ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อท่า
ทีของ กลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี นครปฐม สมุทรปราการ
นนทบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 3,338 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกสัปดาห์
เมื่อถามประชาชนว่า ความคิดเห็นหรือท่าทีใดที่แสดงถึงจุดยืนของประชาชนได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 46.5 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 46.2 ของคนต่างจังหวัดเห็นพ้องต้องกันว่า สนับสนุนการชุมนุมของ
กลุ่มพันธมิตรฯ แต่ต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 8.4 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 6.5 ของคนต่างจังหวัด
สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ทุกรูปแบบ
ในทางตรงกันข้าม ร้อยละ 30.3 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 31.5 ของคนต่างจังหวัด ระบุ ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ทุกรูปแบบ นอกจากนี้ ร้อยละ 7.6 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.4 ของคนต่างจังหวัดระบุ ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และยังชักชวน
คนอื่นๆ ให้ต่อต้านการชุมนุมด้วย
ดร.นพดล กล่าวว่า ตัวเลขผลสำรวจออกมาเช่นนี้มองได้อย่างน้อยสองด้าน คือ ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปด้วย
ความสงบเรียบร้อย ก็จะได้ฐานสนับสนุนมากเลยทีเดียว แต่ถ้าเพลี่ยงพล้ำทำให้สังคมวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อน ก็จะทำให้สูญเสียฐานสนับสนุนไปจน
กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบด้านฐานสนับสนุนจากสาธารณชน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถชุมนุมไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะมีฐานสนับสนุน
จากสาธารณชนมากกว่ากลุ่มต่อต้านการชุมนุม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การวิเคราะห์ผลสำรวจดังกล่าว น่าจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อสำรวจพบว่า ถ้าประชาชนมีโอกาสพูดกับแกนนำ
กลุ่มพันธมิตรฯ ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เกือบร้อยละ 90 คือร้อยละ 88.1 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 87.2 ใน
ต่างจังหวัด อยากพูดกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ควรชุมนุมในที่ที่เหมาะสม ประชาชนไม่เดือดร้อน ร้อยละ 87.1 ในกรุงเทพมหานคร
และร้อยละ 86.1 ในต่างจังหวัด ระบุกลุ่มพันธมิตรฯ ควรทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ช่วยเหลือชุมชนรอบข้าง เช่น อำนวยความสะดวกจราจร เสริมอาชีพ
รายได้ให้ประชาชน ทำความสะอาดชุมชน เก็บขยะ เก็บกวาด แก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น ร้อยละ 82.7 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 81.0 ในต่างจังหวัด
ระบุ ขอให้กลุ่มพันธมิตรช่วยหาทางผ่อนคลายความวิตกกังวลของประชาชน นอกจากนี้ ร้อยละ 79.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 77.9 ในต่างจังหวัด
ระบุขอให้กลุ่มพันธมิตรยึดมั่นในอุดมการณ์ต่อไป ทำเพื่อประเทศชาติ แต่อย่าให้สังคมวุ่นวาย และร้อยละ 66.9 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 66.6
ในต่างจังหวัดระบุ อยากขอให้พักการชุมนุมไว้ก่อน ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องชัดเจนก็พร้อมจะสนับสนุนให้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง
เมื่อสอบถามถึงว่า ในอดีตที่ผ่านมาเคยคิดสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 ในกรุงเทพมหา
นคร และร้อยละ 67.5 ในต่างจังหวัดระบุ ไม่เคยคิด ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 32.5 ในต่างจังหวัดระบุเคยคิด
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ณ วันนี้ การสนับสนุนต่อกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 39.5 ในกรุงเทพมหานคร และ
ร้อยละ 46.2 ในต่างจังหวัดระบุไม่สนับสนุนเลย ร้อยละ 7.8 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 8.2 ในต่างจังหวัดระบุสนับสนุนลดลง มีเพียงร้อยละ 12.4
ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 5.0 ในต่างจังหวัดระบุสนับสนุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 15.4 ในต่างจังหวัดสนับสนุนเท่าเดิม ร้อย
ละที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับสิ่งที่ประชาชนอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการต่อกลุ่มพันธมิตรฯ ผู้ชุมนุมมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ อันดับแรกหรือร้อยละ 25.0
ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 22.2 ในต่างจังหวัดระบุ ขอให้ตำรวจดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย อันดับสองหรือร้อยละ 17.8 ในกรุงเทพฯ
