ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจความปกติสุขของสาธารณชนและ
รูปแบบการใช้ชีวิตในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,837
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 เบื่อ
หน่ายต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ร้อยละ 25.0 รู้สึกเศร้าใจ ร้อยละ 20.7 รู้สึกอึดอัด ร้อยละ 17.8 รู้สึกเครียด ร้อยละ 6.0 รู้สึกมีความหวัง
ร้อยละ 4.4 รู้สึกตื่นเต้น และร้อยละ 8.7 รู้สึกผิดหวัง น่ารำคาญ และไร้สาระ เป็นต้น
เมื่อถามถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.8 วางแผนใช้จ่ายรัดกุมระดับ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 57.2 รักษาสินค้าที่ซื้อมาให้คงอยู่สภาพใช้งานได้นานระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 64.3 เป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้ามา
แล้วไม่ค่อยใช้ประโยชน์ระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 58.5 เป็นคนที่นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามถึงช่วงจังหวะเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.7 เห็นว่าเร็วเกิน ไป อย่างไร
ก็ตาม ร้อยละ 22.4 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 27.9 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว โดยเรื่องที่อยากให้อภิปรายมากที่สุดคือ การแก้ปัญหาต่างๆ ของ
รัฐบาล อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ คอรัปชั่น และความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม
เมื่อถามถึงช่วงเวลาที่จะขับไล่รัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 54.9 เห็นว่าเร็ว
เกินไป อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 21.5 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 23.6 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะรัฐบาลไม่มีผลงาน ควรเปิดโอกาสให้คนอื่นทำ
งานแทน และเป็นเรื่องของประชาธิปไตยแท้จริง
เมื่อถามถึงช่วงเวลาที่ตำรวจควรใช้กำลังสลายการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 เห็นแย้งเรื่องการใช้กำลังสลายการชุมนุม
ของตำรวจในขณะนี้ โดยร้อยละ 46.3 ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังสลายการชุมนุมในทุกกรณี และร้อยละ 13.5 เห็นว่าเร็วเกินไปที่จะใช้กำลัง อย่าง
ไรก็ตาม ร้อยละ 21.8 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 18.4 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะต้องการให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว ประชาชนกำลังเดือด
ร้อน การชุมนุมลุกลามมากเกินไป และควรควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองช่วงนี้กำลังผลักดันให้กลุ่มพลังเงียบเลือกข้างโดยปริยาย
แต่สัดส่วนพอๆ กันระหว่างฝ่ายที่อยู่ข้างรัฐบาลและฝ่ายที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล ซึ่งถ้าเกิดความรุนแรงทางการเมืองกับประชาชนขึ้นอาจส่งผลกระทบในทาง
ลบต่อเสถียรภาพของบ้านเมืองแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามถึงระดับการเตรียมตัวเตรียมใจของประชาชนในการรับมือกับสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายในประเทศ พบว่า ร้อยละ 39.5
ระบุเตรียมตัวเตรียมใจระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.2 เตรียมตัวเตรียมใจระดับปานกลาง และร้อยละ 27.3 เตรียมตัวเตรียมใจระดับน้อยถึง
น้อยที่สุด
ประเด็นที่น่าพิจารณาสำหรับทุกๆฝ่ายคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 อยากเห็นคุณธรรมเรื่องความรักความสามัคคีเกิดขึ้นในกลุ่ม
คนไทยด้วยกัน รองลงมาคือร้อยละ 65.6 ระบุเรื่องความรักชาติ ร้อยละ 59.7 อยากเห็นความมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 54.4 อยากเห็นการ
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร้อยละ 53.0 อยากเห็นความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 52.0 อยากเห็นการให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 51.3 อยากเห็นความเสียสละ
ร้อยละ 45.6 อยากเห็นความอดทน และร้อยละ 42.4 อยากเห็นความเมตตา กรุณาต่อกัน
ที่น่าสนใจคือ ระดับความปกติสุขของสังคมไทยโดยภาพรวม พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 มองว่าสังคมไทยโดยรวมยังคงมี
ความปกติสุขระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 28.0 เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 22.1 เห็นว่าอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสัญญาณที่ดีบางประการในสังคมไทยตรงที่ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมือง
ของกลุ่มต่างๆ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
จำนวนมากเริ่มเตรียมตัวเตรียมใจได้กับสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้น และประมาณครึ่งหนึ่งยังคงมองว่า สังคมไทยยังคงมีความปกติสุขอยู่ หรือ
อย่างมากที่สุดก็กระทบต่อความรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากให้ปัญหาขัดแย้งต่างๆ จบลงโดยเร็ว เพราะไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกัน
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังค้นพบสัญญาณที่ดีบางอย่างคือตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้
คือ การวางแผนที่รัดกุมให้กับชีวิตของตนเอง ประชาชนปรับความสมดุลในการใช้จ่ายมากขึ้น มีการรักษาสินค้าที่ซื้อมาให้คงสภาพใช้งานได้นาน และการ
ไม่เป็นคนที่อยากซื้ออะไรก็ซื้อ เพราะประชาชนเล็งเห็นได้ถึงความไม่แน่นอนของชีวิตและสถานการณ์บ้านเมือง ผู้วิจัยเห็นว่าช่วงเวลานี้จะกลายเป็น
โอกาสปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้กับประชาชน ดำเนินชีวิตบนความไม่ประมาทเพราะไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไหร่ แต่อย่าให้ถึงขั้นที่ทำให้ประชาชนเกิดความ
กลัว ประเทศจะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนไทยอาจเลือกโอกาสที่จะเจริญช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลอาจไม่มั่นคง เปลี่ยนแล้ว
เปลี่ยนอีก แต่ประเทศชาติและระบบในกระบวนการยุติธรรมต้องมั่นคงเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสาธารณชนได้อย่างยั่งยืน ข้าราชการประจำไม่ตกอยู่ภายใต้
อิทธิพลเอนเอียงให้กับผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองแต่ฝ่ายเดียว และขอเพียงไม่เกิดความรุนแรง ไม่ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินของกันและกันเกิดขึ้น
ในสังคมไทย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความปกติสุขของสังคมไทยและรูปแบบการใช้ชีวิตของสาธารณชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจความปกติสุขของสาธารณชนและรูปแบบการ
ใช้ชีวิตในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,837 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาด
ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,837 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด
ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะ
ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย
จำนวนทั้งสิ้น 96 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 16.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 13.5 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 เบื่อหน่าย 78.6
2 เศร้าใจ 25.0
3 อึดอัด 20.7
4 เครียด 17.8
5 มีความหวัง 6.0
6 ตื่นเต้น 4.4
7 อื่นๆ อาทิ ผิดหวัง เซ็ง น่ารำคาญ ไร้สาระ 8.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รูปแบบการใช้ชีวิตในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ รูปแบบการใช้ชีวิต มาก ถึง มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึง น้อยที่สุด
ค่าร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ 29.6 11.9 58.5
2 ซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ 22.9 12.8 64.3
3 วางแผนใช้จ่ายรัดกุม 66.8 13.0 20.2
4 รักษาสินค้าให้คงอยู่สภาพใช้งานได้นาน 57.2 16.5 26.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไป 49.7
2 ช้าเกินไป 22.4
3 เหมาะสมแล้ว ทั้งนี้เรื่องที่อยากให้อภิปรายมากที่สุดได้แก่ การแก้ไขปัญหาต่างๆ
ของรัฐบาล อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะ
ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมชนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไป 54.9
2 ช้าเกินไป 21.5
3 เหมาะสมแล้ว เพราะ.....เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลทำไม่ได้ /รัฐบาลไม่มีผลงาน/
จะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นมาทำงานแทน/แสดงความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่ตำรวจจะใช้กำลังสลายการชุมนุมบริเวณ
ทำเนียบรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่ตำรวจจะใช้กำลังสลายการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไปที่จะใช้กำลัง 13.5
2 ช้าเกินไป 21.8
3 เหมาะสมแล้วเพราะ.....ต้องการให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว/ประชาชนกำลังเดือดร้อน /
การชุมนุมลุกลามมากเกินไป/ควรจะควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด 18.4
4 ไม่ควรใช้กำลังในขณะนี้ในทุกกรณี 46.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเตรียมตัวเตรียมใจรับกับสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศ
ลำดับที่ ระดับการเตรียมตัวเตรียมใจ ค่าร้อยละ
1 ระดับมาก ถึงมากที่สุด 39.5
2 ปานกลาง 33.2
3 น้อยถึง น้อยที่สุด 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณธรรมและสิ่งดีๆที่อยากให้คนไทยมีต่อกัน ในสถานการณ์การเมือง
ขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณธรรมและสิ่งดีๆที่อยากให้คนไทยมีต่อกัน ค่าร้อยละ
1 รักสามัคคี 80.7
2 รักชาติ 65.6
3 มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจ 59.7
4 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 54.4
5 ซื่อสัตย์ 53.0
6 ให้อภัย 52.0
7 เสียสละ 51.3
8 อดทน 45.6
9 เมตตากรุณา 42.4
10 อื่นๆ อาทิ...เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน/รู้ผิดชอบชั่วดี/อยู่อย่างสงบ 5.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความปกติสุขของสังคมไทยโดยรวม
ลำดับที่ ระดับความปกติสุขโดยรวม ค่าร้อยละ
1 ระดับมาก ถึง มากที่สุด 49.9
2 ปานกลาง 28.0
3 น้อย ถึง น้อยที่สุด 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รูปแบบการใช้ชีวิตในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,837
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 เบื่อ
หน่ายต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ร้อยละ 25.0 รู้สึกเศร้าใจ ร้อยละ 20.7 รู้สึกอึดอัด ร้อยละ 17.8 รู้สึกเครียด ร้อยละ 6.0 รู้สึกมีความหวัง
ร้อยละ 4.4 รู้สึกตื่นเต้น และร้อยละ 8.7 รู้สึกผิดหวัง น่ารำคาญ และไร้สาระ เป็นต้น
เมื่อถามถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.8 วางแผนใช้จ่ายรัดกุมระดับ
มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 57.2 รักษาสินค้าที่ซื้อมาให้คงอยู่สภาพใช้งานได้นานระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 64.3 เป็นกลุ่มคนที่ซื้อสินค้ามา
แล้วไม่ค่อยใช้ประโยชน์ระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 58.5 เป็นคนที่นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
เมื่อถามถึงช่วงจังหวะเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.7 เห็นว่าเร็วเกิน ไป อย่างไร
ก็ตาม ร้อยละ 22.4 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 27.9 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว โดยเรื่องที่อยากให้อภิปรายมากที่สุดคือ การแก้ปัญหาต่างๆ ของ
รัฐบาล อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ คอรัปชั่น และความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม
เมื่อถามถึงช่วงเวลาที่จะขับไล่รัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พบว่า เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 54.9 เห็นว่าเร็ว
เกินไป อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 21.5 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 23.6 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะรัฐบาลไม่มีผลงาน ควรเปิดโอกาสให้คนอื่นทำ
งานแทน และเป็นเรื่องของประชาธิปไตยแท้จริง
เมื่อถามถึงช่วงเวลาที่ตำรวจควรใช้กำลังสลายการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 เห็นแย้งเรื่องการใช้กำลังสลายการชุมนุม
ของตำรวจในขณะนี้ โดยร้อยละ 46.3 ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังสลายการชุมนุมในทุกกรณี และร้อยละ 13.5 เห็นว่าเร็วเกินไปที่จะใช้กำลัง อย่าง
