ผลสำรวจโดยสรุป
ในปัจจุบัน ชาเขียวเป็นที่นิยมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งชาเขียวสามารถนำมาดัดแปลงเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เป็นต้น แต่ที่ถือว่าเป็นนิยมสำหรับในหมู่เด็กและผู้ใหญ่ ก็คือ เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม หลายคนเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุในลักษณะของขวด กระป๋อง หรือกล่องนั้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่อีกนัยหนึ่งเครื่องดื่มประเภทนี้ก็มีโทษด้วยเช่นกัน และกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ว่าเครื่องดื่มประเภทนี้มีประโยชน์หรือโทษมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อพฤติกรรมในการดื่มชาเขียว ความคิดเห็นต่อข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับชาเขียวพร้อมดื่ม และข้อเสนอแนะในการป้องกันปัญหาจากการดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการดื่มชาเขียวพร้อมดื่มของประชาชนทั่วไป สำรวจความคิดเห็นต่อข่าว/ปัญหาเกี่ยวกับชาเขียวพร้อมดื่ม และสำรวจถึงข้อเสนอแนะในการควบคุมดูแลป้องกันปัญหาผลกระทบที่เกิดจากชาเขียวพร้อมดื่ม
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ปัญหาสุขภาพของประชาชนหลังจากดื่ม “ชาเขียวบรรจุขวด: ใครต้องรับผิดชอบ” โดยศึกษาทรรศนะและพฤติกรรมของประชาชน ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินโครงการสำรวจระหว่าง วันที่ 18 - 23 เมษายน 2548 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,386 ตัวอย่าง พบว่า
คนกรุงและปริมณฑลเกินกว่า 1 ใน 4 แห่ซื้อชาเขียวหวังเงินล้านตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 เคยดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาและร้อยละ 30.4 ไม่เคยดื่ม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดประมาณ 3 ขวดต่อสัปดาห์ สำหรับเหตุผล 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดนั้น คือ ต้องการดื่มเพื่อแก้กระหาย (ร้อยละ 64.6) ชอบรสชาติ (ร้อยละ 61.6) เพื่อต้องการให้ร่างกายสดชื่น / ตื่นตัว (ร้อยละ 42.8) เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย (ร้อยละ 38.6) และอยากถูกรางวัล (ร้อยละ 28.6) ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่มีเหตุผลในการดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด
ประชาชนหลงคิดว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ แต่ไม่รู้มีคาเฟอีนและน้ำตาลเกินระดับร่างกายควรได้รับเมื่อคณะผู้วิจัยยังสอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นของตัวอย่างที่ว่า “ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหรือไม่” นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.8 คิดว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ร้อยละ 27.7 ไม่คิดว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และร้อยละ 21.5 ไม่มีความเห็น
สำหรับการรับรู้/รับทราบข่าวสารต่างๆ ของเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด จากผลสำรวจพบดังต่อไปนี้
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มมีคาเฟอีน ผสมอยู่” ซึ่งตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 57.5 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 42.5 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดสูตรใส่น้ำตาลบางรุ่นมีปริมาณน้ำตาลเกินระดับที่ร่างกายควรจะได้รับ” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 72.1 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 27.9 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “มีผู้ดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดแล้วมีอาการบาดเจ็บที่ลำคอเนื่องจากกรดบางชนิด” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 61.3 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 38.7 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดบางขวดมีสิ่งแปลกปลอมผสมหรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 58.3 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 41.7 ทราบข่าวนี้มาก่อน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 10 ของครอบครัวทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบุว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบดื่มชาเขียวในครอบครัวของตนเอง เพราะเด็กๆ ชอบดื่ม / อร่อย / ไม่ทราบถึงผลเสีย/ ไม่มีประกาศห้ามในฉลากข้างขวด/ อยากได้รางวัล เป็นต้น