และร้อยละ 16.1 ในต่างจังหวัดระบุ หลีกเลี่ยงการปะทะ อันดับสามหรือร้อยละ 14.1 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 18.1 ในต่างจังหวัดระบุ ให้เจรจา
ต่อรองด้วยสันติวิธี อันดับสี่หรือร้อยละ 10.6 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 12.8 ในต่างจังหวัดระบุ ให้ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย อันดับห้าหรือ
ร้อยละ 9.9 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 11.1 ในต่างจังหวัดระบุให้จับกุม สลายการชุมนุม อันดับหกหรือร้อยละ 10.4 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.3
ในต่างจังหวัดระบุให้ป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดี มือที่สาม และอันดับเจ็ดหรือร้อยละ 4.1 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 3.4 ในต่างจังหวัดระบุให้ จัดระเบียบ
จราจร เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 53.4 ในต่างจังหวัด เห็นด้วยกับท่าทีของกองทัพ
(ทหาร) ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.6 ในต่างจังหวัด ไม่เห็น
ด้วย ที่เหลือหรือร้อยละ 30.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 37.0 ในต่างจังหวัดไม่มีความเห็น
เมื่อประเมินความพอใจโดยภาพรวมต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรต่อกลุ่มต่างๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 ในกรุงเทพฯ
และร้อยละ 66.7 ในต่างจังหวัดพอใจต่อการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 57.2 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.6 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าที
ของกองทัพ ร้อยละ 35.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 42.4 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าทีของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ
25.2 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าประชาชนเกินครึ่งในต่างจังหวัดหรือร้อยละ 53.6 และคนกรุงเทพมหานครจำนวนมากหรือร้อยละ 41.0 ยัง
คงสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 28.0 ในต่างจังหวัดและร้อยละ 31.4 ในกรุงเทพฯ ไม่สนับสนุน ที่เหลือขออยู่ตรง
กลาง
เมื่อถามถึงการสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนต่างจังหวัดสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช มากกว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือร้อยละ 50.8 หรือประมาณครึ่งของคนต่างจังหวัดสนับสนุน และร้อยละ 28.9 ของคน
กรุงเทพฯ —ปริมณฑล สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ของคนต่างจังหวัด และร้อยละ 43.7 ของคนกรุงเทพฯ — ปริมณฑล ไม่สนับสนุน ร้อยละที่
เหลือ ขออยู่ตรงกลาง
สำหรับแนวโน้มความนิยมของสาธารณชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลต่อนายสมัคร สุนทรเวช พบว่า แนวโน้มการสนับสนุนเริ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
จากร้อยละ 21.4 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 28.9 ในการสำรวจล่าสุด อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ไม่สนับสนุนยังคงมีมากกว่ากลุ่มผู้สนับสนุน แต่เมื่อ
พิจารณาฐานสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช จากสาธารณชนทั่วประเทศโดยภาพรวม พบว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนยังคงมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน คือร้อย
ละ 48.5 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 32.4 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 19.1 ขออยู่ตรงกลาง
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.3 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 73.5 ในต่างจังหวัด ยังคงเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทย แม้จะมีวิกฤตต่างๆ มากมาย ในขณะที่ร้อยละ 11.4 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 11.7 ใน
ต่างจังหวัด ไม่เชื่อมั่น และที่เหลือไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงระดับความสุขของประชาชนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ
51.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.1 ในต่างจังหวัดมีความสุขลดลง และค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 สำหรับคนกรุงเทพฯ และ 2.92 ของคนต่าง
จังหวัด ซึ่งเป็นค่าความสุขที่อยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับความสุขที่มีต่อสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ทุกๆ ฝ่ายทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
