ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองและการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระ
นครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,880 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.
ศ. 2551
เมื่อถามความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์ชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1
ระบุคิดว่าสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.7 คิดว่าเริ่มดีขึ้น และร้อยละ 13.2 คิดว่าดีเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ความทุกข์ใจของสาธารณชนต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ พบว่า สถานการณ์ที่ทำให้
ประชาชนทุกข์ใจมากเป็นอันดับแรกหรือร้อยละ 52.2 คือความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รอง ลงมาคือร้อยละ 49.7 ระบุเป็นการปะทะกัน
ระหว่างกลุ่มหนุน กับ กลุ่มต่อต้านพันธมิตร ในขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุทุกข์ใจต่อปัญหาปากท้องและค่าครองชีพ และร้อยละ 38.5 ระบุทุกข์ใจต่อปัญหา
ชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
แต่เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.3 เห็นด้วย เพราะ ถ้าไม่แก้แล้วจะเกิดความ
วุ่นวาย / เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพรรคการเมือง / ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ / เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เป็นต้น ในขณะที่ ประชาชน
จำนวนมากเช่นกันหรือ ร้อยละ 46.7 ไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้าแก้ไขจะเกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง / ต้องการให้
ประชาชนมีส่วนร่วมลงประชามติก่อน เป็นต้น
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ การลงประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 เห็นด้วยว่า ควรลง
ประชามติถามประชาชนก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ไม่เห็นด้วย
ที่น่าพิจารณาคือ การวิเคราะห์ทางสถิติจำแนกความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามระดับการศึกษา พบว่า ยิ่งการศึกษาสูงขึ้น จะเห็น
ด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญลดน้อยลง โดยคนที่เรียนจบต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.5 คนจบปริญญาตรีร้อยละ 46.3 และคนจบสูงกว่าปริญญาตรีร้อย
ละ 43.3 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในทางตรงกันข้าม ยิ่งคนที่จบการศึกษาสูงขึ้น ยิ่งไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
44.5 ของคนที่จบต่ำกว่าปริญญาตรี ไปอยู่ที่ร้อยละ 56.7 ของคนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้น้อยมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าคนที่มีรายได้สูง โดยพบว่า คนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่
เกิน 15,000 บาท ร้อยละ 54.0 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่คนที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 52.7 ไม่เห็นด้วยกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกประชาชนออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในทุกภาคยกเว้นภาคใต้นั้น เกินกว่าครึ่ง คือ ภาคเหนือร้อยละ 55.4
ภาคกลางร้อยละ 59.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 51.9 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 56.7 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ภาคใต้
ร้อยละ 42.7 ที่เห็นด้วย แต่ร้อยละ 57.3 ของคนในภาคใต้ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนที่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่คนที่ไม่สนับ
สนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลุ่มคนที่น่าสนใจคือ คนที่ประกาศตนเองว่าเป็นพลังเงียบ ไม่ขออยู่ฝ่าย
ใด กำลังถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มพอๆ กันคือ ร้อยละ 51.6 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย และเป็น
รัฐธรรมนูญที่ทำให้การเมืองอ่อนแอ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย และเป็น
การทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง เป็นต้น
ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาบ้านเมืองและปมขัดแย้งในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังทำให้สาธารณชนคนไทยตกอยู่
ในสภาวะท่ามกลางเขาควาย (Dilemma) เพราะจะแก้รัฐธรรมนูญก็มีปัญหา แต่ถ้าจะไม่แก้รัฐธรรมนูญก็มีปัญหา ดังนั้นแนวทางออกที่ทุกฝ่ายอาจนำไป
พิจารณาได้โดยเรียงอันดับ เป็นดังนี้
อันดับแรก คือ มองว่าประชาชนทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นฝ่ายรุก และออกมาแสดงจุดยืนตามแนวทางประชาธิปไตยโดยไม่ใช้ความรุนแรง
จึงควรปล่อยให้เป็นไปตามวิถีทางและธรรมชาติของมัน เพราะถ้าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ล้มตาย การเคลื่อนไหวของ
กลุ่มเหล่านั้น ก็จะเป็นการปรับฐานการเมืองใหม่ของประเทศ แต่จะยกระดับคุณภาพของประชาชน หรือทำให้คุณภาพของประชาชนตกต่ำนั้น เป็นเรื่องที่