เจ้าของ/ผู้ผลิตชาเขียวบรรจุขวดต้องรับผิดชอบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่า มีตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 เห็นว่า เจ้าของ/ผู้ผลิตชาเขียวควรจะรับ ผิดชอบต่อประชาชนหลังดื่มแล้วสุขภาพทรุดโทรม ร้อยละ 15.3 มีความเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบควรจะรับ ผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ร้อยละ 1.5 มีความเห็นว่าร้านค้า/ผู้ที่นำชาเขียวมาจำหน่ายควรรับผิดชอบ และร้อยละ 1.4 มีความเห็นว่าควรจะเป็นตัวผู้บริโภคเอง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ความเพียงพอในการได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.0 เห็นว่ายังได้รับข่าวสารความรู้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 22.1 เห็นว่าได้รับเพียงพอแล้ว และร้อยละ 20.9 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น สำหรับความเหมาะสมในการกระทำของผู้ผลิตต่อกรณีที่ “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดที่เคยมีปัญหาร้องเรียนจากผู้บริโภค แล้วผู้ผลิตใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการโฆษณาให้โชคชิ้นใหญ่เพื่อจูงใจให้คนหันมาดื่มเครื่องดื่มของตนเอง” นั้น ตัวอย่างร้อยละ 46.3 เห็นว่าการกระทำนี้ไม่เหมาะสม ร้อยละ 20.4 เห็นว่าเหมาะสม และร้อยละ 33.3 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นที่ว่า “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดขนาดบรรจุตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป ควรจะมีคำเตือนว่า เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม” นั้น พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ 80.0 เห็นด้วยที่จะให้มีคำเตือน มีเพียงร้อยละ 7.3 ที่ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างถึงร้อยละ 91.2 เห็นด้วยที่จะให้หน่วยงานทางวิชาการมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชาเขียวให้มากขึ้น ร้อยละ 2.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 6.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ข้อเสนอแนะในการควบคุมดูแลป้องกันปัญหา หรือผลกระทบจาก “ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด” 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 40.2 ระบุว่าผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนนำออกมาจำหน่าย ร้อยละ 28.8 ระบุว่าควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของชาเขียวให้มากกว่านี้ และร้อยละ 17.8 ระบุว่าควรมีคำเตือนในการดื่มไว้ข้างขวด ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์และผู้ประสานงานกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชน ผู้บริโภคกำลังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเด็กอ่อนวัยและสตรีมีครรภ์ ซึ่งผู้ประกอบการควรมี จริยธรรมทางธุรกิจให้มากเพียงพอ โดยให้ข้อมูลข้างบรรจุภัณฑ์เตือนประชาชนผู้บริโภคอย่างชัดเจนอ่านเข้าใจง่าย และในกรณีชาเขียวบรรจุขวดควรระบุข้อความเตือนตัวแดงไว้ข้างขวดว่า เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม
นอกจากนี้ ปัญหาคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ดังนั้นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบและแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นภายในองค์กรของตนที่ปล่อยให้มีสินค้าอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนออกสู่ตลาดปราศจาก “คำเตือน” ซึ่งหน่วยงานของรัฐเหล่านั้นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่จะป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคตที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้า โดยบังคับให้บริษัทต่างๆ ออกคำเตือนสีแดงเห็นชัดว่าสินค้าของบริษัทสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนกลุ่มใดบ้าง ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อบริโภคบนข้อมูลและคำเตือนที่เชื่อถือได้และหลีกเลี่ยงรับประทานสินค้าอันตรายเหล่านั้น นอกจากนี้ ควรเพิ่มบทลงโทษอย่างหนักและสามารถบังคับให้บริษัทผู้ผลิตรับผิดชอบดูแลรักษาสุขภาพของผู้บริโภคที่มีปัญหาจากการบริโภคสินค้าของบริษัท บริษัทผู้ผลิตจึงไม่ควรมุ่งแสวงหาผลกำไรมากเกินไปจนลืมตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคที่เกิดขึ้นตามมาโดยไม่มี จริยธรรมในการประกอบธุรกิจ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในปัจจุบัน ชาเขียวเป็นที่นิยมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งชาเขียวสามารถนำมาดัดแปลงเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เป็นต้น แต่ที่ถือว่าเป็นนิยมสำหรับในหมู่เด็กและผู้ใหญ่ ก็คือ เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม หลายคนเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุในลักษณะของขวด กระป๋อง หรือกล่องนั้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ แต่อีกนัยหนึ่งเครื่องดื่มประเภทนี้ก็มีโทษด้วยเช่นกัน และกำลังเป็นที่ถกเถียงกันในหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ว่าเครื่องดื่มประเภทนี้มีประโยชน์หรือโทษมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่อพฤติกรรมในการดื่มชาเขียว ความคิดเห็นต่อข่าวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับชาเขียวพร้อมดื่ม และข้อเสนอแนะในการป้องกันปัญหาจากการดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการดื่มชาเขียวพร้อมดื่มของประชาชนทั่วไป สำรวจความคิดเห็นต่อข่าว/ปัญหาเกี่ยวกับชาเขียวพร้อมดื่ม และสำรวจถึงข้อเสนอแนะในการควบคุมดูแลป้องกันปัญหาผลกระทบที่เกิดจากชาเขียวพร้อมดื่ม
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ปัญหาสุขภาพของประชาชนหลังจากดื่ม “ชาเขียวบรรจุขวด: ใครต้องรับผิดชอบ” โดยศึกษาทรรศนะและพฤติกรรมของประชาชน ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินโครงการสำรวจระหว่าง วันที่ 18 - 23 เมษายน 2548 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 4,386 ตัวอย่าง พบว่า
คนกรุงและปริมณฑลเกินกว่า 1 ใน 4 แห่ซื้อชาเขียวหวังเงินล้านตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 เคยดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาและร้อยละ 30.4 ไม่เคยดื่ม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว ตัวอย่างดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดประมาณ 3 ขวดต่อสัปดาห์ สำหรับเหตุผล 5 อันดับแรกที่ตัวอย่างดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดนั้น คือ ต้องการดื่มเพื่อแก้กระหาย (ร้อยละ 64.6) ชอบรสชาติ (ร้อยละ 61.6) เพื่อต้องการให้ร่างกายสดชื่น / ตื่นตัว (ร้อยละ 42.8) เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย (ร้อยละ 38.6) และอยากถูกรางวัล (ร้อยละ 28.6) ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่มีเหตุผลในการดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด
ประชาชนหลงคิดว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ แต่ไม่รู้มีคาเฟอีนและน้ำตาลเกินระดับร่างกายควรได้รับเมื่อคณะผู้วิจัยยังสอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นของตัวอย่างที่ว่า “ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหรือไม่” นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.8 คิดว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ร้อยละ 27.7 ไม่คิดว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และร้อยละ 21.5 ไม่มีความเห็น
สำหรับการรับรู้/รับทราบข่าวสารต่างๆ ของเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด จากผลสำรวจพบดังต่อไปนี้
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มมีคาเฟอีน ผสมอยู่” ซึ่งตัวอย่างเกินครึ่ง หรือร้อยละ 57.5 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 42.5 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดสูตรใส่น้ำตาลบางรุ่นมีปริมาณน้ำตาลเกินระดับที่ร่างกายควรจะได้รับ” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 72.1 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 27.9 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “มีผู้ดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดแล้วมีอาการบาดเจ็บที่ลำคอเนื่องจากกรดบางชนิด” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 61.3 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 38.7 ทราบข่าวนี้มาก่อน
- “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดบางขวดมีสิ่งแปลกปลอมผสมหรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น” ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 58.3 ไม่ทราบข่าวนี้มาก่อน (เพิ่งจะทราบ) และร้อยละ 41.7 ทราบข่าวนี้มาก่อน
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจพบว่า 1 ใน 10 ของครอบครัวทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระบุว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบดื่มชาเขียวในครอบครัวของตนเอง เพราะเด็กๆ ชอบดื่ม / อร่อย / ไม่ทราบถึงผลเสีย/ ไม่มีประกาศห้ามในฉลากข้างขวด/ อยากได้รางวัล เป็นต้น
