บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "การสำรวจความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และปัญหาของเยาวชน เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์และความรัก” ในครั้งนี้ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง โครงการสร้างเสริมสุขภาพในมิติจิตวิญญาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจความคิด และความรู้สึกของเยาวชนต่อเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์และความรัก ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้อง ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างนักเรียน/นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ทั่วประเทศ" จำนวนทั้งสิ้น 4,645 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 7 เมษายน - 17 พฤษภาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ
-เยาวชนไทยมีปัญหาด้านพฤติกรรม และสังคม-
ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเยาวชนนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันร้อยละ 71.0 มีปัญหาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตไม่ต่ำกว่า 1 ปัญหา โดยมีปัญหาเรียงตามลำดับของปริมาณคนที่ประสบปัญหาได้ดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 32.7 )
อันดับที่ 2 การทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 31.5)
อันดับที่ 3 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (ร้อยละ 28.8 )
อันดับที่ 4 การเที่ยวสถานบันเทิง (ร้อยละ 26.9)
อันดับที่ 5 การมีเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 23.8 )
ซึ่งปัญหาต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและการเรียน โดยผลการสำรวจพบว่าคนที่มีปัญหาต่างๆ จะมีคะแนนผลการเรียนตกต่ำมากกว่าคนที่ไม่มีปัญหา
-ความกังวลในใจ-
ในด้านสภาวะจิตใจนั้น ผลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนมากที่มีความวิตกกังวลในเรื่องการเรียนและการดำเนินชีวิต ได้แก่
- ความวิตกกังวลในเรื่องการเรียน (ร้อยละ 39.3)
- ความวิตกกังวลในเรื่องการเงิน/ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 32.9)
- ความวิตกกังวลในเรื่องอนาคตชีวิตของตนเอง (ร้อยละ 26.9)
- ความวิตกกังวลปัญหาในครอบครัว (ร้อยละ 6.7)
- ความวิตกกังวลในเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน (ร้อยละ 5.1)
ทั้งนี้ เมื่อรวบรวมความวิตกกังวลต่าง ๆ (5 ด้าน) ดังกล่าวแล้วพบว่ามีตัวอย่างนักเรียน-นักศึกษาร้อยละ 55.5 มีปัญหาความวิตกกังวล มากกว่า 1 ด้านขึ้นไป
-1 ใน 6 รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย-
ผลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนร้อยละ 15.5 (เกือบ 1 ใน 6 ) ที่รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยในด้านต่างๆดังนี้
- รู้สึกว่าฐานะครอบครัวของตนเองด้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 8.5)
- รู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างหน้าตาด้อยกว่าคนอื่นๆ (ร้อยละ 6.7)
- รู้สึกว่าความรู้ความสามารถของตนเองด้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 4.5)
- รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนน้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 2.3)
-ปัญหาทางจิตใจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต-
เมื่อจำแนกกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิตใจในเรื่องความวิตกกังวลในการเรียนและการดำเนินชีวิต กับกลุ่มบุคคลทั่วไป พบว่ากลุ่มเยาวชนที่มีความวิตกกังวลจะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตสูงกว่ากลุ่มเยาวชนทั่วไป
โดยพบว่ากลุ่มคนที่มีความวิตกกังวล จะมีปัญหาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตร้อยละ 76.1
