ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (ABAC Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุข-
ความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ และผู้ว่า กทม.ที่คนทำงานต้องการ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,186
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15- 18 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 90 เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารผ่าน
สื่อมวลชนเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความสุขในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้นพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.8 มีความสุขมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ระบุมีความสุขในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.2 ระบุมีความสุขน้อยถึง
ไม่มีความสุขเลย
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น ผลการสำรวจพบว่าปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ค่าครองชีพสูงมาก/ราย
จ่ายสูงมาก เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ รองลงมาคือปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด ร้อยละ 53.0 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษร้อยละ 27.7
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ ร้อยละ 12.5 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ
6.4 และยังพบว่ามีปัญหาอื่นๆ อีกอาทิ การใช้ชีวิตที่มีแต่การแข่งขัน/การแก่งแย่งกัน/คนไม่มีน้ำใจ /ไม่มีความสามัคคี และปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเป็น
ต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 22.3 ระบุการมีสวนสาธารณะ/
มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง ร้อยละ 20.5 ระบุความสะดวกสบายในการเดินทาง ร้อยละ 20.4 ระบุการที่มีครอบครัวอบอุ่น/ไม่มีปัญหาครอบครัว ร้อยละ
17.6 ระบุเศรษฐกิจดี/ราคาน้ำมันลดลง/การควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 17.2 ระบุไม่มีภาระหนี้สิน/มีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ร้อยละ 7.4 ระบุ
เงินเดือนเพิ่มขึ้น/รายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการที่บ้านเมืองสงบสุข/การได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว /การเข้าถึงเทคโนโลยี/ความทันสมัย/
การท่องเที่ยว และการศึกษา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างมีความสุข
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุ
ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.9 ระบุเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 59.6 ระบุรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อย
ละ 58.2 ระบุมีผลงานเห็นได้ชัด ร้อยละ 56.7 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรู้จักป้องกันปัญหา และร้อยละ 51.3 ระบุเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชน อย่าง
ไรก็ตามผลการสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้นที่จะเลือกผู้สมัครเพราะมีฐานะร่ำรวย ในขณะที่ร้อยละ 3.5 ระบุจะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรค
การเมือง ร้อยละ 2.1 จะเลือกผู้ที่มีบุญคุณกับตนเอง และร้อยละ 1.7 ระบุจะเลือกผู้ที่มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดดีเบตแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่นั้น พบว่า
เกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.4 ระบุว่าจำเป็นต้องมีการจัดดีเบต เพราะประชาชนได้รู้จักผู้สมัครแต่ละคน/ทราบวิสัยทัศน์ในการทำงาน /ทราบนโยบายใน
การทำงาน/ได้ทราบพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร/ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่ร้อยละ 52.6 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการจัดดีเบต สำหรับ
การตัดสินใจที่จะเลือกผู้ตกเป็นข่าวว่าจะเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 40.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน ในขณะ
ที่ร้อยละ 37.1 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ และร้อยละ 22.3 ระบุยังไม่ตัดสินใจ/ มีตัวเลือกในใจมากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ
ครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ระบุอาจเปลี่ยนใจได้อีก
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนทำงานในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้ว่า กทม. ด้วยคุณสมบัติ
เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์สุจริต กล้าคิดกล้าทำ รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน มีผลงานชัดเจน เป็นอันดับต้นๆ ส่วนการตัดสินใจเลือกผู้มีบุญ
คุณหรือเห็นแก่เงินตอบแทนการขายเสียงนั้น พบเพียงร้อยละ 5 ในการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ผลสำรวจเช่นนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า คนกรุงเทพมหานครส่วน
