แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
ภายหลังเหตุการณ์อาคารที่เกิดไฟไหม้ถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้เสียสละจากการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน และทรัพย์สินจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์อาคารถล่มเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ผลที่ตามมาคือการวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานที่รับผิดชอบในกรุงเทพมหานครอย่างกว้างขวาง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำรวจความคิดเห็นของประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสอบถามทัศนคติและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อเหตุการณ์อาคารไฟไหม้ถล่ม
2. เพื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเหตุการณ์อาคารถล่ม
3. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณีอาคารถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 10 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ลักษณะที่สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,035 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด v ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.9 ระบุเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 7.8 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อข่าวอาคารไฟไหม้ถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อข่าวอาคารไฟไหม้ถล่ม ค่าร้อยละ
1 ทราบ 91.6
2 ไม่ทราบ 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีก
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีก 85.7
2 ไม่เชื่อ 2.2
3 ไม่มีความเห็น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นเร่งด่วนในการมีเอกภาพเพื่อบัญชา
การแก้ปัญหาในสถานที่เกิดเหตุ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จำเป็นเร่งด่วน 67.8
2 ไม่จำเป็นเร่งด่วน 7.4
3 ไม่มีความเห็น 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเข้มงวดของหน่วยงานกรุงเทพมหานครที่
เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยอาคารถล่มที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความเข้มงวดของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในสายตาประชาชน ค่าร้อยละ
1 เข้มงวดมากพอแล้ว 20.7
2 ยังไม่เข้มงวดเพียงพอ 64.8
3 ไม่มีความเห็น 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของหน่วยกู้ภัย
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่างต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของหน่วยกู้ภัย ค่าร้อยละ
1 ชื่นชมต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ 85.1
2 ไม่รู้สึกอะไร 4.5
3 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นอีก
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ลดลง 62.8
2 ไม่ลดลง 24.6
3 ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าอาจเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้
ในจังหวัดอื่นๆ อีก
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 66.9
2 ไม่เชื่อ 12.7
3 ไม่มีความเห็น 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งดำเนินการ
หาหน่วยงานหรือบุคคลมารับผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรเร่งหาหน่วยงานหรือบุคคลมารับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 74.3
2 รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 11.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานที่ที่อาจเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้และ
อาคารถล่มได้อีก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่อาจเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้และอาคารถล่มในความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ห้างสรรพสินค้า 74.9
2 คอนโดมิเนียม 65.2
3 อาคารพาณิชย์หลายชั้น 60.1
4 โรงแรม 56.8
5 ที่พักอาศัยย่านสลัมชุมชนหนาแน่น 32.7
6 สถานบันเทิง 24.3
7 อื่นๆ อาทิ ร้านอาหาร / ที่พักอาศัยทั่วไป / สถานที่ราชการ เป็นต้น 16.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ปัญหาเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินในเขต
กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ของประชาชนต่อปัญหาเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 จราจรติดขัด 80.8
2 ความยากลำบากในการเข้าถึงที่เกิดเหตุของหน่วยกู้ภัย
เพราะความคับแคบของตรอกซอยต่างๆ 65.9
3 ความไม่มีเอกภาพในการควบคุมสถานการณ์ /
ขาดการประสานงานที่ดีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 54.2
4 ไทยมุง / คนไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุได้ 53.7
5 ความล่าช้าในการช่วยเหลือ 48.7
6 ความไม่ทันสมัยของอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการกู้ภัย 46.1
7 ขาดความจริงใจในการป้องกันปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 40.3
8 ชุดผจญภัยและอุปกรณ์ป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่กู้ภัยไม่ได้มาตรฐาน 36.5
9 อื่นๆ อาทิ ประชาชนผู้ประสบภัยต้องจ่ายเงินพิเศษให้เจ้าหน้าที่ /
ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนไม่อำนวยความสะดวกเปิดทางให้เจ้าหน้า
ที่ฉุกเฉิน/ไม่ทราบเบอร์ติดต่อหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น 17.9
