ที่มาของโครงการ
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบันนั้น เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน
และยังไม่สามารถหาทางออกซึ่งเป็นข้อยุติของปัญหาได้ หลายต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า
เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกำหนดยุทธศาสตร์ในการ
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเพราะไม่เข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงของปัญหา รวมทั้ง
ความหย่อนประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ ที่รัฐใช้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการก่อความ ไม่สงบ
ซึ่งนับวันเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นยิ่งจะทวีความรุนแรงและแผ่ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้นทุกขณะ และเกิด
ขึ้นจนแทบจะกลายเป็นชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแล้ว
เหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวนั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลว่าเหตุการณ์ ร้าย
แรงต่างๆอาจเกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนได้ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องการให้รัฐบาลได้เร่งแก้ไขปัญหา
ทุกอย่างให้เรียบร้อยโดยเร็ว และต่างจับตามองว่ารัฐบาลจะดำเนินมาตรการในการยุติเหตุการณ์ความรุนแรงดัง
กล่าวไปในทิศทางใด เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนต่อสถานการณ์ทางภาคใต้ที่กำลังคุกรุ่นอยู่ตลอด
เวลา
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปใน 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ถึงประเด็นความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
ความไม่สงบที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่ต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความ
ไม่สงบที่เกิดขึ้น
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไข
ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และศูนย์วิจัย
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในครั้งนี้ เรื่อง “สถานการณ์ปัญหา
ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนวทางแก้ไขในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ —
2 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และ
นราธิวาส
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างของจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มี
ลักษณะ สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,279 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 7.4
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 28.7 ระบุรับจ้างทั่วไป / เกษตรกร
ตัวอย่าง ร้อยละ 15.7 ระบุค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.4 ระบุนักศึกษา
ร้อยละ 13.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.2 ระบุปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธ
ร้อยละ 77.4 นับถือศาสนาอิสลาม
และร้อยละ 0.4 นับถือศาสนาคริสต์
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.3 ระบุภาษาพูดที่ใช้ในครอบครัว คือ ภาษาไทย
ร้อยละ 41.2 ระบุทั้งภาษาไทยและมลายู
ร้อยละ 34.2 ระบุภาษามลายู
และร้อยละ 0.3 ระบุอื่นๆ อาทิ ภาษาจีน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 55.8
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 39.5
3 ไม่ได้ติดตาม (ติดตามน้อยมาก) 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ลำดับที่ ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ค่าร้อยละ
1 รู้สึกกังวล 78.0
2 ไม่รู้สึกกังวล 16.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบกรณีแนวคิดเหตุผลของกลุ่ม “การแบ่งแยก
ดินแดน”
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบกรณีแนวคิดเหตุผลของกลุ่ม “การแบ่งแยกดินแดน ค่าร้อยละ
1 เคยรับรู้ และเหตุผลดังกล่าวน่าเชื่อถือหรือไม่...
ร้อยละ 17.7 ระบุน่าเชื่อถือ
ร้อยละ 47.9 ระบุไม่น่าเชื่อถือ 34.1
ร้อยละ 34.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
2 ไม่เคยรับรู้ 59.4
3 ไม่แน่ใจ 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า
“จะไม่ยอมให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว”
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เป็นคำพูดที่เหมาะสม 45.5
2 เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม 30.0
3 ไม่มีความเห็น 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อขบวนการเคลื่อนไหวก่อความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ท่านตำหนิหรือไม่ต่อขบวนการเคลื่อนไหวก่อความไม่สงบ ค่าร้อยละ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 ตำหนิ 69.5
2 ไม่ตำหนิ 10.2
