ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม ระยอง หนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,083 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 2-3 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 90.8 รับทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่ทราบข่าว และที่น่า
พิจารณาคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาก้ำกึ่งกัน คือร้อยละ 50.8 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะ เหตุการณ์ความวุ่นวายจะได้ยุติโดยเร็ว /
ลดความรุนแรงของการปะทะ / ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย / ถึงเวลาที่ต้องทำ และเหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นต้น ในขณะที่ประชาชนร้อยละ
49.2 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย รุนแรงเกินไป จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไป
อีก เป็นต้น
เมื่อจำแนกความคิดเห็นออกตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ พบว่า ชายร้อยละ 52.4 และหญิงร้อยละ 49.5 เห็นด้วย
กลุ่มช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 57.1 กลุ่มอายุระหว่าง 20 — 29 ปีร้อยละ 55.4 กลุ่มอายุระหว่าง 30 — 39 ปีร้อยละ 50.3 กลุ่มอายุ
ระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 49.9 และกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 47.9 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
นอกจากนี้ กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 46.9 กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 53.9 กลุ่มนักธุรกิจส่วนตัว หรือค้าขาย
ร้อยละ 44.5 กลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 61.1 กลุ่มเกษตรกร รับจ้างแรงงานทั่วไปร้อยละ 55.0 และกลุ่มแม่บ้าน เกษียณอายุร้อยละ 54.6 เห็น
ด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและระดับรายได้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 52.3 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ
47.8 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 42.9 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เห็นด้วย ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนมีรายได้ไม่
เกิน 5,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 55.9 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ 50.2 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง
10,001 — 15,000 บาทร้อยละ 50.3 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง 15,001 — 20,000 บาทร้อยละ 50.8 และกลุ่มคนรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้น
ไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 44.9 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีการยึดอำนาจเกิดขึ้นจะมีข้อดีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุบ้านเมือง
จะได้สงบสุขโดยเร็ว ความวุ่นวายจะได้น้อยลง การชุมนุมประท้วงจะได้ยุติ รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ระบุไม่ให้เกิดการปะทะกัน ไม่ให้เหตุการณ์
รุนแรงบานปลาย ร้อยละ 12.7 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่ เปลี่ยนรัฐบาล ร้อยละ 9.9 ระบุจะได้จัดการทุกอย่างให้เป็นระเบียบมากขึ้น ร้อยละ 4.5
ระบุประชาชนจะได้มีความปลอดภัยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ข้อเสียของการยึดอำนาจมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ระบุประเทศชาติจะเสีย
หาย ต่างประเทศจะต่อต้านไทยและขาดความเชื่อมั่น รองลงมาคือร้อยละ 57.5 ระบุเศรษฐกิจจะตกต่ำวิกฤตลงไปอีก ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นการ
ทำลายประชาธิปไตย เป็นเผด็จการ ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา และร้อยละ 41.8 ระบุไม่สามารถยุติความวุ่นวายได้จริง อาจทำให้รุนแรงมากขึ้นอีก
เป็นต้น
และเมื่อถามว่า ระหว่างข้อดีกับข้อเสียของการยึดอำนาจ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เห็นว่าข้อ
เสียของการยึดอำนาจจะมากกว่าข้อดี ในขณะที่ร้อยละ 32.8 คิดว่าข้อดีจะมากกว่า
ผ.อ.เอแบคโพลล์กล่าวว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนของฝ่ายสนับสนุนและไม่สนับสนุน มีสัดส่วน
ก้ำกึ่งกัน จึงดูเหมือนว่า จะยังไม่มีทางออกสำหรับประชาชนทั้งประเทศต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงทางการมืองหลังจากมีการประกาศภาวะฉุก
