ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อความขัด
แย้งทางการเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,625 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-14 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการ
เมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.8 ระบุควรปล่อยให้
เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 61.4 ไม่เห็นด้วยกับการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต (คตส.) ในขณะที่ร้อยละ 34.3 เห็นด้วย และร้อยละ 4.2 ไม่มี
ความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 เห็นว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันคือ สันติ สมานฉันท์ รู้
รักสามัคคี เลิกทะเลาะกัน ในขณะที่รองลงมาหรือร้อยละ 13.7 เห็นว่าไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 10.2 เห็นว่าความเป็นกลางจะช่วยได้ ร้อย
ละ 6.7 ระบุการไม่แทรกแซงการทำงานของแต่ละฝ่าย และร้อยละ 6.3 เห็นว่าการเปลี่ยนรัฐบาลจะช่วยได้ เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยตอบได้มากกว่า 1 เหตุการณ์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 คิดว่าจะเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเพื่อถอนทุนคืน ร้อยละ 68.3 คิดว่าจะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือ
นักการเมืองบางคน ร้อยละ 68.0 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงในกลุ่มนักการเมืองของรัฐบาลเอง และร้อยละ 68.0 เช่นกันคิดว่าจะเกิดการ
แทรกแซงสื่อมวลชน ร้อยละ 63.8 จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นเผชิญหน้าของประชาชนสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 60.9 ก็ยังคิดว่าคนไทยจะ
ช่วยเหลือกันแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ร้อยละ 55.8 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และร้อยละ 55.6 คิดว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง
และร้อยละ 36.7 คิดว่าจะเกิดปฏิวัติ ยึดอำนาจ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประชาชนครึ่งต่อครึ่งหรือร้อยละ 50.0 ต่อร้อยละ 50.0 เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ด้วยวิธีการทาง
การเมือง อย่างไรก็ตาม สำหรับนักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะช่วยกันให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ผ่านพ้นไปได้ พบว่า ประชาชนร้อยละ
21.5 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช รองลงมาคือ ร้อยละ 19.1 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 16.1 ระบุรัฐบาล ร้อยละ 13.8 ระบุพรรค
ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 10.1 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 10.1 เช่นกันระบุกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน กลุ่มพันธมิตร และร้อยละ 9.7
ระบุกลุ่มประชาชนทั่วไป ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอแนะที่อยากบอกกับบรรดา ส.ส. ของพรรค ถ้าถูกยุบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ระบุให้มีการเลือกตั้งใหม่
ในขณะที่ร้อยละ 17.4 ระบุย้ายไปสังกัดพรรคอื่น และร้อยละ 18.6 ระบุอื่นๆ เช่น เปลี่ยนรัฐบาล เลิกเล่นการเมือง ให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานการ
เมือง และไปประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นต้น และถ้าต้องย้ายพรรค ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 49.5 ระบุย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ
40.3 เสนอให้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.6 ยังคงสนับสนุนนาย
สมัคร ในขณะที่ร้อยละ 26.3 ไม่สนับสนุน และที่เหลือร้อยละ 26.1 ขออยู่ตรงกลาง โดยเหตุผลที่สนับสนุนนายสมัคร อันดับต้นๆ คือ เห็นว่าเป็นคนพูด
จริงทำจริง พูดตรงไปตรงมา ควรให้โอกาส รอดูการกระทำ และความชอบเป็นส่วนตัว เป็นต้น ขณะที่เหตุที่ไม่ชอบคือ บุคลิกไม่เหมาะสม พูดมากไป
พูดจาไม่ดี ไม่ชอบเป็นส่วนตัว และยังไม่เห็นผลงาน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 50.0 จะยังคงเลือกพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 46.9
จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 3.1 จะเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อสอบถามความเห็นต่อท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ทำงานกับมูลนิธิไทยคมและชักชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุนในประเทศ พบว่า ร้อย
