ที่มาของโครงการ
เนื่องในโอกาสปี 2548 กำลังจะผ่านพ้นไป ย่างก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2549 ในรอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องที่น่า
ยินดี เรื่องราวที่สร้างความตกใจสะเทือนใจ หรือเรื่องรา วที่ขัดหรือฝืนต่อความรู้สึก ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลต่างๆ หลากหลายสาขาวิชาชีพ
แสดงบทบาทของตนที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สร้างความน่าประทับใจ บ้างก็สร้างความขุ่นเคืองใจ บ้างก็น่าเอาเยี่ยงอย่างเป็นผู้นำทางความคิด
ประเด็น
เบาๆ แต่มีความน่าสนใจอยู่ที่ว่าเหตุการณ์และบุคคลใดจะเป็นที่สุดแห่งปีในด้านต่างๆ ซึ่งเหตุการณ์และบุคคลนั้นสมควรที่จะมีการสำรวจตามหลักวิชาการ
และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับอ้างอิงต่อไปในอนาคต
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในทุกภูมิภาคทั่ว
ประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์ นำมาประมวลผลและเรียบเรียงจนมาเป็นรายงานผลการสำรวจ “ที่สุดแห่งปี 2548” ฉบับนี้
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจเหตุการณ์ที่น่ายินดี เหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ ตกใจ และเหตุการณ์ที่ขัดหรือฝืนต่อความรู้สึกของประชาชน ในรอบปี 2548
2. เพื่อสำรวจบุคคลยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 ในด้านที่สาธารณชนให้ความสนใจ
3. เพื่อสำรวจบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดในด้านต่างๆ ที่สำคัญ
4. ผลสำรวจที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมและบรรทัดฐานในสังคม ซึ่งอาจเป็นทิศทางพฤติกรรมทางสังคมในอนาคต
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ฉายารัฐบาลและบุคคลการเมืองแห่งปี 2548 ใน
สายตาของประชาชน” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 24 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนโดยทั่วไปที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 32 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำ สำมะโน จาก 32 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่ว
ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อ่างทอง นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม เลย หนองคาย สกลนคร ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ สุโขทัย
กำแพงเพชร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ ระนอง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 14,538 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 เป็นหญิง ร้อยละ 46.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 28.4
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 13.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 12.7 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 74.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.9
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 23.4 ระบุอาชีพ/
เกษตรกรรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7
ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจติดตาม ในรอบปี พ.ศ. 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจติดตาม ร้อยละ
1 ข่าว พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง 84.1
2 ข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ 79.2
3 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง นายกรัฐมนตรี — นายสนธิ ลิ้มทองกุล 72.9
4 ข่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 71.1
5 ข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีทุจริตเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX ) 70.4
6 ข่าวการเมืองแทรกแซงการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าสตง. 65.2
7 ข่าวการแทรกแซงสื่อสารมวลชน 63.3
8 ข่าวการจัดตั้งรัฐบาล / แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 62.8
9 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 59.4
10 ข่าวการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. 58.8
ตารางที่ 2 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่สร้างความปิติยินดี/ ดีใจ/ประทับใจ ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่สร้างความปิติยินดี /ความดีใจ / ประทับใจ ร้อยละ
1 ข่าวพระประสูติกาล พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ 94.8
2 ข่าวประชาชนชาวไทยร่วมใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย “สึนามิ” 92.1
3 ข่าวพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมาย
จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล 85.3
4 ข่าวพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงได้เหรียญทองซีเกมส์ 77.9
5 ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ 71.9