เฉิน เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีฐานสนับสนุนพอๆ กัน และแต่ละฝ่ายก็มีความเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของตนเองเป็นสิ่งที่จะทำให้ประเทศไทย รวมทั้งการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยดีขึ้น นอกจากนี้ผลสำรวจ ของเรายังชี้ให้เห็นด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการยึดอำนาจเกิดขึ้นอีกแล้ว และ
ในอดีตที่ผ่านมา บนเส้นทางของการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ก็บอกกับพวกเราให้ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า ทางออกในการแก้ไข
ปัญหาวิกฤตต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ สามารถทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันได้ อย่างไรก็ตามความสงบสุขเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรีบฟื้นฟูให้กลับ
คืนมาสู่สังคมไทยโดยเร็ว เพราะว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนในชาติ ความไม่ปกติทางการเมืองในเวลานี้ ได้ทำให้เกิดข้อจำกัด เป็นอุปสรรค
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของคนไทย และย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาปากท้องของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าปราศจากแนวทางแก้ไขด้วยสันติ
วิธี วัฏจักรแห่งความเลวร้ายก็จะยังเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น ทางออกคลี่คลายสถานการณ์ของประเทศที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก เร่งรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยทุกคนนำเอกลักษณ์ที่เป็นพฤติกรรมเชิงบวก มาแสดงมากกว่า พฤติกรรมเชิงลบ เช่น นำเอา
ความมีไมตรีจิต การให้อภัย ความมีเมตตา การช่วยเหลือกัน เกื้อกูลกัน แบ่งปันความสุขให้แก่กันมากระทำในครอบครัว กับเพื่อนบ้าน ภายในชุมชน
และระหว่างชุมชน
ประการที่สอง สังคมไทยน่าจะมีการหนุนเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งมากขึ้นภายใต้การนำของ
กลุ่มคนที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นที่ยอมรับของสังคมชุมชนระดับพื้นที่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยเข้ามารับฟังความคิดเห็นความต้อง
การและเสนอให้ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาลได้นำไปพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล
ประการที่สาม สถาบันสื่อสารมวลชนน่าจะเข้ามาช่วยบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนในเวลานี้ โดยมุ่งเน้นคลี่คลายอารมณ์
ร้อนแรงของประชาชนให้เย็นลง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือต่อสื่อมวลชนในระดับมาก การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในมิติเชิงบวกต่อ
บรรยากาศความสัมพันธ์ของประชาชนภายในประเทศน่าจะช่วยกอบกู้สถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองขณะนี้ได้บ้าง
ประการที่สี่ น้ำที่กำลังขุ่นในแก้ว มันสามารถตกตะกอนและใสขึ้นมาได้โดยตัวของมันเอง ถ้าไม่มีอะไรไปกวนมัน และถ้าเรามองเชิงโครง
สร้างของระบบสังคมไทยและกระบวนการยุติธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะพบว่า โครงสร้างการตรวจสอบและกลั่นกรองคุณภาพนักการเมืองเข้ม
แข็งขึ้นมากกว่าอดีต และกำลังเริ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างคุณภาพนักการเมืองใหม่ขึ้นมาให้สาธารณชนคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น
กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ น่าจะอดทนอดกลั้น รอจังหวะเวลาที่กำลังเดินเข้าใกล้ในการคลี่คลายสถานการณ์การเมืองปัจจุบันนี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
“As could be expected, our polls indicate that an equal amount of support exists for positions of
the prime minister and the PAD, indicating that at this point there is no solution appealing to all of the
people of Thailand regarding the current political situation. In part, this is because Prime Minister Samak,
the PAD, and both of their supporters believe their actions are for the betterment of Thailand and
democracy. Our polls also indicate that the people of Thailand do not wish for another coup d’etat. As
history supports, the most democratic of solutions does not comprehensively satisfy all the people. However,
peace must be reestablished in order to address the best interests of Thailand. The current political unrest
has proven to hinder the Thai economy, detrimentally affecting all Thai people. Without peaceful resolution,
this unfortunate circle will continue.” ABAC POLL Director said.