ละ 39.9 เห็นด้วยทั้งสองแนวทาง ร้อยละ 24.8 เห็นด้วยกับการชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุน ร้อยละ 16.6 เห็นด้วยกับการทำงานกับมูลนิธิ และ
ร้อยละ 18.7 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า ไม่จริงใจ เป็นการสร้างภาพ มีอะไรบางอย่างแอบแฝง และควรกลับมาเล่นการเมืองและเป็นนายก
รัฐมนตรีอีก เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่า จะสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานการเมืองต่อไปหรือไม่ ผลสำรวจพบเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.0 พร้อม
สนับสนุน และร้อยละ 47.0 ไม่พร้อมสนับสนุน โดยคนที่พร้อมสนับสนุนเป็นคนที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมากกว่าคนที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ
56.4 ต่อร้อยละ 42.4 อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรยอมรับคำตัดสิน ถ้าถูกตัดสินว่าผิดจริง ใน
ขณะที่ร้อยละ 33.3 ระบุควรต่อสู้ให้พ้นผิดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ระบุไปในทิศทางไม่เห็นด้วยต่อการใช้ความรุนแรงในเวลาที่มีปัญหาขัด
แย้งในกลุ่มประชาชน คือร้อยละ 9.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 26.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 51.3 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ค่อน
ข้างเห็นด้วย ร้อยละ 4.6 เห็นด้วย และร้อยละ 5.6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้สถานการณ์การเมืองมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจนคลุมเครืออยู่ในขณะนี้ แต่ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 65.0 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ โดยสัดส่วนของคนที่
เลือกจะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าสูงขึ้นกว่าการสำรวจช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ผ.อ. เอแบคโพลล์ กล่าวด้วยว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศขณะนี้ในความเห็นของประชาชนส่วน
ใหญ่ พบว่ายังมีทางออกโดยไม่ใช้ความรุนแรงแบบเผชิญหน้าได้ เช่น การปล่อยให้ความขัดแย้งและคดีความทางการเมืองเป็นไปตามกระบวนการ
ยุติธรรม และอีกแนวทางหนึ่งคือการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพรรคพลังประชาชนยังคงได้รับคะแนนสนับสนุนค่อนข้างเหนียวแน่นเหมือนเดิม ดังนั้น ปัญหาของ
ประเทศไทยยังไม่พบทางตัน ทุกปมปัญหามีทางออกในทรรศนะของประชาชน เพียงแต่ว่าฝ่ายการเมืองมักจะเลือกตัดสินใจในทางออกด้วยวิธีการอะไรที่
จะทำให้ตนเองและพรรคพวกจะได้ประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้แล้วว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
ของประเทศ ประชาชนก็เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าในผลสำรวจครั้งนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้
2. เพื่อสำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อความขัดแย้งทางการเมือง
ขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-14
เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พัก
อาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,625 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 27.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อย
ละ 21.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 18.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับ
ปริญญาตรี ร้อยละ 20.8 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า
ร้อยละ 43.7 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 22.8 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.0 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.4
ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.2
ระบุยังไม่ได้ทำงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.1
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.4
5 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 88.8
2 ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจะยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต (คตส.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการจะยุบ ค่าร้อยละ
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต(คตส.)
