ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณ
ชนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล เมื่อกลุ่มพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้าง กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ สุโขทัย ขอนแก่น สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ จำนวนทั้งสิ้น 5,453 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-29
มิถุนายน พ.ศ. 2551 ประเด็นที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนที่มีต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีโดยภาพรวมทั่วประเทศ นั้น พบว่างร้อยละ 52.0 ระบุ
สนับสนุน ร้อยละ 40.6 ไม่สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ระบุขออยู่ตรงกลาง
สำหรับแนวโน้มความนิยมของสาธารณชนที่มีต่อนายสมัคร สุนทรเวช พบว่าแนวโน้มการสนับสนุนสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 48.5 ในช่วงต้น
เดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.0 ในการสำรวจล่าสุด โดยพบว่าฐานสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช จากสาธารณชนทั่วประเทศโดยภาพรวมยังคง
มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน คือร้อยละ 52.0 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ไม่สนับสนุน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนของพลังเงียบนั้นพบว่า
มีแนวโน้มลดลงเรื่อยมานับตั้งแต่การสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2551 ที่มีกลุ่มพลังเงียบอยู่ร้อยละ 22.4 ต้นเดือนมิถุนายนมีอยู่ร้อยละ 19.1 และลด
ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.4 จากการสำรวจในครั้งล่าสุดนี้
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกฐานสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีในประชาชนกลุ่มต่างๆ นั้นพบว่า เพศชายและเพศหญิงให้การสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับเมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุที่พบว่าประมาณร้อยละ 50 ของประชาชนในช่วงอายุต่างๆ ยังคงให้
การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่เมื่อพิจารณาจำแนกตามภูมิภาคนั้นพบว่า ประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้การสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช มากกว่าภาคอื่น ๆ โดยมีผู้ที่ให้การสนับสนุนคิดเป็นร้อยละ 72.0 ในขณะที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยคิดเป็นร้อย
ละ 26.1 และในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ร้อยละ 50.4 ระบุยังสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำแนกฐานการสนับสนุนของสาธารณชนตามระดับการศึกษา นั้นพบว่า ในกลุ่มคนที่จบการศึกษาสูงขึ้นจะพบคนที่
สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ลดน้อยลง กล่าวคือร้อยละ 53.7 ในคนที่จบต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 44.7 ของคนที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 41.1
ของคนที่จบสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน พบว่า คนที่มีรายได้น้อยหรือไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.9 สนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช แต่ในกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 48.2 สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
สอดคล้องกับฐานสนับสนุนนายกรัฐมนตรี เมื่อพบว่าฐานสนับสนุนรัฐบาลโดยภาพรวมทั่วประเทศจากการสำรวจในครั้งนี้มีอยู่ร้อยละ 55.2
ไม่สนับสนุน ร้อยละ 37.4 และกลุ่มพลังเงียบ ร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นพื้นที่ที่ประชาชนให้การสนับสนุนรัฐบาลในสัดส่วนที่
สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มคน “คอการเมือง” ที่ติดตามข่าวการ
อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่ผ่านมาเฉพาะคนกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลจำนวน 1,112 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ
53.8 ร้อยละ 53.5 และร้อยละ 55.6 ให้ ส.ส. ฝ่ายค้าน สอบผ่าน ในทุกเรื่องที่สำรวจ ได้แก่ ความชัดเจนของข้อมูลหลักฐานที่นำมาอภิปราย
เรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล และเรื่องการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผล ในขณะที่ตัวอย่างคน คอการเมือง ที่ให้รัฐบาลสอบผ่าน มีสัดส่วนพอๆ กัน
กับคนที่ให้รัฐบาลสอบไม่ผ่านในทุกเรื่อง
ดร.นพดล กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาที่มีการเคลื่อนชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรไปหน้าทำเนียบรัฐบาลและการอภิปรายไม่ไว้วาง
ใจรัฐบาล ซึ่งสถานการณ์การเมืองดูเหมือนจะผลักดันให้กลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้างในการสำรวจล่าสุด ที่น่า
พิจารณาคือ สัดส่วนของกลุ่มพลังเงียบลดลงแต่กระจายไปเพิ่มที่กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมากกว่ากลุ่มสนับสนุนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีกลุ่ม
