ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน
ต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,919 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14 — 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันของประเทศ พบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อย
ละ 98.6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 95.8 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 เชื่อ
เรื่องบาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรมมากขึ้น ร้อยละ 79.7 พอใจต่อการทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของตำรวจที่ไม่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.0 พอใจต่อการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของกองทัพบก ร้อยละ 76.0 เชื่อมั่นในกระบวนการ
ยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนที่วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองสูงขึ้นจากร้อย
ละ 65.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2550 มาอยู่ที่ร้อยละ 77.5 ในเดือนสิงหาคม 2551 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนที่เครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มสูงขึ้นจาก
ร้อยละ 34.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.5 แต่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.4 เชื่อมั่นว่า นักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนได้ดีขึ้น หลังศาลได้
พิจารณาคดีนักการเมือง ตามลำดับ
และที่น่าพิจารณาคือ ความวุ่นวายทางการเมืองต่างๆ กำลังทำให้ประชาชนที่ถูกศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 เชื่อว่าจะมีการเลือก
ตั้งทั่วไปของ ส.ส. ครั้งใหม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 24.7 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น และร้อยละ 29.1 ไม่มีความเห็น
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กว่าครึ่งหรือร้อยละ 51.8 คิดว่าจะมีการโกงการเลือกตั้งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ 30.2 คิดว่าจะมี
การซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 21.1 คิดว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม และร้อยละ 16.2 คิดว่าการซื้อ
สิทธิขายเสียงจะลดน้อยลง
สำหรับข้อเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงและการโกงการเลือกตั้งครั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 19.5 ระบุ
สร้างจิตสำนึก ส่งเสริมจริยธรรมให้ประชาชน ต้องสำนึกรักชาติ มีคุณธรรม ปลูกฝังอุดมการณ์ รองลงมาคือร้อยละ 18.2 ระบุออกกฎหมายเพิ่มโทษให้
หนักขึ้น ร้อยละ 17.7 ตรวจสอบการวางตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 14.6 ควบคุมสอดส่องดูแลให้เข้มงวด จริงจัง ร้อยละ 13.0 ให้ความรู้แก่
ประชาชน เป็นต้น
เมื่อถามว่า มีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือกแล้วหรือไม่ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ระบุยัง
ไม่มี เพราะ รอดูนโยบายและผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี / เบื่อพรรคการเมืองที่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน ยัง
ไม่มีศรัทธาต่อพรรคใด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 39.0 ระบุมีพรรคการเมืองในความตั้งใจที่จะเลือกแล้ว
เมื่อถามว่า และทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้คืออะไร ผลสำรวจพบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ
38.7 ระบุคือการเลือกตั้งใหม่ รองลงมาคือ ร้อยละ 26.3 ระบุปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป ร้อยละ 19.5 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่
เพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้นที่ระบุการยึดอำนาจโดยรัฐประหาร และร้อยละ 8.8 ระบุอื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง มีการเมืองใหม่ให้คนรู้เรื่อง
ข่าวสารมากขึ้น พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น
เมื่อจำแนกตามพรรคการเมืองที่ผู้ตอบแบบสอบถามเคยเลือกในการเลือกตั้งครั้งก่อน พบว่า คนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 55.4 ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด ในขณะที่คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนมีเพียงร้อยละ 24.3 และพรรคอื่นๆ มีร้อยละ 38.8
ที่ระบุว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนกระจายไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ ที่เห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรี
และทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 32.3 และร้อยละ 33.1 ของคนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออก ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่
เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ ที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออกที่ดีที่สุดมีเพียงร้อยละ 7.1 และร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ยังคงต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุขไม่วุ่นวาย แต่สิ่งที่ค้นพบใน
