ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ทางออกฝ่าวิกฤตการเมืองใน
ความคิดเห็นของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,448 ตัวอย่าง
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงระดับความกังวลว่า ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนมากน้อยเพียงไร ผล
สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 รู้สึกกังวลมาก รองลงมาคือร้อยละ 11.2 กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 13.4 กังวลปานกลาง ร้อยละ 4.7
กังวลค่อนข้างน้อย และร้อยละ 3.4 รู้สึกกังวลเพียงเล็กน้อย
เมื่อสอบถามถึงความเห็นว่า ควรทำอย่างไรต่อคดีความและความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 92.4 เห็นว่าควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 4.5 เห็นว่า ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง และเพียง
ร้อยละ 3.1 เท่านั้น ที่เห็นว่าควรมีการยึดอำนาจ
สำหรับสิ่งที่สาธารณชนเห็นว่า ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรช่วยกันทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 93.7 ระบุความรักและสามัคคีกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 91.8 ระบุให้ยึดมั่นในกติกา กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 63.5 ระบุ
ความรักชาติ ร้อยละ 62.0 ระบุให้อภัยกัน ร้อยละ 55.3 ระบุการอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 45.2 ระบุความเสียสละ ร้อย
ละ 44.6 ระบุการเกื้อกูลกัน ร้อยละ 42.8 ระบุการมีสติสัมปชัญญะ ร้อยละ 41.5 ระบุความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และร้อยละ 33.4 ระบุความมีวินัย
ของคนไทย ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.7 ระบุคนไทยควรใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร ถ้ามีการตัดสินยุบพรรค
การเมืองทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ยอมรับผลการตัดสิน
แต่เมื่อถามว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พรรคการเมืองใดที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบ
ถามก้ำกึ่งหรือสูสีกัน ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือ ร้อยละ 40.9 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 39.4 ระบุเป็นพรรคพลัง
ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุพรรคอื่นๆ และร้อยละ 7.1 ไม่มีความคิดเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ คำถามที่ว่า ระดับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พบว่า ประชาชนผู้ถูกศึกษาเกิน
กว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.3 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก ร้อยละ 24.1 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอีกค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.1
ระบุปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 5.8 ระบุค่อนข้างน้อย และเพียงร้อยละ 3.7 ระบุคิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันน้อย
แต่เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ พบว่า ประชาชนต้องการคุณสมบัติสองอันดับแรกคือคนที่มีทั้งซื่อสัตย์สุจริต
และความรู้ความสามารถ คือร้อยละ 79.7 ต้องการคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริต และร้อยละ 73.2 ระบุคุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถ อันดับที่
สามคือ ร้อยละ 61.1 ระบุมีความรับผิดชอบ ร้อยละ 57.7 ระบุกล้าตัดสินใจ ร้อยละ 53.3ระบุความเสียสละ ร้อยละ 51.1 ระบุความรวดเร็วฉับไว
ในการแก้ไขปัญหาประชาชน และรองๆ ลงไปคือ มีความจริงใจ มีความอดทน ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน ควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่
โกรธง่าย และรู้จักให้อภัย แต่ที่น่าสังเกตคือ ความร่ำรวยเป็นคุณสมบัติที่ประชาชนต้องการมาเป็นอันดับสุดท้าย คือมีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนกำลังกังวลว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน แต่ยังคงไว้วางใจต่อ
กระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้คนไทยรักและสามัคคี ยึดมั่นในกติกา มีความรักชาติ ให้อภัย และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อ
ความอยู่รอดในทุกสถานการณ์
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า หลังจากพิจารณาผลวิจัยที่ผ่านมาในอดีต ได้ค้นพบโมเดลห้าประสานที่จะพาการเมืองประเทศพ้นวิกฤต โดย
