ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง คุณธรรมและ
ความรักชาติของคนไทยกับวิถีชีวิตพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต ตรัง และสงขลา จำนวนทั้ง
สิ้น 6,933 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2550 —17 พฤษภาคม 2551 พบว่า
พฤติกรรมด้านความมีวินัยของประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.5 จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ข้อห้ามเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีโอกาส รองลงมาคือร้อย
ละ 72.8 ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ในขณะที่ ร้อยละ 45.1 มักจะละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตนเองตั้งขึ้น ร้อยละ 37.4 จะไม่ค่อยเข้าคิวรอรับบริการ และร้อย
ละ 36.5 ระบุต้องมีกฎเกณฑ์มาบังคับ จึงจะปฏิบัติตาม
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนที่อายุน้อยมีสัดส่วนของคนที่ไม่ค่อยเคารพกฎจราจรมากกว่ากลุ่มคนที่อายุ
มาก โดยพบว่า กลุ่มเยาวชนที่อายุไม่ถึง 20 ปีและผู้ที่อายุระหว่าง 20 — 29 ปีส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ที่ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ในขณะที่อายุ
60 ปีขึ้นไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.6 ก็ไม่ค่อยเคารพกฎจราจรเช่นกัน
ส่วนพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.7 พยายามทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ทุก
ครั้ง รองลงมาคือร้อยละ 58.3 พยายามแก้ไขความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ใครมาตำหนิได้ ในขณะที่ร้อยละ 52.4 ที่มักจะช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน และ
ร้อยละ 51.9 จะยอมรับผลการกระทำของตนเองทุกครั้งไม่ว่าจะผิดหรือถูก
สำหรับพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ต้องโกหกบ้างเพื่อความอยู่รอด รองลงมาคือร้อยละ 79.1 ไม่
ทำตามสัญญา ถ้าทำตามแล้วจะเดือดร้อน ในขณะที่คนไทยไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 43.2 เชื่อว่าคนที่ซื่อสัตย์จะต้องได้ดี และเพียงร้อยละ 24.2 แม้มี
โอกาสรับสินบน ก็จะไม่รับสินบนนั้น
นอกจากนี้ ในเรื่องการใช้สติสัมปชัญญะ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 มักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล มีเพียงร้อยละ
23.2 เท่านั้นที่ใช้สติแก้ปัญหาทุกครั้ง และร้อยละ 10.4 ที่ทำงานด้วยความรอบครอบทุกครั้งแม้จะเกิดความล่าช้าไปบ้าง
นอกจากนี้ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.7 มักจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งไม่เคย
ขาด รองลงมาคือ ร้อยละ 64.7 ระบุประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่ดี แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย ร้อยละ 45.0 รู้สึกโกรธหากใครมาวิจารณ์
ประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 44.8 มองว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนภาคใต้ที่
ต้องแก้ปัญหาเอาเองไม่เกี่ยวกับตนเอง และเพียงร้อยละ 34.2 เท่านั้นที่รักษาทรัพยากรของชาติ ไม่ยอมให้ใครมาทำลายโดยเด็ดขาด
เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.4 มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนภาคใต้ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งเป็นค่าร้อยละที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนไทยในช่วงอายุอื่นๆ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวต่อถึงประเด็นการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดของคนไทยที่พบว่า สัดส่วนของ
ประชาชนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดจากการสำรวจในครั้งนี้มีอยู่เพียงร้อยละ 14.3 นอกจากนี้ สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ผลวิเคราะห์ทาง
สถิติถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย พบว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนไทยใช้ชีวิตแบบพอเพียงลดลง ได้แก่ การยอมรับรัฐบาลที่ทุจริต
คอรัปชั่น การต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน การเล่นหวยเล่นการพนัน การคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ การมองว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติ
ธรรมดา และการไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากสินค้าที่ซื้อมาแล้ว เป็นปัจจัยในทางลบมีค่า -.253, -.235, -.229, -.221, -.219, และ -.202 ตาม
