ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กับ
ความทุกข์และความสุขของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระ
นครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,865 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 9 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
เมื่อถามถึงระดับความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.4 กำลังเป็นทุกข์
มากถึงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 23.1 ทุกข์ปานกลาง และร้อยละ 19.5 ทุกข์น้อยถึงไม่เป็นทุกข์เลย เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามภูมิภาค พบว่า
ประชาชนเกินครึ่งในทุกภูมิภาคกำลังเป็นทุกข์มากถึงมากที่สุดในเวลานี้ โดยพบว่า ประชาชนในภาคใต้มีสัดส่วนของผู้ที่กำลังเป็นทุกข์ต่อสภาพชีวิตความ
เป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องมากที่สุดมาเป็นอันดับที่ 1 คือ ร้อยละ 65.3 รองลงมาเป็นอันดับสอง คือ ประชาชนในภาคเหนือ ร้อยละ 57.7 ในขณะ
ที่ คนกรุงเทพมหานครกำลังมีความทุกข์มากเป็นอันดับที่สาม คือ ร้อยละ 56.8 ส่วนคนในภาคกลางที่กำลังเป็นทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุด มีอยู่ร้อยละ
56.1 และคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่กำลังเป็นทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุด มีอยู่ร้อยละ 55.4 ตามลำดับ
เมื่อถามถึง มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกมาช่วยเหลือประชาชน ว่า มีผลต่อระดับชีวิตความเป็นอยู่มากน้อยเพียงไร พบว่า สาธารณชน
ส่วนใหญ่ระบุว่า ยังอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ คือ ร้อยละ 42.1 ระบุว่า ยังคงแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 21.4 ระบุว่า แย่ลง ในขณะที่ ร้อยละ 16.9
ระบุว่า ดีเหมือนเดิม และร้อยละ 19.6 ระบุว่า ดีขึ้น
เมื่อถามว่า หลังจากได้เห็นรายชื่อรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว มีความหวัง และให้การยอมรับ มากน้อยเพียงไร เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบ
ว่า ค่าเฉลี่ยด้านความหวังอยู่ที่ 4.73 คะแนน และคะแนนการยอมรับอยู่ที่ 4.74 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความสุขโดยภาพรวม เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ยความสุข อยู่ที่
4.05 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภูมิภาคที่ได้คะแนนความสุขต่ำสุด ยังคงเป็น ประชาชนในภาคใต้
โดยมีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 3.76 คะแนน ในขณะที่ ประชาชนในภาคเหนือมีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.01 คะแนน ประชาชนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มี
ความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02 โดยที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.04 และประชาชนในภาคกลางมีค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยอยู่ที่
4.33 คะแนน
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 57.4 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ ประชาชนจำนวน
มาก หรือร้อยละ 42.6 ไม่ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ร้อยละ 59.6 ของตัวอย่างที่เป็นเพศชายให้โอกาส
รัฐบาล แต่ร้อยละ 40.4 ไม่ให้โอกาส ในขณะที่ ร้อยละ 55.6 ของตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงให้โอกาสรัฐบาล แต่ร้อยละ 44.4 ไม่ให้โอกาส
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สูงอายุมีสัดส่วนของคนที่ให้โอกาสรัฐบาลมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย โดยพบว่า ร้อย
ละ 53.3 ของคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีให้โอกาสรัฐบาล ในขณะที่กลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปให้โอกาสรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 58.6
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า คนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ให้โอกาสรัฐบาล แต่คนที่มี
การศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป มีอยู่ร้อยละ 52.7 ที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป และเมื่อจำแนกประชาชนออกตามพื้นที่ในเขตชนบท และเขตเมือง
พบว่า คนที่อยู่ในเขตชนบทร้อยละ 59.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล แต่คนในเขตเมืองที่ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 54.5
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้ผลสำรวจจะพบว่าประชาชนยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป แต่ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.1 ยอมรับได้
ถ้าพรรคการเมืองที่ตนเองนิยมศรัทธาอยู่ถูกตัดสินให้ยุบพรรค ในขณะที่ ร้อยละ 13.9 จะยอมรับไม่ได้
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในทุกภูมิภาคเกินครึ่งที่กำลังมีความทุกข์ยากต่อสภาพ
ชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะประชาชนในภาคใต้ที่กำลังเป็นทุกข์มากที่สุดต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ มีความสุขน้อยที่สุดเมื่อพูดถึงสถานการณ์การ
