ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง การเมืองไทยในฝันและ
จินตนาการของเด็กวัยทีน กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปีที่กำลังเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ 20 เขตของกรุงเทพมหานคร
และ 4 อำเภอของจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,467 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า เด็ก
วัยทีนส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงความฝันและจินตนาการต่อการเมืองไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.9 มีความฝันและจินตนาการว่าประเทศ
ไทยจะมีความสงบสุขเกิดขึ้น ร้อยละ 98.6 คือคนไทยรักกัน ร้อยละ 98.5 รัฐบาลมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 97.3 มีความแตกต่างกัน แต่ไม่ใช้
ความรุนแรง ร้อยละ 97.1 ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ 97.1 เท่ากันที่ฝันและมีจินตนาการว่า รัฐบาลกับกลุ่ม
พันธมิตรจะตกลงกันได้อย่างสงบในครรลองครองธรรม ร้อยละ 96.9 มีความฝันว่าปัญหาการเมืองไทยจะได้ข้อยุติ ร้อยละ 96.4 ฝันว่ากระบวนการ
ยุติธรรมเป็นทางแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ ร้อยละ 96.0 ฝันว่านักการเมืองที่ทำผิดกฎหมายจะถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่
ร้อยละ 90.4 ฝันว่าการจัดเวทีประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความเดือดร้อนผู้อื่น และร้อยละ 90.2 ฝันว่า ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน
ที่น่าสนใจคือ ความฝันและจินตนาการของเด็กๆ วัยทีนต่อคุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีประเทศไทยในฝัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 97.7 มีความฝันและจินตนาการว่า นายกรัฐมนตีประเทศไทยจะมีศีลและประพฤติดีงาม รองลงมาคือร้อยละ 97.5 มีความยุติธรรม เป็นผู้นำที่
ให้ความเที่ยงธรรมแก่สังคม และร้อยละ 97.5 เท่ากันระบุว่า มีความซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 97.2 มีความเมตตา กรุณา ร้อยละ 97.0 มีความ
เพียร มุมานะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 96.5 มีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 96.1 ทุ่มเททำงานหนัก เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อ
ประชาชน ร้อยละ 95.9 ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้อื่น และร้อยละ 95.9 เท่ากันระบุ ฝันว่านายกรัฐมนตรีประเทศไทยเป็นผู้ใหญ่ใจดี
ร้อยละ 95.5 ฝันว่านายกรัฐมนตรีให้ความใกล้ชิด ดูแลเด็กๆ และเยาวชน ร้อยละ 95.4 ระบุเป็นผู้ให้ทาน ให้กำลังใจผู้น้อย ในขณะที่ร้อยละ 94.7
และร้อยละ 94.0 ระบุฝันว่านายกรัฐมนตรีประเทศไทยมีความสุภาพอ่อนโยน และไม่โกรธ ไม่โมโหง่าย ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เด็กๆ วัยทีนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.2 ระบุควรให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 23.8
ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 34.0 ไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้
นอกจากนี้ เด็กๆ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.7 ระบุถ้ามีโอกาส อยากเชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้พบปะ
เยี่ยมเยียนเด็กๆ ตามสถาบันการศึกษาเพื่อรับทราบปัญหาของเด็กๆ และเยาวชน ในขณะที่ร้อยละ 22.3 ไม่อยากเชิญ เพราะ อยากให้เร่งแก้ปัญหา
เดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ไม่อยากให้เอาการเมืองมาวุ่นวายกับเด็กๆ ไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาเด็กๆ ได้จริง และไม่ชอบ ไม่คิดว่าจะมี
อะไรดีขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่เด็กๆ วัยทีนอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเร่งแก้ไขโดยด่วน นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 64.9 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 62.3 ปัญหา
ความไม่รักไม่สามัคคีกันของคนไทย ร้อยละ 58.4 ปัญหาคุณภาพด้านการศึกษา ร้อยละ 57.3 ปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ร้อยละ 54.8 ปัญหาคุณธรรม
ของคนไทยที่เสื่อมถอย ร้อยละ 52.9 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 51.1 ปัญหาการเล่นพนันและอบายมุขในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่
