ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนจากหัวอกแม่ถึงลูกและสามี ว่าด้วยความสุขและทุกข์ในครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้เป็น
แม่และมีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,406 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 10 สิงหาคม 2551 ที่
ผ่านมา พบว่า
เมื่อถามถึงระดับความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ที่มีบุตรแล้วตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย
ด้านบรรยากาศในชุมชน ด้านครอบครัว ด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนผู้เป็นแม่ยังคงมีความสุข
ต่อครอบครัวมากที่สุด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.16 คะแนน รองลงมาคือ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพกายได้คะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากัน
คือ 6.53 ในขณะที่ความสุขต่อสุขภาพใจได้ 6.38 และที่น้อยสุดคือ ความสุขต่อบรรยากาศของคนในชุมชน ได้ 6.30 คะแนน
เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้เป็นแม่ออกตามพื้นที่ คือ แม่ที่อาศัยในเขตเมือง เขตชนบท และพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า
ประชาชนผู้เป็นแม่ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความสุขต่อด้านต่างๆ น้อยที่สุด โดยพบว่า ด้านครอบครัว แม่ที่อยู่ในเขตเมืองได้ 7.30 แม่ในเขต
ชนบทได้ 7.07 และแม่ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้ 7.05 ด้านสภาพแวดล้อม แม่ในเขตเมืองได้ 6.61 แม่ในเขตชนบทได้ 6.50 และแม่ในกรุงเทพ
มหานครได้ 6.45 ด้านบรรยากาศในชุมชน แม่ในเขตเมืองได้ 6.33 แม่ในเขตชนบทได้ 6.38 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้เพียง 5.86
นอกจากนี้ ด้านสุขภาพ แม่ในเขตเมืองได้ 6.70 แม่ในเขตชนบทได้ 6.50 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ 6.11 ในขณะที่ ด้าน
สุขภาพใจ แม่ในเขตเมืองได้ 6.46 แม่ในเขตชนบทได้ 6.35 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ 6.34
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขของแม่ที่อยู่ในชนบทมีความสุขในระดับต่ำและใกล้เคียงกับแม่ที่อยู่ใน
กรุงเทพมหานคร เพราะมีสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน คือ ลูกๆ ออกไปทำงานที่อื่นกันหมด ไม่ค่อยได้พบหน้ากัน ไม่มีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวร่วม
กัน และลูกๆ ไปทำงานในเมืองหรือในกรุงเทพมหานครแต่ส่งหลานๆ มาให้เลี้ยง
เมื่อสอบถามถึงแม่อยากบอกกับลูกๆ พบว่า ร้อยละ 49.2 อยากบอกลูกๆ ว่า แม่รักลูก อยากให้ลูกๆ มีความสุข รองลงมาคือร้อยละ
48.2 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ทำประโยชน์ให้กับสังคม ร้อยละ 25.7 อยากให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน ร้อยละ 21.9 อยากให้เป็นลูกที่ดีของ
พ่อแม่ ร้อยละ 11.2 ให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ร้อยละ 8.3 อยากให้สุขภาพแข็งแรง
แต่สิ่งที่อยากบอกกับสามี คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 อยากให้ทำหน้าที่สามีที่ดี เป็นพ่อที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี รองลงมาคือร้อยละ
30.5 อยากบอกว่ารักสามี มีความสุขที่ได้อยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน และร้อยละ 20.7 อยากให้สามีมีสุขภาพแข็งแรง
และสิ่งที่ทำให้ประชาชนผู้เป็นแม่มีความสุข พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ระบุการมีครอบครัวที่ดี อบอุ่น อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน และ
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 มีลูกเป็นคนดีของสังคม และร้อยละ 24.2 ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากคือ ลูกๆ ประสบความสำเร็จใน
ชีวิต
ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 31.9 ระบุสิ่งที่ทำให้แม่เป็นทุกข์คือ ความทุกข์ของลูก ปัญหาของลูก และเป็นห่วงลูก รองลงมาคือ ร้อยละ
23.6 ระบุปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัว ร้อยละ 23.2 ระบุความประพฤติไม่ดีของลูก ลูกไม่เชื่อฟัง ไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่ และร้อยละ 7.2 ระบุ
