ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความหวังและความกลัวของ
ประชาชน เมื่อรัฐบาลเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระแห่งชาติ กรณีศึกษาประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,772
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-26 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90
ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรม
ของนักการเมืองขณะนี้ระดับมากถึงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 70.1 รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 62.2
เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญของประเทศมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 55.6 วิตกกังวลต่อผลกระทบจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระดับ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.3 รู้สึกเครียดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 11.7 ขัดแย้งกับคนอื่นในที่ทำงานเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 10.1 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 8.9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญระดับมากถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคล องค์กรหรือสิ่งที่ประชาชนมีความหวังที่จะช่วยแก้ไขปัญหานักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.5 มีความหวังต่อศาลรัฐธรรมนูญ รองลงมาคือร้อยละ 78.9 หวังต่อศาลปกครอง ร้อยละ 77.3 หวังต่อศาลยุติธรรม ร้อย
ละ 76.5 หวังต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 71.1 หวังต่อสำนักงาน ปปช. ร้อยละ 70.9 หวังต่อสื่อมวลชน ร้อยละ 66.9 หวังต่อผู้ตรวจการ
รัฐสภา ร้อยละ 63.8 หวังต่อ คตส. ร้อยละ 62.5 หวังต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ร้อยละ 61.8 หวังต่อนักวิชาการ ร้อยละ 59.5 หวังต่อทหารและ
กองทัพ ร้อยละ 59.3 หวังต่อ กกต. ร้อยละ 56.6 หวังต่อแกนนำชุมชน ร้อยละ 49.0 หวังต่อตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในขณะที่เพียงร้อย
ละ 34.2 หวังต่อนักการเมือง และกลุ่มสุดท้ายคือร้อยละ 28.4 หวังต่อกลุ่มนายทุน
ที่น่าพิจารณาคือ ความกลัวของประชาชนต่อสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.7 กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ร้อยละ 87.1 กลัวประชาชนจะเป็นทุกข์กว่าเดิม ร้อยละ 86.9 กลัวปัญหาอาชญากรรมในกลุ่ม
วัยรุ่น ร้อยละ 86.8 กลัวปัญหายาเสพติดกลับมา ร้อยละ 84.7 กลัวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองกลับมา ร้อยละ 81.9 กลัวความรุนแรง
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 74.3 กลัวประชาชนจะเผชิญหน้าทำร้ายกัน ร้อยละ 67.9 กลัวความไม่สงบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
และร้อยละ 61.5 กลัวการปฏิวัติ รัฐประหาร ตามลำดับ
เมื่อถามถึงช่วงเวลาว่าเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือกำลังเหมาะสมที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผลสำรวจพบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.3
บอกว่าเร็วเกินไปที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ ร้อยละ 24.9 บอกว่าช้าเกินไป และร้อยละ 22.8 บอกว่ากำลังเหมาะ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงช่วง
เวลาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กลับพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 บอกว่าช้าเกินไป ร้อยละ 28.8 บอกว่ากำลังเหมาะ มีเพียงร้อยละ 7.6
บอกว่าเร็วเกินไปที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นความผิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
56.6 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เห็นด้วย และร้อยละ 23.1 ไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงแนวคิดที่จะชักชวนคนอื่นร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญถ้าเห็นว่าจะช่วยนักการเมืองบางคนให้พ้นความผิด ผลสำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ไม่คิดจะชักชวนใคร แต่อีกครึ่งหนึ่งคิดจะชักชวน
คนอื่นร่วมต่อต้าน
ผลสำรวจพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุควรลงประชามติว่าให้แก้ไขหรือไม่ก่อน ถ้ามติออกมาว่าให้แก้ไข จึงค่อยมีสมาชิกสภา
ร่าง (สสร.) ขึ้นมาแก้ไขได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุว่า ควรมี สสร. มาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนแล้วจึงให้ประชาชนลงมติว่ารับหรือไม่รับ และร้อย
ละ 8.9 ระบุอื่นๆ อาทิ ไม่ต้องแก้ไขอีกแล้ว มุ่งแก้เศรษฐกิจก่อน และแล้วแต่รัฐบาล เป็นต้น
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ และอึดอัดกับพฤติกรรมนักการ
เมืองที่ไม่สนใจฟังเสียงของประชาชนที่อยากให้นักการเมืองช่วยกันมุ่งแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะความพยายามแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญขณะนี้กำลังผลักให้ประชาชนไปอยู่ในมุมที่ตัดสินใจ “แบ่งแยก” ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่พอๆ กัน โดยคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่เห็นไปในทิศ
ทางเดียวกันในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญช่วงเวลานี้ การกล่าวอ้างความต้องการของกลุ่มคนที่เลือกพรรคพลังประชาชนเพียงกลุ่มเดียวก็ต้องอ้างด้วย
