ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญและประเด็น
ร้อนทางการเมืองในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,625
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 90
ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
63.9 คิดว่าเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่าเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นอกจากนี้ ผล
สำรวจพบด้วยว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.9 คิดว่าผู้ที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 คือกลุ่มนักการเมือง ในขณะที่เพียงร้อย
ละ 13.7 เท่านั้นที่คิดว่าเป็นประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ และร้อยละ 32.4 คิดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
“ที่น่าพิจารณาคือ คนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจเดือนมีนาคม พบว่ามีร้อยละ 59.3 แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่ามีร้อยละ
49.6 ที่เห็นด้วยเพราะต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บ้านเมืองจะได้สงบ การเมืองจะเข้มแข็ง เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น ผล
สำรวจล่าสุดนี้พบว่ามีความแตกต่างไปจากการสำรวจครั้งก่อน นอกจากนี้การสำรวจครั้งก่อนเคยพบว่า ร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย แต่การสำรวจล่าสุด
พบร้อยละ 46.9 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้ ไม่ต้องการให้เกิดความ
วุ่นวาย และเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น ร้อยละที่เหลือไม่มีความเห็น ผลสำรวจครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่ามีสัดส่วนไม่แตกต่างกันในทาง
สถิติระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย(ก่ำกึ่งกัน) และเมื่อจำแนกออกเป็นคนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชน กับคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ พบ
ว่าคนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.7 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่คนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
74.5 ไม่เห็นด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ผอ.เอแบคโพลล์ยังได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลุ่มที่
ไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่กลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.1 ไม่เห็นด้วย แต่ร้อยละ 45.3 เห็น
ด้วย ที่เหลือไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าควรเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจครั้งก่อนเดือน
มีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 55.2 แต่ในการสำรวจล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 63.6 ส่วนคนที่คิดว่าควรแก้ไขไปพร้อมๆ กันในการสำรวจครั้งก่อนอยู่ที่ร้อยละ 37.6 แต่
ในการสำรวจล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 29.0 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และกลุ่มไม่มีความเห็น ผลสำรวจทั้งสองครั้งไม่พบความ
แตกต่าง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ
23.6 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 เห็นว่าควรมีการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก่อน ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าไม่ควรมีการลงประชามติ และร้อยละ 1.9 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมืองต่อเรื่องการลง
ประชามติ พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มคือ กลุ่มหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 70 ต่างเห็นควรลงประชามติ
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจยังพบสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยขณะนี้คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 เห็นด้วยว่า รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น
บ้าง เป็นเรื่องที่พอยอมรับได้ ถ้าทำให้ประเทศชาติเจริญมั่งคั่ง ประชาชนอยู่ดีกินดี ในขณะที่ร้อยละ 35.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.1 ไม่มีความ
เห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.9 เห็นด้วยกับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้ประชาชน
อยู่ดีกินดี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าคนในกลุ่มอายุอื่นๆ
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความน่าห่วงใยต่อสังคมประเทศและประชาชนอย่างน้อยสามส่วนคือ ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
กำลังผลักให้ประชาชนแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน โดยเฉพาะคนที่เป็นพลังเงียบที่เป็นคนส่วนใหญ่ไม่ฝักใฝ่ข้างใดกำลังถูกผลักดันไปสู่การแบ่งแยกสอง
ฝากที่ต่างกัน การแบ่งขั้วสองกลุ่มและความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ เพราะจังหวะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความต้อง
การของประชาชนที่เรียกร้องให้แก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนก่อน เช่น ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหายาเสพติดและความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นต้น แต่ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏทำให้สาธารณชนรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังเดินรอยตามรัฐบาลขิงแก่ที่ไปเน้นเรื่องไกลตัว
ประชาชนคือเรื่องรัฐธรรมนูญ ความพยายามของรัฐบาลอาจกลายเป็นเชื้อเพลิงทำให้อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนสองฝ่ายสองขั้วลุกขึ้นเป็นไฟรักไฟ
เกลียดทางการเมืองที่ยากจะควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ การลงประชามติของคนทั้งประเทศน่าจะเป็นทางออกที่ไม่
ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ
ข้อเสนอแนะเพื่อบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนได้จึงอยู่ที่รัฐบาลและสังคมน่าจะเน้นทำงานให้โดนใจสำเร็จใกล้ตัว
ประชาชน ทำให้รัฐบาลและสาธารณชนตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันก่อน และควรพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่กำลังหยั่งรากลึกในจิตใจ
ของกลุ่มเด็กและเยาวชนขณะนี้ให้กลายเป็นวาระสำคัญของประเทศ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังควรเน้นให้องค์กรอิสระสามารถทำงานได้เต็มที่ตาม
กระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงธรรมเพื่อทำให้การเมืองของประเทศอยู่บนหลักธรรมาภิบาลและสันติ
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน: กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน พ.
ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,625 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 6.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 27.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 18.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษา
ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.8 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพ
ของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 43.7 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 22.8 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.0 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
เอกชน ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงาน
รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.2 ระบุยังไม่ได้ทำงาน ในขณะที่
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.1
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.4
5 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล 63.9
2 คิดว่ามุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550
ลำดับที่ บุคคลที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550 ค่าร้อยละ
1 นักการเมือง 53.9
2 ประชาชนทุกคน 13.7
3 ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีนาคม เมษายน
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บ้านเมืองจะได้สงบ
การเมืองจะเข้มแข็ง เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น 59.3 49.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้
ไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย และเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น 32.9 46.9
3 ไม่มีความเห็น 7.8 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จำแนกระหว่าง
กลุ่มประชาชนที่เคยเลือกพรรคการเมือง
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พลังประชาชน ประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 77.7 23.5 47.4
2 ไม่เห็นด้วย 20.1 74.5 47.6
3 ไม่มีความเห็น 2.2 2.0 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จำแนกตามจุดยืน
ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หนุนรัฐบาล ไม่หนุนรัฐบาล พลังเงียบ
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.9 24.2 45.3
2 ไม่เห็นด้วย 23.8 73.3 51.1
3 ไม่มีความเห็น 2.3 2.5 3.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหรือแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจก่อน หรือว่า แก้ไขไปพร้อมๆ กัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน มีนาคม เมษายน
หรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน หรือว่า แก้ไขไปพร้อมๆ กัน ร้อยละ ร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 5.9 5.9
2 ควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน 55.2 63.6
3 ควรแก้ไปพร้อมๆ กัน 37.6 29.0
4 ไม่มีความเห็น 1.3 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้
ลำดับที่ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น 76.4
2 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำแนกตามจุดยืน
ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง สนับสนุนรัฐ ไม่หนุนรัฐ พลังเงียบ รวมทั้งสิ้น
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการลงประชามติ 70.1 74.7 76.1 75
2 ไม่ควรมีการลงประชามติ 27.5 23.1 22.4 23.1
3 ไม่มีความเห็น 2.4 2.2 1.5 1.9
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นบ้าง เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ถ้าทำให้
ประเทศชาติเจริญมั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 63.1
2 ไม่เห็นด้วย 35.8
3 ไม่มีความเห็น 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นบ้าง เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ถ้าทำให้
ประเทศชาติเจริญมั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง อายุต่ำกว่า 20 ปี อายุระหว่าง อายุระหว่าง 30 — 39 ปี อายุระหว่าง อายุต
ร้อยละ 20 — 29 ปี ร้อยละ 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 66.9 64.2 62.5 63.9 60
2 ไม่เห็นด้วย 32.1 34.7 36.4 35.2 38.3
3 ไม่มีความเห็น 1 1.1 1.1 0.9 1.7
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ร้อนทางการเมืองในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,625
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 90
ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
63.9 คิดว่าเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่าเป็นกลุ่มที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นอกจากนี้ ผล
สำรวจพบด้วยว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.9 คิดว่าผู้ที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 คือกลุ่มนักการเมือง ในขณะที่เพียงร้อย
ละ 13.7 เท่านั้นที่คิดว่าเป็นประชาชนทุกคนได้ประโยชน์ และร้อยละ 32.4 คิดว่าทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
“ที่น่าพิจารณาคือ คนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจเดือนมีนาคม พบว่ามีร้อยละ 59.3 แต่ผลสำรวจล่าสุดพบว่ามีร้อยละ
49.6 ที่เห็นด้วยเพราะต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บ้านเมืองจะได้สงบ การเมืองจะเข้มแข็ง เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น ผล
สำรวจล่าสุดนี้พบว่ามีความแตกต่างไปจากการสำรวจครั้งก่อน นอกจากนี้การสำรวจครั้งก่อนเคยพบว่า ร้อยละ 32.9 ไม่เห็นด้วย แต่การสำรวจล่าสุด
