ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง คำถามคาใจของสาธารณชนและ
ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
นนทบุรี เชียงใหม่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี นครปฐม
ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,358 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่าเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.7 ติดตามข่าว
การเมืองมากขึ้น นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจในปี 2549 จนถึงปัจจุบัน
เมื่อสอบถามถึงคำถามที่คาใจของสาธารณชน พบว่า อันดับแรกคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ของผู้ที่ถูกศึกษาทั้งหมดมีคำถามคาใจว่า เมื่อ
ไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะได้ข้อยุติ จบลงเสียที รองลงมาคือ ร้อยละ 62.1 มีคำถามว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะหลุดพ้นข้อกล่าวหาใน
คดีต่างๆ จากการตัดสินของศาลหรือไม่ และร้อยละ 61.0 มีคำถามว่า รัฐบาลจะยุบสภา เลือกตั้งใหม่ในปีนี้หรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 60.9 มีคำถาม
ว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบหรือไม่ ร้อยละ 59.3 มีคำถามว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ และร้อยละ 55.3
มีคำถามว่า จะมีการปฏิวัติรัฐประหารอีกหรือไม่
ดร.นพดล กล่าวว่า คำถามสุดท้ายนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินครึ่งยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารอยู่ในใจ ถึงแม้ผู้ใหญ่ในกอง
ทัพจะออกมายืนยันแล้วว่า จะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารหรือยึดอำนาจใดเกิดขึ้นในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน แต่อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การเมือง
ปัจจุบัน ทำให้ประชาชนตกอยู่ใน “สภาวะแปลกแยก” ซึ่งเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยา ที่มีนัยว่า ประชาชนกำลังอยู่ในสภาวะที่ไร้อำนาจ สูญเสียความ
สามารถในการคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตนเองในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เกิดความไม่ไว้วางใจต่ออนาคตของตนเอง จึงสะท้อนให้
เห็นคำถามค้างคาใจในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่ว่า เมื่อไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะยุติ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ก็ค้นพบว่า มีประชาชนจำนวน
มากหรือร้อยละ 45.5 เป็นกลุ่มคนที่เตรียมตัวเตรียมใจเข้ากับสถานการณ์วุ่นวายต่างๆ ของประเทศได้แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นในประเทศก็จะอยู่รอดได้
เมื่อสอบถามถึง ความคิดเห็นต่อ ประเด็นต่างๆ ทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 ที่เห็นว่า ศาลต่างๆ ในกระบวน
การยุติธรรม คือ สถาบันหลักของประเทศ ทุกๆ ฝ่ายต้องยอมรับผลการวินิจฉัยตัดสิน และร้อยละ 91.6 เห็นว่า ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมือง ก็ให้
ทุกฝ่ายใช้ชีวิตไปตามปกติ ไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายอะไร และร้อยละ 91.6 เช่นกัน เห็นว่ายอมรับผลการตัดสินของศาลต่างๆ ดีกว่ายอมให้มีการยึดอำนาจ
ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 มองคดีความทางการเมืองต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมขณะนี้แล้ว ทำให้เชื่อเรื่อง
บาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 82.0 คิดว่า ควรปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ไขด้วยวิธีการทางการ
เมือง
อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาเขาพระวิหารนั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 เห็นว่าทำให้พรรคพลังประชาชนนั้นเสียคะแนนนิยม
ไป แต่เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการตัดสินใจยุบสภาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 เห็นว่า
ควรรอให้ผลการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุดก่อน ในขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่าควรยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ในตอนนี้ทันที
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อโอกาสที่ว่า อะไรมีโอกาสจะเกิดขึ้นมากกว่ากันระหว่าง การถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการ
เมืองเวลานี้ กับ การยึดอำนาจ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่า การถอนทุนคืนของนักการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึด
อำนาจ ในขณะที่ร้อยละ 33.4 คิดว่า การยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า และเมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นชาย กับ
