ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประเมินผลพฤติกรรมการซื้อขายเหล้าของคนไทยและการห้ามขายเหล้าช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,757 ตัวอย่าง ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 — 21
เมษายน 2551 ผลสำรวจที่ค้นพบว่า
ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.9 ไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสามารถซื้อได้ในช่วงเวลาที่กฎหมายห้ามจำหน่าย ร้อยละ
2.4 ไปซื้อแต่คนขายไม่ขายให้ และร้อยละ 65.7 ไม่ได้ไปซื้อในช่วงเวลาดังกล่าว ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 ซื้อได้จากร้านขายของ
ชำ / โชว์ห่วย ร้อยละ 25.6 ซื้อจากมินิมาร์ทและร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 24.2 ซื้อจากร้านขายเครื่องดื่ม และร้อยละ 10.5 ซื้อจากร้านขายอาหาร
ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนส่วนใหญ่เคยพบเห็นการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามสถานที่ที่กฎหมายห้ามจำหน่าย โดยร้อยละ 60.5 พบ
เห็นการซื้อขายที่สถานีบริการน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 26.5 ที่หอพัก ร้อยละ 22.2 ที่วัด/ศาสนสถานต่างๆ ร้อยละ 11.5 ที่โรงเรียน
มหาวิทยาลัย และร้อยละ 10.5 ที่สวนสาธารณะ ตามลำดับ
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 คิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระดับมากถึงมากที่สุด และ
เกือบร้อยละ 90 เห็นด้วยที่ว่าการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลฯ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 เห็นด้วยต่อกรณีห้าม
จำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 เห็นว่าควรห้ามจำหน่าย/ ขายตลอดช่วงเทศกาล ร้อยละ 5.9
เห็นว่าควรห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกของเทศกาล ร้อยละ 3.3 เห็นว่าควรห้ามเฉพาะวันสุดท้ายของเทศกาล และร้อยละ 16.2 เห็นว่าควรห้าม
เฉพาะวันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาล
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดคนขับรถ หากตรวจพบว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดพร้อมดื่มบนรถและ
ควรมีการเอาผิดตลอดทุกช่วงเวลา ในขณะที่ร้อยละ 11.7 เห็นด้วยเฉพาะช่วงเทศกาล ร้อยละ 4.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.6 ไม่มีความเห็น
ที่น่าสนใจคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 คิดว่าการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดอุบัติเหตุลงได้มากถึงมากที่สุด และข้อเสนอ
แนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล เมื่อตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ร้อยละ 52.0 ระบุผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย ร้อยละ
29.0 ขับรถด้วยความไม่ประมาท ตั้งสติก่อนสตาร์ท ร้อยละ 18.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรกวดขันอย่างเข้มงวดจริงจัง และร้อยละ 16.8 ห้ามจำหน่าย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงเทศกาล ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนจำนวนมากยังคงพบเห็นการซื้อขายเหล้าตามสถานที่ต่างๆ ที่
กฎหมายห้ามจำหน่าย เช่น ปั๊มน้ำมัน หอพัก วัดและศาสนสถานต่างๆ นอกจากนี้ ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและการทำงานของสื่อมวลชนช่วงเทศกาล
สงกรานต์ที่ผ่านมาทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความตระหนักและจิตสำนึกเห็นถึงผลกระทบของการดื่มเหล้ากับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะห้ามขายเหล้าตลอดช่วงเทศกาล และเห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดคนขับรถถ้าตรวจพบว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เปิดพร้อมดื่มบนรถ คณะผู้วิจัยหวังว่าผลวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและสังคมนำไปพิจารณาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลทำให้ความสุขของคน
ไทยลดน้อยลงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะเทศกาลนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนไทยควรมีแต่ความสุขฉลองโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทยตามวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงาม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่องประเมินผลการซื้อขายเหล้าของคนไทยและการห้าม
ขายเหล้าช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,757
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.3 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.1 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 23.8 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย
ร้อยละ 20.9 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 16.8 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.3 เป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ไม่ระบุอาชีพ
นอกจากนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนนั้น พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 49.3 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 11.1 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาที่กฎหมายห้ามขาย
ลำดับที่ การซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงหลัง 24.00 น. ถึง เวลา 11.00 น. ค่าร้อยละ
หรือหลัง 14.00 น. จนถึงเวลา 17.00 น.
