ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง ชาวต่างประเทศคิดอย่างไรต่อประเทศไทยและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน
ทั้งสิ้น 676 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการโครงการระหว่างวันที่ 26 — 28 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
ผู้ที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.3 ระบุเป็นชาย และร้อยละ 45.7 ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อย
ละ 68.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 16.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 6.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 2.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 23.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 40.9 ระบุจบปริญญาตรี และร้อยละ 36.1 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 10.1 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 6.7 ระบุอื่น ๆ
เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 มาเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นครั้งแรก ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.3 ระบุมาเยือนประเทศ
ไทยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปแล้ว นอกจากนี้ ร้อยละ 56.1 ได้พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 7 วันขึ้นไป ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ได้พักอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยมายังไม่เกิน 7 วัน
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย พบว่า อันดับแรกได้แก่ พอใจต่อประชาชนคนไทย ได้ค่า
คะแนนความพอใจเฉลี่ยรวมสูงถึง 8.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และความพอใจต่ออาหารไทยได้คะแนนความพอใจเท่ากันคือ 8.00 คะแนน
รองลงมาคือ พอใจต่อวัฒนธรรมไทย ได้ 7.86 คะแนน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้ 7.28 คะแนน สถานที่ท่องเที่ยวได้ 7.14 คะแนน การ
บริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ 7.13 คะแนน ความพอใจต่อความปลอดภัยในอาหารได้ 6.91 คะแนน ต่อสภาพแวดล้อมได้ 6.85 คะแนน ต่อ
ระบบขนส่งมวลชนได้ 6.72 คะแนน ต่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศได้ 6.59 คะแนน ต่อด้านการเมืองได้ 6.27 คะแนน และสุดท้ายความ
พอใจต่อด้านความเป็นธรรมในสังคมได้ 6.02 คะแนน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้านที่สำรวจพบครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประเทศไทยดีขึ้นใน
สายตาของชาวต่างประเทศคือ ความปลอดภัยในอาหาร สภาพแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน สภาวะเศรษฐกิจ บรรยากาศทางการเมืองและความเป็น
ธรรมในสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูค่าคะแนนความสุขโดยรวมของชาวต่างประเทศที่มาพักอาศัยในเมืองไทย กลับพบว่า มีค่าคะแนนความสุขโดยรวม
เฉลี่ยสูงถึง 8.02 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าความสุขมวลรวมของคนไทยทั้งประเทศที่สำรวจพบล่าสุดอยู่ที่ 6.08 คะแนนเท่านั้น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.7 ตั้งใจจะเดิน
ทางกลับมาอีก ในขณะที่ร้อยละ 3.3 จะไม่มาเที่ยวอีก นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.6 ยังตั้งใจจะชักชวน แนะนำคนอื่นๆ ในประเทศของพวกเขา
มาเที่ยวเมืองไทยอีกด้วย
ที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่งคือ ถ้าชาวต่างประเทศที่ถูกศึกษาไม่มีความสุขในการมาพักอาศัยในประเทศไทย จะทำให้พวกเขานึกถึงประเทศที่
ตั้งใจจะเดินทางไปพักอาศัยหรือท่องเที่ยวอันดับแรกคือ ร้อยละ 43.9 ระบุประเทศเวียดนาม รองลงมาคือร้อยละ 42.5 ประเทศกัมพูชา และร้อยละ
41.5 ระบุประเทศลาว ในขณะที่ร้อยละ 25.9 ระบุประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 18.4 ระบุประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 11.8 ระบุประเทศพม่า ร้อย
ละ 5.7 ระบุประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 4.7 ระบุประเทศฟิลิปปินส์ และร้อยละ 1.9 ระบุประเทศบรูไน ตามลำดับ
สำหรับบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ รัฐบาลในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 61.5 ไม่ทราบ ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 38.5 ทราบความขัดแย้งดังกล่าว โดยในกลุ่มที่ทราบความขัดแย้งดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.3 มองว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่จำนวน
มากเช่นกันหรือร้อยละ 39.7 คิดว่าไม่เป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม สำหรับทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบันที่ดีที่สุดในสายตา
ของชาวต่างประเทศส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.8 ระบุไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย รองลงมาคือร้อยละ 7.8 ระบุกำจัดปัญหา
คอรัปชั่น คือทางออกที่ดีที่สุด ร้อยละ 3.5 ระบุเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมือง และร้อยละ 11.9 ระบุอื่นๆ เช่น ควรมีการเลือกตั้งใหม่ ใช้
หลักสิทธิมนุษยชน ควรมีความมั่นคงภายใน และใช้กำลังสลายการชุมนุม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นักธุรกิจ นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่ยังคงมองประเทศ
ไทยในภาพที่ดีอยู่ มีความพอใจด้านต่างๆ ของประเทศไทยหลายด้าน โดยเฉพาะอันดับแรกคือ พอใจต่อประชาชนคนไทยและอาหารไทย ส่วนบรรยากาศ
ทางการเมืองขณะนี้พวกเขาส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐบาลส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย
ส่วนทางออกที่ดีที่สุดสำหรับวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มองว่า ต้องไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง
ผ.อ.ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมฯ มีความเห็นต่อผลสำรวจครั้งนี้หลังจากเปิดตำราและงานวิจัยด้านสันติวิธีทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศ พบว่า ทางออกของประเทศไทยขณะนี้ที่น่าพิจารณามีอย่างน้อยสี่ประการ คือ
ประการแรก ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถรักษาความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศได้อย่างเรียบง่าย และสอด
คล้องกับความพึงพอใจของชาวต่างชาติในผลสำรวจครั้งนี้ คือ นำเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่รักความสงบสุข มีไมตรีจิตต่อผู้อื่น รู้จักประนีประนอม
เกื้อกูลกัน อดทนอดกลั้น หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี ซึ่งการนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของความเป็นคนไทยเหล่านี้มาใช้ เป็นการแก้ปัญหาและลงทุนที่ไม่
ต้องใช้งบประมาณ ไม่ต้องออกกำลังหรือใช้ความรุนแรงให้เกิดการสูญเสียอะไร เพียงแต่ขอให้คนไทยทุกคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ปลอดอคติต่อกัน
ประการที่สอง ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และรัฐบาล ควรตั้งมั่นในฐานของความเป็นจริงมากกว่ายึดมั่นในฐานของอำนาจของแต่ละฝ่าย โดยฝ่าย
พันธมิตรฯ มีฐานอำนาจที่มาจากการสนับสนุนของมวลชนจำนวนหนึ่ง และรัฐบาลมีฐานอำนาจจากสิทธิอำนาจในการบริหารประเทศ ถ้าแต่ละฝ่ายยึดมั่นใน
ฐานอำนาจของตนก็จะมองไม่เห็นทางออก เพราะไม่มีใครยอมใคร จึงต้องใช้หลักของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแก้ไขปัญหา ใครทำอะไรผิดก็ต้องมีความ
รับผิดชอบและเสียสละที่ต้องยอมรับในความผิดที่ตนเองได้กระทำ
ประการที่สาม คือ ต้องเร่งบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน โดยอาศัยข้อมูลข่าวสารความเป็นจริงให้ครบถ้วนรอบด้าน ทั้ง
ในปมขัดแย้งรุนแรง และมุมมองสร้างสรรค์ในหลักธรรมาภิบาล เช่น ทำไมจึงเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ทำไมต้องชุมนุมกันที่ทำเนียบ ทำไม
รัฐบาลจึงต้องทำงานต่อไป เพื่อให้โอกาสสาธารณชนได้ใช้หลักเหตุผลไตร่ตรองมากกว่าโต้ตอบต่อปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกเพียงอย่าง
เดียว สังคมไทยน่าจะใช้สถานการณ์การเมืองขณะนี้เป็นโอกาสพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งในอนาคต และ
ประการที่สี่ คือ จากผลสำรวจครั้งนี้ได้พบความสอดคล้องระหว่างมุมมองของชาวต่างชาติกับประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศคือต้องไม่
ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาแต่ควรใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา ความสอดคล้องเหล่านี้คือทางออกที่ดีที่สุด เมื่อสถานการณ์ทาง
