ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ (The ABAC Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง
เทศกาลสงกรานต์ ดารา นักร้อง นักการเมือง การท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 14 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัด
ของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,997 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-5 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 ให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์ โดยสิ่งที่นึกถึงอันดับแรก ร้อยละ 79.9 ระบุการรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ รองลงมา
คือ ร้อยละ 71.2 นึกถึงการสรงน้ำพระ ร้อยละ 70.6 นึกถึงการทำบุญตักบาตร ร้อยละ 54.5 นึกถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทย ร้อยละ 54.0 นึกถึงวัน
ครอบครัว ร้อยละ 51.2 นึกถึงการเล่นสาดน้ำ ร้อยละ 50.5 นึกถึงวันหยุดพักผ่อน ร้อยละ 47.4 นึกถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ร้อย
ละ 39.2 นึกถึงวันผู้สูงอายุ ร้อยละ 30.8 นึกถึงการท่องเที่ยว และร้อยละ 28.8 นึกถึงงานเลี้ยงฉลอง พบปะสังสรรค์ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ดารานักแสดงชายที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วยอันดับแรก ได้แก่ เคน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ ร้อยละ 27.0 อันดับสอง
ได้แก่ อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ ร้อยละ 10.9 อันดับสาม ได้แก่ เวียร์ ศกุลวัฒน์ ร้อยละ 10.3 อันดับสี่ ได้แก่ ซี ศิวัฒน์ ร้อยละ 8.3 และอันดับห้า
ได้แก่ ติ๊ก เจษฎาพร ผลดี ร้อยละ 7.9 ในสัดส่วนที่เท่ากันกับ ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ และ วี วีรภาพ สุภาพไพบูลย์
สำหรับ ดารานักแสดงหญิง ที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วย อันดับแรก ได้แก่ แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ร้อยละ 27.7 อันดับสอง
ได้แก่ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 24.9 อันดับสามได้แก่ พอลล่า เทเลอร์ ร้อยละ 13.8 อันดับสี่ได้แก่ นุ่น วรนุช วงศ์สวรรค์ ร้อยละ 9.0
และขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ ร้อยละ 9.0 เช่นกัน
นอกจากนี้ ดารานักร้องชายที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วย อันดับแรก ได้แก่ ตูน บอดี้สแลม ร้อยละ 21.2 อันดับสอง ได้แก่ ปั๊ป โป
เตโต ร้อยละ 13.4 อันดับสาม ได้แก่ โดม ปกรณ์ ลัม ร้อยละ 12.0 อันดับสี่ ได้แก่ แบงค์ วงแคลช ร้อยละ 11.1 และอันดับห้า ได้แก่ ฟิล์ม รัฐ
ภูมิ ร้อยละ 10.2 ตามลำดับ
สำหรับ ดารานักร้องหญิง พบว่า อันดับแรก ได้แก่ โฟร์ สกลรัตน์ วรอุไร ร้อยละ 27.3 อันดับสอง ได้แก่ ดา เอ็นโดฟิน ธนิดา ธรรม
วิมล ร้อยละ 22.7 อันดับสาม ได้แก่ พันซ์ วรกานต์ ร้อยละ 18.2 อันดับสี่ ได้แก่ มด ชุติมณฑ์ ร้อยละ 10.9 และอันดับห้า อมิตา ทาทา ยัง ร้อย
ละ 10.2 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวด้วย อันดับแรกในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 50.0 ระบุ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่อันดับแรกในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นระบุเป็น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดเป็นร้อยละ 44.7 ที่น่าสนใจคือ นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช อยู่ในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี และ
อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในสัดส่วนพอๆ กันคือ ร้อยละ 43.2 และร้อยละ 41.4
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนมีแนวโน้มตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเทศกาลตรุษจีน คือจาก
ร้อยละ 21.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 48.2 ในขณะที่ร้อยละ 51.8 ตั้งใจจะไม่ไปไหนในการสำรวจล่าสุด โดยในภาคเหนือ จังหวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยว
พบว่า ร้อยละ 43.0 ระบุเชียงใหม่ ร้อยละ 7.5 ระบุนครสวรรค์ และร้อยละ 7.2 ระบุเชียงราย ตามลำดับ ในภาคกลาง พบ จังหวัดยอดนิยม
ได้แก่ ร้อยละ 27.2 ระบุชลบุรี ร้อยละ 10.2 ระบุอยุธยา และร้อยละ 10.0 ระบุกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ พบ จังหวัดยอดนิยมได้แก่ ร้อยละ 18.7 ระบุนครราชสีมา ร้อยละ 14.0 ระบุอุบลราชธานี และร้อยละ 10.8 ระบุขอนแก่น ส่วนภาคใต้ พบ
จังหวัดยอดนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวได้แก่ ภูเก็ตร้อยละ 22.3 อันดับสองได้แก่ จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 14.6 อันดับสาม ได้แก่ นครศรีธรรมราชและ
สงขลา ได้ร้อยละ 13.4 เท่ากัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ สิ่งที่ประชาชนกังวลจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ระบุเป็นอุบัติเหตุ รองลง
มาคือ ร้อยละ 58.3 ระบุปัญหาการลวนลามทางเพศ ร้อยละ 56.7 กังวลเรื่อง โจรผู้ร้าย บ้านถูกงัดแงะ ร้อยละ 47.1 ระบุแก๊งค์รถซิ่ง ร้อยละ
43.3 กังวลปัญหาทะเลาะวิวาท และร้อยละ 40.9 กังวลระเบิดป่วนเมือง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 ระบุจะใช้จ่ายเงินช่วงสงกรานต์ค่อนข้างน้อย-น้อย หรืออย่างประหยัด โดยให้เหตุผล
ว่า ไม่ค่อยมีเงิน ของแพง รายได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี เก็บเงินไว้ฉุกเฉิน ปัจจัยการเมือง เหตุการณ์บ้านเมืองไม่แน่นอน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
เก็บเงินไว้ตอนเปิดเทอม และเสียดายเงิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุจะใช้จ่ายเงินค่อนข้างมาก ถึงมาก
และเมื่อประมาณการวงเงินสะพัดค่าเฉลี่ยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ปีนี้ พบค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,115.88 บาทต่อคน หรือประมาณสองพัน
บาทต่อคน โดยมีผลประมาณการอยู่ที่ 52,317,609,642.91 บาท (ประมาณห้าหมื่นสองพันล้านบาท) ในขณะที่สินค้าชิ้นใหญ่ที่ประชาชนตั้งงบประมาณไว้
ในการซื้อถ้าจำเป็น พบว่า บ้านหลังใหม่อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านบาท รถยนต์คันใหม่อยู่ที่ 6.8 แสนบาท โทรทัศน์เครื่องใหม่อยู่ที่ 1 หมื่น 3 พันบาท
และเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ประมาณหนึ่งหมื่นบาท ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเพณีสงกรานต์ยังคงได้รับความนิยมสืบสานต่อในกลุ่มประชาชนคน
ไทย แม้คนไทยจะอยู่ในท่ามกลางความไม่แน่นอนของอนาคตทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คนไทยประมาณครึ่งหนึ่งยังคงตั้งใจจะท่องเที่ยวตาม
จังหวัดต่างๆ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และยังนึกถึงการรดน้ำดำหัว การเล่นน้ำสงกรานต์กับคนอื่นๆ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ต่อกันของคนในสังคม ดัง
นั้น ช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสที่ทุกฝ่ายหันหน้ามาช่วยกันทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ มากกว่าการรวมตัวกัน
เพื่อแบ่งแยกแบ่งกลุ่มให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคม อย่างไรก็ตาม ขณะที่หลายคนกำลังนึกถึงความสนุกสนานรื่นเริงต่างๆ ผลสำรวจครั้งนี้อาจ
เตือนให้ประชาชนทั่วไปได้ระวังเรื่องอุบัติเหตุ การลวนลามทางเพศ การทะเลาะวิวาท โจรผู้ร้ายและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอื่นๆ ในช่วง
เทศกาลนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเทศกาลสงกรานต์ และบุคคลที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจท่องเที่ยวในประเทศและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง เทศกาลสงกรานต์ ดารา นักร้อง นักการเมือง การ
ท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 14 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,997 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-5 เมษายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
อ่างทอง ลพบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช
สุราษฎร์ธานี พัทลุง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,997 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.7 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 24.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.6 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.0 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 82.3
2 ไม่ให้ความสำคัญ 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 การรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ 79.9
2 การสรงน้ำพระ 71.2
3 การทำบุญตักบาตร 70.6
4 วันขึ้นปีใหม่ของไทย 54.5
5 วันครอบครัว 54.0
6 การเล่นสาดน้ำ 51.2
7 วันหยุดพักผ่อน 50.5
8 การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ 47.4
9 วันผู้สูงอายุ 39.2
10 การท่องเที่ยว 30.8
11 การเลี้ยงฉลอง/พบปะสังสรรค์ 28.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักแสดงชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดารานักแสดงชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 เคน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ 27.0
2 อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ 10.9
3 เวียร์ ศกุลวัฒน์ 10.3
4 ซี ศิวัฒน์ 8.3
5 ติ๊ก เจษฎาพร ผลดี 7.9
6 ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ 7.9
7 วี วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ 7.9
8 น้ำ ระพีพัฒน์ เอกพันธ์กุล 7.6
9 พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ 6.9
10 อื่นๆ อาทิ ศรราม เทพพิทักษ์ /ชาคริต แย้มนาม/ณัฐวุฒิ สะกิดใจ 14.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักแสดงหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดารานักแสดงหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ 27.7
2 อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ 24.9
3 พอลล่า เทเลอร์ 13.8
4 นุ่น วรนุช วงศ์สวรรค์ 9.0
5 ขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ 9.0
6 แอน ทองประสม 7.5
7 โฟกัส จีระกุล 7.3
8 อรจิรา แหลมวิไล 4.6
9 ปานวาด เหมมณี 4.6
10 อื่นๆ อาทิ วรัทยา นิลคูหา /โฟร์-ศกลรัตน์ วรอุไร/แอฟ-ทักษอร 12.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักร้องชายที่อยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักร้องชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 ตูน บอดี้สแลม 21.2
2 ปั๊บ โปเตโต 13.4
3 โดม ปกรณ์ ลัม 12.0
4 แบงค์ วงแคลช 11.1
5 ฟิล์ม รัฐภูมิ 10.2
6 บี้ เดอะสตาร์ 8.2
7 บีม ดีทูบี 6.1
8 ไททาเนี่ยม 6.1
9 แดน ดีทูบี 5.0
10 ว่าน AF 4.4
11 อื่นๆ อาทิ มอส-ปฎิภาณ/เต๋า-สมชาย/ก็อต จักรพันธ์/โต๋ 7.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักร้องหญิงที่อยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักร้องหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 โฟร์-สกลรัตน์ วรอุไร 27.3
2 ดา อินโดฟิน ธนิดา ธรรมวิมล 22.7
3 พันซ์ —วรกานต์ 18.2
4 มด-ชุติมณฑ์ 10.9
5 อมิตา ทาทา ยัง 10.2
6 ฟาง ธนันต์ธรณ์ 7.8
7 อีฟ ปานเจริญ 7.3
