ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯ ได้คัดเลือกประเด็นสำคัญที่เกี่ยว
ข้องกับนโยบายรัฐบาลที่เคยแถลงต่อรัฐสภา ก่อนการทำงานแก้ไขปัญหาของประเทศมาเป็นกรณีศึกษาวิจัยผลงานรัฐบาลในช่วง 3 เดือนผ่านมาทางความ
คิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี
นครพนม อุดรธานี ชลบุรี อยุธยา นนทบุรี นครปฐม ลพบุรี สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 3,404 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 6 — 10
พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนต่อผลงานรัฐบาลรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาตามนโยบายเร่งด่วนที่เคยแถลงต่อรัฐสภา โดยคะแนน
เต็ม 10 คะแนน พบว่า หัวหน้าครัวเรือนในต่างจังหวัดให้คะแนนเฉลี่ยโดยรวม สูงกว่า กลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครในทุกนโยบายเร่ง
ด่วน เรียงลำดับดังนี้ อันดับแรก การจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน คนต่างจังหวัดให้ 4.65 คะแนน คน
กรุงเทพฯ ให้ 3.83 คะแนน รองๆ ลงไปได้แก่ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คนต่างจังหวัดให้ 4.54 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.97 มาตรการลดปัญหา
โลกร้อน ตจว.ให้ 4.42 คนกทม.ให้ 3.91 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ 4.43 ต่อ 3.82 ด้านการท่องเที่ยวได้ 4.41 ต่อ 3.95 ด้านการพักหนี้
เกษตรกรรายย่อยและยากจนได้ 4.40 ต่อ 4.03 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ นโยบายเร่งด่วนที่ได้คะแนน 3 อันดับสุดท้ายจากผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 เดือนแรก ได้แก่ เรื่องการลดผลกระทบ
จากราคาพลังงานที่คนต่างจังหวัดให้ 3.91 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.54 เรื่องการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย คนต่างจังหวัด
ให้ 3.79 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.16 และเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนต่างจังหวัดให้ 3.50 คะแนน ขณะที่คนกรุงเทพฯ
ให้ 2.85 คะแนน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ค่าคะแนนที่ค้นพบจากการประเมินครั้งนี้ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งในทุกนโยบายเร่งด่วน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าจะพอรับได้
สำหรับช่วงเวลา 3 เดือนแรกของรัฐบาลที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาทำงานในห้วงเวลาที่ไม่ปกติของประเทศ แต่ก็เป็นเสมือนข้อมูลเบื้องต้นไว้เปรียบเทียบผล
งานรัฐบาลเมื่อทำงานครบแต่ละวงรอบต่อไป
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.8 ระบุถึงอนาคตประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า จะเกิดสภาวะข้าวยาก
หมากแพง (สินค้าราคาสูงขึ้นแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต) รองลงมาคือร้อยละ 80.1 ระบุจะเกิดปัญหาอาชญากรรมรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 55.6
ระบุอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ร้อยละ 54.9 ระบุยังจะรู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 54.6 ระบุจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาด
ฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 53.6 ระบุจะยังมีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 44.1 ระบุคนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน
และเพียงร้อยละ 21.3 ระบุบ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามว่า คาดว่าอีกกี่ปีที่ประเทศไทยจะมีเสถียรภาพมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ประชาชนเข้มแข็ง ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ผลสำรวจพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่อีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า โดยค่าสูงสุดอยู่ที่ อีก 90 ปีข้างหน้า และค่าต่ำสุดอยู่ที่อีก 1 ปีข้างหน้า
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงทางเลือกของหัวหน้าครัวเรือนว่าเลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า หรือเลือกที่จะกลัวและกังวลต่อ
เหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย ผลสำรวจพบว่า หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ
ไทย ขณะที่ร้อยละ 41.2 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ผู้ที่ระบุว่า เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ… เศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมือง
น่าจะดีขึ้น ชีวิตต้องสู้ มีกำลังใจที่ดี เชื่อมั่น/มั่นใจในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยเป็นบ้านเกิด เป็นต้น ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่ากังวลและกลัวต่อ
เหตุการณ์ข้างหน้า เพราะ ... เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลบริหารประเทศไม่ดี ค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง น้ำมันแพง การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ
ความไม่แน่นอนในการทำงานของคณะรัฐบาล ความแตกแยกของคนในประเทศ บ้านเมืองวุ่นวาย ทะเลาะกัน เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อหัวหน้าครัวเรือนประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกหัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพมหา
นครและต่างจังหวัด พบว่า หัวหน้าครัวเรือนในต่างจังหวัดร้อยละ 55.8 ให้นายสมัคร สุนทรเวช สอบผ่าน ซึ่งมากกว่า หัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพ