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง
วันที่ 2-3 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต 16 จังหวัดประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ราชบุรี
นครปฐม ระยอง หนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ
3,083 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 168 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 29.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 27.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.2 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 12.6 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 18.7 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ การทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.8
2 ไม่ทราบข่าว 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ....เหตุการณ์ความวุ่นวายจะได้ยุติโดยเร็ว/ลดความรุนแรงของการปะทะ/
ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย/ถึงเวลาที่ต้องทำ 50.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ...รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ/ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย/รุนแรง
เกินไป/ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ/เป็นการสร้างสถานการณ์ของรัฐบาล/เป็นเครื่องมือของรัฐบาล 49.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.4 49.5
2 ไม่เห็นด้วย 47.6 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี มากกว่า 50 ปีขึ้นไป
1 เห็นด้วย 57.1 55.4 50.3 49.9 47.9
2 ไม่เห็นด้วย 42.9 44.6 49.7 50.1 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามอาชีพ
ความคิดเห็น ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นักเรียน/นักศึกษา เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/เกษียณอายุ
1. เห็นด้วย 46.9 53.9 44.5 61.1 55.0 54.6
2. ไม่เห็นด้วย 53.1 46.1 55.5 38.9 45 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีค่าร้อยละ สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.3 47.8 42.9
2 ไม่เห็นด้วย 47.7 52.2 57.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 บาท มากกว่า 20,000 บาท
1 เห็นด้วย 55.9 50.2 50.3 50.8 44.9
2 ไม่เห็นด้วย 44.1 49.8 49.7 49.2 55.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อดีของการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ/ทหาร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดีของการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ (ทหาร) ค่าร้อยละ
1 บ้านเมืองจะได้สงบสุขโดยเร็ว/ยุติความวุ่นวายต่างๆ ได้/ความวุ่นวายจะได้น้อยลง/จะได้ยุติการชุมนุมประท้วงเสียที 47.2
2 ไม่ไห้เกิดการปะทะกัน/ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย/สามารถควบคุมสถานการณ์ได้/ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น 22.8
3 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่/เปลี่ยนรัฐบาล 12.7
4 จะได้จัดการทุกอย่างให้เป็นระเบียบมากขึ้น/บ้านเมืองจะได้ดีขึ้น 9.9
5 ประชาชนจะได้มีความปลอดภัยมากขึ้น 4.5
6 อื่นๆ อาทิ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/ลดความตึงเครียดที่มีอยู่ในขณะนี้/ไม่มีใครกล้าออกมาก่อความวุ่นวายอีก 7.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสียหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ/ทหาร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดี/ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ (ทหาร) ค่าร้อยละ
1 ประเทศเสียหาย/ต่างประเทศจะต่อต้านไทยและขาดความเชื่อมั่น 59.4
2 เศรษฐกิจตกต่ำวิกฤตลงไปอีก 57.5
3 ทำลายระบอบประชาธิปไตย/เป็นเผด็จการ/ใช้ความรุนแรงแก้ไขปํญหา 50.9
4 ไม่สามารถยุติความวุ่นวายได้จริง/อาจทำให้เหตุการณ์รุนแรงขึ้น 41.8
5 ประชาชนเดือดร้อน/เสียขวัญ 10.4
6 อื่นๆ อาทิ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น/ทำให้เกิดความแตกแยก/ทำมาหากินลำบาก 5.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบสุดท้ายของความคิดเห็นต่อข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจโดยกองทัพ/ทหาร แบบไหนมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีข้อดีมากกว่า 32.8