การเมืองมาถึงจุดนี้ กระบวนการยุติธรรมต้องเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมืองด้วยความรวดเร็วฉับไวให้ทันต่อวงรอบของเวลาแห่งการพิจารณา
คดีความของแต่ละฝ่ายอย่างสมดุลในจังหวะเวลาเดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การล้างบ้านและจัดบ้านใหม่พร้อมๆ กันทั้งสองฝ่ายตามกระบวนการ
ยุติธรรม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย
2. เพื่อสำรวจระดับความสุขของชาวต่างชาติในช่วงที่พักอาศัยในประเทศไทย
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ชาวต่างประเทศ
คิดอย่างไรต่อประเทศไทยและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
26 — 28 สิงหาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ชาว
ต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 676 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย คณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 92 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมาเยือนประเทศไทย
ลำดับที่ การมาเยือนประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 67.7
2 ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย
ลำดับที่ ระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 7 วัน 43.9
2 มากกว่า 7 วันขึ้นไป 56.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความพอใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ
1 ประชาชนคนไทย 8.00
2 อาหารไทย 8.00
3 วัฒนธรรมไทย 7.86
4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.28
5 สถานที่ท่องเที่ยว 7.14
6 การบริการของด่านตรวจคนเข้าเมือง 7.13
7 ความปลอดภัยในอาหาร 6.91
8 สภาพแวดล้อม 6.85
9 ระบบขนส่งมวลชน 6.72
10 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 6.59
11 สถานการณ์ด้านการเมือง 6.27
12 ความเป็นธรรมในสังคม 6.02
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนความสุขโดยรวมเฉลี่ยในช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย
ค่าความสุขเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล
8.02 0 10 1.344 มีความสุขมาก
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลับมาเที่ยวอีกครั้ง 96.7
2 ไม่มาเที่ยวอีก 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะชักชวน/แนะนำคนอื่นให้มาเที่ยวเมืองไทย
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจที่จะชักชวน/แนะนำ 97.6
2 ไม่ชักชวน/แนะนำ 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปพักอาศัยหรือท่องเที่ยว
ถ้าตัวอย่างไม่มีความสุขช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าร้อยละ
1 ประเทศเวียดนาม 43.9
2 ประเทศกัมพูชา 42.5
3 ประเทศลาว 41.5
4 ประเทศมาเลเซีย 25.9
5 ประเทศอินโดนีเซีย 18.4
6 ประเทศพม่า 11.8
7 ประเทศสิงคโปร์ 5.7
8 ประเทศฟิลิปปินส์ 4.7
9 ประเทศบรูไน 1.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
“กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” และ “รัฐบาลไทย”
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบเกี่ยวกับความขัดแย้ง 38.5
2 ไม่ทราบ 61.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ
ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ (เฉพาะคนที่รับรู้)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย 60.3
2 คิดว่าไม่เป็น 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ถ้าตัวอย่างเกิดมาเป็นคนไทย
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 ไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย 76.8
2 กำจัดปัญหาคอรัปชั่น 7.8
3 เร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมือง 3.5
4 อื่นๆ อาทิ ควรเลือกตั้งใหม่ ใช้หลักสิทธิมนุษยชน
ควรมีความมั่นคงภายใน และใช้กำลังสลายการชุมนุม เป็นต้น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง ชาวต่างประเทศคิดอย่างไรต่อประเทศไทยและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน
ทั้งสิ้น 676 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการโครงการระหว่างวันที่ 26 — 28 สิงหาคม 2551 ผลสำรวจพบว่า
ผู้ที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 54.3 ระบุเป็นชาย และร้อยละ 45.7 ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อย
