ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ (ABAC Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง วันครอบครัว
ของคนไทย ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 25 มีนาคม — 12 เมษายน ที่ผ่านมา
ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.2 ไม่ทราบว่าวันครอบครัวตรงกับวันที่เท่าไหร่ ขณะที่ร้อยละ 46.8 ทราบและตอบได้ถูกต้องว่าตรง
กับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ไม่ทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 เห็นว่า การมีหลักธรรม คุณธรรม เป็นปัจจัยรากฐานที่นำสู่การสร้างครอบครัวที่ดีที่อบอุ่นและรับ
ผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่รองลงไปคือร้อยละ 62.3 ระบุความมั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 56.4 ระบุความพร้อมทางการเงิน ร้อยละ 54.3 ระบุ
สภาพแวดล้อมในสังคม ร้อยละ 51.9 ระบุสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ร้อยละ 39.0 ระบุพื้นฐานการศึกษาที่ดี ร้อยละ 27.5 ระบุความพร้อมทางวัยวุฒิ
และร้อยละ 10.6 ระบุชาติกำเนิด/ วงศ์ตระกูล เป็นปัจจัยรากฐานสร้างครอบครัวที่ดี
ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้จนนำไปสู่การแยกทางกัน ผลสำรวจพบว่า ทั้งในกลุ่มคนที่สมรสแล้ว และกลุ่ม
ตัวอย่างที่หย่าร้าง เป็นม่าย และแยกกันอยู่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 และร้อยละ 69.2 เห็นว่า พฤติกรรมชู้สาว นอกใจคู่ของตน
สำหรับพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้อันดับที่สองในกลุ่มตัวอย่างที่สมรสแล้ว หรือร้อยละ 61.7 ระบุการทำร้ายร่างกาย เป็นพฤติกรรมที่ยอมรับ
ไม่ได้ อันดับสามหรือร้อยละ 59.0 ระบุการติดยาเสพติด อันดับสี่หรือร้อยละ 58.7 ระบุการติดการพนัน อันดับห้าหรือร้อยละ 58.3 ระบุไม่รับผิดชอบ
ต่อครอบครัว และร้อยละ 52.9 ระบุการติดสุรา เมาอาละวาด ตามลำดับ
ในขณะที่พฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้อันดับรองๆ ลงไปในกลุ่มคนที่แยกกันอยู่ เป็นม่าย หย่าร้าง ร้อยละ 56.7 ระบุ เป็นเรื่องการติดการ
พนัน ร้อยละ 56.7 เช่นกันระบุ เป็นเรื่องความไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ระบุวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวคือการทำกิจกรรมร่วมกัน
เวลาว่าง ร้อยละ 51.9 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 51.4 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ ร้อยละ 34.1 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน และ
ร้อยละ 29.2 แสดงความรักต่อกัน เป็นต้น
สำหรับวันครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ตั้งใจจะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว
ขณะที่ร้อยละ 33.6 ยังไม่แน่ใจและร้อยละ 6.0 ไม่ได้อยู่ร่วมกับคนในครอบครัวช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 มองว่าสังคมไทยไม่อบอุ่น ถ้าเปรียบเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในบ้าน
เดียวกัน เพราะ ผู้ใหญ่ (นักการเมือง) ทะเลาะกัน มีแต่ความขัดแย้ง แก่งแย่งผลประโยชน์ มีแต่กอบโกย แบ่งพรรคแบ่งพวก แตกแยก ใช้อารมณ์และ
พูดจาหยาบคาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.4 มองว่าเป็นสังคมที่อบอุ่น และร้อยละ 16.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงครอบครัวตัวอย่างของกลุ่มศิลปิน-นักกีฬา ผลสำรวจพบว่า อันดับแรก ร้อยละ 37.1 ระบุครอบครัวของบอย โกสิยพงษ์
เป็นครอบครัวตัวอย่าง รองลงมาคือ ร้อยละ 32.5 ระบุครอบครัวปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ร้อยละ 29.0 ระบุครอบครัวภราดร ศรีชาพันธ์ ร้อยละ 18.3
ครอบครัวธีรเดช — บุษกร วงศ์พัวพันธ์ และร้อยละ 16.2 ครอบครัวฉัตรชัย-สินจัย เปล่งพานิช ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยส่วนรวม เพราะครอบครัวเป็นรากฐาน
สำคัญของความมั่นคงทางสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เมื่อผลสำรวจพบว่า คนไทยเกินครึ่งยังไม่ทราบวันครอบครัวตรงกับวันที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ผล
สำรวจที่ยังสะท้อนภาพที่ดีในหมู่คนไทยคือ พฤติกรรมชู้สาว นอกใจคู่รัก ยังเป็นพฤติกรรมที่สังคมไทยส่วนใหญ่ “ไม่” ยอมรับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความ
ซื่อสัตย์ยังเป็นคุณธรรมหลักสำคัญในสังคมครอบครัวไทย ในส่วนการขับเคลื่อนสังคมจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้
ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว เพราะข้อมูลข่าวสารในกลุ่มตัวแบบทางสังคม เช่น ดารา นักร้องนักแสดงจำนวนมาก กลับแสดง
พฤติกรรมให้สาธารณชนเห็นว่า ชีวิตครอบครัวไม่ใช่เรื่องสำคัญ หย่าร้างกันได้โดยง่าย มีปัญหาเชิงชู้สาวปรากฏให้เห็นเสมอ