3 ไม่มีความเห็น 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ “ตำหนิขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ระบุเหตุผลที่สำคัญอาทิ
1. ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน / มีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป
2. ฆ่าคนบริสุทธิ์ / ไม่มีมนุษยธรรม
3. ทำให้เกิดความไม่สงบในประเทศ / อยากให้มีความสงบในพื้นที่
4. ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ
5. อื่นๆอาทิ ควรจะมีความสามัคคีจะดีกว่า / ทำให้ต่างชาติมองประเทศไทยในแง่ลบ ฯลฯ
ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่ตำหนิขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ได้ระบุเหตุผลที่สำคัญอาทิ
1. ยังไม่รู้จุดประสงค์ของการเคลื่อนไหว
2. เข้าใจอุดมการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหว
3. ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ตัวเอง
4. ภาครัฐไม่ให้ความเป็นธรรม
5. อื่นๆอาทิ เราไปใช้กำลังกับเขาก่อน / อาจจะเป็นประโยชน์กับเราภายหน้า ฯลฯ
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกหวาดกลัวผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายต่างๆ
การกระทำของฝ่ายต่างๆ หวาดกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. การกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 81.5 12.5 6.0 100.0
2. การปฏิบัติงานของฝ่ายทหาร 50.1 42.7 7.2 100.0
3. การปฏิบัติงานของฝ่ายตำรวจ 43.4 49.1 7.5 100.0
4. การปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง
(เช่นผู้ว่าฯ/นายอำเภอ ฯลฯ) 15.9 70.8 13.3 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวกรณีนายกรัฐมนตรีเสนอแนวคิดแบ่งแยกโซน
หมู่บ้านชายแดนภาคใต้เป็น 3 ประเภทคือ “เขียว-เหลือง-แดง” เพื่อจัดแบ่งประเภทตามระดับ
ความรุนแรงของปัญหาการก่อความไม่สงบ (เพื่อตัดความช่วยเหลือหมู่บ้านที่มีปัญหามาก)
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 74.0
2 ไม่ได้ติดตาม 26.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบกรณีการแบ่งประเภทพื้นที่
หมู่บ้าน/ที่พักอาศัยของตน
ลำดับที่ ทราบหรือไม่ว่าหมู่บ้าน/ที่พักอาศัยของตนจะต้องถูกจัดอยู่ในโซนพื้นที่ประเภทใด ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าอยู่ในโซนพื้นที่ “สีเขียว” (ไม่มีปัญหา) 12.4
2 ทราบว่าอยู่ในโซนพื้นที่ “สีเหลือง” (ปัญหาปานกลาง) 4.6
3 ทราบว่าอยู่ในโซนพื้นที่ “สีแดง” (มีปัญหามาก/ไม่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ) 10.0
4 ยังไม่ทราบ 73.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี จะยอมรับได้หรือไม่ถ้าหากหมู่บ้าน/
ชุมชนที่ตนพักอาศัยอยู่ ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ “สีแดง”
ลำดับที่ ท่านยอมรับได้หรือไม่ถ้าหากหมู่บ้าน/ชุมชนที่ท่านพักอาศัยถูกจัดให้เป็นพื้นที่ “สีแดง” ค่าร้อยละ
1 ยอมรับได้ 18.6
2 ยอมรับไม่ได้ 71.4
3 ไม่มีความเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 สรุปผลประมาณการจำนวนประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ระบุเคย “ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” จากเจ้าหน้าที่ของรัฐนับตั้งแต่เกิด
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประชาชนที่ระบุเคยถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จำนวน ร้อยละ
75,042 6.8
ฐานประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,103,553 คน
* ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7.4 (5,553 คน)
ปัญหาที่ตัวอย่างระบุว่าเคย “ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” อาทิ
1. เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ
2. ถูกจับโดยไม่มีความผิด
3. เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ
4. โดนเจ้าหน้าที่ข่มขู่ / ทำร้ายร่างกาย
5. เจ้าหน้าที่ดูแลไม่เสมอภาค
6. อื่นๆ อาทิ ถูกตรวจค้นโดยไม่เป็นธรรม / เจ้าหน้าที่พูดจารุนแรง ใส่อารมณ์ / เจ้าหน้าที่ทุจริตในพื้นที่ เป็นต้น
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความ
ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ค่าร้อยละ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา
1 พอใจ 32.4
2 ไม่พอใจ 47.6
3 ไม่มีความเห็น 20.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาครัฐในการ “เพิ่มหรือลดความเข้มข้นในการ
ปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ”
ลำดับที่ ควรเพิ่มหรือลดความเข้มข้นในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ค่าร้อยละ
1 ควรเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้น 44.8
2 ควรลดลง 24.4
3 รักษาระดับเท่าเดิม 16.5
4 ไม่มีความเห็น 14.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ “การใช้สันติวิธี (ไม่ใช้ความรุนแรง)”
ของภาครัฐว่าจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการใช้สันติวิธี (ไม่ใช้ความรุนแรง) ของภาครัฐ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 54.6