6 ข่าวการทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ 67.1
7 ข่าวการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ 61.8
8 ข่าวการประกวดนางงามจักรวาล 56.4
9 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด 45.7
10 ข่าว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย 42.9
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่สร้างความสะเทือนใจ/ ตกใจ ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่สร้างความสะเทือนใจ/ตกใจ ร้อยละ
1 ช่าวเกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิ 92.7
2 ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.3
3 ข่าวฆ่าพระสงฆ์ — เผาวัดที่ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี 88.7
4 ข่าว 2 นาวิกโยธินเสียชีวิตที่ตันหยงลิมอ จ.นราธิวาส 82.6
5 ข่าวเกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิ 79.7
6 ข่าวน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้ 77.4
7 ข่าวพ่อนักกีฬาคาราเต้โดเหรียญทองซีเกมส์ถูกลูกชายแทงเสียชีวิต 74.9
8 ข่าวน้องฮ่องเต้ เหยื่อระเบิดสนามบินหาดใหญ่ 70.3
9 ข่าวแทงเด็กนักเรียนเซนต์โยเซฟ 65.4
10 ข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนกรอบใหม่ 59.8
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ขัดความรู้สึก / ฝืนความรู้สึก ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ขัดความรู้สึก / ฝืนความรู้สึก ร้อยละ
1 ข่าวการเปิดอาบอบนวดหน้าสถานศึกษา 74.9
2 ข่าวการปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ 71.6
3 ข่าวอีซี่บายคิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด 70.3
4 ข่าวการโกงเหรียญทองซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ 69.8
5 ข่าวทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX) 65.6
6 ข่าวการถ่ายโอนครูไปสังกัดองค์การบริการส่วนท้องถิ่น 63.3
7 ข่าวแหม่มคัทลียาท้อง 58.4
8 ข่าวบ้านสีดำของคุณรัตนา สัจเทพ 50.2
9 ข่าวเซเว่นอีเลฟเว่นฝ่าฝืนตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย 49.5
10 ข่าวการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 36.1
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับนักสื่อสารมวลชนที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักสื่อสารมวลชนที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา 32.5
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.9
3 นายกิตติ สิงหาปัด 10.1
4 นางสาวพัชรศรี เบญจมาศ 9.8
5 นายขรรค์ชัย บุญปาน 8.1
6 นายกนก รัตน์วงค์สกุล 6.9
7 นายสุทธิชัย หยุ่น 5.0
8 นางสาวอรปรียา หุ่นศาสตร์ 4.8
9 นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ 4.0
10 นายพิสิษฐ์ กีรติการกุล 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงการจัด 10 อันดับนักธุรกิจที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักธุรกิจที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายตัน ภาสกรนที 23.3
2 นายธนินทร์ เจียรวนนท์ 19.9
3 นายปัญญา นิรันดร์กุล 14.6
4 นายบัณฑูร ล่ำซำ 10.1
5 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี 9.4
6 นายไพบูลย์ ดำรงค์ชัยธรรม 6.7
7 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ 5.5
8 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 4.3
9 นางดารุณี กฤตบุญญาลัย 3.9
10 นายวิทวัส สุนทรวิเนตร 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 34.9
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 20.2
3 นายชวน หลีกภัย 12.6
4 นายเสนาะ เทียนทอง 9.5
5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 6.3
6 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 4.7
7 นายบรรหาร ศิลปอาชา 4.2
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 3.8
9 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 2.5
10 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 33.9
2 นายเสนาะ เทียนทอง 16.9
3 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 12.5
4 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 10.1
5 นายวัฒนา เมืองสุข 9.3
6 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 5.8
7 นางปวีณา หงสกุล 3.6
8 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 3.2
9 นายพินิจ จารุสมบัติ 2.7
10 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองฝ่ายค้านยอดเยี่ยมแห่งปี 2548
(ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองฝ่ายค้านยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 29.6
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.1
3 นายชวน หลีกภัย 13.2
4 นายบรรหาร ศิลปอาชา 11.4
5 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 8.9
6 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ 7.8
7 นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ 5.6
8 นายอลงกรณ์ พลบุตร 4.3