“ผลที่ตามมาคือ คุณค่าของชีวิตครอบครัว ความรู้สึกขาดความรักความอบอุ่นตามธรรมชาติของมนุษย์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นบุตรหลาน
จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำร้ายสังคมไทยในอนาคต ยิ่งถ้าเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัวในบ้านหลังหนึ่งแล้ว ประชาชนยิ่งเห็นว่า สังคม
ไทยไม่อบอุ่น เพราะผู้ใหญ่โดยเฉพาะนักการเมืองทะเลาะกัน แก่งแย่งผลประโยชน์กัน แบ่งพรรคแบ่งพวก และแตกแยก ต่อไปข้างหน้า สังคมไทยก็อาจ
ไม่แตกต่างไปจากครอบครัวที่ล่มสลาย ไม่มีใครคุมใครอยู่ สั่งสอน ชี้แนะใครได้” หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อวันครอบครัว
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสัมพันธภาพของครอบครัวไทย
3. เพื่อสำรวจครอบครัวไทยตัวอย่างแห่งปี 2551
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง วันครอบครัวของคนไทย ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษา
ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 มีนาคม — 12 เมษายน พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน กรุงเทพ
มหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร
เชียงราย ลำปาง อุตรดิตถ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,088 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มีคณะผู้วิจัยประจำโครงการจำนวนทั้งสิ้น 116 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 42.8 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 13.7 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 34.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.7 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 10.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 70.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.3 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.0 ระบุสูงกว่า
ระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.4
ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 23.6 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ ร้อยละ
17.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.7 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 3.0 ระบุยังไม่ได้ทำงาน ในขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 18.1 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 47.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ
14.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท ร้อยละ 7.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท ร้อยละ 12.5 ระบุมีรายได้มากกว่า
20,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 44.1 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 55.9 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบวันครอบครัว
ลำดับที่ การรับทราบวันครอบครัวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับทราบวันครอบครัวตรงวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี 46.8
2 ไม่ทราบ 53.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน
ลำดับที่ การรับทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน ค่าร้อยละ
1 รับทราบ 22.9
2 ไม่รับทราบ 77.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี (ครอบครัวที่อบอุ่น
และรับผิดชอบต่อสังคม) ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
ลำดับที่ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี ค่าร้อยละ
1 การมีหลักธรรม/คุณธรรมประจำใจ 65.0
2 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน 62.3
3 ความพร้อมทางการเงิน 56.4
4 สภาพแวดล้อมในสังคม 54.3
5 สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ 51.9
6 พื้นฐานทางการศึกษาที่ดี 39.0
7 ความพร้อมทางวัยวุฒิ 27.5
8 ชาติกำเนิด/วงศ์ตระกูล 10.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทาง
กัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ สมรส ม่าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่
จนนำมาสู่การแยกทางกัน
1 ชู้สาว/นอกใจคู่ของตน 76.6 69.2
2 ทำร้ายร่างกาย 61.7 43.3
3 ติดยาเสพติด 59.0 45.2
4 ติดการพนัน 58.7 56.7
5 ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว 58.3 56.7
6 ติดสุรา/เมาอาละวาด 52.9 48.1
7 เที่ยวกลางคืน (ซื้อบริการทางเพศ) 48.5 35.6
8 ติดเพื่อน/เที่ยวเตร่ 42.8 32.7
9 หมดความรักต่อกัน 41.0 48.1
10 มีอาการผิดปกติทางเพศ 36.4 30.8
