ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
เรื่องสำคัญของประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระ
นครศรีอยุธยา เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา ลพบุรี จันทบุรี สมุทรสาคร ชุมพร สุราษฎร์
ธานี นครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง กระจายครอบคลุมพื้นที่และครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้นของสังคม ทั้งใน
และนอกเขตเทศบาล โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 กำลังติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่เมื่อถามว่าข่าวเหตุการณ์บ้านเมือง
ข่าวใดที่กำลังสนใจติดตามขณะนี้ พบว่า อันดับแรก ประชาชนร้อยละ 80.0 กำลังสนใจติดตามข่าวปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา บริเวณปราสาทเขา
พระวิหาร รองลงมาคือร้อยละ 75.3 สนใจข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.4 สนใจข่าวเศรษฐกิจ ร้อยละ 61.5 สนใจข่าวการ
ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ร้อยละ 58.5 สนใจข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 57.1 สนใจข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี
แต่เมื่อถามถึงข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 ระบุเป็นข่าวเศรษฐกิจ รองลงมาคือ
ร้อยละ 54.1 ระบุข่าวปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ร้อยละ 50.2 ระบุข่าวความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 42.6 ระบุข่าวการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ร้อยละ 38.2 ระบุข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และร้อยละ 31.1 ระบุข่าวการปรับคณะรัฐ มนตรี
เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่า คุณพร้อมจะเสียสละเพื่อแก้ปัญหาสำคัญของประเทศเรื่องอะไรบ้าง พบว่า ร้อยละ 53.7 ระบุพร้อมจะเสีย
สละเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 44.0 ระบุพร้อมเสียสละเพื่อช่วยแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 43.5 ระบุเป็นปัญหา
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 35.5 ระบุเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 33.9 ระบุพร้อมเสียสละเพื่อช่วยแก้ปัญหาชาย
แดนไทย — กัมพูชา
ดร.นพดล ให้ข้อสังเกตว่า การสำรวจครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา เป็นข่าวที่คนไทยกำลังสนใจติดตามมากที่สุด แต่
ความรู้สึกผูกพัน (Commitment) คือการที่จะเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือเสียสละอะไรบางอย่างเพื่อร่วมแก้ปัญหายังคงมีน้อย ต่างไปจากปัญหา
เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนแต่ละคนโดยตรง การเสียสละที่เกิดขึ้นก็เพื่อตัวของประชาชนเอง และอาจเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อถามถึง
การวางตัวของคนไทยในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศซึ่งพบว่า คนไทยไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 46.8 ที่ระบุว่าจะเสียสละทุกอย่างเพื่อความมั่นคงของ
ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ รองลงมาคือร้อยละ 44.2 อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา ตามลำดับ นอกจากนี้ คน
ไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.7 ระบุคนไทยควรรักและสามัคคีกันในการแก้ปัญหาของประเทศขณะนี้ และร้อยละ 56.7 ระบุควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกให้
เด็กและเยาวชนไทยรักชาติ เสียสละให้มากขึ้น และร้อยละ 55.3 ระบุให้ยุติการขัดแย้งภายในประเทศโดยเร็ว ในขณะที่ร้อยละ 46.5 กำลังเตรียม
ตัวเตรียมใจต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศขณะนี้
เมื่อสอบถามถึงวิธีการที่อยากเห็นในการแก้ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ผลสำรวจพบว่า เกือบร้อยละร้อยคือ
ร้อยละ 98.1 อยากให้ใช้การเจรจาตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่อยากเห็นการใช้กอง
กำลังทหารเข้าแก้ปัญหา
ผ.อ.เอแบคโพลล์ ยังได้กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลที่ออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน
มา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 คิดว่ามาตรการชะลอการปรับค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ 23.4 คิดว่า
ไม่ช่วยอะไรเลย ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 คิดว่าการลดค่าไฟฟ้า หากใช้ไม่เกิน 80 ยูนิตต่อเดือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ
35.9 เห็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 คิดว่าการลดอัตราภาษีน้ำมัน 6 เดือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ 42.7
เห็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่เหลืออีกสามมาตรการ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 เห็นว่ามาตรการไม่คิดค่าโดยสารรถเมล์ร้อนจำนวน
800 คันในกรุงเทพมหานคร ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เห็นว่าการไม่คิดค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ที่ไม่ปรับอากาศ ไม่
ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย และร้อยละ 61.1 เห็นว่ามาตรการลดค่าน้ำประปาหากใช้ไม่เกิน 60 คิวต่อเดือน ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลยเช่นกัน
สำหรับเหตุผลส่วนใหญ่อยู่ที่ เป็นเพราะไม่ได้ใช้บริการ หรือใช้บริการน้อยมาก และมองว่าเป็นมาตรการระยะสั้น และเกรงว่าหลังจากผ่านไปแล้ว 6
เดือนจะมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิม หากไม่มีมาตรการอื่นๆ มารองรับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความนิยมของสาธารณชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกำลังเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมีนาคมอยู่ที่
ร้อยละ 30.7 มาเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.0 และร้อยละ 57.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนยังไม่เปลี่ยน
แปลงคืออยู่ที่ร้อยละ 40.4
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือ หลังจากรัฐบาลออก 6 มาตรการ 6 เดือนมา ทำให้กลุ่มคนที่ขออยู่ตรงกลางหายไปเพิ่มในกลุ่มคนที่สนับ
สนุน นายสมัคร สุนทรเวช มากขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะเมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบประเด็นที่สำคัญหลายประการ
คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้เป็นการทำไปเพื่อมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล แต่คนร้อยละ 31.9
คิดว่าจะมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะประชาชนมีความเห็นไม่ตรงกัน มีทั้ง
ฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนจำนวนมาก อาจเกิดการปะทะกัน ต่างฝ่ายต่างอ้างความถูกต้อง แต่คนร้อยละ 16.6 คิดว่าจะไม่วุ่นวายอะไร
เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่กับรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 52.9 ไม่เห็น
ด้วย เพราะยิ่งแก้ยิ่งทำให้ประเทศวุ่นวาย /ตอนนี้ดีอยู่แล้ว /แก้ไปเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ / เป็นรัฐธรรมนูญที่จะทำให้นักการเมืองน่าเคารพศรัทธามาก
ขึ้น / ช่วยสกัดกั้นคนไม่ดีออกจากระบบการเมืองเดิมๆ ในขณะที่ จำนวนใกล้เคียงกันหรือร้อยละ 47.1 ระบุเห็นด้วยกับรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะ คิดว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นมากกว่านี้ / จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง / และแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนได้ / ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากขึ้น
ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 คิดว่าควรมีการลงประชามติก่อนว่าจะให้แก้ไขหรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะควร
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ / จะได้มีความเป็นประชาธิปไตย / เพื่อความชอบธรรมในการแก้ไข / ลดความขัดแย้งในภายหลัง ในขณะที่ร้อยละ
16.6 เห็นว่าไม่ควรลงประชามติ เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ / ไม่ต้องการให้มีการแก้ไข / มีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม และคนที่เสียผล
ประโยชน์จะไม่ร่วมด้วย
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ข่าวปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา ได้รับความสนใจจากคนไทยขึ้นมาเป็นข่าวอันดับ
แรก ขึ้นแซงหน้าข่าวเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้เร่งรณรงค์ความรักความสามัคคีของคนในชาติ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผลสำรวจพบความยึดมั่น
ผูกพันเสียสละของคนในชาติยังน้อยอยู่ จึงต้องปลูกฝังจิตสำนึกเด็กและเยาวชนให้รักชาติและเสียสละมากขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นการเจรจา
ตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ของทั้งประเทศไทยและกัมพูชา มากกว่าการใช้กองกำลังเป็นข้อยุติของปัญหา นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า 6
มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลกำลังทำให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้รับคะแนนนิยมจากสาธารณชนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจช่วงเดือนก่อน
แต่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่คิดว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะก่อให้เกิดความวุ่นวายแน่ และเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน
การสำรวจครั้งนี้ แต่ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าต้องมีการลงประชามติถามประชาชนก่อนว่าจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ให้แก้ไข
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อเรื่องสำคัญของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเรื่องสำคัญของ
ประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา
เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา ลพบุรี จันทบุรี สมุทรสาคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรี
ธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง กระจายครอบคลุมพื้นที่และครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้นของสังคม โดยดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 15 — 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น
คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 149 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.9 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.6
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 11.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 16.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวเหตุการณ์บ้านเมืองที่สนใจติดตามในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวเหตุการณ์บ้านเมืองที่สนใจติดตามในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 80.0
2 ข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ 75.3
3 ข่าวเศรษฐกิจ 66.4