เริ่มจากการมองความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้เป็นการปรับฐานการเมืองใหม่ของประเทศ ซึ่งรากฐานการเมืองใหม่ของประเทศมีองค์ประกอบด้วยกัน
รวมทั้งสิ้น 5 ฝ่าย ไม่ใช่ 3 ฝ่ายเหมือนในอดีตอีกต่อไป โมเดลห้าประสานนั้นได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายการเมืองภาค
ประชาชน และฝ่ายสื่อมวลชน โดยถ้าพลังองค์ประกอบทั้งห้าด้านเหล่านี้ร่วมกันทำหน้าที่ในครรลองคลองธรรม ตั้งมั่นในความถูกต้อง มีอุดมการณ์
ประชาธิปไตยแท้จริง ไร้ผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง แต่มีท่อน้ำหล่อเลี้ยงคือความรักความสามัคคีของคนในชาติแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่า โมเดลห้า
ประสานการเมืองใหม่ของประเทศนี้จะสามารถคืนเสถียรภาพที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชนได้ในไม่ช้า
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และคุณสมบัติของผู้นำประเทศและรัฐมนตรีที่
ประชาชนต้องการ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ทางออกฝ่าวิกฤตการเมืองในความคิดเห็นของ
สาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,448 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การ
สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 2,448 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อย
ละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก
ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น
จำนวน 147 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.4
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 15.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน
ลำดับที่ ระดับความกังวล ค่าร้อยละ
1 รู้สึกกังวลมาก 67.3
2 ค่อนข้างมาก 11.2
3 ปานกลาง 13.4
4 ค่อนข้างน้อย 4.7
5 เพียงเล็กน้อย 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 92.4
2 ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง 4.5
3 ควรมีการยึดอำนาจ 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ค่าร้อยละ
1 รักและสามัคคีกัน 93.7
2 ยึดมั่นในกติกา กฎหมาย ในกระบวนการยุติธรรม 91.8
3 มีความรักชาติ 63.5
4 ให้อภัยกัน 62.0
5 อยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 55.3
6 เสียสละ 45.2
7 เกื้อกูลกัน 44.6
8 มีสติสัมปชัญญะ 42.8
9 รับผิดชอบต่อหน้าที่ 41.5
10 มีวินัย 33.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คนไทยควรทำหากพรรคการเมืองในขณะนี้ถูกยุบพรรคทั้งหมด
ลำดับที่ สิ่งที่คนไทยควรทำหากพรรคการเมืองในขณะนี้ถูกยุบพรรคทั้งหมด ค่าร้อยละ
1 ใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร 90.7
2 ไม่ยอมรับผลการตัดสิน 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 39.4
2 พรรคประชาธิปัตย์ 40.9
3 พรรคอื่นๆ 12.6
4 ไม่มีความคิดเห็น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในปีนี้
ลำดับที่ ระดับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิ-ขายเสียงกันมาก 51.3
2 ค่อนข้างมาก 24.1
3 ปานกลาง 15.1
4 ค่อนข้างน้อย 5.8
5 น้อย 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 79.7
2 มีความรู้ความสามารถ 73.2
3 มีความรับผิดชอบ 61.1
4 กล้าตัดสินใจ 57.7
5 มีความเสียสละ 53.3
6 มีความรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาประชาชน 51.1
7 จริงใจ 46.7
8 มีความอดทน 43.6
9 ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร 42.9
10 ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน 42.2
11 ควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่โกรธง่าย 39.2
12 รู้จักให้อภัย 36.8
13 มีเมตตา 34.0
14 เข้าพบได้ง่าย 25.9
15 ไม่มีพิธีรีตองมากมาย เรียบง่าย 24.1
16 มีการศึกษาสูง 22.6
17 มีช่องทางสื่อสารกับประชาชนหลายช่องทาง 18.1
18 ร่ำรวย 8.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความคิดเห็นของสาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,448 ตัวอย่าง
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
เมื่อสอบถามถึงระดับความกังวลว่า ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนมากน้อยเพียงไร ผล
สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 รู้สึกกังวลมาก รองลงมาคือร้อยละ 11.2 กังวลค่อนข้างมาก ร้อยละ 13.4 กังวลปานกลาง ร้อยละ 4.7
กังวลค่อนข้างน้อย และร้อยละ 3.4 รู้สึกกังวลเพียงเล็กน้อย