เมือง ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบด้วยว่า มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกมายังไม่มีผลยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะ
ประชาชนส่วนใหญ่ยังบอกกับผู้วิจัยว่า ชีวิตความเป็นอยู่ยังคงย่ำแย่เหมือนเดิม นอกจากนี้ ความหวังและการยอมรับได้ของสาธารณชนหลังจากได้เห็นราย
ชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ของรัฐบาลก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าครึ่งของเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย
อย่างไรก็ตาม ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป แต่ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมืองใดๆ ที่ประชาชน
นิยมศรัทธาอยู่ กลับพบว่า สาธารณชนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
ปล่อยให้ปัญหาคดีความทางการเมืองทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมและกฎแห่งกรรมมากกว่าจะยอมให้มีการทำรัฐประหารหรือปฏิวัติยึดอำนาจที่
ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความทุกข์ยากและความสุขของสาธารณชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กับความทุกข์และความ
สุขของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง
ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์
ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,865 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 9 สิงหาคม 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 186 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.3
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 10.3
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 11.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้
ลำดับที่ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้อง ค่าร้อยละ
1 เป็นทุกข์ระดับมาก ถึง มากที่สุด 57.4
2 เป็นทุกข์ระดับปานกลาง 23.1
3 เป็นทุกข์น้อย ถึง ไม่เป็นทุกข์อะไรเลย 19.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้อง เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม.
1 เป็นทุกข์ระดับมาก ถึง มากที่สุด 57.7 56.1 55.4 65.3 56.8
2 เป็นทุกข์ระดับปานกลาง 19.5 24.6 25.1 19.8 22.6
3 เป็นทุกข์น้อย ถึง ไม่เป็นทุกข์อะไรเลย 22.8 19.3 19.5 14.9 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับชีวิตความเป็นอยู่ หลังรัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ระดับชีวิตความเป็นอยู่ ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 19.6
2 ดีเหมือนเดิม 16.9
3 แย่เหมือนเดิม 42.1
4 แย่ลง 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความหวังและการยอมรับได้ หลังเห็นรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่
ลำดับที่ ความหวัง และการยอมรับได้ หลังเห็นรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ คะแนนเต็ม 10
1 ความหวัง 4.73
2 การยอมรับได้ 4.74
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความสุขโดยภาพรวม เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ เมื่อคะแนนเต็ม 10 จำแนกตามภูมิภาค
ระดับความสุข เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. ภาพรวมทั่วประเทศ
ค่าเฉลี่ยระดับความสุข 4.01 4.33 4.02 3.76 4.04 4.05
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 57.4
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 42.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ชาย หญิง
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 59.6 55.6
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 40.4 44.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาล ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 53.3 51.7 59.4 61.7 58.6
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 46.7 48.3 40.6 38.3 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 58.8 52.7
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 41.2 47.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามความเป็นเมืองกับชนบท
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป คนในเมือง คนในชนบท
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 54.5 59.3
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 45.5 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับ ถ้าพรรคการเมืองที่ตนเองนิยมศรัทธาถูกตัดสินให้ยุบพรรค
ลำดับที่ การยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ แม้พรรคที่นิยมศรัทธาจะถูกยุบ 86.1
2 ยอมรับไม่ได้ 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความทุกข์และความสุขของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระ
นครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร
เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,865 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 9 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วน