ผู้สนับสนุนเป็นทุนเดิมมากกว่า จึงทำให้ฐานสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพิ่มขึ้นยกระดับไปสู่เกรด B หรือในโซนที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นโซนที่มีนัยสำคัญ
ว่า รัฐบาลจะสามารถทำงานโดยได้รับการตอบรับจากสาธารณชนได้ค่อนข้างดี แต่จะพบกับแรงเสียดทานหนักๆ บ้างเป็นระยะๆ รัฐบาลจึงต้องลดการพูด
จาท้าทาย ยั่วยุลงบ้าง และถ้ามุ่งหวังได้เกรด A หรือในโซนที่ 4 ต้องมีการปรับปรุงภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีตอบสนองความคาดหวังและแก้ปัญหา
เดือดร้อนของสาธารณชนโดยเร็ว เพราะกลุ่มประชาชนที่ไม่สนับสนุนก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
ผ.อ. เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่าหากวิเคราะห์ผลวิจัยที่เคยทำทั่วประเทศในอดีตมาประกอบ อาจสามารถอธิบายปรากฏ การณ์ทางการ
เมืองของไทยในปัจจุบันได้ด้วย “ทฤษฎีแก้วสามใบ” โดยแก้วใบที่หนึ่งเป็นของอดีตนายกทักษิณ และพรรคพลังประชาชนที่มีกลุ่มคนนิยมศรัทธาตกเป็น
ตะกอนอยู่ประมาณร้อยละ 20 บวกลบร้อยละ 5 ที่เหลือเป็นน้ำที่ไหลไปไหลมาได้ง่าย บางครั้งน้ำในแก้วใบนี้มีมากแต่บางครั้งก็ไหลออกไปจนเกือบหมด
รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องไม่เหิมเกริม มิฉะนั้น น้ำจะไหลไปอยู่ในแก้วใบที่สองที่เป็นของกลุ่มคนไม่เอาอดีตนายกทักษิณและพลังประชาชน และแก้วใบที่สามที่
เป็นของกลุ่มพลังเงียบ ทำให้ฐานสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณและพรรคพลังประชาชนกลายเป็นเสียงส่วนน้อย หรืออยู่ในสัดส่วนพอๆ กันกับกลุ่มคนที่
ไม่เอาอดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคพลังประชาชน ดังนั้นภาพที่มองจากทฤษฎีแก้วสามใบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้ฝ่ายการเมืองของพรรคพลังประชาชนและ
พรรคร่วมรัฐบาลต้องปรับปรุงตนเองสอดรับกับผลวิจัยล่าสุด ที่จำเป็นต้องเร่งทำงานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าความอยู่รอดของคนกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อนายกรัฐมนตรี
และรัฐบาล เมื่อกลุ่มพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้าง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-29 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 5,453
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือการสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบ
สอบ ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 134 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.1 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 14.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.5 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 39.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.6 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 5.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 52.0
2 ไม่สนับสนุน 40.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบจากการสำรวจ
ในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน 2551
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 3-8 มี.ค.2551 วันที่ 1-8 มิ.ย.2551 วันที่ 20-28 มิ.ย.2551
1 สนับสนุน 45.3 48.5 52.0
2 ไม่สนับสนุน 32.3 32.4 40.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 22.4 19.1 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามภูมิภาค
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ กทม.
เป็นนายกรัฐมนตรี
1. สนับสนุน 53.0 41.6 72.0 26.1 50.4
2. ไม่สนับสนุน 26.8 48.4 27.8 73.4 39.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 20.2 10.0 0.2 0.5 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เพศชายร้อยละ เพศหญิงร้อยละ
1 สนับสนุน 53.8 50.8
2 ไม่สนับสนุน 39.1 41.7
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.1 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามช่วงอายุ
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช อายุต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
เป็นนายกรัฐมนตรี
1. สนับสนุน 57.6 47.8 52.6 52.4 52.9
2. ไม่สนับสนุน 36.8 46.0 42.2 39.9 38.9
2. ขออยู่ตรงกลาง 5.6 6.2 5.2 7.7 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่ำกว่า ป.ตรี ป.ตรี สูงกว่า ป.ตรี
1 สนับสนุน 53.7 44.7 41.1
2 ไม่สนับสนุน 38.4 50.5 52.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.9 4.8 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ไม่เกิน 5,001- 10,001- 15,001- มากกว่า
เป็นนายกรัฐมนตรี 5000 บาท 10,000 บาท 15,000 บาท 20,000 บาท 20,000 บาทขึ้นไป
1. สนับสนุน 59.9 46.6 46.8 41.8 48.2
2. ไม่สนับสนุน 32.7 45.7 48.9 53.2 44.9
2. ขออยู่ตรงกลาง 7.4 7.7 4.3 5.0 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ การสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 55.2
2 ไม่สนับสนุน 37.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปจำแนกตามภูมิภาค
การสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กทม.