กองทัพ รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องระมัดระวังเพราะตัวเลขที่ค้นพบยืนยันได้ว่า กลุ่มพันธมิตรมีฐานสนับสนุนอยู่จำนวนมากพอที่แสดงพลังอย่าง
ใดอย่างหนึ่งได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะถ้าชุมนุมอย่างสงบจะได้ใจของสาธารณชนเพิ่มขึ้น ส่วนท่าทีของตำรวจและกองทัพกำลังได้รับการสนับสนุนจาก
สาธารณชนเป็นส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีก็กำลังได้รับโอกาสในการทำงานต่อไป โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีกำลังได้รับ
การสนับสนุนความนิยมที่กระเตื้องเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในโซนสองที่อาจเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย
“ดังนั้น โดยภาพรวมแล้ว ถ้าทุกอย่างดำเนินเช่นนี้ต่อไป คือ กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมในที่ที่เหมาะสมอย่างสงบเรียบร้อย หรือยอมหยุดพักชั่ว
คราว เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลการชุมนุมไม่ให้เกิดเหตุวุ่นวาย กองทัพมีท่าทีชัดเจนในการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่เกี่ยวข้องกับการ
ชุมนุม และรัฐบาลไม่มีท่าทียั่วยุ ไม่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาน อยู่ในครรลองครองธรรม และมุมานะทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชน ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ประเทศไทยจะเข้มแข็ง เพราะระบบเฝ้าระวังประเทศจากภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ประชาชนจะมีอุดมการณ์ทางการ
เมืองที่โปร่งใสและชอบธรรมมากขึ้น คนไทยอยู่ด้วยกันได้แม้เห็นแตกต่าง และน่าจะผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ไม่ยากนัก” ผอ.เอแบคโพลล์กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อท่าทีของกลุ่ม
พันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 1-8 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,338 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.6 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 16.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 44.7 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 14.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 14.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 62.0 57.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 19.6 22.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 12.9 13.2
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 2.9 4.0
5 ไม่ได้ติดตาม 2.6 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและท่าทีของตนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นสนับสนุน กทม. ต่างจังหวัด
ต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่ต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน 46.5 46.2
2 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในทุกรูปแบบ 30.3 31.5
3 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯและยังเคยชักชวนคนอื่นๆ ให้ต่อต้านการชุมนุมด้วย 7.6 9.4
4 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทุกรูปแบบ 8.4 6.5
5 อื่นๆ ควรให้รัฐบาลทำงานไปอีกระยะก่อน / สนับสนุนบ้างบางครั้ง / ขอเป็นกลาง เป็นต้น 7.2 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อสิ่งที่อยากบอกกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับ กทม. ต่างจังหวัด
แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ชุมนุมในที่ที่เหมาะสม ประชาชนไม่เดือดร้อน 88.1 87.2
2 ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ช่วยเหลือชุมชนรอบข้าง เช่น อำนวยความสะดวกจราจร เสริมอาชีพเสริมรายได้ให้ประชาชน
ทำความสะอาดชุมชน เก็บขยะ เก็บกวาด แก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น 87.1 86.1
3 ช่วยหาทางผ่อนคลายความวิตกกังวลของประชาชน 82.7 81.0
4 ขอให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ต่อไป ทำเพื่อประเทศชาติ แต่อย่าให้สังคมวุ่นวาย 79.5 77.9
5 แสดงอุดมการณ์ให้สาธารณชนรับทราบก็เพียงพอ 76.8 74.1
6 ขอให้พักการชุมนุมไว้ก่อน ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องชัดเจนก็พร้อมจะสนับสนุนให้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง 66.9 66.6
7 หยุดพักการชุมนุมชั่วคราว 65.0 65.4
8 อยากให้ชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด 24.9 19.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอดีตที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดสนับสนุน กทม. ต่างจังหวัด
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอดีตที่ผ่านมา ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เคยคิด 37.8 32.5