8 อื่นๆ อาทิ นัท-มีเรีย /ตอง-ภัครมัย/ลิเดีย/ปาน-ธนพร 7.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างอยากรดน้ำดำหัว ต่ำกว่า 20 ปี 20 ปีขึ้นไป
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 50.0 37.3
2 นายสมัคร สุนทรเวช 43.2 41.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 31.8 44.7
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 14.0 12.7
5 นายชวน หลีกภัย 12.9 11.0
6 อื่นๆ 17.5 18.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความตั้งใจท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตรุษจีน สงกรานต์
ร้อยละ ร้อยละ
1 ตั้งใจจะไปเที่ยว 21.1 48.2
2 ไม่ไปไหน 78.9 51.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจังหวัดที่ตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ จังหวัดที่ตั้งใจจะเดินทางท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ภาคเหนือ
เชียงใหม่ 43.0
นครสวรรค์ 7.5
เชียงราย 7.2
ลำปาง 6.8
พิจิตร 6.1
อื่นๆ อาทิ แม่ฮ่องสอน /พิษณุโลก / เพชรบูรณ์/พะเยา/ตาก/กำแพงเพชร/แพร่ 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
2 ภาคกลาง
ชลบุรี 27.2
พระนครศรีอยุธยา 10.2
กาญจนบุรี 10.0
ประจวบคีรีขันธ์ 10.0
ระยอง 8.7
อื่นๆ อาทิ เพชรบุรี/สุพรรณบุรี/ลพบุรี/นครปฐม/ราชบุรี 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นครราชสีมา 18.7
อุบลราชธานี 14.0
ขอนแก่น 10.8
อุดรธานี 10.4
สกลนคร 10.1
อื่นๆ อาทิ ร้อยเอ็ด/หนองคาย/ชัยภูมิ/บุรีรัมย์/ศรีสะเกษ 36.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
4 ภาคใต้
ภูเก็ต 22.3
กระบี่ 14.6
นครศรีธรรมราช 13.4
สงขลา 13.4
สุราษฎร์ธานี 8.9
อื่นๆ อาทิ ชุมพร/ตรัง/พังงา/พัทลุง/ปัตตานี 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กังวลว่าจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กังวลว่าจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 อุบัติเหตุ 73.4
2 ปัญหาการลวนลามทางเพศ 58.3
3 โจรผู้ร้าย บ้านถูกงัดแงะ 56.7
4 แก๊งค์รถซิ่ง 47.1
5 การทะเลาะวิวาท 43.3
6 ระเบิดป่วนเมือง 40.9
7 ความขัดแย้งทางการเมือง 38.0
8 ปัญหาเศรษฐกิจ 37.4
9 โรคภัยไข้เจ็บ 12.2
10 อื่นๆ 6.9
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ค่อนข้างมาก — มาก 34.3
2 ค่อนข้างน้อย — น้อย (ประหยัด) 65.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ได้แก่
1. ไม่ค่อยมีเงิน ของแพง
2. รายได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี
3. เก็บเงินไว้ฉุกเฉิน
4. ปัจจัยด้านการเมือง เหตุการณ์บ้านเมืองไม่แน่นอน
5. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
6. เก็บเงินไว้ตอนเปิดเทอม
7. เสียดายเงิน
ตารางที่ 12 แสดงผลการประมาณการวงเงินสะพัดค่าเฉลี่ยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี พ.ศ.2551
การใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศช่วงสงกรานต์ ค่าเฉลี่ยต่อคน ผลประมาณการ
(บาท) (บาท)
วงเงินที่ประชาชนตั้งใจจะใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวในประเทศ 2,115.88 52,317,609,642.91
หมายเหตุ ผลประมาณการเฉพาะคนที่ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุราคาของสินค้าชิ้นใหญ่ ที่ตั้งงบประมาณไว้หากมีความจำเป็นต้องซื้อ
ลำดับที่ รายการสินค้า ราคาที่ตั่งไว้โดยเฉลี่ย (บาท)
1 บ้านหลังใหม่ 1,502,718.00
2 รถยนต์คันใหม่ 687,829.50
3 โทรทัศน์เครื่องใหม่ 13,663.92
4 เครื่องปรับอากาศ 10,752.49
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชัญ (The ABAC Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง
เทศกาลสงกรานต์ ดารา นักร้อง นักการเมือง การท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 14 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัด
ของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,997 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-5 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบ
ว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.3 ให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์ โดยสิ่งที่นึกถึงอันดับแรก ร้อยละ 79.9 ระบุการรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ รองลงมา
คือ ร้อยละ 71.2 นึกถึงการสรงน้ำพระ ร้อยละ 70.6 นึกถึงการทำบุญตักบาตร ร้อยละ 54.5 นึกถึงวันขึ้นปีใหม่ของไทย ร้อยละ 54.0 นึกถึงวัน
ครอบครัว ร้อยละ 51.2 นึกถึงการเล่นสาดน้ำ ร้อยละ 50.5 นึกถึงวันหยุดพักผ่อน ร้อยละ 47.4 นึกถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ร้อย
ละ 39.2 นึกถึงวันผู้สูงอายุ ร้อยละ 30.8 นึกถึงการท่องเที่ยว และร้อยละ 28.8 นึกถึงงานเลี้ยงฉลอง พบปะสังสรรค์ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ดารานักแสดงชายที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วยอันดับแรก ได้แก่ เคน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ ร้อยละ 27.0 อันดับสอง
ได้แก่ อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ ร้อยละ 10.9 อันดับสาม ได้แก่ เวียร์ ศกุลวัฒน์ ร้อยละ 10.3 อันดับสี่ ได้แก่ ซี ศิวัฒน์ ร้อยละ 8.3 และอันดับห้า
ได้แก่ ติ๊ก เจษฎาพร ผลดี ร้อยละ 7.9 ในสัดส่วนที่เท่ากันกับ ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ และ วี วีรภาพ สุภาพไพบูลย์
สำหรับ ดารานักแสดงหญิง ที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วย อันดับแรก ได้แก่ แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ร้อยละ 27.7 อันดับสอง
ได้แก่ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ ร้อยละ 24.9 อันดับสามได้แก่ พอลล่า เทเลอร์ ร้อยละ 13.8 อันดับสี่ได้แก่ นุ่น วรนุช วงศ์สวรรค์ ร้อยละ 9.0
และขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ ร้อยละ 9.0 เช่นกัน
นอกจากนี้ ดารานักร้องชายที่ประชาชนอยากเล่นสงกรานต์ด้วย อันดับแรก ได้แก่ ตูน บอดี้สแลม ร้อยละ 21.2 อันดับสอง ได้แก่ ปั๊ป โป
เตโต ร้อยละ 13.4 อันดับสาม ได้แก่ โดม ปกรณ์ ลัม ร้อยละ 12.0 อันดับสี่ ได้แก่ แบงค์ วงแคลช ร้อยละ 11.1 และอันดับห้า ได้แก่ ฟิล์ม รัฐ
ภูมิ ร้อยละ 10.2 ตามลำดับ
สำหรับ ดารานักร้องหญิง พบว่า อันดับแรก ได้แก่ โฟร์ สกลรัตน์ วรอุไร ร้อยละ 27.3 อันดับสอง ได้แก่ ดา เอ็นโดฟิน ธนิดา ธรรม
วิมล ร้อยละ 22.7 อันดับสาม ได้แก่ พันซ์ วรกานต์ ร้อยละ 18.2 อันดับสี่ ได้แก่ มด ชุติมณฑ์ ร้อยละ 10.9 และอันดับห้า อมิตา ทาทา ยัง ร้อย
ละ 10.2 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ นักการเมืองที่ประชาชนอยากรดน้ำดำหัวด้วย อันดับแรกในกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 50.0 ระบุ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่อันดับแรกในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นระบุเป็น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดเป็นร้อยละ 44.7 ที่น่าสนใจคือ นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช อยู่ในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี และ
อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปในสัดส่วนพอๆ กันคือ ร้อยละ 43.2 และร้อยละ 41.4
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนมีแนวโน้มตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเทศกาลตรุษจีน คือจาก
ร้อยละ 21.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 48.2 ในขณะที่ร้อยละ 51.8 ตั้งใจจะไม่ไปไหนในการสำรวจล่าสุด โดยในภาคเหนือ จังหวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยว
พบว่า ร้อยละ 43.0 ระบุเชียงใหม่ ร้อยละ 7.5 ระบุนครสวรรค์ และร้อยละ 7.2 ระบุเชียงราย ตามลำดับ ในภาคกลาง พบ จังหวัดยอดนิยม
ได้แก่ ร้อยละ 27.2 ระบุชลบุรี ร้อยละ 10.2 ระบุอยุธยา และร้อยละ 10.0 ระบุกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ตามลำดับ ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ พบ จังหวัดยอดนิยมได้แก่ ร้อยละ 18.7 ระบุนครราชสีมา ร้อยละ 14.0 ระบุอุบลราชธานี และร้อยละ 10.8 ระบุขอนแก่น ส่วนภาคใต้ พบ
จังหวัดยอดนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวได้แก่ ภูเก็ตร้อยละ 22.3 อันดับสองได้แก่ จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 14.6 อันดับสาม ได้แก่ นครศรีธรรมราชและ
สงขลา ได้ร้อยละ 13.4 เท่ากัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ สิ่งที่ประชาชนกังวลจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ระบุเป็นอุบัติเหตุ รองลง
มาคือ ร้อยละ 58.3 ระบุปัญหาการลวนลามทางเพศ ร้อยละ 56.7 กังวลเรื่อง โจรผู้ร้าย บ้านถูกงัดแงะ ร้อยละ 47.1 ระบุแก๊งค์รถซิ่ง ร้อยละ
43.3 กังวลปัญหาทะเลาะวิวาท และร้อยละ 40.9 กังวลระเบิดป่วนเมือง ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 ระบุจะใช้จ่ายเงินช่วงสงกรานต์ค่อนข้างน้อย-น้อย หรืออย่างประหยัด โดยให้เหตุผล
ว่า ไม่ค่อยมีเงิน ของแพง รายได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี เก็บเงินไว้ฉุกเฉิน ปัจจัยการเมือง เหตุการณ์บ้านเมืองไม่แน่นอน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
เก็บเงินไว้ตอนเปิดเทอม และเสียดายเงิน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุจะใช้จ่ายเงินค่อนข้างมาก ถึงมาก
และเมื่อประมาณการวงเงินสะพัดค่าเฉลี่ยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ปีนี้ พบค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2,115.88 บาทต่อคน หรือประมาณสองพัน
บาทต่อคน โดยมีผลประมาณการอยู่ที่ 52,317,609,642.91 บาท (ประมาณห้าหมื่นสองพันล้านบาท) ในขณะที่สินค้าชิ้นใหญ่ที่ประชาชนตั้งงบประมาณไว้
ในการซื้อถ้าจำเป็น พบว่า บ้านหลังใหม่อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านบาท รถยนต์คันใหม่อยู่ที่ 6.8 แสนบาท โทรทัศน์เครื่องใหม่อยู่ที่ 1 หมื่น 3 พันบาท
และเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ประมาณหนึ่งหมื่นบาท ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเพณีสงกรานต์ยังคงได้รับความนิยมสืบสานต่อในกลุ่มประชาชนคน
ไทย แม้คนไทยจะอยู่ในท่ามกลางความไม่แน่นอนของอนาคตทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คนไทยประมาณครึ่งหนึ่งยังคงตั้งใจจะท่องเที่ยวตาม
จังหวัดต่างๆ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และยังนึกถึงการรดน้ำดำหัว การเล่นน้ำสงกรานต์กับคนอื่นๆ เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ต่อกันของคนในสังคม ดัง
นั้น ช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสที่ทุกฝ่ายหันหน้ามาช่วยกันทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ มากกว่าการรวมตัวกัน
เพื่อแบ่งแยกแบ่งกลุ่มให้เกิดความแตกแยกของคนในสังคม อย่างไรก็ตาม ขณะที่หลายคนกำลังนึกถึงความสนุกสนานรื่นเริงต่างๆ ผลสำรวจครั้งนี้อาจ
เตือนให้ประชาชนทั่วไปได้ระวังเรื่องอุบัติเหตุ การลวนลามทางเพศ การทะเลาะวิวาท โจรผู้ร้ายและความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอื่นๆ ในช่วง
เทศกาลนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเทศกาลสงกรานต์ และบุคคลที่อยากเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจท่องเที่ยวในประเทศและพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง เทศกาลสงกรานต์ ดารา นักร้อง นักการเมือง การ
