ที่มาของโครงการ
วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาเป็นวันที่รัฐบาลทักษิณ 2/1 ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้ง
ที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 211 โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่
ประชุม การอภิปรายในครั้งนี้ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากหลายๆฝ่ายว่าในที่สุดแล้วรูปแบบการอภิปรายใน
ครั้งนี้จะแตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาและจะเป็นการเริ่มต้นการเมืองแนวใหม่ได้จริงหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาใน
ครั้งนี้ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อดาวเด่นในสภา
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive
sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,353 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 15.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 25.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 27.9
2 ติดตามบ้าง 45.2
3 ติดตามน้อยมาก/ไม่ได้ติดตาม 26.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายนโยบาย
ของรัฐบาลในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 38.6
2 ไม่พอใจ 29.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาวเด่นในสภาที่ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด
ลำดับที่ ดาวเด่นในสภาที่ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 35.5
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 25.0
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.5
4 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล 10.5
5 นายกรณ์ จาติกวณิช 7.9
6 อื่นๆ อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง /นายบรรหาร
ศิลปอาชา/นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นต้น 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาวเด่นในสภาที่ชอบเนื้อหาสาระในการอภิปรายมากที่สุด
ลำดับที่ ดาวเด่นในสภาที่ชอบเนื้อหาสาระในการอภิปรายมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 32.8
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 30.3
3 นายบรรหาร ศิลปอาชา 7.6
4 นายกรณ์ จาติกวณิช 7.6
5 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 4.5
6 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล 4.5
7 อื่นๆ อาทิ นายแก้วสรร อติโพธิ/นายจอน อึ๊งภากรณ์/
นายวิทยา แก้วภราดัย /นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เป็นต้น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะเป็นการขายฝัน
ลำดับที่ นโยบายที่น่าจะเป็นการขายฝัน น่าจะเป็นการขายฝัน น่าจะเป็นจริง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน 54.1 45.2 0.7 100.0
2 นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 43.9 38.5 17.6 100.0
3 นโยบายขจัดความยากจน 41.2 41.7 17.1 100.0
4 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล 28.3 51.0 20.7 100.0
5 นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 26.1 57.5 16.4 100.0
6 นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 25.8 53.3 20.9 100.0
7 นโยบายพัฒนาคนและสังคมคุณภาพ 19.8 56.4 23.8 100.0
8 นโยบายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 16.4 50.4 33.2 100.0
9 นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 13.0 65.2 21.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดี ค่าร้อยละ
1 กลุ่ม ส.ส. ฝ่ายค้าน 74.5
2 กลุ่มสื่อมวลชน 68.0
3 กลุ่มประชาชนทั่วไป 60.3
4 กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม 52.7
5 กลุ่ม ส.ว.ขั้วฝ่ายค้าน 52.1
6 กลุ่ม ส.ส.ในพรรครัฐบาลที่ผิดหวังตำแหน่งทางการเมือง 36.8
7 กลุ่ม ส.ส.รัฐบาลตรวจสอบกันเอง 23.8
8 กลุ่ม ส.ว.ขั้วรัฐบาล 22.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจ
ความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,353 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนินโครงการใน วันที่ 24-25 มีนาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ ดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
27.9 ระบุติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 45.2 ระบุติดตามบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุติดตามน้อยมาก/ไม่
ได้ติดตาม ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวร้อยละ 38.6 ระบุพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายของรัฐบาลใน
ครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 31.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจประการแรกที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างต่อการอภิปรายของ ส.ส.ที่เป็นดาวเด่นในสภา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ด่าวเด่นในสภาที่ตัวอย่างระบุชื่น
ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 35.5) รองลงมาคือ พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 25.0) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (ร้อยละ 14.5) ม.ล.อภิมงคล โสณกุล (ร้อยละ 10.5)
และนายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 7.9) ตามลำดับ
นอกจากนี้ตัวอย่างได้ระบุดาวเด่นในสภาที่ตัวอย่างระบุว่าชอบเนื้อหาในการอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับ
แรกได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 32.8) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 30.3) นายบรรหาร ศิลป
อาชา (ร้อยละ 7.6) นายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 7.6) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (ร้อยละ 4.5) และ ม.ล.