1. สนับสนุน 55.3 45.9 75.0 27.8 54.3
2. ไม่สนับสนุน 24.1 44.1 24.6 71.6 36.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 20.6 10.0 0.4 0.6 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “ความชัดเจนของข้อมูลหลักฐาน” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคน คอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 46.5 49.5 4.0
2 ฝ่ายค้าน 53.8 42.1 4.1
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 47.3 47.2 5.5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “ความน่าเชื่อถือในข้อมูลหลักฐาน” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคน คอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 47.3 48.6 4.1
2 ฝ่ายค้าน 53.5 42.2 4.3
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 49.9 45.6 4.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “การควบคุมอารมณ์และใช้เหตุผล” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคนคอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 46.9 48.6 4.5
2 ฝ่ายค้าน 55.6 41.1 3.3
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 53.2 41.5 5.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชนต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล เมื่อกลุ่มพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้าง กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ สุโขทัย ขอนแก่น สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ จำนวนทั้งสิ้น 5,453 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-29
มิถุนายน พ.ศ. 2551 ประเด็นที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลสำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนที่มีต่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีโดยภาพรวมทั่วประเทศ นั้น พบว่างร้อยละ 52.0 ระบุ
สนับสนุน ร้อยละ 40.6 ไม่สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ระบุขออยู่ตรงกลาง
สำหรับแนวโน้มความนิยมของสาธารณชนที่มีต่อนายสมัคร สุนทรเวช พบว่าแนวโน้มการสนับสนุนสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 48.5 ในช่วงต้น
เดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.0 ในการสำรวจล่าสุด โดยพบว่าฐานสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช จากสาธารณชนทั่วประเทศโดยภาพรวมยังคง
มากกว่ากลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน คือร้อยละ 52.0 สนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 40.6 ไม่สนับสนุน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาสัดส่วนของพลังเงียบนั้นพบว่า
มีแนวโน้มลดลงเรื่อยมานับตั้งแต่การสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2551 ที่มีกลุ่มพลังเงียบอยู่ร้อยละ 22.4 ต้นเดือนมิถุนายนมีอยู่ร้อยละ 19.1 และลด
ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.4 จากการสำรวจในครั้งล่าสุดนี้
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกฐานสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีในประชาชนกลุ่มต่างๆ นั้นพบว่า เพศชายและเพศหญิงให้การสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกับเมื่อพิจารณาจำแนกตามช่วงอายุที่พบว่าประมาณร้อยละ 50 ของประชาชนในช่วงอายุต่างๆ ยังคงให้
การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่เมื่อพิจารณาจำแนกตามภูมิภาคนั้นพบว่า ประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้การสนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช มากกว่าภาคอื่น ๆ โดยมีผู้ที่ให้การสนับสนุนคิดเป็นร้อยละ 72.0 ในขณะที่ภาคใต้เป็นพื้นที่ที่ให้การสนับสนุนต่ำกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยคิดเป็นร้อย
ละ 26.1 และในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น ร้อยละ 50.4 ระบุยังสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจำแนกฐานการสนับสนุนของสาธารณชนตามระดับการศึกษา นั้นพบว่า ในกลุ่มคนที่จบการศึกษาสูงขึ้นจะพบคนที่
สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ลดน้อยลง กล่าวคือร้อยละ 53.7 ในคนที่จบต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 44.7 ของคนที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 41.1
ของคนที่จบสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน พบว่า คนที่มีรายได้น้อยหรือไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.9 สนับสนุนนายสมัคร