หญิง มีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือ ส่วนใหญ่ยังคงคิดว่า การถอนทุนคืนเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการยึดอำนาจในเวลานี้ แต่เมื่อจำแนกกลุ่ม
ประชาชนที่ถูกศึกษาออกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือกในระบบสัดส่วน พบว่า คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนมีสัดส่วนของผู้ตอบว่า จะเกิดการถอนทุน
คืนโดยนักการเมือง น้อยกว่า คนที่เลือกพรรคการเมืองอื่น ในทางตรงกันข้าม คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนคิดว่าโอกาสที่จะเกิดการยึดอำนาจมี
มากกว่าการถอนทุนคืน ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ และเมื่อวิเคราะห์จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ยิ่ง
คนที่มีการศึกษาสูงขึ้น ยิ่งคิดว่า การถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นโดยนักการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ คือร้อยละ 65.5 ของคนที่
มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 70.2 ของคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 80.0 ของคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยในการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ยิ่งคนไทยคิดว่า ทุก
ฝ่ายควรยอมรับคำพิพากษาตัดสินของศาลในคดีความทางการเมืองดีกว่ามีการยึดอำนาจเท่าใด และยิ่งคิดว่าถึงแม้จะมีการวินิจฉัยตัดสินให้มีการยุบพรรค
การเมืองพรรคใด คนไทยก็ควรจะดำเนินชีวิตไปตามปกติไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายใดๆ แล้ว ก็ยิ่งทำให้คนไทยคิดว่าจะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจให้อยู่
รอดได้ในทุกสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ดังนั้น ถ้าเรามองอีกมุมหนึ่งที่ว่าการเมืองภาคหนึ่งของประเทศไทยในขณะนี้กำลังถูกปรับฐานให้เข้มแข็ง
โปร่งใส และตรวจสอบได้อย่างยั่งยืน ใครเคยก่อกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ก็จะต้องได้รับโทษรับกรรมไปตามวิถีทางแห่งความเชื่อของคนส่วนใหญ่ใน
ประเทศ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วคงทำให้กลุ่มคนที่สนใจทำงานการเมืองใหม่และสาธารณชนได้มีจิตสำนึก เกรงกลัวต่อความผิด และเลือกที่จะประพฤติ
ปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง มีความรักชาติ เสียสละทำงานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันกลุ่มข้าราชการประจำต้องเร่ง
ทำงานหนักและชี้ให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า ผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศชาติกับความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนแต่ละคนต้องตกผลึกเป็นเนื้อ
เดียวกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจคำถามทางการเมืองในใจของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง คำถามคาใจของสาธารณชนและความคิดเห็นต่อ
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี
เชียงใหม่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี นครปฐม ระนอง
ชุมพร สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,358 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของ
การสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,358 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.2
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่
จะมีการยึดอำนาจโดย คมช. (พ.ศ. 2549)
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 31.7
2 มากเหมือนเดิม 37.7
3 น้อยเหมือนเดิม 16.3
4 น้อยลง 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อสิ่งที่อยากถามเกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คำถามเกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 เมื่อไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะได้ข้อยุติ จบลงเสียที 84.6
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะหลุดพ้นข้อกล่าวหาในคดีต่างๆ จากการตัดสินของศาลหรือไม่ 62.1
3 จะมีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ในปีนี้หรือไม่ 61.0
4 พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบหรือไม่ 60.9
5 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ 59.3
6 จะมีปฏิวัติรัฐประหารอีกหรือไม่ 55.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ประเด็นต่างๆ ทางการเมือง ร้อยละ
1. ศาลต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมคือสถาบันหลักของประเทศ ทุกๆ ฝ่ายต้องยอมรับผลการวินิจฉัยตัดสิน 93.2
2. ถ้ามีการตัดสินพิพากษายุบพรรคการเมือง ก็ให้ทุกฝ่ายใช้ชีวิตไปตามปกติ ไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายอะไร 91.6
