ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุขมวล
รวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,427 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 16
สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
จากการประเมินความสุขมวลรวม หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศครั้งนี้ เมื่อคะแนน
เต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนลดลงจาก 6.30 ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ 6.08 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ โดย
ถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยในเดือนตุลาคม ปี 2550 ที่พบว่า ความสุขของประชาชนในช่วงเวลานั้นมีค่าคะแนนความสุขอยู่ที่
6.90 แต่ได้ลดต่ำลงเหลือ 6.08 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในทางตรงกันข้าม ผลวิจัยพบว่า ความทุกข์ของคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดเมื่อเทียบ
กับเดือนกุมภาพันธ์พบอยู่ที่ 4.39 เพิ่มขึ้นเป็น 4.90 ในเดือนเมษายน และล่าสุดในเดือนกรกฎาคม พบความทุกข์ของสาธารณชนเพิ่มขึ้นเป็น 5.29 เลย
ทีเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนคนไทยภายในประเทศมีความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านการเงินหรือสภาวะ
เศรษฐกิจเรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นพบปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความสุขมวลรวมหรือ GDH ของคนไทยหลายประการ
โดยผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมหรือ GDH ของสาธารณชนคนไทยต่อเรื่องความจงรักภักดีมีค่าคะแนนสูงสุดคือ 9.28 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10
คะแนน รองลงมาคือบรรยากาศภายในครอบครัวได้คะแนน 7.20 ในขณะที่ ด้านหน้าที่การทำงานได้ 7.06 ด้านวัฒนธรรมประเพณีได้ 6.86 ด้านการ
บริการสาธารณสุขหรือการแพทย์ได้ 6.70 ด้านสุขภาพกาย ได้ 6.69 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.50 ด้านสุขภาพใจ ได้ 6.42 ด้านบรรยากาศ
ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชนได้ 6.21 ด้านความเป็นธรรมทางสังคม ได้ 5.54 ในขณะที่ ด้านบรรยากาศทางการเมืองได้ 3.99 และด้านสภาวะ
เศรษฐกิจได้ 3.83 ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าคะแนนความสุขมวลรวมหรือ GDH ต่ำสุด แต่
ประชาชนในภาคใต้กลับมีค่าคะแนนความสุขมวลรวมสูงที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.31 ถือเป็นครั้งแรกตลอดการวิจัยที่เคยทำมา รองลงมาคือ ภาคเหนือได้
6.23 คะแนน ภาคกลางได้ 6.21 ในขณะที่ ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ 6.19 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมวลรวมเฉลี่ย
อยู่ที่ 5.81 คะแนน ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจำแนกในแต่ละด้านยังพบว่ามีค่าคะแนนต่ำกว่า
ประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.27 คน
กรุงเทพฯ ได้ 6.34 ภาคเหนือได้ 6.53 ภาคกลางได้ 6.68 และภาคใต้ได้ 6.91 นอกจากนี้ ด้านความเป็นธรรมทางสังคม ประชาชนในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือมีความสุขต่ำสุดเช่นกัน โดยได้ 5.24 คะแนน คนกรุงเทพมหานครได้ 5.55 ภาคเหนือได้ 5.59 ภาคกลางได้ 5.77 และภาคใต้ได้
5.89
อย่างไรก็ตาม คนในภาคอื่นๆ ที่ได้คะแนนความสุขต่ำสุดในด้านต่างๆ ได้แก่ ประชาชนในภาคเหนือ ได้คะแนนความสุขที่ต่ำสุดสองด้านคือ
ด้านหน้าที่การทำงานได้ 6.86 และด้านการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ 6.55 ส่วนคนกรุงเทพมหานครมีค่าคะแนนความสุขต่ำสุดยังคงเป็นเรื่อง
บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ได้เพียง 5.79 ขณะที่ประชาชนในภาคอื่นๆ ได้เกินกว่า 6.00 คะแนนขึ้นไป และที่น่าเป็นห่วงสำหรับคน
กรุงเทพมหานครอีกด้านคือ ด้านสุขภาพกาย ได้คะแนนความสุขมวลรวมต่ำสุดคือ 6.50 เมื่อเทียบกับคนในภาคอื่นๆ
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ความสุขของประชาชนในทุกภูมิภาคต่อบรรยากาศทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจมีค่าคะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ
5 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คือ ด้านบรรยากาศทางการเมือง ประชาชนในภาคกลางได้ 4.26 คะแนน รองลงมาคือ กรุงเทพมหานครได้
3.97 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 3.94 ภาคเหนือได้ 3.93 และประชาชนในภาคใต้ได้เพียง 3.76 คะแนน นอกจากนี้ ความสุขต่อสภาวะ
เศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 3.97 ประชาชนในภาคเหนือได้ 3.92 คนในภาคกลางได้ 3.91 คนใน
กรุงเทพมหานครได้ 3.90 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 3.66 คะแนนเท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของ
ประชาชนในภาคเหนือ ได้แก่ สุขภาพใจ (.203) ความเป็นธรรมทางสังคม (.169) และบรรยากาศทางการเมือง (.162) สำหรับประชาชนใน
ภาคกลาง พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ บรรยากาศทางการเมือง (.259) สุขภาพใจ (.216) และวัฒนธรรมประเพณี (.129) นอกจากนี้ ผล
วิจัยพบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ สุขภาพใจ (.167) บรรยากาศทางการ
เมือง (.156) และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ดิน อากาศ น้ำ (.143) สำหรับความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคใต้ พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรก
ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี (.321) สุขภาพใจ (.205) และสภาวะเศรษฐกิจ (.123) ในขณะที่ความสุขมวลรวมของประชาชนในกรุงเทพมหานครขึ้น
อยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ สุขภาพใจ (.311) หน้าที่การทำงาน (.162) และบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน (.149) ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อวัดระดับการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของสาธารณชนคนไทย พบว่า คนไทยร้อยละ 23.9 ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด เป็นค่าร้อยละที่สูงขึ้นเล็กน้อยจากการสำรวจเดือนเมษายนที่อยู่ร้อยละ 22.7 อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่ม
ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน พบว่า คนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความ
สุขมวลรวมระดับมากถึงมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 63.8 เปรียบเทียบกับคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้เลยและมีความสุขมากถึงมากที่สุดร้อยละ
45.5 ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้เลย มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลยในสัดส่วนที่สูงกว่าคนใช้ชีวิตแบบพอเพียงเคร่งครัด
ประมาณสองเท่าหรือร้อยละ 20.0 ต่อร้อยละ 10.3 ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุขมวลรวมหรือ GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศลดลง
ในขณะที่ความทุกข์ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น โดยคนในภาคใต้มีค่าคะแนนความสุขมวลรวมสูงกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ เป็นครั้งแรกที่ค้นพบตลอดการวิจัยที่
ผ่านมา ส่วนคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมวลรวมต่ำสุด แต่ความจงรักภักดีมีความสุขมวลรวมของประชาชนสูงสุด ในขณะที่บรรยากาศการ
เมืองและสภาวะเศรษฐกิจมีค่าความสุขต่ำสุด ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มสุขภาพใจให้กับประชาชน เช่น ช่วยให้ประชาชนไม่กังวล ไม่เครียด ไม่ถูกกด
ดัน จะช่วยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความสุขมวลรวมเพิ่มมากขึ้น การมุ่งเน้นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีให้คนภาคใต้และเรื่องสภาพแวดล้อม
ดิน น้ำ อากาศให้คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะช่วยให้สถานการณ์ความสุขของประชาชนดีขึ้น นอกจากนี้ ผลวิจัยยืนยันอีกครั้งว่าคนที่ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดจะมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์)) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคน
ไทยประจำเดือนกรกฎาคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-16 สิงหาคม
2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานีและพัทลุง เทคนิค
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ
สำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,427 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจาก
การกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 132 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8
เป็นหญิง ร้อยละ 46.2
เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมงและรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 40.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 13.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.- เม.ย. ก.ค. 51
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) ธ.ค.49 ก.ค.50 มี.ค.51 51
4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39 6.3 6.08
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม กับ
เดือนเมษายน 2551 และเดือนกรกฎาคม 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ. — มี.ค. 2551 เมษายน 2551 กรกฎาคม 2551
4.39 4.90 5.29
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.28
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.20
3 หน้าที่การทำงาน 7.06
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.86
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.70
6 สุขภาพทางกาย 6.69
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ 6.50
8 สุขภาพใจ 6.42
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.21
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.54
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.99
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.83
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข
1 ความจงรักภักดี 9.29 9.3 9.28 9.28 9.28
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.3 7.25 7.06 7.35 7.2
3 หน้าที่การทำงาน 6.86 7.18 6.97 7.33 7.06
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.74 7.13 6.68 7.01 6.87
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.55 6.87 6.65 6.82 6.66
6 สุขภาพทางกาย 6.67 6.7 6.63 6.97 6.5
7 6.53 6.68 6.27 6.91 6.34
8 สุขภาพใจ 6.49 6.43 6.21 6.89 6.4
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.43 6.24 6.03 6.6 5.79
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.59 5.77 5.24 5.89 5.55
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.93 4.26 3.94 3.76 3.97
