แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
ในสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นถือว่าเป็นปัญหาที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ให้ความสำคัญในลำดับต้นในการแก้ไขปัญหา เพื่อหาแนวทาง หรือแนวปฏิบัติเพื่อวางนโยบายจัดการกับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง และกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นของสังคมไทย ซึ่งปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังมีมายาวนาน และยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้
คอรัปชั่นเป็นระบบของปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลายส่วนที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาอย่าง
ยั่งยืน หรือการสร้างความเป็นธรรมรัฐนั้น จะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่างๆ นับตั้งแต่การมีระบบเลือกตั้งที่ดี มีความ
บริสุทธิ์ยุติธรรม นำไปสู่การเลือกตั้งที่มีนักการเมืองที่มีคุณภาพ มีระบบและกระบวนการยุติธรรมที่เชื่อถือได้ มีระบบการ
สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มีระบบการรับผิดชอบการตัดสินใจของตนเอง และการเปิดโอกาสให้ภาคประชา
สังคมมีสิทธิ มีเสียงและมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมือง และที่สำคัญที่สุด พวกเราคนไทยทุกคนต้องไม่เห็นผิด
เป็นชอบ และร่วมมือร่วมใจกันปลุกจิตสำนึกความโปร่งใสเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากหัว
หน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ถึงความคิดเห็นในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง การทุจริตคอรัปชั่น
ของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมืองระดับชาติ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล
ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมืองระดับชาติ
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะแจ้งความดำเนินคดีในประเด็นต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจต้น
ตอทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่าง วันที่ 20 กุมภาพันธ์ — 26 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชลบุรี ระยอง ราชบุรี ประจวบ
คีรีขันธ์ กาญจนบุรี ขอนแก่น สกลนคร เลย หนองคาย อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สงขลา นครศรี
ธรรมราช ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,156 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.7 เป็นหญิง ร้อยละ 45.3 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 31.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 18.4
อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 16.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ
76.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.4 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 30.7 รับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ร้อยละ 25.6 ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อย
ละ 14.9 เป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 12.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ ร้อยละ
2.1 เป็นนักศึกษา และร้อยละ 3.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยภาคสนามเรื่อง “สำรวจต้นตอทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน” โดยศึกษา
ทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,156 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 94.8 ได้ติดตามข่าวสารประจำวัน และร้อยละ 5.2 ไม่ได้ติดตามข่าว
สารประจำวันเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 66.3 เชื่อว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา
ร้อยละ 21.4 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างร้อยละ 73.9 เชื่อว่ามีนักการ
เมืองระดับชาติอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องจากการประมูล / สัมปทานโครงการขนาด
ใหญ่ ร้อยละ 18.7 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันหรือไม่
นั้น พบว่า ร้อยละ 84.9 เชื่อว่ามี ร้อยละ 12.2 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 2.9 ไม่มีความเห็น สำหรับความเชื่อมั่น
ต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่ทุจริตคอรัปชั่น นั้น พบว่า ร้อยละ 41.9 ค่อนข้างเชื่อ
มั่น — เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 52.0 ไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ
6.1 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 เห็นด้วยที่คนไทยมักจะยอมจ่ายค่าสิน
น้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือพ้นจากความผิดที่ทำ ร้อยละ 27.4 ไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามไปถึงว่า จะจ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่เพื่อแลกกับความ