ความระมัดระวัง เพราะพรรคพลังประชาชนเองไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงลำพัง จึงต้องนำเสียงคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นฐานในการคิดและ
ตัดสินใจ
“ผลสำรวจก่อนหน้านี้พบด้วยว่า การมุ่งมั่นแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ จะส่งผลทำให้เกิดความระส่ำระสาย เพราะแม้แต่คนที่มีจุดยืนไม่ฝักใฝ่
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ) ก็กำลังถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วสองข้างเผชิญหน้ากัน รัฐบาลจึงไม่ควร มุทะลุดุดันเพราะภาพที่ค้นพบแบบนี้สังคมไทยจะเดิน
หน้าต่อไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าฝ่ายการเมืองฟังเสียงประชาชนและต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังเพื่อความดีส่วนรวม ก็น่าจะพิจารณาความ
เห็นของประชาชนที่ว่า ควรลงประชามติว่าจะให้แก้หรือไม่ก่อน แล้วจึงค่อยมี สสร. ที่เป็นกลางจากทุกภาคส่วนขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผลสำรวจครั้งนี้
ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังมีความหวังต่อ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และองค์กรอิสระมากกว่าหน่วยงานราชการที่เป็นแขนขาของรัฐบาลในการแก้
ปัญหาให้นักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองของไทยเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงาน
ปปช. และสื่อมวลชน ดังนั้น ถ้าฝ่ายการเมืองกระทำการใดๆที่กระทบต่อองค์กรอิสระอาจเป็นการทำลายความหวังของประชาชนส่วนใหญ่ได้” ดร.นพ
ดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความหวังและความกลัวของประชาชน เมื่อรัฐบาลเอา
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระแห่งชาติ กรณีศึกษาประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 23-26 เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี จันทบุรี
นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ หนองคาย เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร พัทลุง เทคนิควิธีการ
สุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,772 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น
คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย
จำนวนทั้งสิ้น 113 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 31.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 51.3
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 26.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 15.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 4.1
5 ไม่ได้ติดตาม 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน มาก-มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึงไม่มีเลย รวมทั้งสิ้น
1. รู้สึกอึดอัดกับ พฤติกรรมของนักการเมืองขณะนี้ 75.0 8.1 16.9 100.0
2. รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ 70.1 8.1 21.8 100.0
3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 62.2 10.7 27.1 100.0
4. วิตกกังวลต่อผลกระทบจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 55.6 13.3 31.1 100.0
5. เครียดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 33.3 13.5 53.2 100.0
6. ขัดแย้งกับคนอื่นๆ ในที่ทำงานเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 11.7 5.7 82.6 100.0
7. ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 10.1 5.7 84.2 100.0
8. ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 8.9 6.2 84.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคล องค์กร / สิ่งที่ประชาชนมีความหวังว่าจะช่วยป้องกันแก้ไข
ปัญหานักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย
ลำดับที่ บุคคล / องค์กร / สิ่งที่ประชาชนหวังจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหา มีความหวัง ไม่มีความหวัง
ให้นักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 80.5 19.5
2 ศาลปกครอง 78.9 21.1
3 ศาลยุติธรรม 77.3 22.7
4 สำนักงานอัยการสูงสุด 76.5 23.5
5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 71.1 28.9
6 สื่อมวลชน 70.9 29.1
7 ผู้ตรวจการรัฐสภา 66.9 33.1
8 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) 63.8 36.2
9 รัฐธรรมนูญปี 2550 (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) 62.5 37.5
10 นักวิชาการ 61.8 38.2
11 ทหาร กองทัพ 59.5 40.5
12 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 59.3 40.7
13 แกนนำชุมชน 56.6 43.4
14 ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 49.0 51.0
15 นักการเมือง 34.2 65.8
16 กลุ่มนายทุน 28.4 71.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่รู้สึกกลัวว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทยกำลังขัดแย้ง
เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่รูสึกกลัวว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทย ค่าร้อยละ
กำลังขัดแย้งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
1 เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก 88.7
2 ประชาชนจะเป็นทุกข์หนักกว่าเดิม 87.1
3 ปัญหาอาชญากรรมในกลุ่มวัยรุ่น 86.9
4 ปัญหายาเสพติดจะกลับมา 86.8