ต้องประเมินว่า การเคลื่อนไหวเหล่านั้นทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ หรือมีผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนและพวกพ้องแอบแฝง
อันดับที่สอง คือ ต้องเร่งฟื้นฟู เสริมสร้าง ความมีสติสัมปชัญญะในกลุ่มประชาชน เพราะผลวิจัยหลายครั้งที่ทำเรื่องสถานภาพคุณธรรมของ
ประชาชน พบว่า สติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่มีค่าคะแนนต่ำสุด เพราะถ้าคนไทยส่วนใหญ่มีสติสัมปชัญญะแล้ว ปัญหาที่พวกเรากำลังอยู่ท่ามกลางเขาควาย
(Dilemma) ก็จะพบทางออกได้ไม่ยาก โดยเฉพาะผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การลงประชามติถามประชาชนก่อนว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็น
แนวทางที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นเราจึงอาจจะเริ่มเดินหาทางออก ด้วยวิธีการนี้ได้
อันดับที่สาม คือ มองว่ากลไกของรัฐในขณะนี้ที่ต้องประสานกันอย่างลงตัวมีทั้งหมด 5 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
ฝ่ายการเมืองภาคประชาชน และฝ่ายสื่อมวลชน โดยทั้งหมดต้องปล่อยให้เหตุการณ์ขัดแย้งและคดีความการเมืองต่างๆ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ มีท่อน้ำหล่อเลี้ยงทั้งห้าฝ่ายด้วยความรักความสามัคคี ไม่ใช่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยม่านสีเทาหรือสีใดๆ ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนไทยทุกคนอาจจะช่วยกันพิจารณาคือ ผลวิจัยเคยพบว่า มีประชาชนจำนวนมากสามารถอยู่ได้ทุกสถานการณ์ของบ้าน
เมือง เพราะพวกเขาเหล่านั้นใส่ใจกับปัญหาการเมืองแต่ไม่หมกมุ่นจนเกินไป พวกเขารับเอาสถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ มาเป็นสัญญาณเตือนภัย และใช้
ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีความสมดุลในการดำเนินชีวิต ผลที่ตามมาก็คือ พวกเขาเหล่านั้นอยู่ได้อย่างมีความสุข ท่ามกลาง
อาการแกว่งตัวของเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสาย
ตาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง
ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่
สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,880 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551ประเภท
ของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,880 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 159 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 29.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชากรณีปราสาทเขาพระวิหาร ค่าร้อยละ
1 คิดว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น 27.7
2 ดีเหมือนเดิม 13.2
3 ยังไม่ดีขึ้น 59.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ
ลำดับที่ ความทุกข์ใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ ค่าร้อยละ
1 ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 52.2
2 การปะทะกันระหว่างกลุ่มหนุน กับกลุ่มต่อต้านพันธมิตร 49.7
3 ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพ (ปัญหาเศรษฐกิจ) 48.7
4 ปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร 38.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ถ้าไม่แก้จะเกิดความวุ่นวาย / เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพรรคการเมือง /
ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ / เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เป็นต้น 53.3
2 ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าแก้ไขจะเกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง /
ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมลงประชามติก่อน เป็นต้น 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การลงประชามติถามประชาชนก่อนว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ควรแก้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติถามประชาชนก่อน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยว่า ควรลงประชามติถามประชาชนก่อน 74.6
2 ไม่เห็นด้วย 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่า ป.ตรี ป.ตรี สูงกว่าป.ตรี
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 55.5 46.3 43.3
2 ไม่เห็นด้วย 44.5 53.7 56.7
รวมทั้งสิ้น 100 100 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เกิน 15,000 15,001-20,000 มากกว่า 20,000
1. เห็นด้วย 54.0 52.9 47.3
2. ไม่เห็นด้วย 46.0 47.1 52.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตาม ภูมิภาค
ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร
1. เห็นด้วย 55.4 59.0 51.9 42.7 56.7
2. ไม่เห็นด้วย 44.6 41.0 48.1 57.3 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ขออยู่ฝ่ายใด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 71.1 27.5 51.6
2 ไม่เห็นด้วย 28.9 72.5 48.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
แก้ไขรัฐธรรมนูญในสายตาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระ
นครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,880 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.