เมื่อสอบถามถึงความเห็นว่า ควรทำอย่างไรต่อคดีความและความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 92.4 เห็นว่าควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ร้อยละ 4.5 เห็นว่า ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง และเพียง
ร้อยละ 3.1 เท่านั้น ที่เห็นว่าควรมีการยึดอำนาจ
สำหรับสิ่งที่สาธารณชนเห็นว่า ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรช่วยกันทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 93.7 ระบุความรักและสามัคคีกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 91.8 ระบุให้ยึดมั่นในกติกา กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 63.5 ระบุ
ความรักชาติ ร้อยละ 62.0 ระบุให้อภัยกัน ร้อยละ 55.3 ระบุการอยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 45.2 ระบุความเสียสละ ร้อย
ละ 44.6 ระบุการเกื้อกูลกัน ร้อยละ 42.8 ระบุการมีสติสัมปชัญญะ ร้อยละ 41.5 ระบุความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และร้อยละ 33.4 ระบุความมีวินัย
ของคนไทย ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.7 ระบุคนไทยควรใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร ถ้ามีการตัดสินยุบพรรค
การเมืองทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 9.3 ระบุไม่ยอมรับผลการตัดสิน
แต่เมื่อถามว่าถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พรรคการเมืองใดที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ผลสำรวจพบว่า จำนวนผู้ตอบแบบสอบ
ถามก้ำกึ่งหรือสูสีกัน ระหว่างพรรคการเมืองใหญ่สองพรรค คือ ร้อยละ 40.9 ระบุเป็นพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 39.4 ระบุเป็นพรรคพลัง
ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 12.6 ระบุพรรคอื่นๆ และร้อยละ 7.1 ไม่มีความคิดเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ คำถามที่ว่า ระดับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้ พบว่า ประชาชนผู้ถูกศึกษาเกิน
กว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.3 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันมาก ร้อยละ 24.1 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันอีกค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.1
ระบุปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 5.8 ระบุค่อนข้างน้อย และเพียงร้อยละ 3.7 ระบุคิดว่าจะมีการซื้อสิทธิขายเสียงกันน้อย
แต่เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ พบว่า ประชาชนต้องการคุณสมบัติสองอันดับแรกคือคนที่มีทั้งซื่อสัตย์สุจริต
และความรู้ความสามารถ คือร้อยละ 79.7 ต้องการคุณสมบัติด้านความซื่อสัตย์สุจริต และร้อยละ 73.2 ระบุคุณสมบัติด้านความรู้ความสามารถ อันดับที่
สามคือ ร้อยละ 61.1 ระบุมีความรับผิดชอบ ร้อยละ 57.7 ระบุกล้าตัดสินใจ ร้อยละ 53.3ระบุความเสียสละ ร้อยละ 51.1 ระบุความรวดเร็วฉับไว
ในการแก้ไขปัญหาประชาชน และรองๆ ลงไปคือ มีความจริงใจ มีความอดทน ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน ควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่
โกรธง่าย และรู้จักให้อภัย แต่ที่น่าสังเกตคือ ความร่ำรวยเป็นคุณสมบัติที่ประชาชนต้องการมาเป็นอันดับสุดท้าย คือมีเพียงร้อยละ 8.6 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนกำลังกังวลว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน แต่ยังคงไว้วางใจต่อ
กระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้คนไทยรักและสามัคคี ยึดมั่นในกติกา มีความรักชาติ ให้อภัย และนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อ
ความอยู่รอดในทุกสถานการณ์
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า หลังจากพิจารณาผลวิจัยที่ผ่านมาในอดีต ได้ค้นพบโมเดลห้าประสานที่จะพาการเมืองประเทศพ้นวิกฤต โดย
เริ่มจากการมองความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้เป็นการปรับฐานการเมืองใหม่ของประเทศ ซึ่งรากฐานการเมืองใหม่ของประเทศมีองค์ประกอบด้วยกัน
รวมทั้งสิ้น 5 ฝ่าย ไม่ใช่ 3 ฝ่ายเหมือนในอดีตอีกต่อไป โมเดลห้าประสานนั้นได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายการเมืองภาค
ประชาชน และฝ่ายสื่อมวลชน โดยถ้าพลังองค์ประกอบทั้งห้าด้านเหล่านี้ร่วมกันทำหน้าที่ในครรลองคลองธรรม ตั้งมั่นในความถูกต้อง มีอุดมการณ์
