รายงานแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ เปรียบเทียบก่อน - หลังการเลือกตั้ง (23 ธันวาคม 2550)ประจำเดือน
เมษายน 2551: กรณีศึกษาประชาชนใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง รายงานแนว
โน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) เปรียบเทียบก่อน - หลังการเลือกตั้ง (23
ธันวาคม 2550) กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,180 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25
เมษายน- 3 พฤษภาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ดร.นพดล กล่าวว่า กลุ่มปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้พบว่าประชาชนมีความสุขเรียงลำดับดังนี้ ความจงรักภักดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 9.14 อันดับสอง
บรรยากาศภายในครอบครัว 6.86 วัฒนธรรมประเพณีไทย 6.61 การสืบสานประเพณีไทย งานสงกรานต์ 6.60 สุขภาพกาย 6.48 หน้าที่การงาน
6.46 สุขภาพใจ 6.30 สภาพแวดล้อม 6.15 การบริการด้านการแพทย์ 6.07 บรรยากาศการช่วยเหลือกันในชุมชน 5.73 ความเป็นธรรมทางสังคม
5.09 บรรยากาศทางการเมือง 3.89 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 3.84 และสถานการณ์ในภาคใต้ 2.67 ตามลำดับ ซึ่งน่าพิจารณาคือ กลุ่มปัจจัยสาม
ด้านที่มาเป็นอันดับท้ายๆ คือบรรยากาศทางการเมือง สภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ในภาคใต้ ที่ทำให้คนไทยสุขน้อยที่สุด
“นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศช่วง ก่อน — หลังการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม
2550 จนถึงปัจจุบัน พบว่า คนไทยสุขลด แต่ทุกข์เพิ่ม โดยลดลงจาก 6.90 ช่วงเดือนตุลาคม 2550 (ก่อนเลือกตั้ง) เหลือ 6.39 ในเดือนมีนาคม
และครั้งล่าสุดเหลือ 6.30 ในเดือนเมษายน แต่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างดีและเป็นค่าความสุขที่สูงกว่าช่วงหลังการทำรัฐประหารในเดือน
กันยายน 2549 อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่า ความทุกข์ของประชาชนคนไทยสูงขึ้นจาก 4.39 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ 4.90 ใน
เดือนเมษายน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ระดับความทุกข์ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นนี้สวนทางกลับสัดส่วนของคนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่ง
ครัดในการสำรวจครั้งนี้ โดยพบว่า คนไทยที่เคยใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดลดลงจากร้อยละ 32.1 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เหลือ
ร้อยละ 22.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุดซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ ผลที่ค้นพบเช่นนี้ อาจเป็นเพราะรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องไม่ได้รักษาระดับการรับรู้ในหมู่ประชาชนและกระตุ้นพฤติกรรมของประชาชนให้ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
“นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การรับรู้ของสาธารณชนต่อความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ พบว่า มีกลุ่ม
ปัญหา 3 ด้านที่รัฐบาลน่าจะให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะสาธารณชนรับรู้น้อยถึงน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้าง
เสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติ 2) ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) ปัญหาเศรษฐกิจ โดยมีค่าร้อยละประชาชนที่รับรู้น้อย
ถึงน้อยที่สุดคือ 45.5 ต่อร้อยละ 42.7 และร้อยละ 41.2 ตามลำดับ ในขณะที่การแก้ปัญหายาเสพติดของประชาชนประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ
25.3 รับรู้ถึงความพยายามของรัฐบาลระดับมากถึงมากที่สุด และผลสำรวจยังพบด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสรัฐบาลชุด
ปัจจุบันทำงานต่อไป โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี 7 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 38.1 ไม่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อแล้ว” ดร.นพดล กล่าว
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ชี้ให้เห็นกลุ่มปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้นอันดับแรกคือ การ
ได้รับประโยชน์จากโครงการพระราชดำริต่างๆ อันดับสองได้แก่ หน้าที่การงาน อันดับสามได้แก่ ครอบครัว อันดับสี่ได้แก่ สุขภาพกาย อันดับห้าคือ
สุขภาพใจ อันดับหกได้แก่ บรรยากาศคนในชุมชน อันดับเจ็ดได้แก่ สถานการณ์การเมือง อันดับแปดคือ ระดับการศึกษา อันดับเก้าคือ ความเป็นธรรม
ทางสังคม อันดับสิบคือวัฒนธรรมประเพณีไทย และความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตามลำดับ แต่การใช้ความรุนแรง
ใดๆ ในการแก้ปัญหาจะทำให้ความสุขคนไทยลดลง
นอกจากนี้ ที่น่าใจหายคือ คนไทยในการสำรวจครั้งนี้ที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดลดลง ความสุขมวลรวมลดลง แต่ความ
