ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เนื่องในวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่ง
ชาติ ถือได้ว่า ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์และความภูมิใจของคนไทย ที่เคยวิจัยพบว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อความสุขของคนไทย
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ทำวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ และปัญหา
ในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,452 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ไม่ทราบว่า วันภาษา
ไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 9.9 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
เมื่อถามประชาชนที่ถูกศึกษาว่า ภาษาไทยมีพยัญชนะกี่ตัว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 ทราบและตอบได้ถูกต้องว่ามี 44 ตัว ในขณะที่
ร้อยละ 21.5 ระบุไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ภาษาไทยมีสระทั้งหมดกี่รูป พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 13.3
เท่านั้นที่ระบุทราบและตอบว่ามี 21 รูป นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.7 ไม่ทราบว่า ภาษาไทยมีวรรณยุกต์กี่รูป ในขณะที่เพียงร้อยละ 26.3 เท่า
นั้นที่รู้ว่ามี 4 รูป 5 เสียง
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ไม่สามารถให้ความหมายของ ร้อยแก้ว ได้ว่าคืออะไร ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่บอก
ความหมายของ ร้อยแก้วได้ เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ไม่สามารถบอกความหมายของ ร้อยกรอง ได้ว่าคืออะไร มีเพียงร้อยละ 10.4
เท่านั้นที่สามารถบอกความหมายของร้อยกรองได้
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าพยัญชนะในภาษาไทยตัวใดที่ชอบมากที่สุด พบว่า พยัญชนะที่ประชาชนชอบมากที่สุดหรือร้อยละ 29.3 ระบุเป็น
พยัญชนะ ก.ไก่ รองลงมาหรือร้อยละ 11.2 ระบุเป็น ส. เสือ อันดับสามหรือร้อยละ 7.8 ระบุเป็น ร.เรือ อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 4.2 ระบุเป็น
อ.อ่าง และอันดับห้า หรือร้อยละ 3.2 ระบุเป็น ม.ม้า ตามลำดับ ส่วนร้อยละที่เหลือ ระบุพยัญชนะตัวอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม พยัญชนะในภาษาไทยที่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกสับสนมากที่สุด คือร้อยละ 15.8 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฎ” และร้อย
ละ 14.5 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฏ” ในขณะที่รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ระบุเป็น “ร” และ ร้อยละ 6.0 ระบุเป็น “ฬ” ร้อยละ 5.6 ระบุ
เป็น “ฐ” และร้อยละ 4.1 ระบุเป็น “ฑ” ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ผู้ถูกศึกษามักจะประสบด้วยตนเอง พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.5 ระบุ เขียนผิด
รองลงมาคือร้อยละ 27.2 ระบุ พูดผิด ร้อยละ 27.2 เท่ากันระบุ จับใจความ เข้าใจผิด ร้อยละ 20.2 ระบุ ฟังผิด และร้อยละ 19.1 ระบุ อ่าน
ผิด ตามลำดับ
สำหรับ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุกลุ่มวัยรุ่น รองลงมาคือร้อย
ละ 48.5 ระบุ กลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 34.6 ระบุกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 31.8 ระบุกลุ่มนักการเมือง และร้อยละ 19.6 ระบุสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดีในสายตาประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.7 ระบุเป็นรายการคุณพระช่วย รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุเป็นรายการกระจกหกด้าน ร้อยละ 8.3 ระบุรายการชิงช้าสวรรค์