ใหญ่เกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
เมื่อถามถึงระดับความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.4 กำลังเป็นทุกข์
มากถึงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 23.1 ทุกข์ปานกลาง และร้อยละ 19.5 ทุกข์น้อยถึงไม่เป็นทุกข์เลย เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามภูมิภาค พบว่า
ประชาชนเกินครึ่งในทุกภูมิภาคกำลังเป็นทุกข์มากถึงมากที่สุดในเวลานี้ โดยพบว่า ประชาชนในภาคใต้มีสัดส่วนของผู้ที่กำลังเป็นทุกข์ต่อสภาพชีวิตความ
เป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องมากที่สุดมาเป็นอันดับที่ 1 คือ ร้อยละ 65.3 รองลงมาเป็นอันดับสอง คือ ประชาชนในภาคเหนือ ร้อยละ 57.7 ในขณะ
ที่ คนกรุงเทพมหานครกำลังมีความทุกข์มากเป็นอันดับที่สาม คือ ร้อยละ 56.8 ส่วนคนในภาคกลางที่กำลังเป็นทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุด มีอยู่ร้อยละ
56.1 และคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่กำลังเป็นทุกข์ระดับมากถึงมากที่สุด มีอยู่ร้อยละ 55.4 ตามลำดับ
เมื่อถามถึง มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกมาช่วยเหลือประชาชน ว่า มีผลต่อระดับชีวิตความเป็นอยู่มากน้อยเพียงไร พบว่า สาธารณชน
ส่วนใหญ่ระบุว่า ยังอยู่ในสภาวะที่ย่ำแย่ คือ ร้อยละ 42.1 ระบุว่า ยังคงแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 21.4 ระบุว่า แย่ลง ในขณะที่ ร้อยละ 16.9
ระบุว่า ดีเหมือนเดิม และร้อยละ 19.6 ระบุว่า ดีขึ้น
เมื่อถามว่า หลังจากได้เห็นรายชื่อรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว มีความหวัง และให้การยอมรับ มากน้อยเพียงไร เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบ
ว่า ค่าเฉลี่ยด้านความหวังอยู่ที่ 4.73 คะแนน และคะแนนการยอมรับอยู่ที่ 4.74 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความสุขโดยภาพรวม เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ยความสุข อยู่ที่
4.05 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนในภูมิภาคที่ได้คะแนนความสุขต่ำสุด ยังคงเป็น ประชาชนในภาคใต้
โดยมีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 3.76 คะแนน ในขณะที่ ประชาชนในภาคเหนือมีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.01 คะแนน ประชาชนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มี
ความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.02 โดยที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานคร มีความสุขเฉลี่ยอยู่ที่ 4.04 และประชาชนในภาคกลางมีค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยอยู่ที่
4.33 คะแนน
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 57.4 ยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ในขณะที่ ประชาชนจำนวน
มาก หรือร้อยละ 42.6 ไม่ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า ร้อยละ 59.6 ของตัวอย่างที่เป็นเพศชายให้โอกาส
รัฐบาล แต่ร้อยละ 40.4 ไม่ให้โอกาส ในขณะที่ ร้อยละ 55.6 ของตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงให้โอกาสรัฐบาล แต่ร้อยละ 44.4 ไม่ให้โอกาส
เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สูงอายุมีสัดส่วนของคนที่ให้โอกาสรัฐบาลมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย โดยพบว่า ร้อย
ละ 53.3 ของคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีให้โอกาสรัฐบาล ในขณะที่กลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปให้โอกาสรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 58.6
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า คนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.8 ให้โอกาสรัฐบาล แต่คนที่มี
การศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป มีอยู่ร้อยละ 52.7 ที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป และเมื่อจำแนกประชาชนออกตามพื้นที่ในเขตชนบท และเขตเมือง
พบว่า คนที่อยู่ในเขตชนบทร้อยละ 59.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาล แต่คนในเขตเมืองที่ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 54.5
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ถึงแม้ผลสำรวจจะพบว่าประชาชนยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป แต่ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.1 ยอมรับได้
ถ้าพรรคการเมืองที่ตนเองนิยมศรัทธาอยู่ถูกตัดสินให้ยุบพรรค ในขณะที่ ร้อยละ 13.9 จะยอมรับไม่ได้
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนในทุกภูมิภาคเกินครึ่งที่กำลังมีความทุกข์ยากต่อสภาพ
ชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะประชาชนในภาคใต้ที่กำลังเป็นทุกข์มากที่สุดต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ มีความสุขน้อยที่สุดเมื่อพูดถึงสถานการณ์การ
เมือง ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจยังพบด้วยว่า มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ออกมายังไม่มีผลยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เพราะ