มหานคร ที่มีอยู่ร้อยละ 41.8 หรืออาจกล่าวได้ว่า คนต่างจังหวัดที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ให้นายกรัฐมนตรีสอบผ่าน แต่คนกรุงเทพมหานครส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 58.2 ให้นายกรัฐมนตรีสอบไม่ผ่าน ในการทำงานช่วง 3 เดือนแรกของรัฐบาล
และผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนที่เคยเลือก ส.ส. แบบสัดส่วนพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 ยังคงให้นายสมัคร สุนทร
เวช สอบผ่าน ในขณะที่คนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 84.5 และคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ ร้อยละ 56.7 ให้นายกรัฐมนตรีสอบไม่ผ่าน ตาม
ลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ให้คะแนนการทำงานของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรก
ตามนโยบายเร่งด่วนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งในทุกนโยบาย รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งทำงานหนักในแต่ละนโยบายให้เป็นรูปธรรมตอบสนองความคาด
หวังของประชาชนที่เคยสำรวจพบในช่วงหลังการเลือกตั้งใหม่ๆ โดยนโยบายที่รัฐบาลควรเน้นควบคู่ไปกับเรื่องใกล้ตัวของประชาชนคือ การสร้าง
บรรยากาศทางสังคมและการเมืองให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนต่อผลงานรัฐบาลและอนาคตของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ผลงานรัฐบาลและอนาคตประเทศไทยในสายตาหัว
หน้าครัวเรือน : กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 — 10
พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมายหัวหน้าครัว
เรือน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครพนม อุดรธานี ชลบุรี อยุธยา นนทบุรี นครปฐม ลพบุรี
สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 32.8 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.9 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 17.8 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.3 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นพนักงานบริษทเอกชน
ร้อยละ 48.7 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 2.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 29.9 ระบุมีอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 0.5 ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.3 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 44.0 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.4 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.2 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 13.1 ระบุมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยผลงานรัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วนที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
จำแนกระหว่างหัวหน้าครัวเรือนกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
ลำดับที่ นโยบายเร่งด่วน กทม. ตจว.
1 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน 3.83 4.65
2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 3.97 4.54
3 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3.82 4.43
4 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน 3.91 4.42
5 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 3.95 4.41
6 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน 4.03 4.40
7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน 3.73 4.37
8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 3.78 4.33
9 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น รถไฟฟ้า 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เป็นต้น 4.05 4.26
10 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง 3.6 4.16
11 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล 3.41 4.11
12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา 3.57 4.11
13 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน 3.6 4.11
14 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร 3.76 4.08
15 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม 3.47 4.01
16 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ 3.38 4.00
17 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน 3.54 3.91
18 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย 3.16 3.79
19 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.85 3.50
20 ประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายโดยภาพรวม 3.62 4.32
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่ออนาคตของประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่ออนาคตของประเทศไทย ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 เกิดสภาวะข้าวยาก หมากแพง (สินค้าราคาสูงขึ้นแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต) 87.8 12.2 100.0
2 ปัญหาอาชญากรรมรุนแรงมากขึ้น 80.1 19.9 100.0
3 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 55.6 44.4 100.0
4 รู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 54.9 45.1 100.0
5 เกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 54.6 45.4 100.0