ศ. 2551
เมื่อถามความคิดเห็นของสาธารณชนต่อสถานการณ์ชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1
ระบุคิดว่าสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 27.7 คิดว่าเริ่มดีขึ้น และร้อยละ 13.2 คิดว่าดีเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึง ความทุกข์ใจของสาธารณชนต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ พบว่า สถานการณ์ที่ทำให้
ประชาชนทุกข์ใจมากเป็นอันดับแรกหรือร้อยละ 52.2 คือความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รอง ลงมาคือร้อยละ 49.7 ระบุเป็นการปะทะกัน
ระหว่างกลุ่มหนุน กับ กลุ่มต่อต้านพันธมิตร ในขณะที่ร้อยละ 48.7 ระบุทุกข์ใจต่อปัญหาปากท้องและค่าครองชีพ และร้อยละ 38.5 ระบุทุกข์ใจต่อปัญหา
ชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
แต่เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.3 เห็นด้วย เพราะ ถ้าไม่แก้แล้วจะเกิดความ
วุ่นวาย / เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพรรคการเมือง / ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ / เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เป็นต้น ในขณะที่ ประชาชน
จำนวนมากเช่นกันหรือ ร้อยละ 46.7 ไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้าแก้ไขจะเกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง / ต้องการให้
ประชาชนมีส่วนร่วมลงประชามติก่อน เป็นต้น
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อ การลงประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.6 เห็นด้วยว่า ควรลง
ประชามติถามประชาชนก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 25.4 ไม่เห็นด้วย
ที่น่าพิจารณาคือ การวิเคราะห์ทางสถิติจำแนกความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามระดับการศึกษา พบว่า ยิ่งการศึกษาสูงขึ้น จะเห็น
ด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญลดน้อยลง โดยคนที่เรียนจบต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.5 คนจบปริญญาตรีร้อยละ 46.3 และคนจบสูงกว่าปริญญาตรีร้อย
ละ 43.3 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในทางตรงกันข้าม ยิ่งคนที่จบการศึกษาสูงขึ้น ยิ่งไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นจากร้อยละ
44.5 ของคนที่จบต่ำกว่าปริญญาตรี ไปอยู่ที่ร้อยละ 56.7 ของคนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
อย่างไรก็ตาม คนที่มีรายได้น้อยมีจำนวนคนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าคนที่มีรายได้สูง โดยพบว่า คนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่
เกิน 15,000 บาท ร้อยละ 54.0 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่คนที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 52.7 ไม่เห็นด้วยกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกประชาชนออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในทุกภาคยกเว้นภาคใต้นั้น เกินกว่าครึ่ง คือ ภาคเหนือร้อยละ 55.4
ภาคกลางร้อยละ 59.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 51.9 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 56.7 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ภาคใต้
ร้อยละ 42.7 ที่เห็นด้วย แต่ร้อยละ 57.3 ของคนในภาคใต้ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า คนที่สนับสนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่คนที่ไม่สนับ
สนุนรัฐบาลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กลุ่มคนที่น่าสนใจคือ คนที่ประกาศตนเองว่าเป็นพลังเงียบ ไม่ขออยู่ฝ่าย
ใด กำลังถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มพอๆ กันคือ ร้อยละ 51.6 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย และเป็น
รัฐธรรมนูญที่ทำให้การเมืองอ่อนแอ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ ไม่อยากเห็นบ้านเมืองวุ่นวาย และเป็น
การทำเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง เป็นต้น
ผอ. เอแบคโพลล์ กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาบ้านเมืองและปมขัดแย้งในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังทำให้สาธารณชนคนไทยตกอยู่
ในสภาวะท่ามกลางเขาควาย (Dilemma) เพราะจะแก้รัฐธรรมนูญก็มีปัญหา แต่ถ้าจะไม่แก้รัฐธรรมนูญก็มีปัญหา ดังนั้นแนวทางออกที่ทุกฝ่ายอาจนำไป
พิจารณาได้โดยเรียงอันดับ เป็นดังนี้
อันดับแรก คือ มองว่าประชาชนทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นฝ่ายรุก และออกมาแสดงจุดยืนตามแนวทางประชาธิปไตยโดยไม่ใช้ความรุนแรง
จึงควรปล่อยให้เป็นไปตามวิถีทางและธรรมชาติของมัน เพราะถ้าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ล้มตาย การเคลื่อนไหวของ
กลุ่มเหล่านั้น ก็จะเป็นการปรับฐานการเมืองใหม่ของประเทศ แต่จะยกระดับคุณภาพของประชาชน หรือทำให้คุณภาพของประชาชนตกต่ำนั้น เป็นเรื่องที่
ต้องประเมินว่า การเคลื่อนไหวเหล่านั้นทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ หรือมีผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนและพวกพ้องแอบแฝง
อันดับที่สอง คือ ต้องเร่งฟื้นฟู เสริมสร้าง ความมีสติสัมปชัญญะในกลุ่มประชาชน เพราะผลวิจัยหลายครั้งที่ทำเรื่องสถานภาพคุณธรรมของ