ใหญ่กำลังปรับพฤติกรรมการเลือกตั้งและปิดประตูไม่ยอมรับวงจรแห่งความเลวร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในระบบการเมืองไทย ส่วนเรื่องใครจะได้
เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ว่าน่าจะพอมีเวลาให้ลุ้นกันต่อไปว่าใครจะได้ครองตำแหน่งผู้ว่า กทม. ในการเลือกตั้งที่จะ
มาถึงในเดือนตุลาคมนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณสมบัติของผู้ที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์)) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความสุข-ความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ
และผู้ว่า กทม.ที่คนทำงานต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-18
สิงหาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,186 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบ
ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 98 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 32.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 11.5 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 21.3 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความสุขโดยรวมในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความสุขโดยรวมในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 มีความสุขมากถึงมากที่สุด 45.8
2 มีความสุขปานกลาง 43.0
3 มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ค่าครองชีพสูงมาก/รายจ่ายสูงมาก 53.7
2 ปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด 53.0
3 สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อาทิ มลพิษทางอากาศ/มลพิษทางน้ำ/ต้นไม้น้อย 27.7
4 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ 12.5
5 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ปัญหาอาชญากรรม 6.4
6 อื่นๆ อาทิ การใช้ชีวิตที่มีแต่การแข่งขัน/การแก่งแย่ง/คนไม่มีน้ำใจ/ไม่มีความสามัคคีกัน/ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 การมีสวนสาธารณะ/มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง 22.3
2 ความสะดวกสบายในการเดินทาง 20.5
3 มีครอบครัวอบอุ่น/ครอบครัวไม่มีปัญหา 20.4
4 เศรษฐกิจดี/ราคาน้ำมันลดลง/การควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 17.6
5 ไม่มีภาระหนี้สิน/มีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิต 17.2
6 เงินเดือนเพิ่มขึ้น/รายได้เพิ่มขึ้น 7.4
7 อื่นๆ อาทิ บ้านเมืองสงบสุข/ข้อมูลข่าวสารสะดวกรวดเร็ว/ความทันสมัย /เทคโนโลยีทันสมัย/การท่องเที่ยว/การศึกษา 10.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 73.1
2 กล้าคิดกล้าทำ 60.9
3 รวดเร็วฉับไว แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 59.6
4 มีผลงานเห็นได้ชัด 58.2
5 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักป้องกันปัญหา 56.7
6 เข้าถึง/ใกล้ชิดประชาชน 51.3
7 พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 45.2
8 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 41.5
9 มีการศึกษาดี 29.5
10 เป็นคนรุ่นใหม่ 27.1
11 เรียบง่าย 18.0
12 สังกัดพรรคการเมือง 3.5
13 มีฐานะร่ำรวย 2.9
14 เป็นผู้มีบุญคุณกับตัวท่าน 2.1
15 มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้ 1.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจัดดีเบต แสดงวิสัยทัศน์ของผู้จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ การจัดดีเบต แสดงวิสัยทัศน์ของผู้จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องมีการจัดดีเบต เพราะ........ ประชาชนได้รู้จักผู้สมัครแต่ละคน/ทราบวิสัยทัศน์ในการทำงาน/
ทราบนโยบายในการทำงาน/ได้ทราบพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร/ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 47.4
2 ไม่จำเป็น 52.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกผู้ที่ตกเป็นข่าวว่าจะลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ การตัดสินใจ ค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน 40.6
2 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ 37.1
3 ยังไม่ตัดสินใจแน่นอน/มีตัวเลือกมากกว่า 1 คน 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนใจไปเลือกผู้ประกาศตัวลงสมัครคนอื่น
ลำดับที่ การเปลี่ยนใจไปเลือกผู้ประกาศตัวสมัครคนอื่น ค่าร้อยละ
1 อาจเปลี่ยนใจได้อีก 57.6
2 ไม่เปลี่ยนใจแล้ว 42.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุข-
ความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ และผู้ว่า กทม.ที่คนทำงานต้องการ กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,186
ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15- 18 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 90 เป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารผ่าน
