ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุขมวล
รวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง จำนวนตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์รวมทั้งสิ้น 2,956 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 21 - 30 สิงหาคม 2551
“จากการประเมินความสุขมวลรวม หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
สิงหาคมที่ผ่านมานี้ เมื่อคะแนนความสุขเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนทรุดหนักลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 6.30 ใน
เดือนเมษายน มาอยู่ที่ 5.82 ในงานวิจัยล่าสุด อย่างไรก็ตาม ยังเป็นค่าความสุขมวลรวมที่สูงกว่าช่วงหลังยึดอำนาจและช่วงที่ประชาชนกว่า 40
จังหวัดของประเทศประสบภัยพิบัติธรรมชาติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2549 ที่ความสุขมวลรวมของประชาชนตกไปอยู่ที่ 4.86 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้น่า
จะเป็นเพราะสังคมไทย ยังมีปัจจัยบวกอยู่บ้างในเดือนที่ผ่านมา เช่น ความภูมิใจ ดีใจ เรื่องการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค และวัฒนธรรมประเพณีไทย”
ดร.นพดลกล่าว
นอกจากนี้ระดับความทุกข์ของประชาชนคนไทยกำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 4.39 เดือนเมษายนเพิ่มมาอยู่ที่
4.90 เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเป็น 5.29 และเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 5.30 ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนลดต่ำลงในทุก
ภูมิภาค โดยประชาชนที่มีค่าความสุขต่ำสุดได้แก่ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคืออยู่ที่ 5.37 และคนกรุงเทพมหานครก็มีความสุขต่ำเป็นอันดับ
รองสุดท้ายคืออยู่ที่ 6.07 ประชาชนในภาคใต้มีความสุขมากที่สุดคืออยู่ที่ 6.17 แต่ก็เป็นค่าความสุขที่ลดลงกว่าความสุขในช่วงเดือนกรกฎาคม
ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขด้านต่างๆ ของคนกรุงเทพมหานครที่มีค่าความสุขมวลรวมต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ และมีค่าต่ำที่สุดได้แก่ความ
สุขของคนกรุงเทพมหานครต่อบรรยากาศขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาล โดยมีค่าความสุขต่อ
บรรยากาศทางการเมืองเพียง 2.93 เท่านั้น นอกจากนี้ คนกรุงเทพมหานครยังมีค่าความสุขมวลรวมที่ต่ำกว่าประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ อีกหลายด้าน
เช่น “ด้านสุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ” ได้ 6.01 ภาคเหนือได้ 6.66 ภาคกลางได้ 6.25 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.08 และภาคใต้ได้ 7.02
ด้านบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว พบว่า คนกรุงเทพฯ มีความสุขต่ำกว่าคนในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน คนกรุงเทพฯ ได้ 7.03
ภาคเหนือได้ 7.29 ภาคกลางได้ 7.51 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 7.11 และภาคใต้มีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวสูงสุด คือ ได้
7.58 คะแนน
ที่น่าเป็นห่วงคือ คนกรุงเทพฯ ยังมีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัยต่ำสุด เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ พบว่า คนกรุงเทพฯ ได้
เพียง 5.61 คนภาคเหนือได้ 6.61 ภาคกลางได้ 6.39 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 5.86 แต่คนในภาคใต้กลับมีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนใน
ชุมชนสูงสุดคือได้ 6.73 คะแนน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัย พบว่า บรรยากาศขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ กับรัฐบาล มีผลกระทบต่อ
ความสุขของคนกรุงเทพฯ ในด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและความสัมพันธ์ของประชาชนภายในชุมชนอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเป็นเรื่องที่ทุกๆ
ฝ่ายต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนก่อนที่สถานการณ์จะรุนแรงบานปลายไปมากกว่าปัจจุบันนี้ และหน่วยงานด้านสุขภาพจิตต้องเร่งแนะนำช่วยให้ประชาชน
ผ่อนคลายความเครียดจากสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยความสุขครั้งนี้พบว่า ความสุขของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศต่อความจงรักภักดีเพิ่มสูงขึ้นจาก 9.28 ในเดือน
กรกฎาคมมาอยู่ที่ 9.49 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่ความสุขต่อบรรยากาศของคนภายในครอบครัว ต่อหน้าที่การงาน ต่อสุขภาพกาย ต่อการบริการด้าน
การแพทย์ ไม่ลดลงเช่นกัน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขมวลรวมที่ลดลงและต่ำสุดสามด้านสุดท้ายของประชาชนคนไทยคือ ระดับความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจลดลงจาก
3.83 ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่เพียง 2.55 ในการสำรวจครั้งล่าสุด และความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองลดลงจาก 3.99 มาอยู่ที่ 3.41 นอก
จากนี้ความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมลดลงจาก 5.54 มาอยู่ที่ 5.16 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อประมวลภาพข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าแนวทางเพื่อเป็นทางออกของประเทศไทยขณะนี้น่าจะมีอย่างน้อยห้า
ประการคือ
ประการแรก ประชาชนคนไทยทุกคนน่าจะนำเอกลักษณ์ที่สร้างสรรค์ของความเป็นคนไทยและสอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่ชาวต่างประเทศมีอยู่
ในใจคือ รักความสงบสุข มีไมตรีจิตต่อคนอื่น รู้จักประนีประนอม เกื้อกูลกัน อดทนอดกลั้น หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี การนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ของความเป็นคนไทยเหล่านี้ เป็นการแก้ปัญหาและลงทุนที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ ไม่ต้องออกแรงหรือใช้กำลังรุนแรงให้เกิดการสูญเสียอะไร เพียงแต่ขอ
ให้คนไทยทุกคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่มีอคติต่อกัน
ประการที่สอง ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และรัฐบาล ควรตั้งมั่นในฐานของความเป็นจริงมากกว่ายึดมั่นในฐานของอำนาจของแต่ละฝ่าย โดยฝ่าย
พันธมิตรฯ มีฐานอำนาจที่มาจากการสนับสนุนของมวลชนจำนวนหนึ่ง และรัฐบาลมีฐานอำนาจจากสิทธิอำนาจในการบริหารประเทศ ถ้าแต่ละฝ่ายยึดมั่นถือ
มั่นในฐานอำนาจของตนเองก็จะมองไม่เห็นทางออก เพราะไม่มีใครยอมใคร จึงต้องใช้หลักของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแก้ไขปัญหา ใครทำอะไรผิดก็
ต้องมีความรับผิดชอบและเสียสละที่ต้องยอมรับในความผิดที่ตนเองได้กระทำ
ประการที่สาม กระบวนการยุติธรรมต้องเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมืองด้วยความรวดเร็วฉับไวให้ทันต่อวงรอบของเวลาพิจารณา
คดีความของแต่ละฝ่ายอย่างสมดุลในจังหวะเวลาเดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การล้างบ้านและจัดบ้านใหม่พร้อมๆ กันในแต่ละฝ่ายตามกระบวนการ
ยุติธรรม
ประการที่สี่ สาธารณชนน่าจะได้รับการบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกอย่างสมดุล คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งปมขัดแย้งรุนแรง และ
ข้อมูลที่บ่งบอกถึงเหตุผลของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล เพื่อให้สาธารณชนได้
ไตร่ตรองข้อมูลบนหลักของเหตุผลมากกว่าอารมณ์
ประการที่ห้า ขอเสนอแนะให้ทุกๆ ฝ่ายมุ่งไปที่ “การถอดบทเรียน” จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเรียนรู้ร่วมกันในประวัติศาสตร์ใหม่
ของการเมืองไทยครั้งนี้ โดยรัฐบาลและสาธารณชนควรปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้ในทุกสถานการณ์ และทุกความขัดแย้งโดยไม่มีการใช้ความรุนแรง ทุก
ฝ่ายต้องอดทนอดกลั้นเพราะการเคลื่อนไหวต่างๆ ของประชาชนในเรื่องการเมืองครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจศึกษา ที่อาจเป็นการยกระดับคุณภาพ
ของการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้นและเป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาว ถ้าในอนาคตข้างหน้า กลไกตรวจสอบรัฐบาลแบบปกติไม่สามารถทำงาน