1 เห็นด้วย 34.3
2 ไม่เห็นด้วย 61.4
3 ไม่มีความเห็น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สันติ / สมานฉันท์ / สามัคคี / ยุติความขัดแย้ง / เลิกทะเลาะ 75.2
2 ทำเพื่อส่วนรวม / ไม่เห็นแก่ตัว 13.7
3 ยึดมั่นในความยุติธรรม ความเป็นกลาง 10.2
4 ไม่แทรกแซงการทำงานของแต่ละฝ่าย 6.7
5 จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ / เปลี่ยนรัฐบาล 6.3
6 สิทธิของประชาชน / การมีส่วนร่วมของประชาชน 5.1
7 ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต / ทำงานตรงไป ตรงมา 5.0
8 วิธีอื่นๆ อาทิ สร้างจิตสำนึกให้ทุกคน / ปลูกฝังความรักประเทศชาติ /
ยอมรับในความเป็นจริง / ยกเลิกระบบอุปถัมภ์ / สนับสนุนการศึกษา เป็นต้น 8.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเพื่อถอนทุนคืน 75.0
2 การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือนักการเมืองบางคน 68.3
3 เกิดความขัดแย้ง รุนแรงในกลุ่มนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล 68.0
4 เกิดการแทรกแซงสื่อมวลชน 68.0
5 ความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นเผชิญหน้ากันของประชาชนสองฝ่าย 63.8
6 คนไทยจะช่วยเหลือกันแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี 60.9
7 มีการเลือกตั้งใหม่ 55.8
8 การยุบพรรคการเมือง 55.6
9 รัฐบาลสามารถทำให้ปัญหายาเสพติดลดลงได้ 50.8
10 การยุบสภา 47.6
11 รัฐบาลสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่อง พลังงานเชื้อเพลิง 44.8
12 รัฐบาลสามารถทำให้คนไทยเกิดความสมานฉันท์ 39.2
13 การปฏิวัติ ยึดอำนาจ 36.7
14 รัฐบาลสามารถลดปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บ้าง 35.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ด้วยวิธีทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ด้วยวิธีการทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 50.0
2 ไม่เห็นด้วย 50.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวที่จะช่วยให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ
ผ่านพ้นไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวที่จะช่วยให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศผ่านพ้นไปได้ ค่าร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 21.5
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 19.1
3 รัฐบาล 16.1
4 พรรคประชาธิปัตย์ 13.8
5 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 10.1
6 กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน / กลุ่มพันธมิตร /พันธมิตรประชาชน 10.1
7 กลุ่มประชาชน / กลุ่มนักศึกษา เช่น กลุ่มนักศึกษารัฐศาสตร์ทั่วประเทศ 9.7
8 พรรคพลังประชาชน 6.3
9 อื่นๆ อาทิ กลุ่มนักการเมือง / นายชวน หลีกภัย / พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ /
พรรคไทยรักไทย / นายเฉลิม อยู่บำรุง / นายอานันท์ ปันยารชุน / กลุ่มนักวิชาการ /
กลุ่มทหาร / พรรคร่วมรัฐบาล เป็นต้น 29.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ของพรรคถ้าถูกยุบ
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ของพรรคถ้าถูกยุบ ค่าร้อยละ
1 ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น 17.4
2 ให้มีการเลือกตั้งใหม่ 64.0
3 อื่นๆ เช่น เปลี่ยนรัฐบาล เลิกเล่นการเมือง ให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานการเมือง
และไปประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นต้น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ในการย้ายสังกัด
ลำดับที่ พรรคที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ในการย้ายสังกัด ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 49.5
2 พรรคประชาธิปัตย์ 40.3
3 พรรคอื่นๆ เช่น ประชาราช เพื่อแผ่นดิน มหาชน เป็นต้น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 47.6
2 ไม่สนับสนุน 26.3
3 ขออยู่ตรงกลาง 26.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
โดยเหตุผลที่สนับสนุนนายสมัคร อันดับต้นๆ คือ เห็นว่าเป็นคนพูดจริงทำจริง พูดตรงไปตรงมา ควรให้โอกาส รอดูการกระทำ และความ
ชอบเป็นส่วนตัว เป็นต้น ขณะที่เหตุที่ไม่ชอบคือ บุคลิกไม่เหมาะสม พูดมากไป พูดจาไม่ดี ไม่ชอบเป็นส่วนตัว และยังไม่เห็นผลงาน ตามลำดับ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรค ใน ส.ส.สัดส่วนในการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ พรรค ใน ส.ส. สัดส่วนในการเลือกตั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 50.0
2 พรรคประชาธิปัตย์ 46.9
3 พรรคอื่นๆ 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานกับมูลนิธิไทยคม
และชักชวนนักธุรกิจต่างชาติชั้นนำมาลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ คิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานกับมูลนิธิไทยคม ค่าร้อยละ
และชักชวนนักธุรกิจต่างชาติชั้นนำมาลงทุนในประเทศไทย
1 เห็นด้วยกับการทำงานด้านมูลนิธิ 16.6
2 เห็นด้วยกับการชักชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย 24.8
3 เห็นด้วยกับแนวทางทั้งสอง 39.9
4 ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า ไม่จริงใจ เป็นการสร้างภาพ มีอะไรบางอย่างแอบแฝง