ร้อยละ 6.4 ระบุรายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป.4 ร้อยละ 5.6 ระบุรายการภาษาไทยวันละคำ และร้อยละ 5.0 ระบุรายการจดหมายเหตุกรุงศรี และ
ร้อยละ 10.7 ระบุรายการอื่นๆ เช่น เกมทศกัณฑ์ รายการทุ่งแสงตะวัน รายการคนค้นฅน และรายการกบนอกกะลา เป็นต้น
เมื่อถามถึงการแก้ไขปัญหาภาษาไทยเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.8 ระบุต้องเร่งแก้ไข
ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุไม่ต้องเร่งแก้ไข โดยร้อยละ 23.0 ระบุ ควรมีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ
19.0 ระบุ สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น ร้อยละ 18.4 ระบุอนุรักษ์การพูด การอ่านแบบไทยๆ ร้อยละ 15.6 ระบุจัดประกวดการใช้ภาษาไทย แข่งขัน
คัดลายมือ แข่งขันแต่งกลอน ร้อยละ 15.0 ระบุส่งเสริมการอ่าน การพูดภาษาไทยในสถาบันการศึกษา และร้อยละ 8.8 ระบุจัดการแข่งขันอ่านร้อย
แก้ว ร้อยกรองระดับประเทศ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทำให้คนไทยรู้สึกรักและต้องการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.4 ระบุศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุ ภาษาไทย ร้อยละ 59.6 ระบุ การช่วยเหลือมีน้ำใจต่อกัน
ร้อยละ 53.8 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 53.5 ระบุ การเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 53.1 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 51.9 ระบุความ
สามัคคี ในขณะที่ร้อยละ 43.5 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 28.4 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรมตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวต่อว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการใช้ภาษาไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักภาษา
ไทยได้ดีพอ ไม่รู้ว่ามีสระ และ วรรณยุกต์ของภาษาไทยกี่รูป กี่เสียง คนไทยจำนวนมากยังเขียนภาษาไทยผิด พูดผิด จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด และ
ที่สำคัญคือ กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการใช้ภาษาไทยคือกลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ประชาชนโดยส่วนใหญ่
ต้องการให้แก้ไขปัญหา และอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในกลุ่มประชาชนอย่างเร่งด่วน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวันภาษาไทยและภาษาไทยของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทย
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวันภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยว กับวันภาษา
ไทยแห่งชาติและปัญหาในการใช้ภาษาไทย:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,452
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 97 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.3 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 29.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 16.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.9 ระบุมีรายได้ 5,001—10,000 บาท
ร้อยละ 11.2 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.5 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท
ร้อยละ 8.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 17.0 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย
ลำดับที่ การทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 รับทราบว่า คือ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี 9.9
2 ไม่ทราบ 90.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย
ลำดับที่ องค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย ทราบค่าร้อยละ ไม่ทราบค่าร้อยละ
1 พยัญชนะไทย 78.5 21.5
2 สระในภาษาไทย 13.3 86.7
