ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและ
เยาวชนไทยและทัศนคติต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขต
เทศบาลและนอกเขตเทศบาล ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย
ยโสธร ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,137 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 พฤษภาคม 2551
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้มีประสบการณ์ที่ดีอย่างน้อย 1 ครั้ง
ในเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 มีประสบการณ์ที่ดีในเรื่องการเล่นกีฬา รองลงมาคือร้อยละ 91.4 มีประสบการณ์ในการเข้าวัดฟังเทศน์
ทำบุญ ร้อยละ 90.7 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ ร้อยละ 86.5 เข้าห้องสมุดค้นคว้าหาความรู้ ร้อยละ 81.1 อาสาสมัครช่วย
สังคม แต่ที่น่าพิจารณาคือ ไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 26.3 รับรู้หรือเห็นดารานักแสดง นักร้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ ในขณะที่ร้อยละ 21.9
รับรู้หรือเห็นนักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ เพียงร้อยละ 14.8 รับรู้หรือเห็นนักการเมืองเสียสละเพื่อความสงบสุขของประเทศ และที่
น่าเป็นห่วงคือ เพียงร้อยละ 3.9 ที่รับรู้หรือเห็นว่านักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 ยังเห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ค่อน
ข้างดีถึงดี คือร้อยละ 24.2 ระบุเป็นการปกครองที่ค่อนข้างดีและร้อยละ 53.8 เห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีสำหรับ
ประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 17.7 เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 2.9 เห็นว่าไม่ค่อยดี และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ดี
และเด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มากมายใน
ประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่นดี และเพียงร้อยละ 3.5 ที่ไม่เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของ
ประเทศไทย
เมื่อศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เสี่ยงต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ระบุ
มีคนดื่มเหล้าเมาในชุมชนที่พักอาศัยไม่เกิน 300 เมตร รองลงมาคือร้อยละ 63.6 บ้านมีเหล็กดัดที่ประตูหน้าต่าง ร้อยละ 53.9 ระบุมีร่องรอยการ
ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าส่องสว่างในซอย ร้อยละ 50.6 ระบุมีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.1 ระบุมีภาพเขียน
ภาพวาด สีสเปรย์บนผนัง กำแพง ร้อยละ 46.0 ระบุมีบ้านพักอาศัยปล่อยรกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 42.6 มีบ่อนการพนัน ร้อยละ 42.1 มีแกงค์กลุ่มก่อ
ความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 38.8 มีคนใช้สารเสพติดในชุมชน ร้อยละ 38.5 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ 37.7 มีสนามหญ้ารกร้าง ร้อยละ 37.3 มี
รถที่มีสภาพเหมือนจอดทิ้งไว้ ร้อยละ 33.9 มีสถานบันเทิง ร้อยละ 28.5 มีร่องรอยงัดแงะ ทำลายข้าวของบริเวณบ้านในชุมชน ร้อยละ 22.3 บริเวณ
บ้านของคนในชุมชนไม่ได้ถูกทำความสะอาดเป็นเวลานาน และร้อยละ 15.1 มีสถานบริการทางเพศ ตามลำดับ
เมื่อศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยง 7 อย่างในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อันดับแรกร้อยละ 42.1 คือการหนีเรียน รองลงมาคือร้อยละ
38.9 ดื่มเหล้า ร้อยละ 31.8 ดูแข่งรถซิ่ง ร้อยละ 30.8 มีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 27.4 เล่นพนัน เช่น พนันบอล ไพ่ เกมออนไลน์ เป็นต้น ร้อยละ
18.5 สูบบุหรี่ และร้อยละ 8.6 ใช้ยาเสพติดที่ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่
ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในกลุ่มคนที่ใช้ยาเสพติด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
95.5 สูบบุหรี่ รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 ใช้ยาบ้า ร้อยละ 61.7 ดื่มเหล้า ร้อยละ 39.4 ใช้ยาไอซ์ ร้อยละ 27.4 ใช้กัญชา ร้อยละ 20.2 ใช้
กระท่อม ร้อยละ 11.4 ใช้ยาแก้ไอ ร้อยละ 9.1 ใช้ยาอี ยาเลิฟ ร้อยละ 9.1 ใช้สารระเหย ร้อยละ 6.7 ใช้ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด
ร้อยละ 5.4 ใช้ยาเค ร้อยละ 3.8 ใช้ผงขาว เฮโรอีน และร้อยละ 3.2 ใช้ 4 คูณ 100 ตามลำดับ
กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดได้บอกถึงสาเหตุของการใช้ยาเสพติด โดยพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.1 ระบุสาเหตุการใช้ยาเสพติดอยู่ที่จิตใจของ
ตนเอง เช่น ขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ อยากลอง รักสนุก อยากทำร้ายตนเอง ประชดชีวิต เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 87.5 ระบุเพื่อนชักชวน
ร้อยละ 85.6 ระบุหายาเสพติดได้ง่าย ราคาถูก ร้อยละ 66.8 ใช้เพื่อทำงานได้มากขึ้น ร้อยละ 49.0 ระบุรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกหลอก ร้อยละ
49.0 เช่นกันระบุเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ร้อยละ 47.5 ระบุไม่มีงานทำ ร้อยละ 39.7 ระบุมีปัญหาครอบครัว และร้อยละ 13.6 ถูกบังคับ ข่มขู่
และร้อยละ 87.5 ระบุอื่นๆ เช่น มีเวลาว่างมากไป เครียด และสภาพแวดล้อม เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง
รักษาอย่างใกล้ชิด เพราะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดรายงานให้คณะผู้วิจัยทราบว่า สภาพจิตใจที่ขาดสติสัมปชัญญะ การไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ การ
รักสนุกอยากลอง การประชดชีวิต เป็นสาเหตุอันดับแรก ดังนั้นเมื่อถูกเพื่อนชักชวนและหาซื้อยาเสพติดได้ง่ายราคาถูก จึงทำให้เป็นตัวเร่งที่อันตรายใน
การทำลายคุณภาพของเด็กไทย ผลวิจัยยังพบด้วยว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพลง
ไปอีก และเมื่อพิจารณากลุ่มบุคคลนัยสำคัญทางสังคม เช่น ดารา และนักการเมือง ก็พบว่าเด็กและเยาวชนไทยเพียงส่วนน้อยที่รับรู้และเห็นตัวอย่างที่ดีมี
คุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยแม้สังคมไทยจะประสบกับวิกฤตการณ์
ต่างๆ ขณะนี้ ดังนั้น ทางออกที่น่าเหมาะสมคือ กลุ่มบุคคลต้นแบบของสังคมน่าจะร่วมมือกันแสดงให้เด็กและเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างจริงจังและ
ต่อเนื่องทั้งใน “ด้านคุณธรรมและการเมือง” ให้เกิดความซึมซับลงไปสู่จิตใจและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทย
ข้างหน้า
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ครั้งนี้เรื่อง โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย
และทัศนคติต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอก
เขตเทศบาลจำนวนทั้งสิ้น 3,137 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนไทย
อายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
พิษณุโลก แพร่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย ยโสธร ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และสงขลา เทคนิควิธีการ
สุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,137 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีประสบการณ์ที่ดีในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เล่นกีฬา 94.2
2 เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 91.4
3 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ 90.7
4 เข้าห้องสมุดค้นคว้า 86.5
5 อาสาสมัครช่วยสังคม 81.1
6 รับรู้/เห็นดารานักแสดง นักร้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ 26.3