สะดวกสบายหรือการพ้นความผิดที่ทำ พบว่า ร้อยละ 42.8 ไม่จ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 34.9
ยอมจ่ายค่าสินน้ำใจ และร้อยละ 22.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ความตั้งใจจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น เมื่อเปรียบเทียบ
กับระยะห่างทางสังคมกับคนที่มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่น นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.7 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อ
พบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นนักการเมืองมากที่สุด รองลงมา คือ ตัวอย่างร้อยละ 83.6 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบ
คนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 79.1 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในชุมชน และ
ร้อยละ 67.6 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเพื่อนบ้านสนิท ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 43.0 ไม่
แจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในครอบครัวอยู่บ้านเดียวกัน ร้อยละ 40.7 ไม่แจ้งความดำเนิน
คดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นญาติสนิทอยู่บ้านเดียวกัน และร้อยละ 40.2 ไม่แจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริต
คอรัปชั่นเป็นผู้มีบุญคุณเคยช่วยเหลือกันมา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ต้นตอทุจริต
คอรัปชั่นในทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้เริ่มมาจากการลงทุนซื้อสิทธิขายเสียงจากการเลือกตั้ง จากนั้น
กลุ่มนักการเมืองก็อยู่เบื้องหลังการทุจริตคอรัปชั่นจากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลให้ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดิม
นอกจากนี้ ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขเพราะหัวหน้าครัว
เรือนจำนวนมากมีท่าทีที่จะไม่แจ้งความเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่นถ้าเป็นคนใกล้ชิดของตนเอง เช่นเป็นญาติสนิท คนใน
ครอบครัว และคนที่เคยมีบุญคุณช่วยเหลือกันมา เป็นต้น
ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่น่าจะพิจารณาคือการบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นลงไปในหลักสูตรที่แยกออกมาจากวิชา
จริยธรรมในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยชี้ให้เด็กและเยาวชนเห็นผลร้ายอย่างเด่นชัดของ
การทุจริตคอรัปชั่นที่ทำลายความเจริญเติบโตของประเทศพังพินาศไปหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เช่น กรณีปัญหา
คอรัปชั่นในยุค พล.อ.ชาติชาย ที่ถูกอ้างนำไปสู่การปกครองโดยคณะ รสช. กรณีการก่อสร้างขนาดใหญ่ของการรถไฟฯ
ที่กลายเป็นซากสิ่งปลูกสร้างค้างคาใจให้คนไทยเห็นถึงทุกวันนี้ กรณีปิดสถาบันการเงินและการล่มสลายของระบบ
เศรษฐกิจของประเทศ กรณีล่าสุดข่าวคอรัปชั่นในการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่สนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีข่าวเจ้า
หน้าที่รัฐร่วมกับผู้ประกอบการบ้านจัดสรรทุจริตที่ดินสร้างบ้านให้คุณรัตนาในฐานะผู้บริโภคที่ต้องได้รับความเดือดร้อน
อย่างไม่เป็นธรรม
การบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกรณีศึกษาต่างๆ ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนน่าจะทำให้เด็กและ
เยาวชนตระหนักถึงผลร้ายที่จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต และเป็นการปลูกฝังลงไปยังจิตสำนึกของ
พวกเขาให้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในสังคมที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้
รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศทำสงครามคอรัปชั่นเมื่อ 3 — 4 เดือนที่ผ่านมาต้อง
จัดการขั้นเด็ดขาดให้เด็กและเยาวชนเห็นชัดๆ กันว่าคนที่ทุจริตคอรัปชั่นจะลงเอยด้วยความเจ็บปวดอย่างไร เพื่อเด็ก
และเยาวชนจะไม่หลงผิดเอาเยี่ยงอย่างคนที่ทุจริตคอรัปชั่น รัฐบาลไม่ควรสร้างความหวังให้กับประชาชนว่าจะปราบ
คอรัปชั่นเหมือนกับคณะ รสช. ที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป การบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกรณีศึกษาต่างๆ ลงในหลักสูตรการเรียนการสอนใน
โรงเรียนและการปราบปรามอย่างจริงจังของรัฐบาลชุดปัจจุบันให้เด็กและเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่าง น่าจะทำให้เด็ก
และเยาวชนเกิดจิตสำนึกของการใช้ชีวิตที่ซื่อสัตย์สุจริตในความเจริญเติบโตของประเทศแบบยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวัน ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.8
2 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 66.3
2 ไม่เชื่อว่ามี 21.4
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีนักการเมืองระดับชาติอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตัวและพวกพ้องจากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 73.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 18.7