อภิมงคล โสณกุล (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อนโยบายของรัฐบาลซึ่งผลการ
สำรวจพบว่า นโยบายของรัฐบาลที่ตัวอย่างระบุว่าน่าจะเป็นนโยบายขายฝัน 5 อันดับแรกได้แก่ นโยบายส่งเสริม
ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 54.1) นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ
43.9) นโยบายขจัดปัญหาความยากจน (ร้อยละ 41.2) นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล (ร้อยละ
28.3) นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 26.1) ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะเป็นจริง พบว่าตัวอย่างได้ระบุ
นโยบายของรัฐบาล 5 อันดับแรกที่น่าจะเป็นจริงดังนี้ นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ร้อย
ละ 65.2) นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 57.5) นโยบายพัฒนาคนและสังคม
คุณภาพ (ร้อยละ 56.4) นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ร้อยละ 53.3) และ
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล (ร้อยละ 51.0) ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน นั้นพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่เชื่อว่านโยบายต่างๆที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาไปนั้น “น่าจะเป็นนโยบายที่เป็นจริง” อย่างไรก็
ตามนโยบายการขจัดปัญหาความยากจนนั้น พบว่าความเป็นนโยบายขายฝันกับนโยบายที่น่าจะเป็นจริง มีสัดส่วนที่ใกล้
เคียงกัน
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของ
รัฐบาลได้ดี ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุกลุ่ม ส.ส.ฝ่ายค้าน ร้อยละ 68.0 ระบุกลุ่มสื่อ
มวลชน ร้อยละ 60.3 ระบุกลุ่มประชาชนทั่วไป ร้อยละ 52.7 ระบุกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม และ ร้อยละ 52.1
ระบุกลุ่ม ส.ว.ขั้วฝ่ายค้าน ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาเป็นวันที่รัฐบาลทักษิณ 2/1 ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้ง
ที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 211 โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่
ประชุม การอภิปรายในครั้งนี้ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากหลายๆฝ่ายว่าในที่สุดแล้วรูปแบบการอภิปรายใน
ครั้งนี้จะแตกต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมาและจะเป็นการเริ่มต้นการเมืองแนวใหม่ได้จริงหรือไม่
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาใน
ครั้งนี้ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อดาวเด่นในสภา
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายของรัฐบาล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 24-25 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive
sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,353 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 15.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 25.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
ร้อยละ 5.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.2 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 4.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 27.9
2 ติดตามบ้าง 45.2
3 ติดตามน้อยมาก/ไม่ได้ติดตาม 26.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายนโยบาย
ของรัฐบาลในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายนโยบายของรัฐบาลในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 38.6
2 ไม่พอใจ 29.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 31.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาวเด่นในสภาที่ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด
ลำดับที่ ดาวเด่นในสภาที่ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 35.5
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 25.0
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.5
4 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล 10.5
5 นายกรณ์ จาติกวณิช 7.9
6 อื่นๆ อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง /นายบรรหาร
ศิลปอาชา/นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นต้น 6.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุดาวเด่นในสภาที่ชอบเนื้อหาสาระในการอภิปรายมากที่สุด
ลำดับที่ ดาวเด่นในสภาที่ชอบเนื้อหาสาระในการอภิปรายมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 32.8
2 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 30.3
3 นายบรรหาร ศิลปอาชา 7.6
4 นายกรณ์ จาติกวณิช 7.6
5 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 4.5
6 ม.ล.อภิมงคล โสณกุล 4.5
7 อื่นๆ อาทิ นายแก้วสรร อติโพธิ/นายจอน อึ๊งภากรณ์/
นายวิทยา แก้วภราดัย /นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เป็นต้น 12.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะเป็นการขายฝัน
ลำดับที่ นโยบายที่น่าจะเป็นการขายฝัน น่าจะเป็นการขายฝัน น่าจะเป็นจริง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน 54.1 45.2 0.7 100.0