7 รับรู้/เห็นนักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ 21.9
8 รับรู้/เห็นนักการเมืองเสียสละเพื่อความสงบสุขของประเทศ 14.8
9 รับรู้/เห็นนักการเมืองไทยเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ 3.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ดี 53.8
2 ค่อนข้างดี 24.2
3 ปานกลาง 17.7
4 ไม่ค่อยดี 2.9
5 ไม่ดี 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ
มากมายในประเทศไทย
ลำดับที่ ความรักต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย 72.3
2 ไม่แน่ใจ 24.2
3 ไม่เชื่อมั่น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 มีคนดื่มเหล้าเมา 70.6
2 บ้านมีเหล็กดัดที่ประตู/หน้าต่าง 63.6
3 มีร่องรอยการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ (เช่น ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าส่องสว่างในซอย) 53.9
4 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 50.6
5 มีภาพเขียนภาพวาด/สีสเปรย์บนผนัง กำแพง 47.1
6 มีบ้านพักอาศัยที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า 46.0
7 บ่อนการพนัน 42.6
8 มีแกงค์/กลุ่มผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 42.1
9 มีคนใช้ยาเสพติด 38.8
10 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 38.5
11 สนามหญ้ารกร้าง 37.7
12 มีรถที่มีสภาพเหมือนจอดทิ้งไว้ 37.3
13 มีสถานบันเทิง 33.9
14 มีร่องรอยงัดแงะ ทำลายข้าวของบริเวณบ้าน 28.5
15 บริเวณบ้านไม่ได้ถูกทำความสะอาดเป็นเวลานาน 22.3
16 มีสถานบริการทางเพศ 15.1
ตารางที่ 5 แสดง 7 พฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของกลุ่มเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ 7 พฤติกรรมเสี่ยงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 หนีเรียน 42.1
2 ดื่มเหล้า 38.9
3 ชอบดูแข่งรถซิ่ง 31.8
4 การมีเพศสัมพันธ์ 30.8
5 การเล่นพนัน เช่น พนันบอล ไพ่ เกมออนไลน์ เป็นต้น 27.4
6 สูบบุหรี่ 18.5
7 ใช้สารเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าบุหรี่) 8.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนก่อนการสัมภาษณ์
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้สารเสพติดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สารเสพติดที่ใช้เป็นประจำ ค่าร้อยละ
1 บุหรี่ 95.5
2 ยาบ้า 74.2
3 เหล้า 61.7
4 ไอซ์ 39.4
5 กัญชา 27.4
6 กระท่อม 20.2
7 ยาแก้ไอ 11.4
8 ยาอี/ยาเลิฟ 9.1
9 สารระเหย (ทินเนอร์ กาว เบนซิน) 9.1
10 ยากล่อมประสาท/ยาคลายเครียด 6.7
11 ยาเค 5.4
12 ผงขาว/เฮโรอีน 3.8
13 4 x 100 3.2
14 ฝิ่น 2.9
15 ยานอนหลับ 2.4
16 โคเคน 2.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้ใช้สารเสพติด (เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้สารเสพติด)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้ใช้สารเสพติด ค่าร้อยละ
1 อยู่ที่ใจ เช่น ขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ อยากลอง รักสนุก อยากทำร้ายตนเอง ประชดชีวิต 96.1
2 เพื่อนชักชวน 87.5
3 ยาหาง่าย/ราคาถูก 85.6
4 เพื่อให้สามารถทำงานได้มากขี้น 66.8
5 รู้เท่าไม่ถึงการณ์/ถูกหลอก 49.0
6 เป็นวัมนธรรมของท้องถิ่น 49.0
7 ไม่มีงานทำ 47.5
8 มีปัญหาครอบครัว 39.7
9 ถูกบังคับ/ข่มขู่ 13.6
10 อื่น ๆ เช่นมีเวลาว่างมากเกินไป เครียด และสภาพแวดล้อม 87.5
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและ
เยาวชนไทยและทัศนคติต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขต
เทศบาลและนอกเขตเทศบาล ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย
ยโสธร ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,137 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 พฤษภาคม 2551