ประชาธิปไตยแท้จริง ไร้ผลประโยชน์ส่วนตัวแอบแฝง แต่มีท่อน้ำหล่อเลี้ยงคือความรักความสามัคคีของคนในชาติแล้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่า โมเดลห้า
ประสานการเมืองใหม่ของประเทศนี้จะสามารถคืนเสถียรภาพที่ยั่งยืนแก่ประเทศชาติและประชาชนได้ในไม่ช้า
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และคุณสมบัติของผู้นำประเทศและรัฐมนตรีที่
ประชาชนต้องการ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ทางออกฝ่าวิกฤตการเมืองในความคิดเห็นของ
สาธารณชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,448 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey
Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การ
สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 2,448 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อย
ละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก
ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น
จำนวน 147 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 31—40 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 41—50 ปี
และร้อยละ 22.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.2 ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.9
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 16.3
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 11.4
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 15.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 3.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความกังวลว่า ความขัดแย้งทางการเมืองจะทำให้ประชาชนเข้าสู่สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน
ลำดับที่ ระดับความกังวล ค่าร้อยละ
1 รู้สึกกังวลมาก 67.3
2 ค่อนข้างมาก 11.2
3 ปานกลาง 13.4
4 ค่อนข้างน้อย 4.7
5 เพียงเล็กน้อย 3.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อคดีความและความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 92.4
2 ควรให้ฝ่ายการเมืองทำอะไรบางอย่าง 4.5
3 ควรมีการยึดอำนาจ 3.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ผู้มีอำนาจและประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ค่าร้อยละ
1 รักและสามัคคีกัน 93.7
2 ยึดมั่นในกติกา กฎหมาย ในกระบวนการยุติธรรม 91.8
3 มีความรักชาติ 63.5
4 ให้อภัยกัน 62.0
5 อยู่อย่างพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 55.3
6 เสียสละ 45.2
7 เกื้อกูลกัน 44.6
8 มีสติสัมปชัญญะ 42.8
9 รับผิดชอบต่อหน้าที่ 41.5
10 มีวินัย 33.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คนไทยควรทำหากพรรคการเมืองในขณะนี้ถูกยุบพรรคทั้งหมด
ลำดับที่ สิ่งที่คนไทยควรทำหากพรรคการเมืองในขณะนี้ถูกยุบพรรคทั้งหมด ค่าร้อยละ
1 ใช้ชีวิตตามปกติไม่ก่อความวุ่นวายอะไร 90.7
2 ไม่ยอมรับผลการตัดสิน 9.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่คาดว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ปีนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ถูกคาดว่าจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 39.4
2 พรรคประชาธิปัตย์ 40.9
3 พรรคอื่นๆ 12.6
4 ไม่มีความคิดเห็น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับปัญหาการซื้อสิทธิ-ขายเสียงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในปีนี้
ลำดับที่ ระดับปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการซื้อสิทธิ-ขายเสียงกันมาก 51.3
2 ค่อนข้างมาก 24.1
3 ปานกลาง 15.1
4 ค่อนข้างน้อย 5.8
5 น้อย 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้บริหารประเทศและรัฐมนตรีที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 79.7
2 มีความรู้ความสามารถ 73.2
3 มีความรับผิดชอบ 61.1
4 กล้าตัดสินใจ 57.7
5 มีความเสียสละ 53.3
6 มีความรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาประชาชน 51.1
7 จริงใจ 46.7
8 มีความอดทน 43.6
9 ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร 42.9
10 ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน 42.2
11 ควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่โกรธง่าย 39.2
12 รู้จักให้อภัย 36.8
13 มีเมตตา 34.0
14 เข้าพบได้ง่าย 25.9
15 ไม่มีพิธีรีตองมากมาย เรียบง่าย 24.1
16 มีการศึกษาสูง 22.6
17 มีช่องทางสื่อสารกับประชาชนหลายช่องทาง 18.1
18 ร่ำรวย 8.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-