ทุกข์เพิ่มขึ้น จึงฝากข้อมูลวิจัยครั้งนี้ให้ให้รัฐบาลและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องลองนำไปพิจารณาเพื่อหนุนเสริมความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยทั้งประเทศต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ประจำเดือนเมษายน 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ วันที่ 25 เมษายน- 3
พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่
เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ สกลนคร กระบี่
ชุมพร และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,180 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 13.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 6.8 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 35.2 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.0 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 23.8 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 62.3
2 3-4 วัน 17.2
3 1-2 วัน 7.1
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนเมษายน 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.14
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 6.86
3 วัฒนธรรมประเพณี 6.61
4 การสืบสานประเพณีของคนไทย (สงกรานต์) 6.60
5 สุขภาพทางกาย 6.48
6 หน้าที่การทำงาน 6.46
7 สุขภาพใจ 6.30
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.15
9 การบริการด้านการแพทย์ 6.07
10 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 5.73
11 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.09
12 บรรยากาศทางเมือง 3.89
13 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 3.84
14 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.67
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนเมษายน 2551 6.30
ตารางที่ 3 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.- เม.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ธ.ค.49 ก.ค.50 มี.ค.51
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39 6.3
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม กับ
เดือนเมษายน 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ. — มี.ค. 2551 เมษายน 2551
4.39 4.90
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนเมษายน 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51 เม.ย.51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0 2.4
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5 16.5
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4 58.4
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1 22.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุคุณประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพระราชดำริของในหลวง
ลำดับที่ คุณประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพระราชดำริ ค่าร้อยละ
1 ได้รับน้อยถึงไม่ได้รับเลย 3.8
2 ปานกลาง 19.6
3 ได้รับมาก ถึงมากที่สุด 76.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพยายามของรัฐบาลในการทำงานด้านต่างๆ
ความพยายามของรัฐบาลด้าน... น้อยถึงไม่มีเลย ปานกลาง มากถึงมากที่สุด รวมทั้งสิ้น
1. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสมานฉันท์ 45.5 36.5 18.0 100.0
2. การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 42.7 33.6 23.7 100.0
3. การแก้ไขปํญหาเศรษฐกิจ 41.2 38.0 20.8 100.0
4. การแก้ปัญหายาเสพติด 38.8 35.9 25.3 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ให้โอกาส ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ประมาณ 2 ปี 7 เดือน 61.9
2 ไม่ให้โอกาส 38.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัยสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุ และค่านัยสำคัญทางสถิติ
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวม ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 การได้รับประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ 0.168 0.000***
2 หน้าที่การงาน 0.166 0.000***
3 ครอบครัว 0.148 0.000***
4 สุขภาพกาย 0.128 0.000***
5 สุขภาพใจ 0.127 0.000***
6 บรรยากาศในชุมชน 0.086 0.001***
7 สถานการณ์การเมือง 0.083 0.004***
8 ระดับการศึกษา 0.073 .006***
9 ความเป็นธรรมทางสังคม 0.069 0.010***
10 วัฒนธรรมประเพณี 0.062 .020**
11 ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ 0.058 .044**
12 ความจงรักภักดี 0.056 .031**
13 การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาของชุมชน -0.07 .005***
ค่าความสัมพันธ์โดยรวม = .586***