ประชาชนส่วนใหญ่ยังบอกกับผู้วิจัยว่า ชีวิตความเป็นอยู่ยังคงย่ำแย่เหมือนเดิม นอกจากนี้ ความหวังและการยอมรับได้ของสาธารณชนหลังจากได้เห็นราย
ชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ของรัฐบาลก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าครึ่งของเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย
อย่างไรก็ตาม ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประชาชนยังคงให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป แต่ถ้ามีการตัดสินยุบพรรคการเมืองใดๆ ที่ประชาชน
นิยมศรัทธาอยู่ กลับพบว่า สาธารณชนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
ปล่อยให้ปัญหาคดีความทางการเมืองทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมและกฎแห่งกรรมมากกว่าจะยอมให้มีการทำรัฐประหารหรือปฏิวัติยึดอำนาจที่
ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความทุกข์ยากและความสุขของสาธารณชนในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กับความทุกข์และความ
สุขของสาธารณชน กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง
ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์
ธานี จำนวนทั้งสิ้น 3,865 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 9 สิงหาคม 2551 ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้น
เป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 186 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.6 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.6 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 24.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 3.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.8 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 57.5
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.3
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 10.3
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 11.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้
ลำดับที่ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้อง ค่าร้อยละ
1 เป็นทุกข์ระดับมาก ถึง มากที่สุด 57.4
2 เป็นทุกข์ระดับปานกลาง 23.1
3 เป็นทุกข์น้อย ถึง ไม่เป็นทุกข์อะไรเลย 19.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องในทุกวันนี้ จำแนกตามภูมิภาค
ลำดับที่ ความทุกข์ยากต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้อง เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม.
1 เป็นทุกข์ระดับมาก ถึง มากที่สุด 57.7 56.1 55.4 65.3 56.8
2 เป็นทุกข์ระดับปานกลาง 19.5 24.6 25.1 19.8 22.6
3 เป็นทุกข์น้อย ถึง ไม่เป็นทุกข์อะไรเลย 22.8 19.3 19.5 14.9 20.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับชีวิตความเป็นอยู่ หลังรัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ระดับชีวิตความเป็นอยู่ ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 19.6
2 ดีเหมือนเดิม 16.9
3 แย่เหมือนเดิม 42.1
4 แย่ลง 21.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความหวังและการยอมรับได้ หลังเห็นรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่
ลำดับที่ ความหวัง และการยอมรับได้ หลังเห็นรายชื่อรัฐมนตรีชุดใหม่ คะแนนเต็ม 10
1 ความหวัง 4.73
2 การยอมรับได้ 4.74
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยระดับความสุขโดยภาพรวม เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ เมื่อคะแนนเต็ม 10 จำแนกตามภูมิภาค
ระดับความสุข เมื่อพูดถึงสถานการณ์การเมืองของประเทศ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. ภาพรวมทั่วประเทศ
ค่าเฉลี่ยระดับความสุข 4.01 4.33 4.02 3.76 4.04 4.05
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 57.4
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 42.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ชาย หญิง
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 59.6 55.6
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 40.4 44.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาล ต่ำกว่า 20 ปี 20 — 29 ปี 30 — 39 ปี 40 — 49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 53.3 51.7 59.4 61.7 58.6
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 46.7 48.3 40.6 38.3 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 58.8 52.7
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 41.2 47.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป จำแนกตามความเป็นเมืองกับชนบท
ลำดับที่ ความต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป คนในเมือง คนในชนบท
1 ต้องการให้โอกาสทำงานต่อ 54.5 59.3
2 ไม่ต้องการให้โอกาส 45.5 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับ ถ้าพรรคการเมืองที่ตนเองนิยมศรัทธาถูกตัดสินให้ยุบพรรค
ลำดับที่ การยอมรับ ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ แม้พรรคที่นิยมศรัทธาจะถูกยุบ 86.1
2 ยอมรับไม่ได้ 13.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-