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนไทยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ได้มีประสบการณ์ที่ดีอย่างน้อย 1 ครั้ง
ในเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 94.2 มีประสบการณ์ที่ดีในเรื่องการเล่นกีฬา รองลงมาคือร้อยละ 91.4 มีประสบการณ์ในการเข้าวัดฟังเทศน์
ทำบุญ ร้อยละ 90.7 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ ร้อยละ 86.5 เข้าห้องสมุดค้นคว้าหาความรู้ ร้อยละ 81.1 อาสาสมัครช่วย
สังคม แต่ที่น่าพิจารณาคือ ไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 26.3 รับรู้หรือเห็นดารานักแสดง นักร้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ ในขณะที่ร้อยละ 21.9
รับรู้หรือเห็นนักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ เพียงร้อยละ 14.8 รับรู้หรือเห็นนักการเมืองเสียสละเพื่อความสงบสุขของประเทศ และที่
น่าเป็นห่วงคือ เพียงร้อยละ 3.9 ที่รับรู้หรือเห็นว่านักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.0 ยังเห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทยเป็นเรื่องที่ค่อน
ข้างดีถึงดี คือร้อยละ 24.2 ระบุเป็นการปกครองที่ค่อนข้างดีและร้อยละ 53.8 เห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ดีสำหรับ
ประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 17.7 เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 2.9 เห็นว่าไม่ค่อยดี และร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่เห็นว่าไม่ดี
และเด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.3 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มากมายใน
ประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่นดี และเพียงร้อยละ 3.5 ที่ไม่เชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของ
ประเทศไทย
เมื่อศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เสี่ยงต่อคุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.6 ระบุ
มีคนดื่มเหล้าเมาในชุมชนที่พักอาศัยไม่เกิน 300 เมตร รองลงมาคือร้อยละ 63.6 บ้านมีเหล็กดัดที่ประตูหน้าต่าง ร้อยละ 53.9 ระบุมีร่องรอยการ
ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าส่องสว่างในซอย ร้อยละ 50.6 ระบุมีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.1 ระบุมีภาพเขียน
ภาพวาด สีสเปรย์บนผนัง กำแพง ร้อยละ 46.0 ระบุมีบ้านพักอาศัยปล่อยรกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 42.6 มีบ่อนการพนัน ร้อยละ 42.1 มีแกงค์กลุ่มก่อ
ความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 38.8 มีคนใช้สารเสพติดในชุมชน ร้อยละ 38.5 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ 37.7 มีสนามหญ้ารกร้าง ร้อยละ 37.3 มี
รถที่มีสภาพเหมือนจอดทิ้งไว้ ร้อยละ 33.9 มีสถานบันเทิง ร้อยละ 28.5 มีร่องรอยงัดแงะ ทำลายข้าวของบริเวณบ้านในชุมชน ร้อยละ 22.3 บริเวณ
บ้านของคนในชุมชนไม่ได้ถูกทำความสะอาดเป็นเวลานาน และร้อยละ 15.1 มีสถานบริการทางเพศ ตามลำดับ
เมื่อศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยง 7 อย่างในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า อันดับแรกร้อยละ 42.1 คือการหนีเรียน รองลงมาคือร้อยละ
38.9 ดื่มเหล้า ร้อยละ 31.8 ดูแข่งรถซิ่ง ร้อยละ 30.8 มีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 27.4 เล่นพนัน เช่น พนันบอล ไพ่ เกมออนไลน์ เป็นต้น ร้อยละ
18.5 สูบบุหรี่ และร้อยละ 8.6 ใช้ยาเสพติดที่ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่
ที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในกลุ่มคนที่ใช้ยาเสพติด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