ในขณะที่กลุ่มเยาวชนทั่วไปจะมีปัญหาร้อยละ 64.5
ตารางที่ 1 แสดงพฤติกรรมปัญหาแต่ละประเภท เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเยาวชนที่มีความวิตกกังวล
ในการเรียนและการดำเนินชีวิตกับกลุ่มทั่วไป
ลำดับที่ พฤติกรรมปัญหา กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
กลุ่มที่มีความวิตกกังวลฯ กลุ่มทั่วไป
1 การสูบบุหรี่ 12.8 10.3
2 การดื่มแอลกอฮอล์ 38.8 25.1
3 การเที่ยวสถานบันเทิง 32.5 19.8
4 การเล่นพนัน 18.4 12.3
5 การเสพยาเสพติด 2.2 1.2
6 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 31.3 25.8
7 การมีเพศสัมพันธ์ 27.0 19.9
8 การทะเลาะวิวาท 31.2 32.0
9 การคิดฆ่าตัวตาย 12.2 3.7
10. การมีปัญหาโดยรวม
(อย่างใดอย่างหนึ่งใน 9 ปัญหา) 76.1 64.5
ตารางที่ 2 แสดงพฤติกรรมปัญหาแต่ละประเภท เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเยาวชนที่รู้สึกว่า
ตนเองมีปมด้อย กับที่รู้สึกว่าไม่มีปมด้อย
ลำดับที่ พฤติกรรมปัญหา กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
กลุ่มที่รู้สึกว่ามีปมด้อย กลุ่มที่รู้สึกว่าไม่มีปมด้อย
1 การสูบบุหรี่ 12.0 11.4
2 การดื่มแอลกอฮอล์ 39.1 31.8
3 การเที่ยวสถานบันเทิง 33.4 26.1
4 การเล่นพนัน 21.0 13.7
5 การเสพยาเสพติด 2.9 1.3
6 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 32.7 29.4
7 การมีเพศสัมพันธ์ 25.9 24.0
8 การทะเลาะวิวาท 34.2 29.5
9 การคิดฆ่าตัวตาย 15.5 6.7
10. การมีปัญหาโดยรวม
(อย่างใดอย่างหนึ่งใน 9 ปัญหา) 78.8 68.9
นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีความ “ไม่พึงพอใจในตนเอง” ก็มีพฤติกรรมปัญหาต่าง ๆ สูงมากกว่าคนที่พึงพอใจในตนเองด้วยเช่นกัน
-ความรักและการมีแฟน-
จากการสำรวจพบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 49.6 มีแฟนหรือคนรัก ซึ่งร้อยละ 72.0 ของคนที่มีแฟน/คนรักจะมีความรู้สึกผูกพันกับคนรักของตนเองในระดับ “มาก-มากที่สุด” ในบรรดาคนที่มีแฟนหรือคนรักร้อยละ 66.0 เคยทะเลาะกับแฟนหรือคนรักของตนเองในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาทกันมากที่สุดระหว่างแฟน/คู่รักคือเรื่องความไม่เข้าใจกัน/ คิดเห็นไม่ตรงกันความระแวง/หึงหวง และการเอาแต่ใจตนเอง/ต่างคนต่างไม่ยอมกัน
-นร./นศ.มีเซ็กส์ 24 %-
ผลการสำรวจพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน / นักศึกษาพบว่าร้อยละ 23.8 มีเพศสัมพันธ์ โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นร้อยละ 21.6 เคยมีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับเพศตรงข้าม ร้อยละ 1.8 มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และร้อยละ 0.4 เคยมีทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน
เมื่อจำแนกพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนในแต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มนักเรียน / นักศึกษาชายมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 37.3 นักเรียน / นักศึกษาหญิงมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 13.5
ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (ตอนต้นและตอนปลาย)มีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 8.0 กลุ่มนักเรียนระดับชั้นปวช./ปวส./ปวท.มีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 34.8 และนักศึกษาระดับปริญญาตรีมี เพศสัมพันธ์ร้อยละ 29.9
สำหรับอายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (เฉพาะนักเรียน / นักศึกษาที่เคยมีเพศสัมพันธ์) พบว่า อายุเฉลี่ย คือ 17.20 ปี (s.d. = 2.37 ปี) อายุต่ำสุดที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ 10 ปี
ปัญหาที่เกิดกับนักเรียน / นักศึกษาที่มีเพศสัมพันธ์ พบว่า
- เคยถูกทอดทิ้งจากคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย (ร้อยละ 29.8)