ละ 68.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 16.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 6.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 2.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 23.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 40.9 ระบุจบปริญญาตรี และร้อยละ 36.1 ระบุจบสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.6 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นชาวเอเชีย ร้อยละ 10.1 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ 6.7 ระบุอื่น ๆ
เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.7 มาเยือนประเทศไทยครั้งนี้เป็นครั้งแรก ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 32.3 ระบุมาเยือนประเทศ
ไทยตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปแล้ว นอกจากนี้ ร้อยละ 56.1 ได้พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 7 วันขึ้นไป ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ได้พักอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยมายังไม่เกิน 7 วัน
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย พบว่า อันดับแรกได้แก่ พอใจต่อประชาชนคนไทย ได้ค่า
คะแนนความพอใจเฉลี่ยรวมสูงถึง 8.00 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และความพอใจต่ออาหารไทยได้คะแนนความพอใจเท่ากันคือ 8.00 คะแนน
รองลงมาคือ พอใจต่อวัฒนธรรมไทย ได้ 7.86 คะแนน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้ 7.28 คะแนน สถานที่ท่องเที่ยวได้ 7.14 คะแนน การ
บริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองได้ 7.13 คะแนน ความพอใจต่อความปลอดภัยในอาหารได้ 6.91 คะแนน ต่อสภาพแวดล้อมได้ 6.85 คะแนน ต่อ
ระบบขนส่งมวลชนได้ 6.72 คะแนน ต่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศได้ 6.59 คะแนน ต่อด้านการเมืองได้ 6.27 คะแนน และสุดท้ายความ
พอใจต่อด้านความเป็นธรรมในสังคมได้ 6.02 คะแนน ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า จากค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้านที่สำรวจพบครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ประเทศไทยดีขึ้นใน
สายตาของชาวต่างประเทศคือ ความปลอดภัยในอาหาร สภาพแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชน สภาวะเศรษฐกิจ บรรยากาศทางการเมืองและความเป็น
ธรรมในสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูค่าคะแนนความสุขโดยรวมของชาวต่างประเทศที่มาพักอาศัยในเมืองไทย กลับพบว่า มีค่าคะแนนความสุขโดยรวม
เฉลี่ยสูงถึง 8.02 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าความสุขมวลรวมของคนไทยทั้งประเทศที่สำรวจพบล่าสุดอยู่ที่ 6.08 คะแนนเท่านั้น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.7 ตั้งใจจะเดิน
ทางกลับมาอีก ในขณะที่ร้อยละ 3.3 จะไม่มาเที่ยวอีก นอกจากนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.6 ยังตั้งใจจะชักชวน แนะนำคนอื่นๆ ในประเทศของพวกเขา
มาเที่ยวเมืองไทยอีกด้วย
ที่ต้องพิจารณาอย่างยิ่งคือ ถ้าชาวต่างประเทศที่ถูกศึกษาไม่มีความสุขในการมาพักอาศัยในประเทศไทย จะทำให้พวกเขานึกถึงประเทศที่
ตั้งใจจะเดินทางไปพักอาศัยหรือท่องเที่ยวอันดับแรกคือ ร้อยละ 43.9 ระบุประเทศเวียดนาม รองลงมาคือร้อยละ 42.5 ประเทศกัมพูชา และร้อยละ
41.5 ระบุประเทศลาว ในขณะที่ร้อยละ 25.9 ระบุประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 18.4 ระบุประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 11.8 ระบุประเทศพม่า ร้อย
ละ 5.7 ระบุประเทศสิงคโปร์ ร้อยละ 4.7 ระบุประเทศฟิลิปปินส์ และร้อยละ 1.9 ระบุประเทศบรูไน ตามลำดับ
สำหรับบรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับ รัฐบาลในขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า ส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 61.5 ไม่ทราบ ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 38.5 ทราบความขัดแย้งดังกล่าว โดยในกลุ่มที่ทราบความขัดแย้งดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.3 มองว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่จำนวน
มากเช่นกันหรือร้อยละ 39.7 คิดว่าไม่เป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม สำหรับทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบันที่ดีที่สุดในสายตา