ลำดับ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะทำให้คนไทยใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น ได้แก่ มีการเก็บออม ความขยันหมั่นเพียรทำงานหนัก การมุ่งทำงานเพื่อ
พออยู่พอกิน การรักษาสิ่งของต่างๆ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้นาน และการวางแผนใช้จ่ายและหารายได้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นปัจจัยในทางบวกมี
ค่า .224, .162, .148, .121, และ .112 ตามลำดับ โดยกลุ่มปัจจัยทั้งหมดนี้มีค่าความสัมพันธ์สูงมากถึง .868 และสามารถอธิบายการใช้ชีวิต
แบบพอเพียงของคนไทยได้ถึงร้อยละ 75.3
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลแก้ไขปัญหา ความไม่มีวินัยในกลุ่มคน
ไทย และการไม่เคารพกฎจราจร การปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนใต้เท่านั้นที่ต้องแก้ไขเองไม่เกี่ยวกับตน ซึ่งเป็น
พฤติกรรมที่มีอยู่ในกลุ่มเยาวชนมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่ออนาคตของสังคมไทย ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิจัยครั้งนี้ยังพบด้วยว่าถ้าคนไทยมีแนวคิดและ
พฤติกรรมต่อไปนี้เพิ่มขึ้นจะยีงทำให้มีการใช้ชีวิตแบบพอเพียงลดลง ได้แก่ การยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น การต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน การ
เล่นหวยเล่นพนัน การคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ และการมองปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐ
ต้องเร่งรณรงค์กระตุ้นความตระหนักในหมู่ประชาชนให้ความสำคัญต่อระบบคุณธรรมของสังคมไทยและวิถีชีวิตแบบพอเพียงในการฝ่าฟันวิกฤตการณ์ต่างๆ
ของประเทศในขณะนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจวิเคราะห์พฤติกรรมของคนไทยด้านคุณธรรมและวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง คุณธรรมและความรักชาติของคนไทยกับวิถี
ชีวิตพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 6,933 ตัวอย่าง
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2550 —17 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 6,933 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 78 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 21—29 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 73.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 26.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความมีวินัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความมีวินัย ค่าร้อยละ
1 จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ข้อห้ามเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีโอกาส 86.5
2 ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร 72.8
3 มักจะละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตนเองตั้งขึ้น 45.1
4 ไม่ค่อยเข้าคิวรอรับบริการ 37.4
5 ต้องมีกฎเกณฑ์มาบังคับ จึงจะปฏิบัติตาม 36.5
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร จำแนกตามช่วงอายุ
พฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 — 59 ปี 60 ปีขึ้นไป
1.มีพฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร 82.5 83.3 73.8 68.2 59.8 49.6
2. ไม่เคยมีเลย 17.5 16.7 26.2 31.8 40.2 50.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความมี
สติสัมปชัญญะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความมีสติสัมปชัญญะ ค่าร้อยละ
ด้านความรับผิดชอบ
1 พยายามทำงานทุกอย่างให้เสร็จสมบูรณ์ 60.7
2 พยายามแก้ไขความผิดพลาด 58.3
3 มักจะช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน 52.4
4 ยอมรับผลการกระทำของตนเองทุกครั้งไม่ว่าจะผิดหรือถูก 51.9
ด้านความซื่อสัตย์
1 ต้องโกหกบ้างเพื่อความอยู่รอด 85.4
2 ไม่ทำตามสัญญา ถ้าทำตามแล้วจะเดือดร้อน 79.1
3 เชื่อว่าคนที่ซื่อสัตย์จะต้องได้ดี 43.2
4 แม้มีโอกาสรับสินบน ก็จะไม่รับสินบนนั้น 24.2
ด้านความมีสติสัมปชัญญะ
1 มักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล 61.1
2 ใช้สติแก้ปัญหาทุกครั้ง 23.2
3 ทำงานด้วยความรอบครอบทุกครั้ง แม้จะเกิดความล่าช้าไปบ้าง 10.4
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 มักจะไปเลือกตั้งทุกครั้ง 70.7
2 ประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่ดี แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย 64.7
