ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง ความรู้สึกของหัวหน้าครัวเรือนต่อข่าวสารประจำวันและสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 2,396 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22 — 29 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.2 ติดตามข่าวสารประจำวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และพบด้วยว่าข่าวที่ทำให้หัว
หน้าครัวเรือนได้รับแล้วรู้สึกสะเทือนใจมากที่สุดหรือร้อยละ 95.3 คือข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน รองลงมาคือร้อยละ 94.4 ข่าวแผ่นดินไหวในจีน ร้อยละ
90.8 ข่าวพายุถล่มที่พม่า ร้อยละ 84.3 ข่าวคนไทยทะเลาะกัน ร้อยละ 83.9 ข่าวเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ 80.4 ข่าวสินค้าบริการที่สูงขึ้น ร้อยละ
75.4 ข่าวอุบัติเหตุช่วงเทศกาล ร้อยละ 66.2 ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชน ในขณะที่ ร้อยละ 63.8 ข่าวอาชญากรรมต่างๆ และร้อยละ 28.6 ระบุ
อื่นๆ เช่น ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร ข่าวคนยากจน เป็นต้น
เมื่อถามถึงรายรับของครัวเรือนเวลานี้ เทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่า กว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.1 ระบุรายได้ลดลง ร้อย
ละ 40.1 ระบุรายได้เท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.8 ระบุรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่อถามถึงรายจ่ายของครัวเรือนเวลานี้ เทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.0 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และร้อยละ 12.4 ระบุรายจ่ายลดลง
เมื่อถามถึงภาวะหนี้สินเวลานี้ เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 40.6 ระบุภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30.5 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 8.2 ระบุลดลง และร้อยละ 20.7 ระบุไม่มีหนี้สิน
เมื่อสอบถามถึงความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมหรือไม่เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว พบว่ากว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.3 ต้องการ ในขณะที่ร้อย
ละ 73.7 ไม่ต้องการ สำหรับคนที่ต้องการกู้เพิ่มมีแหล่งเงินจากการกู้ บัตรเครดิต ญาติพี่น้อง สถาบันการเงิน เงินกู้นอกระบบ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
เป็นต้น
เมื่อถามถึงข่าวสารเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รับรู้จากข่าวสารในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 ระบุ
จะแย่ลง ร้อยละ 14.7 จะทรงตัว มีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้นที่ระบุว่าจะดีขึ้น
โดยประเด็นข่าวที่ทำให้รู้สึกกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศให้แย่ลง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.0 ระบุราคาสินค้า
บริการที่สูงขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 88.6 ระบุราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 36.2 ระบุการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 32.8 การทุจริตคอรัปชั่น
ร้อยละ 32.2 การเลิกจ้างแรงงาน ร้อยละ 32.0 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร้อยละ 31.0 การชุมนุมประท้วง ร้อยละ 25.6 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
ร้อยละ 24.6 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ร้อยละ 22.3 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ร้อยละ 20.9 ค่าเงินบาทแข็งค่า ร้อยละ 15.1 การย้ายแหล่งเงินทุน
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม ร้อยละ 14.8 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ ร้อยละ 8.4 ธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ และร้อยละ 6.9 ราคา
หุ้นตกต่ำ ตามลำดับ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนปี 2551 พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.0 คิดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยมีเหตุผลว่า
เศรษฐกิจไม่ดี นายทุนปิดกิจการ แรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนแรงงานคน และรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เป็นต้น ร้อยละ 21.5
คิดว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 6.7 คิดว่าจะลดลง และร้อยละ 18.8 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.2 กำลังมีทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุดต่อเรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
ในขณะที่ร้อยละ 34.5 กำลังมีทุกข์ระดับปานกลาง และร้อยละ 22.3 กำลังมีทุกข์ระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนทรัพย์สินต่างๆ ที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 ระบุเป็นทองคำ ร้อยละ 24.2 ระบุเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องเสียง ตู้เย็น ร้อยละ 11.0 ระบุเป็นรถ
มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นที่ดิน ร้อยละ 3.7 ระบุเป็นบ้าน และร้อยละ 3.2 ระบุอื่นๆ อาทิ
แหวนเพชร นาฬิกา กล้องถ่ายรูป พระเครื่อง ครกหินและสาก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบด้วยว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.1 ยังให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อ