ร้อยละ 48.0 ระบุปัญหาผู้ใหญ่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน และร้อยละ 46.2 ระบุปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เด็กๆ วัยทีนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 มีความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยว่าเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับ
ประเทศไทย แม้จะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ ร้อยละ 16.9 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.7 ไม่มีความเห็น
แต่เมื่อถามถึงระดับความสุขของเด็กๆ วัยทีนในสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริงอยู่ทุกวันนี้ ผลสำรวจพบว่า เด็กๆ จำนวนมากหรือร้อยละ
43.1 มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 42.0 มีความสุขระดับปานกลาง และเพียงร้อยละ 14.9 มีความสุขมากถึงมากที่สุด แต่เมื่อคิดค่า
เฉลี่ยความสุขจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เด็กๆ มีความสุขเพียง 3.89 คะแนนเท่านั้น ถือว่าต่ำที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบมา
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ วัยทีนเกือบทุกคนมีความฝันและจินตนาการต่อเรื่องการเมืองไทยว่าอยากเห็นความ
สงบสุขเกิดขึ้น คนไทยรักกัน รัฐบาลไทยมีความซื่อสัตย์ สุจริต จนถึงเรื่องของนักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม การจัดเวที
ประชาธิปไตยเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยไม่เดือดร้อนผู้อื่น และความฝันของเด็กๆ ว่า ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์บ้านเมืองคงจะไม่เลวร้ายและวุ่นวาย ถ้าผู้นำประเทศมีคุณธรรมและคุณสมบัติ ตามความฝันและ
จินตนาการของเด็กๆ ในห้าอันดับที่ว่า มีศีลประพฤติตนดีงาม ให้ความเป็นธรรมแก่สังคม ซื่อสัตย์ สุจริต มีความเมตตากรุณา และมีความเพียร มุมานะ
แก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน อย่างไรก็ตาม เด็กๆ พร้อมให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป และอยากเชิญคณะรัฐมนตรีได้สัมผัสปัญหาต่างๆ
ของเด็กและเยาวชนถึงสถาบันการศึกษา และยังมีความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยว่าเหมาะสมกับประเทศไทย แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขของพวกเด็กๆ ที่ไม่ใช่เรื่องความฝันและจินตนาการ แต่เป็นเรื่องจริงของการเมืองทุกวันนี้ พวกเด็กๆ กำลังมี
ความสุขน้อยที่สุด เท่าที่เคยสำรวจพบมา จึงขอให้ผู้ใหญ่ในสังคมช่วยหาทางคืนความสงบสุขแก่พวกเขาโดยเร็ว เพราะอีกไม่นาน พวกเขาจะเติบโตขึ้น
มาดูแลบ้านเมือง พอถึงตอนนั้นหากบ้านเมืองเกิดความขัดแย้งรุนแรงอีก ถ้ามีผู้ใหญ่ทักท้วงตักเตือนพวกเขา ก็อาจถูกโต้ตอบกลับว่า วันนี้ผู้ใหญ่ในสังคม
ไทยไม่ช่วยหาทางตอบสนองความฝันและจินตนาการของพวกเขา หรืออาจเป็นไปได้ว่า ผู้ใหญ่ในสังคมตอนนี้ไม่สนใจให้บ้านเมืองสงบสุข เพราะมี
ทางออกลี้ภัยการเมืองไปอยู่ประเทศอื่น ปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายรุนแรงไว้เบื้องหลัง ดังนั้น คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่มีที่ไป ต้องช่วยกันหาทางทำให้บ้าน
เมืองสงบสุขโดยเร็ว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความฝันและจินตนาการของเด็กวัยทีน ต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ การเมืองไทยในฝันและจินตนาการของ เ ด็ก
วัยทีน” กรณีศึกษาเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปีที่กำลังเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ 20 เขตของกรุงเทพมหานครและ 4 อำเภอของ
จังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,467 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชน
อายุ 12 -19 ปี ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนด
ลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,467 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อ
มั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัยจำนวน 91 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 38.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.7 ระบุอายุระหว่าง 12-14 ปี
ร้อยละ 28.6 ระบุอายุระหว่าง 15-17 ปี
ร้อยละ 21.7 ร บุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 50.4 ระบุศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ร้อยละ 20.4 ระบุศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 4.6 ระบุระดับ ป.ว.ช. /ป.ว.ส.