ท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 14 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,997 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 มีนาคม-5 เมษายน พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
อ่างทอง ลพบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ เชียงราย อุตรดิตถ์ สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช
สุราษฎร์ธานี พัทลุง เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,997 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.7 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 24.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.6 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.1 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.0 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.4 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญกับเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 82.3
2 ไม่ให้ความสำคัญ 17.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นึกถึงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นึกถึงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 การรดน้ำอวยพรผู้ใหญ่ 79.9
2 การสรงน้ำพระ 71.2
3 การทำบุญตักบาตร 70.6
4 วันขึ้นปีใหม่ของไทย 54.5
5 วันครอบครัว 54.0
6 การเล่นสาดน้ำ 51.2
7 วันหยุดพักผ่อน 50.5
8 การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ 47.4
9 วันผู้สูงอายุ 39.2
10 การท่องเที่ยว 30.8
11 การเลี้ยงฉลอง/พบปะสังสรรค์ 28.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักแสดงชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดารานักแสดงชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 เคน ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ 27.0
2 อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์ 10.9
3 เวียร์ ศกุลวัฒน์ 10.3
4 ซี ศิวัฒน์ 8.3
5 ติ๊ก เจษฎาพร ผลดี 7.9
6 ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ 7.9
7 วี วีรภาพ สุภาพไพบูลย์ 7.9
8 น้ำ ระพีพัฒน์ เอกพันธ์กุล 7.6
9 พอล ภัทรพล ศิลปาจารย์ 6.9
10 อื่นๆ อาทิ ศรราม เทพพิทักษ์ /ชาคริต แย้มนาม/ณัฐวุฒิ สะกิดใจ 14.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักแสดงหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ดารานักแสดงหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ 27.7
2 อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ 24.9
3 พอลล่า เทเลอร์ 13.8
4 นุ่น วรนุช วงศ์สวรรค์ 9.0
5 ขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ 9.0
6 แอน ทองประสม 7.5
7 โฟกัส จีระกุล 7.3
8 อรจิรา แหลมวิไล 4.6
9 ปานวาด เหมมณี 4.6
10 อื่นๆ อาทิ วรัทยา นิลคูหา /โฟร์-ศกลรัตน์ วรอุไร/แอฟ-ทักษอร 12.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักร้องชายที่อยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักร้องชายที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 ตูน บอดี้สแลม 21.2
2 ปั๊บ โปเตโต 13.4
3 โดม ปกรณ์ ลัม 12.0
4 แบงค์ วงแคลช 11.1
5 ฟิล์ม รัฐภูมิ 10.2
6 บี้ เดอะสตาร์ 8.2
7 บีม ดีทูบี 6.1
8 ไททาเนี่ยม 6.1
9 แดน ดีทูบี 5.0
10 ว่าน AF 4.4
11 อื่นๆ อาทิ มอส-ปฎิภาณ/เต๋า-สมชาย/ก็อต จักรพันธ์/โต๋ 7.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดารานักร้องหญิงที่อยากเล่นสงกรานต์ด้วย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักร้องหญิงที่กลุ่มตัวอย่างอยากเล่นสงกรานต์ด้วย ค่าร้อยละ
1 โฟร์-สกลรัตน์ วรอุไร 27.3
2 ดา อินโดฟิน ธนิดา ธรรมวิมล 22.7
3 พันซ์ —วรกานต์ 18.2
4 มด-ชุติมณฑ์ 10.9
5 อมิตา ทาทา ยัง 10.2
6 ฟาง ธนันต์ธรณ์ 7.8
