ที่มาของโครงการ
นักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและ การเปลี่ยนแปลง
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้เป็นประจำทุกปีเพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบสะท้อน
กลับไปยังผู้นำของประเทศต่างๆ ที่ถูกศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง
ไปเมื่อเร็วๆนี้ โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำรัฐบาลที่อยู่จนครบวาระสี่ปีและสามารถกลับเข้ามาเป็น
รัฐบาลพรรคเดียวอีกวาระหนึ่ง ซึ่งควรจะมีการประเมินความคิดเห็นของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่มีต่อกลุ่มประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนภายในบริบทที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสถานการณ์ที่
เป็นอยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยฯ จึงได้ทำการสำรวจสอบถามนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุนในกลุ่ม
ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้รวบรวมประเทศจีนเข้า
มาศึกษาด้วยเพราะประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อใกล้กับประเทศไทย และเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งที่ควรได้
รับการศึกษา สำนักวิจัยฯจึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อ
เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้าน
สังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงในทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติ ต่อปัจจัยด้านสังคม
การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบการพิจารณาตัดสินใจของกลุ่มบุคคลแกนนำใน
สถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศต่างๆ ที่มีเสถียรภาพ
และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแล้ว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง “จุด
แข็ง-จุดอ่อนในบรรยากาศด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศ
จีน : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ —
16 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่สนใจการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 428 ตัวอย่าง
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 5 ที่
ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.9 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43.6 ระบุเป็นชาวเอเชีย
ร้อยละ 34.8 ระบุเป็นชาวยุโรป
ร้อยละ 16.1 ระบุเป็นชาวอเมริกัน
และร้อยละ 5.5 ระบุอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แอฟริกา
ในขณะที่ ร้อยละ 46.2 ระบุอาศัยอยู่ในเอเชีย
ร้อยละ 36.4 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป
ร้อยละ 9.7 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา
และร้อยละ 7.7 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา
ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 43.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 52.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ ร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวสาร
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจติดตามข่าวด้านการเมืองภายใน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจติดตามข่าวการเมืองภายใน ร้อยละ
1 ประเทศพม่า 58.2
2 ประเทศไทย 53.1
3 ประเทศจีน 47.6
4 ประเทศอินโดนีเซีย 43.8
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 43.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจติดตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจติดตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 54.3
2 ประเทศอินโดนีเซีย 51.2
3 ประเทศพม่า 50.4
4 ประเทศจีน 42.3
5 ประเทศกัมพูชา 37.2
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับประเด็นข่าวเด่นที่ค้างคาใจด้านสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเด็นข่าวเด่นที่ค้างคาใจด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละ
1 กรณีรัฐบาลไทยปราบม็อบตากใบ 42.2
2 กรณีสังหารและวิสามัญฆาตรกรรมเครือข่ายยาเสพติด 2500 ศพในประเทศไทย 38.1
3 กรณีรัฐบาลทหารพม่ากับอองซานซูจี 36.7
4 ข่าวการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ 32.8
5 กรณีรัฐบาลจีนปราบจลาจลที่เทียนอันเหมิน 27.4
6 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยเกี่ยวข้องกับคนที่สูญหาย เช่น ข่าวทนายสมชายถูกอุ้ม
ข่าวคน NGO ถูกสังหาร เป็นต้น 23.9
7 อื่นๆ อาทิ การฆาตรกรรมกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม /
การกีดกันกลุ่มผู้ด้อยโอกาส / การละเมิดสิทธิสื่อสารมวลชน เป็นต้น 19.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจเฝ้าติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจเฝ้าติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา ร้อยละ