1 ไปซื้อและสามารถซื้อได้ 31.9
2 ไปซื้อแต่คนขายไม่ขายให้ 2.4
3 ไม่ได้ไปซื้อในช่วงเวลาดังกล่าว 65.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุร้านค้าขายเหล้าในเวลาที่กฎหมายห้ามขาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ร้านค้าที่มีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่กฎหมายห้ามขาย ค่าร้อยละ
1 ร้านขายของชำ/โชว์ห่วย 69.3
2 มินิมาร์ท/ร้านสะดวกซื้อ 25.6
3 ร้านอาหาร 10.5
4 ผับ เธค บาร์ คาราโอเกะ 7.5
5 ร้านขายเครื่องดื่ม 24.2
6 ร้านเร่ขาย 8.5
7 ร้านเหล้าปั่น 4.5
8 อื่นๆ 2.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้พบเห็นซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามสถานที่
ที่กฎหมายห้ามจำหน่าย (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุพบเห็นการซื้อขายและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่มีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งที่กฎหมายห้ามขาย ค่าร้อยละ
1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง/ปั๊มน้ำมัน/ร้านค้าบริเวณใกล้สถานี 60.5
2 หอพัก 26.5
3 วัด/ศาสนสถานต่างๆ 22.2
4 โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/สถานบันการศึกษาต่างๆ 11.5
5 สวนสาธารณะของทางราชการ 10.5
6 สถานที่ราชการต่างๆ 7.0
7 สถานบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 3.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลมากที่สุด 45.7
2 มีผลมาก 41.6
3 ปานกลาง 9.6
4 มีผลน้อย 2.4
5 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุเลย 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 55.1
2 เห็นด้วย 33.4
3 ปานกลาง 6.3
4 ไม่เห็นด้วย 2.5
5 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.1
2 ไม่เห็นด้วยที่จะห้ามจำหน่าย 19.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเงื่อนไขในการห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุเห็นด้วยกับการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล)
ลำดับที่ เงื่อนไขในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล ค่าร้อยละ
1 ห้ามจำหน่าย/ขายตลอดช่วงเทศกาล 74.6
2 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกของเทศกาล 5.9
3 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันสุดท้ายของเทศกาล 3.3
4 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาล 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีกฎหมายเอาผิดคนขับรถ หากมีการตรวจพบว่ามี
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดพร้อมดื่มบนรถ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย และควรมีการเอาผิดตลอดทุกช่วงเวลา 79.6
2 เห็นด้วย ว่าควรมีการเอาผิดในช่วงเทศกาล 11.7
3 ไม่เห็นด้วย 4.1
4 ไม่มีความเห็น 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
กับการช่วยลดอุบัติเหตุ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ช่วยได้มาก 42.0
2 ช่วยได้มากที่สุด 32.5
3 ปานกลาง 14.2
4 ช่วยได้น้อย 8.2
5 คิดว่าไม่ช่วยลดอุบัติเหตุเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ค่าร้อยละ
1 ผู้ที่จะต้องขับขี่ยานพาหนะไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย 52.0
2 ขับรถด้วยความไม่ประมาท/ตั้งสติก่อนสตาร์ท/ไม่ขับเร็ว/ไม่โทรศัพท์ขณะขับขี่ 29.0
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรกวดขันอย่างเข้มงวดและจริงจัง 18.5
4 ควรห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงเทศกาล/ควรควบคุมร้านค้าที่จำหน่าย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเข้มงวดจริงจัง 16.8
5 เพิ่มบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนให้หนักมากขึ้น 9.9
6 เพิ่มมาตรการลดอุบัติเหตุให้เข้มงวดมากขึ้น/เพิ่มการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อลดอุบัติเหตุให้มากขึ้น 9.1
7 ให้เคารพกฎจราจร 7.2
8 อื่นๆ อาทิ หลีกเลี่ยงการเดินทางในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง/ควรมีการตรวจสภาพรถก่อนการเดินทาง 3.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ประเมินผลพฤติกรรมการซื้อขายเหล้าของคนไทยและการห้ามขายเหล้าช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,757 ตัวอย่าง ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 — 21
เมษายน 2551 ผลสำรวจที่ค้นพบว่า
ประชาชนเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.9 ไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสามารถซื้อได้ในช่วงเวลาที่กฎหมายห้ามจำหน่าย ร้อยละ
2.4 ไปซื้อแต่คนขายไม่ขายให้ และร้อยละ 65.7 ไม่ได้ไปซื้อในช่วงเวลาดังกล่าว ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 ซื้อได้จากร้านขายของ
ชำ / โชว์ห่วย ร้อยละ 25.6 ซื้อจากมินิมาร์ทและร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 24.2 ซื้อจากร้านขายเครื่องดื่ม และร้อยละ 10.5 ซื้อจากร้านขายอาหาร
ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนส่วนใหญ่เคยพบเห็นการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามสถานที่ที่กฎหมายห้ามจำหน่าย โดยร้อยละ 60.5 พบ
เห็นการซื้อขายที่สถานีบริการน้ำมัน รองลงมาคือร้อยละ 26.5 ที่หอพัก ร้อยละ 22.2 ที่วัด/ศาสนสถานต่างๆ ร้อยละ 11.5 ที่โรงเรียน
มหาวิทยาลัย และร้อยละ 10.5 ที่สวนสาธารณะ ตามลำดับ
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.3 คิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระดับมากถึงมากที่สุด และ
เกือบร้อยละ 90 เห็นด้วยที่ว่าการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลฯ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 เห็นด้วยต่อกรณีห้าม
จำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 เห็นว่าควรห้ามจำหน่าย/ ขายตลอดช่วงเทศกาล ร้อยละ 5.9
เห็นว่าควรห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกของเทศกาล ร้อยละ 3.3 เห็นว่าควรห้ามเฉพาะวันสุดท้ายของเทศกาล และร้อยละ 16.2 เห็นว่าควรห้าม
เฉพาะวันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาล
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 เห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดคนขับรถ หากตรวจพบว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดพร้อมดื่มบนรถและ
ควรมีการเอาผิดตลอดทุกช่วงเวลา ในขณะที่ร้อยละ 11.7 เห็นด้วยเฉพาะช่วงเทศกาล ร้อยละ 4.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.6 ไม่มีความเห็น
ที่น่าสนใจคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 คิดว่าการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยลดอุบัติเหตุลงได้มากถึงมากที่สุด และข้อเสนอ
แนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล เมื่อตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พบว่า ร้อยละ 52.0 ระบุผู้ที่ต้องขับขี่ยานพาหนะไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย ร้อยละ
29.0 ขับรถด้วยความไม่ประมาท ตั้งสติก่อนสตาร์ท ร้อยละ 18.5 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรกวดขันอย่างเข้มงวดจริงจัง และร้อยละ 16.8 ห้ามจำหน่าย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงเทศกาล ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนจำนวนมากยังคงพบเห็นการซื้อขายเหล้าตามสถานที่ต่างๆ ที่
กฎหมายห้ามจำหน่าย เช่น ปั๊มน้ำมัน หอพัก วัดและศาสนสถานต่างๆ นอกจากนี้ ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นและการทำงานของสื่อมวลชนช่วงเทศกาล
สงกรานต์ที่ผ่านมาทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความตระหนักและจิตสำนึกเห็นถึงผลกระทบของการดื่มเหล้ากับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะห้ามขายเหล้าตลอดช่วงเทศกาล และเห็นด้วยถ้ามีกฎหมายเอาผิดคนขับรถถ้าตรวจพบว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เปิดพร้อมดื่มบนรถ คณะผู้วิจัยหวังว่าผลวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและสังคมนำไปพิจารณาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลทำให้ความสุขของคน
ไทยลดน้อยลงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะเทศกาลนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนไทยควรมีแต่ความสุขฉลองโอกาสขึ้นปีใหม่ของไทยตามวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงาม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมของประชาชนในการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวคิดห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่องประเมินผลการซื้อขายเหล้าของคนไทยและการห้าม
ขายเหล้าช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,757
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.3 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 26.1 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 18.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 23.8 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย
ร้อยละ 20.9 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 16.8 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.3 เป็นผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ไม่ระบุอาชีพ
นอกจากนี้เมื่อพิจารณารายได้ส่วนตัวต่อเดือนนั้น พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 49.3 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 11.1 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 45.1 ระบุมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลาที่กฎหมายห้ามขาย
ลำดับที่ การซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงหลัง 24.00 น. ถึง เวลา 11.00 น. ค่าร้อยละ
หรือหลัง 14.00 น. จนถึงเวลา 17.00 น.