3 รู้สึกโกรธหากใครมาวิจารณ์ประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง 45.0
4 ปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของคนภาคใต้ต้องแก้ปัญหากันเอาเอง ไม่เกี่ยวกับตน 44.8
5 รักษาทรัพยากรของชาติ ไม่ยอมให้ใครมาทำลายโดยเด็ดขาด 34.2
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคน
ภาคใต้ที่ต้องแก้ปัญหากันเอาเองไม่เกี่ยวกับตน
ปัญหาภาคใต้ เป็นเรื่องของคนใต้ที่ต้องแก้ปัญหากันเอาเอง ต่ำกว่า 20 ปี 20—29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50 — 59 ปี 60 ปีขึ้นไป
1. มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่อง
ของคนภาคใต้ ไม่เกี่ยวกับตนเอง 58.4 46.5 42.7 38.1 43.0 44.2
2. ไม่ใช่ 41.6 53.5 57.3 61.9 57.0 55.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ไม่พอเพียง 1.5
2 ไม่ค่อยพอเพียง 10.4
3 ปานกลาง 37.1
4 ค่อนข้างพอเพียง 36.7
5 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 มีการเก็บออม .224 ***
2 ความขยันหมั่นเพียรทำงานหนัก .162 ***
3 มุ่งทำงานเพื่อพออยู่พอกิน .148 ***
4 รักษาสิ่งของต่างๆ อยู่ในสภาพใช้งานได้นาน .121 ***
5 วางแผนใช้จ่ายและหารายได้เป็นขั้นตอน .112 ***
6 ไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากสินค้าที่ซื้อมาแล้ว -.202 ***
7 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา -.219 ***
8 คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ -.221 ***
9 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเคยเล่นหวย -.229 ***
10 ต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน -.235 ***
11 ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น -.253 ***
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยต่างๆ กับการใช้ชีวิตพอเพียง (R) = .868
ความสามารถพยากรณ์ อธิบายความสัมพันธ์ (Adjusted R Square) = 75.3 %
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง คุณธรรมและ
ความรักชาติของคนไทยกับวิถีชีวิตพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต ตรัง และสงขลา จำนวนทั้ง
สิ้น 6,933 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2550 —17 พฤษภาคม 2551 พบว่า
พฤติกรรมด้านความมีวินัยของประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.5 จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ข้อห้ามเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีโอกาส รองลงมาคือร้อย
ละ 72.8 ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ในขณะที่ ร้อยละ 45.1 มักจะละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตนเองตั้งขึ้น ร้อยละ 37.4 จะไม่ค่อยเข้าคิวรอรับบริการ และร้อย
ละ 36.5 ระบุต้องมีกฎเกณฑ์มาบังคับ จึงจะปฏิบัติตาม
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนที่อายุน้อยมีสัดส่วนของคนที่ไม่ค่อยเคารพกฎจราจรมากกว่ากลุ่มคนที่อายุ
มาก โดยพบว่า กลุ่มเยาวชนที่อายุไม่ถึง 20 ปีและผู้ที่อายุระหว่าง 20 — 29 ปีส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ที่ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ในขณะที่อายุ
60 ปีขึ้นไปประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.6 ก็ไม่ค่อยเคารพกฎจราจรเช่นกัน
ส่วนพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.7 พยายามทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ทุก
ครั้ง รองลงมาคือร้อยละ 58.3 พยายามแก้ไขความผิดพลาด เพื่อไม่ให้ใครมาตำหนิได้ ในขณะที่ร้อยละ 52.4 ที่มักจะช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน และ
ร้อยละ 51.9 จะยอมรับผลการกระทำของตนเองทุกครั้งไม่ว่าจะผิดหรือถูก
สำหรับพฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ต้องโกหกบ้างเพื่อความอยู่รอด รองลงมาคือร้อยละ 79.1 ไม่
ทำตามสัญญา ถ้าทำตามแล้วจะเดือดร้อน ในขณะที่คนไทยไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 43.2 เชื่อว่าคนที่ซื่อสัตย์จะต้องได้ดี และเพียงร้อยละ 24.2 แม้มี
โอกาสรับสินบน ก็จะไม่รับสินบนนั้น
นอกจากนี้ ในเรื่องการใช้สติสัมปชัญญะ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.1 มักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล มีเพียงร้อยละ
23.2 เท่านั้นที่ใช้สติแก้ปัญหาทุกครั้ง และร้อยละ 10.4 ที่ทำงานด้วยความรอบครอบทุกครั้งแม้จะเกิดความล่าช้าไปบ้าง