2 ไม่มั่นใจ 32.6
3 ไม่มีความเห็น 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการร่วมมือกับภาครัฐในการปราบปรามผู้ก่อความ
ไม่สงบ (เช่นการให้เบาะแส/ข้อมูล)
ลำดับที่ ท่านต้องการร่วมมือกับภาครัฐในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ ค่าร้อยละ
(เช่นการให้เบาะแส/ข้อมูล) หรือไม่
1 ต้องการมีส่วนร่วม 40.2
2 ไม่ต้องการมีส่วนร่วม 25.4
3 ไม่มีความเห็น 34.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อถือศรัทธาต่อนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ ความเชื่อถือศรัทธาต่อนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ
1 เชื่อถือศรัทธา 47.4
2 ไม่เชื่อถือ/ไม่ศรัทธา 22.6
3 ไม่มีความเห็น 30.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบ
ในชายแดนภาคใต้อย่างได้ผล
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อรัฐบาลว่าจะสามารถแก้ไขปัญหา ค่าร้อยละ
ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้อย่างได้ผล
1 มั่นใจ 28.7
2 ไม่มั่นใจ 47.1
3 ไม่มีความเห็น 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ต้องการให้มาเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ บุคคลที่ต้องการให้มาเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ค่าร้อยละ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 28.2
2 นายชวน หลีกภัย 13.6
3 ผู้นำหมู่บ้าน/ผู้ใหญ่บ้านและคนในพื้นที่ร่วมมือกัน 10.8
4 นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา 8.8
5 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 5.4
6 ส.ส.ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.0
7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 4.7
8 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 4.5
9 ผู้นำศาสนาในพื้นที่ 4.4
10 อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ /นายอานันท์ ปันยารชุน/
แม่ทัพภาคที่ 4 /พรรคไทยรักไทย / จุฬาราชมนตรี เป็นต้น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ
ในชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 อยากให้นายกรัฐมนตรีเปิดโอกาสให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้วยการ
ร่วมมือกันอย่างจริงจังในทุกๆ ฝ่ายทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐ
แกนนำทางศาสนาและประชาชนในพื้นที่และทำอย่างต่อเนื่อง 30.7
2 ต้องการให้ลงพื้นที่ให้มากขึ้นและเข้าถึงประชาชนให้มากกว่านี้
เพื่อทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของประชาชน 14.3
3 อยากให้นายกรัฐมนตรีรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นบ้าง /
อยากให้รับฟังความคิดเห็นคนอื่นให้มากกว่านี้ 12.6
4 อยากให้นายกรัฐมนตรีใช้คำพูดที่นุ่มนวลกว่านี้ 11.9
5 ต้องการให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่บ้าง /ยิ่งมีกำลังทหารในพื้นที่
มากยิ่งเกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกันมาก 11.8
6 ช่วยเหลือด้านความเป็นอยู่ของชาวบ้าน/ส่งเสริมด้านอาชีพ/
แก้ไขปัญหาคนว่างงานในพื้นที่ 10.6
7 แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี/ควรใช้วิธีการเจรจาในการแก้ไขปัญหา 10.2
8 ใช้สติในการแก้ไขปัญหา/คิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการ 8.8
9 หาคนกระทำผิดในคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ รวมทั้ง
คดีสังหารประชาชนที่กรือแซะ และตากใบ โดยลงโทษ ผู้กระทำ
ความผิดอย่างรุนแรงและเด็ดขาด 5.5
10 อื่นๆอาทิ ดูแลความปลอดภัยให้กับครู อาจารย์ และนักเรียน /
อยากให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา/ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน/
ไม่อยากให้แบ่งโซนพื้นที่ในภาคใต้/ไม่ควรตัดงบประมาณให้
งบประมาณเท่าๆกัน เป็นต้น 13.6
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ ผศ.ดร.ศรี
สมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้เปิด
เผยว่า ผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแนว
ทาง แก้ไขในสายตาประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 3,279 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่าง
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 2 มีนาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ต่อการติดตามความไม่สงบที่เกิดขึ้น
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.8 ระบุว่าได้ติดตามมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่
ร้อยละ 39.5 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้งและร้อยละ 4.7 ระบุไม่ได้ติดตาม(ติดตามน้อยมาก) ทั้งนี้
ตัวอย่างร้อยละ 78.0 ระบุรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตน ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อย