และควรกลับมาเล่นการเมืองและเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เป็นต้น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานทางการเมืองต่อไป
ลำดับที่ การสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานทางการเมืองต่อไป ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้นค่าร้อยละ
1 พร้อมสนับสนุน 56.4 42.4 53.0
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 43.6 57.6 47.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรจะยอมรับหรือต่อสู้ หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรจะยอมรับหรือต่อสู้ ค่าร้อยละ
1 ควรยอมรับ 66.7
2 ควรต่อสู้ให้พ้นผิดต่อไป 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการใช้ความรุนแรงทำร้ายกันในเวลาที่มีปัญหาขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชน
ลำดับที่ การใช้ความรุนแรงทำร้ายกันในเวลาที่มีปัญหาขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5.6
2 เห็นด้วย 4.6
3 ค่อนข้างเห็นด้วย 3.3
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 9.2
5 ไม่เห็นด้วย 26.0
6 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 51.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อการเลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ เลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ ก่อนเลือกตั้ง 50 ค่าร้อยละ เมษายน 51 ค่าร้อยละ
ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 50.0 65.0
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.0 35.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--สวนดุสิตโพล--
-พห-
แย้งทางการเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,625 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-14 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการ
เมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.8 ระบุควรปล่อยให้
เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 61.4 ไม่เห็นด้วยกับการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต (คตส.) ในขณะที่ร้อยละ 34.3 เห็นด้วย และร้อยละ 4.2 ไม่มี
ความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 เห็นว่า วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันคือ สันติ สมานฉันท์ รู้
รักสามัคคี เลิกทะเลาะกัน ในขณะที่รองลงมาหรือร้อยละ 13.7 เห็นว่าไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 10.2 เห็นว่าความเป็นกลางจะช่วยได้ ร้อย
ละ 6.7 ระบุการไม่แทรกแซงการทำงานของแต่ละฝ่าย และร้อยละ 6.3 เห็นว่าการเปลี่ยนรัฐบาลจะช่วยได้ เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยตอบได้มากกว่า 1 เหตุการณ์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 คิดว่าจะเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเพื่อถอนทุนคืน ร้อยละ 68.3 คิดว่าจะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือ
นักการเมืองบางคน ร้อยละ 68.0 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงในกลุ่มนักการเมืองของรัฐบาลเอง และร้อยละ 68.0 เช่นกันคิดว่าจะเกิดการ
แทรกแซงสื่อมวลชน ร้อยละ 63.8 จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นเผชิญหน้าของประชาชนสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 60.9 ก็ยังคิดว่าคนไทยจะ
ช่วยเหลือกันแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ร้อยละ 55.8 คิดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และร้อยละ 55.6 คิดว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง
และร้อยละ 36.7 คิดว่าจะเกิดปฏิวัติ ยึดอำนาจ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ประชาชนครึ่งต่อครึ่งหรือร้อยละ 50.0 ต่อร้อยละ 50.0 เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ด้วยวิธีการทาง
การเมือง อย่างไรก็ตาม สำหรับนักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะช่วยกันให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ผ่านพ้นไปได้ พบว่า ประชาชนร้อยละ
21.5 ระบุนายสมัคร สุนทรเวช รองลงมาคือ ร้อยละ 19.1 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 16.1 ระบุรัฐบาล ร้อยละ 13.8 ระบุพรรค
ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 10.1 ระบุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 10.1 เช่นกันระบุกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน กลุ่มพันธมิตร และร้อยละ 9.7
ระบุกลุ่มประชาชนทั่วไป ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอแนะที่อยากบอกกับบรรดา ส.ส. ของพรรค ถ้าถูกยุบ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ระบุให้มีการเลือกตั้งใหม่
ในขณะที่ร้อยละ 17.4 ระบุย้ายไปสังกัดพรรคอื่น และร้อยละ 18.6 ระบุอื่นๆ เช่น เปลี่ยนรัฐบาล เลิกเล่นการเมือง ให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานการ
เมือง และไปประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นต้น และถ้าต้องย้ายพรรค ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 49.5 ระบุย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ
40.3 เสนอให้ย้ายไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการสนับสนุนให้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.6 ยังคงสนับสนุนนาย