และร้อยละ 20.4 ระบุระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 82.1 มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 17.9 ระบุมีภุมิลำเนาอยู่ต่างๆ จังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 36.9
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 29.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 22.6
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 7.5
5 ไม่ได้ติดตาม 4.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความฝันและจินตนาการของสถานการณ์การเมืองในประเทศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์การเมืองของประเทศในความฝันและจินตนาการ ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทยมีความสงบสุขเกิดขึ้น 98.9
2 คนไทยรักกัน 98.6
3 รัฐบาลไทยมีความซื่อสัตย์ สุจริต 98.5
4 มีความแตกต่าง แต่ไม่ใช้ความรุนแรง 97.3
5 ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม 97.1
6 รัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรตกลงกันได้อย่างสงบในครรลองครองธรรม 97.1
7 ปัญหาการเมืองได้ข้อยุติ 96.9
8 กระบวนการยุติธรรมเป็นทางแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ 96.4
9 นักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม 96.0
10 การจัดเวทีประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความเดือดร้อนคนอื่น 90.4
11 ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน 90.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีในฝัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีประเทศไทยในฝัน ค่าร้อยละ
1 การมีศีล ประพฤติดีงาม 97.7
2 ความยุติธรรม เป็นผู้นำที่ให้ความเที่ยงธรรมแก่สังคม 97.5
3 ซื่อสัตย์ สุจริต 97.5
4 มีความเมตตา กรุณา 97.2
5 ความเพียร มุมานะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 97.0
6 ความอดทน อดกลั้น 96.5
7 ทุ่มเททำงานหนัก เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประชาชน 96.1
8 ความไม่เบียดเบียน ไม่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้อื่น 95.9
9 ความเป็นผู้ใหญ่ใจดี 95.9
10 ให้ความใกล้ชิด ดูแลเด็กๆ และเยาวชน 95.5
11 การให้ทาน ให้กำลังใจผู้น้อย 95.4
12 ความสุภาพ อ่อนโยน 94.7
13 ความไม่โกรธ ไม่โมโหง่าย 94.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 42.2
2 ไม่ควรให้โอกาส 23.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเชิญ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรี ไปเยี่ยมเยียนพบปะ รับฟังปัญหาของเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 อยากเชิญถ้ามีโอกาส 77.7
2 ไม่อยากเชิญ เพราะ......อยากให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า
ไม่อยากให้เอาการเมืองมาวุ่นวายกับเด็กๆ ไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของเด็กๆ ได้จริงๆ
ไม่ชอบ ไม่มีอะไรดีขึ้น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือไปจาก
ปัญหาเศรษฐกิจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ปัญหายาเสพติด 71.8
2 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 64.9
3 ปัญหาความไม่รัก ไม่สามัคคีกันของคนไทย 62.3
4 ปัญหาคุณภาพด้านการศึกษา 58.4
5 ปัญหามลพิษทาง อากาศ น้ำ 57.3
6 ปัญหาคุณธรรมของคนไทยที่เสื่อมถอย 54.8
7 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม 52.9
8 ปัญหาการเล่นพนันและอบายมุขในกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา 51.1
9 ปัญหาผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน 48.0
10 ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ 46.2
11 ปัญหาบุกรุกที่ดินของกลุ่มนายทุน นักการเมือง 42.7
12 ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชน 41.5
13 ปัญหาครอบครัว 37.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการปกครอง
ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 55.4
2 ไม่เชื่อมั่น 16.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ระบุระดับความสุขที่มีอยู่ในสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริงทุกวันนี้
ลำดับที่ ระดับความสุขของเด็กๆ วัยทีน (อายุ 12 — 19 ปี) ค่าร้อยละ
1 น้อยถึงไม่มีความสุขเลย 43.1
2 ปานกลาง 42.0