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.92 3.91 3.66 3.97 3.9
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ 6.2 6.2 5.81 6.3 6.2
ประจำเดือนกรกฏาคม 2551
ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคเหนือ
(ค่า R = .575)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .203
2 ความเป็นธรรมทางสังคม .169
3 บรรยากาศทางการเมือง .162
ตารางที่ 6 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคกลาง
(ค่า R = .566)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 บรรยากาศทางการเมือง .259
2 สุขภาพใจ .216
3 วัฒนธรรมประเพณี .129
ตารางที่ 7 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ค่า R = .520)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .167
2 บรรยากาศการเมือง .156
3 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ .143
ตารางที่ 8 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคใต้
(ค่า R = .484)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 วัฒนธรรมประเพณี .321
2 สุขภาพใจ .205
3 สภาวะเศรษฐกิจ .123
ตารางที่ 9 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
(ค่า R = .583)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .311
2 หน้าที่การทำงาน .162
3 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน .149
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนกรกฎาคม 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51 เม.ย.51 ก.ค. 51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0 2.4 2.4
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5 16.5 15.1
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4 58.4 58.6
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1 22.7 23.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ระบุระดับความสุข เปรียบเทียบในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
ลำดับที่ ระดับความสุข พอเพียงน้อย/ไม่ใช้เลย ค่อนข้างน้อย ค่อนข้างมาก เคร่งครัด
1 มีความสุขมากถึงมากที่สุด 45.5 49.0 61.5 63.8
2 สุขปานกลาง 34.5 30.4 26.2 25.9
3 สุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย 20.0 20.6 12.3 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุขมวล
รวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,427 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 16
สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
จากการประเมินความสุขมวลรวม หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศครั้งนี้ เมื่อคะแนน
เต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนลดลงจาก 6.30 ในเดือนเมษายน มาอยู่ที่ 6.08 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานี้ โดย
ถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยในเดือนตุลาคม ปี 2550 ที่พบว่า ความสุขของประชาชนในช่วงเวลานั้นมีค่าคะแนนความสุขอยู่ที่
6.90 แต่ได้ลดต่ำลงเหลือ 6.08 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ในทางตรงกันข้าม ผลวิจัยพบว่า ความทุกข์ของคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดเมื่อเทียบ
กับเดือนกุมภาพันธ์พบอยู่ที่ 4.39 เพิ่มขึ้นเป็น 4.90 ในเดือนเมษายน และล่าสุดในเดือนกรกฎาคม พบความทุกข์ของสาธารณชนเพิ่มขึ้นเป็น 5.29 เลย
ทีเดียว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่ทำให้ประชาชนคนไทยภายในประเทศมีความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านการเงินหรือสภาวะ
เศรษฐกิจเรื่องปากท้องเพียงอย่างเดียว เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ได้ค้นพบปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความสุขมวลรวมหรือ GDH ของคนไทยหลายประการ
โดยผลวิจัยพบว่า ความสุขมวลรวมหรือ GDH ของสาธารณชนคนไทยต่อเรื่องความจงรักภักดีมีค่าคะแนนสูงสุดคือ 9.28 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10
คะแนน รองลงมาคือบรรยากาศภายในครอบครัวได้คะแนน 7.20 ในขณะที่ ด้านหน้าที่การทำงานได้ 7.06 ด้านวัฒนธรรมประเพณีได้ 6.86 ด้านการ
บริการสาธารณสุขหรือการแพทย์ได้ 6.70 ด้านสุขภาพกาย ได้ 6.69 ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยได้ 6.50 ด้านสุขภาพใจ ได้ 6.42 ด้านบรรยากาศ
ความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชนได้ 6.21 ด้านความเป็นธรรมทางสังคม ได้ 5.54 ในขณะที่ ด้านบรรยากาศทางการเมืองได้ 3.99 และด้านสภาวะ
เศรษฐกิจได้ 3.83 ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าคะแนนความสุขมวลรวมหรือ GDH ต่ำสุด แต่
ประชาชนในภาคใต้กลับมีค่าคะแนนความสุขมวลรวมสูงที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.31 ถือเป็นครั้งแรกตลอดการวิจัยที่เคยทำมา รองลงมาคือ ภาคเหนือได้
6.23 คะแนน ภาคกลางได้ 6.21 ในขณะที่ ประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ 6.19 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมวลรวมเฉลี่ย
อยู่ที่ 5.81 คะแนน ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจำแนกในแต่ละด้านยังพบว่ามีค่าคะแนนต่ำกว่า
ประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.27 คน