9 นายกรณ์ จาติกวณิชย์ 3.1
10 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการจัด 10 อันดับกระทรวงที่มีผลงานยอดเยี่ยมแห่งปี 2548
(ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ กระทรวงที่มีผลงานยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 กระทรวงสาธารณสุข 22.3
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 19.0
3 กระทรวงคมนาคม 16.1
4 กระทรวงศึกษาธิการ 10.4
5 กระทรวงกลาโหม 8.7
6 กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 6.9
7 กระทรวงมหาดไทย 5.9
8 กระทรวงยุติธรรม 4.3
9 กระทรวงการคลัง 4.0
10 กระทรวงแรงงาน 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงการจัด 10 อันดับบุคคลแห่งปี 2548 (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ บุคคลแห่งปี ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 31.5
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 10.5
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 10.1
5 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา 9.7
6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 7.0
7 แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 6.2
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 4.1
9 นายอานันท์ ปันยารชุน 3.6
10 นายธงไชย แมคอินไตย์ 1.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงการจัด 10 อันดับฉายารัฐบาลแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายารัฐบาลแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลไฟไหม้ฟาง 38.7
2 รัฐบาลเสือนอนกิน 22.3
3 รัฐบาลซานตาครอส 22.3
4 รัฐบาลโชว์ห่วย 17.9
5 รัฐบาลปากหวาน 17.9
6 รัฐบาลไฮเทค 14.9
7 รัฐบาลการตลาดขาลง 14.4
8 รัฐบาลจอมโปรเจค 14.4
9 รัฐบาลจอมสร้างภาพ 13.4
10 รัฐบาลจอมโต้รุ่ง 13.0
ตารางที่ 13 แสดงการจัด 10 อันดับฉายาฝ่ายค้านแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายาฝ่ายค้านแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 จอมแฉ 37.0
2 เสือหลับ 25.9
3 เต่าล้านปี 21.1
4 จอมตรวจสอบ 17.9
5 ขาลุย 16.9
6 ไฟส่องทาง 16.9
7 ฝ่ายค้านผู้เยือกเย็น 15.8
8 จอมสร้างภาพ 15.3
9 จิ๋วแต่แจ๋ว 13.7
10 ขุนศึกใบมีดโกน 12.1
ตารางที่ 14 แสดงการจัด 10 อันดับฉายาวุฒิสมาชิกแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายาวุฒิสมาชิกแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง 36.9
2 ราชสีห์เขี้ยวหัก 24.6
3 จอมเฉื่อย 23.5
4 ร่างทรง 23.5
5 เปาบุ้นจิ้น 23.5
6 หมูพะโล้ 19.0
7 สมองจิ๋ว 17.9
8 ไม้กระดาน 15.6
9 สภาโจ๊ก 13.4
10 มือปืนรับจ้าง 9.1
ตารางที่ 15 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ควบคุมราคาสินค้าและราคาน้ำมัน 32.1
2 แก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน 26.3
3 แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น 24.3
4 ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงไม่เลือกปฏิบัติ 19.3
5 ปรับคณะรัฐมนตรี 18.5
6 แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 17.8
7 ปฏิรูปการศึกษา 15.5
8 แก้ไขปัญหาจราจร 15.3
9 เลิกทะเลาะกัน 14.8
10 ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 14.5
ตารางที่ 16 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากฝ่ายค้าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 ให้มีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนการอภิปราย 27.2
2 อยากให้ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาบ้านเมือง 16.6
3 เป็นหูเป็นตาให้ประชาชน/ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 15.7
4 เน้นบทบาทเชิงสร้างสรรค์มากกว่านี้ 15.4
5 เลิกสาดโคลนใส่กัน 11.0
6 ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 5.3
7 มีคุณธรรม 5.3
8 ทันต่อสถานการณ์ 4.8
9 อยากให้เป็นรัฐบาลในสมัยหน้า 3.1
10 ให้เร่งช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.8
ตารางที่ 17 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากวุฒิสภา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทำงานอย่างจริงจัง 31.3
2 มีความซื่อสัตย์/ยุติธรรม 23.7
3 มีความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 19.5
4 ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน 9.9
5 มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 8.8
6 ให้ตรวจสอบการออกกฎหมายต่างๆให้ดี 3.8
7 ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 1.9
8 กลั่นกรองการทำงานของรัฐบาล 1.5
9 เป็นที่พึ่งของประชาชน 1.1
10 มีความเป็นอิสระ 0.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เนื่องในโอกาสปี 2548 กำลังจะผ่านพ้นไป ย่างก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2549 ในรอบปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งเรื่องที่น่า