4 ข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร 61.5
5 ข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 58.5
6 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 57.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน ค่าร้อยละ
1 ข่าวเศรษฐกิจ 65.9
2 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 54.1
3 ข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ 50.2
4 ข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 42.6
5 ข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร 38.2
6 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 31.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาของประเทศที่จะยอมเสียสละเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศที่จะยอมเสียสละเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 53.7
2 ปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม 44.0
3 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 43.5
4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 35.5
5 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 33.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาอะไรบ้าง ค่าร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.0
2 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 44.2
3 ปัญหาเศรษฐกิจ 38.7
4 ปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม 37.1
5 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 26.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางตัวของคนไทย ในการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การวางตัวของคนไทยในการแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 รักและสามัคคีกัน 79.7
2 ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนไทยรักชาติ เสียสละให้มากขึ้น 56.7
3 ยุติการขัดแย้งภายใน 55.3
4 เสียสละทุกอย่างเพื่อความมั่นคงของประเทศ 46.8
5 เตรียมตัวเตรียมใจต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ 46.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการที่อยากให้เห็นในการแก้ปัญหาขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เห็นในการแก้ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา ค่าร้อยละ
1 ใช้กองกำลังทหารแก้ไขปัญหา 1.9
2 ใช้การเจรจาตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 98.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายจาก 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล
ลำดับที่ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล คิดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย
1 ชะลอการปรับค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน 76.6 23.4
2 ลดค่าไฟฟ้า หากใช้ไม่เกิน 80 ยูนิตต่อเดือน 64.1 35.9
3 ลดอัตราภาษีน้ำมัน 6 เดือน 57.3 42.7
4 ลดค่าน้ำประปาหากใช้ไม่เกิน 60 คิวต่อเดือนไม่ต้องจ่าย 38.9 61.1
5 ไม่คิดค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ที่ไม่ใช่รถไฟปรับอากาศ 37.1 62.9
6 ไม่คิดค่าโดยสารรถเมล์ร้อนจำนวน 800 คันในกรุงเทพมหานคร 21.1 78.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลา
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีนาคม มิถุนายน กรกฎาคม
1 สนับสนุน 30.7 52.0 57.1
2 ไม่สนับสนุน 52.0 40.6 40.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 7.4 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล 68.1
2 คิดว่ามุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเกิดความวุ่นวายในสังคมหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะ.....ประชาชนมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน/มีทั้งฝ่ายต่อต้านและ
ฝ่ายสนับสนุนจำนวนมาก/อาจเกิดการปะทะกัน/ต่างฝ่ายต่างอ้างความถูกต้อง 83.4
2 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย เพราะ.... น่าจะยอมรับกันได้/ไม่อยากให้คนไทยขัดแย้งกันเอง/
คนไทยน่าจะสามัคคีกัน/ คนไทยส่วนใหญ่รักความสงบ 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ.... คิดว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นมากกว่านี้/จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง/แก้ไขปัญหา
เดือดร้อนของประชาชนได้ /ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากขึ้น 47.1
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... ยิ่งแก้ยิ่งทำให้ประเทศวุ่นวาย / ตอนนี้ดีอยู่แล้ว แก้ไปเพื่อกลุ่มผลประโยชน์
/เป็นรัฐธรรมนูญที่จะทำให้นักการเมืองน่าเคารพศรัทธามากขึ้น / ช่วยสกัด
กั้นคนไม่ดีออกจากระบบการเมืองเดิมๆ 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไข/ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าควรมีการลงประชามติก่อน เพราะ....ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ จะได้มีความเป็น
ประชาธิปไตย เพื่อความชอบธรรมในการแก้ไข ลดความ
ขัดแย้งในภายหลัง 83.4
2 ไม่ควร เพราะ.... สิ้นเปลืองบประมาณโดยใช่เหตุ/ไม่ต้องการให้มีการแก้ไข/บ้านเมืองวุ่นวายมาก
พอแล้ว/มีการใช้เงินซื้อสิทธิขายเสียงอยู่ /คนที่เสียผลประโยชน์จะไม่ร่วมด้วย 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่องสำคัญของประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระ
นครศรีอยุธยา เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา ลพบุรี จันทบุรี สมุทรสาคร ชุมพร สุราษฎร์