5 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองจะกลับมาเช่นเดิม 84.7
6 ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 81.9
7 ประชาชนจะเผชิญหน้ากัน ทำร้ายกัน 74.3
8 ความไม่สงบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 67.9
9 ปฏิวัติ รัฐประหาร 61.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเหมาะสมต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไปที่จะแก้ไข 52.3
2 ช้าเกินไป 24.9
3 เวลานี้กำลังเหมาะที่จะแก้ไข 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ
ประเทศโดยรัฐบาลและประชาชนในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
ของประเทศโดยรัฐบาลและประชาชนในปัจจุบัน
1 เร็วเกินไป 7.6
2 ช้าเกินไป 63.6
3 เวลานี้กำลังเหมาะที่จะแก้ไข 28.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือให้นักการเมือง
บางคนหลุดพ้นความผิด
ลำดับที่ คิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ค่าร้อยละ
ช่วยเหลือให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นความผิด
1 เห็นด้วย 20.3
2 ไม่เห็นด้วย 56.6
3 ไม่มีความเห็น 23.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วย
ให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นจากความผิด
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
จะช่วยให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นจากความผิด
1 คิดจะชักชวนคนอื่นๆ ร่วมต่อต้านการแก้ไข 49.6
2 ไม่คิดจะชักชวนคนอื่นๆ ร่วมต่อต้านการแก้ไข 50.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลำดับก่อนและหลังในการให้มีสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ (สสร.) ชุดใหม่ กับการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ลำดับก่อนและหลังในการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ค่าร้อยละ
ชุดใหม่ กับการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
1 มี สสร. มาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน แล้ว ลงประชามติว่ารับหรือไม่รับ 34.3
2 ลงประชามติว่าให้แก้ไขหรือไม่ก่อน ถ้ามติออกมาให้แก้ไขจึงค่อยมี สสร. มาแก้ไขได้ 56.8
3 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องแก้ไขอีกแล้วมุ่งแก้เศรษฐกิจก่อน และแล้วแต่รัฐบาล เป็นต้น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประชาชน เมื่อรัฐบาลเอาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระแห่งชาติ กรณีศึกษาประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,772
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 23-26 เมษายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 90
ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.0 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรม
ของนักการเมืองขณะนี้ระดับมากถึงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 70.1 รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 62.2
เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญของประเทศมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 55.6 วิตกกังวลต่อผลกระทบจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระดับ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.3 รู้สึกเครียดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 11.7 ขัดแย้งกับคนอื่นในที่ทำงานเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 10.1 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 8.9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญระดับมากถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคคล องค์กรหรือสิ่งที่ประชาชนมีความหวังที่จะช่วยแก้ไขปัญหานักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.5 มีความหวังต่อศาลรัฐธรรมนูญ รองลงมาคือร้อยละ 78.9 หวังต่อศาลปกครอง ร้อยละ 77.3 หวังต่อศาลยุติธรรม ร้อย
ละ 76.5 หวังต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ร้อยละ 71.1 หวังต่อสำนักงาน ปปช. ร้อยละ 70.9 หวังต่อสื่อมวลชน ร้อยละ 66.9 หวังต่อผู้ตรวจการ
รัฐสภา ร้อยละ 63.8 หวังต่อ คตส. ร้อยละ 62.5 หวังต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ร้อยละ 61.8 หวังต่อนักวิชาการ ร้อยละ 59.5 หวังต่อทหารและ
กองทัพ ร้อยละ 59.3 หวังต่อ กกต. ร้อยละ 56.6 หวังต่อแกนนำชุมชน ร้อยละ 49.0 หวังต่อตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในขณะที่เพียงร้อย
ละ 34.2 หวังต่อนักการเมือง และกลุ่มสุดท้ายคือร้อยละ 28.4 หวังต่อกลุ่มนายทุน
ที่น่าพิจารณาคือ ความกลัวของประชาชนต่อสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทยกำลังมีความขัดแย้งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.7 กลัวเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก ร้อยละ 87.1 กลัวประชาชนจะเป็นทุกข์กว่าเดิม ร้อยละ 86.9 กลัวปัญหาอาชญากรรมในกลุ่ม
วัยรุ่น ร้อยละ 86.8 กลัวปัญหายาเสพติดกลับมา ร้อยละ 84.7 กลัวปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองกลับมา ร้อยละ 81.9 กลัวความรุนแรง
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 74.3 กลัวประชาชนจะเผชิญหน้าทำร้ายกัน ร้อยละ 67.9 กลัวความไม่สงบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
และร้อยละ 61.5 กลัวการปฏิวัติ รัฐประหาร ตามลำดับ
