ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความ
รู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 —31 พฤษภาคม 2551 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ
90 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ระหว่างเดือนมีนาคมกับเดือนพฤษภาคม พบว่า ประชาชน
ส่วนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.8 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอ
ข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 ประชาชนเชื่อว่าความสงบสุขจะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
จากร้อยละ 80.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.7 ประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ใน
เดือนพฤษภาคม ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้
สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเพิ่มขึ้นจากร้อย
ละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคม
ไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64.0 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา
ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม ร้อยละ 60.6 ไม่กล้าพูดว่า คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 51.7 ไม่กล้า
พูดว่าคนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
ดร.นพดล กล่าวว่า ต้องหาคำตอบในงานวิจัยครั้งต่อไปว่า อะไรหรือปัจจัยใดที่ยังคงทำให้คนไทย แม้อยู่ในสถานการณ์วุ่นวายทางการ
เมืองและปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังกล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้ยังอยากเกิดเป็นคนไทยอีก และที่น่าสนใจว่าคนไทยจะหายไปประมาณ
ร้อยละ 10 ที่ไม่กล้าพูดเช่นนั้นว่า พวกเขาเหล่านั้นหายไปไหนหรือเพราะอะไรจึงไม่ตอบเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่าจะรุนแรง
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
สำหรับสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ
ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ร้อยละ 65.2 ระบุ ความเครียด
ร้อยละ 64.9 ระบุการกระทำของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 59.0 ระบุการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม ร้อยละ 57.4 การพกพาและใช้อาวุธ และร้อยละ 56.3
ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่า
อารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุรู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุการให้โอกาสแก่กันและกัน ร้อยละ
68.3 ระบุกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 67.6 ระบุความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุความเสียสละ ร้อยละ 54.2 ระบุการปลูกจิตสำนึกความ
รักชาติ ร้อยละ 53.8 ระบุความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 51.1 ระบุการไม่แทรกแซง ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทุกคนได้ช่วยกันพิจารณาข้อมูลจากสาธารณชน เพราะ
มีหลายประเด็นที่น่าเป็นห่วงและข้อเสนอแนะที่น่าจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ได้ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้ไม่กล้าพูดได้
เต็มที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่า วันนี้คนไทยรักกัน นอกจากนี้ สภาวะจิตใจของคนไทยก็กำลังย่ำแย่ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการ
เมือง ดังนั้นจึงขอฝากให้ลองพิจารณาความคิดเห็นของสาธารณชนที่ว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมคือการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ การขาด
สติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ความเครียด และการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยทางออกของปัญหาความไม่สงบเหล่า
นี้ที่ค้นพบคือ ขอให้คนไทยมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ยอมลดราวาศอก ถอยคนละก้าว การรู้จักให้อภัย การให้โอกาสแก่กันและกัน และพึ่ง
กระบวนการยุติธรรมเป็นทางออกสุดท้ายหรือเสาหลักสำคัญของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อ
เหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น
3,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 —31 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,487 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 22.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 18.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.1
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.8
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.6
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 3.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ เปรียบเทียบเดือนมีนาคม กับ เดือนพฤษภาคม
ลำดับที่ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ มีนาคม พฤษภาคม
มาก-มากที่สุด มาก-มากที่สุด
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 88.8 94.1
2 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 81.7 86.5
3 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤต 80.3 83.7
4 วิตกกังวลต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ 62.4 79.6
5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.2 85.5
6 การแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 57.1 60.3
7 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน 53.9 74.8
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่
ลำดับที่ คำพูด/ประโยคสะท้อนเอกลักษณ์คนไทย และสังคมไทย กล้าพูด ไม่กล้าพูด
1 สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข 31.2 68.8
2 วันนี้ คนไทยรักกัน 34.9 65.1
3 ผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา 36.0 64.0
4 มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม 36.2 63.8
5 คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น 39.4 60.6
6 คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน 48.3 51.7
7 ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก 89.4 10.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวโน้มการใช้ความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ แนวโน้มการใช้ความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 รุนแรงเพิ่มขึ้น 66.3
2 เท่าเดิม 28.1
3 ลดลง 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนในอีก 5 ปีข้างหน้า
ลำดับที่ การลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 รุนแรงเพิ่มขึ้น 72.4
2 เท่าเดิม 23.2
3 ลดลง 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 การท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ 79.1
2 การขาดสติ ไม่ยับยั่งชั่งใจ 72.2
3 การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ 70.8
4 ความเครียด 65.2
5 การกระทำของเจ้าหน้าที่ 64.9
6 การกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม 59.0
7 การพกพาและใช้อาวุธ 57.4
8 การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน 56.3
9 อื่นๆ เช่น สภาพอากาศ การละเลยของเจ้าหน้าที่ แรงกดดัน และพฤติกรรมหมู่ เป็นต้น 32.5
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ 80.2
2 การยอมถอยคนละก้าว 75.4
3 การรู้จักให้อภัย 72.7
4 การให้โอกาสแก่กันและกัน 69.3
5 กระบวนการยุติธรรม 68.3
6 ความอดทน อดกลั้น 67.6
7 ความเสียสละ 57.9
8 ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ 54.2
9 ความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ 53.8
10 การไม่แทรกแซง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ 51.1
11 อื่นๆ เช่น ลดอคติต่อกัน หันหน้าเข้าหากัน พูดจากันดีๆ ไม่ยกตนข่มท่าน และยอมให้แตกต่างแต่ไม่แตกแยก เป็นต้น 33.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความ
รู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 —31 พฤษภาคม 2551 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ
90 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ระหว่างเดือนมีนาคมกับเดือนพฤษภาคม พบว่า ประชาชน
ส่วนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.8 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอ
ข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 ประชาชนเชื่อว่าความสงบสุขจะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
จากร้อยละ 80.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.7 ประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ใน
เดือนพฤษภาคม ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้
สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเพิ่มขึ้นจากร้อย
ละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคม
ไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64.0 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา
ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม ร้อยละ 60.6 ไม่กล้าพูดว่า คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 51.7 ไม่กล้า
พูดว่าคนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
ดร.นพดล กล่าวว่า ต้องหาคำตอบในงานวิจัยครั้งต่อไปว่า อะไรหรือปัจจัยใดที่ยังคงทำให้คนไทย แม้อยู่ในสถานการณ์วุ่นวายทางการ
เมืองและปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังกล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้ยังอยากเกิดเป็นคนไทยอีก และที่น่าสนใจว่าคนไทยจะหายไปประมาณ
ร้อยละ 10 ที่ไม่กล้าพูดเช่นนั้นว่า พวกเขาเหล่านั้นหายไปไหนหรือเพราะอะไรจึงไม่ตอบเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่าจะรุนแรง
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ
72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
สำหรับสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ
ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ร้อยละ 65.2 ระบุ ความเครียด
ร้อยละ 64.9 ระบุการกระทำของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 59.0 ระบุการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม ร้อยละ 57.4 การพกพาและใช้อาวุธ และร้อยละ 56.3
ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่า
อารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุรู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุการให้โอกาสแก่กันและกัน ร้อยละ
68.3 ระบุกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 67.6 ระบุความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุความเสียสละ ร้อยละ 54.2 ระบุการปลูกจิตสำนึกความ
รักชาติ ร้อยละ 53.8 ระบุความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 51.1 ระบุการไม่แทรกแซง ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทุกคนได้ช่วยกันพิจารณาข้อมูลจากสาธารณชน เพราะ
มีหลายประเด็นที่น่าเป็นห่วงและข้อเสนอแนะที่น่าจะช่วยคลี่คลายสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ได้ โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้ไม่กล้าพูดได้
เต็มที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่า วันนี้คนไทยรักกัน นอกจากนี้ สภาวะจิตใจของคนไทยก็กำลังย่ำแย่ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการ
เมือง ดังนั้นจึงขอฝากให้ลองพิจารณาความคิดเห็นของสาธารณชนที่ว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมคือการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ การขาด
สติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ความเครียด และการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยทางออกของปัญหาความไม่สงบเหล่า
นี้ที่ค้นพบคือ ขอให้คนไทยมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ยอมลดราวาศอก ถอยคนละก้าว การรู้จักให้อภัย การให้โอกาสแก่กันและกัน และพึ่ง
กระบวนการยุติธรรมเป็นทางออกสุดท้ายหรือเสาหลักสำคัญของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อ
เหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น
3,487 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 —31 พฤษภาคม 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,487 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 22.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.8 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 18.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 31.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.1
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.8
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 16.6
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 3.0
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ เปรียบเทียบเดือนมีนาคม กับ เดือนพฤษภาคม
ลำดับที่ ความรู้สึกนึกคิดต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ มีนาคม พฤษภาคม
มาก-มากที่สุด มาก-มากที่สุด
1 อยากเห็นบ้านเมืองสงบสุข 88.8 94.1
2 อยากให้สื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกัน 81.7 86.5
3 ความสงบสุขทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤต 80.3 83.7
4 วิตกกังวลต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ 62.4 79.6
5 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 58.2 85.5
6 การแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยก 57.1 60.3
7 สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน 53.9 74.8
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่
ลำดับที่ คำพูด/ประโยคสะท้อนเอกลักษณ์คนไทย และสังคมไทย กล้าพูด ไม่กล้าพูด
1 สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข 31.2 68.8
2 วันนี้ คนไทยรักกัน 34.9 65.1
3 ผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา 36.0 64.0
4 มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม 36.2 63.8
5 คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น 39.4 60.6
6 คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน 48.3 51.7
7 ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก 89.4 10.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวโน้มการใช้ความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ แนวโน้มการใช้ความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 รุนแรงเพิ่มขึ้น 66.3
2 เท่าเดิม 28.1
3 ลดลง 5.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนในอีก 5 ปีข้างหน้า
ลำดับที่ การลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ
1 รุนแรงเพิ่มขึ้น 72.4
2 เท่าเดิม 23.2
3 ลดลง 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 การท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ 79.1
2 การขาดสติ ไม่ยับยั่งชั่งใจ 72.2
3 การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ 70.8
4 ความเครียด 65.2
5 การกระทำของเจ้าหน้าที่ 64.9
6 การกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม 59.0
7 การพกพาและใช้อาวุธ 57.4
8 การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน 56.3
9 อื่นๆ เช่น สภาพอากาศ การละเลยของเจ้าหน้าที่ แรงกดดัน และพฤติกรรมหมู่ เป็นต้น 32.5
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ 80.2
2 การยอมถอยคนละก้าว 75.4
3 การรู้จักให้อภัย 72.7
4 การให้โอกาสแก่กันและกัน 69.3
5 กระบวนการยุติธรรม 68.3
6 ความอดทน อดกลั้น 67.6
7 ความเสียสละ 57.9
8 ปลูกจิตสำนึกความรักชาติ 54.2
9 ความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ 53.8
10 การไม่แทรกแซง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ 51.1
11 อื่นๆ เช่น ลดอคติต่อกัน หันหน้าเข้าหากัน พูดจากันดีๆ ไม่ยกตนข่มท่าน และยอมให้แตกต่างแต่ไม่แตกแยก เป็นต้น 33.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-