1 ประเทศจีน 68.9
2 ประเทศไทย 57.7
3 ประเทศมาเลเซีย 56.2
4 ประเทศสิงคโปร์ 50.1
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 49.2
ตอนที่ 2 ผลการสำรวจภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ
ประเทศจีน เปรียบเทียบผลสำรวจในเดือน เมษายน พ.ศ. 2545 กับ ผลสำรวจครั้งล่าสุด
(มีนาคม พ.ศ. 2548)
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ
มากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 40.7
2 ประเทศเวียดนาม 14.3
3 ประเทศอินโดนีเซีย 12.3
4 ประเทศไทย 11.8
5 ประเทศกัมพูชา 7.8
ตารางที่ 6 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศด้าน
แรงงานท้องถิ่น
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 45.9
2 ประเทศเวียดนาม 18.0
3 ประเทศมาเลเซีย 13.4
4 ประเทศไทย 12.4
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 6.9
ตารางที่ 7 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีโอกาสเติบโตทาง
การตลาดมากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดมากที่สุด ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 56.5
2 ประเทศสิงคโปร์ 13.2
3 ประเทศไทย 11.7
4 ประเทศมาเลเซีย 8.2
5 ประเทศเวียดนาม 7.4
ตารางที่ 8 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศใน
ผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุด ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 54.2
2 ประเทศสิงคโปร์ 16.1
3 ประเทศมาเลเซีย 10.9
4 ประเทศไทย 8.3
5 ประเทศเวียดนาม 6.6
ตารางที่ 9 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น
มากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่นมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 32.9
2 ประเทศไทย 24.8
3 ประเทศกัมพูชา 13.3
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 11.4
5 ประเทศเวียดนาม 9.0
ตารางที่ 10 แสดง 5 อันดับประเทศที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด (ตอบเพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ ประเทศที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศไทย 45.3
2 ประเทศสิงคโปร์ 14.7
3 ประเทศมาเลเซีย 13.0
4 ประเทศจีน 12.2
5 ประเทศอินโดนีเซีย 7.1
ตอนที่ 3 ผลสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยในความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ —
นักลงทุนต่างชาติ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงเพื่อบรรยากาศที่ดี
ด้านสังคม การเมืองและการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประเทศไทยต้องปรับปรุง ร้อยละ
1 ปัญหาจราจรติดขัด 74.8
2 ปัญหาคอรัปชั่น 67.3
3 ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน 59.2
4 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันตลาดเสรีทางการค้า 42.6
5 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 42.2
6 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวต่างชาติ 41.7
7 ปัญหายาเสพติด 36.2
8 ปัญหาคุณภาพของคนด้านการศึกษา 35.4
9 ปัญหาด้านสุขอนามัยของอาหาร และสิ่งแวดล้อม 28.8
10 อื่นๆ อาทิ ปัญหาสื่อสารระหว่างคนไทยกับต่างชาติ /
ปัญหาด้านวัฒนธรรมและค่านิยม / ปัญหาช่องว่างระหว่าง
คนรวยคนจน เป็นต้น 10.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์
ของประเทศไทย
ภาพลักษณ์ของประเทศไทย พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. อาหารไทย 71.2 13.6 15.2 100.0
2. คุณภาพชีวิตของประชาชน 56.3 16.7 27.0 100.0
3. เพื่อนร่วมงานคนไทย 52.4 18.1 29.5 100.0
4. เสรีภาพของประชาชน 46.6 22.2 31.2 100.0
5. สิทธิมนุษยชน 21.7 60.2 18.1 100.0
6. เสถียรภาพทางการเมือง 63.3 24.9 11.8 100.0
7. เสรีภาพของสื่อมวลชน 39.9 46.8 13.3 100.0
8. อัตราภาษี 47.3 25.1 27.6 100.0
9. ข้อบังคับของสัญญาลงทุน 24.7 44.0 31.3 100.0
10. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 53.6 31.7 14.7 100.0
11. รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 54.8 39.2 6.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
ภาคสนาม เรื่อง จุดแข็ง-จุดอ่อนในบรรยากาศด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และประเทศจีน : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ จำนวน 428 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ — 16 มีนาคม 2548 ประเด็นที่สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ในประเด็นการติดตามข่าวสารด้าน
ต่างๆ พบว่า ในด้านการติดตามข่าวสารด้านการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติสนใจติดตามข่าวสารด้านการ
เมืองในประเทศพม่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.2 รองลงมา คือประเทศไทย คิดเป็น ร้อยละ 53.1 ในขณะที่