การสำรวจครั้งนี้ที่ทุกฝ่ายต้องเร่งรีบช่วยกันคือ จำนวนคนที่วิตกกังวลและเครียดต่อสถานการณ์การเมืองเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่
เชื่อมั่นว่านักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น แต่ความวุ่นวายต่างๆ กำลังทำให้คนจำนวนมากคิดว่าอาจมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ โดย
ประชาชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์กำลังมีความต้องการให้เลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นสูงกว่ากลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนประมาณครึ่งหนึ่งที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยังคงคิดว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง และซื้อสิทธิ
ขายเสียงเหมือนเดิม ส่วนทางออกที่ดีที่สุดของสถานการณ์การเมืองในประเทศขณะนี้ตามทรรศนะของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอยู่บนวิถีทางแห่ง
ประชาธิปไตย นั่นคือ การเลือกตั้งใหม่มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การปรับคณะรัฐมนตรี และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ยัง
ไม่พบว่าการยึดอำนาจโดยรัฐประหารเป็นทางออกที่ดีในทรรศนะของประชาชนจากการสำรวจครั้งนี้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นต่อ
การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งเพราะเป็นการปกครองที่สอดคล้องกับธรรมชาติของคนไทยที่รักความเป็นอิสระและกำลังเรียกหาความ
สงบสุขในเวลานี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การ
เมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,919 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14 — 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
เชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
2,919 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 75 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.3 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6.7 อาชีพอื่นๆ รวมถึงผู้ไม่ระบุอาชีพ และผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.6
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 15.0
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไปอยู่ต่างประเทศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พฤศจิกายน สิงหาคม
หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไปอยู่ต่างประเทศ 2550 2551
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 98.6
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.1 95.8
3 เชื่อเรื่อง บาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น 80.8
4 พอใจต่อการทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของตำรวจ ไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม 79.7
5 พอใจต่อการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของกองทัพบก 77.0
6 เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 76.0
7 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 65.2 77.5
8 เครียดต่อเรื่องการเมือง 34.9 59.5
9 เชื่อมั่นว่า นักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนได้ดีขึ้น หลังศาลได้พิจารณาคดีนักการเมือง 53.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปของ ส.ส. เกิดขึ้นภายในปีนี้ เมื่อนึกถึงสภาพ
บรรยากาศการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส. เกิดขึ้นภายในปีนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะเกิดขึ้น 46.2
2 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น 24.7
3 ไม่มีความเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 มีการโกงการเลือกตั้ง 51.8
2 การซื้อสิทธิขายเสียงจะเพิ่มมากขึ้น 30.2
3 การเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม 21.1
4 การซื้อสิทธิขายเสียงลดน้อยลง 16.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง และการโกงการเลือกตั้ง ครั้งใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง และการโกงการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 สร้างจิตสำนึก/ส่งเสริมจริยธรรมให้ประชาชน/ต้องสำนึกในการรักชาติ/ต้องมีคุณธรรม/ปลูกฝังอุดมการณ์ 19.5
2 ออกกฎหมายเพิ่มโทษให้หนักขึ้น 18.2
3 ตรวจสอบการวางตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ 17.7
4 ควบคุมสอดส่องดูแลให้เข้มงวด/เข้มงวด จริงจัง ในการตรวจสอบ 14.6
5 ให้ความรู้แก่ประชาชน/ให้การศึกษากับคนต่างจังหวัดให้มาก 13.0
6 ไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง 9.9
7 เข้มงวดตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. 5.4
8 เลือกบุคคลที่ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติแท้จริง 4.2
9 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องเลือกตั้ง/การเลือกตั้งไม่มีประโยชน์ ห้ามรับสมัครผู้มีอิทธิพลในพื้นที่/
ห้ามพ่อค้าที่ร่ำรวย/ให้สินบนนำจับ ล่อซื้อ/ควรใช้ตำรวจควบคุมในการเลือกตั้ง 4.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส.