ไป ในขณะที่ร้อยละ 33.1 ไม่ให้โอกาสแล้ว และร้อยละ 11.8 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าข่าวที่ทำให้หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่สะเทือนใจ
กระทบความรู้สึกมากที่สุดเป็นข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน มากกว่าข่าวแผ่นดินไหวในจีน พายุถล่มที่พม่าและมากกว่าข่าวเศรษฐกิจที่กำลังเป็นทุกข์ของ
ประชาชนขณะนี้เสียอีก ถึงแม้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังทำให้ประชาชนเป็นทุกข์แต่ข่าวที่ทำให้สะเทือนใจยิ่งกว่าทุกข์ของประชาชนหัวหน้าครัวเรือนคือ
ข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยอมที่จะทนทุกข์ต่อปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ที่กำลังรุมเร้าได้ เพราะสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำทำงานหนักเพื่อบรรเทาทุกข์ร้อนของพสกนิกรมาโดยตลอด ดังนั้นทุกฝ่ายต้องเร่งเข้ามาเยียวยาความรู้สึก
ของประชาชน และช่วยกันรณรงค์ปกปักษ์รักษาสถาบันหลักของประเทศให้อยู่ในจิตวิญญาณและการแสดงออกในทางปฏิบัติของประชาชนทุกหมู่เหล่าตลอดไป
“อย่างไรก็ตาม หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของประเทศยังคงให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำ
งานต่อไปในการสำรวจครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าประชาชนในเขตจังหวัดใหญ่ๆ เหล่านี้อาจเล็งเห็นผลกระทบในทางลบจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้นในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของหัวหน้าครัวเรือนต่อสภาวะเศรษฐกิจและข่าวสารประจำวัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความรู้สึกของหัว
หน้าครัวเรือนต่อข่าวสารประจำวันและสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่
ขอนแก่น และภูเก็ต ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การ
วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมายหัวหน้าครัวเรือน ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และ
ภูเก็ต เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,369 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย คณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 85 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.1 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 28.6 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 29.0 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.9 เป็นพนักงานบริษทเอกชน
ร้อยละ 32.8 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 2.8 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 31.6 ระบุมีอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวัน ร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 17.0
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 4.0
5 ไม่ได้ติดตาม 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวสารที่ได้รับแล้วรู้สึกสะเทือนใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวสารที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ ร้อยละ
1 ข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน 95.3
2 ข่าวแผ่นดินไหวในจีน 94.4
3 ข่าวพายุถล่มที่พม่า 90.8
4 ข่าวคนไทยทะเลาะกัน 84.3
5 ข่าวเศรษฐกิจตกต่ำ 83.9
6 ข่าวสินค้าบริการขึ้นราคา 80.4
7 ข่าวอุบัติเหตุช่วงเทศกาล 75.4
8 ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชน 66.2
9 ข่าวอาชญากรรมต่างๆ 63.8
10 อื่นๆ เช่น ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร ข่าวภัยธรรมชาติ ข่าวคนยากจน เป็นต้น 28.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายรับ ของครัวเรือน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ รายรับ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 7.8
2 เท่าเดิม 40.1
3 ลดลง 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายจ่าย ของครัวเรือน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ รายจ่าย เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 73.6
2 เท่าเดิม 14.0
3 ลดลง 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาวะหนี้สิน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ ภาวะหนี้สิน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 40.6
2 เท่าเดิม 30.5
3 ลดลง 8.2
4 ไม่มีหนี้สิน 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว
ลำดับที่ ความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ
1 ต้องการ 26.3
2 ไม่ต้องการ 73.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
- คนที่ต้องการกู้ระบุต้องการกู้เงินจาก..บัตรเครดิต ญาติพี่น้อง สถาบันการเงิน เงินกู้นอกระบบ สหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รับรู้จากข่าวสาร ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ภาวะเศรษฐกิจจากการรับรู้ข่าวสาร ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
1 ดีขึ้น 2.7
2 ทรงตัว 14.7
3 แย่ลง 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเด็นที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยให้แย่ลง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยให้แย่ลง ร้อยละ