3. ยอมรับผลการตัดสินของศาลต่างๆ ดีกว่ามีการยึดอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 91.6
4. เมื่อมองที่คดีความทางการเมืองต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมขณะนี้ ทำให้เชื่อเรื่อง บาป บุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น 91.5
5. คิดว่าควรปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ไขด้วยวิธีทางการเมือง 82.0
6. กรณีปัญหาเขาพระวิหาร ทำให้พรรคพลังประชาชนเสียคะแนนนิยม 78.8
7. เป็นคนที่เตรียมตัวเตรียมใจเข้ากับสถานการณ์วุ่นวายต่างๆ ของประเทศไทยได้แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นในประเทศ ก็จะอยู่รอดได้ 45.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการตัดสินใจยุบสภาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ในตอนนี้ทันที 20.5
2 ควรรอให้ผลการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุดก่อน 79.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 66.6
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 33.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ชาย หญิง
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 66.5 66.7
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 33.5 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตาม พรรคการเมืองที่เคยเลือกในระบบสัดส่วนช่วงเลือกตั้งปี 50
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้
มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 73.5 55.8 73.0
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 26.5 44.2 27.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้
มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 65.5 70.2 80.0
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 34.5 29.8 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
นนทบุรี เชียงใหม่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี นครปฐม
ระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,358 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ยังคงติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่าเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.7 ติดตามข่าว
การเมืองมากขึ้น นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจในปี 2549 จนถึงปัจจุบัน
เมื่อสอบถามถึงคำถามที่คาใจของสาธารณชน พบว่า อันดับแรกคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 ของผู้ที่ถูกศึกษาทั้งหมดมีคำถามคาใจว่า เมื่อ
ไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะได้ข้อยุติ จบลงเสียที รองลงมาคือ ร้อยละ 62.1 มีคำถามว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะหลุดพ้นข้อกล่าวหาใน
คดีต่างๆ จากการตัดสินของศาลหรือไม่ และร้อยละ 61.0 มีคำถามว่า รัฐบาลจะยุบสภา เลือกตั้งใหม่ในปีนี้หรือไม่ ในขณะที่ร้อยละ 60.9 มีคำถาม
ว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบหรือไม่ ร้อยละ 59.3 มีคำถามว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ และร้อยละ 55.3
มีคำถามว่า จะมีการปฏิวัติรัฐประหารอีกหรือไม่
ดร.นพดล กล่าวว่า คำถามสุดท้ายนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนเกินครึ่งยังคงมีคำถามเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารอยู่ในใจ ถึงแม้ผู้ใหญ่ในกอง
ทัพจะออกมายืนยันแล้วว่า จะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารหรือยึดอำนาจใดเกิดขึ้นในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน แต่อาจเป็นผลมาจากสถานการณ์การเมือง
ปัจจุบัน ทำให้ประชาชนตกอยู่ใน “สภาวะแปลกแยก” ซึ่งเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยา ที่มีนัยว่า ประชาชนกำลังอยู่ในสภาวะที่ไร้อำนาจ สูญเสียความ
สามารถในการคาดการณ์ได้แน่ชัดว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตนเองในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน เกิดความไม่ไว้วางใจต่ออนาคตของตนเอง จึงสะท้อนให้
เห็นคำถามค้างคาใจในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่ว่า เมื่อไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะยุติ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้ก็ค้นพบว่า มีประชาชนจำนวน
มากหรือร้อยละ 45.5 เป็นกลุ่มคนที่เตรียมตัวเตรียมใจเข้ากับสถานการณ์วุ่นวายต่างๆ ของประเทศได้แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นในประเทศก็จะอยู่รอดได้
เมื่อสอบถามถึง ความคิดเห็นต่อ ประเด็นต่างๆ ทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.2 ที่เห็นว่า ศาลต่างๆ ในกระบวน