2 ไม่เคยคิด 62.2 67.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ณ วันนี้
ลำดับที่ การสนับสนุนต่อการชุมนุมของ กทม. ต่างจังหวัด
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ วันนี้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนเพิ่มขึ้น 12.4 5.0
2 สนับสนุนเท่าเดิม 17.0 15.4
3 สนับสนุนลดลง 7.8 8.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 39.5 46.2
5 ไม่มีความเห็น 23.3 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชมุนุมมากที่สุด
(เลือกตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติ กทม. ต่างจังหวัด
ต่อกลุ่มผู้ชมุนุมมากที่สุด ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย 25.0 22.2
2 หลีกเลี่ยงการปะทะ 17.8 16.1
3 เจรจา ต่อรองกันด้วยสันติวิธี 14.1 18.1
4 ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย 10.6 12.8
5 จับกุม สลายการชุมนุม 9.9 11.1
6 ป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดี มือที่สาม 10.4 9.3
7 จัดระเบียบจราจร 4.1 3.4
8 กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ 3.7 3.6
9 อื่นๆอาทิ ทำให้บ้านเมืองสงบสุขโดยเร็วและคิดดีทำดี เป็นต้น 4.4 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อท่าทีของกองทัพ (ทหาร) ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ
การสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อท่าทีของกองทัพ (ทหาร) กทม. ต่างจังหวัด
ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.0 53.4
2 ไม่เห็นด้วย 8.5 9.6
3 ไม่มีความเห็น 30.5 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และ
รัฐบาล ในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพอใจต่อกลุ่มต่างๆ กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 กลุ่มพันธมิตรฯ 30.7 25.2
2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 67.0 66.7
3 กองทัพ 57.2 54.6
4 รัฐบาล 35.0 42.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปก่อน
ลำดับที่ ให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 41.0 53.6
2 ไม่สนับสนุน 31.4 28.0
3 ขออยู่ตรงกลาง 27.6 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ระดับการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กทม.-ปริมณฑล ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 28.9 50.8
2 ไม่สนับสนุน 43.7 28.8
3 ขออยู่ตรงกลาง 27.4 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบจากการ
สำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ —เดือนมิถุนายน 2551 (ค่าร้อยละฉพาะตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร- ปริมณฑล)
ระดับการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กุมภาพันธ์ 2551 เมษายน 2551 พฤษภาคม 2551 มิถุนายน 2551
1. สนับสนุน 45.4 47.6 21.4 28.9
2. ไม่สนับสนุน 36.8 26.3 47.3 43.7
3. ขออยู่ตรงกลาง 17.8 26.1 31.3 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
เปรียบเทียบจากการสำรวจในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน 2551 (ภาพรวมทั่วประเทศ)
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช มีนาคม 2551 มิถุนายน 2551
เป็นนายกรัฐมนตรี
1 สนับสนุน 45.3 48.5
2 ไม่สนับสนุน 32.3 32.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 22.4 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการ
ปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่ ถึงแม้จะมีวิกฤตต่างๆ มากมาย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น กทม.ค่าร้อยละ ต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 76.3 73.5
2 ไม่เชื่อมั่น 11.4 11.7
3 ไม่มีความเห็น 12.3 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเพิ่มขึ้น-ลดลงของความสุขจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร
ลำดับที่ การเพิ่มขึ้น-ลดลงของความสุขจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร กทม.ค่าร้อยละ ต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 มีความสุขเพิ่มขึ้น 7.0 4.7
2 มีความสุขเหมือนเดิม 41.5 41.3
3 มีความสุขลดลง 51.5 54.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
คะแนนเฉลี่ยความสุขจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 2.97 2.92
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ทีของ กลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี นครปฐม สมุทรปราการ
นนทบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 3,338 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกสัปดาห์