ได้อย่างเต็มที่อีก การเมืองภาคประชาชนที่ก็จะทำหน้าที่แทนโดยผ่านบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนสิงหาคม 2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนในช่วงเดือนสิงหาคม 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคน
ไทยประจำเดือนสิงหาคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-30 สิงหาคม
2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานีและพัทลุง เทคนิค
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ
สำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,956 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจาก
การกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
รายชื่อคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 43.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 33.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 15.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.7 อาชีพเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 19.2 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 12.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค.51 ส.ค.51
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) ธ.ค.49 ก.ค.50
4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.3 6.08 5.82
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม
และเดือนสิงหาคม 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ.—มี.ค.2551 เมษายน 2551 กรกฎาคม 2551 สิงหาคม 2551
4.39 4.90 5.29 5.30
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
1 ความจงรักภักดี 9.41 9.56 9.47 9.3 9.44
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.29 7.51 7.11 7.58 7.03
3 หน้าที่การทำงาน 7.35 7.35 7.02 7.81 6.9
4 วัฒนธรรมประเพณี 7.11 6.98 6.52 6.9 6.88
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.51 6.7 6.73 7.34 6.33
6 สุขภาพทางกาย 6.81 6.57 6.61 6.96 6.73
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ และธรรมชาติ 6.59 6.65 5.99 7.13 6.25
8 สุขภาพใจ/สุขภาพจิต 6.66 6.25 6.08 7.02 6.01
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.61 6.39 5.86 6.73 5.61
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.37 5.54 4.79 5.48 4.96
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.71 3.85 3.23 3.07 2.93
12 สภาวะเศรษฐกิจ 2.59 2.67 2.64 1.87 2.72
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนสิงหาคม 2551 6.1 6.1 5.37 6.2 6.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
เดือนกรกฎาคม กับเดือนสิงหาคม 2551
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เดือนกรกฎาคมคะแนนเต็ม 10 เดือนสิงหาคมคะแนนเต็ม 10 ส่วนต่าง
1 ความจงรักภักดี 9.28 9.49 +0.21
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.20 7.29 +0.09
3 หน้าที่การทำงาน 7.06 7.25 +0.19
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.86 6.80 -0.06
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.70 6.73 +0.03
6 สุขภาพทางกาย 6.69 6.69 0.00
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ และธรรมชาติ 6.50 6.41 -0.09
8 สุขภาพใจ/สุขภาพจิต 6.42 6.33 -0.09
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.21 6.20 -0.01
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.54 5.16 -0.38
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.99 3.41 -0.58
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.83 2.55 -1.28
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความสุขมวล
รวม (Gross Domestic Happiness, GDH) ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรณีศึกษาประชาชนคนไทยใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่
อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง จำนวนตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์รวมทั้งสิ้น 2,956 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวัน
ที่ 21 - 30 สิงหาคม 2551
“จากการประเมินความสุขมวลรวม หรือ Gross Domestic Happiness, GDH ของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
สิงหาคมที่ผ่านมานี้ เมื่อคะแนนความสุขเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของประชาชนทรุดหนักลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 6.30 ใน
เดือนเมษายน มาอยู่ที่ 5.82 ในงานวิจัยล่าสุด อย่างไรก็ตาม ยังเป็นค่าความสุขมวลรวมที่สูงกว่าช่วงหลังยึดอำนาจและช่วงที่ประชาชนกว่า 40
จังหวัดของประเทศประสบภัยพิบัติธรรมชาติน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2549 ที่ความสุขมวลรวมของประชาชนตกไปอยู่ที่ 4.86 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้น่า
จะเป็นเพราะสังคมไทย ยังมีปัจจัยบวกอยู่บ้างในเดือนที่ผ่านมา เช่น ความภูมิใจ ดีใจ เรื่องการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค และวัฒนธรรมประเพณีไทย”
ดร.นพดลกล่าว
นอกจากนี้ระดับความทุกข์ของประชาชนคนไทยกำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 4.39 เดือนเมษายนเพิ่มมาอยู่ที่
4.90 เดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเป็น 5.29 และเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 5.30 ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยออกตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนลดต่ำลงในทุก
ภูมิภาค โดยประชาชนที่มีค่าความสุขต่ำสุดได้แก่ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคืออยู่ที่ 5.37 และคนกรุงเทพมหานครก็มีความสุขต่ำเป็นอันดับ
รองสุดท้ายคืออยู่ที่ 6.07 ประชาชนในภาคใต้มีความสุขมากที่สุดคืออยู่ที่ 6.17 แต่ก็เป็นค่าความสุขที่ลดลงกว่าความสุขในช่วงเดือนกรกฎาคม
ที่น่าพิจารณาคือ ความสุขด้านต่างๆ ของคนกรุงเทพมหานครที่มีค่าความสุขมวลรวมต่ำกว่าประชาชนในภาคอื่นๆ และมีค่าต่ำที่สุดได้แก่ความ
สุขของคนกรุงเทพมหานครต่อบรรยากาศขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาล โดยมีค่าความสุขต่อ
บรรยากาศทางการเมืองเพียง 2.93 เท่านั้น นอกจากนี้ คนกรุงเทพมหานครยังมีค่าความสุขมวลรวมที่ต่ำกว่าประชาชนในภูมิภาคอื่นๆ อีกหลายด้าน
เช่น “ด้านสุขภาพจิตของคนกรุงเทพฯ” ได้ 6.01 ภาคเหนือได้ 6.66 ภาคกลางได้ 6.25 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 6.08 และภาคใต้ได้ 7.02
ด้านบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว พบว่า คนกรุงเทพฯ มีความสุขต่ำกว่าคนในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน คนกรุงเทพฯ ได้ 7.03
ภาคเหนือได้ 7.29 ภาคกลางได้ 7.51 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 7.11 และภาคใต้มีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวสูงสุด คือ ได้
7.58 คะแนน
ที่น่าเป็นห่วงคือ คนกรุงเทพฯ ยังมีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่พักอาศัยต่ำสุด เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ พบว่า คนกรุงเทพฯ ได้
เพียง 5.61 คนภาคเหนือได้ 6.61 ภาคกลางได้ 6.39 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ 5.86 แต่คนในภาคใต้กลับมีความสุขต่อความสัมพันธ์ของคนใน
ชุมชนสูงสุดคือได้ 6.73 คะแนน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ได้วิเคราะห์ด้วยสถิติวิจัย พบว่า บรรยากาศขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ กับรัฐบาล มีผลกระทบต่อ
ความสุขของคนกรุงเทพฯ ในด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและความสัมพันธ์ของประชาชนภายในชุมชนอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงเป็นเรื่องที่ทุกๆ
ฝ่ายต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนก่อนที่สถานการณ์จะรุนแรงบานปลายไปมากกว่าปัจจุบันนี้ และหน่วยงานด้านสุขภาพจิตต้องเร่งแนะนำช่วยให้ประชาชน
ผ่อนคลายความเครียดจากสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยความสุขครั้งนี้พบว่า ความสุขของสาธารณชนคนไทยภายในประเทศต่อความจงรักภักดีเพิ่มสูงขึ้นจาก 9.28 ในเดือน
กรกฎาคมมาอยู่ที่ 9.49 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่ความสุขต่อบรรยากาศของคนภายในครอบครัว ต่อหน้าที่การงาน ต่อสุขภาพกาย ต่อการบริการด้าน
การแพทย์ ไม่ลดลงเช่นกัน
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ความสุขมวลรวมที่ลดลงและต่ำสุดสามด้านสุดท้ายของประชาชนคนไทยคือ ระดับความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจลดลงจาก
3.83 ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่เพียง 2.55 ในการสำรวจครั้งล่าสุด และความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองลดลงจาก 3.99 มาอยู่ที่ 3.41 นอก
จากนี้ความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคมลดลงจาก 5.54 มาอยู่ที่ 5.16 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อประมวลภาพข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าแนวทางเพื่อเป็นทางออกของประเทศไทยขณะนี้น่าจะมีอย่างน้อยห้า
ประการคือ
ประการแรก ประชาชนคนไทยทุกคนน่าจะนำเอกลักษณ์ที่สร้างสรรค์ของความเป็นคนไทยและสอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่ชาวต่างประเทศมีอยู่
ในใจคือ รักความสงบสุข มีไมตรีจิตต่อคนอื่น รู้จักประนีประนอม เกื้อกูลกัน อดทนอดกลั้น หันหน้ามาเจรจากันด้วยสันติวิธี การนำเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ของความเป็นคนไทยเหล่านี้ เป็นการแก้ปัญหาและลงทุนที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ ไม่ต้องออกแรงหรือใช้กำลังรุนแรงให้เกิดการสูญเสียอะไร เพียงแต่ขอ
ให้คนไทยทุกคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่มีอคติต่อกัน
ประการที่สอง ทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ และรัฐบาล ควรตั้งมั่นในฐานของความเป็นจริงมากกว่ายึดมั่นในฐานของอำนาจของแต่ละฝ่าย โดยฝ่าย
พันธมิตรฯ มีฐานอำนาจที่มาจากการสนับสนุนของมวลชนจำนวนหนึ่ง และรัฐบาลมีฐานอำนาจจากสิทธิอำนาจในการบริหารประเทศ ถ้าแต่ละฝ่ายยึดมั่นถือ
มั่นในฐานอำนาจของตนเองก็จะมองไม่เห็นทางออก เพราะไม่มีใครยอมใคร จึงต้องใช้หลักของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาแก้ไขปัญหา ใครทำอะไรผิดก็
ต้องมีความรับผิดชอบและเสียสละที่ต้องยอมรับในความผิดที่ตนเองได้กระทำ
ประการที่สาม กระบวนการยุติธรรมต้องเร่งสะสางคดีความต่างๆ ทางการเมืองด้วยความรวดเร็วฉับไวให้ทันต่อวงรอบของเวลาพิจารณา
คดีความของแต่ละฝ่ายอย่างสมดุลในจังหวะเวลาเดียวกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การล้างบ้านและจัดบ้านใหม่พร้อมๆ กันในแต่ละฝ่ายตามกระบวนการ
ยุติธรรม
ประการที่สี่ สาธารณชนน่าจะได้รับการบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกอย่างสมดุล คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งปมขัดแย้งรุนแรง และ
ข้อมูลที่บ่งบอกถึงเหตุผลของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ทั้งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาล เพื่อให้สาธารณชนได้
ไตร่ตรองข้อมูลบนหลักของเหตุผลมากกว่าอารมณ์
ประการที่ห้า ขอเสนอแนะให้ทุกๆ ฝ่ายมุ่งไปที่ “การถอดบทเรียน” จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเรียนรู้ร่วมกันในประวัติศาสตร์ใหม่
ของการเมืองไทยครั้งนี้ โดยรัฐบาลและสาธารณชนควรปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้ในทุกสถานการณ์ และทุกความขัดแย้งโดยไม่มีการใช้ความรุนแรง ทุก
ฝ่ายต้องอดทนอดกลั้นเพราะการเคลื่อนไหวต่างๆ ของประชาชนในเรื่องการเมืองครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจศึกษา ที่อาจเป็นการยกระดับคุณภาพ
ของการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้นและเป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาว ถ้าในอนาคตข้างหน้า กลไกตรวจสอบรัฐบาลแบบปกติไม่สามารถทำงาน
ได้อย่างเต็มที่อีก การเมืองภาคประชาชนที่ก็จะทำหน้าที่แทนโดยผ่านบทเรียนที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนสิงหาคม 2551
2. เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนในช่วงเดือนสิงหาคม 2551
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคน
ไทยประจำเดือนสิงหาคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21-30 สิงหาคม
2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี
สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ กระบี่ สุราษฎร์ธานีและพัทลุง เทคนิค
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ
สำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,956 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจาก
การกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
รายชื่อคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 138 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 43.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 33.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 15.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 49.7 อาชีพเกษตรกรและรับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 19.2 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 12.7 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือนสิงหาคม 2551
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทย ต.ค.49 พ.ย.- ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.- ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค.51 ส.ค.51
ภายในประเทศ(Gross Domestic Happiness) ธ.ค.49 ก.ค.50
4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.9 6.3 6.08 5.82
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความทุกข์ของคนไทยระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม
และเดือนสิงหาคม 2551
ระดับความทุกข์ของคนไทยภายในประเทศ ช่วง ก.พ.—มี.ค.2551 เมษายน 2551 กรกฎาคม 2551 สิงหาคม 2551
4.39 4.90 5.29 5.30
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เหนือ กลาง ตะวันออก เฉียงเหนือ ใต้ กทม.
1 ความจงรักภักดี 9.41 9.56 9.47 9.3 9.44
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.29 7.51 7.11 7.58 7.03
3 หน้าที่การทำงาน 7.35 7.35 7.02 7.81 6.9
4 วัฒนธรรมประเพณี 7.11 6.98 6.52 6.9 6.88
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.51 6.7 6.73 7.34 6.33
6 สุขภาพทางกาย 6.81 6.57 6.61 6.96 6.73
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ และธรรมชาติ 6.59 6.65 5.99 7.13 6.25
8 สุขภาพใจ/สุขภาพจิต 6.66 6.25 6.08 7.02 6.01
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.61 6.39 5.86 6.73 5.61
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.37 5.54 4.79 5.48 4.96
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.71 3.85 3.23 3.07 2.93
12 สภาวะเศรษฐกิจ 2.59 2.67 2.64 1.87 2.72
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศ ประจำเดือนสิงหาคม 2551 6.1 6.1 5.37 6.2 6.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง
เดือนกรกฎาคม กับเดือนสิงหาคม 2551
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข เดือนกรกฎาคมคะแนนเต็ม 10 เดือนสิงหาคมคะแนนเต็ม 10 ส่วนต่าง
1 ความจงรักภักดี 9.28 9.49 +0.21
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.20 7.29 +0.09
3 หน้าที่การทำงาน 7.06 7.25 +0.19
4 วัฒนธรรมประเพณี 6.86 6.80 -0.06
5 การบริการด้านการแพทย์ 6.70 6.73 +0.03
6 สุขภาพทางกาย 6.69 6.69 0.00
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย ถนน ไฟฟ้า น้ำ ดิน อากาศ และธรรมชาติ 6.50 6.41 -0.09
8 สุขภาพใจ/สุขภาพจิต 6.42 6.33 -0.09
9 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 6.21 6.20 -0.01
10 ความเป็นธรรมทางสังคม 5.54 5.16 -0.38
11 บรรยากาศทางการเมือง 3.99 3.41 -0.58
12 สภาวะเศรษฐกิจ 3.83 2.55 -1.28
--เอแบคโพลล์--
-พห-