ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน
ในสายตาสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 2,008 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมือง
เป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันและในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า อันดับแรกส่วนใหญ่หรือร้อยละ
87.8 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรมนักการเมืองขณะนี้ รองลงมาคือร้อยละ 61.5 คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในบ้านเมือง ร้อย
ละ 60.6 คิดว่าอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ร้อยละ 59.9 คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 52.1 คิดว่าคน
ไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน และร้อยละ 19.9 คิดว่าบ้านเมืองจะสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อพรรคการเมืองที่เคยเลือกในเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 รู้สึกผิด
หวัง ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ไม่รู้สึกผิดหวัง และเมื่อถามถึงรัฐมนตรีที่ควรมีการปรับ ถ้าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 39.5 ระบุ
ควรปรับนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 37.8 ควรปรับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง และร้อยละ 33.9 ควรปรับนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นสามอันดับ
แรก ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ระบุควรปรับนายไชยา สะสมทรัพย์ และร้อยละ 10.1 ระบุควรปรับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นอกจากนี้ ร้อยละ 35.8
ระบุควรปรับทุกคนที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้งและความไม่เหมาะสมต่างๆ ในตำแหน่งรัฐมนตรี
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ฐานสนับสนุนของสาธารณชนที่ถูกศึกษาต่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกำลังลดลงอย่าง
มากจากร้อยละ 45.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ เหลือร้อยละ 21.4 ในเดือนพฤษภาคม ในขณะที่เสียงที่ไม่สนับสนุนกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 47.3 และคนที่เคยอยู่กลางๆ เพิ่มขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 17.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ในการสำรวจล่าสุด
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ทางออกที่ดีที่สุดในสายตาของประชาชนคือ อันดับแรกหรือร้อยละ 38.6 ระบุควรปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อ
ไป รองลงไปคือ เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.6 ระบุควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันดับสามคือร้อยละ 17.0 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเพียง
ร้อยละ 5.0 ที่ระบุการยึดอำนาจคือทางออกที่ดีที่สุด และที่เหลือร้อยละ 12.8 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่มีทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย/ ทำอย่างไรก็ไม่ดี
ขึ้น / แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดีกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า เสียงสนับสนุนจากสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาต่อนายสมัคร สุนทรเวช ลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและทางการเมือง แนวโน้มที่ทรุดตัวลดลงเช่นนี้เป็นสัญญาณที่อันตรายต่อเสถียรภาพของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเร่ง
ดำเนินการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งบานปลายในเขตเมืองหลวง และในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานความ
มั่นคงดูแลความสงบเรียบร้อยต้องเกาะติดสถานการณ์เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ต่อวิถีชีวิตแบบปกติสุขของประชาชน
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนเพียงน้อยนิดหรือร้อยละ 5 เท่านั้นที่เห็นว่าการยึดอำนาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยตอนนี้ ดังนั้น การยึดอำนาจ
จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อพิจารณาความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ทางออกที่ดีที่สุดของประเทศไทยในสายตาประชาชน
ยังอยู่ในกรอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การปรับคณะรัฐมนตรี การยุบสภาเลือกตั้งใหม่ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวิถีทาง
ประชาธิปไตย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกอบกู้สถานการณ์การเมืองขณะนี้โดยด่วน ก่อนจะสายเกินแก้ในวงรอบของวังวนการเมืองแบบ
ไทยๆ และกระแสเรียกร้องให้เลือกตั้งใหม่เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันในสายตาสาธารณ
ชน : กรณีศึกษาประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21
พฤษภาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่
พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,008 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัยจำนวนทั้งสิ้น 96 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.7 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ74.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.4
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตาม 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันและในอีก
6 เดือนข้างหน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกและความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรมนักการเมืองขณะนี้ 87.8
2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในบ้านเมือง 61.5
3 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 60.6
4 จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 59.9
5 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 52.1
6 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 19.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อพรรคการเมืองเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อพรรคการเมืองในเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 รู้สึกผิดหวัง 58.6
2 ไม่ผิดหวัง 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรัฐมนตรีที่ควรถูกปรับเปลี่ยนหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐมนตรีที่ควรถูกปรับเปลี่ยนหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 39.5
2 ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง 37.8
3 นายจักรภพ เพ็ญแข 33.9
4 นายไชยา สะสมทรัพย์ 13.5
5 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ 10.1
6 รัฐมนตรีท่านอื่น อาทิ นายนพดล ปัทมะ/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี /นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 9.7
7 ปรับทุกคนที่กำลังมีปัญหาขัดแย้งและความไม่เหมาะสมต่างๆ 35.8
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศ กุมภาพันธ์ 2551 พฤษภาคม 2551
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1 สนับสนุน 45.4 21.4
2 ไม่สนับสนุน 36.8 47.3
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป 38.6
2 การเลือกตั้งใหม่ 26.6
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 17.0
4 การยึดอำนาจ 5.0
5 อื่นๆ ไม่มีทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย/ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น/แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดีกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในสายตาสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 2,008 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมือง
เป็นประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันและในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า อันดับแรกส่วนใหญ่หรือร้อยละ
87.8 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรมนักการเมืองขณะนี้ รองลงมาคือร้อยละ 61.5 คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในบ้านเมือง ร้อย
ละ 60.6 คิดว่าอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ร้อยละ 59.9 คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 52.1 คิดว่าคน
ไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน และร้อยละ 19.9 คิดว่าบ้านเมืองจะสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อพรรคการเมืองที่เคยเลือกในเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 รู้สึกผิด
หวัง ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ไม่รู้สึกผิดหวัง และเมื่อถามถึงรัฐมนตรีที่ควรมีการปรับ ถ้าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 39.5 ระบุ
ควรปรับนายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 37.8 ควรปรับ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง และร้อยละ 33.9 ควรปรับนายจักรภพ เพ็ญแข เป็นสามอันดับ
แรก ในขณะที่ร้อยละ 13.5 ระบุควรปรับนายไชยา สะสมทรัพย์ และร้อยละ 10.1 ระบุควรปรับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นอกจากนี้ ร้อยละ 35.8
ระบุควรปรับทุกคนที่กำลังมีปัญหาความขัดแย้งและความไม่เหมาะสมต่างๆ ในตำแหน่งรัฐมนตรี
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ฐานสนับสนุนของสาธารณชนที่ถูกศึกษาต่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกำลังลดลงอย่าง
มากจากร้อยละ 45.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ เหลือร้อยละ 21.4 ในเดือนพฤษภาคม ในขณะที่เสียงที่ไม่สนับสนุนกลับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.8 มาอยู่ที่ร้อย
ละ 47.3 และคนที่เคยอยู่กลางๆ เพิ่มขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 17.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ในการสำรวจล่าสุด
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ทางออกที่ดีที่สุดในสายตาของประชาชนคือ อันดับแรกหรือร้อยละ 38.6 ระบุควรปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อ
ไป รองลงไปคือ เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.6 ระบุควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันดับสามคือร้อยละ 17.0 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเพียง
ร้อยละ 5.0 ที่ระบุการยึดอำนาจคือทางออกที่ดีที่สุด และที่เหลือร้อยละ 12.8 ระบุอื่นๆ เช่น ไม่มีทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย/ ทำอย่างไรก็ไม่ดี
ขึ้น / แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดีกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า เสียงสนับสนุนจากสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาต่อนายสมัคร สุนทรเวช ลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและทางการเมือง แนวโน้มที่ทรุดตัวลดลงเช่นนี้เป็นสัญญาณที่อันตรายต่อเสถียรภาพของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเร่ง
ดำเนินการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งบานปลายในเขตเมืองหลวง และในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่หน่วยงานความ
มั่นคงดูแลความสงบเรียบร้อยต้องเกาะติดสถานการณ์เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ต่อวิถีชีวิตแบบปกติสุขของประชาชน
อย่างไรก็ตาม มีประชาชนเพียงน้อยนิดหรือร้อยละ 5 เท่านั้นที่เห็นว่าการยึดอำนาจเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทยตอนนี้ ดังนั้น การยึดอำนาจ
จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อพิจารณาความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ทางออกที่ดีที่สุดของประเทศไทยในสายตาประชาชน
ยังอยู่ในกรอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การปรับคณะรัฐมนตรี การยุบสภาเลือกตั้งใหม่ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวิถีทาง
ประชาธิปไตย รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งกอบกู้สถานการณ์การเมืองขณะนี้โดยด่วน ก่อนจะสายเกินแก้ในวงรอบของวังวนการเมืองแบบ
ไทยๆ และกระแสเรียกร้องให้เลือกตั้งใหม่เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความรู้สึกและความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันในสายตาสาธารณ
ชน : กรณีศึกษาประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-21
พฤษภาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่
พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,008 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัยจำนวนทั้งสิ้น 96 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.8 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.7 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 18.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ74.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.6
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.4
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตาม 4.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกและความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันและในอีก
6 เดือนข้างหน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกและความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกอึดอัดกับพฤติกรรมนักการเมืองขณะนี้ 87.8
2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในบ้านเมือง 61.5
3 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 60.6
4 จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 59.9
5 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 52.1
6 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 19.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อพรรคการเมืองเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อพรรคการเมืองในเรื่องแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ค่าร้อยละ
1 รู้สึกผิดหวัง 58.6
2 ไม่ผิดหวัง 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรัฐมนตรีที่ควรถูกปรับเปลี่ยนหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รัฐมนตรีที่ควรถูกปรับเปลี่ยนหากมีการปรับคณะรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 39.5
2 ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง 37.8
3 นายจักรภพ เพ็ญแข 33.9
4 นายไชยา สะสมทรัพย์ 13.5
5 นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ 10.1
6 รัฐมนตรีท่านอื่น อาทิ นายนพดล ปัทมะ/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี /นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 9.7
7 ปรับทุกคนที่กำลังมีปัญหาขัดแย้งและความไม่เหมาะสมต่างๆ 35.8
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศ กุมภาพันธ์ 2551 พฤษภาคม 2551
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1 สนับสนุน 45.4 21.4
2 ไม่สนับสนุน 36.8 47.3
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.8 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป 38.6
2 การเลือกตั้งใหม่ 26.6
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 17.0
4 การยึดอำนาจ 5.0
5 อื่นๆ ไม่มีทางออกที่ดีสำหรับประเทศไทย/ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น/แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดีกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-