อื่นๆ เช่น สามีนอกใจ มีภรรยาน้อย สามีเสียชีวิต เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ สิ่งที่แม่อยากได้จากลูก คือ ร้อยละ 44.6 ระบุอยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ซื่อสัตย์ รองลงมาคือร้อยละ 29.9
อยากให้ลูกๆ กลับมาอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 17.4 อยากให้ลูกมีการปฏิบัติตัวที่ดีกับพ่อแม่ ร้อยละ 15.2 อยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ ร้อยละ 7.2 อยาก
ให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต มีการงานที่ดี และร้อยละ 4.2 ระบุอื่นๆ เช่น อะไรก็ได้ที่ลูกตั้งใจให้ การ์ดอวยพร ดอกมะลิ และไม่อยากได้อะไร
เพราะลูกๆ ทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นเสียงสะท้อนจากหัวอกของผู้เป็นแม่หลายประการที่น่าพิจารณาคือ แม่ในเขตชนบทกับแม่ในกรุงเทพ
มหานครมีระดับความสุขคะแนนเฉลี่ยต่ำพอๆ กัน เพราะไม่ค่อยมีบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ไม่มีเวลาให้แก่กัน ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อม
ตากัน ยิ่งแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดบางรายยังต้องเลี้ยงดูหลานที่ลูกๆ ไปทำงานกันในเมืองหรือในกรุงเทพมหานครส่งมาให้เลี้ยงดู นอกจากนี้ สิ่งที่แม่อยากบอก
กับลูกๆ คือ รักลูก อยากให้ลูกมีความสุข สิ่งที่อยากบอกสามีคือ อยากให้สามีเป็นคนดี เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก สิ่งที่ทำให้ผู้เป็นแม่เป็นทุกข์คือ ความทุกข์
ของลูก เหมือนกับจะบอกกับสังคมให้ทราบว่า ทุกข์ลูกคือทุกข์ของแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจครั้งนี้ พบด้วยว่า สิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากได้ในวันแม่ ไม่ใช่การ์ด
อวยพร หรือดอกมะลิ แต่กลับเป็นเรื่อง ความประพฤติที่ดีของลูกๆ อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ซื่อสัตย์สุจริต และอยากให้ลูกๆ มีโอกาสกลับมาอยู่ด้วย
กัน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ เป็นเสียงสะท้อนจากหัวอกของผู้เป็นแม่ทั่วๆ ไป ซึ่งในวันอังคารที่ 19 สิงหาคม
นี้ ศูนย์วิจัยความสุขฯ จะนำเสนอข้อมูลความสุขของคนทำงานในองค์กร บริษัทห้างร้านต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล ในงาน
เสวนา เรื่อง “เติมความสุขให้พนักงาน เพิ่มผลิตผลให้องค์กร” โดยมี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานเครือข่ายดัชนีอยู่เย็นเป็นสุข เปิดงานและ
บรรยายพิเศษ และผู้บริหารบริษัท องค์กรธุรกิจต่างๆ เข้าร่วมเป็นวิทยากร จำนวนมาก ที่ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขต
หัวหมาก เวลา 13.00 — 17.00 น. ผู้สนใจสำรองที่นั่งฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่เบอร์โทร. 02 -7191549 หรือ www.abacpoll.net
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสุขและความทุกข์ของผู้เป็นแม่ที่มีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. เพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากบอกลูกและสามีในโอกาสวันแม่แห่งชาติ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนจากหัวอกแม่ถึงลูกและสามี ว่าด้วยความสุขและทุกข์ในครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้
เป็นแม่และมีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวน
ทั้งสิ้น 1,406 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 10 สิงหาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณ
ทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 186 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 34.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 21.1 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 46.4 รายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.3 อยู่ระหว่าง 5001 — 10000 บาท
ร้อยละ 6.7 อยู่ระหว่าง 10001 — 15000 บาท
และร้อยละ 12.6 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนตั้งแต่ 15001 บาทขึ้นไป
สำหรับด้านการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.8 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 15.2 การศึกษาปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.3 มีบุตร 1 คน
และร้อยละ 65.7 มีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ด้านต่างๆ ท่ามกลางสังคมปัจจุบัน