1 ไปซื้อและสามารถซื้อได้ 31.9
2 ไปซื้อแต่คนขายไม่ขายให้ 2.4
3 ไม่ได้ไปซื้อในช่วงเวลาดังกล่าว 65.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุร้านค้าขายเหล้าในเวลาที่กฎหมายห้ามขาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ร้านค้าที่มีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่กฎหมายห้ามขาย ค่าร้อยละ
1 ร้านขายของชำ/โชว์ห่วย 69.3
2 มินิมาร์ท/ร้านสะดวกซื้อ 25.6
3 ร้านอาหาร 10.5
4 ผับ เธค บาร์ คาราโอเกะ 7.5
5 ร้านขายเครื่องดื่ม 24.2
6 ร้านเร่ขาย 8.5
7 ร้านเหล้าปั่น 4.5
8 อื่นๆ 2.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้พบเห็นซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามสถานที่
ที่กฎหมายห้ามจำหน่าย (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุพบเห็นการซื้อขายและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่มีการซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งที่กฎหมายห้ามขาย ค่าร้อยละ
1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง/ปั๊มน้ำมัน/ร้านค้าบริเวณใกล้สถานี 60.5
2 หอพัก 26.5
3 วัด/ศาสนสถานต่างๆ 22.2
4 โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/สถานบันการศึกษาต่างๆ 11.5
5 สวนสาธารณะของทางราชการ 10.5
6 สถานที่ราชการต่างๆ 7.0
7 สถานบริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน 3.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการเกิดอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลมากที่สุด 45.7
2 มีผลมาก 41.6
3 ปานกลาง 9.6
4 มีผลน้อย 2.4
5 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุเลย 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการเมาแล้วขับเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในช่วง
เทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 55.1
2 เห็นด้วย 33.4
3 ปานกลาง 6.3
4 ไม่เห็นด้วย 2.5
5 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.1
2 ไม่เห็นด้วยที่จะห้ามจำหน่าย 19.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเงื่อนไขในการห้ามจำหน่าย/ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ระบุเห็นด้วยกับการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล)
ลำดับที่ เงื่อนไขในการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล ค่าร้อยละ
1 ห้ามจำหน่าย/ขายตลอดช่วงเทศกาล 74.6
2 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกของเทศกาล 5.9
3 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันสุดท้ายของเทศกาล 3.3
4 ห้ามจำหน่าย/ขายเฉพาะวันแรกและวันสุดท้ายของเทศกาล 16.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีกฎหมายเอาผิดคนขับรถ หากมีการตรวจพบว่ามี
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เปิดพร้อมดื่มบนรถ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย และควรมีการเอาผิดตลอดทุกช่วงเวลา 79.6
2 เห็นด้วย ว่าควรมีการเอาผิดในช่วงเทศกาล 11.7
3 ไม่เห็นด้วย 4.1
4 ไม่มีความเห็น 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล
กับการช่วยลดอุบัติเหตุ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ช่วยได้มาก 42.0
2 ช่วยได้มากที่สุด 32.5
3 ปานกลาง 14.2
4 ช่วยได้น้อย 8.2
5 คิดว่าไม่ช่วยลดอุบัติเหตุเลย 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล ค่าร้อยละ
1 ผู้ที่จะต้องขับขี่ยานพาหนะไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย 52.0
2 ขับรถด้วยความไม่ประมาท/ตั้งสติก่อนสตาร์ท/ไม่ขับเร็ว/ไม่โทรศัพท์ขณะขับขี่ 29.0
3 เจ้าหน้าที่ตำรวจควรกวดขันอย่างเข้มงวดและจริงจัง 18.5
4 ควรห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงเทศกาล/ควรควบคุมร้านค้าที่จำหน่าย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเข้มงวดจริงจัง 16.8
5 เพิ่มบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนให้หนักมากขึ้น 9.9
6 เพิ่มมาตรการลดอุบัติเหตุให้เข้มงวดมากขึ้น/เพิ่มการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อลดอุบัติเหตุให้มากขึ้น 9.1
7 ให้เคารพกฎจราจร 7.2
8 อื่นๆ อาทิ หลีกเลี่ยงการเดินทางในบริเวณที่มีการจราจรคับคั่ง/ควรมีการตรวจสภาพรถก่อนการเดินทาง 3.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-