6 ยังมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช 53.6 46.4 100.0
7 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 44.1 55.9 100.0
8 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 21.3 78.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงระยะเวลาเฉลี่ย ที่คาดว่าประเทศไทยจะมีเสถียรภาพมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ประชาชนเข้มแข็งทั้งด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม
ระยะเวลาที่คาดการณ์
ระยะเวลาเฉลี่ย = 10 ปี ค่าต่ำสุด = 1 ปี ค่าสูงสุด = 90 ปี
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเลือกระหว่างความหวังกับความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ การเลือกระหว่างความหวังกับความกลัว กทม. ตจว. ภาพรวม
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 42.4 40.4 41.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 57.6 59.6 58.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
- ผู้ที่ระบุว่า เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ..เศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมืองน่าจะดีขึ้น
ชีวิตต้องสู้ มีกำลังใจที่ดี เชื่อมั่น/มั่นใจในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยเป็นบ้านเกิด เป็นต้น
- ผู้ที่ระบุว่ากังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า เพราะ.. เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลบริหารประเทศไม่ดี
ค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง น้ำมันแพง การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ ความไม่แน่นอนในการ
ทำงานของคณะรัฐบาล ความแตกแยกของคนในประเทศ บ้านเมืองวุ่นวาย ทะเลาะกัน เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงผลการประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกหัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ลำดับที่ ผลประเมินการทำงานในช่วง 3 เดือนแรก กทม. ตจว.
1 สอบผ่าน 41.8 55.8
2 สอบไม่ผ่าน 58.2 44.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลการประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกตามพรรคการเมืองที่หัวหน้าครัวเรือน
เคยเลือก ส.ส. แบบสัดส่วน
ลำดับที่ ผลประเมินการทำงานในช่วง 3 เดือนแรก ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 สอบผ่าน 15.5 74.7 43.3
2 สอบไม่ผ่าน 84.5 25.3 56.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข้องกับนโยบายรัฐบาลที่เคยแถลงต่อรัฐสภา ก่อนการทำงานแก้ไขปัญหาของประเทศมาเป็นกรณีศึกษาวิจัยผลงานรัฐบาลในช่วง 3 เดือนผ่านมาทางความ
คิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี
นครพนม อุดรธานี ชลบุรี อยุธยา นนทบุรี นครปฐม ลพบุรี สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 3,404 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 6 — 10
พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนต่อผลงานรัฐบาลรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาตามนโยบายเร่งด่วนที่เคยแถลงต่อรัฐสภา โดยคะแนน
เต็ม 10 คะแนน พบว่า หัวหน้าครัวเรือนในต่างจังหวัดให้คะแนนเฉลี่ยโดยรวม สูงกว่า กลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครในทุกนโยบายเร่ง
ด่วน เรียงลำดับดังนี้ อันดับแรก การจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน คนต่างจังหวัดให้ 4.65 คะแนน คน
กรุงเทพฯ ให้ 3.83 คะแนน รองๆ ลงไปได้แก่ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คนต่างจังหวัดให้ 4.54 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.97 มาตรการลดปัญหา
โลกร้อน ตจว.ให้ 4.42 คนกทม.ให้ 3.91 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ 4.43 ต่อ 3.82 ด้านการท่องเที่ยวได้ 4.41 ต่อ 3.95 ด้านการพักหนี้
เกษตรกรรายย่อยและยากจนได้ 4.40 ต่อ 4.03 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ นโยบายเร่งด่วนที่ได้คะแนน 3 อันดับสุดท้ายจากผลงานของรัฐบาลในรอบ 3 เดือนแรก ได้แก่ เรื่องการลดผลกระทบ
จากราคาพลังงานที่คนต่างจังหวัดให้ 3.91 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.54 เรื่องการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย คนต่างจังหวัด
ให้ 3.79 คนกรุงเทพฯ ให้ 3.16 และเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนต่างจังหวัดให้ 3.50 คะแนน ขณะที่คนกรุงเทพฯ
ให้ 2.85 คะแนน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ค่าคะแนนที่ค้นพบจากการประเมินครั้งนี้ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งในทุกนโยบายเร่งด่วน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าจะพอรับได้
สำหรับช่วงเวลา 3 เดือนแรกของรัฐบาลที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามาทำงานในห้วงเวลาที่ไม่ปกติของประเทศ แต่ก็เป็นเสมือนข้อมูลเบื้องต้นไว้เปรียบเทียบผล
งานรัฐบาลเมื่อทำงานครบแต่ละวงรอบต่อไป
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.8 ระบุถึงอนาคตประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า จะเกิดสภาวะข้าวยาก
หมากแพง (สินค้าราคาสูงขึ้นแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต) รองลงมาคือร้อยละ 80.1 ระบุจะเกิดปัญหาอาชญากรรมรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 55.6
ระบุอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ร้อยละ 54.9 ระบุยังจะรู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 54.6 ระบุจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาด
ฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 53.6 ระบุจะยังมีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 44.1 ระบุคนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน
และเพียงร้อยละ 21.3 ระบุบ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามว่า คาดว่าอีกกี่ปีที่ประเทศไทยจะมีเสถียรภาพมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ประชาชนเข้มแข็ง ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ผลสำรวจพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่อีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า โดยค่าสูงสุดอยู่ที่ อีก 90 ปีข้างหน้า และค่าต่ำสุดอยู่ที่อีก 1 ปีข้างหน้า
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงทางเลือกของหัวหน้าครัวเรือนว่าเลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า หรือเลือกที่จะกลัวและกังวลต่อ
เหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย ผลสำรวจพบว่า หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ
ไทย ขณะที่ร้อยละ 41.2 เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ผู้ที่ระบุว่า เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ… เศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมือง
น่าจะดีขึ้น ชีวิตต้องสู้ มีกำลังใจที่ดี เชื่อมั่น/มั่นใจในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยเป็นบ้านเกิด เป็นต้น ในขณะที่ผู้ที่ระบุว่ากังวลและกลัวต่อ
เหตุการณ์ข้างหน้า เพราะ ... เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลบริหารประเทศไม่ดี ค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง น้ำมันแพง การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ
ความไม่แน่นอนในการทำงานของคณะรัฐบาล ความแตกแยกของคนในประเทศ บ้านเมืองวุ่นวาย ทะเลาะกัน เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ เมื่อหัวหน้าครัวเรือนประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกหัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพมหา
นครและต่างจังหวัด พบว่า หัวหน้าครัวเรือนในต่างจังหวัดร้อยละ 55.8 ให้นายสมัคร สุนทรเวช สอบผ่าน ซึ่งมากกว่า หัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพ
มหานคร ที่มีอยู่ร้อยละ 41.8 หรืออาจกล่าวได้ว่า คนต่างจังหวัดที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ให้นายกรัฐมนตรีสอบผ่าน แต่คนกรุงเทพมหานครส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 58.2 ให้นายกรัฐมนตรีสอบไม่ผ่าน ในการทำงานช่วง 3 เดือนแรกของรัฐบาล
และผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนที่เคยเลือก ส.ส. แบบสัดส่วนพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 ยังคงให้นายสมัคร สุนทร
เวช สอบผ่าน ในขณะที่คนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 84.5 และคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ ร้อยละ 56.7 ให้นายกรัฐมนตรีสอบไม่ผ่าน ตาม
ลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ให้คะแนนการทำงานของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนแรก
ตามนโยบายเร่งด่วนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งในทุกนโยบาย รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเร่งทำงานหนักในแต่ละนโยบายให้เป็นรูปธรรมตอบสนองความคาด
หวังของประชาชนที่เคยสำรวจพบในช่วงหลังการเลือกตั้งใหม่ๆ โดยนโยบายที่รัฐบาลควรเน้นควบคู่ไปกับเรื่องใกล้ตัวของประชาชนคือ การสร้าง
บรรยากาศทางสังคมและการเมืองให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้าครัวเรือนต่อผลงานรัฐบาลและอนาคตของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ผลงานรัฐบาลและอนาคตประเทศไทยในสายตาหัว
หน้าครัวเรือน : กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 6 — 10
พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมายหัวหน้าครัว
เรือน ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี นครพนม อุดรธานี ชลบุรี อยุธยา นนทบุรี นครปฐม ลพบุรี
สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,404 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 32.8 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.9 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 17.8 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.3 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นพนักงานบริษทเอกชน
ร้อยละ 48.7 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 2.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 29.9 ระบุมีอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 0.5 ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.3 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 44.0 ระบุ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 10.4 ระบุ 10,001-15,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.2 ระบุ 15,001-20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 13.1 ระบุมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยผลงานรัฐบาลตามนโยบายเร่งด่วนที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
จำแนกระหว่างหัวหน้าครัวเรือนกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
ลำดับที่ นโยบายเร่งด่วน กทม. ตจว.
