไม่หวังพึ่งรัฐบาล 39.1
2 ประชาชนควรสามัคคีกันไว้/สมานฉันท์/รวมตัวกันช่วยกันแก้ปัญหา 19.9
3 อดทน/อยู่ในความสงบ/วางเฉย/รอดูสถานการณ์/ไม่ก่อความวุ่นวาย 17.0
4 ช่วยกันดูแลเศรษฐกิจของประเทศ 12.6
5 ทำตามนโยบายรัฐบาล /ทำตามกฎระเบียบ/เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ 8.9
6 เป็นกลาง/มีใจเป็นธรรม/มองปํญหาต่างๆทางการเมือง ในแง่ดี 6.3
7 ต้องใช้วิจารณญาณในการรับรู้ข่าวสาร/ มีสติอยู่ตลอดเวลาและ
พิจารณาด้วยความรอบคอบ/ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นระยะ/ดูแล
ความปลอดภัยตัวเองและทรัพย์สินให้มากยิ่งขึ้น 5.1
--เอแบคโพลล์--
-พห-