ธานี นครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง กระจายครอบคลุมพื้นที่และครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้นของสังคม ทั้งใน
และนอกเขตเทศบาล โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 — 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 80 กำลังติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่เมื่อถามว่าข่าวเหตุการณ์บ้านเมือง
ข่าวใดที่กำลังสนใจติดตามขณะนี้ พบว่า อันดับแรก ประชาชนร้อยละ 80.0 กำลังสนใจติดตามข่าวปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา บริเวณปราสาทเขา
พระวิหาร รองลงมาคือร้อยละ 75.3 สนใจข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.4 สนใจข่าวเศรษฐกิจ ร้อยละ 61.5 สนใจข่าวการ
ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ร้อยละ 58.5 สนใจข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 57.1 สนใจข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี
แต่เมื่อถามถึงข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 ระบุเป็นข่าวเศรษฐกิจ รองลงมาคือ
ร้อยละ 54.1 ระบุข่าวปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ร้อยละ 50.2 ระบุข่าวความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 42.6 ระบุข่าวการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ร้อยละ 38.2 ระบุข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร และร้อยละ 31.1 ระบุข่าวการปรับคณะรัฐ มนตรี
เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่า คุณพร้อมจะเสียสละเพื่อแก้ปัญหาสำคัญของประเทศเรื่องอะไรบ้าง พบว่า ร้อยละ 53.7 ระบุพร้อมจะเสีย
สละเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 44.0 ระบุพร้อมเสียสละเพื่อช่วยแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 43.5 ระบุเป็นปัญหา
ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 35.5 ระบุเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 33.9 ระบุพร้อมเสียสละเพื่อช่วยแก้ปัญหาชาย
แดนไทย — กัมพูชา
ดร.นพดล ให้ข้อสังเกตว่า การสำรวจครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา เป็นข่าวที่คนไทยกำลังสนใจติดตามมากที่สุด แต่
ความรู้สึกผูกพัน (Commitment) คือการที่จะเอาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือเสียสละอะไรบางอย่างเพื่อร่วมแก้ปัญหายังคงมีน้อย ต่างไปจากปัญหา
เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชนแต่ละคนโดยตรง การเสียสละที่เกิดขึ้นก็เพื่อตัวของประชาชนเอง และอาจเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อถามถึง
การวางตัวของคนไทยในการแก้ปัญหาสำคัญของประเทศซึ่งพบว่า คนไทยไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 46.8 ที่ระบุว่าจะเสียสละทุกอย่างเพื่อความมั่นคงของ
ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ รองลงมาคือร้อยละ 44.2 อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา ตามลำดับ นอกจากนี้ คน
ไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.7 ระบุคนไทยควรรักและสามัคคีกันในการแก้ปัญหาของประเทศขณะนี้ และร้อยละ 56.7 ระบุควรเร่งปลูกฝังจิตสำนึกให้
เด็กและเยาวชนไทยรักชาติ เสียสละให้มากขึ้น และร้อยละ 55.3 ระบุให้ยุติการขัดแย้งภายในประเทศโดยเร็ว ในขณะที่ร้อยละ 46.5 กำลังเตรียม
ตัวเตรียมใจต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศขณะนี้
เมื่อสอบถามถึงวิธีการที่อยากเห็นในการแก้ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร ผลสำรวจพบว่า เกือบร้อยละร้อยคือ
ร้อยละ 98.1 อยากให้ใช้การเจรจาตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่อยากเห็นการใช้กอง
กำลังทหารเข้าแก้ปัญหา
ผ.อ.เอแบคโพลล์ ยังได้กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลที่ออกมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน
มา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.6 คิดว่ามาตรการชะลอการปรับค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ 23.4 คิดว่า
ไม่ช่วยอะไรเลย ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 คิดว่าการลดค่าไฟฟ้า หากใช้ไม่เกิน 80 ยูนิตต่อเดือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ
35.9 เห็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.3 คิดว่าการลดอัตราภาษีน้ำมัน 6 เดือนจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ แต่ร้อยละ 42.7
เห็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่เหลืออีกสามมาตรการ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 เห็นว่ามาตรการไม่คิดค่าโดยสารรถเมล์ร้อนจำนวน
800 คันในกรุงเทพมหานคร ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.9 เห็นว่าการไม่คิดค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ที่ไม่ปรับอากาศ ไม่
ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย และร้อยละ 61.1 เห็นว่ามาตรการลดค่าน้ำประปาหากใช้ไม่เกิน 60 คิวต่อเดือน ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลยเช่นกัน
สำหรับเหตุผลส่วนใหญ่อยู่ที่ เป็นเพราะไม่ได้ใช้บริการ หรือใช้บริการน้อยมาก และมองว่าเป็นมาตรการระยะสั้น และเกรงว่าหลังจากผ่านไปแล้ว 6
เดือนจะมีภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นกว่าเดิม หากไม่มีมาตรการอื่นๆ มารองรับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความนิยมของสาธารณชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกำลังเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมีนาคมอยู่ที่