1 จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน 3.83 4.65
2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 3.97 4.54
3 เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3.82 4.43
4 เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน 3.91 4.42
5 ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 3.95 4.41
6 พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน 4.03 4.40
7 สานต่อโครงการธนาคารประชาชน 3.73 4.37
8 สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน 3.78 4.33
9 เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น รถไฟฟ้า 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ เป็นต้น 4.05 4.26
10 สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง 3.6 4.16
11 เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล 3.41 4.11
12 ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา 3.57 4.11
13 ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน 3.6 4.11
14 สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร 3.76 4.08
15 วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม 3.47 4.01
16 ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ 3.38 4.00
17 ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน 3.54 3.91
18 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และฟื้นฟูประชาธิปไตย 3.16 3.79
19 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.85 3.50
20 ประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายโดยภาพรวม 3.62 4.32
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่ออนาคตของประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ การคาดการณ์ต่ออนาคตของประเทศไทย ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 เกิดสภาวะข้าวยาก หมากแพง (สินค้าราคาสูงขึ้นแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต) 87.8 12.2 100.0
2 ปัญหาอาชญากรรมรุนแรงมากขึ้น 80.1 19.9 100.0
3 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 55.6 44.4 100.0
4 รู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 54.9 45.1 100.0
5 เกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 54.6 45.4 100.0
6 ยังมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช 53.6 46.4 100.0
7 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 44.1 55.9 100.0
8 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 21.3 78.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงระยะเวลาเฉลี่ย ที่คาดว่าประเทศไทยจะมีเสถียรภาพมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ประชาชนเข้มแข็งทั้งด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม
ระยะเวลาที่คาดการณ์
ระยะเวลาเฉลี่ย = 10 ปี ค่าต่ำสุด = 1 ปี ค่าสูงสุด = 90 ปี
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเลือกระหว่างความหวังกับความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ การเลือกระหว่างความหวังกับความกลัว กทม. ตจว. ภาพรวม
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 42.4 40.4 41.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 57.6 59.6 58.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
- ผู้ที่ระบุว่า เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ..เศรษฐกิจ สถานการณ์บ้านเมืองน่าจะดีขึ้น
ชีวิตต้องสู้ มีกำลังใจที่ดี เชื่อมั่น/มั่นใจในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยเป็นบ้านเกิด เป็นต้น
- ผู้ที่ระบุว่ากังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า เพราะ.. เศรษฐกิจไม่ดี รัฐบาลบริหารประเทศไม่ดี
ค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง น้ำมันแพง การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ ความไม่แน่นอนในการ
ทำงานของคณะรัฐบาล ความแตกแยกของคนในประเทศ บ้านเมืองวุ่นวาย ทะเลาะกัน เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงผลการประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกหัวหน้าครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ลำดับที่ ผลประเมินการทำงานในช่วง 3 เดือนแรก กทม. ตจว.
1 สอบผ่าน 41.8 55.8
2 สอบไม่ผ่าน 58.2 44.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลการประเมินการทำงาน 3 เดือนแรกของ นายสมัคร สุนทรเวช จำแนกตามพรรคการเมืองที่หัวหน้าครัวเรือน
เคยเลือก ส.ส. แบบสัดส่วน
ลำดับที่ ผลประเมินการทำงานในช่วง 3 เดือนแรก ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 สอบผ่าน 15.5 74.7 43.3
2 สอบไม่ผ่าน 84.5 25.3 56.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-