***คือ ค่านัยสำคัญที่ 0.000 หมายถึงมีนัยสำคัญทางสถิติสูงสุด ณ ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เมษายน 2551: กรณีศึกษาประชาชนใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง รายงานแนว
โน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness Index, GDHI) เปรียบเทียบก่อน - หลังการเลือกตั้ง (23
ธันวาคม 2550) กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,180 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25
เมษายน- 3 พฤษภาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์
ดร.นพดล กล่าวว่า กลุ่มปัจจัยที่ศึกษาครั้งนี้พบว่าประชาชนมีความสุขเรียงลำดับดังนี้ ความจงรักภักดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 9.14 อันดับสอง
บรรยากาศภายในครอบครัว 6.86 วัฒนธรรมประเพณีไทย 6.61 การสืบสานประเพณีไทย งานสงกรานต์ 6.60 สุขภาพกาย 6.48 หน้าที่การงาน
6.46 สุขภาพใจ 6.30 สภาพแวดล้อม 6.15 การบริการด้านการแพทย์ 6.07 บรรยากาศการช่วยเหลือกันในชุมชน 5.73 ความเป็นธรรมทางสังคม
5.09 บรรยากาศทางการเมือง 3.89 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 3.84 และสถานการณ์ในภาคใต้ 2.67 ตามลำดับ ซึ่งน่าพิจารณาคือ กลุ่มปัจจัยสาม
ด้านที่มาเป็นอันดับท้ายๆ คือบรรยากาศทางการเมือง สภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ในภาคใต้ ที่ทำให้คนไทยสุขน้อยที่สุด
“นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศช่วง ก่อน — หลังการเลือกตั้ง ส.ส. 23 ธันวาคม
2550 จนถึงปัจจุบัน พบว่า คนไทยสุขลด แต่ทุกข์เพิ่ม โดยลดลงจาก 6.90 ช่วงเดือนตุลาคม 2550 (ก่อนเลือกตั้ง) เหลือ 6.39 ในเดือนมีนาคม
และครั้งล่าสุดเหลือ 6.30 ในเดือนเมษายน แต่ยังคงถือว่าอยู่ในระดับค่อนข้างดีและเป็นค่าความสุขที่สูงกว่าช่วงหลังการทำรัฐประหารในเดือน
กันยายน 2549 อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้พบว่า ความทุกข์ของประชาชนคนไทยสูงขึ้นจาก 4.39 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ 4.90 ใน
เดือนเมษายน” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ระดับความทุกข์ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นนี้สวนทางกลับสัดส่วนของคนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่ง
ครัดในการสำรวจครั้งนี้ โดยพบว่า คนไทยที่เคยใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดลดลงจากร้อยละ 32.1 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เหลือ
ร้อยละ 22.7 ในการสำรวจครั้งล่าสุดซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาบริหารประเทศ ผลที่ค้นพบเช่นนี้ อาจเป็นเพราะรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องไม่ได้รักษาระดับการรับรู้ในหมู่ประชาชนและกระตุ้นพฤติกรรมของประชาชนให้ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
“นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ การรับรู้ของสาธารณชนต่อความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ พบว่า มีกลุ่ม
ปัญหา 3 ด้านที่รัฐบาลน่าจะให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะสาธารณชนรับรู้น้อยถึงน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ความพยายามแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้าง
เสริมความสมานฉันท์ของคนในชาติ 2) ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) ปัญหาเศรษฐกิจ โดยมีค่าร้อยละประชาชนที่รับรู้น้อย
ถึงน้อยที่สุดคือ 45.5 ต่อร้อยละ 42.7 และร้อยละ 41.2 ตามลำดับ ในขณะที่การแก้ปัญหายาเสพติดของประชาชนประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ
25.3 รับรู้ถึงความพยายามของรัฐบาลระดับมากถึงมากที่สุด และผลสำรวจยังพบด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสรัฐบาลชุด
ปัจจุบันทำงานต่อไป โดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี 7 เดือน ในขณะที่ร้อยละ 38.1 ไม่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อแล้ว” ดร.นพดล กล่าว
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ชี้ให้เห็นกลุ่มปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้นอันดับแรกคือ การ
ได้รับประโยชน์จากโครงการพระราชดำริต่างๆ อันดับสองได้แก่ หน้าที่การงาน อันดับสามได้แก่ ครอบครัว อันดับสี่ได้แก่ สุขภาพกาย อันดับห้าคือ
สุขภาพใจ อันดับหกได้แก่ บรรยากาศคนในชุมชน อันดับเจ็ดได้แก่ สถานการณ์การเมือง อันดับแปดคือ ระดับการศึกษา อันดับเก้าคือ ความเป็นธรรม
ทางสังคม อันดับสิบคือวัฒนธรรมประเพณีไทย และความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ ตามลำดับ แต่การใช้ความรุนแรง
ใดๆ ในการแก้ปัญหาจะทำให้ความสุขคนไทยลดลง
นอกจากนี้ ที่น่าใจหายคือ คนไทยในการสำรวจครั้งนี้ที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดลดลง ความสุขมวลรวมลดลง แต่ความ
ทุกข์เพิ่มขึ้น จึงฝากข้อมูลวิจัยครั้งนี้ให้ให้รัฐบาลและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องลองนำไปพิจารณาเพื่อหนุนเสริมความอยู่เย็นเป็นสุขของคนไทยทั้งประเทศต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ประจำเดือนเมษายน 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ วันที่ 25 เมษายน- 3
พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่
เพชรบูรณ์ ตาก พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา ศรีสะเกษ สกลนคร กระบี่
ชุมพร และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,180 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 13.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 31.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 6.8 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 35.2 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.0 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 23.8 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 62.3
2 3-4 วัน 17.2
3 1-2 วัน 7.1
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 11.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนเมษายน 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.14
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 6.86
3 วัฒนธรรมประเพณี 6.61
4 การสืบสานประเพณีของคนไทย (สงกรานต์) 6.60
5 สุขภาพทางกาย 6.48
6 หน้าที่การทำงาน 6.46
7 สุขภาพใจ 6.30
8 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.15
9 การบริการด้านการแพทย์ 6.07
10 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 5.73
11 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.09
12 บรรยากาศทางเมือง 3.89
13 สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน 3.84
14 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.67
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนเมษายน 2551 6.30
ตารางที่ 3 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนเมษายน 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.- เม.ย.
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม ธ.ค.49 ก.ค.50 มี.ค.51
ของคนไทยภายในประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39 6.3
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม กับ
เดือนเมษายน 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ. — มี.ค. 2551 เมษายน 2551
4.39 4.90
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนเมษายน 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51 เม.ย.51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0 2.4
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5 16.5
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4 58.4
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1 22.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุคุณประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพระราชดำริของในหลวง
ลำดับที่ คุณประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการพระราชดำริ ค่าร้อยละ
1 ได้รับน้อยถึงไม่ได้รับเลย 3.8
2 ปานกลาง 19.6
3 ได้รับมาก ถึงมากที่สุด 76.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพยายามของรัฐบาลในการทำงานด้านต่างๆ
ความพยายามของรัฐบาลด้าน... น้อยถึงไม่มีเลย ปานกลาง มากถึงมากที่สุด รวมทั้งสิ้น
1. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสมานฉันท์ 45.5 36.5 18.0 100.0
2. การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 42.7 33.6 23.7 100.0
3. การแก้ไขปํญหาเศรษฐกิจ 41.2 38.0 20.8 100.0
4. การแก้ปัญหายาเสพติด 38.8 35.9 25.3 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ให้โอกาส ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงาน ประมาณ 2 ปี 7 เดือน 61.9
2 ไม่ให้โอกาส 38.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัยสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุ และค่านัยสำคัญทางสถิติ
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขมวลรวม ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 การได้รับประโยชน์จากโครงการพระราชดำริ 0.168 0.000***
2 หน้าที่การงาน 0.166 0.000***
3 ครอบครัว 0.148 0.000***
4 สุขภาพกาย 0.128 0.000***
5 สุขภาพใจ 0.127 0.000***
6 บรรยากาศในชุมชน 0.086 0.001***
7 สถานการณ์การเมือง 0.083 0.004***
8 ระดับการศึกษา 0.073 .006***
9 ความเป็นธรรมทางสังคม 0.069 0.010***
10 วัฒนธรรมประเพณี 0.062 .020**
11 ความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความสมานฉันท์ในชาติ 0.058 .044**
12 ความจงรักภักดี 0.056 .031**
13 การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาของชุมชน -0.07 .005***
ค่าความสัมพันธ์โดยรวม = .586***
***คือ ค่านัยสำคัญที่ 0.000 หมายถึงมีนัยสำคัญทางสถิติสูงสุด ณ ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
--เอแบคโพลล์--
-พห-