ประเทศจีน กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ สนใจติดตามข่าวด้านการเมืองภายใน คิดเป็นร้อยละ 47.6 นอกจาก
ความสนใจในการติดตามข่าวสารด้านการเมืองภายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนแล้ว กลุ่มนัก
ธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ยังให้ความสนใจติตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ซึ่งพบว่า
ประเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือประเทศไทย รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพม่า ประเทศจีน และ
ประเทศกัมพูชา ตามลำดับ สำหรับประด็นการติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา พบว่า ร้อยละ 68.9 ระบุว่า
นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติสนใจที่จะติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราในประเทศจีน ร้อยละ 57.7 ระบุสนใจที่
จะติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราในประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ก็ยัง
ได้รับการติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน คิดเป็นร้อยละ 56.2 50.1 และ 49.2 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประเด็นข่าวที่ค้างคาใจในด้านสิทธิมนุษยชนใน 3 อันดับแรก พบว่า ร้อยละ
42.2 ระบุว่าข่าวกรณีรัฐบาลไทยปราบม็อบตากใบ รองลงมาคือ ร้อยละ 38.1 ระบุข่าวกรณีสังหารและวิสามัญ
ฆาตกรรมเครือข่ายยาเสพติด 2,500 ศพในประเทศไทย และร้อยละ 36.7 ระบุข่าวกรณีรัฐบาลทหารพม่ากับอองซาน
ซูจี
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และประเทศจีน พบว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นตรงกันว่ามีวัตถุดิบเพียงพอ มีความ
เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น มีโอกาสเติบโตทางการตลาด และมีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุดใน
บรรดากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลจาการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า ประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติเห็นว่ามี
ปัญหาคอร์ปชั่นมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 32.9) รองลงมาคือประเทศไทย (ร้อยละ 24.8) ประเทศ
กัมพูชา (ร้อยละ 13.3) ประเทศฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 11.4) และ ประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 9.0)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของนักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติถึงประเทศที่น่าท่องเที่ยว
มากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ร้อยละ 45.3 ระบุประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 14.7 ระบุประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
มาเลเซีย ประเทศจีน และประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 13.0 12.2 และ 7.1 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยใน
ความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ พบว่า ปัญหาที่ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่ม
บรรยากาศที่ดีด้านสังคม การเมืองและการลงทุน 5 อันดับแรก คือ ปัญหาจราจรติดขัด (ร้อยละ 74.8) รองลง
มาคือ ปัญหาคอร์ปชั่น (ร้อยละ 67.3) ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 59.2) ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการ
แข่งขันตลาดเสรีทางการค้า (ร้อยละ 42.6) และ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังเป็นปัญหาสำคัญที่
ตัวอย่างเห็นว่าประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข (ร้อยละ 42.2)
ประเด็นสุดท้าย ที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ ได้แก่ ความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ไทย ซึ่งพบว่า ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนักธุรกิจ-นักลงทุต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยส่วนใหญ่มีความพึง
พอใจต่อประเทศไทย โดยเฉพาะ อาหารไทย กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติ มีความพึงพอใจมากที่สุด นอกจาก
อาหารไทยแล้ว สิ่งที่ตัวอย่างพึงพอใจ คือ เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพชีวิตของประชาชน รัฐบาลที่นำ
โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวิตร เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อนร่วมงานคนไทย อัตราภาษี และ เสรีภาพของประชาขน
อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเด็นที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ อาทิ สิทธิมนุษยชน เสรีภาพของสื่อมวล
ชน และ ข้อบังคับของสัญญาลงทุน
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นักธุรกิจและนักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและ การเปลี่ยนแปลง