ลำดับที่ ความสุขต่อ ด้านต่างๆ ของผู้เป็นแม่ในสังคมปัจจุบัน ค่าคะแนนเต็ม 10
1 ด้านครอบครัว 7.16
2 ด้านสภาพแวดล้อม 6.53
3 ด้านสุขภาพกาย 6.53
4 ด้านสุขภาพใจ 6.38
5 ด้านบรรยากาศในชุมชน 6.30
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ด้านต่างๆ ท่ามกลางสังคมปัจจุบัน จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ ความสุขต่อ ด้านต่างๆ ของผู้เป็นแม่ ในเขตเมือง ในเขตชนบท กรุงเทพมหานคร
1 ด้านครอบครัว 7.30 7.07 7.05
2 ด้านสภาพแวดล้อม 6.61 6.50 6.45
3 ด้านสุขภาพกาย 6.70 6.50 6.11
4 ด้านสุขภาพใจ 6.46 6.35 6.34
5 ด้านบรรยากาศในชุมชน 6.38 6.33 5.86
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับลูก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับลูก ค่าร้อยละ
1 รักลูกอยากให้ลูกมีความสุข 49.2
2 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม/ทำประโยชน์ให้สังคม 48.2
3 ให้ตั้งใจเรียน/ตั้งใจทำงาน 25.7
4 ให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ 21.9
5 ให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 11.2
6 ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 8.3
7 อื่นๆ อาทิ เป็นคนมีน้ำใจ/ซื้อสัตย์/ระมัดระวัง/รอบคอบ/ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท/
เป็นคนมีมารยาท/มีสัมมาคารวะ/รู้บุญคุณคน 5.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับสามี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับสามี ค่าร้อยละ
1 อยากให้ทำหน้าที่ของสามีที่ดี เช่น ขยันทำงาน ให้ช่วยดูแลลูก/ อยากให้สนใจลูกบ้าง
อยากให้เขาเป็นตัวอย่างที่ดี/เป็นพ่อที่ดี อยู่เป็นเสาหลักของบ้าน 60.4
2 อยากบอกว่ารักสามีมาก/มีความสุขมากที่ได้อยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน 30.5
3 ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 20.7
4 อยากให้สามีเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ 4.9
5 ให้เป็นสามีที่ดีของภรรยา 3.9
6 อยากให้อยู่ด้วยกันนานๆ 1.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 การมีครอบครัวดี /อบอุ่น/อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน /ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน /
มีความเข้าใจกัน/สามัคคีกัน/ได้มีครอบครัวมีลูก 66.2
2 มีลูกที่เป็นคนดีของสังคม 33.6
3 ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต/เรียนจบ/มีหน้าที่การงานที่ดี 24.2
4 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง/สุขภาพจิตดี 5.3
5 อื่นๆ อาทิ มีสามีดี /ชีวิตคู่ราบรื่น/การได้นั่งสมาธิ/ทำบุญ/เข้าวัด /บ้านเมืองสงบสุข 6.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความทุกข์มากที่สุดในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความทุกข์มากที่สุดในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ความทุกข์ของลูก/ปัญหาของลูก/เป็นห่วงลูก 31.9
2 เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของคนในครอบครัว 23.6
3 ความประพฤติของลูก/ลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่/ลูกไม่รู้จักบุญคุณ/ลูกไม่สามัคคีกัน 23.2
4 ปัญหาเศรษฐกิจ/ภาระหนี้สิน/ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว 21.5
5 ความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัว 9.0
6 อื่นๆ อาทิ สามีมีภรรยาน้อย/สามีเสียชีวิต เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากได้จากลูกในวันแม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากได้จากลูกในวันแม่ที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ
1 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม/เป็นคนซื่อสัตย์ 44.6
2 อยากให้ลูกกลับมาอยู่ด้วยกัน 29.9
3 อยากให้ลูกมีการปฏิบัติตัวที่ดีต่อพ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่/ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ 17.4
4 อยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ 15.2
5 อยากให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต/มีหน้าที่การงานดี/ 7.2
6 อื่นๆ อาทิ อะไรก็ได้ที่ลูกตั้งใจให้/การ์ดอวยพร/ดอกมะลิ/ไม่อยากได้อะไรเพราะลูกให้ทุกสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว 4.2