สื่อมวลชนเป็นประจำในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อความสุขในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้นพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.8 มีความสุขมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 43.0 ระบุมีความสุขในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.2 ระบุมีความสุขน้อยถึง
ไม่มีความสุขเลย
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น ผลการสำรวจพบว่าปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ค่าครองชีพสูงมาก/ราย
จ่ายสูงมาก เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ รองลงมาคือปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด ร้อยละ 53.0 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษร้อยละ 27.7
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ ร้อยละ 12.5 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ปัญหาอาชญากรรม ร้อยละ
6.4 และยังพบว่ามีปัญหาอื่นๆ อีกอาทิ การใช้ชีวิตที่มีแต่การแข่งขัน/การแก่งแย่งกัน/คนไม่มีน้ำใจ /ไม่มีความสามัคคี และปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยเป็น
ต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 22.3 ระบุการมีสวนสาธารณะ/
มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง ร้อยละ 20.5 ระบุความสะดวกสบายในการเดินทาง ร้อยละ 20.4 ระบุการที่มีครอบครัวอบอุ่น/ไม่มีปัญหาครอบครัว ร้อยละ
17.6 ระบุเศรษฐกิจดี/ราคาน้ำมันลดลง/การควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 17.2 ระบุไม่มีภาระหนี้สิน/มีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ร้อยละ 7.4 ระบุ
เงินเดือนเพิ่มขึ้น/รายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการที่บ้านเมืองสงบสุข/การได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว /การเข้าถึงเทคโนโลยี/ความทันสมัย/
การท่องเที่ยว และการศึกษา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างมีความสุข
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุ
ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 60.9 ระบุเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ ร้อยละ 59.6 ระบุรวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อย
ละ 58.2 ระบุมีผลงานเห็นได้ชัด ร้อยละ 56.7 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกลรู้จักป้องกันปัญหา และร้อยละ 51.3 ระบุเข้าถึงและใกล้ชิดประชาชน อย่าง
ไรก็ตามผลการสำรวจพบว่า มีเพียงร้อยละ 2.9 เท่านั้นที่จะเลือกผู้สมัครเพราะมีฐานะร่ำรวย ในขณะที่ร้อยละ 3.5 ระบุจะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรค
การเมือง ร้อยละ 2.1 จะเลือกผู้ที่มีบุญคุณกับตนเอง และร้อยละ 1.7 ระบุจะเลือกผู้ที่มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดดีเบตแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่นั้น พบว่า
เกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.4 ระบุว่าจำเป็นต้องมีการจัดดีเบต เพราะประชาชนได้รู้จักผู้สมัครแต่ละคน/ทราบวิสัยทัศน์ในการทำงาน /ทราบนโยบายใน
การทำงาน/ได้ทราบพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร/ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่ร้อยละ 52.6 ระบุไม่จำเป็นต้องมีการจัดดีเบต สำหรับ
การตัดสินใจที่จะเลือกผู้ตกเป็นข่าวว่าจะเข้าชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 40.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน ในขณะ
ที่ร้อยละ 37.1 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ และร้อยละ 22.3 ระบุยังไม่ตัดสินใจ/ มีตัวเลือกในใจมากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ
ครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ระบุอาจเปลี่ยนใจได้อีก
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า คนทำงานในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่จะพิจารณาตัดสินใจเลือกผู้ว่า กทม. ด้วยคุณสมบัติ
เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์สุจริต กล้าคิดกล้าทำ รวดเร็วฉับไวแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชน มีผลงานชัดเจน เป็นอันดับต้นๆ ส่วนการตัดสินใจเลือกผู้มีบุญ
คุณหรือเห็นแก่เงินตอบแทนการขายเสียงนั้น พบเพียงร้อยละ 5 ในการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ผลสำรวจเช่นนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า คนกรุงเทพมหานครส่วน
ใหญ่กำลังปรับพฤติกรรมการเลือกตั้งและปิดประตูไม่ยอมรับวงจรแห่งความเลวร้ายของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในระบบการเมืองไทย ส่วนเรื่องใครจะได้
เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ว่าน่าจะพอมีเวลาให้ลุ้นกันต่อไปว่าใครจะได้ครองตำแหน่งผู้ว่า กทม. ในการเลือกตั้งที่จะ
มาถึงในเดือนตุลาคมนี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณสมบัติของผู้ที่จะเลือกมาเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์)) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความสุข-ความทุกข์ของคนกรุงเทพฯ