เมื่อถามประชาชนว่า ความคิดเห็นหรือท่าทีใดที่แสดงถึงจุดยืนของประชาชนได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 46.5 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 46.2 ของคนต่างจังหวัดเห็นพ้องต้องกันว่า สนับสนุนการชุมนุมของ
กลุ่มพันธมิตรฯ แต่ต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 8.4 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 6.5 ของคนต่างจังหวัด
สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ทุกรูปแบบ
ในทางตรงกันข้าม ร้อยละ 30.3 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 31.5 ของคนต่างจังหวัด ระบุ ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ทุกรูปแบบ นอกจากนี้ ร้อยละ 7.6 ของคนกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.4 ของคนต่างจังหวัดระบุ ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และยังชักชวน
คนอื่นๆ ให้ต่อต้านการชุมนุมด้วย
ดร.นพดล กล่าวว่า ตัวเลขผลสำรวจออกมาเช่นนี้มองได้อย่างน้อยสองด้าน คือ ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถควบคุมให้การชุมนุมเป็นไปด้วย
ความสงบเรียบร้อย ก็จะได้ฐานสนับสนุนมากเลยทีเดียว แต่ถ้าเพลี่ยงพล้ำทำให้สังคมวุ่นวาย ประชาชนเดือดร้อน ก็จะทำให้สูญเสียฐานสนับสนุนไปจน
กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบด้านฐานสนับสนุนจากสาธารณชน ในอีกด้านหนึ่ง ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ สามารถชุมนุมไปด้วยความสงบเรียบร้อยก็จะมีฐานสนับสนุน
จากสาธารณชนมากกว่ากลุ่มต่อต้านการชุมนุม
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า การวิเคราะห์ผลสำรวจดังกล่าว น่าจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อสำรวจพบว่า ถ้าประชาชนมีโอกาสพูดกับแกนนำ
กลุ่มพันธมิตรฯ ประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เกือบร้อยละ 90 คือร้อยละ 88.1 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 87.2 ใน
ต่างจังหวัด อยากพูดกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า กลุ่มพันธมิตรฯ ควรชุมนุมในที่ที่เหมาะสม ประชาชนไม่เดือดร้อน ร้อยละ 87.1 ในกรุงเทพมหานคร
และร้อยละ 86.1 ในต่างจังหวัด ระบุกลุ่มพันธมิตรฯ ควรทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ช่วยเหลือชุมชนรอบข้าง เช่น อำนวยความสะดวกจราจร เสริมอาชีพ
รายได้ให้ประชาชน ทำความสะอาดชุมชน เก็บขยะ เก็บกวาด แก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น ร้อยละ 82.7 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 81.0 ในต่างจังหวัด
ระบุ ขอให้กลุ่มพันธมิตรช่วยหาทางผ่อนคลายความวิตกกังวลของประชาชน นอกจากนี้ ร้อยละ 79.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 77.9 ในต่างจังหวัด
ระบุขอให้กลุ่มพันธมิตรยึดมั่นในอุดมการณ์ต่อไป ทำเพื่อประเทศชาติ แต่อย่าให้สังคมวุ่นวาย และร้อยละ 66.9 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 66.6
ในต่างจังหวัดระบุ อยากขอให้พักการชุมนุมไว้ก่อน ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องชัดเจนก็พร้อมจะสนับสนุนให้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง
เมื่อสอบถามถึงว่า ในอดีตที่ผ่านมาเคยคิดสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.2 ในกรุงเทพมหา
นคร และร้อยละ 67.5 ในต่างจังหวัดระบุ ไม่เคยคิด ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 32.5 ในต่างจังหวัดระบุเคยคิด
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ณ วันนี้ การสนับสนุนต่อกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 39.5 ในกรุงเทพมหานคร และ
ร้อยละ 46.2 ในต่างจังหวัดระบุไม่สนับสนุนเลย ร้อยละ 7.8 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 8.2 ในต่างจังหวัดระบุสนับสนุนลดลง มีเพียงร้อยละ 12.4
ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 5.0 ในต่างจังหวัดระบุสนับสนุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 15.4 ในต่างจังหวัดสนับสนุนเท่าเดิม ร้อย
ละที่เหลือไม่มีความเห็น
สำหรับสิ่งที่ประชาชนอยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการต่อกลุ่มพันธมิตรฯ ผู้ชุมนุมมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ อันดับแรกหรือร้อยละ 25.0
ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 22.2 ในต่างจังหวัดระบุ ขอให้ตำรวจดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย อันดับสองหรือร้อยละ 17.8 ในกรุงเทพฯ
และร้อยละ 16.1 ในต่างจังหวัดระบุ หลีกเลี่ยงการปะทะ อันดับสามหรือร้อยละ 14.1 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 18.1 ในต่างจังหวัดระบุ ให้เจรจา
ต่อรองด้วยสันติวิธี อันดับสี่หรือร้อยละ 10.6 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 12.8 ในต่างจังหวัดระบุ ให้ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย อันดับห้าหรือ