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 มีพรรคการเมืองในใจแล้ว 39.0
2 ยังไม่มี เพราะรอดูนโยบาย และผู้ที่มาเป็นนายกฯ และคณะรัฐมนตรี/เบื่อพรรคการเมืองที่เห็นแก่ตัว
และพรรคพวก/ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน/ยังไม่มีศรัทธา/ยังไม่มีผลงานให้เห็น 61.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 การเลือกตั้งใหม่ 38.7
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 26.3
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 19.5
4 การยึดอำนาจ โดยรัฐประหาร 6.7
5 อื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง/ มีการเมืองใหม่ ให้คนรู้เรื่องข่าวสาร/พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
จำแนกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือก
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ พลังประชาชน
1 การเลือกตั้งใหม่ 55.4 38.8 24.3
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 19.4 27.3 32.3
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7.1 19.4 33.1
4 การยึดอำนาจ โดยรัฐประหาร 9.4 9.7 4.0
5 อื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง / มีการเมืองใหม่ ให้คนรู้เรื่องข่าวสาร/
พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น 8.7 4.8 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,919 ตัวอย่าง ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14 — 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็น
ประจำทุกสัปดาห์
เมื่อถามถึงอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันของประเทศ พบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อย
ละ 98.6 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 95.8 เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8 เชื่อ
เรื่องบาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรมมากขึ้น ร้อยละ 79.7 พอใจต่อการทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของตำรวจที่ไม่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.0 พอใจต่อการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของกองทัพบก ร้อยละ 76.0 เชื่อมั่นในกระบวนการ
ยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งนี้พบว่า ประชาชนที่วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองสูงขึ้นจากร้อย
ละ 65.2 ในเดือนพฤศจิกายน 2550 มาอยู่ที่ร้อยละ 77.5 ในเดือนสิงหาคม 2551 ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนที่เครียดต่อเรื่องการเมืองเพิ่มสูงขึ้นจาก
ร้อยละ 34.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.5 แต่ประชาชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.4 เชื่อมั่นว่า นักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนได้ดีขึ้น หลังศาลได้
พิจารณาคดีนักการเมือง ตามลำดับ
และที่น่าพิจารณาคือ ความวุ่นวายทางการเมืองต่างๆ กำลังทำให้ประชาชนที่ถูกศึกษาจำนวนมากหรือร้อยละ 46.2 เชื่อว่าจะมีการเลือก
ตั้งทั่วไปของ ส.ส. ครั้งใหม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 24.7 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น และร้อยละ 29.1 ไม่มีความเห็น
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กว่าครึ่งหรือร้อยละ 51.8 คิดว่าจะมีการโกงการเลือกตั้งเกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ 30.2 คิดว่าจะมี
การซื้อสิทธิขายเสียงเพิ่มขึ้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 21.1 คิดว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม และร้อยละ 16.2 คิดว่าการซื้อ
สิทธิขายเสียงจะลดน้อยลง
สำหรับข้อเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงและการโกงการเลือกตั้งครั้งใหม่ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 19.5 ระบุ
สร้างจิตสำนึก ส่งเสริมจริยธรรมให้ประชาชน ต้องสำนึกรักชาติ มีคุณธรรม ปลูกฝังอุดมการณ์ รองลงมาคือร้อยละ 18.2 ระบุออกกฎหมายเพิ่มโทษให้
หนักขึ้น ร้อยละ 17.7 ตรวจสอบการวางตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 14.6 ควบคุมสอดส่องดูแลให้เข้มงวด จริงจัง ร้อยละ 13.0 ให้ความรู้แก่
ประชาชน เป็นต้น
เมื่อถามว่า มีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือกแล้วหรือไม่ ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ระบุยัง
ไม่มี เพราะ รอดูนโยบายและผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี / เบื่อพรรคการเมืองที่เห็นแก่ตัวและพวกพ้อง ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน ยัง