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้เป็นประจำทุกปีเพื่อนำข้อมูลที่ค้นพบสะท้อน
กลับไปยังผู้นำของประเทศต่างๆ ที่ถูกศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง
ไปเมื่อเร็วๆนี้ โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำรัฐบาลที่อยู่จนครบวาระสี่ปีและสามารถกลับเข้ามาเป็น
รัฐบาลพรรคเดียวอีกวาระหนึ่ง ซึ่งควรจะมีการประเมินความคิดเห็นของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่มีต่อกลุ่มประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนภายในบริบทที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสถานการณ์ที่
เป็นอยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยฯ จึงได้ทำการสำรวจสอบถามนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุนในกลุ่ม
ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้รวบรวมประเทศจีนเข้า
มาศึกษาด้วยเพราะประเทศจีนมีอาณาเขตติดต่อใกล้กับประเทศไทย และเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่งที่ควรได้
รับการศึกษา สำนักวิจัยฯจึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อ
เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้าน
สังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงในทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติ ต่อปัจจัยด้านสังคม
การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประกอบการพิจารณาตัดสินใจของกลุ่มบุคคลแกนนำใน
สถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศต่างๆ ที่มีเสถียรภาพ
และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแล้ว
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง “จุด
แข็ง-จุดอ่อนในบรรยากาศด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศ
จีน : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ —
16 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่สนใจการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 428 ตัวอย่าง
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error) +/- ร้อยละ 5 ที่
ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 73.9 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 43.6 ระบุเป็นชาวเอเชีย
ร้อยละ 34.8 ระบุเป็นชาวยุโรป
ร้อยละ 16.1 ระบุเป็นชาวอเมริกัน
และร้อยละ 5.5 ระบุอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ แอฟริกา
ในขณะที่ ร้อยละ 46.2 ระบุอาศัยอยู่ในเอเชีย
ร้อยละ 36.4 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป
ร้อยละ 9.7 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา
และร้อยละ 7.7 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา
ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 43.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 52.9 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ ร้อยละ 3.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามข่าวสาร
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจติดตามข่าวด้านการเมืองภายใน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจติดตามข่าวการเมืองภายใน ร้อยละ
1 ประเทศพม่า 58.2
2 ประเทศไทย 53.1
3 ประเทศจีน 47.6
4 ประเทศอินโดนีเซีย 43.8
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 43.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจติดตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจติดตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 54.3
2 ประเทศอินโดนีเซีย 51.2
3 ประเทศพม่า 50.4
4 ประเทศจีน 42.3
5 ประเทศกัมพูชา 37.2
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับประเด็นข่าวเด่นที่ค้างคาใจด้านสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเด็นข่าวเด่นที่ค้างคาใจด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละ
1 กรณีรัฐบาลไทยปราบม็อบตากใบ 42.2
2 กรณีสังหารและวิสามัญฆาตรกรรมเครือข่ายยาเสพติด 2500 ศพในประเทศไทย 38.1
3 กรณีรัฐบาลทหารพม่ากับอองซานซูจี 36.7
4 ข่าวการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ 32.8
5 กรณีรัฐบาลจีนปราบจลาจลที่เทียนอันเหมิน 27.4
6 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยเกี่ยวข้องกับคนที่สูญหาย เช่น ข่าวทนายสมชายถูกอุ้ม
ข่าวคน NGO ถูกสังหาร เป็นต้น 23.9
7 อื่นๆ อาทิ การฆาตรกรรมกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคม /
การกีดกันกลุ่มผู้ด้อยโอกาส / การละเมิดสิทธิสื่อสารมวลชน เป็นต้น 19.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเทศที่สนใจเฝ้าติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ประเทศที่ถูกสนใจเฝ้าติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา ร้อยละ
1 ประเทศจีน 68.9
2 ประเทศไทย 57.7
3 ประเทศมาเลเซีย 56.2