1 ราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น 89.0
2 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 88.6
3 รูปแบบการบริหารของคณะรัฐบาล 36.2
4 การทุจริตคอร์รัปชั่น 32.8
5 การเลิกจ้างแรงงาน 32.2
6 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 32.0
7 การชุมนุมประท้วง 31.0
8 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 25.6
9 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว 24.6
10 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย 22.3
11 ค่าเงินบาทแข็งค่า 20.9
12 การหลั่งไหลของแหล่งเงินทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม 15.1
13 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ 14.8
14 ธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ 8.4
15 ราคาหุ้นตกต่ำ 6.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนในปี 2551
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนในปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 53.0
2 เหมือนเดิม 21.5
3 ลดลง 6.7
4 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
- ผู้ที่ระบุว่าเพิ่มมากขึ้นให้เหตุผลคือ เศรษฐกิจไม่ดี นายทุนปิดกิจการ แรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนแรงงานคน และ รัฐบาลไม่เสถียร เป็นต้น
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความทุกข์เรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
ลำดับที่ ระดับความทุกข์เรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ร้อยละ
1 ทุกข์มาก ถึง มากที่สุด 43.2
2 ปานกลาง 34.5
3 น้อย ถึง ไม่ทุกข์เลย 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทรัพย์สินที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรัพย์สินที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ ร้อยละ
1 ทองคำ 60.8
2 เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องเสีย ตู้เย็น 24.2
3 รถมอเตอร์ไซด์ รถยนต์ 11.0
4 โทรศัพท์มือถือ 7.9
5 ที่ดิน 7.1
6 บ้าน 3.7
7 อื่นๆ อาทิ แหวนเพชร/นาฬิกา/กล้องถ่ายรูป/พระเครื่อง/ครกหิน และสาก เป็นต้น 3.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป 55.1
2 ไม่ให้โอกาสแล้ว 33.1
3 ไม่มีความเห็น 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง ความรู้สึกของหัวหน้าครัวเรือนต่อข่าวสารประจำวันและสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต จำนวนทั้งสิ้น 2,396 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 22 — 29 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.2 ติดตามข่าวสารประจำวันในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และพบด้วยว่าข่าวที่ทำให้หัว
หน้าครัวเรือนได้รับแล้วรู้สึกสะเทือนใจมากที่สุดหรือร้อยละ 95.3 คือข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน รองลงมาคือร้อยละ 94.4 ข่าวแผ่นดินไหวในจีน ร้อยละ
90.8 ข่าวพายุถล่มที่พม่า ร้อยละ 84.3 ข่าวคนไทยทะเลาะกัน ร้อยละ 83.9 ข่าวเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ 80.4 ข่าวสินค้าบริการที่สูงขึ้น ร้อยละ
75.4 ข่าวอุบัติเหตุช่วงเทศกาล ร้อยละ 66.2 ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชน ในขณะที่ ร้อยละ 63.8 ข่าวอาชญากรรมต่างๆ และร้อยละ 28.6 ระบุ
อื่นๆ เช่น ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร ข่าวคนยากจน เป็นต้น
เมื่อถามถึงรายรับของครัวเรือนเวลานี้ เทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่า กว่าครึ่งหรือร้อยละ 52.1 ระบุรายได้ลดลง ร้อย
ละ 40.1 ระบุรายได้เท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.8 ระบุรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่อถามถึงรายจ่ายของครัวเรือนเวลานี้ เทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.6 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.0 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และร้อยละ 12.4 ระบุรายจ่ายลดลง
เมื่อถามถึงภาวะหนี้สินเวลานี้ เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 40.6 ระบุภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 30.5 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 8.2 ระบุลดลง และร้อยละ 20.7 ระบุไม่มีหนี้สิน
เมื่อสอบถามถึงความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมหรือไม่เพื่อใช้จ่ายในครอบครัว พบว่ากว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 26.3 ต้องการ ในขณะที่ร้อย
ละ 73.7 ไม่ต้องการ สำหรับคนที่ต้องการกู้เพิ่มมีแหล่งเงินจากการกู้ บัตรเครดิต ญาติพี่น้อง สถาบันการเงิน เงินกู้นอกระบบ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
เป็นต้น
เมื่อถามถึงข่าวสารเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รับรู้จากข่าวสารในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 ระบุ
จะแย่ลง ร้อยละ 14.7 จะทรงตัว มีเพียงร้อยละ 2.7 เท่านั้นที่ระบุว่าจะดีขึ้น
โดยประเด็นข่าวที่ทำให้รู้สึกกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศให้แย่ลง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.0 ระบุราคาสินค้า
บริการที่สูงขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 88.6 ระบุราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ร้อยละ 36.2 ระบุการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 32.8 การทุจริตคอรัปชั่น
