ความเป็นมา
ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการจดทะเบียนประชาชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ซึ่งได้ดำเนินการรับจดทะเบียนไปเมื่อปี
พ.ศ.2547 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ปัญหาในการรับจดทะเบียน 7 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาที่ดิน ทำกิน ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย ปัญหาการ
ให้ความช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ปัญหาการถูกหลอกลวง ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และปัญหาที่อยู่
อาศัย ในปัญหาดังกล่าวข้างต้น ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะแก้ไข เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการ
แก้ไขปัญหาทั้งระบบที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
จาก 23 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. สำรวจสภาวะหนี้สินของประชาชนในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง “เปิดอกคนเป็นหนี้กับนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอก
ระบบของรัฐบาล : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนจาก 23 จังหวัด ทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 กันยายน —
1 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือก
จังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สกลนคร หนองคาย
ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา ลพบุรี ราชบุรี อยุธยา กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา และ
สุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการ
ทำ สำมะโน
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 4,589 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง(Margin of error) +/- ร้อยละ 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
1. ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย โทร. 01-621-4526
2. ดร. นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการวิจัย โทร. 07-095-3366
3. เนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
4. ศรีสุดา จันทะไทย นักสถิติ
5. นฤมล ชัยชโลธร นักวิจัย
6. สกุลรัตน์ พึ่งประดิษฐ์ นักวิจัย
7. อุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัยฝ่ายควบคุมคุณภาพงานภาคสนาม
8. สุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการพร้อมด้วย พนักงานเก็บข้อมูล
และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 197 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.4 ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ
30.2 ระบุอายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 28.5 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 20.6 อายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 16.1 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป ในขณะที่ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 71.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 25.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.2 ระบุค้าขายส่วน
ตัว / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 18.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.0 เป็นนัก
ศึกษา ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุเกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “เปิดอกคนเป็นหนี้กับนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล” ในครั้งนี้
ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ขึ้นไปจาก 23 จังหวัดทั่วประเทศโดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15
กันยายน -1 ตุลาคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 4,589 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุมีรายรับน้อยกว่าจ่าย ร้อยละ 35.7 ระบุ
รายรับพอๆกับรายจ่าย ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุรายรับมากกว่ารายจ่าย ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการมีภาระหนี้สินในปัจจุบันพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 54.9 ระบุมีหนี้สิน ร้อยละ 45.1 ระบุไม่มีหนี้สิน
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.0 ระบุกู้ยืมเพื่อการจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
ประจำวัน ร้อยละ 34.2 ระบุกู้ยืมเพื่อการทำมาหากิน/การประกอบอาชีพ ร้อยละ 24.9 ระบุกู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อย
ละ 21.2 ระบุกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านหรือที่ดิน และร้อยละ 15.4 ระบุกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างได้ระบุแหล่งเงินกู้ของตนดังนี้ เงินกู้นอก
ระบบ (ร้อยละ 46.5) ญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน (ร้อยละ 18.2) เพื่อน/คนรู้จัก (ร้อยละ 13.7) เงินกู้สถาบันการเงิน (ร้อย
ละ 13.1) และญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน (ร้อยละ 10.5)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความกังวลในภาระหนี้สินที่เป็นอยู่ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุมีความกังวลในหนี้สินนอก
ระบบมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 15.8 ระบุกังวลในหนี้สินของสถาบันการเงิน ร้อยละ 15.2 ระบุกังวลในหนี้สินที่กู้ยืมจากเพื่อน/คนรู้จัก
ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 39.5 ระบุจำนวนหนี้สินนอกระบบประมาณ 50,001 — 100,000 บาท ร้อยละ 24.1 ระบุมีหนี้สินนอกระบบ
จำนวน 10,001 — 50,000 บาท ร้อยละ 13.0 ระบุไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 12.2 ระบุ 100,001 — 500,000 บาท และร้อยละ
11.2 ระบุมากกว่า 500,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการลงชื่อจดทะเบียนคนจน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 86.4 ระบุได้ไปลงชื่อจดทะเบียนคน
จนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุไม่ได้จดทะเบียน ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงการได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบนั้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2
ใน 3 หรือร้อยละ 79.8 ระบุปัญหาของตนยังไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุได้รับการแก้ไขแล้ว
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐมีการเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบให้กับประชาชนนั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.6 ระบุเชื่อว่าเจ้าหน้าที่มีการเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุเชื่อว่าไม่มี และร้อยละ 27.3 ไม่มีความคิด
เห็น โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ
ประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 ระบุเคยพบเห็น ในขณะที่รัอยละ 31.5 ระบุไม่เคยพบเห็น และร้อยละ 18.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ
ประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.9 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 25.4 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ในขณะที่ ร้อยละ 30.1 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ
13.6 ระบุไม่มั่นใจ
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำให้คะแนนนิยมของ
ประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.3 ระบุเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุลดลง ร้อยละ 18.8 ระบุเท่า
เดิม และร้อยละ 11.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน
ลำดับที่ รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน ร้อยละ
1 รายรับมากกว่ารายจ่าย 20.1
2 รายรับเท่ากับรายจ่าย 35.7
3 รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 44.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีหนี้สินในปัจจุบัน
ลำดับที่ การมีหนี้สิน ร้อยละ
1 มีหนี้สิน 54.9
2 ไม่มีหนี้สิน 45.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ ของตัวอย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน
(เฉพาะคนที่มีหนี้สิน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน ค่าร้อยละ
1 กู้ยืมเพื่อการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน 45.0
2 กู้ยืมเพื่อการทำมาหากิน/การประกอบอาชีพ 34.2
3 กู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก (เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง) 24.9
4 กู้ยืมเพื่อซื้อบ้านหรือที่ดิน 21.2
5 กู้ยืมเพื่อการศึกษา 15.4
6 กู้ยืมเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น รักษาพยาบาล ใช้หนี้คืนแก่แหล่งหนี้อื่น ฯลฯ 12.6
7 กู้ยืมเพื่อซื้อรถ 9.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งเงินกู้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งเงินกู้ ร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 46.5
2 ญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน 18.2
3 เพื่อน/คนรู้จัก 13.7
4 สถาบันการเงิน 13.1
5 ญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 10.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทหนี้สินที่ทำให้มีความกังวลใจมากที่สุด(เฉพาะผู้ที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ ประเภทหนี้สินที่ทำให้กังวลใจมากที่สุด ร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 56.0
2 เงินกู้สถาบันการเงิน 15.8
3 เงินกู้จากเพื่อน/คนรู้จัก 15.2
4 เงินกู้จากญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน 8.1
5 เงินกู้จากญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินหนี้สินนอกระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เฉพาะกลุ่มคนที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ จำนวนหนี้สินบอกระบบที่มี ร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 13.0
2 10,001 — 50,000 บาท 24.1
3 50,001 — 100,000 บาท 39.5
4 100,001 — 500,000 บาท 12.2
5 มากกว่า 500,000 บาท 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลงชื่อจดทะเบียนคนจน
ลำดับที่ การลงชื่อจดทะเบียนคนจน ร้อยละ
1 ได้จดทะเบียน 86.4
2 ไม่ได้จดทะเบียน 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ลงชื่อจดทะเบียนคนจน)
ลำดับที่ การได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ร้อยละ
1 ยังไม่ได้รับการแก้ไข 79.8
2 ได้รับการแก้ไขแล้ว 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ลงชื่อจดทะเบียนคนจน)
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ
1 คิดว่ามีการเลือกปฏิบัติ 61.6
2 คิดว่าไม่มี 11.1
3 ไม่มีความเห็น 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไข
ปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน
ลำดับที่ การพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 49.7
2 ไม่เคยพบ 31.5
3 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหา
หนี้สินนอกระบบของประชาชน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน ร้อยละ
1 มั่นใจ 30.9
2 ค่อนข้างมั่นใจ 25.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 30.1
4 ไม่มั่นใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำ
ให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ นโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 44.3
2 เท่าเดิม 18.8
3 ลดลง 25.5
4 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการจดทะเบียนประชาชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ซึ่งได้ดำเนินการรับจดทะเบียนไปเมื่อปี
พ.ศ.2547 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ปัญหาในการรับจดทะเบียน 7 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาที่ดิน ทำกิน ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย ปัญหาการ