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ภายหลังเหตุการณ์อาคารที่เกิดไฟไหม้ถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้เสียสละจากการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน และทรัพย์สินจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์อาคารถล่มเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ผลที่ตามมาคือการวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานที่รับผิดชอบในกรุงเทพมหานครอย่างกว้างขวาง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็นหน่วยงานสำรวจความคิดเห็นของประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อเหตุการณ์ดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสอบถามทัศนคติและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อเหตุการณ์อาคารไฟไหม้ถล่ม
2. เพื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเหตุการณ์อาคารถล่ม
3. เพื่อสำรวจความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณีอาคารถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 10 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้ลักษณะที่สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,035 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด v ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 53.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ ร้อยละ 46.4 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 28.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพพนักงาน / ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.9 ระบุเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
และร้อยละ 7.8 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อข่าวอาคารไฟไหม้ถล่มในเขตกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ การรับรู้ของประชาชนต่อข่าวอาคารไฟไหม้ถล่ม ค่าร้อยละ
1 ทราบ 91.6
2 ไม่ทราบ 8.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีก
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้เกิดขึ้นอีก 85.7
2 ไม่เชื่อ 2.2
3 ไม่มีความเห็น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นเร่งด่วนในการมีเอกภาพเพื่อบัญชา
การแก้ปัญหาในสถานที่เกิดเหตุ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จำเป็นเร่งด่วน 67.8
2 ไม่จำเป็นเร่งด่วน 7.4
3 ไม่มีความเห็น 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเข้มงวดของหน่วยงานกรุงเทพมหานครที่
เกี่ยวข้องในการป้องกันภัยอาคารถล่มที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความเข้มงวดของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในสายตาประชาชน ค่าร้อยละ
1 เข้มงวดมากพอแล้ว 20.7
2 ยังไม่เข้มงวดเพียงพอ 64.8
3 ไม่มีความเห็น 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของหน่วยกู้ภัย
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่างต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของหน่วยกู้ภัย ค่าร้อยละ
1 ชื่นชมต่อความกล้าหาญเสี่ยงภัยของเจ้าหน้าที่ 85.1
2 ไม่รู้สึกอะไร 4.5
3 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นอีก
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ลดลง 62.8
2 ไม่ลดลง 24.6
3 ไม่มีความเห็น 12.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าอาจเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้
ในจังหวัดอื่นๆ อีก
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในต่างจังหวัด 66.9
2 ไม่เชื่อ 12.7
3 ไม่มีความเห็น 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งดำเนินการ
หาหน่วยงานหรือบุคคลมารับผิดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชนต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรเร่งหาหน่วยงานหรือบุคคลมารับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 74.3
2 รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 11.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานที่ที่อาจเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้และ
อาคารถล่มได้อีก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่อาจเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้และอาคารถล่มในความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ห้างสรรพสินค้า 74.9
2 คอนโดมิเนียม 65.2
3 อาคารพาณิชย์หลายชั้น 60.1
4 โรงแรม 56.8
5 ที่พักอาศัยย่านสลัมชุมชนหนาแน่น 32.7
6 สถานบันเทิง 24.3
7 อื่นๆ อาทิ ร้านอาหาร / ที่พักอาศัยทั่วไป / สถานที่ราชการ เป็นต้น 16.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ปัญหาเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินในเขต
กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ของประชาชนต่อปัญหาเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 จราจรติดขัด 80.8
2 ความยากลำบากในการเข้าถึงที่เกิดเหตุของหน่วยกู้ภัย
เพราะความคับแคบของตรอกซอยต่างๆ 65.9
3 ความไม่มีเอกภาพในการควบคุมสถานการณ์ /
ขาดการประสานงานที่ดีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 54.2
4 ไทยมุง / คนไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุได้ 53.7
5 ความล่าช้าในการช่วยเหลือ 48.7
6 ความไม่ทันสมัยของอุปกรณ์และเทคโนโลยีในการกู้ภัย 46.1
7 ขาดความจริงใจในการป้องกันปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 40.3
8 ชุดผจญภัยและอุปกรณ์ป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่กู้ภัยไม่ได้มาตรฐาน 36.5
9 อื่นๆ อาทิ ประชาชนผู้ประสบภัยต้องจ่ายเงินพิเศษให้เจ้าหน้าที่ /
ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนไม่อำนวยความสะดวกเปิดทางให้เจ้าหน้า
ที่ฉุกเฉิน/ไม่ทราบเบอร์ติดต่อหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เป็นต้น 17.9
--เอแบคโพลล์--
-พห-