2 นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ 43.9 38.5 17.6 100.0
3 นโยบายขจัดความยากจน 41.2 41.7 17.1 100.0
4 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล 28.3 51.0 20.7 100.0
5 นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 26.1 57.5 16.4 100.0
6 นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 25.8 53.3 20.9 100.0
7 นโยบายพัฒนาคนและสังคมคุณภาพ 19.8 56.4 23.8 100.0
8 นโยบายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 16.4 50.4 33.2 100.0
9 นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 13.0 65.2 21.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ดี ค่าร้อยละ
1 กลุ่ม ส.ส. ฝ่ายค้าน 74.5
2 กลุ่มสื่อมวลชน 68.0
3 กลุ่มประชาชนทั่วไป 60.3
4 กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม 52.7
5 กลุ่ม ส.ว.ขั้วฝ่ายค้าน 52.1
6 กลุ่ม ส.ส.ในพรรครัฐบาลที่ผิดหวังตำแหน่งทางการเมือง 36.8
7 กลุ่ม ส.ส.รัฐบาลตรวจสอบกันเอง 23.8
8 กลุ่ม ส.ว.ขั้วรัฐบาล 22.9
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจ
ความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,353 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนินโครงการใน วันที่ 24-25 มีนาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ ดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวการแถลงนโยบายของรัฐบาล พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
27.9 ระบุติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 45.2 ระบุติดตามบ้าง ในขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุติดตามน้อยมาก/ไม่
ได้ติดตาม ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุติดตามข่าวร้อยละ 38.6 ระบุพอใจต่อความเรียบร้อยในการอภิปรายของรัฐบาลใน
ครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 29.9 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 31.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจประการแรกที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างต่อการอภิปรายของ ส.ส.ที่เป็นดาวเด่นในสภา ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ด่าวเด่นในสภาที่ตัวอย่างระบุชื่น
ชอบลีลาในการอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 35.5) รองลงมาคือ พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 25.0) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (ร้อยละ 14.5) ม.ล.อภิมงคล โสณกุล (ร้อยละ 10.5)
และนายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 7.9) ตามลำดับ
นอกจากนี้ตัวอย่างได้ระบุดาวเด่นในสภาที่ตัวอย่างระบุว่าชอบเนื้อหาในการอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับ
แรกได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 32.8) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 30.3) นายบรรหาร ศิลป
อาชา (ร้อยละ 7.6) นายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 7.6) นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (ร้อยละ 4.5) และ ม.ล.
อภิมงคล โสณกุล (ร้อยละ 4.5) ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อนโยบายของรัฐบาลซึ่งผลการ
สำรวจพบว่า นโยบายของรัฐบาลที่ตัวอย่างระบุว่าน่าจะเป็นนโยบายขายฝัน 5 อันดับแรกได้แก่ นโยบายส่งเสริม
ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (ร้อยละ 54.1) นโยบายรักษาความมั่นคงของรัฐ แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ
43.9) นโยบายขจัดปัญหาความยากจน (ร้อยละ 41.2) นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล (ร้อยละ
28.3) นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 26.1) ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะเป็นจริง พบว่าตัวอย่างได้ระบุ
นโยบายของรัฐบาล 5 อันดับแรกที่น่าจะเป็นจริงดังนี้ นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ร้อย
ละ 65.2) นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 57.5) นโยบายพัฒนาคนและสังคม
คุณภาพ (ร้อยละ 56.4) นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ร้อยละ 53.3) และ
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุล (ร้อยละ 51.0) ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างต่อนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน นั้นพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่เชื่อว่านโยบายต่างๆที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาไปนั้น “น่าจะเป็นนโยบายที่เป็นจริง” อย่างไรก็
ตามนโยบายการขจัดปัญหาความยากจนนั้น พบว่าความเป็นนโยบายขายฝันกับนโยบายที่น่าจะเป็นจริง มีสัดส่วนที่ใกล้
เคียงกัน
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกลุ่มคนที่จะสามารถตรวจสอบการทำงานของ
รัฐบาลได้ดี ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 74.5 ระบุกลุ่ม ส.ส.ฝ่ายค้าน ร้อยละ 68.0 ระบุกลุ่มสื่อ
มวลชน ร้อยละ 60.3 ระบุกลุ่มประชาชนทั่วไป ร้อยละ 52.7 ระบุกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม และ ร้อยละ 52.1
ระบุกลุ่ม ส.ว.ขั้วฝ่ายค้าน ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-