สุนทรเวช แต่ในกลุ่มคนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 48.2 สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
สอดคล้องกับฐานสนับสนุนนายกรัฐมนตรี เมื่อพบว่าฐานสนับสนุนรัฐบาลโดยภาพรวมทั่วประเทศจากการสำรวจในครั้งนี้มีอยู่ร้อยละ 55.2
ไม่สนับสนุน ร้อยละ 37.4 และกลุ่มพลังเงียบ ร้อยละ 7.4 ทั้งนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นพื้นที่ที่ประชาชนให้การสนับสนุนรัฐบาลในสัดส่วนที่
สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ยังได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มคน “คอการเมือง” ที่ติดตามข่าวการ
อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่ผ่านมาเฉพาะคนกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลจำนวน 1,112 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ
53.8 ร้อยละ 53.5 และร้อยละ 55.6 ให้ ส.ส. ฝ่ายค้าน สอบผ่าน ในทุกเรื่องที่สำรวจ ได้แก่ ความชัดเจนของข้อมูลหลักฐานที่นำมาอภิปราย
เรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล และเรื่องการควบคุมอารมณ์และการใช้เหตุผล ในขณะที่ตัวอย่างคน คอการเมือง ที่ให้รัฐบาลสอบผ่าน มีสัดส่วนพอๆ กัน
กับคนที่ให้รัฐบาลสอบไม่ผ่านในทุกเรื่อง
ดร.นพดล กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาที่มีการเคลื่อนชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรไปหน้าทำเนียบรัฐบาลและการอภิปรายไม่ไว้วาง
ใจรัฐบาล ซึ่งสถานการณ์การเมืองดูเหมือนจะผลักดันให้กลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้างในการสำรวจล่าสุด ที่น่า
พิจารณาคือ สัดส่วนของกลุ่มพลังเงียบลดลงแต่กระจายไปเพิ่มที่กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมากกว่ากลุ่มสนับสนุนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลมีกลุ่ม
ผู้สนับสนุนเป็นทุนเดิมมากกว่า จึงทำให้ฐานสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพิ่มขึ้นยกระดับไปสู่เกรด B หรือในโซนที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นโซนที่มีนัยสำคัญ
ว่า รัฐบาลจะสามารถทำงานโดยได้รับการตอบรับจากสาธารณชนได้ค่อนข้างดี แต่จะพบกับแรงเสียดทานหนักๆ บ้างเป็นระยะๆ รัฐบาลจึงต้องลดการพูด
จาท้าทาย ยั่วยุลงบ้าง และถ้ามุ่งหวังได้เกรด A หรือในโซนที่ 4 ต้องมีการปรับปรุงภาพลักษณ์ของคณะรัฐมนตรีตอบสนองความคาดหวังและแก้ปัญหา
เดือดร้อนของสาธารณชนโดยเร็ว เพราะกลุ่มประชาชนที่ไม่สนับสนุนก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน
ผ.อ. เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่าหากวิเคราะห์ผลวิจัยที่เคยทำทั่วประเทศในอดีตมาประกอบ อาจสามารถอธิบายปรากฏ การณ์ทางการ
เมืองของไทยในปัจจุบันได้ด้วย “ทฤษฎีแก้วสามใบ” โดยแก้วใบที่หนึ่งเป็นของอดีตนายกทักษิณ และพรรคพลังประชาชนที่มีกลุ่มคนนิยมศรัทธาตกเป็น
ตะกอนอยู่ประมาณร้อยละ 20 บวกลบร้อยละ 5 ที่เหลือเป็นน้ำที่ไหลไปไหลมาได้ง่าย บางครั้งน้ำในแก้วใบนี้มีมากแต่บางครั้งก็ไหลออกไปจนเกือบหมด
รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องไม่เหิมเกริม มิฉะนั้น น้ำจะไหลไปอยู่ในแก้วใบที่สองที่เป็นของกลุ่มคนไม่เอาอดีตนายกทักษิณและพลังประชาชน และแก้วใบที่สามที่
เป็นของกลุ่มพลังเงียบ ทำให้ฐานสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณและพรรคพลังประชาชนกลายเป็นเสียงส่วนน้อย หรืออยู่ในสัดส่วนพอๆ กันกับกลุ่มคนที่
ไม่เอาอดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคพลังประชาชน ดังนั้นภาพที่มองจากทฤษฎีแก้วสามใบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้ฝ่ายการเมืองของพรรคพลังประชาชนและ
พรรคร่วมรัฐบาลต้องปรับปรุงตนเองสอดรับกับผลวิจัยล่าสุด ที่จำเป็นต้องเร่งทำงานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าความอยู่รอดของคนกลุ่ม
ใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการสนับสนุนให้รัฐบาลทำงานต่อไป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สำรวจฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อนายกรัฐมนตรี
และรัฐบาล เมื่อกลุ่มพลังเงียบเริ่มตัดสินใจเลือกข้าง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-29 มิถุนายน พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม
ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 5,453
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือการสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบ
สอบ ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 134 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.1 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 14.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.6 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 5.5 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 2.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 7.3 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 39.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.6 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.0 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 5.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 52.0
2 ไม่สนับสนุน 40.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีเปรียบเทียบจากการสำรวจ
ในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน 2551
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี วันที่ 3-8 มี.ค.2551 วันที่ 1-8 มิ.ย.2551 วันที่ 20-28 มิ.ย.2551
1 สนับสนุน 45.3 48.5 52.0
2 ไม่สนับสนุน 32.3 32.4 40.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 22.4 19.1 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามภูมิภาค
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ กทม.
เป็นนายกรัฐมนตรี
1. สนับสนุน 53.0 41.6 72.0 26.1 50.4
2. ไม่สนับสนุน 26.8 48.4 27.8 73.4 39.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 20.2 10.0 0.2 0.5 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เพศชายร้อยละ เพศหญิงร้อยละ
1 สนับสนุน 53.8 50.8
2 ไม่สนับสนุน 39.1 41.7
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.1 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามช่วงอายุ
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช อายุต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
เป็นนายกรัฐมนตรี
1. สนับสนุน 57.6 47.8 52.6 52.4 52.9
2. ไม่สนับสนุน 36.8 46.0 42.2 39.9 38.9
2. ขออยู่ตรงกลาง 5.6 6.2 5.2 7.7 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ต่ำกว่า ป.ตรี ป.ตรี สูงกว่า ป.ตรี
1 สนับสนุน 53.7 44.7 41.1
2 ไม่สนับสนุน 38.4 50.5 52.6
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.9 4.8 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ไม่เกิน 5,001- 10,001- 15,001- มากกว่า
เป็นนายกรัฐมนตรี 5000 บาท 10,000 บาท 15,000 บาท 20,000 บาท 20,000 บาทขึ้นไป
1. สนับสนุน 59.9 46.6 46.8 41.8 48.2
2. ไม่สนับสนุน 32.7 45.7 48.9 53.2 44.9
2. ขออยู่ตรงกลาง 7.4 7.7 4.3 5.0 6.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป
ลำดับที่ การสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 55.2
2 ไม่สนับสนุน 37.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไปจำแนกตามภูมิภาค
การสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันทำงานต่อไป ภาคเหนือ ภาคกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กทม.
1. สนับสนุน 55.3 45.9 75.0 27.8 54.3
2. ไม่สนับสนุน 24.1 44.1 24.6 71.6 36.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 20.6 10.0 0.4 0.6 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “ความชัดเจนของข้อมูลหลักฐาน” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคน คอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 46.5 49.5 4.0
2 ฝ่ายค้าน 53.8 42.1 4.1
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 47.3 47.2 5.5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “ความน่าเชื่อถือในข้อมูลหลักฐาน” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคน คอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 47.3 48.6 4.1
2 ฝ่ายค้าน 53.5 42.2 4.3
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 49.9 45.6 4.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ประเมิน “การควบคุมอารมณ์และใช้เหตุผล” ที่ฝ่ายต่างๆ นำมาอภิปรายและชี้แจง
(ค่าร้อยละเฉพาะคนคอการเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล)
ลำดับที่ ฝ่ายต่างๆ ที่อภิปรายและชี้แจง สอบได้ สอบตก ไม่มีความเห็น
1 รัฐบาล 46.9 48.6 4.5
2 ฝ่ายค้าน 55.6 41.1 3.3
3 สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 53.2 41.5 5.3
--เอแบคโพลล์--
-พห-