7 อีฟ ปานเจริญ 7.3
8 อื่นๆ อาทิ นัท-มีเรีย /ตอง-ภัครมัย/ลิเดีย/ปาน-ธนพร 7.1
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองที่อยากรดน้ำดำหัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองที่กลุ่มตัวอย่างอยากรดน้ำดำหัว ต่ำกว่า 20 ปี 20 ปีขึ้นไป
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 50.0 37.3
2 นายสมัคร สุนทรเวช 43.2 41.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 31.8 44.7
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 14.0 12.7
5 นายชวน หลีกภัย 12.9 11.0
6 อื่นๆ 17.5 18.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความตั้งใจท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตรุษจีน สงกรานต์
ร้อยละ ร้อยละ
1 ตั้งใจจะไปเที่ยว 21.1 48.2
2 ไม่ไปไหน 78.9 51.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจังหวัดที่ตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ จังหวัดที่ตั้งใจจะเดินทางท่องเที่ยวช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ภาคเหนือ
เชียงใหม่ 43.0
นครสวรรค์ 7.5
เชียงราย 7.2
ลำปาง 6.8
พิจิตร 6.1
อื่นๆ อาทิ แม่ฮ่องสอน /พิษณุโลก / เพชรบูรณ์/พะเยา/ตาก/กำแพงเพชร/แพร่ 29.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
2 ภาคกลาง
ชลบุรี 27.2
พระนครศรีอยุธยา 10.2
กาญจนบุรี 10.0
ประจวบคีรีขันธ์ 10.0
ระยอง 8.7
อื่นๆ อาทิ เพชรบุรี/สุพรรณบุรี/ลพบุรี/นครปฐม/ราชบุรี 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นครราชสีมา 18.7
อุบลราชธานี 14.0
ขอนแก่น 10.8
อุดรธานี 10.4
สกลนคร 10.1
อื่นๆ อาทิ ร้อยเอ็ด/หนองคาย/ชัยภูมิ/บุรีรัมย์/ศรีสะเกษ 36.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
4 ภาคใต้
ภูเก็ต 22.3
กระบี่ 14.6
นครศรีธรรมราช 13.4
สงขลา 13.4
สุราษฎร์ธานี 8.9
อื่นๆ อาทิ ชุมพร/ตรัง/พังงา/พัทลุง/ปัตตานี 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่กังวลว่าจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่กังวลว่าจะทำลายความสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 อุบัติเหตุ 73.4
2 ปัญหาการลวนลามทางเพศ 58.3
3 โจรผู้ร้าย บ้านถูกงัดแงะ 56.7
4 แก๊งค์รถซิ่ง 47.1
5 การทะเลาะวิวาท 43.3
6 ระเบิดป่วนเมือง 40.9
7 ความขัดแย้งทางการเมือง 38.0
8 ปัญหาเศรษฐกิจ 37.4
9 โรคภัยไข้เจ็บ 12.2
10 อื่นๆ 6.9
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ การใช้จ่ายเงินในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ค่อนข้างมาก — มาก 34.3
2 ค่อนข้างน้อย — น้อย (ประหยัด) 65.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ได้แก่
1. ไม่ค่อยมีเงิน ของแพง
2. รายได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี
3. เก็บเงินไว้ฉุกเฉิน
4. ปัจจัยด้านการเมือง เหตุการณ์บ้านเมืองไม่แน่นอน
5. ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
6. เก็บเงินไว้ตอนเปิดเทอม
7. เสียดายเงิน
ตารางที่ 12 แสดงผลการประมาณการวงเงินสะพัดค่าเฉลี่ยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี พ.ศ.2551
การใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศช่วงสงกรานต์ ค่าเฉลี่ยต่อคน ผลประมาณการ
(บาท) (บาท)
วงเงินที่ประชาชนตั้งใจจะใช้จ่ายเพื่อท่องเที่ยวในประเทศ 2,115.88 52,317,609,642.91
หมายเหตุ ผลประมาณการเฉพาะคนที่ตั้งใจจะท่องเที่ยวในประเทศ
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุราคาของสินค้าชิ้นใหญ่ ที่ตั้งงบประมาณไว้หากมีความจำเป็นต้องซื้อ
ลำดับที่ รายการสินค้า ราคาที่ตั่งไว้โดยเฉลี่ย (บาท)
1 บ้านหลังใหม่ 1,502,718.00
2 รถยนต์คันใหม่ 687,829.50
3 โทรทัศน์เครื่องใหม่ 13,663.92
4 เครื่องปรับอากาศ 10,752.49
--เอแบคโพลล์--
-พห-