ไรก็ตาม ร้อยละ 21.8 เห็นว่าช้าเกินไป และร้อยละ 18.4 เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะต้องการให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว ประชาชนกำลังเดือด
ร้อน การชุมนุมลุกลามมากเกินไป และควรควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจออกมาเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์การเมืองช่วงนี้กำลังผลักดันให้กลุ่มพลังเงียบเลือกข้างโดยปริยาย
แต่สัดส่วนพอๆ กันระหว่างฝ่ายที่อยู่ข้างรัฐบาลและฝ่ายที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล ซึ่งถ้าเกิดความรุนแรงทางการเมืองกับประชาชนขึ้นอาจส่งผลกระทบในทาง
ลบต่อเสถียรภาพของบ้านเมืองแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เมื่อถามถึงระดับการเตรียมตัวเตรียมใจของประชาชนในการรับมือกับสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายในประเทศ พบว่า ร้อยละ 39.5
ระบุเตรียมตัวเตรียมใจระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.2 เตรียมตัวเตรียมใจระดับปานกลาง และร้อยละ 27.3 เตรียมตัวเตรียมใจระดับน้อยถึง
น้อยที่สุด
ประเด็นที่น่าพิจารณาสำหรับทุกๆฝ่ายคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.7 อยากเห็นคุณธรรมเรื่องความรักความสามัคคีเกิดขึ้นในกลุ่ม
คนไทยด้วยกัน รองลงมาคือร้อยละ 65.6 ระบุเรื่องความรักชาติ ร้อยละ 59.7 อยากเห็นความมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 54.4 อยากเห็นการ
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร้อยละ 53.0 อยากเห็นความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 52.0 อยากเห็นการให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 51.3 อยากเห็นความเสียสละ
ร้อยละ 45.6 อยากเห็นความอดทน และร้อยละ 42.4 อยากเห็นความเมตตา กรุณาต่อกัน
ที่น่าสนใจคือ ระดับความปกติสุขของสังคมไทยโดยภาพรวม พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.9 มองว่าสังคมไทยโดยรวมยังคงมี
ความปกติสุขระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 28.0 เห็นว่าอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 22.1 เห็นว่าอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสัญญาณที่ดีบางประการในสังคมไทยตรงที่ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมือง
ของกลุ่มต่างๆ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล
จำนวนมากเริ่มเตรียมตัวเตรียมใจได้กับสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้น และประมาณครึ่งหนึ่งยังคงมองว่า สังคมไทยยังคงมีความปกติสุขอยู่ หรือ
อย่างมากที่สุดก็กระทบต่อความรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากให้ปัญหาขัดแย้งต่างๆ จบลงโดยเร็ว เพราะไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกัน
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังค้นพบสัญญาณที่ดีบางอย่างคือตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับงานวิจัยก่อนหน้านี้
คือ การวางแผนที่รัดกุมให้กับชีวิตของตนเอง ประชาชนปรับความสมดุลในการใช้จ่ายมากขึ้น มีการรักษาสินค้าที่ซื้อมาให้คงสภาพใช้งานได้นาน และการ
ไม่เป็นคนที่อยากซื้ออะไรก็ซื้อ เพราะประชาชนเล็งเห็นได้ถึงความไม่แน่นอนของชีวิตและสถานการณ์บ้านเมือง ผู้วิจัยเห็นว่าช่วงเวลานี้จะกลายเป็น
โอกาสปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้กับประชาชน ดำเนินชีวิตบนความไม่ประมาทเพราะไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไหร่ แต่อย่าให้ถึงขั้นที่ทำให้ประชาชนเกิดความ
กลัว ประเทศจะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป คนไทยอาจเลือกโอกาสที่จะเจริญช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย รัฐบาลอาจไม่มั่นคง เปลี่ยนแล้ว
เปลี่ยนอีก แต่ประเทศชาติและระบบในกระบวนการยุติธรรมต้องมั่นคงเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสาธารณชนได้อย่างยั่งยืน ข้าราชการประจำไม่ตกอยู่ภายใต้
อิทธิพลเอนเอียงให้กับผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองแต่ฝ่ายเดียว และขอเพียงไม่เกิดความรุนแรง ไม่ทำร้ายร่างกายและทรัพย์สินของกันและกันเกิดขึ้น
ในสังคมไทย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความปกติสุขของสังคมไทยและรูปแบบการใช้ชีวิตของสาธารณชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจความปกติสุขของสาธารณชนและรูปแบบการ