ร้อยละ 32.2 การเลิกจ้างแรงงาน ร้อยละ 32.0 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ร้อยละ 31.0 การชุมนุมประท้วง ร้อยละ 25.6 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
ร้อยละ 24.6 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ร้อยละ 22.3 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย ร้อยละ 20.9 ค่าเงินบาทแข็งค่า ร้อยละ 15.1 การย้ายแหล่งเงินทุน
ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม ร้อยละ 14.8 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ ร้อยละ 8.4 ธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ และร้อยละ 6.9 ราคา
หุ้นตกต่ำ ตามลำดับ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนปี 2551 พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.0 คิดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยมีเหตุผลว่า
เศรษฐกิจไม่ดี นายทุนปิดกิจการ แรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนแรงงานคน และรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เป็นต้น ร้อยละ 21.5
คิดว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 6.7 คิดว่าจะลดลง และร้อยละ 18.8 ไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาคือ หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.2 กำลังมีทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุดต่อเรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
ในขณะที่ร้อยละ 34.5 กำลังมีทุกข์ระดับปานกลาง และร้อยละ 22.3 กำลังมีทุกข์ระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนทรัพย์สินต่างๆ ที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ พบ
ว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.8 ระบุเป็นทองคำ ร้อยละ 24.2 ระบุเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องเสียง ตู้เย็น ร้อยละ 11.0 ระบุเป็นรถ
มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 7.1 ระบุเป็นที่ดิน ร้อยละ 3.7 ระบุเป็นบ้าน และร้อยละ 3.2 ระบุอื่นๆ อาทิ
แหวนเพชร นาฬิกา กล้องถ่ายรูป พระเครื่อง ครกหินและสาก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบด้วยว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.1 ยังให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อ
ไป ในขณะที่ร้อยละ 33.1 ไม่ให้โอกาสแล้ว และร้อยละ 11.8 ไม่มีความเห็น ตามลำดับ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าข่าวที่ทำให้หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่สะเทือนใจ
กระทบความรู้สึกมากที่สุดเป็นข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน มากกว่าข่าวแผ่นดินไหวในจีน พายุถล่มที่พม่าและมากกว่าข่าวเศรษฐกิจที่กำลังเป็นทุกข์ของ
ประชาชนขณะนี้เสียอีก ถึงแม้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันกำลังทำให้ประชาชนเป็นทุกข์แต่ข่าวที่ทำให้สะเทือนใจยิ่งกว่าทุกข์ของประชาชนหัวหน้าครัวเรือนคือ
ข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยอมที่จะทนทุกข์ต่อปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ ที่กำลังรุมเร้าได้ เพราะสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรำทำงานหนักเพื่อบรรเทาทุกข์ร้อนของพสกนิกรมาโดยตลอด ดังนั้นทุกฝ่ายต้องเร่งเข้ามาเยียวยาความรู้สึก
ของประชาชน และช่วยกันรณรงค์ปกปักษ์รักษาสถาบันหลักของประเทศให้อยู่ในจิตวิญญาณและการแสดงออกในทางปฏิบัติของประชาชนทุกหมู่เหล่าตลอดไป
“อย่างไรก็ตาม หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดหัวเมืองใหญ่ของประเทศยังคงให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำ
งานต่อไปในการสำรวจครั้งนี้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าประชาชนในเขตจังหวัดใหญ่ๆ เหล่านี้อาจเล็งเห็นผลกระทบในทางลบจะทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้นในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของหัวหน้าครัวเรือนต่อสภาวะเศรษฐกิจและข่าวสารประจำวัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความรู้สึกของหัว
หน้าครัวเรือนต่อข่าวสารประจำวันและสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน กรณีศึกษาหัวหน้าครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่
ขอนแก่น และภูเก็ต ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 22 — 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การ
วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมายหัวหน้าครัวเรือน ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น และ
ภูเก็ต เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,369 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย คณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 85 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.1 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 28.6 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
ร้อยละ 29.0 ระบุอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.2 มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.9 เป็นพนักงานบริษทเอกชน