เมื่อถามถึงช่วงเวลาว่าเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือกำลังเหมาะสมที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผลสำรวจพบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.3
บอกว่าเร็วเกินไปที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ ร้อยละ 24.9 บอกว่าช้าเกินไป และร้อยละ 22.8 บอกว่ากำลังเหมาะ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงช่วง
เวลาในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ กลับพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.6 บอกว่าช้าเกินไป ร้อยละ 28.8 บอกว่ากำลังเหมาะ มีเพียงร้อยละ 7.6
บอกว่าเร็วเกินไปที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้
นอกจากนี้ เมื่อถามความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นความผิด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
56.6 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.3 เห็นด้วย และร้อยละ 23.1 ไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงแนวคิดที่จะชักชวนคนอื่นร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญถ้าเห็นว่าจะช่วยนักการเมืองบางคนให้พ้นความผิด ผลสำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ไม่คิดจะชักชวนใคร แต่อีกครึ่งหนึ่งคิดจะชักชวน
คนอื่นร่วมต่อต้าน
ผลสำรวจพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุควรลงประชามติว่าให้แก้ไขหรือไม่ก่อน ถ้ามติออกมาว่าให้แก้ไข จึงค่อยมีสมาชิกสภา
ร่าง (สสร.) ขึ้นมาแก้ไขได้ ในขณะที่ร้อยละ 34.3 ระบุว่า ควรมี สสร. มาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนแล้วจึงให้ประชาชนลงมติว่ารับหรือไม่รับ และร้อย
ละ 8.9 ระบุอื่นๆ อาทิ ไม่ต้องแก้ไขอีกแล้ว มุ่งแก้เศรษฐกิจก่อน และแล้วแต่รัฐบาล เป็นต้น
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ และอึดอัดกับพฤติกรรมนักการ
เมืองที่ไม่สนใจฟังเสียงของประชาชนที่อยากให้นักการเมืองช่วยกันมุ่งแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก เพราะความพยายามแก้ไขรัฐ
ธรรมนูญขณะนี้กำลังผลักให้ประชาชนไปอยู่ในมุมที่ตัดสินใจ “แบ่งแยก” ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่พอๆ กัน โดยคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่เห็นไปในทิศ
ทางเดียวกันในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญช่วงเวลานี้ การกล่าวอ้างความต้องการของกลุ่มคนที่เลือกพรรคพลังประชาชนเพียงกลุ่มเดียวก็ต้องอ้างด้วย
ความระมัดระวัง เพราะพรรคพลังประชาชนเองไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงลำพัง จึงต้องนำเสียงคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศเป็นฐานในการคิดและ
ตัดสินใจ
“ผลสำรวจก่อนหน้านี้พบด้วยว่า การมุ่งมั่นแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ จะส่งผลทำให้เกิดความระส่ำระสาย เพราะแม้แต่คนที่มีจุดยืนไม่ฝักใฝ่
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ) ก็กำลังถูกแบ่งออกเป็นสองขั้วสองข้างเผชิญหน้ากัน รัฐบาลจึงไม่ควร มุทะลุดุดันเพราะภาพที่ค้นพบแบบนี้สังคมไทยจะเดิน
หน้าต่อไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าฝ่ายการเมืองฟังเสียงประชาชนและต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างจริงจังเพื่อความดีส่วนรวม ก็น่าจะพิจารณาความ
เห็นของประชาชนที่ว่า ควรลงประชามติว่าจะให้แก้หรือไม่ก่อน แล้วจึงค่อยมี สสร. ที่เป็นกลางจากทุกภาคส่วนขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ผลสำรวจครั้งนี้
ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่กำลังมีความหวังต่อ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และองค์กรอิสระมากกว่าหน่วยงานราชการที่เป็นแขนขาของรัฐบาลในการแก้
ปัญหาให้นักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองของไทยเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงาน
ปปช. และสื่อมวลชน ดังนั้น ถ้าฝ่ายการเมืองกระทำการใดๆที่กระทบต่อองค์กรอิสระอาจเป็นการทำลายความหวังของประชาชนส่วนใหญ่ได้” ดร.นพ
ดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความหวังและความกลัวของประชาชน เมื่อรัฐบาลเอา
การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระแห่งชาติ กรณีศึกษาประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 23-26 เมษายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย
คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี จันทบุรี
นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ หนองคาย เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร พัทลุง เทคนิควิธีการ
สุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,772 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น
คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย
จำนวนทั้งสิ้น 113 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 31.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 24.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 19.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 5.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.4 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 4.2 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 51.3