ไม่มีศรัทธาต่อพรรคใด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 39.0 ระบุมีพรรคการเมืองในความตั้งใจที่จะเลือกแล้ว
เมื่อถามว่า และทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้คืออะไร ผลสำรวจพบว่า อันดับแรก หรือร้อยละ
38.7 ระบุคือการเลือกตั้งใหม่ รองลงมาคือ ร้อยละ 26.3 ระบุปรับคณะรัฐมนตรีและทำงานต่อไป ร้อยละ 19.5 ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่
เพียงร้อยละ 6.7 เท่านั้นที่ระบุการยึดอำนาจโดยรัฐประหาร และร้อยละ 8.8 ระบุอื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง มีการเมืองใหม่ให้คนรู้เรื่อง
ข่าวสารมากขึ้น พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น
เมื่อจำแนกตามพรรคการเมืองที่ผู้ตอบแบบสอบถามเคยเลือกในการเลือกตั้งครั้งก่อน พบว่า คนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 55.4 ระบุการเลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด ในขณะที่คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนมีเพียงร้อยละ 24.3 และพรรคอื่นๆ มีร้อยละ 38.8
ที่ระบุว่าการเลือกตั้งใหม่คือทางออกที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม คนที่เคยเลือกพรรคพลังประชาชนกระจายไปอยู่ในกลุ่มต่างๆ ที่เห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรี
และทำงานต่อไปมีอยู่ร้อยละ 32.3 และร้อยละ 33.1 ของคนเคยเลือกพรรคพลังประชาชนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออก ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่
เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ ที่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือทางออกที่ดีที่สุดมีเพียงร้อยละ 7.1 และร้อยละ 19.4 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ยังคงต้องการเห็นบ้านเมืองสงบสุขไม่วุ่นวาย แต่สิ่งที่ค้นพบใน
การสำรวจครั้งนี้ที่ทุกฝ่ายต้องเร่งรีบช่วยกันคือ จำนวนคนที่วิตกกังวลและเครียดต่อสถานการณ์การเมืองเพิ่มสูงขึ้นมาก ในขณะเดียวกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่
เชื่อมั่นว่านักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น แต่ความวุ่นวายต่างๆ กำลังทำให้คนจำนวนมากคิดว่าอาจมีการเลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นภายในปีนี้ โดย
ประชาชนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์กำลังมีความต้องการให้เลือกตั้งใหม่เกิดขึ้นสูงกว่ากลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคอื่นๆ
ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ คนประมาณครึ่งหนึ่งที่ถูกศึกษาครั้งนี้ยังคงคิดว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง และซื้อสิทธิ
ขายเสียงเหมือนเดิม ส่วนทางออกที่ดีที่สุดของสถานการณ์การเมืองในประเทศขณะนี้ตามทรรศนะของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอยู่บนวิถีทางแห่ง
ประชาธิปไตย นั่นคือ การเลือกตั้งใหม่มาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การปรับคณะรัฐมนตรี และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ยัง
ไม่พบว่าการยึดอำนาจโดยรัฐประหารเป็นทางออกที่ดีในทรรศนะของประชาชนจากการสำรวจครั้งนี้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเชื่อมั่นต่อ
การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งเพราะเป็นการปกครองที่สอดคล้องกับธรรมชาติของคนไทยที่รักความเป็นอิสระและกำลังเรียกหาความ
สงบสุขในเวลานี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในขณะนี้
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อสถานการณ์การ
เมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,919 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14 — 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม
เชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน
2,919 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น จำนวน 75 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.7 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 31.3 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.9 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 16.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 74.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 4.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 6.7 อาชีพอื่นๆ รวมถึงผู้ไม่ระบุอาชีพ และผู้ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.7
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 21.6