ร้อยละ 9.9 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 11.1 ในต่างจังหวัดระบุให้จับกุม สลายการชุมนุม อันดับหกหรือร้อยละ 10.4 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.3
ในต่างจังหวัดระบุให้ป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดี มือที่สาม และอันดับเจ็ดหรือร้อยละ 4.1 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 3.4 ในต่างจังหวัดระบุให้ จัดระเบียบ
จราจร เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 53.4 ในต่างจังหวัด เห็นด้วยกับท่าทีของกองทัพ
(ทหาร) ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในขณะที่ร้อยละ 8.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 9.6 ในต่างจังหวัด ไม่เห็น
ด้วย ที่เหลือหรือร้อยละ 30.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 37.0 ในต่างจังหวัดไม่มีความเห็น
เมื่อประเมินความพอใจโดยภาพรวมต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรต่อกลุ่มต่างๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 ในกรุงเทพฯ
และร้อยละ 66.7 ในต่างจังหวัดพอใจต่อการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 57.2 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.6 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าที
ของกองทัพ ร้อยละ 35.0 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 42.4 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าทีของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ
25.2 ในต่างจังหวัดพอใจต่อท่าทีของกลุ่มพันธมิตรฯ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าประชาชนเกินครึ่งในต่างจังหวัดหรือร้อยละ 53.6 และคนกรุงเทพมหานครจำนวนมากหรือร้อยละ 41.0 ยัง
คงสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 28.0 ในต่างจังหวัดและร้อยละ 31.4 ในกรุงเทพฯ ไม่สนับสนุน ที่เหลือขออยู่ตรง
กลาง
เมื่อถามถึงการสนับสนุนของสาธารณชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนต่างจังหวัดสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช มากกว่าคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือร้อยละ 50.8 หรือประมาณครึ่งของคนต่างจังหวัดสนับสนุน และร้อยละ 28.9 ของคน
กรุงเทพฯ —ปริมณฑล สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ของคนต่างจังหวัด และร้อยละ 43.7 ของคนกรุงเทพฯ — ปริมณฑล ไม่สนับสนุน ร้อยละที่
เหลือ ขออยู่ตรงกลาง
สำหรับแนวโน้มความนิยมของสาธารณชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลต่อนายสมัคร สุนทรเวช พบว่า แนวโน้มการสนับสนุนเริ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
จากร้อยละ 21.4 ในเดือนพฤษภาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 28.9 ในการสำรวจล่าสุด อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ไม่สนับสนุนยังคงมีมากกว่ากลุ่มผู้สนับสนุน แต่เมื่อ
พิจารณาฐานสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช จากสาธารณชนทั่วประเทศโดยภาพรวม พบว่า กลุ่มคนที่สนับสนุนยังคงมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน คือร้อย
ละ 48.5 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 32.4 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 19.1 ขออยู่ตรงกลาง
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.3 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 73.5 ในต่างจังหวัด ยังคงเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยยังเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทย แม้จะมีวิกฤตต่างๆ มากมาย ในขณะที่ร้อยละ 11.4 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 11.7 ใน
ต่างจังหวัด ไม่เชื่อมั่น และที่เหลือไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงระดับความสุขของประชาชนจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ
51.5 ในกรุงเทพฯ และร้อยละ 54.1 ในต่างจังหวัดมีความสุขลดลง และค่าความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 สำหรับคนกรุงเทพฯ และ 2.92 ของคนต่าง
จังหวัด ซึ่งเป็นค่าความสุขที่อยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับความสุขที่มีต่อสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองปัจจุบันอยู่ในสภาวะที่ทุกๆ ฝ่ายทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
กองทัพ รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี จำเป็นต้องระมัดระวังเพราะตัวเลขที่ค้นพบยืนยันได้ว่า กลุ่มพันธมิตรมีฐานสนับสนุนอยู่จำนวนมากพอที่แสดงพลังอย่าง