และผู้ว่า กทม.ที่คนทำงานต้องการ : กรณีศึกษาประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-18
สิงหาคม 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,186 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ
95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบ
ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 98 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 13.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 25.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 7.4 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 32.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 9.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 11.5 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 21.3 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.0
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.9
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 9.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 7.4
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความสุขโดยรวมในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่ ความสุขโดยรวมในการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 มีความสุขมากถึงมากที่สุด 45.8
2 มีความสุขปานกลาง 43.0
3 มีความสุขน้อยถึงไม่มีความสุขเลย 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความทุกข์ในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ค่าครองชีพสูงมาก/รายจ่ายสูงมาก 53.7
2 ปัญหาการจราจรติดขัด/รถติด 53.0
3 สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อาทิ มลพิษทางอากาศ/มลพิษทางน้ำ/ต้นไม้น้อย 27.7
4 ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง/การชุมนุมประท้วงต่างๆ 12.5
5 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/ปัญหาอาชญากรรม 6.4
6 อื่นๆ อาทิ การใช้ชีวิตที่มีแต่การแข่งขัน/การแก่งแย่ง/คนไม่มีน้ำใจ/ไม่มีความสามัคคีกัน/ปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตในการทำงานที่กรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 การมีสวนสาธารณะ/มีพื้นที่สีเขียวอยู่บ้าง 22.3
2 ความสะดวกสบายในการเดินทาง 20.5
3 มีครอบครัวอบอุ่น/ครอบครัวไม่มีปัญหา 20.4
4 เศรษฐกิจดี/ราคาน้ำมันลดลง/การควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 17.6
5 ไม่มีภาระหนี้สิน/มีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิต 17.2
6 เงินเดือนเพิ่มขึ้น/รายได้เพิ่มขึ้น 7.4
7 อื่นๆ อาทิ บ้านเมืองสงบสุข/ข้อมูลข่าวสารสะดวกรวดเร็ว/ความทันสมัย /เทคโนโลยีทันสมัย/การท่องเที่ยว/การศึกษา 10.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของผู้สมัครที่คิดว่าจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 73.1
2 กล้าคิดกล้าทำ 60.9
3 รวดเร็วฉับไว แก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน 59.6
4 มีผลงานเห็นได้ชัด 58.2
5 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รู้จักป้องกันปัญหา 56.7
6 เข้าถึง/ใกล้ชิดประชาชน 51.3
7 พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 45.2
8 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย 41.5
9 มีการศึกษาดี 29.5
10 เป็นคนรุ่นใหม่ 27.1
11 เรียบง่าย 18.0
12 สังกัดพรรคการเมือง 3.5
13 มีฐานะร่ำรวย 2.9
14 เป็นผู้มีบุญคุณกับตัวท่าน 2.1
15 มีค่าตอบแทนเป็นเงินมาให้ 1.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการจัดดีเบต แสดงวิสัยทัศน์ของผู้จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม.
ลำดับที่ การจัดดีเบต แสดงวิสัยทัศน์ของผู้จะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. ค่าร้อยละ
1 จำเป็นต้องมีการจัดดีเบต เพราะ........ ประชาชนได้รู้จักผู้สมัครแต่ละคน/ทราบวิสัยทัศน์ในการทำงาน/
ทราบนโยบายในการทำงาน/ได้ทราบพื้นฐานต่างๆเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร/ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 47.4
2 ไม่จำเป็น 52.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจเลือกผู้ที่ตกเป็นข่าวว่าจะลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม.
ลำดับที่ การตัดสินใจ ค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนเคยมีผลงาน 40.6
2 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกคนใหม่ 37.1
3 ยังไม่ตัดสินใจแน่นอน/มีตัวเลือกมากกว่า 1 คน 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละตัวอย่างที่ระบุการเปลี่ยนใจไปเลือกผู้ประกาศตัวลงสมัครคนอื่น
ลำดับที่ การเปลี่ยนใจไปเลือกผู้ประกาศตัวสมัครคนอื่น ค่าร้อยละ
1 อาจเปลี่ยนใจได้อีก 57.6
2 ไม่เปลี่ยนใจแล้ว 42.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-