ให้ความช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ปัญหาการถูกหลอกลวง ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และปัญหาที่อยู่
อาศัย ในปัญหาดังกล่าวข้างต้น ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะแก้ไข เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการ
แก้ไขปัญหาทั้งระบบที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
จาก 23 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. สำรวจสภาวะหนี้สินของประชาชนในปัจจุบัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง “เปิดอกคนเป็นหนี้กับนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอก
ระบบของรัฐบาล : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนจาก 23 จังหวัด ทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 กันยายน —
1 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือก
จังหวัดตัวอย่างได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สกลนคร หนองคาย
ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา ลพบุรี ราชบุรี อยุธยา กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช ยะลา สงขลา และ
สุราษฎร์ธานี จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดให้ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างมีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการ
ทำ สำมะโน
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 4,589 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง(Margin of error) +/- ร้อยละ 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
คณะผู้วิจัยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
1. ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย โทร. 01-621-4526
2. ดร. นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการวิจัย โทร. 07-095-3366
3. เนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย
4. ศรีสุดา จันทะไทย นักสถิติ
5. นฤมล ชัยชโลธร นักวิจัย
6. สกุลรัตน์ พึ่งประดิษฐ์ นักวิจัย
7. อุบลรัตน์ ด่านพรประเสริฐ ผู้ช่วยนักวิจัยฝ่ายควบคุมคุณภาพงานภาคสนาม
8. สุภาภรณ์ เบ้าเทศ เลขานุการโครงการพร้อมด้วย พนักงานเก็บข้อมูล
และพนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 197 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 52.6 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.4 ระบุเป็นชาย ซึ่งร้อยละ
30.2 ระบุอายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 28.5 อายุ 30 — 39 ปี ร้อยละ 20.6 อายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 16.1 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป ในขณะที่ร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 71.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 25.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร / รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 29.2 ระบุค้าขายส่วน
ตัว / อาชีพอิสระ ร้อยละ 11.7 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 18.0 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.0 เป็นนัก
ศึกษา ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุเกษียณอายุ / แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยว่า ผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “เปิดอกคนเป็นหนี้กับนโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล” ในครั้งนี้
ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 18 ขึ้นไปจาก 23 จังหวัดทั่วประเทศโดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15
กันยายน -1 ตุลาคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 4,589 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนของประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุมีรายรับน้อยกว่าจ่าย ร้อยละ 35.7 ระบุ
รายรับพอๆกับรายจ่าย ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุรายรับมากกว่ารายจ่าย ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการมีภาระหนี้สินในปัจจุบันพบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 54.9 ระบุมีหนี้สิน ร้อยละ 45.1 ระบุไม่มีหนี้สิน
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.0 ระบุกู้ยืมเพื่อการจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
ประจำวัน ร้อยละ 34.2 ระบุกู้ยืมเพื่อการทำมาหากิน/การประกอบอาชีพ ร้อยละ 24.9 ระบุกู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก ร้อย
ละ 21.2 ระบุกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านหรือที่ดิน และร้อยละ 15.4 ระบุกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างได้ระบุแหล่งเงินกู้ของตนดังนี้ เงินกู้นอก
ระบบ (ร้อยละ 46.5) ญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน (ร้อยละ 18.2) เพื่อน/คนรู้จัก (ร้อยละ 13.7) เงินกู้สถาบันการเงิน (ร้อย
ละ 13.1) และญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน (ร้อยละ 10.5)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความกังวลในภาระหนี้สินที่เป็นอยู่ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุมีความกังวลในหนี้สินนอก
ระบบมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 15.8 ระบุกังวลในหนี้สินของสถาบันการเงิน ร้อยละ 15.2 ระบุกังวลในหนี้สินที่กู้ยืมจากเพื่อน/คนรู้จัก
ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 39.5 ระบุจำนวนหนี้สินนอกระบบประมาณ 50,001 — 100,000 บาท ร้อยละ 24.1 ระบุมีหนี้สินนอกระบบ
จำนวน 10,001 — 50,000 บาท ร้อยละ 13.0 ระบุไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 12.2 ระบุ 100,001 — 500,000 บาท และร้อยละ
11.2 ระบุมากกว่า 500,000 บาท