11 หึงหวง/ไม่ไว้วางใจกัน 34.0 33.7
12 เจ้าอารมณ์/หงุดหงิด โมโหง่าย 32.0 26.0
13 ขี้บ่น/จู้จี้จุกจิก 25.3 26.0
14 ติดบุหรี่ 23.5 18.3
15 ขี้งอน/ไม่มีเหตุผล 22.8 14.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง 59.6
2 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ 51.4
3 มอบของให้แก่กันในวันสำคัญ 23.9
4 แสดงความรักต่อกัน (โอบกอดกัน) 29.2
5 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง 51.9
6 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 34.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว ในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ปีนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว 60.4
2 ไม่อยู่ 6.0
3 ไม่แน่ใจ 33.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า คิดอย่างไร ถ้าเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัว
ครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสังคมไทยโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 เป็นสังคมที่อบอุ่น 19.4
2 สังคมไทยไม่อบอุ่น เพราะ ผู้ใหญ่ (นักการเมือง) ทะเลาะกัน
มีแต่ความขัดแย้ง แก่งแย่งผลประโยชน์ มีแต่กอบโกย แบ่งพรรคแบ่งพวก
แตกแยก ใช้อารมณ์ และพูดจาหยาบคายเป็นต้น 63.9
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ครอบครัวศิลปิน-นักกีฬา” ตัวอย่างแห่งปี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ “ครอบครัวศิลปิน-นักกีฬา” ตัวอย่างแห่งปี ค่าร้อยละ
1 ครอบครัวบอย โกสิยพงษ์ 37.1
2 ครอบครัวปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (ฟุตบอล) 32.5
3 ครอบครัวภราดร ศรีชาพันธ์ (เทนนิส) 29.0
4 ครอบครัวธีรเดช-บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (เคน-หน่อย) 18.3
5 ครอบครัวฉัตรชัย-สินจัย เปล่งพานิช 16.2
6 ครอบครัวเจ-เจตริน 14.2
7 ครอบครัวสมบัติ เมทะนี 13.5
8 ครอบครัวเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ฟุตบอล) 11.4
9 ครอบครัวของนุติ-กมลชนก เขมะโยธิน (น็อต-กวาง) 7.4
10 ครอบครัวลุงสมชาย-ป้าจุ๊ (จุรี โอศิริ) 6.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชัญ (ABAC Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง วันครอบครัว
ของคนไทย ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,088 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 25 มีนาคม — 12 เมษายน ที่ผ่านมา
ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.2 ไม่ทราบว่าวันครอบครัวตรงกับวันที่เท่าไหร่ ขณะที่ร้อยละ 46.8 ทราบและตอบได้ถูกต้องว่าตรง
กับวันที่ 14 เมษายนของทุกปี นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.1 ไม่ทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 เห็นว่า การมีหลักธรรม คุณธรรม เป็นปัจจัยรากฐานที่นำสู่การสร้างครอบครัวที่ดีที่อบอุ่นและรับ
ผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่รองลงไปคือร้อยละ 62.3 ระบุความมั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 56.4 ระบุความพร้อมทางการเงิน ร้อยละ 54.3 ระบุ
สภาพแวดล้อมในสังคม ร้อยละ 51.9 ระบุสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ร้อยละ 39.0 ระบุพื้นฐานการศึกษาที่ดี ร้อยละ 27.5 ระบุความพร้อมทางวัยวุฒิ
และร้อยละ 10.6 ระบุชาติกำเนิด/ วงศ์ตระกูล เป็นปัจจัยรากฐานสร้างครอบครัวที่ดี
ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้จนนำไปสู่การแยกทางกัน ผลสำรวจพบว่า ทั้งในกลุ่มคนที่สมรสแล้ว และกลุ่ม
ตัวอย่างที่หย่าร้าง เป็นม่าย และแยกกันอยู่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 และร้อยละ 69.2 เห็นว่า พฤติกรรมชู้สาว นอกใจคู่ของตน
สำหรับพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้อันดับที่สองในกลุ่มตัวอย่างที่สมรสแล้ว หรือร้อยละ 61.7 ระบุการทำร้ายร่างกาย เป็นพฤติกรรมที่ยอมรับ
ไม่ได้ อันดับสามหรือร้อยละ 59.0 ระบุการติดยาเสพติด อันดับสี่หรือร้อยละ 58.7 ระบุการติดการพนัน อันดับห้าหรือร้อยละ 58.3 ระบุไม่รับผิดชอบ
ต่อครอบครัว และร้อยละ 52.9 ระบุการติดสุรา เมาอาละวาด ตามลำดับ
ในขณะที่พฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้อันดับรองๆ ลงไปในกลุ่มคนที่แยกกันอยู่ เป็นม่าย หย่าร้าง ร้อยละ 56.7 ระบุ เป็นเรื่องการติดการ
พนัน ร้อยละ 56.7 เช่นกันระบุ เป็นเรื่องความไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.6 ระบุวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวคือการทำกิจกรรมร่วมกัน
เวลาว่าง ร้อยละ 51.9 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 51.4 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ ร้อยละ 34.1 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน และ