3 มากถึงมากที่สุด 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จินตนาการของเด็กวัยทีน กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปีที่กำลังเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ 20 เขตของกรุงเทพมหานคร
และ 4 อำเภอของจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,467 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า เด็ก
วัยทีนส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ติดตามข่าวสารประจำวันทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงความฝันและจินตนาการต่อการเมืองไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.9 มีความฝันและจินตนาการว่าประเทศ
ไทยจะมีความสงบสุขเกิดขึ้น ร้อยละ 98.6 คือคนไทยรักกัน ร้อยละ 98.5 รัฐบาลมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 97.3 มีความแตกต่างกัน แต่ไม่ใช้
ความรุนแรง ร้อยละ 97.1 ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ 97.1 เท่ากันที่ฝันและมีจินตนาการว่า รัฐบาลกับกลุ่ม
พันธมิตรจะตกลงกันได้อย่างสงบในครรลองครองธรรม ร้อยละ 96.9 มีความฝันว่าปัญหาการเมืองไทยจะได้ข้อยุติ ร้อยละ 96.4 ฝันว่ากระบวนการ
ยุติธรรมเป็นทางแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ ร้อยละ 96.0 ฝันว่านักการเมืองที่ทำผิดกฎหมายจะถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่
ร้อยละ 90.4 ฝันว่าการจัดเวทีประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความเดือดร้อนผู้อื่น และร้อยละ 90.2 ฝันว่า ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน
ที่น่าสนใจคือ ความฝันและจินตนาการของเด็กๆ วัยทีนต่อคุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีประเทศไทยในฝัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 97.7 มีความฝันและจินตนาการว่า นายกรัฐมนตีประเทศไทยจะมีศีลและประพฤติดีงาม รองลงมาคือร้อยละ 97.5 มีความยุติธรรม เป็นผู้นำที่
ให้ความเที่ยงธรรมแก่สังคม และร้อยละ 97.5 เท่ากันระบุว่า มีความซื่อสัตย์ สุจริต ร้อยละ 97.2 มีความเมตตา กรุณา ร้อยละ 97.0 มีความ
เพียร มุมานะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 96.5 มีความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 96.1 ทุ่มเททำงานหนัก เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อ
ประชาชน ร้อยละ 95.9 ไม่เบียดเบียน ไม่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้อื่น และร้อยละ 95.9 เท่ากันระบุ ฝันว่านายกรัฐมนตรีประเทศไทยเป็นผู้ใหญ่ใจดี
ร้อยละ 95.5 ฝันว่านายกรัฐมนตรีให้ความใกล้ชิด ดูแลเด็กๆ และเยาวชน ร้อยละ 95.4 ระบุเป็นผู้ให้ทาน ให้กำลังใจผู้น้อย ในขณะที่ร้อยละ 94.7
และร้อยละ 94.0 ระบุฝันว่านายกรัฐมนตรีประเทศไทยมีความสุภาพอ่อนโยน และไม่โกรธ ไม่โมโหง่าย ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เด็กๆ วัยทีนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.2 ระบุควรให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 23.8
ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 34.0 ไม่มีความคิดเห็นในเรื่องนี้
นอกจากนี้ เด็กๆ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.7 ระบุถ้ามีโอกาส อยากเชิญนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้พบปะ
เยี่ยมเยียนเด็กๆ ตามสถาบันการศึกษาเพื่อรับทราบปัญหาของเด็กๆ และเยาวชน ในขณะที่ร้อยละ 22.3 ไม่อยากเชิญ เพราะ อยากให้เร่งแก้ปัญหา
เดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ไม่อยากให้เอาการเมืองมาวุ่นวายกับเด็กๆ ไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ปัญหาเด็กๆ ได้จริง และไม่ชอบ ไม่คิดว่าจะมี
อะไรดีขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่เด็กๆ วัยทีนอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเร่งแก้ไขโดยด่วน นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.8 ระบุเป็นปัญหายาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 64.9 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 62.3 ปัญหา
ความไม่รักไม่สามัคคีกันของคนไทย ร้อยละ 58.4 ปัญหาคุณภาพด้านการศึกษา ร้อยละ 57.3 ปัญหามลพิษทางอากาศ น้ำ ร้อยละ 54.8 ปัญหาคุณธรรม
ของคนไทยที่เสื่อมถอย ร้อยละ 52.9 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 51.1 ปัญหาการเล่นพนันและอบายมุขในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่