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนจากหัวอกแม่ถึงลูกและสามี ว่าด้วยความสุขและทุกข์ในครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้เป็น
แม่และมีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,406 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 10 สิงหาคม 2551 ที่
ผ่านมา พบว่า
เมื่อถามถึงระดับความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ที่มีบุตรแล้วตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย
ด้านบรรยากาศในชุมชน ด้านครอบครัว ด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนผู้เป็นแม่ยังคงมีความสุข
ต่อครอบครัวมากที่สุด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.16 คะแนน รองลงมาคือ ความสุขต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพกายได้คะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากัน
คือ 6.53 ในขณะที่ความสุขต่อสุขภาพใจได้ 6.38 และที่น้อยสุดคือ ความสุขต่อบรรยากาศของคนในชุมชน ได้ 6.30 คะแนน
เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้เป็นแม่ออกตามพื้นที่ คือ แม่ที่อาศัยในเขตเมือง เขตชนบท และพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า
ประชาชนผู้เป็นแม่ที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความสุขต่อด้านต่างๆ น้อยที่สุด โดยพบว่า ด้านครอบครัว แม่ที่อยู่ในเขตเมืองได้ 7.30 แม่ในเขต
ชนบทได้ 7.07 และแม่ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้ 7.05 ด้านสภาพแวดล้อม แม่ในเขตเมืองได้ 6.61 แม่ในเขตชนบทได้ 6.50 และแม่ในกรุงเทพ
มหานครได้ 6.45 ด้านบรรยากาศในชุมชน แม่ในเขตเมืองได้ 6.33 แม่ในเขตชนบทได้ 6.38 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้เพียง 5.86
นอกจากนี้ ด้านสุขภาพ แม่ในเขตเมืองได้ 6.70 แม่ในเขตชนบทได้ 6.50 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ 6.11 ในขณะที่ ด้าน
สุขภาพใจ แม่ในเขตเมืองได้ 6.46 แม่ในเขตชนบทได้ 6.35 และแม่ในเขตกรุงเทพมหานครได้ 6.34
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขของแม่ที่อยู่ในชนบทมีความสุขในระดับต่ำและใกล้เคียงกับแม่ที่อยู่ใน
กรุงเทพมหานคร เพราะมีสาเหตุที่คล้ายคลึงกัน คือ ลูกๆ ออกไปทำงานที่อื่นกันหมด ไม่ค่อยได้พบหน้ากัน ไม่มีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวร่วม
กัน และลูกๆ ไปทำงานในเมืองหรือในกรุงเทพมหานครแต่ส่งหลานๆ มาให้เลี้ยง
เมื่อสอบถามถึงแม่อยากบอกกับลูกๆ พบว่า ร้อยละ 49.2 อยากบอกลูกๆ ว่า แม่รักลูก อยากให้ลูกๆ มีความสุข รองลงมาคือร้อยละ
48.2 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ทำประโยชน์ให้กับสังคม ร้อยละ 25.7 อยากให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน ร้อยละ 21.9 อยากให้เป็นลูกที่ดีของ
พ่อแม่ ร้อยละ 11.2 ให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ร้อยละ 8.3 อยากให้สุขภาพแข็งแรง
แต่สิ่งที่อยากบอกกับสามี คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 อยากให้ทำหน้าที่สามีที่ดี เป็นพ่อที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี รองลงมาคือร้อยละ
30.5 อยากบอกว่ารักสามี มีความสุขที่ได้อยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน และร้อยละ 20.7 อยากให้สามีมีสุขภาพแข็งแรง
และสิ่งที่ทำให้ประชาชนผู้เป็นแม่มีความสุข พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 ระบุการมีครอบครัวที่ดี อบอุ่น อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน และ
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 มีลูกเป็นคนดีของสังคม และร้อยละ 24.2 ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากคือ ลูกๆ ประสบความสำเร็จใน
ชีวิต
ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 31.9 ระบุสิ่งที่ทำให้แม่เป็นทุกข์คือ ความทุกข์ของลูก ปัญหาของลูก และเป็นห่วงลูก รองลงมาคือ ร้อยละ
23.6 ระบุปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัว ร้อยละ 23.2 ระบุความประพฤติไม่ดีของลูก ลูกไม่เชื่อฟัง ไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่ และร้อยละ 7.2 ระบุ
อื่นๆ เช่น สามีนอกใจ มีภรรยาน้อย สามีเสียชีวิต เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ สิ่งที่แม่อยากได้จากลูก คือ ร้อยละ 44.6 ระบุอยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ซื่อสัตย์ รองลงมาคือร้อยละ 29.9