ใช้ชีวิตในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,837 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18-21 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาด
ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,837 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด
ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะ
ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย
จำนวนทั้งสิ้น 96 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.5 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 16.4 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 23.4 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ร้อยละ 72.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 13.5 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.0 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมือง ค่าร้อยละ
1 เบื่อหน่าย 78.6
2 เศร้าใจ 25.0
3 อึดอัด 20.7
4 เครียด 17.8
5 มีความหวัง 6.0
6 ตื่นเต้น 4.4
7 อื่นๆ อาทิ ผิดหวัง เซ็ง น่ารำคาญ ไร้สาระ 8.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รูปแบบการใช้ชีวิตในสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ รูปแบบการใช้ชีวิต มาก ถึง มากที่สุด ปานกลาง น้อย ถึง น้อยที่สุด
ค่าร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 นึกอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ 29.6 11.9 58.5
2 ซื้อสินค้ามาแล้วพบว่า ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ 22.9 12.8 64.3
3 วางแผนใช้จ่ายรัดกุม 66.8 13.0 20.2
4 รักษาสินค้าให้คงอยู่สภาพใช้งานได้นาน 57.2 16.5 26.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่จะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไป 49.7
2 ช้าเกินไป 22.4
3 เหมาะสมแล้ว ทั้งนี้เรื่องที่อยากให้อภิปรายมากที่สุดได้แก่ การแก้ไขปัญหาต่างๆ
ของรัฐบาล อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม 27.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะ
ชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการชุมชนของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไป 54.9
2 ช้าเกินไป 21.5
3 เหมาะสมแล้ว เพราะ.....เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลทำไม่ได้ /รัฐบาลไม่มีผลงาน/
จะได้เปิดโอกาสให้คนอื่นมาทำงานแทน/แสดงความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่ตำรวจจะใช้กำลังสลายการชุมนุมบริเวณ
ทำเนียบรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อช่วงเวลาที่ตำรวจจะใช้กำลังสลายการชุมนุม ค่าร้อยละ
1 เร็วเกินไปที่จะใช้กำลัง 13.5
2 ช้าเกินไป 21.8
3 เหมาะสมแล้วเพราะ.....ต้องการให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว/ประชาชนกำลังเดือดร้อน /
การชุมนุมลุกลามมากเกินไป/ควรจะควบคุมให้อยู่ในวงจำกัด 18.4
4 ไม่ควรใช้กำลังในขณะนี้ในทุกกรณี 46.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเตรียมตัวเตรียมใจรับกับสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศ
ลำดับที่ ระดับการเตรียมตัวเตรียมใจ ค่าร้อยละ
1 ระดับมาก ถึงมากที่สุด 39.5
2 ปานกลาง 33.2
3 น้อยถึง น้อยที่สุด 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณธรรมและสิ่งดีๆที่อยากให้คนไทยมีต่อกัน ในสถานการณ์การเมือง
ขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณธรรมและสิ่งดีๆที่อยากให้คนไทยมีต่อกัน ค่าร้อยละ
1 รักสามัคคี 80.7
2 รักชาติ 65.6
3 มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจ 59.7
4 ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 54.4
5 ซื่อสัตย์ 53.0
6 ให้อภัย 52.0
7 เสียสละ 51.3
8 อดทน 45.6
9 เมตตากรุณา 42.4
10 อื่นๆ อาทิ...เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน/รู้ผิดชอบชั่วดี/อยู่อย่างสงบ 5.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความปกติสุขของสังคมไทยโดยรวม
ลำดับที่ ระดับความปกติสุขโดยรวม ค่าร้อยละ
1 ระดับมาก ถึง มากที่สุด 49.9
2 ปานกลาง 28.0
3 น้อย ถึง น้อยที่สุด 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-