การยุติธรรม คือ สถาบันหลักของประเทศ ทุกๆ ฝ่ายต้องยอมรับผลการวินิจฉัยตัดสิน และร้อยละ 91.6 เห็นว่า ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมือง ก็ให้
ทุกฝ่ายใช้ชีวิตไปตามปกติ ไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายอะไร และร้อยละ 91.6 เช่นกัน เห็นว่ายอมรับผลการตัดสินของศาลต่างๆ ดีกว่ายอมให้มีการยึดอำนาจ
ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 มองคดีความทางการเมืองต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมขณะนี้แล้ว ทำให้เชื่อเรื่อง
บาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 82.0 คิดว่า ควรปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ไขด้วยวิธีการทางการ
เมือง
อย่างไรก็ตาม กรณีปัญหาเขาพระวิหารนั้น ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.8 เห็นว่าทำให้พรรคพลังประชาชนนั้นเสียคะแนนนิยม
ไป แต่เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลในการตัดสินใจยุบสภาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.5 เห็นว่า
ควรรอให้ผลการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุดก่อน ในขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่าควรยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ในตอนนี้ทันที
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อโอกาสที่ว่า อะไรมีโอกาสจะเกิดขึ้นมากกว่ากันระหว่าง การถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการ
เมืองเวลานี้ กับ การยึดอำนาจ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.6 คิดว่า การถอนทุนคืนของนักการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึด
อำนาจ ในขณะที่ร้อยละ 33.4 คิดว่า การยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า และเมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นชาย กับ
หญิง มีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือ ส่วนใหญ่ยังคงคิดว่า การถอนทุนคืนเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าการยึดอำนาจในเวลานี้ แต่เมื่อจำแนกกลุ่ม
ประชาชนที่ถูกศึกษาออกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือกในระบบสัดส่วน พบว่า คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนมีสัดส่วนของผู้ตอบว่า จะเกิดการถอนทุน
คืนโดยนักการเมือง น้อยกว่า คนที่เลือกพรรคการเมืองอื่น ในทางตรงกันข้าม คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนคิดว่าโอกาสที่จะเกิดการยึดอำนาจมี
มากกว่าการถอนทุนคืน ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนเลือกพรรคการเมืองอื่นๆ และเมื่อวิเคราะห์จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ยิ่ง
คนที่มีการศึกษาสูงขึ้น ยิ่งคิดว่า การถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นโดยนักการเมืองมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ คือร้อยละ 65.5 ของคนที่
มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 70.2 ของคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 80.0 ของคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยในการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ยิ่งคนไทยคิดว่า ทุก
ฝ่ายควรยอมรับคำพิพากษาตัดสินของศาลในคดีความทางการเมืองดีกว่ามีการยึดอำนาจเท่าใด และยิ่งคิดว่าถึงแม้จะมีการวินิจฉัยตัดสินให้มีการยุบพรรค
การเมืองพรรคใด คนไทยก็ควรจะดำเนินชีวิตไปตามปกติไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายใดๆ แล้ว ก็ยิ่งทำให้คนไทยคิดว่าจะสามารถเตรียมตัวเตรียมใจให้อยู่
รอดได้ในทุกสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ ดังนั้น ถ้าเรามองอีกมุมหนึ่งที่ว่าการเมืองภาคหนึ่งของประเทศไทยในขณะนี้กำลังถูกปรับฐานให้เข้มแข็ง
โปร่งใส และตรวจสอบได้อย่างยั่งยืน ใครเคยก่อกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ก็จะต้องได้รับโทษรับกรรมไปตามวิถีทางแห่งความเชื่อของคนส่วนใหญ่ใน
ประเทศ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วคงทำให้กลุ่มคนที่สนใจทำงานการเมืองใหม่และสาธารณชนได้มีจิตสำนึก เกรงกลัวต่อความผิด และเลือกที่จะประพฤติ
ปฏิบัติตนในทางที่ถูกต้อง มีความรักชาติ เสียสละทำงานเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง ในขณะเดียวกันกลุ่มข้าราชการประจำต้องเร่ง
ทำงานหนักและชี้ให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า ผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศชาติกับความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนแต่ละคนต้องตกผลึกเป็นเนื้อ
เดียวกัน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจคำถามทางการเมืองในใจของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางการเมืองต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง คำถามคาใจของสาธารณชนและความคิดเห็นต่อ