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 84.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 12.2
3 ไม่มีความเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง
ที่ทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 8.2
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 33.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.9
4 ไม่เชื่อมั่น 12.1
5 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่คนไทยมักจะยอมจ่าย
ค่าสินน้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือพ้นจากความผิดที่ทำ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 58.3
2 ไม่เห็นด้วย 27.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านจะจ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่
เพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือการพ้นความผิดที่ทำ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จ่าย 34.9
2 ไม่จ่าย 42.8
3 ไม่มีความเห็น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น
เมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างทางสังคมกับคนที่มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ระดับความสัมพันธ์ระหว่างคนตอบกับคนที่ทุจริตคอรัปชั่น แจ้งความดำเนินคดี ไม่แจ้งความ ไม่มีความเห็น
1 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นรัฐมนตรี 83.6 4.8 11.6
2 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นนักการเมือง 84.7 3.2 12.1
3 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในชุมชน 79.1 7.9 13.0
4 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเพื่อนบ้านสนิท 67.6 18.9 13.5
5 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นญาติสนิทอยู่บ้านเดียวกัน 30.8 40.7 28.5
6 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในครอบครัวอยู่บ้านเดียวกัน 28.1 43.0 28.9
7 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นผู้มีบุญคุณเคยช่วยเหลือกันมา 36.9 40.2 22.9
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทย ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นถือว่าเป็นปัญหาที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ให้ความสำคัญในลำดับต้นในการแก้ไขปัญหา เพื่อหาแนวทาง หรือแนวปฏิบัติเพื่อวางนโยบายจัดการกับปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมือง และกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นของสังคมไทย ซึ่งปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาเรื้อรังมีมายาวนาน และยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้
คอรัปชั่นเป็นระบบของปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลายส่วนที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น แนวทางแก้ไขปัญหาอย่าง
ยั่งยืน หรือการสร้างความเป็นธรรมรัฐนั้น จะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่างๆ นับตั้งแต่การมีระบบเลือกตั้งที่ดี มีความ
บริสุทธิ์ยุติธรรม นำไปสู่การเลือกตั้งที่มีนักการเมืองที่มีคุณภาพ มีระบบและกระบวนการยุติธรรมที่เชื่อถือได้ มีระบบการ
สร้างความโปร่งใสและตรวจสอบได้ มีระบบการรับผิดชอบการตัดสินใจของตนเอง และการเปิดโอกาสให้ภาคประชา
สังคมมีสิทธิ มีเสียงและมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมือง และที่สำคัญที่สุด พวกเราคนไทยทุกคนต้องไม่เห็นผิด
เป็นชอบ และร่วมมือร่วมใจกันปลุกจิตสำนึกความโปร่งใสเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากหัว
หน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ถึงความคิดเห็นในการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง การทุจริตคอรัปชั่น
ของเจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมืองระดับชาติ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล
ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัญหาคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมืองระดับชาติ
3. เพื่อสำรวจความตั้งใจที่จะแจ้งความดำเนินคดีในประเด็นต่างๆ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจต้น
ตอทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน: กรณีศึกษาทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่าง วันที่ 20 กุมภาพันธ์ — 26 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ หัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร ชลบุรี ระยอง ราชบุรี ประจวบ
คีรีขันธ์ กาญจนบุรี ขอนแก่น สกลนคร เลย หนองคาย อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สงขลา นครศรี
ธรรมราช ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,156 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.7 เป็นหญิง ร้อยละ 45.3 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 31.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 18.4
อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 16.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ
76.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.4 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 30.7 รับจ้างทั่วไป/เกษตรกร ร้อยละ 25.6 ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อย
ละ 14.9 เป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 12.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ ร้อยละ
2.1 เป็นนักศึกษา และร้อยละ 3.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลวิจัยภาคสนามเรื่อง “สำรวจต้นตอทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน” โดยศึกษา
ทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,156 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 94.8 ได้ติดตามข่าวสารประจำวัน และร้อยละ 5.2 ไม่ได้ติดตามข่าว
สารประจำวันเลย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 66.3 เชื่อว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา
ร้อยละ 21.4 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 12.3 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างร้อยละ 73.9 เชื่อว่ามีนักการ
เมืองระดับชาติอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องจากการประมูล / สัมปทานโครงการขนาด
ใหญ่ ร้อยละ 18.7 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันหรือไม่
นั้น พบว่า ร้อยละ 84.9 เชื่อว่ามี ร้อยละ 12.2 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 2.9 ไม่มีความเห็น สำหรับความเชื่อมั่น
ต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงที่ทุจริตคอรัปชั่น นั้น พบว่า ร้อยละ 41.9 ค่อนข้างเชื่อ
มั่น — เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 52.0 ไม่ค่อยเชื่อมั่น-ไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ
6.1 ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 เห็นด้วยที่คนไทยมักจะยอมจ่ายค่าสิน
น้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือพ้นจากความผิดที่ทำ ร้อยละ 27.4 ไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามไปถึงว่า จะจ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่เพื่อแลกกับความ
สะดวกสบายหรือการพ้นความผิดที่ทำ พบว่า ร้อยละ 42.8 ไม่จ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 34.9
ยอมจ่ายค่าสินน้ำใจ และร้อยละ 22.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ความตั้งใจจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น เมื่อเปรียบเทียบ
กับระยะห่างทางสังคมกับคนที่มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่น นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.7 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อ
พบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นนักการเมืองมากที่สุด รองลงมา คือ ตัวอย่างร้อยละ 83.6 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบ
คนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 79.1 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในชุมชน และ
ร้อยละ 67.6 จะแจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเพื่อนบ้านสนิท ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 43.0 ไม่
แจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในครอบครัวอยู่บ้านเดียวกัน ร้อยละ 40.7 ไม่แจ้งความดำเนิน
คดี เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นญาติสนิทอยู่บ้านเดียวกัน และร้อยละ 40.2 ไม่แจ้งความดำเนินคดี เมื่อพบคนที่ทุจริต
คอรัปชั่นเป็นผู้มีบุญคุณเคยช่วยเหลือกันมา
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ต้นตอทุจริต
คอรัปชั่นในทรรศนะของหัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้เริ่มมาจากการลงทุนซื้อสิทธิขายเสียงจากการเลือกตั้ง จากนั้น
กลุ่มนักการเมืองก็อยู่เบื้องหลังการทุจริตคอรัปชั่นจากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่ ส่งผลให้ปัญหาทุจริต
คอรัปชั่นยังคงมีอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดิม
นอกจากนี้ ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยังเป็นปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขเพราะหัวหน้าครัว
เรือนจำนวนมากมีท่าทีที่จะไม่แจ้งความเอาผิดคนทุจริตคอรัปชั่นถ้าเป็นคนใกล้ชิดของตนเอง เช่นเป็นญาติสนิท คนใน
ครอบครัว และคนที่เคยมีบุญคุณช่วยเหลือกันมา เป็นต้น
ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่น่าจะพิจารณาคือการบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นลงไปในหลักสูตรที่แยกออกมาจากวิชา
จริยธรรมในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยชี้ให้เด็กและเยาวชนเห็นผลร้ายอย่างเด่นชัดของ