- เคยถูกบังคับ/ล่อลวงให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม (ร้อยละ 12.4)
- ตนเองหรือคู่นอนเคยตั้งครรภ์ (ร้อยละ 11.4)
- เคยติดเชื้อ/โรคทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 2.9)
สำหรับความคิดเห็นของนักเรียน/นักศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนนักศึกษาในระดับเดียวกันพบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 47.5 ไม่ตำหนิต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 23.2 ที่ตำหนิ และร้อยละ 29.3 ไม่มีความเห็น
-การควบคุมอารมณ์ไม่ได้-
สำหรับประเด็นเรื่อง “ความสามารถในการควบคุมอารมณ์” ของนักเรียนนักศึกษา พบว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งที่มักจะมีการควบคุมตนเองไม่ได้ในสถานการณ์ทางอารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่
- การควบคุมอารมณ์โกรธ พบว่ามีคนที่เคยโกรธคนอื่นอย่างรุนแรงจนควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้บ่อย ๆ คิดเป็นร้อยละ 9.4 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 45.6 ร้อยละ 45.0 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมอารมณ์ความรัก พบว่ามีคนที่เคยหลงรักคนอื่นอย่างมากโดยไม่มีเหตุผลบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 9.6 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 40.7 ร้อยละ 49.7 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมความรู้สึกอยากได้สิ่งของ พบว่ามีคนที่เคยรู้สึกอยากได้สิ่งของมีค่าบางอย่างจนแทบยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 4.2 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 32.7 ร้อยละ 63.1 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมความรู้สึกทางเพศ พบว่ามีคนที่เคยมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงจนแทบห้ามใจไม่อยู่บ่อยๆ ร้อยละ 3.7 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 25.9 ร้อยละ 70.4 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
-ความหวาดระแวง-
ในเรื่องมุมมองต่อคนทั่วไปในสายตาของเยาวชน พบว่ามีนักเรียนนักศึกษากลุ่มหนึ่งคือร้อยละ 32.2 ที่มีความรู้สึกไม่ไว้วางใจ/ไม่ค่อยไว้วางใจต่อบุคคลทั่วไป (ไม่ใช่คนในครอบครัว)ที่พบเจอในสังคม
นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนนักศึกษาร้อยละ 14.4 มีความหวาดระแวงว่าจะถูกคนอื่นทำร้าย (ร้อยละ 52.6 ไม่หวาดระแวง และร้อยละ 33.0 ไม่แน่ใจ)
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาท จะมีความหวาดระแวงว่าจะถูกทำร้ายสูงมากกว่าเยาวชนทั่วไป
-ความขัดแย้ง-
ในความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับบุคคลทั่วไปได้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะจิตใจที่ปรากฏออกมาคือเรื่อง “ความขัดแย้ง” โดยปัญหาความขัดแย้งของตัวอย่างที่เกิดขึ้นในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้
- เคยทะเลาะกับแฟน (ร้อยละ 66.0)
- มีปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ถึงขั้นถูกดุว่า ร้อยละ 37.6
- เคยถูกครูดุว่าหรือลงโทษ (ร้อยละ 32.7)
- มีการทะเลาะวิวาทกับคนอื่นในวัยเดียวกัน (ร้อยละ 31.5)
-ความคิดฆ่าตัวตาย-
จากการสำรวจครั้งนี้พบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 8.5 เคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 84.7 ไม่เคยคิด และร้อยละ 6.8 ไม่แน่ใจ) ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้คิดฆ่าตัวตาย (เฉพาะคนที่คิดฆ่าตัวตาย)เรียงตามลำดับดังนี้คือ
- มีความเบื่อหน่ายชีวิต/สิ้นหวัง/ สับสนในอนาคตตนเอง
- มีปัญหากับพ่อแม่/ญาติพี่น้อง
- โดนแฟนทิ้ง/ทะเลาะกับแฟน
- มีความเครียดกดดัน ผิดหวังในชีวิต/ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