สมัคร ในขณะที่ร้อยละ 26.3 ไม่สนับสนุน และที่เหลือร้อยละ 26.1 ขออยู่ตรงกลาง โดยเหตุผลที่สนับสนุนนายสมัคร อันดับต้นๆ คือ เห็นว่าเป็นคนพูด
จริงทำจริง พูดตรงไปตรงมา ควรให้โอกาส รอดูการกระทำ และความชอบเป็นส่วนตัว เป็นต้น ขณะที่เหตุที่ไม่ชอบคือ บุคลิกไม่เหมาะสม พูดมากไป
พูดจาไม่ดี ไม่ชอบเป็นส่วนตัว และยังไม่เห็นผลงาน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 50.0 จะยังคงเลือกพรรคพลังประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 46.9
จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 3.1 จะเลือกพรรคอื่นๆ
เมื่อสอบถามความเห็นต่อท่าทีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ทำงานกับมูลนิธิไทยคมและชักชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุนในประเทศ พบว่า ร้อย
ละ 39.9 เห็นด้วยทั้งสองแนวทาง ร้อยละ 24.8 เห็นด้วยกับการชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุน ร้อยละ 16.6 เห็นด้วยกับการทำงานกับมูลนิธิ และ
ร้อยละ 18.7 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า ไม่จริงใจ เป็นการสร้างภาพ มีอะไรบางอย่างแอบแฝง และควรกลับมาเล่นการเมืองและเป็นนายก
รัฐมนตรีอีก เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่า จะสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานการเมืองต่อไปหรือไม่ ผลสำรวจพบเกินครึ่งหรือร้อยละ 53.0 พร้อม
สนับสนุน และร้อยละ 47.0 ไม่พร้อมสนับสนุน โดยคนที่พร้อมสนับสนุนเป็นคนที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมากกว่าคนที่จบปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ
56.4 ต่อร้อยละ 42.4 อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรยอมรับคำตัดสิน ถ้าถูกตัดสินว่าผิดจริง ใน
ขณะที่ร้อยละ 33.3 ระบุควรต่อสู้ให้พ้นผิดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ระบุไปในทิศทางไม่เห็นด้วยต่อการใช้ความรุนแรงในเวลาที่มีปัญหาขัด
แย้งในกลุ่มประชาชน คือร้อยละ 9.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 26.0 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 51.3 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ค่อน
ข้างเห็นด้วย ร้อยละ 4.6 เห็นด้วย และร้อยละ 5.6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้สถานการณ์การเมืองมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจนคลุมเครืออยู่ในขณะนี้ แต่ผลสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 65.0 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ โดยสัดส่วนของคนที่
เลือกจะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าสูงขึ้นกว่าการสำรวจช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ผ.อ. เอแบคโพลล์ กล่าวด้วยว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศขณะนี้ในความเห็นของประชาชนส่วน
ใหญ่ พบว่ายังมีทางออกโดยไม่ใช้ความรุนแรงแบบเผชิญหน้าได้ เช่น การปล่อยให้ความขัดแย้งและคดีความทางการเมืองเป็นไปตามกระบวนการ
ยุติธรรม และอีกแนวทางหนึ่งคือการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งพรรคพลังประชาชนยังคงได้รับคะแนนสนับสนุนค่อนข้างเหนียวแน่นเหมือนเดิม ดังนั้น ปัญหาของ
ประเทศไทยยังไม่พบทางตัน ทุกปมปัญหามีทางออกในทรรศนะของประชาชน เพียงแต่ว่าฝ่ายการเมืองมักจะเลือกตัดสินใจในทางออกด้วยวิธีการอะไรที่
จะทำให้ตนเองและพรรคพวกจะได้ประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้แล้วว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต
ของประเทศ ประชาชนก็เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าในผลสำรวจครั้งนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้
2. เพื่อสำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อความขัดแย้งทางการเมือง
ขณะนี้: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-14
เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พัก
อาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,625 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 6.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 27.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อย
ละ 21.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 18.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับ
ปริญญาตรี ร้อยละ 20.8 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า
ร้อยละ 43.7 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 22.8 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.0 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 7.4
ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.2
ระบุยังไม่ได้ทำงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.1
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.4
5 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 88.8
2 ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจะยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต (คตส.)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการจะยุบ ค่าร้อยละ
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำทุจริต(คตส.)