ละ 16.8 เท่านั้นที่ระบุไม่รู้สึกกังวล และร้อยละ 5.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวคิดเหตุผลของ
กลุ่ม “การแบ่งแยกดินแดน” ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 59.4 ระบุไม่เคยรับรู้แนวคิดดังกล่าว ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
34.1 ระบุว่าเคยรับรู้ และร้อยละ 6.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 47.9 ของตัวอย่างที่ระบุเคยรับรู้ระบุว่าแนวคิด
เหตุผลของกลุ่มนี้ไม่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.7 ระบุน่าเชื่อถือ และร้อยละ 34.4 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิด
ดังกล่าว นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อขบวนการเคลื่อนไหวก่อความไม่สงบของ
กลุ่มดังกล่าว พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.5 ตำหนิการกระทำดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 10.2 ไม่ตำหนิ และร้อย
ละ 20.3 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “จะไม่ยอม
ให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว” ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 45.5 ระบุคำพูดดังกล่าวเป็นคำพูด
ที่ เหมาะสม ร้อยละ 30.0 ระบุไม่เหมาะสม และร้อยละ 24.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความรู้สึกหวาดกลัวผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของฝ่าย
ต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.5 ระบุหวาดกลัวต่อการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ร้อยละ 50.1
ระบุหวาดกลัวต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายทหาร ร้อยละ 43.4 ระบุหวาดกลัวต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายตำรวจ และ
ร้อยละ 15.9 ระบุหวาดกลัวต่อการปฏิบัติงานของฝ่ายปกครอง ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อมาตรการแบ่งโซนพื้นที่ของนากยกรัฐมนตรีที่
เป็นข่าวเกรียวกราวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.0 ระบุได้ติดตามข่าวดังกล่าว ในขณะที่
ร้อยละ 26.0 ระบุไม่ได้ติดตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามการรับรู้รับทราบของตัวอย่างกรณีทราบหรือไม่ว่าหมู่
บ้าน/ที่พักอาศัยของตนถูกจัดอยู่ในโซนพื้นที่สีอะไร พบว่าตัวอย่างร้อยละ 73.0 ระบุไม่ทราบ ในขณะที่ร้อยละ
12.4 ระบุทราบว่าที่พักอาศัยของตนอยู่ในโซนพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 4.6 ระบุทราบว่าอยู่ในโซนพื้นที่สีเหลือง และ
ร้อยละ 10.0 ระบุทราบว่าอยู่ในโซนพื้นที่สีแดง ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 71.4 ระบุยอมรับไม่ได้ ถ้าหากหมู่บ้าน/
ชุมชนที่พักอาศัยของตนจะถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีแดง ในขณะที่ร้อยละ 18.6 ระบุยอมรับได้ และร้อยละ 10.0 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสรุปจากการประมาณการจำนวนประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ที่ระบุเคย “ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม” จากเจ้าหน้าที่ของรัฐนับตั้งแต่เกิดปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ ซึ่งพบว่ามีประชาชนที่ระบุเคยถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจำนวนทั้งสิ้น 75,042 คน หรือคิดเป็น ร้อย
ละ 6.8 ของจำนวนประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 1,103,553
คน โดยค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7.4 หรือ 5,553 คน ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุเคยมีประสบการณ์ดังกล่าวนั้น
ได้ระบุการถูกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม อาทิ เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / ถูกจับโดยไม่มีความผิด / เจ้าหน้าที่พูดจาไม่
สุภาพ /โดนเจ้าหน้าที่ข่มขู่/ทำร้ายร่างกาย และเจ้าหน้าที่ดูแลไม่เสมอภาค เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทำงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้นั้น ตัวอย่างร้อยละ 47.6 ระบุไม่พอใจต่อการทำงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่
รัอยละ 32.4 ระบุพอใจ และร้อยละ 20.0 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่าง
ถึง “การเพิ่มหรือลด”ความเข้มข้นในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.8 ระบุว่า
ควรเพิ่มความเข้มข้นให้มากขึ้นกว่านี้ ในขณะที่ร้อยละ 24.4 ระบุควรลดลง ร้อยละ 16.5 ระบุรักษาระดับเท่า
เดิม และร้อยละ 14.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีความมั่นใจของตัวอย่างต่อการใช้ “สันติวิธี (ไม่ใช้ความ
รุนแรง)” ของภาครัฐว่าจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้หรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 54.6 ระบุ “สันติวิธี” จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ในขณะที่ร้อยละ 32.6 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 12.8
(ยังมีต่อ)