4 ประเทศสิงคโปร์ 50.1
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 49.2
ตอนที่ 2 ผลการสำรวจภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ
ประเทศจีน เปรียบเทียบผลสำรวจในเดือน เมษายน พ.ศ. 2545 กับ ผลสำรวจครั้งล่าสุด
(มีนาคม พ.ศ. 2548)
ตารางที่ 5 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ
มากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 40.7
2 ประเทศเวียดนาม 14.3
3 ประเทศอินโดนีเซีย 12.3
4 ประเทศไทย 11.8
5 ประเทศกัมพูชา 7.8
ตารางที่ 6 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศด้าน
แรงงานท้องถิ่น
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 45.9
2 ประเทศเวียดนาม 18.0
3 ประเทศมาเลเซีย 13.4
4 ประเทศไทย 12.4
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 6.9
ตารางที่ 7 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีโอกาสเติบโตทาง
การตลาดมากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีโอกาสเติบโตทางการตลาดมากที่สุด ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 56.5
2 ประเทศสิงคโปร์ 13.2
3 ประเทศไทย 11.7
4 ประเทศมาเลเซีย 8.2
5 ประเทศเวียดนาม 7.4
ตารางที่ 8 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจ นักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศใน
ผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุด ร้อยละ
1 สาธารณรัฐประชาชนจีน 54.2
2 ประเทศสิงคโปร์ 16.1
3 ประเทศมาเลเซีย 10.9
4 ประเทศไทย 8.3
5 ประเทศเวียดนาม 6.6
ตารางที่ 9 แสดง 5 อันดับประเทศที่นักธุรกิจนักลงทุนต่างชาติระบุเป็นประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่น
มากที่สุด
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอรัปชั่นมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 32.9
2 ประเทศไทย 24.8
3 ประเทศกัมพูชา 13.3
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 11.4
5 ประเทศเวียดนาม 9.0
ตารางที่ 10 แสดง 5 อันดับประเทศที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด (ตอบเพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ ประเทศที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศไทย 45.3
2 ประเทศสิงคโปร์ 14.7
3 ประเทศมาเลเซีย 13.0
4 ประเทศจีน 12.2
5 ประเทศอินโดนีเซีย 7.1
ตอนที่ 3 ผลสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยในความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ —
นักลงทุนต่างชาติ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงเพื่อบรรยากาศที่ดี
ด้านสังคม การเมืองและการลงทุน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ประเทศไทยต้องปรับปรุง ร้อยละ
1 ปัญหาจราจรติดขัด 74.8
2 ปัญหาคอรัปชั่น 67.3
3 ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน 59.2
4 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันตลาดเสรีทางการค้า 42.6
5 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 42.2
6 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวต่างชาติ 41.7
7 ปัญหายาเสพติด 36.2
8 ปัญหาคุณภาพของคนด้านการศึกษา 35.4
9 ปัญหาด้านสุขอนามัยของอาหาร และสิ่งแวดล้อม 28.8
10 อื่นๆ อาทิ ปัญหาสื่อสารระหว่างคนไทยกับต่างชาติ /
ปัญหาด้านวัฒนธรรมและค่านิยม / ปัญหาช่องว่างระหว่าง
คนรวยคนจน เป็นต้น 10.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์
ของประเทศไทย
ภาพลักษณ์ของประเทศไทย พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. อาหารไทย 71.2 13.6 15.2 100.0
2. คุณภาพชีวิตของประชาชน 56.3 16.7 27.0 100.0
3. เพื่อนร่วมงานคนไทย 52.4 18.1 29.5 100.0
4. เสรีภาพของประชาชน 46.6 22.2 31.2 100.0
5. สิทธิมนุษยชน 21.7 60.2 18.1 100.0
6. เสถียรภาพทางการเมือง 63.3 24.9 11.8 100.0
7. เสรีภาพของสื่อมวลชน 39.9 46.8 13.3 100.0
8. อัตราภาษี 47.3 25.1 27.6 100.0
9. ข้อบังคับของสัญญาลงทุน 24.7 44.0 31.3 100.0
10. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 53.6 31.7 14.7 100.0
11. รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ 54.8 39.2 6.0 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
ภาคสนาม เรื่อง จุดแข็ง-จุดอ่อนในบรรยากาศด้านสังคม การเมือง และการลงทุนในกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และประเทศจีน : กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ จำนวน 428 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ — 16 มีนาคม 2548 ประเด็นที่สำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ในประเด็นการติดตามข่าวสารด้าน
ต่างๆ พบว่า ในด้านการติดตามข่าวสารด้านการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติสนใจติดตามข่าวสารด้านการ
เมืองในประเทศพม่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.2 รองลงมา คือประเทศไทย คิดเป็น ร้อยละ 53.1 ในขณะที่