ร้อยละ 48.0 ระบุปัญหาผู้ใหญ่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน และร้อยละ 46.2 ระบุปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เด็กๆ วัยทีนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 มีความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยว่าเป็นการปกครองที่เหมาะสมกับ
ประเทศไทย แม้จะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ ร้อยละ 16.9 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 27.7 ไม่มีความเห็น
แต่เมื่อถามถึงระดับความสุขของเด็กๆ วัยทีนในสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริงอยู่ทุกวันนี้ ผลสำรวจพบว่า เด็กๆ จำนวนมากหรือร้อยละ
43.1 มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 42.0 มีความสุขระดับปานกลาง และเพียงร้อยละ 14.9 มีความสุขมากถึงมากที่สุด แต่เมื่อคิดค่า
เฉลี่ยความสุขจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เด็กๆ มีความสุขเพียง 3.89 คะแนนเท่านั้น ถือว่าต่ำที่สุดเท่าที่เคยสำรวจพบมา
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ วัยทีนเกือบทุกคนมีความฝันและจินตนาการต่อเรื่องการเมืองไทยว่าอยากเห็นความ
สงบสุขเกิดขึ้น คนไทยรักกัน รัฐบาลไทยมีความซื่อสัตย์ สุจริต จนถึงเรื่องของนักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม การจัดเวที
ประชาธิปไตยเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยไม่เดือดร้อนผู้อื่น และความฝันของเด็กๆ ว่า ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สถานการณ์บ้านเมืองคงจะไม่เลวร้ายและวุ่นวาย ถ้าผู้นำประเทศมีคุณธรรมและคุณสมบัติ ตามความฝันและ
จินตนาการของเด็กๆ ในห้าอันดับที่ว่า มีศีลประพฤติตนดีงาม ให้ความเป็นธรรมแก่สังคม ซื่อสัตย์ สุจริต มีความเมตตากรุณา และมีความเพียร มุมานะ
แก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน อย่างไรก็ตาม เด็กๆ พร้อมให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป และอยากเชิญคณะรัฐมนตรีได้สัมผัสปัญหาต่างๆ
ของเด็กและเยาวชนถึงสถาบันการศึกษา และยังมีความเชื่อมั่นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยว่าเหมาะสมกับประเทศไทย แม้มีวิกฤตต่างๆ มากมาย
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขของพวกเด็กๆ ที่ไม่ใช่เรื่องความฝันและจินตนาการ แต่เป็นเรื่องจริงของการเมืองทุกวันนี้ พวกเด็กๆ กำลังมี
ความสุขน้อยที่สุด เท่าที่เคยสำรวจพบมา จึงขอให้ผู้ใหญ่ในสังคมช่วยหาทางคืนความสงบสุขแก่พวกเขาโดยเร็ว เพราะอีกไม่นาน พวกเขาจะเติบโตขึ้น
มาดูแลบ้านเมือง พอถึงตอนนั้นหากบ้านเมืองเกิดความขัดแย้งรุนแรงอีก ถ้ามีผู้ใหญ่ทักท้วงตักเตือนพวกเขา ก็อาจถูกโต้ตอบกลับว่า วันนี้ผู้ใหญ่ในสังคม
ไทยไม่ช่วยหาทางตอบสนองความฝันและจินตนาการของพวกเขา หรืออาจเป็นไปได้ว่า ผู้ใหญ่ในสังคมตอนนี้ไม่สนใจให้บ้านเมืองสงบสุข เพราะมี
ทางออกลี้ภัยการเมืองไปอยู่ประเทศอื่น ปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายรุนแรงไว้เบื้องหลัง ดังนั้น คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่มีที่ไป ต้องช่วยกันหาทางทำให้บ้าน
เมืองสงบสุขโดยเร็ว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความฝันและจินตนาการของเด็กวัยทีน ต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ การเมืองไทยในฝันและจินตนาการของ เ ด็ก
วัยทีน” กรณีศึกษาเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปีที่กำลังเรียนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ 20 เขตของกรุงเทพมหานครและ 4 อำเภอของ
จังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,467 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชน
อายุ 12 -19 ปี ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนด
ลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,467 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อ
มั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัยจำนวน 91 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 38.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.7 ระบุอายุระหว่าง 12-14 ปี
ร้อยละ 28.6 ระบุอายุระหว่าง 15-17 ปี
ร้อยละ 21.7 ร บุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา
ร้อยละ 50.4 ระบุศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ร้อยละ 20.4 ระบุศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 4.6 ระบุระดับ ป.ว.ช. /ป.ว.ส.