อยากให้ลูกๆ กลับมาอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 17.4 อยากให้ลูกมีการปฏิบัติตัวที่ดีกับพ่อแม่ ร้อยละ 15.2 อยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ ร้อยละ 7.2 อยาก
ให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต มีการงานที่ดี และร้อยละ 4.2 ระบุอื่นๆ เช่น อะไรก็ได้ที่ลูกตั้งใจให้ การ์ดอวยพร ดอกมะลิ และไม่อยากได้อะไร
เพราะลูกๆ ทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นเสียงสะท้อนจากหัวอกของผู้เป็นแม่หลายประการที่น่าพิจารณาคือ แม่ในเขตชนบทกับแม่ในกรุงเทพ
มหานครมีระดับความสุขคะแนนเฉลี่ยต่ำพอๆ กัน เพราะไม่ค่อยมีบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันในครอบครัว ไม่มีเวลาให้แก่กัน ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อม
ตากัน ยิ่งแม่ที่อยู่ต่างจังหวัดบางรายยังต้องเลี้ยงดูหลานที่ลูกๆ ไปทำงานกันในเมืองหรือในกรุงเทพมหานครส่งมาให้เลี้ยงดู นอกจากนี้ สิ่งที่แม่อยากบอก
กับลูกๆ คือ รักลูก อยากให้ลูกมีความสุข สิ่งที่อยากบอกสามีคือ อยากให้สามีเป็นคนดี เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก สิ่งที่ทำให้ผู้เป็นแม่เป็นทุกข์คือ ความทุกข์
ของลูก เหมือนกับจะบอกกับสังคมให้ทราบว่า ทุกข์ลูกคือทุกข์ของแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจครั้งนี้ พบด้วยว่า สิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากได้ในวันแม่ ไม่ใช่การ์ด
อวยพร หรือดอกมะลิ แต่กลับเป็นเรื่อง ความประพฤติที่ดีของลูกๆ อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม ซื่อสัตย์สุจริต และอยากให้ลูกๆ มีโอกาสกลับมาอยู่ด้วย
กัน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ เป็นเสียงสะท้อนจากหัวอกของผู้เป็นแม่ทั่วๆ ไป ซึ่งในวันอังคารที่ 19 สิงหาคม
นี้ ศูนย์วิจัยความสุขฯ จะนำเสนอข้อมูลความสุขของคนทำงานในองค์กร บริษัทห้างร้านต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล ในงาน
เสวนา เรื่อง “เติมความสุขให้พนักงาน เพิ่มผลิตผลให้องค์กร” โดยมี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานเครือข่ายดัชนีอยู่เย็นเป็นสุข เปิดงานและ
บรรยายพิเศษ และผู้บริหารบริษัท องค์กรธุรกิจต่างๆ เข้าร่วมเป็นวิทยากร จำนวนมาก ที่ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขต
หัวหมาก เวลา 13.00 — 17.00 น. ผู้สนใจสำรองที่นั่งฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้ที่เบอร์โทร. 02 -7191549 หรือ www.abacpoll.net
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสุขและความทุกข์ของผู้เป็นแม่ที่มีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
2. เพื่อค้นหาสิ่งที่ผู้เป็นแม่อยากบอกลูกและสามีในโอกาสวันแม่แห่งชาติ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนจากหัวอกแม่ถึงลูกและสามี ว่าด้วยความสุขและทุกข์ในครอบครัว กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้
เป็นแม่และมีบุตรตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี จำนวน
ทั้งสิ้น 1,406 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 10 สิงหาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณ
ทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 186 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 2.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 16.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 34.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 21.1 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 46.4 รายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 34.3 อยู่ระหว่าง 5001 — 10000 บาท
ร้อยละ 6.7 อยู่ระหว่าง 10001 — 15000 บาท
และร้อยละ 12.6 มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือนตั้งแต่ 15001 บาทขึ้นไป
สำหรับด้านการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.8 การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 15.2 การศึกษาปริญญาตรี
และร้อยละ 1.0 สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.3 มีบุตร 1 คน
และร้อยละ 65.7 มีบุตรตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ด้านต่างๆ ท่ามกลางสังคมปัจจุบัน