นอกจากนี้ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.7 มักจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งไม่เคย
ขาด รองลงมาคือ ร้อยละ 64.7 ระบุประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่ดี แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย ร้อยละ 45.0 รู้สึกโกรธหากใครมาวิจารณ์
ประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยจำนวนมากหรือร้อยละ 44.8 มองว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนภาคใต้ที่
ต้องแก้ปัญหาเอาเองไม่เกี่ยวกับตนเอง และเพียงร้อยละ 34.2 เท่านั้นที่รักษาทรัพยากรของชาติ ไม่ยอมให้ใครมาทำลายโดยเด็ดขาด
เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.4 มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนภาคใต้ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งเป็นค่าร้อยละที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มคนไทยในช่วงอายุอื่นๆ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวต่อถึงประเด็นการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดของคนไทยที่พบว่า สัดส่วนของ
ประชาชนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดจากการสำรวจในครั้งนี้มีอยู่เพียงร้อยละ 14.3 นอกจากนี้ สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ผลวิเคราะห์ทาง
สถิติถึงปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย พบว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนไทยใช้ชีวิตแบบพอเพียงลดลง ได้แก่ การยอมรับรัฐบาลที่ทุจริต
คอรัปชั่น การต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน การเล่นหวยเล่นการพนัน การคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ การมองว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติ
ธรรมดา และการไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากสินค้าที่ซื้อมาแล้ว เป็นปัจจัยในทางลบมีค่า -.253, -.235, -.229, -.221, -.219, และ -.202 ตาม
ลำดับ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะทำให้คนไทยใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น ได้แก่ มีการเก็บออม ความขยันหมั่นเพียรทำงานหนัก การมุ่งทำงานเพื่อ
พออยู่พอกิน การรักษาสิ่งของต่างๆ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้นาน และการวางแผนใช้จ่ายและหารายได้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นปัจจัยในทางบวกมี
ค่า .224, .162, .148, .121, และ .112 ตามลำดับ โดยกลุ่มปัจจัยทั้งหมดนี้มีค่าความสัมพันธ์สูงมากถึง .868 และสามารถอธิบายการใช้ชีวิต
แบบพอเพียงของคนไทยได้ถึงร้อยละ 75.3
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลแก้ไขปัญหา ความไม่มีวินัยในกลุ่มคน
ไทย และการไม่เคารพกฎจราจร การปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนใต้เท่านั้นที่ต้องแก้ไขเองไม่เกี่ยวกับตน ซึ่งเป็น
พฤติกรรมที่มีอยู่ในกลุ่มเยาวชนมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่ออนาคตของสังคมไทย ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิจัยครั้งนี้ยังพบด้วยว่าถ้าคนไทยมีแนวคิดและ
พฤติกรรมต่อไปนี้เพิ่มขึ้นจะยีงทำให้มีการใช้ชีวิตแบบพอเพียงลดลง ได้แก่ การยอมรับรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น การต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน การ
เล่นหวยเล่นพนัน การคิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ และการมองปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลและกลไกต่างๆ ของรัฐ
ต้องเร่งรณรงค์กระตุ้นความตระหนักในหมู่ประชาชนให้ความสำคัญต่อระบบคุณธรรมของสังคมไทยและวิถีชีวิตแบบพอเพียงในการฝ่าฟันวิกฤตการณ์ต่างๆ
ของประเทศในขณะนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจวิเคราะห์พฤติกรรมของคนไทยด้านคุณธรรมและวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง คุณธรรมและความรักชาติของคนไทยกับวิถี
ชีวิตพอเพียง กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต ตรัง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 6,933 ตัวอย่าง