95.5 สูบบุหรี่ รองลงมาคือ ร้อยละ 74.2 ใช้ยาบ้า ร้อยละ 61.7 ดื่มเหล้า ร้อยละ 39.4 ใช้ยาไอซ์ ร้อยละ 27.4 ใช้กัญชา ร้อยละ 20.2 ใช้
กระท่อม ร้อยละ 11.4 ใช้ยาแก้ไอ ร้อยละ 9.1 ใช้ยาอี ยาเลิฟ ร้อยละ 9.1 ใช้สารระเหย ร้อยละ 6.7 ใช้ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด
ร้อยละ 5.4 ใช้ยาเค ร้อยละ 3.8 ใช้ผงขาว เฮโรอีน และร้อยละ 3.2 ใช้ 4 คูณ 100 ตามลำดับ
กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดได้บอกถึงสาเหตุของการใช้ยาเสพติด โดยพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.1 ระบุสาเหตุการใช้ยาเสพติดอยู่ที่จิตใจของ
ตนเอง เช่น ขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ อยากลอง รักสนุก อยากทำร้ายตนเอง ประชดชีวิต เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 87.5 ระบุเพื่อนชักชวน
ร้อยละ 85.6 ระบุหายาเสพติดได้ง่าย ราคาถูก ร้อยละ 66.8 ใช้เพื่อทำงานได้มากขึ้น ร้อยละ 49.0 ระบุรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกหลอก ร้อยละ
49.0 เช่นกันระบุเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ร้อยละ 47.5 ระบุไม่มีงานทำ ร้อยละ 39.7 ระบุมีปัญหาครอบครัว และร้อยละ 13.6 ถูกบังคับ ข่มขู่
และร้อยละ 87.5 ระบุอื่นๆ เช่น มีเวลาว่างมากไป เครียด และสภาพแวดล้อม เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของเด็กและเยาวชนไทยยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง
รักษาอย่างใกล้ชิด เพราะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดรายงานให้คณะผู้วิจัยทราบว่า สภาพจิตใจที่ขาดสติสัมปชัญญะ การไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ การ
รักสนุกอยากลอง การประชดชีวิต เป็นสาเหตุอันดับแรก ดังนั้นเมื่อถูกเพื่อนชักชวนและหาซื้อยาเสพติดได้ง่ายราคาถูก จึงทำให้เป็นตัวเร่งที่อันตรายใน
การทำลายคุณภาพของเด็กไทย ผลวิจัยยังพบด้วยว่า เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพลง
ไปอีก และเมื่อพิจารณากลุ่มบุคคลนัยสำคัญทางสังคม เช่น ดารา และนักการเมือง ก็พบว่าเด็กและเยาวชนไทยเพียงส่วนน้อยที่รับรู้และเห็นตัวอย่างที่ดีมี
คุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยแม้สังคมไทยจะประสบกับวิกฤตการณ์
ต่างๆ ขณะนี้ ดังนั้น ทางออกที่น่าเหมาะสมคือ กลุ่มบุคคลต้นแบบของสังคมน่าจะร่วมมือกันแสดงให้เด็กและเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่างที่ดีอย่างจริงจังและ
ต่อเนื่องทั้งใน “ด้านคุณธรรมและการเมือง” ให้เกิดความซึมซับลงไปสู่จิตใจและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันและอนาคตของสังคมไทย
ข้างหน้า
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ครั้งนี้เรื่อง โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย
และทัศนคติต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนไทยอายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอก
เขตเทศบาลจำนวนทั้งสิ้น 3,137 ตัวอย่าง ระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 24 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนไทย
อายุระหว่าง 10 — 24 ปี ทั่วประเทศทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ใน 15 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
พิษณุโลก แพร่ ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย ยโสธร ลพบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และสงขลา เทคนิควิธีการ
สุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะ
โน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,137 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีประสบการณ์ที่ดีในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เล่นกีฬา 94.2
2 เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 91.4