3 วรรณยุกต์ในภาษาไทย 26.3 73.7
4 ความหมายของร้อยแก้ว 7.6 92.4
5 ความหมายของร้อยกรอง 10.4 89.6
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด (ตอบได้เพียงตัวเดียว)
ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 พยัญชนะ “ก” 29.3
2 พยัญชนะ “ส” 11.2
3 พยัญชนะ “ร” 7.8
4 พยัญชนะ “อ” 4.2
5 พยัญชนะ “ม” 3.2
6 พยัญชนะ “น” 3.1
7 พยัญชนะ “จ” 2.7
8 พยัญชนะ “ง” 2.6
9 พยัญชนะ “ท” 2.6
10 พยัญชนะ “ธ” 2.6
11 พยัญชนะอื่นๆ 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด
ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 พยัญชนะ “ฎ” 15.8
2 พยัญชนะ “ฏ” 14.5
3 พยัญชนะ “ร” 7.5
4 พยัญชนะ “ฬ” 6.0
5 พยัญชนะ “ฐ” 5.6
6 พยัญชนะ “ฑ” 4.1
7 พยัญชนะ “ฅ” 3.9
8 พยัญชนะ “ฒ” 3.3
9 พยัญชนะ “ศ” 3.0
10 พยัญชนะ “ฌ” 2.8
11 พยัญชนะ “ซ” 2.6
12 พยัญชนะ “ส” 2.6
13 พยัญชนะอื่นๆ 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาการใช้ภาษาไทยที่มักจะประสบพบเจอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ตนเองมักจะประสบพบเจอ ค่าร้อยละ
1 เขียนผิด 54.5
2 พูดผิด 27.2
3 จับใจความ เข้าใจผิด 27.2
4 ฟังผิด 20.2
5 อ่านผิด 19.1
6 อื่นๆ ได้แก่ ภาษาวิบัติ/พูดเหมือนลิ้นพันกัน/พูดภาษาไทยสำเนียงต่างประเทศ 1.7
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 กลุ่มวัยรุ่น 77.5
2 ดารานักแสดง 48.5
3 นักร้อง 34.6
4 นักการเมือง 31.8
5 สื่อมวลชน 19.6
6 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ 16.6
7 พิธีกรรายการโทรทัศน์ 14.1
8 ผู้ประกาศข่าว 11.5
9 ครูอาจารย์ 8.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี ค่าร้อยละ
1 รายการคุณพระช่วย (ช่อง 9) 60.7
2 รายการกระจกหกด้าน (ช่อง 7) 18.3
3 รายการชิงช้าสวรรค์ (ช่อง 9) 8.3
4 รายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป. 4 (ช่อง 3) 6.4
6 รายการจดหมายเหตุกรุงศรี (ช่อง 7) 5.0
7 อื่นๆ อาทิ รายการเกมทศกัณฑ์ /รายการทุ่งแสงตะวัน /รายการคนค้นฅน /รายการกบนอกกะลา 10.7
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้
ลำดับที่ การเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ค่าร้อยละ
1 ต้องเร่งแก้ไข 89.8
2 ไม่ต้องเร่งแก้ไข 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง ค่าร้อยละ
1 มีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น 23.0
2 สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น/จัดอบรมเพื่อแบ่งปันความรู้ทางภาษา 19.0
3 อนุรักษ์การพูด-การอ่านแบบไทยๆ 18.4
4 จัดประกวดการใช้ภาษาไทย/แข่งขันคัดลายมือไทย /แข่งขันแต่งกลอน 15.6
5 ส่งเสริมการอ่าน-การพูดแบบไทยในโรงเรียน/สถานศึกษา 15.0
6 จัดการแข่งขันการอ่านร้อยแก้ว-ร้อยกรอง/การท่องอาขยานระดับประเทศ 8.8
7 สนับสนุนการร้อง-ฟังเพลงไทยเดิม หรือเพลงไทยลูกทุ่ง 7.2
8 อื่นๆ อาทิ บังคับให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับจนถึงระดับปริญญาตรี/การจัดเวทีสาธารณะ
เกี่ยวกับภาษาไทย/การจัดเข้าค่ายภาษาไทย 7.2
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย ค่าร้อยละ
1 ศิลปวัฒนธรรม 65.4
2 ภาษาไทย 61.7
3 การช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน 59.6
4 ความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ 53.8
5 การเคารพผู้อาวุโส 53.5
6 ความรักชาติ 53.1
7 ความสามัคคี 51.9
8 การให้อภัย 43.5
9 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม 28.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชาติ ถือได้ว่า ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์และความภูมิใจของคนไทย ที่เคยวิจัยพบว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อความสุขของคนไทย