ยินดี เรื่องราวที่สร้างความตกใจสะเทือนใจ หรือเรื่องรา วที่ขัดหรือฝืนต่อความรู้สึก ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลต่างๆ หลากหลายสาขาวิชาชีพ
แสดงบทบาทของตนที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สร้างความน่าประทับใจ บ้างก็สร้างความขุ่นเคืองใจ บ้างก็น่าเอาเยี่ยงอย่างเป็นผู้นำทางความคิด
ประเด็น
เบาๆ แต่มีความน่าสนใจอยู่ที่ว่าเหตุการณ์และบุคคลใดจะเป็นที่สุดแห่งปีในด้านต่างๆ ซึ่งเหตุการณ์และบุคคลนั้นสมควรที่จะมีการสำรวจตามหลักวิชาการ
และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับอ้างอิงต่อไปในอนาคต
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในทุกภูมิภาคทั่ว
ประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์ นำมาประมวลผลและเรียบเรียงจนมาเป็นรายงานผลการสำรวจ “ที่สุดแห่งปี 2548” ฉบับนี้
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจเหตุการณ์ที่น่ายินดี เหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ ตกใจ และเหตุการณ์ที่ขัดหรือฝืนต่อความรู้สึกของประชาชน ในรอบปี 2548
2. เพื่อสำรวจบุคคลยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 ในด้านที่สาธารณชนให้ความสนใจ
3. เพื่อสำรวจบุคคลที่เป็นผู้นำทางความคิดในด้านต่างๆ ที่สำคัญ
4. ผลสำรวจที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมและบรรทัดฐานในสังคม ซึ่งอาจเป็นทิศทางพฤติกรรมทางสังคมในอนาคต
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ฉายารัฐบาลและบุคคลการเมืองแห่งปี 2548 ใน
สายตาของประชาชน” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 24 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนโดยทั่วไปที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 32 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำ สำมะโน จาก 32 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคทั่ว
ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อ่างทอง นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี ศรีสะเกษ
อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม เลย หนองคาย สกลนคร ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ สุโขทัย
กำแพงเพชร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ ระนอง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 14,538 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 เป็นหญิง ร้อยละ 46.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 28.4
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 21.7 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 13.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 12.7 อายุ 50 ปี
ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 74.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 22.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.9
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 23.4 ระบุอาชีพ/
เกษตรกรรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.7
ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจติดตาม ในรอบปี พ.ศ. 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจติดตาม ร้อยละ
1 ข่าว พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง 84.1
2 ข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ 79.2
3 ข่าวความขัดแย้งระหว่าง นายกรัฐมนตรี — นายสนธิ ลิ้มทองกุล 72.9
4 ข่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 71.1
5 ข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีทุจริตเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX ) 70.4
6 ข่าวการเมืองแทรกแซงการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าสตง. 65.2
7 ข่าวการแทรกแซงสื่อสารมวลชน 63.3
8 ข่าวการจัดตั้งรัฐบาล / แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 62.8
9 ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี 59.4
10 ข่าวการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. 58.8
ตารางที่ 2 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่สร้างความปิติยินดี/ ดีใจ/ประทับใจ ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่สร้างความปิติยินดี /ความดีใจ / ประทับใจ ร้อยละ
1 ข่าวพระประสูติกาล พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ 94.8
2 ข่าวประชาชนชาวไทยร่วมใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย “สึนามิ” 92.1
3 ข่าวพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมาย
จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล 85.3
4 ข่าวพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงได้เหรียญทองซีเกมส์ 77.9
5 ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ 71.9
6 ข่าวการทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ 67.1
7 ข่าวการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ 61.8