3 1-2 ต่อสัปดาห์ 15.0
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.8
5 ไม่ได้ติดตามเลย 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไปอยู่ต่างประเทศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองขณะนี้ พฤศจิกายน สิงหาคม
หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไปอยู่ต่างประเทศ 2550 2551
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 98.6
2 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.1 95.8
3 เชื่อเรื่อง บาปบุญ คุณโทษ และกฎแห่งกรรม มากขึ้น 80.8
4 พอใจต่อการทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของตำรวจ ไม่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม 79.7
5 พอใจต่อการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของกองทัพบก 77.0
6 เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม 76.0
7 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 65.2 77.5
8 เครียดต่อเรื่องการเมือง 34.9 59.5
9 เชื่อมั่นว่า นักการเมืองรุ่นใหม่จะประพฤติปฏิบัติตนได้ดีขึ้น หลังศาลได้พิจารณาคดีนักการเมือง 53.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปของ ส.ส. เกิดขึ้นภายในปีนี้ เมื่อนึกถึงสภาพ
บรรยากาศการเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส. เกิดขึ้นภายในปีนี้ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะเกิดขึ้น 46.2
2 ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น 24.7
3 ไม่มีความเห็น 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 มีการโกงการเลือกตั้ง 51.8
2 การซื้อสิทธิขายเสียงจะเพิ่มมากขึ้น 30.2
3 การเลือกตั้งจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม 21.1
4 การซื้อสิทธิขายเสียงลดน้อยลง 16.2
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง และการโกงการเลือกตั้ง ครั้งใหม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการเพื่อแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง และการโกงการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 สร้างจิตสำนึก/ส่งเสริมจริยธรรมให้ประชาชน/ต้องสำนึกในการรักชาติ/ต้องมีคุณธรรม/ปลูกฝังอุดมการณ์ 19.5
2 ออกกฎหมายเพิ่มโทษให้หนักขึ้น 18.2
3 ตรวจสอบการวางตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ 17.7
4 ควบคุมสอดส่องดูแลให้เข้มงวด/เข้มงวด จริงจัง ในการตรวจสอบ 14.6
5 ให้ความรู้แก่ประชาชน/ให้การศึกษากับคนต่างจังหวัดให้มาก 13.0
6 ไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง 9.9
7 เข้มงวดตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. 5.4
8 เลือกบุคคลที่ทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติแท้จริง 4.2
9 อื่นๆ อาทิ ไม่ต้องเลือกตั้ง/การเลือกตั้งไม่มีประโยชน์ ห้ามรับสมัครผู้มีอิทธิพลในพื้นที่/
ห้ามพ่อค้าที่ร่ำรวย/ให้สินบนนำจับ ล่อซื้อ/ควรใช้ตำรวจควบคุมในการเลือกตั้ง 4.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส.
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองในใจที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส. ค่าร้อยละ
1 มีพรรคการเมืองในใจแล้ว 39.0
2 ยังไม่มี เพราะรอดูนโยบาย และผู้ที่มาเป็นนายกฯ และคณะรัฐมนตรี/เบื่อพรรคการเมืองที่เห็นแก่ตัว
และพรรคพวก/ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน/ยังไม่มีศรัทธา/ยังไม่มีผลงานให้เห็น 61.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้ ค่าร้อยละ
1 การเลือกตั้งใหม่ 38.7
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 26.3
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 19.5
4 การยึดอำนาจ โดยรัฐประหาร 6.7
5 อื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง/ มีการเมืองใหม่ ให้คนรู้เรื่องข่าวสาร/พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น 8.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทยขณะนี้
จำแนกตามพรรคการเมืองที่เคยเลือก
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ประชาธิปัตย์ พรรคอื่นๆ พลังประชาชน
1 การเลือกตั้งใหม่ 55.4 38.8 24.3
2 ปรับคณะรัฐมนตรีทำงานต่อไป 19.4 27.3 32.3
3 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7.1 19.4 33.1
4 การยึดอำนาจ โดยรัฐประหาร 9.4 9.7 4.0
5 อื่นๆ อาทิ ให้ยุติการชุมนุมประท้วง / มีการเมืองใหม่ ให้คนรู้เรื่องข่าวสาร/
พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง เป็นต้น 8.7 4.8 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-