ร้อยละ 32.8 ระบุมีธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย
ร้อยละ 2.8 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 31.6 ระบุมีอาชีพรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวัน ร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 52.2
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 23.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 17.0
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 4.0
5 ไม่ได้ติดตาม 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวสารที่ได้รับแล้วรู้สึกสะเทือนใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวสารที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ ร้อยละ
1 ข่าวการหมิ่นต่อสถาบัน 95.3
2 ข่าวแผ่นดินไหวในจีน 94.4
3 ข่าวพายุถล่มที่พม่า 90.8
4 ข่าวคนไทยทะเลาะกัน 84.3
5 ข่าวเศรษฐกิจตกต่ำ 83.9
6 ข่าวสินค้าบริการขึ้นราคา 80.4
7 ข่าวอุบัติเหตุช่วงเทศกาล 75.4
8 ข่าวปัญหาเด็กและเยาวชน 66.2
9 ข่าวอาชญากรรมต่างๆ 63.8
10 อื่นๆ เช่น ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร ข่าวภัยธรรมชาติ ข่าวคนยากจน เป็นต้น 28.6
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายรับ ของครัวเรือน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ รายรับ เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 7.8
2 เท่าเดิม 40.1
3 ลดลง 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายจ่าย ของครัวเรือน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ รายจ่าย เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 73.6
2 เท่าเดิม 14.0
3 ลดลง 12.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาวะหนี้สิน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551
ลำดับที่ ภาวะหนี้สิน ณ ปัจจุบัน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 40.6
2 เท่าเดิม 30.5
3 ลดลง 8.2
4 ไม่มีหนี้สิน 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว
ลำดับที่ ความต้องการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว ร้อยละ
1 ต้องการ 26.3
2 ไม่ต้องการ 73.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
- คนที่ต้องการกู้ระบุต้องการกู้เงินจาก..บัตรเครดิต ญาติพี่น้อง สถาบันการเงิน เงินกู้นอกระบบ สหกรณ์เครดิต ยูเนี่ยน เป็นต้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่รับรู้จากข่าวสาร ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ภาวะเศรษฐกิจจากการรับรู้ข่าวสาร ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา ร้อยละ
1 ดีขึ้น 2.7
2 ทรงตัว 14.7
3 แย่ลง 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเด็นที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยให้แย่ลง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นที่ทำให้รู้สึกเป็นกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจของไทยให้แย่ลง ร้อยละ
1 ราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น 89.0
2 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 88.6
3 รูปแบบการบริหารของคณะรัฐบาล 36.2
4 การทุจริตคอร์รัปชั่น 32.8
5 การเลิกจ้างแรงงาน 32.2
6 ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 32.0
7 การชุมนุมประท้วง 31.0
8 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 25.6
9 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว 24.6
10 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย 22.3
11 ค่าเงินบาทแข็งค่า 20.9
12 การหลั่งไหลของแหล่งเงินทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เวียดนาม 15.1
13 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำ 14.8
14 ธนาคารไม่ปล่อยเงินกู้ 8.4
15 ราคาหุ้นตกต่ำ 6.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนในปี 2551
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อภาวะการว่างงานของประชาชนในปี 2551 ร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 53.0
2 เหมือนเดิม 21.5
3 ลดลง 6.7
4 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
- ผู้ที่ระบุว่าเพิ่มมากขึ้นให้เหตุผลคือ เศรษฐกิจไม่ดี นายทุนปิดกิจการ แรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนแรงงานคน และ รัฐบาลไม่เสถียร เป็นต้น
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความทุกข์เรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว
ลำดับที่ ระดับความทุกข์เรื่องภาระค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว ร้อยละ
1 ทุกข์มาก ถึง มากที่สุด 43.2
2 ปานกลาง 34.5
3 น้อย ถึง ไม่ทุกข์เลย 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทรัพย์สินที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรัพย์สินที่ตั้งใจจะนำไปจำนำ ร้อยละ
1 ทองคำ 60.8
2 เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี วิทยุ เครื่องเสีย ตู้เย็น 24.2
3 รถมอเตอร์ไซด์ รถยนต์ 11.0
4 โทรศัพท์มือถือ 7.9
5 ที่ดิน 7.1
6 บ้าน 3.7
7 อื่นๆ อาทิ แหวนเพชร/นาฬิกา/กล้องถ่ายรูป/พระเครื่อง/ครกหิน และสาก เป็นต้น 3.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป 55.1
2 ไม่ให้โอกาสแล้ว 33.1
3 ไม่มีความเห็น 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-