- อื่นๆอาทิ กลุ้มใจเรื่องการเรียน ความยากจน ทะเลาะกับเพื่อน โดนครอบครัวบีบบังคับ ฯลฯ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง "การสำรวจความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และปัญหาของเยาวชน เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์และความรัก” ในครั้งนี้ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง โครงการสร้างเสริมสุขภาพในมิติจิตวิญญาณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความเข้าใจความคิด และความรู้สึกของเยาวชนต่อเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์และความรัก ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้อง ซึ่งได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างนักเรียน/นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ปริญญาตรี (ภาคปกติ) ทั่วประเทศ" จำนวนทั้งสิ้น 4,645 ตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 7 เมษายน - 17 พฤษภาคม 2547 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ
-เยาวชนไทยมีปัญหาด้านพฤติกรรม และสังคม-
ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่าเยาวชนนักเรียนนักศึกษาในปัจจุบันร้อยละ 71.0 มีปัญหาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตไม่ต่ำกว่า 1 ปัญหา โดยมีปัญหาเรียงตามลำดับของปริมาณคนที่ประสบปัญหาได้ดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 32.7 )
อันดับที่ 2 การทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 31.5)
อันดับที่ 3 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (ร้อยละ 28.8 )
อันดับที่ 4 การเที่ยวสถานบันเทิง (ร้อยละ 26.9)
อันดับที่ 5 การมีเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 23.8 )
ซึ่งปัญหาต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจและการเรียน โดยผลการสำรวจพบว่าคนที่มีปัญหาต่างๆ จะมีคะแนนผลการเรียนตกต่ำมากกว่าคนที่ไม่มีปัญหา
-ความกังวลในใจ-
ในด้านสภาวะจิตใจนั้น ผลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนจำนวนมากที่มีความวิตกกังวลในเรื่องการเรียนและการดำเนินชีวิต ได้แก่
- ความวิตกกังวลในเรื่องการเรียน (ร้อยละ 39.3)
- ความวิตกกังวลในเรื่องการเงิน/ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 32.9)
- ความวิตกกังวลในเรื่องอนาคตชีวิตของตนเอง (ร้อยละ 26.9)
- ความวิตกกังวลปัญหาในครอบครัว (ร้อยละ 6.7)
- ความวิตกกังวลในเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อน (ร้อยละ 5.1)
ทั้งนี้ เมื่อรวบรวมความวิตกกังวลต่าง ๆ (5 ด้าน) ดังกล่าวแล้วพบว่ามีตัวอย่างนักเรียน-นักศึกษาร้อยละ 55.5 มีปัญหาความวิตกกังวล มากกว่า 1 ด้านขึ้นไป
-1 ใน 6 รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย-
ผลการสำรวจพบว่ามีเยาวชนร้อยละ 15.5 (เกือบ 1 ใน 6 ) ที่รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยในด้านต่างๆดังนี้
- รู้สึกว่าฐานะครอบครัวของตนเองด้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 8.5)
- รู้สึกว่าตนเองมีรูปร่างหน้าตาด้อยกว่าคนอื่นๆ (ร้อยละ 6.7)
- รู้สึกว่าความรู้ความสามารถของตนเองด้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 4.5)
- รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนน้อยกว่าคนอื่น (ร้อยละ 2.3)
-ปัญหาทางจิตใจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต-
เมื่อจำแนกกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิตใจในเรื่องความวิตกกังวลในการเรียนและการดำเนินชีวิต กับกลุ่มบุคคลทั่วไป พบว่ากลุ่มเยาวชนที่มีความวิตกกังวลจะมีปัญหาในการดำเนินชีวิตสูงกว่ากลุ่มเยาวชนทั่วไป
โดยพบว่ากลุ่มคนที่มีความวิตกกังวล จะมีปัญหาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตร้อยละ 76.1