พบร้อยละ 46.9 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้ ไม่ต้องการให้เกิดความ
วุ่นวาย และเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น ร้อยละที่เหลือไม่มีความเห็น ผลสำรวจครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่ามีสัดส่วนไม่แตกต่างกันในทาง
สถิติระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วย(ก่ำกึ่งกัน) และเมื่อจำแนกออกเป็นคนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชน กับคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ พบ
ว่าคนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.7 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่คนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
74.5 ไม่เห็นด้วย” ดร.นพดล กล่าว
ผอ.เอแบคโพลล์ยังได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.9 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลุ่มที่
ไม่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่กลุ่มพลังเงียบเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.1 ไม่เห็นด้วย แต่ร้อยละ 45.3 เห็น
ด้วย ที่เหลือไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบด้วยว่า กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าควรเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการสำรวจครั้งก่อนเดือน
มีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 55.2 แต่ในการสำรวจล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 63.6 ส่วนคนที่คิดว่าควรแก้ไขไปพร้อมๆ กันในการสำรวจครั้งก่อนอยู่ที่ร้อยละ 37.6 แต่
ในการสำรวจล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 29.0 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และกลุ่มไม่มีความเห็น ผลสำรวจทั้งสองครั้งไม่พบความ
แตกต่าง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เกรงว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ
23.6 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น และที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 เห็นว่าควรมีการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ก่อน ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าไม่ควรมีการลงประชามติ และร้อยละ 1.9 ไม่มีความเห็น เมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมืองต่อเรื่องการลง
ประชามติ พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มคือ กลุ่มหนุนรัฐบาล กลุ่มไม่หนุนรัฐบาล และกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 70 ต่างเห็นควรลงประชามติ
ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจยังพบสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยขณะนี้คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 เห็นด้วยว่า รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น
บ้าง เป็นเรื่องที่พอยอมรับได้ ถ้าทำให้ประเทศชาติเจริญมั่งคั่ง ประชาชนอยู่ดีกินดี ในขณะที่ร้อยละ 35.8 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.1 ไม่มีความ
เห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.9 เห็นด้วยกับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้ประชาชน
อยู่ดีกินดี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าคนในกลุ่มอายุอื่นๆ
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความน่าห่วงใยต่อสังคมประเทศและประชาชนอย่างน้อยสามส่วนคือ ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
กำลังผลักให้ประชาชนแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน โดยเฉพาะคนที่เป็นพลังเงียบที่เป็นคนส่วนใหญ่ไม่ฝักใฝ่ข้างใดกำลังถูกผลักดันไปสู่การแบ่งแยกสอง
ฝากที่ต่างกัน การแบ่งขั้วสองกลุ่มและความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ เพราะจังหวะเวลาที่ไม่สอดคล้องกับความต้อง
การของประชาชนที่เรียกร้องให้แก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชนก่อน เช่น ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหายาเสพติดและความไม่ปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นต้น แต่ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏทำให้สาธารณชนรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังเดินรอยตามรัฐบาลขิงแก่ที่ไปเน้นเรื่องไกลตัว
ประชาชนคือเรื่องรัฐธรรมนูญ ความพยายามของรัฐบาลอาจกลายเป็นเชื้อเพลิงทำให้อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนสองฝ่ายสองขั้วลุกขึ้นเป็นไฟรักไฟ
เกลียดทางการเมืองที่ยากจะควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ การลงประชามติของคนทั้งประเทศน่าจะเป็นทางออกที่ไม่
ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ
ข้อเสนอแนะเพื่อบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนได้จึงอยู่ที่รัฐบาลและสังคมน่าจะเน้นทำงานให้โดนใจสำเร็จใกล้ตัว
ประชาชน ทำให้รัฐบาลและสาธารณชนตกผลึกเป็นเนื้อเดียวกันก่อน และควรพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่กำลังหยั่งรากลึกในจิตใจ
ของกลุ่มเด็กและเยาวชนขณะนี้ให้กลายเป็นวาระสำคัญของประเทศ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยังควรเน้นให้องค์กรอิสระสามารถทำงานได้เต็มที่ตาม
กระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงธรรมเพื่อทำให้การเมืองของประเทศอยู่บนหลักธรรมาภิบาลและสันติ
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน: กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2-19 เมษายน พ.
ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใน
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,625 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 48.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 6.1 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 27.7 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 26.8 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 18.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษา
ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.8 ระบุระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.7 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี เมื่อพิจารณาถึงการประกอบอาชีพ
ของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 43.7 ระบุมีอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 22.8 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 14.0 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
เอกชน ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.8 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงาน
รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 1.2 ระบุยังไม่ได้ทำงาน ในขณะที่
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 49.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.1
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.4
5 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล 63.9
2 คิดว่ามุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 36.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550
ลำดับที่ บุคคลที่ได้ประโยชน์ ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2550 ค่าร้อยละ
1 นักการเมือง 53.9
2 ประชาชนทุกคน 13.7
3 ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีนาคม เมษายน
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย บ้านเมืองจะได้สงบ
การเมืองจะเข้มแข็ง เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น 59.3 49.6
2 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีแล้ว แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมืองได้
ไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย และเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติ เป็นต้น 32.9 46.9
3 ไม่มีความเห็น 7.8 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จำแนกระหว่าง
กลุ่มประชาชนที่เคยเลือกพรรคการเมือง
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พลังประชาชน ประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 77.7 23.5 47.4
2 ไม่เห็นด้วย 20.1 74.5 47.6
3 ไม่มีความเห็น 2.2 2.0 5.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จำแนกตามจุดยืน
ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ คิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หนุนรัฐบาล ไม่หนุนรัฐบาล พลังเงียบ
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 73.9 24.2 45.3
2 ไม่เห็นด้วย 23.8 73.3 51.1
3 ไม่มีความเห็น 2.3 2.5 3.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหรือแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจก่อน หรือว่า แก้ไขไปพร้อมๆ กัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นว่ารัฐบาลควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน มีนาคม เมษายน
หรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน หรือว่า แก้ไขไปพร้อมๆ กัน ร้อยละ ร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 5.9 5.9
2 ควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน 55.2 63.6
3 ควรแก้ไปพร้อมๆ กัน 37.6 29.0
4 ไม่มีความเห็น 1.3 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้
ลำดับที่ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น 76.4
2 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการลงประชามติต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำแนกตามจุดยืน
ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง สนับสนุนรัฐ ไม่หนุนรัฐ พลังเงียบ รวมทั้งสิ้น
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการลงประชามติ 70.1 74.7 76.1 75
2 ไม่ควรมีการลงประชามติ 27.5 23.1 22.4 23.1
3 ไม่มีความเห็น 2.4 2.2 1.5 1.9
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นบ้าง เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ถ้าทำให้
ประเทศชาติเจริญมั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 63.1
2 ไม่เห็นด้วย 35.8
3 ไม่มีความเห็น 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นบ้าง เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ถ้าทำให้
ประเทศชาติเจริญมั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง อายุต่ำกว่า 20 ปี อายุระหว่าง อายุระหว่าง 30 — 39 ปี อายุระหว่าง อายุต
ร้อยละ 20 — 29 ปี ร้อยละ 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 66.9 64.2 62.5 63.9 60
2 ไม่เห็นด้วย 32.1 34.7 36.4 35.2 38.3
3 ไม่มีความเห็น 1 1.1 1.1 0.9 1.7
รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100
--เอแบคโพลล์--
-พห-