กรุงเทพฯ ได้ 6.34 ภาคเหนือได้ 6.53 ภาคกลางได้ 6.68 และภาคใต้ได้ 6.91 นอกจากนี้ ด้านความเป็นธรรมทางสังคม ประชาชนในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือมีความสุขต่ำสุดเช่นกัน โดยได้ 5.24 คะแนน คนกรุงเทพมหานครได้ 5.55 ภาคเหนือได้ 5.59 ภาคกลางได้ 5.77 และภาคใต้ได้
5.89
อย่างไรก็ตาม คนในภาคอื่นๆ ที่ได้คะแนนความสุขต่ำสุดในด้านต่างๆ ได้แก่ ประชาชนในภาคเหนือ ได้คะแนนความสุขที่ต่ำสุดสองด้านคือ
ด้านหน้าที่การทำงานได้ 6.86 และด้านการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ 6.55 ส่วนคนกรุงเทพมหานครมีค่าคะแนนความสุขต่ำสุดยังคงเป็นเรื่อง
บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชน ได้เพียง 5.79 ขณะที่ประชาชนในภาคอื่นๆ ได้เกินกว่า 6.00 คะแนนขึ้นไป และที่น่าเป็นห่วงสำหรับคน
กรุงเทพมหานครอีกด้านคือ ด้านสุขภาพกาย ได้คะแนนความสุขมวลรวมต่ำสุดคือ 6.50 เมื่อเทียบกับคนในภาคอื่นๆ
ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ความสุขของประชาชนในทุกภูมิภาคต่อบรรยากาศทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจมีค่าคะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ
5 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คือ ด้านบรรยากาศทางการเมือง ประชาชนในภาคกลางได้ 4.26 คะแนน รองลงมาคือ กรุงเทพมหานครได้
3.97 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 3.94 ภาคเหนือได้ 3.93 และประชาชนในภาคใต้ได้เพียง 3.76 คะแนน นอกจากนี้ ความสุขต่อสภาวะ
เศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนในภาคใต้มีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ 3.97 ประชาชนในภาคเหนือได้ 3.92 คนในภาคกลางได้ 3.91 คนใน
กรุงเทพมหานครได้ 3.90 และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 3.66 คะแนนเท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติวิจัยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของ
ประชาชนในภาคเหนือ ได้แก่ สุขภาพใจ (.203) ความเป็นธรรมทางสังคม (.169) และบรรยากาศทางการเมือง (.162) สำหรับประชาชนใน
ภาคกลาง พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ บรรยากาศทางการเมือง (.259) สุขภาพใจ (.216) และวัฒนธรรมประเพณี (.129) นอกจากนี้ ผล
วิจัยพบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ สุขภาพใจ (.167) บรรยากาศทางการ
เมือง (.156) และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ดิน อากาศ น้ำ (.143) สำหรับความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคใต้ พบปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรก
ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี (.321) สุขภาพใจ (.205) และสภาวะเศรษฐกิจ (.123) ในขณะที่ความสุขมวลรวมของประชาชนในกรุงเทพมหานครขึ้น
อยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกได้แก่ สุขภาพใจ (.311) หน้าที่การทำงาน (.162) และบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน (.149) ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อวัดระดับการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของสาธารณชนคนไทย พบว่า คนไทยร้อยละ 23.9 ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัด เป็นค่าร้อยละที่สูงขึ้นเล็กน้อยจากการสำรวจเดือนเมษายนที่อยู่ร้อยละ 22.7 อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกกลุ่ม
ประชาชนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับความสุขมวลรวมของประชาชน พบว่า คนที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเคร่งครัดมีความ
สุขมวลรวมระดับมากถึงมากที่สุดสูงถึงร้อยละ 63.8 เปรียบเทียบกับคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้เลยและมีความสุขมากถึงมากที่สุดร้อยละ
45.5 ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้เลย มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลยในสัดส่วนที่สูงกว่าคนใช้ชีวิตแบบพอเพียงเคร่งครัด
ประมาณสองเท่าหรือร้อยละ 20.0 ต่อร้อยละ 10.3 ตามลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุขมวลรวมหรือ GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศลดลง
ในขณะที่ความทุกข์ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น โดยคนในภาคใต้มีค่าคะแนนความสุขมวลรวมสูงกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ เป็นครั้งแรกที่ค้นพบตลอดการวิจัยที่
ผ่านมา ส่วนคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมวลรวมต่ำสุด แต่ความจงรักภักดีมีความสุขมวลรวมของประชาชนสูงสุด ในขณะที่บรรยากาศการ
เมืองและสภาวะเศรษฐกิจมีค่าความสุขต่ำสุด ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มสุขภาพใจให้กับประชาชน เช่น ช่วยให้ประชาชนไม่กังวล ไม่เครียด ไม่ถูกกด
ดัน จะช่วยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความสุขมวลรวมเพิ่มมากขึ้น การมุ่งเน้นเรื่องวัฒนธรรมประเพณีให้คนภาคใต้และเรื่องสภาพแวดล้อม
ดิน น้ำ อากาศให้คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะช่วยให้สถานการณ์ความสุขของประชาชนดีขึ้น นอกจากนี้ ผลวิจัยยืนยันอีกครั้งว่าคนที่ใช้ชีวิตตามหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงเคร่งครัดจะมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบไม่พอเพียง
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์)) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคน
ไทยประจำเดือนกรกฎาคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-16 สิงหาคม