ในขณะที่กลุ่มเยาวชนทั่วไปจะมีปัญหาร้อยละ 64.5
ตารางที่ 1 แสดงพฤติกรรมปัญหาแต่ละประเภท เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเยาวชนที่มีความวิตกกังวล
ในการเรียนและการดำเนินชีวิตกับกลุ่มทั่วไป
ลำดับที่ พฤติกรรมปัญหา กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
กลุ่มที่มีความวิตกกังวลฯ กลุ่มทั่วไป
1 การสูบบุหรี่ 12.8 10.3
2 การดื่มแอลกอฮอล์ 38.8 25.1
3 การเที่ยวสถานบันเทิง 32.5 19.8
4 การเล่นพนัน 18.4 12.3
5 การเสพยาเสพติด 2.2 1.2
6 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 31.3 25.8
7 การมีเพศสัมพันธ์ 27.0 19.9
8 การทะเลาะวิวาท 31.2 32.0
9 การคิดฆ่าตัวตาย 12.2 3.7
10. การมีปัญหาโดยรวม
(อย่างใดอย่างหนึ่งใน 9 ปัญหา) 76.1 64.5
ตารางที่ 2 แสดงพฤติกรรมปัญหาแต่ละประเภท เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเยาวชนที่รู้สึกว่า
ตนเองมีปมด้อย กับที่รู้สึกว่าไม่มีปมด้อย
ลำดับที่ พฤติกรรมปัญหา กลุ่มนักเรียนนักศึกษา
กลุ่มที่รู้สึกว่ามีปมด้อย กลุ่มที่รู้สึกว่าไม่มีปมด้อย
1 การสูบบุหรี่ 12.0 11.4
2 การดื่มแอลกอฮอล์ 39.1 31.8
3 การเที่ยวสถานบันเทิง 33.4 26.1
4 การเล่นพนัน 21.0 13.7
5 การเสพยาเสพติด 2.9 1.3
6 การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 32.7 29.4
7 การมีเพศสัมพันธ์ 25.9 24.0
8 การทะเลาะวิวาท 34.2 29.5
9 การคิดฆ่าตัวตาย 15.5 6.7
10. การมีปัญหาโดยรวม
(อย่างใดอย่างหนึ่งใน 9 ปัญหา) 78.8 68.9
นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีความ “ไม่พึงพอใจในตนเอง” ก็มีพฤติกรรมปัญหาต่าง ๆ สูงมากกว่าคนที่พึงพอใจในตนเองด้วยเช่นกัน
-ความรักและการมีแฟน-
จากการสำรวจพบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 49.6 มีแฟนหรือคนรัก ซึ่งร้อยละ 72.0 ของคนที่มีแฟน/คนรักจะมีความรู้สึกผูกพันกับคนรักของตนเองในระดับ “มาก-มากที่สุด” ในบรรดาคนที่มีแฟนหรือคนรักร้อยละ 66.0 เคยทะเลาะกับแฟนหรือคนรักของตนเองในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาทกันมากที่สุดระหว่างแฟน/คู่รักคือเรื่องความไม่เข้าใจกัน/ คิดเห็นไม่ตรงกันความระแวง/หึงหวง และการเอาแต่ใจตนเอง/ต่างคนต่างไม่ยอมกัน
-นร./นศ.มีเซ็กส์ 24 %-
ผลการสำรวจพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน / นักศึกษาพบว่าร้อยละ 23.8 มีเพศสัมพันธ์ โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นร้อยละ 21.6 เคยมีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับเพศตรงข้าม ร้อยละ 1.8 มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และร้อยละ 0.4 เคยมีทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน
เมื่อจำแนกพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนในแต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มนักเรียน / นักศึกษาชายมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 37.3 นักเรียน / นักศึกษาหญิงมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 13.5
ในกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (ตอนต้นและตอนปลาย)มีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 8.0 กลุ่มนักเรียนระดับชั้นปวช./ปวส./ปวท.มีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 34.8 และนักศึกษาระดับปริญญาตรีมี เพศสัมพันธ์ร้อยละ 29.9
สำหรับอายุที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (เฉพาะนักเรียน / นักศึกษาที่เคยมีเพศสัมพันธ์) พบว่า อายุเฉลี่ย คือ 17.20 ปี (s.d. = 2.37 ปี) อายุต่ำสุดที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกคือ 10 ปี
ปัญหาที่เกิดกับนักเรียน / นักศึกษาที่มีเพศสัมพันธ์ พบว่า
- เคยถูกทอดทิ้งจากคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย (ร้อยละ 29.8)