ลำดับที่ ความสุขต่อ ด้านต่างๆ ของผู้เป็นแม่ในสังคมปัจจุบัน ค่าคะแนนเต็ม 10
1 ด้านครอบครัว 7.16
2 ด้านสภาพแวดล้อม 6.53
3 ด้านสุขภาพกาย 6.53
4 ด้านสุขภาพใจ 6.38
5 ด้านบรรยากาศในชุมชน 6.30
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขของประชาชนผู้เป็นแม่ด้านต่างๆ ท่ามกลางสังคมปัจจุบัน จำแนกตามพื้นที่
ลำดับที่ ความสุขต่อ ด้านต่างๆ ของผู้เป็นแม่ ในเขตเมือง ในเขตชนบท กรุงเทพมหานคร
1 ด้านครอบครัว 7.30 7.07 7.05
2 ด้านสภาพแวดล้อม 6.61 6.50 6.45
3 ด้านสุขภาพกาย 6.70 6.50 6.11
4 ด้านสุขภาพใจ 6.46 6.35 6.34
5 ด้านบรรยากาศในชุมชน 6.38 6.33 5.86
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับลูก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับลูก ค่าร้อยละ
1 รักลูกอยากให้ลูกมีความสุข 49.2
2 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม/ทำประโยชน์ให้สังคม 48.2
3 ให้ตั้งใจเรียน/ตั้งใจทำงาน 25.7
4 ให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ 21.9
5 ให้เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 11.2
6 ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 8.3
7 อื่นๆ อาทิ เป็นคนมีน้ำใจ/ซื้อสัตย์/ระมัดระวัง/รอบคอบ/ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท/
เป็นคนมีมารยาท/มีสัมมาคารวะ/รู้บุญคุณคน 5.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากบอกกับสามี (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากบอกกับสามี ค่าร้อยละ
1 อยากให้ทำหน้าที่ของสามีที่ดี เช่น ขยันทำงาน ให้ช่วยดูแลลูก/ อยากให้สนใจลูกบ้าง
อยากให้เขาเป็นตัวอย่างที่ดี/เป็นพ่อที่ดี อยู่เป็นเสาหลักของบ้าน 60.4
2 อยากบอกว่ารักสามีมาก/มีความสุขมากที่ได้อยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน 30.5
3 ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 20.7
4 อยากให้สามีเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ 4.9
5 ให้เป็นสามีที่ดีของภรรยา 3.9
6 อยากให้อยู่ด้วยกันนานๆ 1.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความสุขมากที่สุดในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 การมีครอบครัวดี /อบอุ่น/อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน /ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน /
มีความเข้าใจกัน/สามัคคีกัน/ได้มีครอบครัวมีลูก 66.2
2 มีลูกที่เป็นคนดีของสังคม 33.6
3 ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต/เรียนจบ/มีหน้าที่การงานที่ดี 24.2
4 มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง/สุขภาพจิตดี 5.3
5 อื่นๆ อาทิ มีสามีดี /ชีวิตคู่ราบรื่น/การได้นั่งสมาธิ/ทำบุญ/เข้าวัด /บ้านเมืองสงบสุข 6.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความทุกข์มากที่สุดในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความทุกข์มากที่สุดในขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 ความทุกข์ของลูก/ปัญหาของลูก/เป็นห่วงลูก 31.9
2 เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของคนในครอบครัว 23.6
3 ความประพฤติของลูก/ลูกไม่เชื่อฟังพ่อแม่/ลูกไม่รู้จักบุญคุณ/ลูกไม่สามัคคีกัน 23.2
4 ปัญหาเศรษฐกิจ/ภาระหนี้สิน/ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว 21.5
5 ความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัว 9.0
6 อื่นๆ อาทิ สามีมีภรรยาน้อย/สามีเสียชีวิต เป็นต้น 7.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากได้จากลูกในวันแม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากได้จากลูกในวันแม่ที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ
1 อยากให้ลูกเป็นคนดีของสังคม/เป็นคนซื่อสัตย์ 44.6
2 อยากให้ลูกกลับมาอยู่ด้วยกัน 29.9
3 อยากให้ลูกมีการปฏิบัติตัวที่ดีต่อพ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่/ไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจ 17.4
4 อยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่งๆ 15.2
5 อยากให้ลูกประสบความสำเร็จในชีวิต/มีหน้าที่การงานดี/ 7.2
6 อื่นๆ อาทิ อะไรก็ได้ที่ลูกตั้งใจให้/การ์ดอวยพร/ดอกมะลิ/ไม่อยากได้อะไรเพราะลูกให้ทุกสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว 4.2
--เอแบคโพลล์--
-พห-