การทุจริตคอรัปชั่นที่ทำลายความเจริญเติบโตของประเทศพังพินาศไปหลายครั้งหลายหนที่ผ่านมา เช่น กรณีปัญหา
คอรัปชั่นในยุค พล.อ.ชาติชาย ที่ถูกอ้างนำไปสู่การปกครองโดยคณะ รสช. กรณีการก่อสร้างขนาดใหญ่ของการรถไฟฯ
ที่กลายเป็นซากสิ่งปลูกสร้างค้างคาใจให้คนไทยเห็นถึงทุกวันนี้ กรณีปิดสถาบันการเงินและการล่มสลายของระบบ
เศรษฐกิจของประเทศ กรณีล่าสุดข่าวคอรัปชั่นในการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดที่สนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีข่าวเจ้า
หน้าที่รัฐร่วมกับผู้ประกอบการบ้านจัดสรรทุจริตที่ดินสร้างบ้านให้คุณรัตนาในฐานะผู้บริโภคที่ต้องได้รับความเดือดร้อน
อย่างไม่เป็นธรรม
การบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกรณีศึกษาต่างๆ ลงไปในหลักสูตรการเรียนการสอนน่าจะทำให้เด็กและ
เยาวชนตระหนักถึงผลร้ายที่จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขาในอนาคต และเป็นการปลูกฝังลงไปยังจิตสำนึกของ
พวกเขาให้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในสังคมที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้
รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศทำสงครามคอรัปชั่นเมื่อ 3 — 4 เดือนที่ผ่านมาต้อง
จัดการขั้นเด็ดขาดให้เด็กและเยาวชนเห็นชัดๆ กันว่าคนที่ทุจริตคอรัปชั่นจะลงเอยด้วยความเจ็บปวดอย่างไร เพื่อเด็ก
และเยาวชนจะไม่หลงผิดเอาเยี่ยงอย่างคนที่ทุจริตคอรัปชั่น รัฐบาลไม่ควรสร้างความหวังให้กับประชาชนว่าจะปราบ
คอรัปชั่นเหมือนกับคณะ รสช. ที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป การบรรจุปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกรณีศึกษาต่างๆ ลงในหลักสูตรการเรียนการสอนใน
โรงเรียนและการปราบปรามอย่างจริงจังของรัฐบาลชุดปัจจุบันให้เด็กและเยาวชนเห็นเป็นตัวอย่าง น่าจะทำให้เด็ก
และเยาวชนเกิดจิตสำนึกของการใช้ชีวิตที่ซื่อสัตย์สุจริตในความเจริญเติบโตของประเทศแบบยั่งยืนต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ติดตามข่าวสารประจำวัน
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารประจำวัน ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.8
2 ไม่ได้ติดตาม 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 66.3
2 ไม่เชื่อว่ามี 21.4
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีนักการเมืองระดับชาติอยู่เบื้องหลังแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตัวและพวกพ้องจากการประมูล/สัมปทานโครงการขนาดใหญ่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 73.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 18.7
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตคอรัปชั่นอยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 84.9
2 ไม่เชื่อว่ามี 12.2
3 ไม่มีความเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมในการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง
ที่ทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 8.2
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 33.7
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 39.9
4 ไม่เชื่อมั่น 12.1
5 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่คนไทยมักจะยอมจ่าย
ค่าสินน้ำใจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือพ้นจากความผิดที่ทำ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 58.3
2 ไม่เห็นด้วย 27.4
3 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ท่านจะจ่ายค่าสินน้ำใจให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่
เพื่อแลกกับความสะดวกสบายหรือการพ้นความผิดที่ทำ
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จ่าย 34.9
2 ไม่จ่าย 42.8
3 ไม่มีความเห็น 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่น
เมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างทางสังคมกับคนที่มีพฤติกรรมทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่ ระดับความสัมพันธ์ระหว่างคนตอบกับคนที่ทุจริตคอรัปชั่น แจ้งความดำเนินคดี ไม่แจ้งความ ไม่มีความเห็น
1 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นรัฐมนตรี 83.6 4.8 11.6
2 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นนักการเมือง 84.7 3.2 12.1
3 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในชุมชน 79.1 7.9 13.0
4 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเพื่อนบ้านสนิท 67.6 18.9 13.5
5 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นญาติสนิทอยู่บ้านเดียวกัน 30.8 40.7 28.5
6 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนในครอบครัวอยู่บ้านเดียวกัน 28.1 43.0 28.9
7 เมื่อพบคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นผู้มีบุญคุณเคยช่วยเหลือกันมา 36.9 40.2 22.9
--เอแบคโพลล์--
-พห-