3 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ 90.7
4 เข้าห้องสมุดค้นคว้า 86.5
5 อาสาสมัครช่วยสังคม 81.1
6 รับรู้/เห็นดารานักแสดง นักร้องเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ 26.3
7 รับรู้/เห็นนักการเมืองเป็นตัวอย่างที่ดีมีคุณธรรมสม่ำเสมอ 21.9
8 รับรู้/เห็นนักการเมืองเสียสละเพื่อความสงบสุขของประเทศ 14.8
9 รับรู้/เห็นนักการเมืองไทยเป็นตัวอย่างที่ดีด้านความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ 3.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ดี 53.8
2 ค่อนข้างดี 24.2
3 ปานกลาง 17.7
4 ไม่ค่อยดี 2.9
5 ไม่ดี 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตย ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ
มากมายในประเทศไทย
ลำดับที่ ความรักต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ของประเทศ ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นต่อประชาธิปไตย 72.3
2 ไม่แน่ใจ 24.2
3 ไม่เชื่อมั่น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 มีคนดื่มเหล้าเมา 70.6
2 บ้านมีเหล็กดัดที่ประตู/หน้าต่าง 63.6
3 มีร่องรอยการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ (เช่น ตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าส่องสว่างในซอย) 53.9
4 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 50.6
5 มีภาพเขียนภาพวาด/สีสเปรย์บนผนัง กำแพง 47.1
6 มีบ้านพักอาศัยที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่า 46.0
7 บ่อนการพนัน 42.6
8 มีแกงค์/กลุ่มผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 42.1
9 มีคนใช้ยาเสพติด 38.8
10 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 38.5
11 สนามหญ้ารกร้าง 37.7
12 มีรถที่มีสภาพเหมือนจอดทิ้งไว้ 37.3
13 มีสถานบันเทิง 33.9
14 มีร่องรอยงัดแงะ ทำลายข้าวของบริเวณบ้าน 28.5
15 บริเวณบ้านไม่ได้ถูกทำความสะอาดเป็นเวลานาน 22.3
16 มีสถานบริการทางเพศ 15.1
ตารางที่ 5 แสดง 7 พฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของกลุ่มเด็กและเยาวชน
ลำดับที่ 7 พฤติกรรมเสี่ยงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 หนีเรียน 42.1
2 ดื่มเหล้า 38.9
3 ชอบดูแข่งรถซิ่ง 31.8
4 การมีเพศสัมพันธ์ 30.8
5 การเล่นพนัน เช่น พนันบอล ไพ่ เกมออนไลน์ เป็นต้น 27.4
6 สูบบุหรี่ 18.5
7 ใช้สารเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าบุหรี่) 8.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ เป็นประจำในช่วง 12 เดือนก่อนการสัมภาษณ์
(เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้สารเสพติดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สารเสพติดที่ใช้เป็นประจำ ค่าร้อยละ
1 บุหรี่ 95.5
2 ยาบ้า 74.2
3 เหล้า 61.7
4 ไอซ์ 39.4
5 กัญชา 27.4
6 กระท่อม 20.2
7 ยาแก้ไอ 11.4
8 ยาอี/ยาเลิฟ 9.1
9 สารระเหย (ทินเนอร์ กาว เบนซิน) 9.1
10 ยากล่อมประสาท/ยาคลายเครียด 6.7
11 ยาเค 5.4
12 ผงขาว/เฮโรอีน 3.8
13 4 x 100 3.2
14 ฝิ่น 2.9
15 ยานอนหลับ 2.4
16 โคเคน 2.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้ใช้สารเสพติด (เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้สารเสพติด)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้ใช้สารเสพติด ค่าร้อยละ
1 อยู่ที่ใจ เช่น ขาดสติ ขาดการยับยั้งชั่งใจ อยากลอง รักสนุก อยากทำร้ายตนเอง ประชดชีวิต 96.1
2 เพื่อนชักชวน 87.5
3 ยาหาง่าย/ราคาถูก 85.6
4 เพื่อให้สามารถทำงานได้มากขี้น 66.8
5 รู้เท่าไม่ถึงการณ์/ถูกหลอก 49.0
6 เป็นวัมนธรรมของท้องถิ่น 49.0
7 ไม่มีงานทำ 47.5
8 มีปัญหาครอบครัว 39.7
9 ถูกบังคับ/ข่มขู่ 13.6
10 อื่น ๆ เช่นมีเวลาว่างมากเกินไป เครียด และสภาพแวดล้อม 87.5
--เอแบคโพลล์--
-พห-