ของชาวต่างประเทศส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.8 ระบุไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย รองลงมาคือร้อยละ 7.8 ระบุกำจัดปัญหา
คอรัปชั่น คือทางออกที่ดีที่สุด ร้อยละ 3.5 ระบุเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมือง และร้อยละ 11.9 ระบุอื่นๆ เช่น ควรมีการเลือกตั้งใหม่ ใช้
หลักสิทธิมนุษยชน ควรมีความมั่นคงภายใน และใช้กำลังสลายการชุมนุม เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นักธุรกิจ นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่ยังคงมองประเทศ
ไทยในภาพที่ดีอยู่ มีความพอใจด้านต่างๆ ของประเทศไทยหลายด้าน โดยเฉพาะอันดับแรกคือ พอใจต่อประชาชนคนไทยและอาหารไทย ส่วนบรรยากาศ
ทางการเมืองขณะนี้พวกเขาส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และรัฐบาลส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย
ส่วนทางออกที่ดีที่สุดสำหรับวิกฤตการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มองว่า ต้องไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง
ผ.อ.ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมฯ มีความเห็นต่อผลสำรวจครั้งนี้หลังจากเปิดตำราและงานวิจัยด้านสันติวิธีทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศ พบว่า ทางออกของประเทศไทยขณะนี้ที่น่าพิจารณามีอย่างน้อยสี่ประการ คือ
ประการแรก ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถรักษาความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศได้อย่างเรียบง่าย และสอด
คล้องกับความพึงพอใจของชาวต่างชาติในผลสำรวจครั้งนี้ คือ นำเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่รักความสงบสุข มีไมตรีจิตต่อผู้อื่น รู้จักประนีประนอม
เกื้อกูลกัน อดทนอดกลั้น หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี ซึ่งการนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของความเป็นคนไทยเหล่านี้มาใช้ เป็นการแก้ปัญหาและลงทุนที่ไม่
ต้องใช้งบประมาณ ไม่ต้องออกกำลังหรือใช้ความรุนแรงให้เกิดการสูญเสียอะไร เพียงแต่ขอให้คนไทยทุกคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ปลอดอคติต่อกัน
ประการที่สอง ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และรัฐบาล ควรตั้งมั่นในฐานของความเป็นจริงมากกว่ายึดมั่นในฐานของอำนาจของแต่ละฝ่าย โดยฝ่าย
พันธมิตรฯ มีฐานอำนาจที่มาจากการสนับสนุนของมวลชนจำนวนหนึ่ง และรัฐบาลมีฐานอำนาจจากสิทธิอำนาจในการบริหารประเทศ ถ้าแต่ละฝ่ายยึดมั่นใน
ฐานอำนาจของตนก็จะมองไม่เห็นทางออก เพราะไม่มีใครยอมใคร จึงต้องใช้หลักของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแก้ไขปัญหา ใครทำอะไรผิดก็ต้องมีความ
รับผิดชอบและเสียสละที่ต้องยอมรับในความผิดที่ตนเองได้กระทำ
ประการที่สาม คือ ต้องเร่งบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน โดยอาศัยข้อมูลข่าวสารความเป็นจริงให้ครบถ้วนรอบด้าน ทั้ง
ในปมขัดแย้งรุนแรง และมุมมองสร้างสรรค์ในหลักธรรมาภิบาล เช่น ทำไมจึงเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร ทำไมต้องชุมนุมกันที่ทำเนียบ ทำไม
รัฐบาลจึงต้องทำงานต่อไป เพื่อให้โอกาสสาธารณชนได้ใช้หลักเหตุผลไตร่ตรองมากกว่าโต้ตอบต่อปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ความรู้สึกเพียงอย่าง
เดียว สังคมไทยน่าจะใช้สถานการณ์การเมืองขณะนี้เป็นโอกาสพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งในอนาคต และ
ประการที่สี่ คือ จากผลสำรวจครั้งนี้ได้พบความสอดคล้องระหว่างมุมมองของชาวต่างชาติกับประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศคือต้องไม่
ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาแต่ควรใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นหลักในการแก้ไขปัญหา ความสอดคล้องเหล่านี้คือทางออกที่ดีที่สุด เมื่อสถานการณ์ทาง
การเมืองมาถึงจุดนี้ กระบวนการยุติธรรมต้องเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมืองด้วยความรวดเร็วฉับไวให้ทันต่อวงรอบของเวลาแห่งการพิจารณา
คดีความของแต่ละฝ่ายอย่างสมดุลในจังหวะเวลาเดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การล้างบ้านและจัดบ้านใหม่พร้อมๆ กันทั้งสองฝ่ายตามกระบวนการ