ร้อยละ 30.7 มาเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ร้อยละ 52.0 และร้อยละ 57.1 ในการสำรวจครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนยังไม่เปลี่ยน
แปลงคืออยู่ที่ร้อยละ 40.4
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือ หลังจากรัฐบาลออก 6 มาตรการ 6 เดือนมา ทำให้กลุ่มคนที่ขออยู่ตรงกลางหายไปเพิ่มในกลุ่มคนที่สนับ
สนุน นายสมัคร สุนทรเวช มากขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวอาจยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะเมื่อถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบประเด็นที่สำคัญหลายประการ
คือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.1 คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้เป็นการทำไปเพื่อมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล แต่คนร้อยละ 31.9
คิดว่าจะมุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะประชาชนมีความเห็นไม่ตรงกัน มีทั้ง
ฝ่ายต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนจำนวนมาก อาจเกิดการปะทะกัน ต่างฝ่ายต่างอ้างความถูกต้อง แต่คนร้อยละ 16.6 คิดว่าจะไม่วุ่นวายอะไร
เมื่อถามผู้ตอบแบบสอบถามว่า คุณเห็นด้วยหรือไม่กับรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 52.9 ไม่เห็น
ด้วย เพราะยิ่งแก้ยิ่งทำให้ประเทศวุ่นวาย /ตอนนี้ดีอยู่แล้ว /แก้ไปเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ / เป็นรัฐธรรมนูญที่จะทำให้นักการเมืองน่าเคารพศรัทธามาก
ขึ้น / ช่วยสกัดกั้นคนไม่ดีออกจากระบบการเมืองเดิมๆ ในขณะที่ จำนวนใกล้เคียงกันหรือร้อยละ 47.1 ระบุเห็นด้วยกับรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะ คิดว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นมากกว่านี้ / จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง / และแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนได้ / ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากขึ้น
ประเด็นสำคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 คิดว่าควรมีการลงประชามติก่อนว่าจะให้แก้ไขหรือไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะควร
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ / จะได้มีความเป็นประชาธิปไตย / เพื่อความชอบธรรมในการแก้ไข / ลดความขัดแย้งในภายหลัง ในขณะที่ร้อยละ
16.6 เห็นว่าไม่ควรลงประชามติ เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ / ไม่ต้องการให้มีการแก้ไข / มีการซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม และคนที่เสียผล
ประโยชน์จะไม่ร่วมด้วย
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ข่าวปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา ได้รับความสนใจจากคนไทยขึ้นมาเป็นข่าวอันดับ
แรก ขึ้นแซงหน้าข่าวเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้เร่งรณรงค์ความรักความสามัคคีของคนในชาติ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือผลสำรวจพบความยึดมั่น
ผูกพันเสียสละของคนในชาติยังน้อยอยู่ จึงต้องปลูกฝังจิตสำนึกเด็กและเยาวชนให้รักชาติและเสียสละมากขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นการเจรจา
ตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ของทั้งประเทศไทยและกัมพูชา มากกว่าการใช้กองกำลังเป็นข้อยุติของปัญหา นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า 6
มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาลกำลังทำให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้รับคะแนนนิยมจากสาธารณชนเพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจช่วงเดือนก่อน
แต่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่คิดว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะก่อให้เกิดความวุ่นวายแน่ และเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน
การสำรวจครั้งนี้ แต่ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าต้องมีการลงประชามติถามประชาชนก่อนว่าจะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ให้แก้ไข
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อเรื่องสำคัญของประเทศ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อเรื่องสำคัญของ
ประเทศไทย กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา
เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา ลพบุรี จันทบุรี สมุทรสาคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรี
ธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง กระจายครอบคลุมพื้นที่และครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศทุกวัย และทุกชนชั้นของสังคม โดยดำเนิน
โครงการระหว่างวันที่ 15 — 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนด
ขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น
คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 149 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.5 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 20.9 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.2
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.6
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 11.5
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 16.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวเหตุการณ์บ้านเมืองที่สนใจติดตามในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวเหตุการณ์บ้านเมืองที่สนใจติดตามในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 80.0