2 ข้อเสียมากกว่า 67.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม ระยอง หนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,083 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการวันที่ 2-3 กันยายน 2551 ผลสำรวจพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกศึกษาหรือร้อยละ 90.8 รับทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ร้อยละ 9.2 ไม่ทราบข่าว และที่น่า
พิจารณาคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาก้ำกึ่งกัน คือร้อยละ 50.8 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพราะ เหตุการณ์ความวุ่นวายจะได้ยุติโดยเร็ว /
ลดความรุนแรงของการปะทะ / ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย / ถึงเวลาที่ต้องทำ และเหมาะสมกับสถานการณ์ เป็นต้น ในขณะที่ประชาชนร้อยละ
49.2 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย รุนแรงเกินไป จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไป
อีก เป็นต้น
เมื่อจำแนกความคิดเห็นออกตามเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา และรายได้ พบว่า ชายร้อยละ 52.4 และหญิงร้อยละ 49.5 เห็นด้วย
กลุ่มช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 57.1 กลุ่มอายุระหว่าง 20 — 29 ปีร้อยละ 55.4 กลุ่มอายุระหว่าง 30 — 39 ปีร้อยละ 50.3 กลุ่มอายุ
ระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 49.9 และกลุ่มอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 47.9 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
นอกจากนี้ กลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 46.9 กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 53.9 กลุ่มนักธุรกิจส่วนตัว หรือค้าขาย
ร้อยละ 44.5 กลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 61.1 กลุ่มเกษตรกร รับจ้างแรงงานทั่วไปร้อยละ 55.0 และกลุ่มแม่บ้าน เกษียณอายุร้อยละ 54.6 เห็น
ด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและระดับรายได้ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 52.3 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ
47.8 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 42.9 ของกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เห็นด้วย ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนมีรายได้ไม่
เกิน 5,000 บาทต่อเดือนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 55.9 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ 50.2 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง
10,001 — 15,000 บาทร้อยละ 50.3 กลุ่มคนรายได้ระหว่าง 15,001 — 20,000 บาทร้อยละ 50.8 และกลุ่มคนรายได้มากกว่า 20,000 บาทขึ้น
ไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 44.9 เห็นด้วยกับการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เมื่อสอบถามว่า ถ้ามีการยึดอำนาจเกิดขึ้นจะมีข้อดีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุบ้านเมือง
จะได้สงบสุขโดยเร็ว ความวุ่นวายจะได้น้อยลง การชุมนุมประท้วงจะได้ยุติ รองลงมาคือ ร้อยละ 22.8 ระบุไม่ให้เกิดการปะทะกัน ไม่ให้เหตุการณ์
รุนแรงบานปลาย ร้อยละ 12.7 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่ เปลี่ยนรัฐบาล ร้อยละ 9.9 ระบุจะได้จัดการทุกอย่างให้เป็นระเบียบมากขึ้น ร้อยละ 4.5
ระบุประชาชนจะได้มีความปลอดภัยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า ข้อเสียของการยึดอำนาจมีอะไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.4 ระบุประเทศชาติจะเสีย
หาย ต่างประเทศจะต่อต้านไทยและขาดความเชื่อมั่น รองลงมาคือร้อยละ 57.5 ระบุเศรษฐกิจจะตกต่ำวิกฤตลงไปอีก ร้อยละ 50.9 ระบุเป็นการ
ทำลายประชาธิปไตย เป็นเผด็จการ ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา และร้อยละ 41.8 ระบุไม่สามารถยุติความวุ่นวายได้จริง อาจทำให้รุนแรงมากขึ้นอีก
เป็นต้น
และเมื่อถามว่า ระหว่างข้อดีกับข้อเสียของการยึดอำนาจ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เห็นว่าข้อ
เสียของการยึดอำนาจจะมากกว่าข้อดี ในขณะที่ร้อยละ 32.8 คิดว่าข้อดีจะมากกว่า
ผ.อ.เอแบคโพลล์กล่าวว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนของฝ่ายสนับสนุนและไม่สนับสนุน มีสัดส่วน
ก้ำกึ่งกัน จึงดูเหมือนว่า จะยังไม่มีทางออกสำหรับประชาชนทั้งประเทศต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงทางการมืองหลังจากมีการประกาศภาวะฉุก