ประเทศจีน กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ สนใจติดตามข่าวด้านการเมืองภายใน คิดเป็นร้อยละ 47.6 นอกจาก
ความสนใจในการติดตามข่าวสารด้านการเมืองภายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนแล้ว กลุ่มนัก
ธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ยังให้ความสนใจติตามข่าวปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศดังกล่าว ซึ่งพบว่า
ประเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือประเทศไทย รองลงมาคือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพม่า ประเทศจีน และ
ประเทศกัมพูชา ตามลำดับ สำหรับประด็นการติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตรา พบว่า ร้อยละ 68.9 ระบุว่า
นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติสนใจที่จะติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราในประเทศจีน ร้อยละ 57.7 ระบุสนใจที่
จะติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราในประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ก็ยัง
ได้รับการติดตามข่าวอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน คิดเป็นร้อยละ 56.2 50.1 และ 49.2 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประเด็นข่าวที่ค้างคาใจในด้านสิทธิมนุษยชนใน 3 อันดับแรก พบว่า ร้อยละ
42.2 ระบุว่าข่าวกรณีรัฐบาลไทยปราบม็อบตากใบ รองลงมาคือ ร้อยละ 38.1 ระบุข่าวกรณีสังหารและวิสามัญ
ฆาตกรรมเครือข่ายยาเสพติด 2,500 ศพในประเทศไทย และร้อยละ 36.7 ระบุข่าวกรณีรัฐบาลทหารพม่ากับอองซาน
ซูจี
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และประเทศจีน พบว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นตรงกันว่ามีวัตถุดิบเพียงพอ มีความ
เป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น มีโอกาสเติบโตทางการตลาด และมีความเป็นเลิศในผลตอบแทนด้านการลงทุนมากที่สุดใน
บรรดากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลจาการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า ประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติเห็นว่ามี
ปัญหาคอร์ปชั่นมากที่สุดคือประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 32.9) รองลงมาคือประเทศไทย (ร้อยละ 24.8) ประเทศ
กัมพูชา (ร้อยละ 13.3) ประเทศฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 11.4) และ ประเทศเวียดนาม (ร้อยละ 9.0)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของนักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติถึงประเทศที่น่าท่องเที่ยว
มากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ร้อยละ 45.3 ระบุประเทศไทย รองลงมาคือร้อยละ 14.7 ระบุประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
มาเลเซีย ประเทศจีน และประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 13.0 12.2 และ 7.1 ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นคือ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจภาพลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยใน
ความพอใจและไม่พอใจของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ พบว่า ปัญหาที่ประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่ม
บรรยากาศที่ดีด้านสังคม การเมืองและการลงทุน 5 อันดับแรก คือ ปัญหาจราจรติดขัด (ร้อยละ 74.8) รองลง
มาคือ ปัญหาคอร์ปชั่น (ร้อยละ 67.3) ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 59.2) ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการ
แข่งขันตลาดเสรีทางการค้า (ร้อยละ 42.6) และ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังเป็นปัญหาสำคัญที่
ตัวอย่างเห็นว่าประเทศไทยต้องเร่งแก้ไข (ร้อยละ 42.2)
ประเด็นสุดท้าย ที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ ได้แก่ ความพอใจและไม่พอใจต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ไทย ซึ่งพบว่า ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนักธุรกิจ-นักลงทุต่างชาติที่มีต่อประเทศไทยส่วนใหญ่มีความพึง
พอใจต่อประเทศไทย โดยเฉพาะ อาหารไทย กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนชาวต่างชาติ มีความพึงพอใจมากที่สุด นอกจาก
อาหารไทยแล้ว สิ่งที่ตัวอย่างพึงพอใจ คือ เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพชีวิตของประชาชน รัฐบาลที่นำ
โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวิตร เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อนร่วมงานคนไทย อัตราภาษี และ เสรีภาพของประชาขน
อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเด็นที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ อาทิ สิทธิมนุษยชน เสรีภาพของสื่อมวล
ชน และ ข้อบังคับของสัญญาลงทุน
--เอแบคโพลล์--
-พห-