และร้อยละ 20.4 ระบุระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 82.1 มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ในขณะที่ร้อยละ 17.9 ระบุมีภุมิลำเนาอยู่ต่างๆ จังหวัด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 36.9
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 29.0
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 22.6
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 7.5
5 ไม่ได้ติดตาม 4.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความฝันและจินตนาการของสถานการณ์การเมืองในประเทศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์การเมืองของประเทศในความฝันและจินตนาการ ค่าร้อยละ
1 ประเทศไทยมีความสงบสุขเกิดขึ้น 98.9
2 คนไทยรักกัน 98.6
3 รัฐบาลไทยมีความซื่อสัตย์ สุจริต 98.5
4 มีความแตกต่าง แต่ไม่ใช้ความรุนแรง 97.3
5 ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินของกระบวนการยุติธรรม 97.1
6 รัฐบาลและกลุ่มพันธมิตรตกลงกันได้อย่างสงบในครรลองครองธรรม 97.1
7 ปัญหาการเมืองได้ข้อยุติ 96.9
8 กระบวนการยุติธรรมเป็นทางแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศ 96.4
9 นักการเมืองที่ทำผิดถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม 96.0
10 การจัดเวทีประชาธิปไตยเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ก่อความเดือดร้อนคนอื่น 90.4
11 ผู้ใหญ่เลิกทะเลาะกัน 90.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีในฝัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณธรรมและคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีประเทศไทยในฝัน ค่าร้อยละ
1 การมีศีล ประพฤติดีงาม 97.7
2 ความยุติธรรม เป็นผู้นำที่ให้ความเที่ยงธรรมแก่สังคม 97.5
3 ซื่อสัตย์ สุจริต 97.5
4 มีความเมตตา กรุณา 97.2
5 ความเพียร มุมานะแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 97.0
6 ความอดทน อดกลั้น 96.5
7 ทุ่มเททำงานหนัก เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประชาชน 96.1
8 ความไม่เบียดเบียน ไม่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้อื่น 95.9
9 ความเป็นผู้ใหญ่ใจดี 95.9
10 ให้ความใกล้ชิด ดูแลเด็กๆ และเยาวชน 95.5
11 การให้ทาน ให้กำลังใจผู้น้อย 95.4
12 ความสุภาพ อ่อนโยน 94.7
13 ความไม่โกรธ ไม่โมโหง่าย 94.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ การให้โอกาสรัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 42.2
2 ไม่ควรให้โอกาส 23.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเชิญ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรี ไปเยี่ยมเยียนพบปะ รับฟังปัญหาของเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 อยากเชิญถ้ามีโอกาส 77.7
2 ไม่อยากเชิญ เพราะ......อยากให้เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า
ไม่อยากให้เอาการเมืองมาวุ่นวายกับเด็กๆ ไม่แน่ใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของเด็กๆ ได้จริงๆ
ไม่ชอบ ไม่มีอะไรดีขึ้น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือไปจาก
ปัญหาเศรษฐกิจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันแก้ไขอย่างเร่งด่วนนอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ค่าร้อยละ
1 ปัญหายาเสพติด 71.8
2 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 64.9
3 ปัญหาความไม่รัก ไม่สามัคคีกันของคนไทย 62.3
4 ปัญหาคุณภาพด้านการศึกษา 58.4
5 ปัญหามลพิษทาง อากาศ น้ำ 57.3
6 ปัญหาคุณธรรมของคนไทยที่เสื่อมถอย 54.8
7 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม 52.9
8 ปัญหาการเล่นพนันและอบายมุขในกลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา 51.1
9 ปัญหาผู้ใหญ่ที่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน 48.0
10 ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ 46.2
11 ปัญหาบุกรุกที่ดินของกลุ่มนายทุน นักการเมือง 42.7
12 ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชน 41.5
13 ปัญหาครอบครัว 37.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยยังเป็นการปกครอง
ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 55.4
2 ไม่เชื่อมั่น 16.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 27.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ระบุระดับความสุขที่มีอยู่ในสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริงทุกวันนี้
ลำดับที่ ระดับความสุขของเด็กๆ วัยทีน (อายุ 12 — 19 ปี) ค่าร้อยละ
1 น้อยถึงไม่มีความสุขเลย 43.1
2 ปานกลาง 42.0
3 มากถึงมากที่สุด 14.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-