ใดอย่างหนึ่งได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะถ้าชุมนุมอย่างสงบจะได้ใจของสาธารณชนเพิ่มขึ้น ส่วนท่าทีของตำรวจและกองทัพกำลังได้รับการสนับสนุนจาก
สาธารณชนเป็นส่วนใหญ่ในการสำรวจครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีก็กำลังได้รับโอกาสในการทำงานต่อไป โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีกำลังได้รับ
การสนับสนุนความนิยมที่กระเตื้องเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในโซนสองที่อาจเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย
“ดังนั้น โดยภาพรวมแล้ว ถ้าทุกอย่างดำเนินเช่นนี้ต่อไป คือ กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมในที่ที่เหมาะสมอย่างสงบเรียบร้อย หรือยอมหยุดพักชั่ว
คราว เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูแลการชุมนุมไม่ให้เกิดเหตุวุ่นวาย กองทัพมีท่าทีชัดเจนในการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่เกี่ยวข้องกับการ
ชุมนุม และรัฐบาลไม่มีท่าทียั่วยุ ไม่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาน อยู่ในครรลองครองธรรม และมุมานะทำงานแก้ปัญหาเดือดร้อนของ
ประชาชน ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ประเทศไทยจะเข้มแข็ง เพราะระบบเฝ้าระวังประเทศจากภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ประชาชนจะมีอุดมการณ์ทางการ
เมืองที่โปร่งใสและชอบธรรมมากขึ้น คนไทยอยู่ด้วยกันได้แม้เห็นแตกต่าง และน่าจะผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ไม่ยากนัก” ผอ.เอแบคโพลล์กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อท่าทีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาลที่มีต่อกลุ่มผู้ชุมนุม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อท่าทีของกลุ่ม
พันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาล : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 1-8 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น
และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,338 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุด
ก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 29.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.6 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 2.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 16.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 44.7 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 14.4 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 14.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 62.0 57.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 19.6 22.1
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 12.9 13.2
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 2.9 4.0
5 ไม่ได้ติดตาม 2.6 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นและท่าทีของตนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความคิดเห็นสนับสนุน กทม. ต่างจังหวัด
ต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่ต้องไม่ทำให้สังคมวุ่นวายและประชาชนเดือดร้อน 46.5 46.2
2 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในทุกรูปแบบ 30.3 31.5
3 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯและยังเคยชักชวนคนอื่นๆ ให้ต่อต้านการชุมนุมด้วย 7.6 9.4
4 สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทุกรูปแบบ 8.4 6.5
5 อื่นๆ ควรให้รัฐบาลทำงานไปอีกระยะก่อน / สนับสนุนบ้างบางครั้ง / ขอเป็นกลาง เป็นต้น 7.2 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อสิ่งที่อยากบอกกับแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับ กทม. ต่างจังหวัด
แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ชุมนุมในที่ที่เหมาะสม ประชาชนไม่เดือดร้อน 88.1 87.2
2 ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ช่วยเหลือชุมชนรอบข้าง เช่น อำนวยความสะดวกจราจร เสริมอาชีพเสริมรายได้ให้ประชาชน
ทำความสะอาดชุมชน เก็บขยะ เก็บกวาด แก้ปัญหาชุมชน เป็นต้น 87.1 86.1
3 ช่วยหาทางผ่อนคลายความวิตกกังวลของประชาชน 82.7 81.0
4 ขอให้ยึดมั่นในอุดมการณ์ต่อไป ทำเพื่อประเทศชาติ แต่อย่าให้สังคมวุ่นวาย 79.5 77.9
5 แสดงอุดมการณ์ให้สาธารณชนรับทราบก็เพียงพอ 76.8 74.1
6 ขอให้พักการชุมนุมไว้ก่อน ถ้ามีอะไรไม่ถูกต้องชัดเจนก็พร้อมจะสนับสนุนให้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง 66.9 66.6
7 หยุดพักการชุมนุมชั่วคราว 65.0 65.4
8 อยากให้ชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด 24.9 19.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอดีตที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดสนับสนุน กทม. ต่างจังหวัด