ยุติธรรม
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกของชาวต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย
2. เพื่อสำรวจระดับความสุขของชาวต่างชาติในช่วงที่พักอาศัยในประเทศไทย
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ชาวต่างประเทศ
คิดอย่างไรต่อประเทศไทยและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน กรณีศึกษากลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
26 — 28 สิงหาคม พ.ศ.2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ชาว
ต่างชาติที่เดินทางมาพักอาศัยในประเทศไทย โดยมีเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 676 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การ
สัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย คณะผู้วิจัย พนักงานเก็บข้อมูลและประมวลผลรวมทั้งสิ้น 92 คน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมาเยือนประเทศไทย
ลำดับที่ การมาเยือนประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 67.7
2 ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป 32.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย
ลำดับที่ ระยะเวลาที่พักอาศัยในประเทศไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 7 วัน 43.9
2 มากกว่า 7 วันขึ้นไป 56.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความพอใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ปัจจัยด้านต่างๆ ของประเทศไทย ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ
1 ประชาชนคนไทย 8.00
2 อาหารไทย 8.00
3 วัฒนธรรมไทย 7.86
4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7.28
5 สถานที่ท่องเที่ยว 7.14
6 การบริการของด่านตรวจคนเข้าเมือง 7.13
7 ความปลอดภัยในอาหาร 6.91
8 สภาพแวดล้อม 6.85
9 ระบบขนส่งมวลชน 6.72
10 สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ 6.59
11 สถานการณ์ด้านการเมือง 6.27
12 ความเป็นธรรมในสังคม 6.02
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนความสุขโดยรวมเฉลี่ยในช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย
ค่าความสุขเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล
8.02 0 10 1.344 มีความสุขมาก
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจในการเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยอีกครั้ง
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลับมาเที่ยวอีกครั้ง 96.7
2 ไม่มาเที่ยวอีก 3.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะชักชวน/แนะนำคนอื่นให้มาเที่ยวเมืองไทย
ลำดับที่ ความตั้งใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจที่จะชักชวน/แนะนำ 97.6
2 ไม่ชักชวน/แนะนำ 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งใจจะไปพักอาศัยหรือท่องเที่ยว
ถ้าตัวอย่างไม่มีความสุขช่วงที่พักอาศัยในเมืองไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าร้อยละ
1 ประเทศเวียดนาม 43.9
2 ประเทศกัมพูชา 42.5
3 ประเทศลาว 41.5
4 ประเทศมาเลเซีย 25.9
5 ประเทศอินโดนีเซีย 18.4
6 ประเทศพม่า 11.8
7 ประเทศสิงคโปร์ 5.7
8 ประเทศฟิลิปปินส์ 4.7
9 ประเทศบรูไน 1.9
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ว่ามีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
“กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” และ “รัฐบาลไทย”
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบเกี่ยวกับความขัดแย้ง 38.5
2 ไม่ทราบ 61.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ
ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ (เฉพาะคนที่รับรู้)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย 60.3
2 คิดว่าไม่เป็น 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน
ถ้าตัวอย่างเกิดมาเป็นคนไทย
ลำดับที่ ทางออกที่ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 ไม่ใช้กองกำลัง ไม่ใช้ความรุนแรง เป็นประชาธิปไตย 76.8
2 กำจัดปัญหาคอรัปชั่น 7.8
3 เร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมือง 3.5
4 อื่นๆ อาทิ ควรเลือกตั้งใหม่ ใช้หลักสิทธิมนุษยชน
ควรมีความมั่นคงภายใน และใช้กำลังสลายการชุมนุม เป็นต้น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-