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ทำวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติ และปัญหา
ในการใช้ภาษาไทย: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 2,452 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 พบประเด็นแรกที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.1 ไม่ทราบว่า วันภาษา
ไทยแห่งชาติตรงกับวันใด มีเพียงร้อยละ 9.9 ที่ทราบและตอบถูกว่า วันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี
เมื่อถามประชาชนที่ถูกศึกษาว่า ภาษาไทยมีพยัญชนะกี่ตัว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.5 ทราบและตอบได้ถูกต้องว่ามี 44 ตัว ในขณะที่
ร้อยละ 21.5 ระบุไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ภาษาไทยมีสระทั้งหมดกี่รูป พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 13.3
เท่านั้นที่ระบุทราบและตอบว่ามี 21 รูป นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.7 ไม่ทราบว่า ภาษาไทยมีวรรณยุกต์กี่รูป ในขณะที่เพียงร้อยละ 26.3 เท่า
นั้นที่รู้ว่ามี 4 รูป 5 เสียง
ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 92.4 ไม่สามารถให้ความหมายของ ร้อยแก้ว ได้ว่าคืออะไร ในขณะที่เพียงร้อยละ 7.6 เท่านั้นที่บอก
ความหมายของ ร้อยแก้วได้ เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ไม่สามารถบอกความหมายของ ร้อยกรอง ได้ว่าคืออะไร มีเพียงร้อยละ 10.4
เท่านั้นที่สามารถบอกความหมายของร้อยกรองได้
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามว่าพยัญชนะในภาษาไทยตัวใดที่ชอบมากที่สุด พบว่า พยัญชนะที่ประชาชนชอบมากที่สุดหรือร้อยละ 29.3 ระบุเป็น
พยัญชนะ ก.ไก่ รองลงมาหรือร้อยละ 11.2 ระบุเป็น ส. เสือ อันดับสามหรือร้อยละ 7.8 ระบุเป็น ร.เรือ อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 4.2 ระบุเป็น
อ.อ่าง และอันดับห้า หรือร้อยละ 3.2 ระบุเป็น ม.ม้า ตามลำดับ ส่วนร้อยละที่เหลือ ระบุพยัญชนะตัวอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม พยัญชนะในภาษาไทยที่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกสับสนมากที่สุด คือร้อยละ 15.8 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฎ” และร้อย
ละ 14.5 ระบุเป็น พยัญชนะ “ฏ” ในขณะที่รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ระบุเป็น “ร” และ ร้อยละ 6.0 ระบุเป็น “ฬ” ร้อยละ 5.6 ระบุ
เป็น “ฐ” และร้อยละ 4.1 ระบุเป็น “ฑ” ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ผู้ถูกศึกษามักจะประสบด้วยตนเอง พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.5 ระบุ เขียนผิด
รองลงมาคือร้อยละ 27.2 ระบุ พูดผิด ร้อยละ 27.2 เท่ากันระบุ จับใจความ เข้าใจผิด ร้อยละ 20.2 ระบุ ฟังผิด และร้อยละ 19.1 ระบุ อ่าน
ผิด ตามลำดับ
สำหรับ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุกลุ่มวัยรุ่น รองลงมาคือร้อย
ละ 48.5 ระบุ กลุ่มดารานักแสดง ร้อยละ 34.6 ระบุกลุ่มนักร้อง ร้อยละ 31.8 ระบุกลุ่มนักการเมือง และร้อยละ 19.6 ระบุสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดีในสายตาประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.7 ระบุเป็นรายการคุณพระช่วย รองลงมาคือร้อยละ 18.3 ระบุเป็นรายการกระจกหกด้าน ร้อยละ 8.3 ระบุรายการชิงช้าสวรรค์
ร้อยละ 6.4 ระบุรายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป.4 ร้อยละ 5.6 ระบุรายการภาษาไทยวันละคำ และร้อยละ 5.0 ระบุรายการจดหมายเหตุกรุงศรี และ
ร้อยละ 10.7 ระบุรายการอื่นๆ เช่น เกมทศกัณฑ์ รายการทุ่งแสงตะวัน รายการคนค้นฅน และรายการกบนอกกะลา เป็นต้น
เมื่อถามถึงการแก้ไขปัญหาภาษาไทยเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.8 ระบุต้องเร่งแก้ไข
ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ระบุไม่ต้องเร่งแก้ไข โดยร้อยละ 23.0 ระบุ ควรมีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ
19.0 ระบุ สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น ร้อยละ 18.4 ระบุอนุรักษ์การพูด การอ่านแบบไทยๆ ร้อยละ 15.6 ระบุจัดประกวดการใช้ภาษาไทย แข่งขัน
คัดลายมือ แข่งขันแต่งกลอน ร้อยละ 15.0 ระบุส่งเสริมการอ่าน การพูดภาษาไทยในสถาบันการศึกษา และร้อยละ 8.8 ระบุจัดการแข่งขันอ่านร้อย
แก้ว ร้อยกรองระดับประเทศ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ทำให้คนไทยรู้สึกรักและต้องการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.4 ระบุศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือร้อยละ 61.7 ระบุ ภาษาไทย ร้อยละ 59.6 ระบุ การช่วยเหลือมีน้ำใจต่อกัน
ร้อยละ 53.8 ระบุความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ ร้อยละ 53.5 ระบุ การเคารพผู้อาวุโส ร้อยละ 53.1 ระบุความรักชาติ ร้อยละ 51.9 ระบุความ
สามัคคี ในขณะที่ร้อยละ 43.5 ระบุการให้อภัย และร้อยละ 28.4 ระบุความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรมตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา กล่าวต่อว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการใช้ภาษาไทยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤต เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักภาษา
ไทยได้ดีพอ ไม่รู้ว่ามีสระ และ วรรณยุกต์ของภาษาไทยกี่รูป กี่เสียง คนไทยจำนวนมากยังเขียนภาษาไทยผิด พูดผิด จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด และ
ที่สำคัญคือ กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการใช้ภาษาไทยคือกลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ประชาชนโดยส่วนใหญ่
ต้องการให้แก้ไขปัญหา และอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในกลุ่มประชาชนอย่างเร่งด่วน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวันภาษาไทยและภาษาไทยของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทย
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด็นสำคัญอื่นๆ เกี่ยวกับวันภาษาไทยและการใช้ภาษาไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยว กับวันภาษา
ไทยแห่งชาติและปัญหาในการใช้ภาษาไทย:กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจในระหว่างวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร
เป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้น
ภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,452
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบ
ถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 97 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.3 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 29.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.9 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 16.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.9 ระบุมีรายได้ 5,001—10,000 บาท
ร้อยละ 11.2 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.5 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท
ร้อยละ 8.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 17.0 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย
ลำดับที่ การทราบเกี่ยวกับวันภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 รับทราบว่า คือ วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี 9.9
2 ไม่ทราบ 90.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย
ลำดับที่ องค์ประกอบสำคัญของภาษาไทย ทราบค่าร้อยละ ไม่ทราบค่าร้อยละ
1 พยัญชนะไทย 78.5 21.5
2 สระในภาษาไทย 13.3 86.7
3 วรรณยุกต์ในภาษาไทย 26.3 73.7