ร้อยละ 29.2 แสดงความรักต่อกัน เป็นต้น
สำหรับวันครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ตั้งใจจะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว
ขณะที่ร้อยละ 33.6 ยังไม่แน่ใจและร้อยละ 6.0 ไม่ได้อยู่ร่วมกับคนในครอบครัวช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 มองว่าสังคมไทยไม่อบอุ่น ถ้าเปรียบเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในบ้าน
เดียวกัน เพราะ ผู้ใหญ่ (นักการเมือง) ทะเลาะกัน มีแต่ความขัดแย้ง แก่งแย่งผลประโยชน์ มีแต่กอบโกย แบ่งพรรคแบ่งพวก แตกแยก ใช้อารมณ์และ
พูดจาหยาบคาย เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.4 มองว่าเป็นสังคมที่อบอุ่น และร้อยละ 16.7 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงครอบครัวตัวอย่างของกลุ่มศิลปิน-นักกีฬา ผลสำรวจพบว่า อันดับแรก ร้อยละ 37.1 ระบุครอบครัวของบอย โกสิยพงษ์
เป็นครอบครัวตัวอย่าง รองลงมาคือ ร้อยละ 32.5 ระบุครอบครัวปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ร้อยละ 29.0 ระบุครอบครัวภราดร ศรีชาพันธ์ ร้อยละ 18.3
ครอบครัวธีรเดช — บุษกร วงศ์พัวพันธ์ และร้อยละ 16.2 ครอบครัวฉัตรชัย-สินจัย เปล่งพานิช ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยส่วนรวม เพราะครอบครัวเป็นรากฐาน
สำคัญของความมั่นคงทางสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เมื่อผลสำรวจพบว่า คนไทยเกินครึ่งยังไม่ทราบวันครอบครัวตรงกับวันที่เท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ผล
สำรวจที่ยังสะท้อนภาพที่ดีในหมู่คนไทยคือ พฤติกรรมชู้สาว นอกใจคู่รัก ยังเป็นพฤติกรรมที่สังคมไทยส่วนใหญ่ “ไม่” ยอมรับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ความ
ซื่อสัตย์ยังเป็นคุณธรรมหลักสำคัญในสังคมครอบครัวไทย ในส่วนการขับเคลื่อนสังคมจึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์ให้มากขึ้นเพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้
ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว เพราะข้อมูลข่าวสารในกลุ่มตัวแบบทางสังคม เช่น ดารา นักร้องนักแสดงจำนวนมาก กลับแสดง
พฤติกรรมให้สาธารณชนเห็นว่า ชีวิตครอบครัวไม่ใช่เรื่องสำคัญ หย่าร้างกันได้โดยง่าย มีปัญหาเชิงชู้สาวปรากฏให้เห็นเสมอ
“ผลที่ตามมาคือ คุณค่าของชีวิตครอบครัว ความรู้สึกขาดความรักความอบอุ่นตามธรรมชาติของมนุษย์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นบุตรหลาน
จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำร้ายสังคมไทยในอนาคต ยิ่งถ้าเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัวในบ้านหลังหนึ่งแล้ว ประชาชนยิ่งเห็นว่า สังคม
ไทยไม่อบอุ่น เพราะผู้ใหญ่โดยเฉพาะนักการเมืองทะเลาะกัน แก่งแย่งผลประโยชน์กัน แบ่งพรรคแบ่งพวก และแตกแยก ต่อไปข้างหน้า สังคมไทยก็อาจ
ไม่แตกต่างไปจากครอบครัวที่ล่มสลาย ไม่มีใครคุมใครอยู่ สั่งสอน ชี้แนะใครได้” หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อวันครอบครัว
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสัมพันธภาพของครอบครัวไทย
3. เพื่อสำรวจครอบครัวไทยตัวอย่างแห่งปี 2551
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง วันครอบครัวของคนไทย ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษา
ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 มีนาคม — 12 เมษายน พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน กรุงเทพ
มหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ลพบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร
เชียงราย ลำปาง อุตรดิตถ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,088 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มีคณะผู้วิจัยประจำโครงการจำนวนทั้งสิ้น 116 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.2 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 42.8 ระบุ
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 13.7 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 34.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 15.7 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 10.5 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 70.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.3 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.0 ระบุสูงกว่า
ระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.4
ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 23.6 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ ร้อยละ