เฉิน เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีฐานสนับสนุนพอๆ กัน และแต่ละฝ่ายก็มีความเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของตนเองเป็นสิ่งที่จะทำให้ประเทศไทย รวมทั้งการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยดีขึ้น นอกจากนี้ผลสำรวจ ของเรายังชี้ให้เห็นด้วยว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้มีการยึดอำนาจเกิดขึ้นอีกแล้ว และ
ในอดีตที่ผ่านมา บนเส้นทางของการเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ก็บอกกับพวกเราให้ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า ทางออกในการแก้ไข
ปัญหาวิกฤตต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ สามารถทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกันได้ อย่างไรก็ตามความสงบสุขเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องรีบฟื้นฟูให้กลับ
คืนมาสู่สังคมไทยโดยเร็ว เพราะว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนในชาติ ความไม่ปกติทางการเมืองในเวลานี้ ได้ทำให้เกิดข้อจำกัด เป็นอุปสรรค
ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของคนไทย และย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหาปากท้องของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าปราศจากแนวทางแก้ไขด้วยสันติ
วิธี วัฏจักรแห่งความเลวร้ายก็จะยังเกิดขึ้นต่อไป ดังนั้น ทางออกคลี่คลายสถานการณ์ของประเทศที่น่าพิจารณาคือ
ประการแรก เร่งรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยทุกคนนำเอกลักษณ์ที่เป็นพฤติกรรมเชิงบวก มาแสดงมากกว่า พฤติกรรมเชิงลบ เช่น นำเอา
ความมีไมตรีจิต การให้อภัย ความมีเมตตา การช่วยเหลือกัน เกื้อกูลกัน แบ่งปันความสุขให้แก่กันมากระทำในครอบครัว กับเพื่อนบ้าน ภายในชุมชน
และระหว่างชุมชน
ประการที่สอง สังคมไทยน่าจะมีการหนุนเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีการรวมตัวกันเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งมากขึ้นภายใต้การนำของ
กลุ่มคนที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นที่ยอมรับของสังคมชุมชนระดับพื้นที่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ โดยเข้ามารับฟังความคิดเห็นความต้อง
การและเสนอให้ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่สนับสนุนรัฐบาลได้นำไปพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุผล
ประการที่สาม สถาบันสื่อสารมวลชนน่าจะเข้ามาช่วยบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนในเวลานี้ โดยมุ่งเน้นคลี่คลายอารมณ์
ร้อนแรงของประชาชนให้เย็นลง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือต่อสื่อมวลชนในระดับมาก การนำเสนอข้อมูลข่าวสารในมิติเชิงบวกต่อ
บรรยากาศความสัมพันธ์ของประชาชนภายในประเทศน่าจะช่วยกอบกู้สถานการณ์ขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองขณะนี้ได้บ้าง
ประการที่สี่ น้ำที่กำลังขุ่นในแก้ว มันสามารถตกตะกอนและใสขึ้นมาได้โดยตัวของมันเอง ถ้าไม่มีอะไรไปกวนมัน และถ้าเรามองเชิงโครง
สร้างของระบบสังคมไทยและกระบวนการยุติธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะพบว่า โครงสร้างการตรวจสอบและกลั่นกรองคุณภาพนักการเมืองเข้ม
แข็งขึ้นมากกว่าอดีต และกำลังเริ่มทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสร้างคุณภาพนักการเมืองใหม่ขึ้นมาให้สาธารณชนคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น
กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ น่าจะอดทนอดกลั้น รอจังหวะเวลาที่กำลังเดินเข้าใกล้ในการคลี่คลายสถานการณ์การเมืองปัจจุบันนี้ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
“As could be expected, our polls indicate that an equal amount of support exists for positions of
the prime minister and the PAD, indicating that at this point there is no solution appealing to all of the
people of Thailand regarding the current political situation. In part, this is because Prime Minister Samak,
the PAD, and both of their supporters believe their actions are for the betterment of Thailand and
democracy. Our polls also indicate that the people of Thailand do not wish for another coup d’etat. As
history supports, the most democratic of solutions does not comprehensively satisfy all the people. However,
peace must be reestablished in order to address the best interests of Thailand. The current political unrest
has proven to hinder the Thai economy, detrimentally affecting all Thai people. Without peaceful resolution,
this unfortunate circle will continue.” ABAC POLL Director said.