8 ข่าวการประกวดนางงามจักรวาล 56.4
9 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด 45.7
10 ข่าว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย 42.9
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่สร้างความสะเทือนใจ/ ตกใจ ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่สร้างความสะเทือนใจ/ตกใจ ร้อยละ
1 ช่าวเกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิ 92.7
2 ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 90.3
3 ข่าวฆ่าพระสงฆ์ — เผาวัดที่ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี 88.7
4 ข่าว 2 นาวิกโยธินเสียชีวิตที่ตันหยงลิมอ จ.นราธิวาส 82.6
5 ข่าวเกี่ยวกับคลื่นยักษ์สึนามิ 79.7
6 ข่าวน้ำท่วมใหญ่ที่ภาคใต้ 77.4
7 ข่าวพ่อนักกีฬาคาราเต้โดเหรียญทองซีเกมส์ถูกลูกชายแทงเสียชีวิต 74.9
8 ข่าวน้องฮ่องเต้ เหยื่อระเบิดสนามบินหาดใหญ่ 70.3
9 ข่าวแทงเด็กนักเรียนเซนต์โยเซฟ 65.4
10 ข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนกรอบใหม่ 59.8
ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับข่าวที่ขัดความรู้สึก / ฝืนความรู้สึก ในรอบปี พ.ศ. 2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ขัดความรู้สึก / ฝืนความรู้สึก ร้อยละ
1 ข่าวการเปิดอาบอบนวดหน้าสถานศึกษา 74.9
2 ข่าวการปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ 71.6
3 ข่าวอีซี่บายคิดดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด 70.3
4 ข่าวการโกงเหรียญทองซีเกมส์ที่ฟิลิปปินส์ 69.8
5 ข่าวทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX) 65.6
6 ข่าวการถ่ายโอนครูไปสังกัดองค์การบริการส่วนท้องถิ่น 63.3
7 ข่าวแหม่มคัทลียาท้อง 58.4
8 ข่าวบ้านสีดำของคุณรัตนา สัจเทพ 50.2
9 ข่าวเซเว่นอีเลฟเว่นฝ่าฝืนตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย 49.5
10 ข่าวการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 36.1
ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับนักสื่อสารมวลชนที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักสื่อสารมวลชนที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา 32.5
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.9
3 นายกิตติ สิงหาปัด 10.1
4 นางสาวพัชรศรี เบญจมาศ 9.8
5 นายขรรค์ชัย บุญปาน 8.1
6 นายกนก รัตน์วงค์สกุล 6.9
7 นายสุทธิชัย หยุ่น 5.0
8 นางสาวอรปรียา หุ่นศาสตร์ 4.8
9 นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ 4.0
10 นายพิสิษฐ์ กีรติการกุล 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงการจัด 10 อันดับนักธุรกิจที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักธุรกิจที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายตัน ภาสกรนที 23.3
2 นายธนินทร์ เจียรวนนท์ 19.9
3 นายปัญญา นิรันดร์กุล 14.6
4 นายบัณฑูร ล่ำซำ 10.1
5 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี 9.4
6 นายไพบูลย์ ดำรงค์ชัยธรรม 6.7
7 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ 5.5
8 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 4.3
9 นางดารุณี กฤตบุญญาลัย 3.9
10 นายวิทวัส สุนทรวิเนตร 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองที่เป็นผู้นำทางความคิด (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองที่เป็นผู้นำทางความคิด ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 34.9
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 20.2
3 นายชวน หลีกภัย 12.6
4 นายเสนาะ เทียนทอง 9.5
5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 6.3
6 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 4.7
7 นายบรรหาร ศิลปอาชา 4.2
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 3.8
9 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 2.5
10 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 33.9
2 นายเสนาะ เทียนทอง 16.9
3 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 12.5
4 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 10.1
5 นายวัฒนา เมืองสุข 9.3
6 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 5.8
7 นางปวีณา หงสกุล 3.6
8 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา 3.2
9 นายพินิจ จารุสมบัติ 2.7
10 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงการจัด 10 อันดับนักการเมืองฝ่ายค้านยอดเยี่ยมแห่งปี 2548
(ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ นักการเมืองฝ่ายค้านยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 29.6
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.1
3 นายชวน หลีกภัย 13.2
4 นายบรรหาร ศิลปอาชา 11.4
5 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 8.9
6 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ 7.8
7 นางสาวจณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ 5.6