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี
เชียงใหม่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ ขอนแก่น หนองคาย สกลนคร นครราชสีมา ศรีสะเกษ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี นครปฐม ระนอง
ชุมพร สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,358 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของ
การสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,358 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโคงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 26.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 9.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ การติดตามข่าวประจำวันโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 19.2
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 14.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.1
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่
จะมีการยึดอำนาจโดย คมช. (พ.ศ. 2549)
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 31.7
2 มากเหมือนเดิม 37.7
3 น้อยเหมือนเดิม 16.3
4 น้อยลง 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุต่อสิ่งที่อยากถามเกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คำถามเกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทย ค่าร้อยละ
1 เมื่อไหร่ความวุ่นวายทางการเมืองจะได้ข้อยุติ จบลงเสียที 84.6
2 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะหลุดพ้นข้อกล่าวหาในคดีต่างๆ จากการตัดสินของศาลหรือไม่ 62.1
3 จะมีการยุบสภา เลือกตั้งใหม่ในปีนี้หรือไม่ 61.0
4 พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบหรือไม่ 60.9
5 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ 59.3
6 จะมีปฏิวัติรัฐประหารอีกหรือไม่ 55.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ประเด็นต่างๆ ทางการเมือง ร้อยละ
1. ศาลต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมคือสถาบันหลักของประเทศ ทุกๆ ฝ่ายต้องยอมรับผลการวินิจฉัยตัดสิน 93.2
2. ถ้ามีการตัดสินพิพากษายุบพรรคการเมือง ก็ให้ทุกฝ่ายใช้ชีวิตไปตามปกติ ไม่ต้องก่อเหตุวุ่นวายอะไร 91.6
3. ยอมรับผลการตัดสินของศาลต่างๆ ดีกว่ามีการยึดอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตย 91.6
4. เมื่อมองที่คดีความทางการเมืองต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมขณะนี้ ทำให้เชื่อเรื่อง บาป บุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น 91.5
5. คิดว่าควรปล่อยให้ปัญหาการเมือง แก้ไขด้วยวิธีทางการเมือง 82.0
6. กรณีปัญหาเขาพระวิหาร ทำให้พรรคพลังประชาชนเสียคะแนนนิยม 78.8
7. เป็นคนที่เตรียมตัวเตรียมใจเข้ากับสถานการณ์วุ่นวายต่างๆ ของประเทศไทยได้แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นในประเทศ ก็จะอยู่รอดได้ 45.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการตัดสินใจยุบสภาในสถานการณ์การเมืองขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ในตอนนี้ทันที 20.5
2 ควรรอให้ผลการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุดก่อน 79.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 66.6
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 33.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ชาย หญิง
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 66.5 66.7
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 33.5 33.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตาม พรรคการเมืองที่เคยเลือกในระบบสัดส่วนช่วงเลือกตั้งปี 50
ลำดับที่ ความคิดเห็น ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน พรรคอื่นๆ
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้
มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 73.5 55.8 73.0
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 26.5 44.2 27.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อโอกาสที่จะมีการถอนทุนคืนหรือจะทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง
ในเวลานี้ กับการยึดอำนาจ จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1 คิดว่าการถอนทุนคืนหรือการทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมืองในเวลานี้
มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า การยึดอำนาจ 65.5 70.2 80.0
2 คิดว่าการยึดอำนาจมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่า 34.5 29.8 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-