4 ความหมายของร้อยแก้ว 7.6 92.4
5 ความหมายของร้อยกรอง 10.4 89.6
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด (ตอบได้เพียงตัวเดียว)
ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่ชอบมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 พยัญชนะ “ก” 29.3
2 พยัญชนะ “ส” 11.2
3 พยัญชนะ “ร” 7.8
4 พยัญชนะ “อ” 4.2
5 พยัญชนะ “ม” 3.2
6 พยัญชนะ “น” 3.1
7 พยัญชนะ “จ” 2.7
8 พยัญชนะ “ง” 2.6
9 พยัญชนะ “ท” 2.6
10 พยัญชนะ “ธ” 2.6
11 พยัญชนะอื่นๆ 30.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด
ลำดับที่ พยัญชนะในภาษาไทยที่สับสนในการใช้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 พยัญชนะ “ฎ” 15.8
2 พยัญชนะ “ฏ” 14.5
3 พยัญชนะ “ร” 7.5
4 พยัญชนะ “ฬ” 6.0
5 พยัญชนะ “ฐ” 5.6
6 พยัญชนะ “ฑ” 4.1
7 พยัญชนะ “ฅ” 3.9
8 พยัญชนะ “ฒ” 3.3
9 พยัญชนะ “ศ” 3.0
10 พยัญชนะ “ฌ” 2.8
11 พยัญชนะ “ซ” 2.6
12 พยัญชนะ “ส” 2.6
13 พยัญชนะอื่นๆ 31.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาการใช้ภาษาไทยที่มักจะประสบพบเจอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่ตนเองมักจะประสบพบเจอ ค่าร้อยละ
1 เขียนผิด 54.5
2 พูดผิด 27.2
3 จับใจความ เข้าใจผิด 27.2
4 ฟังผิด 20.2
5 อ่านผิด 19.1
6 อื่นๆ ได้แก่ ภาษาวิบัติ/พูดเหมือนลิ้นพันกัน/พูดภาษาไทยสำเนียงต่างประเทศ 1.7
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทย ค่าร้อยละ
1 กลุ่มวัยรุ่น 77.5
2 ดารานักแสดง 48.5
3 นักร้อง 34.6
4 นักการเมือง 31.8
5 สื่อมวลชน 19.6
6 ผู้ดำเนินรายการวิทยุ 16.6
7 พิธีกรรายการโทรทัศน์ 14.1
8 ผู้ประกาศข่าว 11.5
9 ครูอาจารย์ 8.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รายการโทรทัศน์ที่ช่วยอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยได้อย่างดี ค่าร้อยละ
1 รายการคุณพระช่วย (ช่อง 9) 60.7
2 รายการกระจกหกด้าน (ช่อง 7) 18.3
3 รายการชิงช้าสวรรค์ (ช่อง 9) 8.3
4 รายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้ ป. 4 (ช่อง 3) 6.4
6 รายการจดหมายเหตุกรุงศรี (ช่อง 7) 5.0
7 อื่นๆ อาทิ รายการเกมทศกัณฑ์ /รายการทุ่งแสงตะวัน /รายการคนค้นฅน /รายการกบนอกกะลา 10.7
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้
ลำดับที่ การเร่งแก้ไขอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ภาษาไทยในช่วงเวลานี้ ค่าร้อยละ
1 ต้องเร่งแก้ไข 89.8
2 ไม่ต้องเร่งแก้ไข 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรมที่จะช่วยรณรงค์ให้คนไทยหันมานิยมใช้ภาษาไทยและใช้ได้อย่างถูกต้อง ค่าร้อยละ
1 มีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้มากขึ้น 23.0
2 สอนวิชาภาษาไทยให้มากขึ้น/จัดอบรมเพื่อแบ่งปันความรู้ทางภาษา 19.0
3 อนุรักษ์การพูด-การอ่านแบบไทยๆ 18.4
4 จัดประกวดการใช้ภาษาไทย/แข่งขันคัดลายมือไทย /แข่งขันแต่งกลอน 15.6
5 ส่งเสริมการอ่าน-การพูดแบบไทยในโรงเรียน/สถานศึกษา 15.0
6 จัดการแข่งขันการอ่านร้อยแก้ว-ร้อยกรอง/การท่องอาขยานระดับประเทศ 8.8
7 สนับสนุนการร้อง-ฟังเพลงไทยเดิม หรือเพลงไทยลูกทุ่ง 7.2
8 อื่นๆ อาทิ บังคับให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับจนถึงระดับปริญญาตรี/การจัดเวทีสาธารณะ
เกี่ยวกับภาษาไทย/การจัดเข้าค่ายภาษาไทย 7.2
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้รู้สึกรักและต้องการรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย ค่าร้อยละ
1 ศิลปวัฒนธรรม 65.4
2 ภาษาไทย 61.7
3 การช่วยเหลือ มีน้ำใจต่อกัน 59.6
4 ความกตัญญู รู้จักตอบแทนบุญคุณ 53.8
5 การเคารพผู้อาวุโส 53.5
6 ความรักชาติ 53.1
7 ความสามัคคี 51.9
8 การให้อภัย 43.5
9 ความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม 28.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-