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในอดีตที่ผ่านมา ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เคยคิด 37.8 32.5
2 ไม่เคยคิด 62.2 67.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ณ วันนี้
ลำดับที่ การสนับสนุนต่อการชุมนุมของ กทม. ต่างจังหวัด
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ณ วันนี้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุนเพิ่มขึ้น 12.4 5.0
2 สนับสนุนเท่าเดิม 17.0 15.4
3 สนับสนุนลดลง 7.8 8.2
4 ไม่สนับสนุนเลย 39.5 46.2
5 ไม่มีความเห็น 23.3 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ชมุนุมมากที่สุด
(เลือกตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติ กทม. ต่างจังหวัด
ต่อกลุ่มผู้ชมุนุมมากที่สุด ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ดูแลการชุมนุมให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย 25.0 22.2
2 หลีกเลี่ยงการปะทะ 17.8 16.1
3 เจรจา ต่อรองกันด้วยสันติวิธี 14.1 18.1
4 ป้องกันการสร้างสถานการณ์วุ่นวาย 10.6 12.8
5 จับกุม สลายการชุมนุม 9.9 11.1
6 ป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดี มือที่สาม 10.4 9.3
7 จัดระเบียบจราจร 4.1 3.4
8 กลับไปป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ 3.7 3.6
9 อื่นๆอาทิ ทำให้บ้านเมืองสงบสุขโดยเร็วและคิดดีทำดี เป็นต้น 4.4 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อท่าทีของกองทัพ (ทหาร) ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ
การสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อท่าทีของกองทัพ (ทหาร) กทม. ต่างจังหวัด
ที่ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.0 53.4
2 ไม่เห็นด้วย 8.5 9.6
3 ไม่มีความเห็น 30.5 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจต่อกลุ่มพันธมิตรฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองทัพ และ
รัฐบาล ในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพอใจต่อกลุ่มต่างๆ กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 กลุ่มพันธมิตรฯ 30.7 25.2
2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 67.0 66.7
3 กองทัพ 57.2 54.6
4 รัฐบาล 35.0 42.4
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปก่อน
ลำดับที่ ให้การสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป กทม. ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 41.0 53.6
2 ไม่สนับสนุน 31.4 28.0
3 ขออยู่ตรงกลาง 27.6 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ระดับการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กทม.-ปริมณฑล ต่างจังหวัด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 28.9 50.8
2 ไม่สนับสนุน 43.7 28.8
3 ขออยู่ตรงกลาง 27.4 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบจากการ
สำรวจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ —เดือนมิถุนายน 2551 (ค่าร้อยละฉพาะตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร- ปริมณฑล)
ระดับการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี กุมภาพันธ์ 2551 เมษายน 2551 พฤษภาคม 2551 มิถุนายน 2551
1. สนับสนุน 45.4 47.6 21.4 28.9
2. ไม่สนับสนุน 36.8 26.3 47.3 43.7
3. ขออยู่ตรงกลาง 17.8 26.1 31.3 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
เปรียบเทียบจากการสำรวจในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน 2551 (ภาพรวมทั่วประเทศ)
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช มีนาคม 2551 มิถุนายน 2551
เป็นนายกรัฐมนตรี
1 สนับสนุน 45.3 48.5
2 ไม่สนับสนุน 32.3 32.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 22.4 19.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการ
ปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่ ถึงแม้จะมีวิกฤตต่างๆ มากมาย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น กทม.ค่าร้อยละ ต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 76.3 73.5
2 ไม่เชื่อมั่น 11.4 11.7
3 ไม่มีความเห็น 12.3 14.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเพิ่มขึ้น-ลดลงของความสุขจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร
ลำดับที่ การเพิ่มขึ้น-ลดลงของความสุขจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร กทม.ค่าร้อยละ ต่างจังหวัดค่าร้อยละ
1 มีความสุขเพิ่มขึ้น 7.0 4.7
2 มีความสุขเหมือนเดิม 41.5 41.3
3 มีความสุขลดลง 51.5 54.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
คะแนนเฉลี่ยความสุขจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 2.97 2.92
--เอแบคโพลล์--
-พห-