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการลงชื่อจดทะเบียนคนจน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 86.4 ระบุได้ไปลงชื่อจดทะเบียนคน
จนแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุไม่ได้จดทะเบียน ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงการได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบนั้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่า 2
ใน 3 หรือร้อยละ 79.8 ระบุปัญหาของตนยังไม่ได้รับการแก้ไข ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ระบุได้รับการแก้ไขแล้ว
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐมีการเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบให้กับประชาชนนั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.6 ระบุเชื่อว่าเจ้าหน้าที่มีการเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ร้อยละ 11.1 ระบุเชื่อว่าไม่มี และร้อยละ 27.3 ไม่มีความคิด
เห็น โดยเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ
ประชาชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 ระบุเคยพบเห็น ในขณะที่รัอยละ 31.5 ระบุไม่เคยพบเห็น และร้อยละ 18.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความมั่นใจของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของ
ประชาชน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.9 ระบุมั่นใจ ร้อยละ 25.4 ระบุค่อนข้างมั่นใจ ในขณะที่ ร้อยละ 30.1 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ
13.6 ระบุไม่มั่นใจ
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำให้คะแนนนิยมของ
ประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.3 ระบุเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 25.5 ระบุลดลง ร้อยละ 18.8 ระบุเท่า
เดิม และร้อยละ 11.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน
ลำดับที่ รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน ร้อยละ
1 รายรับมากกว่ารายจ่าย 20.1
2 รายรับเท่ากับรายจ่าย 35.7
3 รายรับน้อยกว่ารายจ่าย 44.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีหนี้สินในปัจจุบัน
ลำดับที่ การมีหนี้สิน ร้อยละ
1 มีหนี้สิน 54.9
2 ไม่มีหนี้สิน 45.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ ของตัวอย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน
(เฉพาะคนที่มีหนี้สิน และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเงิน ค่าร้อยละ
1 กู้ยืมเพื่อการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน 45.0
2 กู้ยืมเพื่อการทำมาหากิน/การประกอบอาชีพ 34.2
3 กู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องใช้/สิ่งอำนวยความสะดวก (เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องเสียง) 24.9
4 กู้ยืมเพื่อซื้อบ้านหรือที่ดิน 21.2
5 กู้ยืมเพื่อการศึกษา 15.4
6 กู้ยืมเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น รักษาพยาบาล ใช้หนี้คืนแก่แหล่งหนี้อื่น ฯลฯ 12.6
7 กู้ยืมเพื่อซื้อรถ 9.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งเงินกู้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งเงินกู้ ร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 46.5
2 ญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน 18.2
3 เพื่อน/คนรู้จัก 13.7
4 สถาบันการเงิน 13.1
5 ญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 10.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทหนี้สินที่ทำให้มีความกังวลใจมากที่สุด(เฉพาะผู้ที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ ประเภทหนี้สินที่ทำให้กังวลใจมากที่สุด ร้อยละ
1 เงินกู้นอกระบบ 56.0
2 เงินกู้สถาบันการเงิน 15.8
3 เงินกู้จากเพื่อน/คนรู้จัก 15.2
4 เงินกู้จากญาติ/พี่น้อง ที่ไม่ใช่คนในครอบครัวเดียวกัน 8.1
5 เงินกู้จากญาติ/พี่น้องที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนเงินหนี้สินนอกระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน (เฉพาะกลุ่มคนที่มีหนี้สิน)
ลำดับที่ จำนวนหนี้สินบอกระบบที่มี ร้อยละ
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 13.0
2 10,001 — 50,000 บาท 24.1
3 50,001 — 100,000 บาท 39.5
4 100,001 — 500,000 บาท 12.2
5 มากกว่า 500,000 บาท 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการลงชื่อจดทะเบียนคนจน
ลำดับที่ การลงชื่อจดทะเบียนคนจน ร้อยละ
1 ได้จดทะเบียน 86.4
2 ไม่ได้จดทะเบียน 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ลงชื่อจดทะเบียนคนจน)
ลำดับที่ การได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ร้อยละ
1 ยังไม่ได้รับการแก้ไข 79.8
2 ได้รับการแก้ไขแล้ว 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ลงชื่อจดทะเบียนคนจน)
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ
1 คิดว่ามีการเลือกปฏิบัติ 61.6
2 คิดว่าไม่มี 11.1
3 ไม่มีความเห็น 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไข
ปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน
ลำดับที่ การพบเห็นการโยนปัญหาระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 49.7
2 ไม่เคยพบ 31.5
3 ไม่มีความเห็น 18.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหา
หนี้สินนอกระบบของประชาชน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการเอาจริงเอาจังเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของประชาชน ร้อยละ
1 มั่นใจ 30.9
2 ค่อนข้างมั่นใจ 25.4
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 30.1
4 ไม่มั่นใจ 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำ
ให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ นโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นหรือลดลง ร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 44.3
2 เท่าเดิม 18.8
3 ลดลง 25.5
4 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-