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 26.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 15.4
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 4.1
5 ไม่ได้ติดตาม 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ
ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน มาก-มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึงไม่มีเลย รวมทั้งสิ้น
1. รู้สึกอึดอัดกับ พฤติกรรมของนักการเมืองขณะนี้ 75.0 8.1 16.9 100.0
2. รู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศการเมืองขณะนี้ 70.1 8.1 21.8 100.0
3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 62.2 10.7 27.1 100.0
4. วิตกกังวลต่อผลกระทบจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 55.6 13.3 31.1 100.0
5. เครียดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 33.3 13.5 53.2 100.0
6. ขัดแย้งกับคนอื่นๆ ในที่ทำงานเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 11.7 5.7 82.6 100.0
7. ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 10.1 5.7 84.2 100.0
8. ขัดแย้งกับคนในครอบครัวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 8.9 6.2 84.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคล องค์กร / สิ่งที่ประชาชนมีความหวังว่าจะช่วยป้องกันแก้ไข
ปัญหานักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย
ลำดับที่ บุคคล / องค์กร / สิ่งที่ประชาชนหวังจะช่วยป้องกันแก้ไขปัญหา มีความหวัง ไม่มีความหวัง
ให้นักการเมืองที่ไม่ดีออกไปจากระบบการเมืองไทย
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 80.5 19.5
2 ศาลปกครอง 78.9 21.1
3 ศาลยุติธรรม 77.3 22.7
4 สำนักงานอัยการสูงสุด 76.5 23.5
5 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 71.1 28.9
6 สื่อมวลชน 70.9 29.1
7 ผู้ตรวจการรัฐสภา 66.9 33.1
8 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) 63.8 36.2
9 รัฐธรรมนูญปี 2550 (รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) 62.5 37.5
10 นักวิชาการ 61.8 38.2
11 ทหาร กองทัพ 59.5 40.5
12 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 59.3 40.7
13 แกนนำชุมชน 56.6 43.4
14 ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 49.0 51.0
15 นักการเมือง 34.2 65.8
16 กลุ่มนายทุน 28.4 71.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาสำคัญที่รู้สึกกลัวว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทยกำลังขัดแย้ง
เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญที่รูสึกกลัวว่าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมไทย ค่าร้อยละ
กำลังขัดแย้งเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
1 เศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก 88.7
2 ประชาชนจะเป็นทุกข์หนักกว่าเดิม 87.1
3 ปัญหาอาชญากรรมในกลุ่มวัยรุ่น 86.9
4 ปัญหายาเสพติดจะกลับมา 86.8
5 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมืองจะกลับมาเช่นเดิม 84.7
6 ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 81.9
7 ประชาชนจะเผชิญหน้ากัน ทำร้ายกัน 74.3
8 ความไม่สงบในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 67.9
9 ปฏิวัติ รัฐประหาร 61.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเหมาะสมต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไปที่จะแก้ไข 52.3
2 ช้าเกินไป 24.9
3 เวลานี้กำลังเหมาะที่จะแก้ไข 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของ
ประเทศโดยรัฐบาลและประชาชนในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
ของประเทศโดยรัฐบาลและประชาชนในปัจจุบัน
1 เร็วเกินไป 7.6
2 ช้าเกินไป 63.6
3 เวลานี้กำลังเหมาะที่จะแก้ไข 28.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเหลือให้นักการเมือง
บางคนหลุดพ้นความผิด
ลำดับที่ คิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อ ค่าร้อยละ
ช่วยเหลือให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นความผิด
1 เห็นด้วย 20.3
2 ไม่เห็นด้วย 56.6
3 ไม่มีความเห็น 23.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะช่วย
ให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นจากความผิด
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการร่วมต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
จะช่วยให้นักการเมืองบางคนหลุดพ้นจากความผิด
1 คิดจะชักชวนคนอื่นๆ ร่วมต่อต้านการแก้ไข 49.6
2 ไม่คิดจะชักชวนคนอื่นๆ ร่วมต่อต้านการแก้ไข 50.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลำดับก่อนและหลังในการให้มีสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ (สสร.) ชุดใหม่ กับการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ลำดับก่อนและหลังในการให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ค่าร้อยละ
ชุดใหม่ กับการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
1 มี สสร. มาแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน แล้ว ลงประชามติว่ารับหรือไม่รับ 34.3
2 ลงประชามติว่าให้แก้ไขหรือไม่ก่อน ถ้ามติออกมาให้แก้ไขจึงค่อยมี สสร. มาแก้ไขได้ 56.8
3 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องแก้ไขอีกแล้วมุ่งแก้เศรษฐกิจก่อน และแล้วแต่รัฐบาล เป็นต้น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-