2 ข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ 75.3
3 ข่าวเศรษฐกิจ 66.4
4 ข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร 61.5
5 ข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 58.5
6 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 57.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน ค่าร้อยละ
1 ข่าวเศรษฐกิจ 65.9
2 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 54.1
3 ข่าวเกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ 50.2
4 ข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 42.6
5 ข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร 38.2
6 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 31.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาของประเทศที่จะยอมเสียสละเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาของประเทศที่จะยอมเสียสละเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจ 53.7
2 ปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม 44.0
3 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 43.5
4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 35.5
5 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 33.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ อยากส่งกำลังใจไปให้เจ้าหน้าที่และคนที่เกี่ยวข้องในปัญหาอะไรบ้าง ค่าร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.0
2 กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร 44.2
3 ปัญหาเศรษฐกิจ 38.7
4 ปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม 37.1
5 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 26.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางตัวของคนไทย ในการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การวางตัวของคนไทยในการแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 รักและสามัคคีกัน 79.7
2 ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนไทยรักชาติ เสียสละให้มากขึ้น 56.7
3 ยุติการขัดแย้งภายใน 55.3
4 เสียสละทุกอย่างเพื่อความมั่นคงของประเทศ 46.8
5 เตรียมตัวเตรียมใจต่อสถานการณ์ปัญหาต่างๆ 46.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีการที่อยากให้เห็นในการแก้ปัญหาขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา
ลำดับที่ วิธีการที่อยากให้เห็นในการแก้ปัญหาชายแดนไทย กัมพูชา ค่าร้อยละ
1 ใช้กองกำลังทหารแก้ไขปัญหา 1.9
2 ใช้การเจรจาตกลงด้วยสันติวิธีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 98.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายจาก 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล
ลำดับที่ 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล คิดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ไม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอะไรเลย
1 ชะลอการปรับค่าก๊าซหุงต้มในครัวเรือน 76.6 23.4
2 ลดค่าไฟฟ้า หากใช้ไม่เกิน 80 ยูนิตต่อเดือน 64.1 35.9
3 ลดอัตราภาษีน้ำมัน 6 เดือน 57.3 42.7
4 ลดค่าน้ำประปาหากใช้ไม่เกิน 60 คิวต่อเดือนไม่ต้องจ่าย 38.9 61.1
5 ไม่คิดค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ที่ไม่ใช่รถไฟปรับอากาศ 37.1 62.9
6 ไม่คิดค่าโดยสารรถเมล์ร้อนจำนวน 800 คันในกรุงเทพมหานคร 21.1 78.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลา
ลำดับที่ การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี มีนาคม มิถุนายน กรกฎาคม
1 สนับสนุน 30.7 52.0 57.1
2 ไม่สนับสนุน 52.0 40.6 40.4
3 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 7.4 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกลุ่มที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล 68.1
2 คิดว่ามุ่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเกิดความวุ่นวายในสังคมหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะเกิดความวุ่นวายขึ้น เพราะ.....ประชาชนมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน/มีทั้งฝ่ายต่อต้านและ
ฝ่ายสนับสนุนจำนวนมาก/อาจเกิดการปะทะกัน/ต่างฝ่ายต่างอ้างความถูกต้อง 83.4
2 ไม่คิดว่าจะเกิดความวุ่นวาย เพราะ.... น่าจะยอมรับกันได้/ไม่อยากให้คนไทยขัดแย้งกันเอง/
คนไทยน่าจะสามัคคีกัน/ คนไทยส่วนใหญ่รักความสงบ 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ.... คิดว่าจะทำให้ประเทศดีขึ้นมากกว่านี้/จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง/แก้ไขปัญหา
เดือดร้อนของประชาชนได้ /ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากขึ้น 47.1
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.... ยิ่งแก้ยิ่งทำให้ประเทศวุ่นวาย / ตอนนี้ดีอยู่แล้ว แก้ไปเพื่อกลุ่มผลประโยชน์
/เป็นรัฐธรรมนูญที่จะทำให้นักการเมืองน่าเคารพศรัทธามากขึ้น / ช่วยสกัด
กั้นคนไม่ดีออกจากระบบการเมืองเดิมๆ 52.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไข/ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าควรมีการลงประชามติก่อน เพราะ....ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมตัดสินใจ จะได้มีความเป็น
ประชาธิปไตย เพื่อความชอบธรรมในการแก้ไข ลดความ
ขัดแย้งในภายหลัง 83.4
2 ไม่ควร เพราะ.... สิ้นเปลืองบประมาณโดยใช่เหตุ/ไม่ต้องการให้มีการแก้ไข/บ้านเมืองวุ่นวายมาก
พอแล้ว/มีการใช้เงินซื้อสิทธิขายเสียงอยู่ /คนที่เสียผลประโยชน์จะไม่ร่วมด้วย 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-