ประชาชน พบว่า สติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่มีค่าคะแนนต่ำสุด เพราะถ้าคนไทยส่วนใหญ่มีสติสัมปชัญญะแล้ว ปัญหาที่พวกเรากำลังอยู่ท่ามกลางเขาควาย
(Dilemma) ก็จะพบทางออกได้ไม่ยาก โดยเฉพาะผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การลงประชามติถามประชาชนก่อนว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็น
แนวทางที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นเราจึงอาจจะเริ่มเดินหาทางออก ด้วยวิธีการนี้ได้
อันดับที่สาม คือ มองว่ากลไกของรัฐในขณะนี้ที่ต้องประสานกันอย่างลงตัวมีทั้งหมด 5 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
ฝ่ายการเมืองภาคประชาชน และฝ่ายสื่อมวลชน โดยทั้งหมดต้องปล่อยให้เหตุการณ์ขัดแย้งและคดีความการเมืองต่างๆ เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ มีท่อน้ำหล่อเลี้ยงทั้งห้าฝ่ายด้วยความรักความสามัคคี ไม่ใช่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยม่านสีเทาหรือสีใดๆ ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คนไทยทุกคนอาจจะช่วยกันพิจารณาคือ ผลวิจัยเคยพบว่า มีประชาชนจำนวนมากสามารถอยู่ได้ทุกสถานการณ์ของบ้าน
เมือง เพราะพวกเขาเหล่านั้นใส่ใจกับปัญหาการเมืองแต่ไม่หมกมุ่นจนเกินไป พวกเขารับเอาสถานการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ มาเป็นสัญญาณเตือนภัย และใช้
ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีความสมดุลในการดำเนินชีวิต ผลที่ตามมาก็คือ พวกเขาเหล่านั้นอยู่ได้อย่างมีความสุข ท่ามกลาง
อาการแกว่งตัวของเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์บ้านเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสาย
ตาของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง
ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่
สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,880 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551ประเภท
ของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่ว
ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,880 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาด
เคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 159 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 44.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 29.3 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.3 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 17.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.4 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ไม่ระบุอาชีพ
ทั้งนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 37.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 7.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชากรณีปราสาทเขาพระวิหาร ค่าร้อยละ
1 คิดว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น 27.7
2 ดีเหมือนเดิม 13.2
3 ยังไม่ดีขึ้น 59.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ
ลำดับที่ ความทุกข์ใจต่อสถานการณ์บ้านเมืองใน 4 ปัญหาหลักของประเทศ ค่าร้อยละ
1 ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 52.2
2 การปะทะกันระหว่างกลุ่มหนุน กับกลุ่มต่อต้านพันธมิตร 49.7
3 ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพ (ปัญหาเศรษฐกิจ) 48.7
4 ปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา กรณีปราสาทเขาพระวิหาร 38.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ ถ้าไม่แก้จะเกิดความวุ่นวาย / เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพรรคการเมือง /
ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ / เป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ เป็นต้น 53.3
2 ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าแก้ไขจะเกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง /
ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมลงประชามติก่อน เป็นต้น 46.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ การลงประชามติถามประชาชนก่อนว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ควรแก้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการลงประชามติถามประชาชนก่อน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยว่า ควรลงประชามติถามประชาชนก่อน 74.6
2 ไม่เห็นด้วย 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่า ป.ตรี ป.ตรี สูงกว่าป.ตรี
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 55.5 46.3 43.3
2 ไม่เห็นด้วย 44.5 53.7 56.7
รวมทั้งสิ้น 100 100 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เกิน 15,000 15,001-20,000 มากกว่า 20,000
1. เห็นด้วย 54.0 52.9 47.3
2. ไม่เห็นด้วย 46.0 47.1 52.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตาม ภูมิภาค
ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร
1. เห็นด้วย 55.4 59.0 51.9 42.7 56.7
2. ไม่เห็นด้วย 44.6 41.0 48.1 57.3 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล ไม่ขออยู่ฝ่ายใด
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 71.1 27.5 51.6
2 ไม่เห็นด้วย 28.9 72.5 48.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-