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2550 —17 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 6,933 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 78 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.5 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 21—29 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 24.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.5 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 67.1 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.4 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.2 ระบุว่างงาน
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 73.4 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
และร้อยละ 26.6 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความมีวินัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความมีวินัย ค่าร้อยละ
1 จะไม่ทำตามกฎเกณฑ์ข้อห้ามเล็กๆ น้อยๆ ถ้ามีโอกาส 86.5
2 ไม่ค่อยเคารพกฎจราจร 72.8
3 มักจะละเมิดกฎเกณฑ์ที่ตนเองตั้งขึ้น 45.1
4 ไม่ค่อยเข้าคิวรอรับบริการ 37.4
5 ต้องมีกฎเกณฑ์มาบังคับ จึงจะปฏิบัติตาม 36.5
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร จำแนกตามช่วงอายุ
พฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 — 59 ปี 60 ปีขึ้นไป
1.มีพฤติกรรมไม่ค่อยเคารพกฎจราจร 82.5 83.3 73.8 68.2 59.8 49.6
2. ไม่เคยมีเลย 17.5 16.7 26.2 31.8 40.2 50.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความมี
สติสัมปชัญญะ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความมีสติสัมปชัญญะ ค่าร้อยละ
ด้านความรับผิดชอบ
1 พยายามทำงานทุกอย่างให้เสร็จสมบูรณ์ 60.7
2 พยายามแก้ไขความผิดพลาด 58.3
3 มักจะช่วยแก้ไขปัญหาในชุมชน 52.4
4 ยอมรับผลการกระทำของตนเองทุกครั้งไม่ว่าจะผิดหรือถูก 51.9
ด้านความซื่อสัตย์
1 ต้องโกหกบ้างเพื่อความอยู่รอด 85.4
2 ไม่ทำตามสัญญา ถ้าทำตามแล้วจะเดือดร้อน 79.1
3 เชื่อว่าคนที่ซื่อสัตย์จะต้องได้ดี 43.2
4 แม้มีโอกาสรับสินบน ก็จะไม่รับสินบนนั้น 24.2
ด้านความมีสติสัมปชัญญะ
1 มักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล 61.1
2 ใช้สติแก้ปัญหาทุกครั้ง 23.2
3 ทำงานด้วยความรอบครอบทุกครั้ง แม้จะเกิดความล่าช้าไปบ้าง 10.4
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ พฤติกรรมด้านความรักชาติ และประชาธิปไตย ค่าร้อยละ
1 มักจะไปเลือกตั้งทุกครั้ง 70.7
2 ประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่ดี แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย 64.7
3 รู้สึกโกรธหากใครมาวิจารณ์ประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้อง 45.0
4 ปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องของคนภาคใต้ต้องแก้ปัญหากันเอาเอง ไม่เกี่ยวกับตน 44.8
5 รักษาทรัพยากรของชาติ ไม่ยอมให้ใครมาทำลายโดยเด็ดขาด 34.2
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคน
ภาคใต้ที่ต้องแก้ปัญหากันเอาเองไม่เกี่ยวกับตน
ปัญหาภาคใต้ เป็นเรื่องของคนใต้ที่ต้องแก้ปัญหากันเอาเอง ต่ำกว่า 20 ปี 20—29 ปี 30—39 ปี 40—49 ปี 50 — 59 ปี 60 ปีขึ้นไป
1. มีพฤติกรรมปล่อยให้ปัญหา
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่อง
ของคนภาคใต้ ไม่เกี่ยวกับตนเอง 58.4 46.5 42.7 38.1 43.0 44.2
2. ไม่ใช่ 41.6 53.5 57.3 61.9 57.0 55.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ไม่พอเพียง 1.5
2 ไม่ค่อยพอเพียง 10.4
3 ปานกลาง 37.1
4 ค่อนข้างพอเพียง 36.7
5 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงผลการวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ชีวิตพอเพียงในกลุ่มคนไทย ค่าสัมประสิทธิ์ นัยสำคัญ
1 มีการเก็บออม .224 ***
2 ความขยันหมั่นเพียรทำงานหนัก .162 ***
3 มุ่งทำงานเพื่อพออยู่พอกิน .148 ***
4 รักษาสิ่งของต่างๆ อยู่ในสภาพใช้งานได้นาน .121 ***
5 วางแผนใช้จ่ายและหารายได้เป็นขั้นตอน .112 ***
6 ไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากสินค้าที่ซื้อมาแล้ว -.202 ***
7 การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา -.219 ***
8 คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ -.221 ***
9 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเคยเล่นหวย -.229 ***
10 ต้องพึ่งพาคนอื่นในเรื่องการเงิน -.235 ***
11 ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น -.253 ***
ค่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปัจจัยต่างๆ กับการใช้ชีวิตพอเพียง (R) = .868
ความสามารถพยากรณ์ อธิบายความสัมพันธ์ (Adjusted R Square) = 75.3 %
--เอแบคโพลล์--
-พห-