เจ้าของ/ผู้ผลิตชาเขียวบรรจุขวดต้องรับผิดชอบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชน ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่า มีตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 เห็นว่า เจ้าของ/ผู้ผลิตชาเขียวควรจะรับ ผิดชอบต่อประชาชนหลังดื่มแล้วสุขภาพทรุดโทรม ร้อยละ 15.3 มีความเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบควรจะรับ ผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ร้อยละ 1.5 มีความเห็นว่าร้านค้า/ผู้ที่นำชาเขียวมาจำหน่ายควรรับผิดชอบ และร้อยละ 1.4 มีความเห็นว่าควรจะเป็นตัวผู้บริโภคเอง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ความเพียงพอในการได้รับข่าวสารความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.0 เห็นว่ายังได้รับข่าวสารความรู้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 22.1 เห็นว่าได้รับเพียงพอแล้ว และร้อยละ 20.9 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น สำหรับความเหมาะสมในการกระทำของผู้ผลิตต่อกรณีที่ “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดที่เคยมีปัญหาร้องเรียนจากผู้บริโภค แล้วผู้ผลิตใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการโฆษณาให้โชคชิ้นใหญ่เพื่อจูงใจให้คนหันมาดื่มเครื่องดื่มของตนเอง” นั้น ตัวอย่างร้อยละ 46.3 เห็นว่าการกระทำนี้ไม่เหมาะสม ร้อยละ 20.4 เห็นว่าเหมาะสม และร้อยละ 33.3 ไม่แน่ใจ/ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นที่ว่า “เครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวดขนาดบรรจุตั้งแต่ 500 มิลลิลิตรขึ้นไป ควรจะมีคำเตือนว่า เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม” นั้น พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ 80.0 เห็นด้วยที่จะให้มีคำเตือน มีเพียงร้อยละ 7.3 ที่ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างถึงร้อยละ 91.2 เห็นด้วยที่จะให้หน่วยงานทางวิชาการมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มชาเขียวให้มากขึ้น ร้อยละ 2.5 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 6.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ข้อเสนอแนะในการควบคุมดูแลป้องกันปัญหา หรือผลกระทบจาก “ชาเขียวพร้อมดื่มบรรจุขวด” 3 อันดับแรก คือ ร้อยละ 40.2 ระบุว่าผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนนำออกมาจำหน่าย ร้อยละ 28.8 ระบุว่าควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของชาเขียวให้มากกว่านี้ และร้อยละ 17.8 ระบุว่าควรมีคำเตือนในการดื่มไว้ข้างขวด ตามลำดับ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์และผู้ประสานงานกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชน ผู้บริโภคกำลังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเด็กอ่อนวัยและสตรีมีครรภ์ ซึ่งผู้ประกอบการควรมี จริยธรรมทางธุรกิจให้มากเพียงพอ โดยให้ข้อมูลข้างบรรจุภัณฑ์เตือนประชาชนผู้บริโภคอย่างชัดเจนอ่านเข้าใจง่าย และในกรณีชาเขียวบรรจุขวดควรระบุข้อความเตือนตัวแดงไว้ข้างขวดว่า เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม
นอกจากนี้ ปัญหาคอรัปชั่นในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ดังนั้นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องควรเร่งตรวจสอบและแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นภายในองค์กรของตนที่ปล่อยให้มีสินค้าอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนออกสู่ตลาดปราศจาก “คำเตือน” ซึ่งหน่วยงานของรัฐเหล่านั้นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่จะป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคตที่เกิดขึ้นจากการบริโภคสินค้า โดยบังคับให้บริษัทต่างๆ ออกคำเตือนสีแดงเห็นชัดว่าสินค้าของบริษัทสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนกลุ่มใดบ้าง ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อบริโภคบนข้อมูลและคำเตือนที่เชื่อถือได้และหลีกเลี่ยงรับประทานสินค้าอันตรายเหล่านั้น นอกจากนี้ ควรเพิ่มบทลงโทษอย่างหนักและสามารถบังคับให้บริษัทผู้ผลิตรับผิดชอบดูแลรักษาสุขภาพของผู้บริโภคที่มีปัญหาจากการบริโภคสินค้าของบริษัท บริษัทผู้ผลิตจึงไม่ควรมุ่งแสวงหาผลกำไรมากเกินไปจนลืมตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนผู้บริโภคที่เกิดขึ้นตามมาโดยไม่มี จริยธรรมในการประกอบธุรกิจ
--เอแบคโพลล์--
-พห-