2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานีและพัทลุง เทคนิค
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ
สำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,427 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจาก
การกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้
ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 132 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.8
เป็นหญิง ร้อยละ 46.2
เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 18.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 19.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 28.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/ชาวนา/ชาวประมงและรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 8.3 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 40.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 13.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 ก.พ.- เม.ย. ก.ค. 51
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) ธ.ค.49 ก.ค.50 มี.ค.51 51
4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.39 6.3 6.08
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม กับ
เดือนเมษายน 2551 และเดือนกรกฎาคม 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ. — มี.ค. 2551 เมษายน 2551 กรกฎาคม 2551
4.39 4.90 5.29
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (คะแนนเต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.28
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.20
3 หน้าที่การทำงาน 7.06
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.86
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.70
6 สุขภาพทางกาย 6.69
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ 6.50
8 สุขภาพใจ 6.42
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.21
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.54
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.99
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.83
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข
1 ความจงรักภักดี 9.29 9.3 9.28 9.28 9.28
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.3 7.25 7.06 7.35 7.2
3 หน้าที่การทำงาน 6.86 7.18 6.97 7.33 7.06
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.74 7.13 6.68 7.01 6.87
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.55 6.87 6.65 6.82 6.66
6 สุขภาพทางกาย 6.67 6.7 6.63 6.97 6.5
7 6.53 6.68 6.27 6.91 6.34
8 สุขภาพใจ 6.49 6.43 6.21 6.89 6.4
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.43 6.24 6.03 6.6 5.79
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.59 5.77 5.24 5.89 5.55
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.93 4.26 3.94 3.76 3.97
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.92 3.91 3.66 3.97 3.9
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ 6.2 6.2 5.81 6.3 6.2
ประจำเดือนกรกฏาคม 2551
ตารางที่ 5 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคเหนือ
(ค่า R = .575)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .203
2 ความเป็นธรรมทางสังคม .169
3 บรรยากาศทางการเมือง .162
ตารางที่ 6 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคกลาง
(ค่า R = .566)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 บรรยากาศทางการเมือง .259
2 สุขภาพใจ .216
3 วัฒนธรรมประเพณี .129
ตารางที่ 7 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ค่า R = .520)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .167
2 บรรยากาศการเมือง .156
3 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ .143
ตารางที่ 8 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในภาคใต้
(ค่า R = .484)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 วัฒนธรรมประเพณี .321
2 สุขภาพใจ .205
3 สภาวะเศรษฐกิจ .123
ตารางที่ 9 แสดงผลวิเคราะห์สถิติวิจัย ปัจจัยสำคัญ 3 อันดับแรกที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
(ค่า R = .583)
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
1 สุขภาพใจ .311
2 หน้าที่การทำงาน .162
3 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน .149
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน
(เปรียบเทียบระหว่างเดือนมกราคม 2550 กับเดือนกรกฎาคม 2551)
ลำดับที่ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน ม.ค. 50 มี.ค. 51 เม.ย.51 ก.ค. 51
1 ไม่พอเพียง 12.1 2.0 2.4 2.4
2 ไม่ค่อยพอเพียง 9.6 11.5 16.5 15.1
3 ค่อนข้างพอเพียง 46.2 54.4 58.4 58.6
4 พอเพียงอย่างเคร่งครัด 32.1 32.1 22.7 23.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ระบุระดับความสุข เปรียบเทียบในกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
ลำดับที่ ระดับความสุข พอเพียงน้อย/ไม่ใช้เลย ค่อนข้างน้อย ค่อนข้างมาก เคร่งครัด
1 มีความสุขมากถึงมากที่สุด 45.5 49.0 61.5 63.8
2 สุขปานกลาง 34.5 30.4 26.2 25.9
3 สุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย 20.0 20.6 12.3 10.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-