1 เห็นด้วย 34.3
2 ไม่เห็นด้วย 61.4
3 ไม่มีความเห็น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 สันติ / สมานฉันท์ / สามัคคี / ยุติความขัดแย้ง / เลิกทะเลาะ 75.2
2 ทำเพื่อส่วนรวม / ไม่เห็นแก่ตัว 13.7
3 ยึดมั่นในความยุติธรรม ความเป็นกลาง 10.2
4 ไม่แทรกแซงการทำงานของแต่ละฝ่าย 6.7
5 จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ / เปลี่ยนรัฐบาล 6.3
6 สิทธิของประชาชน / การมีส่วนร่วมของประชาชน 5.1
7 ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต / ทำงานตรงไป ตรงมา 5.0
8 วิธีอื่นๆ อาทิ สร้างจิตสำนึกให้ทุกคน / ปลูกฝังความรักประเทศชาติ /
ยอมรับในความเป็นจริง / ยกเลิกระบบอุปถัมภ์ / สนับสนุนการศึกษา เป็นต้น 8.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองเพื่อถอนทุนคืน 75.0
2 การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือนักการเมืองบางคน 68.3
3 เกิดความขัดแย้ง รุนแรงในกลุ่มนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล 68.0
4 เกิดการแทรกแซงสื่อมวลชน 68.0
5 ความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นเผชิญหน้ากันของประชาชนสองฝ่าย 63.8
6 คนไทยจะช่วยเหลือกันแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี 60.9
7 มีการเลือกตั้งใหม่ 55.8
8 การยุบพรรคการเมือง 55.6
9 รัฐบาลสามารถทำให้ปัญหายาเสพติดลดลงได้ 50.8
10 การยุบสภา 47.6
11 รัฐบาลสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่อง พลังงานเชื้อเพลิง 44.8
12 รัฐบาลสามารถทำให้คนไทยเกิดความสมานฉันท์ 39.2
13 การปฏิวัติ ยึดอำนาจ 36.7
14 รัฐบาลสามารถลดปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บ้าง 35.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ด้วยวิธีทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคำกล่าวที่ว่า ปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ด้วยวิธีการทางการเมือง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 50.0
2 ไม่เห็นด้วย 50.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวที่จะช่วยให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ
ผ่านพ้นไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักการเมืองและกลุ่มเคลื่อนไหวที่จะช่วยให้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศผ่านพ้นไปได้ ค่าร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 21.5
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 19.1
3 รัฐบาล 16.1
4 พรรคประชาธิปัตย์ 13.8
5 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 10.1
6 กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อประชาชน / กลุ่มพันธมิตร /พันธมิตรประชาชน 10.1
7 กลุ่มประชาชน / กลุ่มนักศึกษา เช่น กลุ่มนักศึกษารัฐศาสตร์ทั่วประเทศ 9.7
8 พรรคพลังประชาชน 6.3
9 อื่นๆ อาทิ กลุ่มนักการเมือง / นายชวน หลีกภัย / พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ /
พรรคไทยรักไทย / นายเฉลิม อยู่บำรุง / นายอานันท์ ปันยารชุน / กลุ่มนักวิชาการ /
กลุ่มทหาร / พรรคร่วมรัฐบาล เป็นต้น 29.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ของพรรคถ้าถูกยุบ
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ของพรรคถ้าถูกยุบ ค่าร้อยละ
1 ย้ายไปสังกัดพรรคอื่น 17.4
2 ให้มีการเลือกตั้งใหม่ 64.0
3 อื่นๆ เช่น เปลี่ยนรัฐบาล เลิกเล่นการเมือง ให้คนรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานการเมือง
และไปประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นต้น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ในการย้ายสังกัด
ลำดับที่ พรรคที่อยากจะแนะนำบรรดา ส.ส. ในการย้ายสังกัด ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 49.5
2 พรรคประชาธิปัตย์ 40.3
3 พรรคอื่นๆ เช่น ประชาราช เพื่อแผ่นดิน มหาชน เป็นต้น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 47.6
2 ไม่สนับสนุน 26.3
3 ขออยู่ตรงกลาง 26.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
โดยเหตุผลที่สนับสนุนนายสมัคร อันดับต้นๆ คือ เห็นว่าเป็นคนพูดจริงทำจริง พูดตรงไปตรงมา ควรให้โอกาส รอดูการกระทำ และความ
ชอบเป็นส่วนตัว เป็นต้น ขณะที่เหตุที่ไม่ชอบคือ บุคลิกไม่เหมาะสม พูดมากไป พูดจาไม่ดี ไม่ชอบเป็นส่วนตัว และยังไม่เห็นผลงาน ตามลำดับ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรค ใน ส.ส.สัดส่วนในการเลือกตั้งใหม่
ลำดับที่ พรรค ใน ส.ส. สัดส่วนในการเลือกตั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 50.0
2 พรรคประชาธิปัตย์ 46.9
3 พรรคอื่นๆ 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานกับมูลนิธิไทยคม
และชักชวนนักธุรกิจต่างชาติชั้นนำมาลงทุนในประเทศไทย
ลำดับที่ คิดเห็นต่อการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานกับมูลนิธิไทยคม ค่าร้อยละ
และชักชวนนักธุรกิจต่างชาติชั้นนำมาลงทุนในประเทศไทย
1 เห็นด้วยกับการทำงานด้านมูลนิธิ 16.6
2 เห็นด้วยกับการชักชวนนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย 24.8
3 เห็นด้วยกับแนวทางทั้งสอง 39.9
4 ไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่า ไม่จริงใจ เป็นการสร้างภาพ มีอะไรบางอย่างแอบแฝง
และควรกลับมาเล่นการเมืองและเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เป็นต้น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานทางการเมืองต่อไป
ลำดับที่ การสนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานทางการเมืองต่อไป ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้นค่าร้อยละ
1 พร้อมสนับสนุน 56.4 42.4 53.0
2 ไม่พร้อมสนับสนุน 43.6 57.6 47.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรจะยอมรับหรือต่อสู้ หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง
ลำดับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรจะยอมรับหรือต่อสู้ ค่าร้อยละ
1 ควรยอมรับ 66.7
2 ควรต่อสู้ให้พ้นผิดต่อไป 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการใช้ความรุนแรงทำร้ายกันในเวลาที่มีปัญหาขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชน
ลำดับที่ การใช้ความรุนแรงทำร้ายกันในเวลาที่มีปัญหาขัดแย้งกันในกลุ่มประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5.6
2 เห็นด้วย 4.6
3 ค่อนข้างเห็นด้วย 3.3
4 ไม่ค่อยเห็นด้วย 9.2
5 ไม่เห็นด้วย 26.0
6 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 51.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อการเลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ เลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ ก่อนเลือกตั้ง 50 ค่าร้อยละ เมษายน 51 ค่าร้อยละ
ทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 50.0 65.0
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.0 35.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--สวนดุสิตโพล--
-พห-