17.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.7 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 3.0 ระบุยังไม่ได้ทำงาน ในขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 3.0 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 18.1 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 47.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ
14.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท ร้อยละ 7.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท ร้อยละ 12.5 ระบุมีรายได้มากกว่า
20,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 44.1 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 55.9 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบวันครอบครัว
ลำดับที่ การรับทราบวันครอบครัวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับทราบวันครอบครัวตรงวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี 46.8
2 ไม่ทราบ 53.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน
ลำดับที่ การรับทราบหลักธรรมคำสอนที่ใช้สำหรับการครองเรือน ค่าร้อยละ
1 รับทราบ 22.9
2 ไม่รับทราบ 77.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี (ครอบครัวที่อบอุ่น
และรับผิดชอบต่อสังคม) ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
ลำดับที่ ปัจจัยที่เป็นรากฐานที่นำมาสู่การสร้างครอบครัวที่ดี ค่าร้อยละ
1 การมีหลักธรรม/คุณธรรมประจำใจ 65.0
2 ความมั่นคงในหน้าที่การงาน 62.3
3 ความพร้อมทางการเงิน 56.4
4 สภาพแวดล้อมในสังคม 54.3
5 สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ 51.9
6 พื้นฐานทางการศึกษาที่ดี 39.0
7 ความพร้อมทางวัยวุฒิ 27.5
8 ชาติกำเนิด/วงศ์ตระกูล 10.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทาง
กัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมจากคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ สมรส ม่าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่
จนนำมาสู่การแยกทางกัน
1 ชู้สาว/นอกใจคู่ของตน 76.6 69.2
2 ทำร้ายร่างกาย 61.7 43.3
3 ติดยาเสพติด 59.0 45.2
4 ติดการพนัน 58.7 56.7
5 ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว 58.3 56.7
6 ติดสุรา/เมาอาละวาด 52.9 48.1
7 เที่ยวกลางคืน (ซื้อบริการทางเพศ) 48.5 35.6
8 ติดเพื่อน/เที่ยวเตร่ 42.8 32.7
9 หมดความรักต่อกัน 41.0 48.1
10 มีอาการผิดปกติทางเพศ 36.4 30.8
11 หึงหวง/ไม่ไว้วางใจกัน 34.0 33.7
12 เจ้าอารมณ์/หงุดหงิด โมโหง่าย 32.0 26.0
13 ขี้บ่น/จู้จี้จุกจิก 25.3 26.0
14 ติดบุหรี่ 23.5 18.3
15 ขี้งอน/ไม่มีเหตุผล 22.8 14.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง 59.6
2 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ 51.4
3 มอบของให้แก่กันในวันสำคัญ 23.9
4 แสดงความรักต่อกัน (โอบกอดกัน) 29.2
5 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง 51.9
6 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 34.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว ในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ปีนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจที่จะอยู่ร่วมทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว 60.4
2 ไม่อยู่ 6.0
3 ไม่แน่ใจ 33.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า คิดอย่างไร ถ้าเทียบสังคมไทยเป็นครอบครัว
ครอบครัวหนึ่งที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสังคมไทยโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 เป็นสังคมที่อบอุ่น 19.4
2 สังคมไทยไม่อบอุ่น เพราะ ผู้ใหญ่ (นักการเมือง) ทะเลาะกัน
มีแต่ความขัดแย้ง แก่งแย่งผลประโยชน์ มีแต่กอบโกย แบ่งพรรคแบ่งพวก
แตกแยก ใช้อารมณ์ และพูดจาหยาบคายเป็นต้น 63.9
3 ไม่มีความเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ครอบครัวศิลปิน-นักกีฬา” ตัวอย่างแห่งปี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ “ครอบครัวศิลปิน-นักกีฬา” ตัวอย่างแห่งปี ค่าร้อยละ
1 ครอบครัวบอย โกสิยพงษ์ 37.1
2 ครอบครัวปิยะพงษ์ ผิวอ่อน (ฟุตบอล) 32.5
3 ครอบครัวภราดร ศรีชาพันธ์ (เทนนิส) 29.0
4 ครอบครัวธีรเดช-บุษกร วงศ์พัวพันธ์ (เคน-หน่อย) 18.3
5 ครอบครัวฉัตรชัย-สินจัย เปล่งพานิช 16.2
6 ครอบครัวเจ-เจตริน 14.2
7 ครอบครัวสมบัติ เมทะนี 13.5
8 ครอบครัวเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ฟุตบอล) 11.4
9 ครอบครัวของนุติ-กมลชนก เขมะโยธิน (น็อต-กวาง) 7.4
10 ครอบครัวลุงสมชาย-ป้าจุ๊ (จุรี โอศิริ) 6.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-