- เคยถูกบังคับ/ล่อลวงให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม (ร้อยละ 12.4)
- ตนเองหรือคู่นอนเคยตั้งครรภ์ (ร้อยละ 11.4)
- เคยติดเชื้อ/โรคทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 2.9)
สำหรับความคิดเห็นของนักเรียน/นักศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนนักศึกษาในระดับเดียวกันพบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 47.5 ไม่ตำหนิต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 23.2 ที่ตำหนิ และร้อยละ 29.3 ไม่มีความเห็น
-การควบคุมอารมณ์ไม่ได้-
สำหรับประเด็นเรื่อง “ความสามารถในการควบคุมอารมณ์” ของนักเรียนนักศึกษา พบว่าในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งที่มักจะมีการควบคุมตนเองไม่ได้ในสถานการณ์ทางอารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่
- การควบคุมอารมณ์โกรธ พบว่ามีคนที่เคยโกรธคนอื่นอย่างรุนแรงจนควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้บ่อย ๆ คิดเป็นร้อยละ 9.4 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 45.6 ร้อยละ 45.0 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมอารมณ์ความรัก พบว่ามีคนที่เคยหลงรักคนอื่นอย่างมากโดยไม่มีเหตุผลบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 9.6 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 40.7 ร้อยละ 49.7 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมความรู้สึกอยากได้สิ่งของ พบว่ามีคนที่เคยรู้สึกอยากได้สิ่งของมีค่าบางอย่างจนแทบยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาบ่อยๆ คิดเป็นร้อยละ 4.2 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 32.7 ร้อยละ 63.1 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
- การควบคุมความรู้สึกทางเพศ พบว่ามีคนที่เคยมีความรู้สึกทางเพศรุนแรงจนแทบห้ามใจไม่อยู่บ่อยๆ ร้อยละ 3.7 และที่มีเป็นบางครั้งร้อยละ 25.9 ร้อยละ 70.4 ไม่เคยเป็นเช่นนั้น
-ความหวาดระแวง-
ในเรื่องมุมมองต่อคนทั่วไปในสายตาของเยาวชน พบว่ามีนักเรียนนักศึกษากลุ่มหนึ่งคือร้อยละ 32.2 ที่มีความรู้สึกไม่ไว้วางใจ/ไม่ค่อยไว้วางใจต่อบุคคลทั่วไป (ไม่ใช่คนในครอบครัว)ที่พบเจอในสังคม
นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนนักศึกษาร้อยละ 14.4 มีความหวาดระแวงว่าจะถูกคนอื่นทำร้าย (ร้อยละ 52.6 ไม่หวาดระแวง และร้อยละ 33.0 ไม่แน่ใจ)
โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาท จะมีความหวาดระแวงว่าจะถูกทำร้ายสูงมากกว่าเยาวชนทั่วไป
-ความขัดแย้ง-
ในความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับบุคคลทั่วไปได้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาวะจิตใจที่ปรากฏออกมาคือเรื่อง “ความขัดแย้ง” โดยปัญหาความขัดแย้งของตัวอย่างที่เกิดขึ้นในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมามีดังต่อไปนี้
- เคยทะเลาะกับแฟน (ร้อยละ 66.0)
- มีปัญหาขัดแย้งกับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ถึงขั้นถูกดุว่า ร้อยละ 37.6
- เคยถูกครูดุว่าหรือลงโทษ (ร้อยละ 32.7)
- มีการทะเลาะวิวาทกับคนอื่นในวัยเดียวกัน (ร้อยละ 31.5)
-ความคิดฆ่าตัวตาย-
จากการสำรวจครั้งนี้พบว่านักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 8.5 เคยคิดที่จะฆ่าตัวตาย (ร้อยละ 84.7 ไม่เคยคิด และร้อยละ 6.8 ไม่แน่ใจ) ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้คิดฆ่าตัวตาย (เฉพาะคนที่คิดฆ่าตัวตาย)เรียงตามลำดับดังนี้คือ
- มีความเบื่อหน่ายชีวิต/สิ้นหวัง/ สับสนในอนาคตตนเอง
- มีปัญหากับพ่อแม่/ญาติพี่น้อง
- โดนแฟนทิ้ง/ทะเลาะกับแฟน
- มีความเครียดกดดัน ผิดหวังในชีวิต/ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
- อื่นๆอาทิ กลุ้มใจเรื่องการเรียน ความยากจน ทะเลาะกับเพื่อน โดนครอบครัวบีบบังคับ ฯลฯ
--เอแบคโพลล์--
-พห-