8 นายอลงกรณ์ พลบุตร 4.3
9 นายกรณ์ จาติกวณิชย์ 3.1
10 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการจัด 10 อันดับกระทรวงที่มีผลงานยอดเยี่ยมแห่งปี 2548
(ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ กระทรวงที่มีผลงานยอดเยี่ยม ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 กระทรวงสาธารณสุข 22.3
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 19.0
3 กระทรวงคมนาคม 16.1
4 กระทรวงศึกษาธิการ 10.4
5 กระทรวงกลาโหม 8.7
6 กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 6.9
7 กระทรวงมหาดไทย 5.9
8 กระทรวงยุติธรรม 4.3
9 กระทรวงการคลัง 4.0
10 กระทรวงแรงงาน 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงการจัด 10 อันดับบุคคลแห่งปี 2548 (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก)
ลำดับที่ บุคคลแห่งปี ค่าร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 31.5
2 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 15.4
3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 10.5
4 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 10.1
5 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา 9.7
6 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 7.0
7 แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 6.2
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 4.1
9 นายอานันท์ ปันยารชุน 3.6
10 นายธงไชย แมคอินไตย์ 1.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงการจัด 10 อันดับฉายารัฐบาลแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายารัฐบาลแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลไฟไหม้ฟาง 38.7
2 รัฐบาลเสือนอนกิน 22.3
3 รัฐบาลซานตาครอส 22.3
4 รัฐบาลโชว์ห่วย 17.9
5 รัฐบาลปากหวาน 17.9
6 รัฐบาลไฮเทค 14.9
7 รัฐบาลการตลาดขาลง 14.4
8 รัฐบาลจอมโปรเจค 14.4
9 รัฐบาลจอมสร้างภาพ 13.4
10 รัฐบาลจอมโต้รุ่ง 13.0
ตารางที่ 13 แสดงการจัด 10 อันดับฉายาฝ่ายค้านแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายาฝ่ายค้านแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 จอมแฉ 37.0
2 เสือหลับ 25.9
3 เต่าล้านปี 21.1
4 จอมตรวจสอบ 17.9
5 ขาลุย 16.9
6 ไฟส่องทาง 16.9
7 ฝ่ายค้านผู้เยือกเย็น 15.8
8 จอมสร้างภาพ 15.3
9 จิ๋วแต่แจ๋ว 13.7
10 ขุนศึกใบมีดโกน 12.1
ตารางที่ 14 แสดงการจัด 10 อันดับฉายาวุฒิสมาชิกแห่งปี 2548 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฉายาวุฒิสมาชิกแห่งปี 2548 ค่าร้อยละ
1 เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง 36.9
2 ราชสีห์เขี้ยวหัก 24.6
3 จอมเฉื่อย 23.5
4 ร่างทรง 23.5
5 เปาบุ้นจิ้น 23.5
6 หมูพะโล้ 19.0
7 สมองจิ๋ว 17.9
8 ไม้กระดาน 15.6
9 สภาโจ๊ก 13.4
10 มือปืนรับจ้าง 9.1
ตารางที่ 15 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากรัฐบาล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ควบคุมราคาสินค้าและราคาน้ำมัน 32.1
2 แก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน 26.3
3 แก้ไขปัญหาคอรัปชั่น 24.3
4 ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงไม่เลือกปฏิบัติ 19.3
5 ปรับคณะรัฐมนตรี 18.5
6 แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 17.8
7 ปฏิรูปการศึกษา 15.5
8 แก้ไขปัญหาจราจร 15.3
9 เลิกทะเลาะกัน 14.8
10 ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 14.5
ตารางที่ 16 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากฝ่ายค้าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 ให้มีการตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนการอภิปราย 27.2
2 อยากให้ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาบ้านเมือง 16.6
3 เป็นหูเป็นตาให้ประชาชน/ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 15.7
4 เน้นบทบาทเชิงสร้างสรรค์มากกว่านี้ 15.4
5 เลิกสาดโคลนใส่กัน 11.0
6 ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 5.3
7 มีคุณธรรม 5.3
8 ทันต่อสถานการณ์ 4.8
9 อยากให้เป็นรัฐบาลในสมัยหน้า 3.1
10 ให้เร่งช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.8
ตารางที่ 17 แสดงการจัด 10 อันดับของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากวุฒิสภา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ 2549 ที่อยากได้จากวุฒิสภา ค่าร้อยละ
1 ทำงานอย่างจริงจัง 31.3
2 มีความซื่อสัตย์/ยุติธรรม 23.7
3 มีความเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 19.5
4 ช่วยเหลือประชาชนที่ยากจน 9.9
5 มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 8.8
6 ให้ตรวจสอบการออกกฎหมายต่างๆให้ดี 3.8
7 ช่วยรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 1.9
8 กลั่นกรองการทำงานของรัฐบาล 1.5
9 เป็นที่พึ่งของประชาชน 1.1
10 มีความเป็นอิสระ 0.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-