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการ
ประกาศภาวะฉุกเฉินและข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ ” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่าง
วันที่ 2-3 กันยายน 2551 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขต 16 จังหวัดประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ลพบุรี อยุธยา ราชบุรี
นครปฐม ระยอง หนองคาย อุบลราชธานี นครราชสีมา สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง
กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ
3,083 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 168 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.0 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.0 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 29.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 27.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 33.3 ระบุอาชีพเกษตรกรรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 17.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 38.2 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 12.6 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
และร้อยละ 18.7 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ การทราบข่าวการประกาศภาวะฉุกเฉิน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 90.8
2 ไม่ทราบข่าว 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ....เหตุการณ์ความวุ่นวายจะได้ยุติโดยเร็ว/ลดความรุนแรงของการปะทะ/
ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย/ถึงเวลาที่ต้องทำ 50.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ...รัฐบาลควรแสดงความรับผิดชอบ/ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรเลย/รุนแรง
เกินไป/ทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ/เป็นการสร้างสถานการณ์ของรัฐบาล/เป็นเครื่องมือของรัฐบาล 49.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ความคิดเห็น เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.4 49.5
2 ไม่เห็นด้วย 47.6 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี มากกว่า 50 ปีขึ้นไป
1 เห็นด้วย 57.1 55.4 50.3 49.9 47.9
2 ไม่เห็นด้วย 42.9 44.6 49.7 50.1 52.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามอาชีพ
ความคิดเห็น ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย นักเรียน/นักศึกษา เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/เกษียณอายุ
1. เห็นด้วย 46.9 53.9 44.5 61.1 55.0 54.6
2. ไม่เห็นด้วย 53.1 46.1 55.5 38.9 45 45.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรีค่าร้อยละ สูงกว่าป.ตรีค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 52.3 47.8 42.9
2 ไม่เห็นด้วย 47.7 52.2 57.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการประกาศภาวะฉุกเฉิน จำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ต่ำกว่า 5,000 5,001-10,000 10,001-15,000 15,001-20,000 บาท มากกว่า 20,000 บาท
1 เห็นด้วย 55.9 50.2 50.3 50.8 44.9
2 ไม่เห็นด้วย 44.1 49.8 49.7 49.2 55.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อดีของการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ/ทหาร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดีของการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ (ทหาร) ค่าร้อยละ
1 บ้านเมืองจะได้สงบสุขโดยเร็ว/ยุติความวุ่นวายต่างๆ ได้/ความวุ่นวายจะได้น้อยลง/จะได้ยุติการชุมนุมประท้วงเสียที 47.2
2 ไม่ไห้เกิดการปะทะกัน/ไม่ให้เหตุการณ์รุนแรงบานปลาย/สามารถควบคุมสถานการณ์ได้/ป้องกันเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้น 22.8
3 จะได้มีการเลือกตั้งใหม่/เปลี่ยนรัฐบาล 12.7
4 จะได้จัดการทุกอย่างให้เป็นระเบียบมากขึ้น/บ้านเมืองจะได้ดีขึ้น 9.9
5 ประชาชนจะได้มีความปลอดภัยมากขึ้น 4.5
6 อื่นๆ อาทิ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/ลดความตึงเครียดที่มีอยู่ในขณะนี้/ไม่มีใครกล้าออกมาก่อความวุ่นวายอีก 7.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสียหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ/ทหาร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อดี/ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยกองทัพ (ทหาร) ค่าร้อยละ
1 ประเทศเสียหาย/ต่างประเทศจะต่อต้านไทยและขาดความเชื่อมั่น 59.4
2 เศรษฐกิจตกต่ำวิกฤตลงไปอีก 57.5
3 ทำลายระบอบประชาธิปไตย/เป็นเผด็จการ/ใช้ความรุนแรงแก้ไขปํญหา 50.9
4 ไม่สามารถยุติความวุ่นวายได้จริง/อาจทำให้เหตุการณ์รุนแรงขึ้น 41.8
5 ประชาชนเดือดร้อน/เสียขวัญ 10.4
6 อื่นๆ อาทิ ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น/ทำให้เกิดความแตกแยก/ทำมาหากินลำบาก 5.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบสุดท้ายของความคิดเห็นต่อข้อดีข้อเสียของการยึดอำนาจโดยกองทัพ/ทหาร แบบไหนมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามีข้อดีมากกว่า 32.8
2 ข้อเสียมากกว่า 67.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-